รับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ....... ที่สกลนคร
จากข้อมูลหนังสือ ศิลปะถ้ำสกลนคร จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เป็นเอกสารกองโบราณคดีหมายเลข 18/2531 กล่าวถึงวันที่ 10 มกราคม 2531 คณะสำรวจจากฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร มาศึกษาและบันทึกรายละเอียดทางวิชาการของแหล่งศิลปะถ้ำที่เป็นภาพลงสี (pictograph) ที่ผาผักหวาน บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ........ให้ความเห็นว่า "ภาพแห่งความรื่นรมย์" มีรายละเอียด ดังนี้
ภาพเขียนสีหรือการลงสีบนผนังหินที่ถ้ำผาผักหวานเป็นลักษณะการลงสีตามแบบที่เรียกว่าเขียนหรือระบายเป็นรูป (painting) โดยเขียนเป็นรูปคนที่จับเค้าได้มี 11 คน แต่มีเทคนิคการเขียนที่ไม่เหมือนกันคือเขียนแบบโครงนอก (outline) 8 คน และเขียนแบบเงาทึบ (sihouettes) 3 คน มีลักษณะเหมือนจริงและเน้นสัดส่วน เช่น น่องโต หัวกลม มีผม และอิริยาบถที่รู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหว ภาพ 8 คน ที่ใช้สีแดงเขียนโครงนอก อยู่ในท่าเรียงแถว 5 คน ตอนกลางหันด้านข้างไปทางเดียวกันอากัปกิริยาคล้ายต่อแถวเต้นรำคือย่อตัวลงก้นโด่งแล้วยกแขนไปข้างหน้าพร้อมๆกัน จังหวะเคลื่อนไหวคงฉับไวยิ่งจนทำให้เห็นภาพผมจุกหรือหางเปียด้าหลังของบางคนกระดกขึ้นลง และ (ผ้า) หูกระต่ายที่ก้นของบางคนก็ชูเด่นขณะกระดกก้น และมัคนหนึ่งแสดงอวัยวะเพศให้เห็นเป็นที่สังเกตได้ คนที่อยู่หน้าสุดกางแขนกางขาในท่าตรงแต่ก็ดูเหมือนกับก้าวเดินตรงเข้ามายังกลุ่มนักเต้นรำ อีก 2 คน ที่อยู่ตอนท้ายคนริมสุดลบเลือนไปมองเห็นแต่ส่วนขา อีกคนมองเห็นชัดว่ายืนหน้าตรงแต่กางขาและย่อตัวลงเล็กน้อย แขนสองข้างกางออกเป็นวงชูขึ้นเหนือศรีษะมือข้างหนึ่งคล้ายกับถือหรือสัมผัสกับวัตถุที่คล้ายเชือก ห่วง ชูอยู่เหนือศรีษะ หรือไม่ก็เป็นส่วนแขนของอีกคนหนึ่งที่ลบเลือนไปก็เป็นได้
เหนือกลุ่มนักเต้นรำขึ้นไปเป็นภาพคนเขียนด้วยสัแดงแบบเงาทึบคนหนึ่งยืนโดดเด่นเป็นสง่าไว้ผมบ๊อบกางขาและย่อตัวเล็กน้อยแขนชูขึ้นเป็นวงโค้งมองเห็นว่ามือกางออกด้วยคล้ายวาทยากรให้สัญญาณกำกับดนตรี ภาพคนเงาทึบอีก 2 คน อยู่เฉียงออกไปมองเห็นเฉพาะส่วนบนส่วนล่างลบเลือนไปหันหน้าเข้าหากันคล้ายคุยกัน คนหนึ่งยกแขนขึ้นจนจรดหน้าของอีกฝ่ายหนึ่ง .............. ภาพเริงระบำเคยปรากฏในแหล่งอื่นๆมาบ้างแล้ว เช่น คนในท่าฟ้อนรำที่เขาจันทร์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และภูปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี แต่ก็ไม่ใช่การจับกลุ่มรำหลายๆคนเช่นที่นี่ ซึ่งดูเหมือนเป็นเจตนาแสดงภาพการเต้นรำอย่างแท้จริง (มีคนเต้นเป็นกลุ่ม คนกำกับให้จังหวะ) ไม่ว่าจะเพื่อความสนุกสนานเฉลิมฉลองหรือพิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เราสันนิษฐานไม่ได้ ภาพนั้นก็แสดงออกถึงอารมณ์บันเทิงที่ทำให้ที่ได้เห็นอย่างเรา ท่าน ได้รับความสบายใจเมื่อมาชมศิลปกรรมในบรรยากาศของสิ่งแวดล้อมที่เป็นป่าเขาห่างไกลจากความแออัดในสังคมเมือง

ภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผักหวานอยู่ที่ไหน
อยู่บนภูเขา +292 m ในเขตหมู่บ้านภูตะคาม ต.ท่าศิลา อ.ส่องดาว จังหวัดสกลนคร พิกัด GPS (N 17 14 44.53 E 103 26 29.29) ต้องเดินทางด้วยรถ 4 Wheels รถ "อีแต๊ก" หรือมอเตอร์ไซด์ เพราะเป็นเส้นทางในป่าเขา ชื่อ "ภูผักหวาน" มาจากความอุดมสมบูรณ์ของผักหวานป่าในบริเวณนี้

แผนที่แสดงจังหวัดสกลนครและตำแหน่งภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผักหวาน
.jpg)
ภาพ Google Earth แสดง Route จากหมู่บ้านภูตะคามไปยังผาผักหวาน

"รถอีแต๊ก" เป็นพาหนะที่เหมาะสมกับเส้นทางมากที่สุดและประหยัดที่สุดสำหรับคณะนักท่องเที่ยว
.jpg)
พิกัด GPS และความสูงจากระดับน้ำทะเลกลาง +292 m.
พิธีกรรมรับพลังสุริยะ?
ความเห็นส่วนตัวของผมมองว่าเป็นพิธีกรรมรับพลังสุริยะยามรุ่งอรุณด้วยเหตุผล ดังนี้
1.ภาพเขียนถูกกำหนดให้อยู่ที่ด้าน "ทิศตะวันออก" เพียงด้านเดียว ทั้งๆที่เพิงหินมี 4 ด้าน และด้านทิศเหนือก็เป็นผนังหน้ากระดานราบเรียบง่ายต่อการวาดภาพแต่ก็ไม่ปรากฏอะไร

ภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผาด้านตะวันออกของภูผักหวาน

ภาพเขียนถูกกำหนดให้อยู่เฉพาะด้านทิศตะวันออกเพียงที่เดียว

ภาพวาดแสดงพิธีการเต้นรำเฉลิมฉลองบนหน้าผาทิศตะวันออก

ด้านทิศเหนือก็มีผนังหินที่ราบเรียบเหนือหน้ากระดานแต่ก็ไม่ปรากฏภาพอะไรแม้แต่ภาพเดียว
.jpg)
ซูมเข้าไปดูผนังด้านทิศเหนือทำให้เห็นชัดเจนว่า "ไม่ปรากฏภาพอะไรสักชิ้นเดียว"

เปรียบเทียบผนังทั้งสี่ด้านพบว่าทิศตะวันตกและทิศใต้มีลักษณะขรุขระไม่เหมาะแก่การวาดภาพ ส่วนผนังด้านทิศเหนือมีลักษณะราบเรียบเหมาะแก่การวาดภาพแต่ก็ไม่มีอะไรตรงนี้
2.เลือกสถานที่ "ประกอบพิธีกรรมรับพลังสุริยะ" โดดเด่นอยูบนหน้าผาของภูเขาสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ยามเช้าทางทิศตะวันออกได้ชัดเจน คิดแบบง่ายๆตามสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วๆไป ถ้าพิธีกรรมไม่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ยามเช้าก็ไปทำในพื้นที่ราบใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยตรงไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องปีนขึ้นมาบนยอดเขาให้ยุ่งยาก

ทัศนียภาพด้านทิศตะวันออกมองจากลานประกอบพิธีกรรม
3.ภาพการ "โพ้สท่ารับพลังสุริยะ" เป็นลักษณะยอดนิยมของมนุษยชาติทั่วโลก แม้กระทั้งปัจจุบันก็ยังคงโพ้สท่าเดิม

การโพ้สท่า "รับพลังสุริยะ" ยอดนิยมที่ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน

มนุษยชาติทั่วโลก "โพ้สท่าเดียวกันหมด" เมื่อต้องรับพลังจากสุริยะ
ภัยคุกคามต่อการอนุรักษ์
1.ภัยจากมนุษย์ จุดอ่อนที่ยังแก้ไม่ตกของการอนุรักษ์โบราณสถานในสไตล์พี่ไทยอย่างเราๆท่านๆก็คือ "ไม่มีเจ้าภาพในพื้นที่" การดูแลจึงเป็นภาระเสมือนงานฝากของชุมชน อบต. เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือพระ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง "โบราณคดี" และในทางตรงข้ามก็มักจะใช้ประโยชน์สถานที่เหล่านี้ไปในเชิง "พุทธพาณิชย์" หรือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์เชิงเศรษฐกิจ" จะนำมาซึ่งการขูดขีด เขียนข้อความเพิ่มเติม หรือก่อสร้างวัตถุเข้าไปรุกล้ำ
มีการสร้างโครงเหล็กเจาะเข้าไปในหน้าผาเพื่อทำร่มแก่พระพุทธรูป

เขียนข้อความเพิ่มเติมทับภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์
2.ภัยจากธรรมชาติ เนื่องจากสถานนี้อยู่ในแหล่งธรรมชาติตากแดด ตากฝน ตากลมพายุ และการผุกร่อนของหิน ตราบจนปัจจุบันเรายังไม่มีมาตรการใดๆที่จะปกป้อง ยังบุญที่บรรพชนเมื่อสามพันปีที่แล้วมีเทคโนโลยีการเลือกใช้ "วัสดุคงทน" ที่น่าจะเป็น "สนิมเหล็กผสมยางไม้" จึงทำให้คงอยู่มาถึงวันนี้ พูดกันตรงๆถ้าเป็นสีกระป๋องปัจจุบันไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม "ให้อย่างดีไม่เกิน 100 ปี หายหมดแล้ว"
.jpg)
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อันนี้ตั้งตากแดด ตากฝน มานานนับพันปี
สรุป
1.การโพ้สท่า "รับพลังสุริยะ" ของมนุษยชาติตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนปัจจุบันก็คงมีท่าเดียวตามที่เห็น
2.เราๆท่านๆต้องรีบไปดูและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเพราะอีกไม่นานคงจะลบเลือนไปหมด ถ้ายังไม่มีมาตรการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี