ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ

       

ปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ

Operation Maha Sankranti 2018

Decoded the Ancient Sakon Inscription

14 - 16 เมษายน 2561

 

 

 

 

 

       แกะจารึกพระธาตุเชิงชุม ....... พบ "สงกรานต์"

           สกลนครในยุคโบราณราวพันปีที่แล้วเป็นหัวเมืองทิศเหนือของอาณาจักรขอมแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชื่อเมืองอะไร ตำนานอุรังคนิทานที่เชื่อว่าแต่งขึ้นในยุคล้านช้างหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกเมืองนี้ว่า "หนองหารหลวง" กรมศิลปากรให้ความเห็นน่าจะอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (ประมาณ พ.ศ.1500 - 1600) หรือคริตศวรรษที่ 11 - 12 (ประมาณ ค.ศ.1000 - 1100) ต่อมาอาณาจักรขอมล่มสลายถูกแทนที่ด้วยอาณาจักรล้านช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่หลวงพระบางและเวียงจันทร์ สิ่งก่อสร้างต่างๆจากยุคขอมถูกดัดแปลงเป็นศิลปะล้านช้าง เช่น "ปราสาท" เปลี่ยนรูปทรงเป็น "พระธาตุ"  

          "พระธาตุเชิงชุม" เป็นชื่อปัจจุบันของโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองสกลนคร รูปทรงที่เห็นทุกวันนี้เป็นศิลปะล้านช้างสร้างครอบ "ปราสาทขอม" ไว้ข้างใน อย่างไรก็ตามที่ชอบประตูหินทรายด้านขวามือ (มองจากทางเข้าด้านทิศตะวันออก) มีจารึกอักษรขอมโบราณกล่าวถึงเรื่องราวการมอบที่ดินและถวายสิ่งของต่างๆ ที่น่าสนใจมีประโยคสุดท้ายกล่าวถึง "ถวาย ............... แด่สงกรานต์"   มีนัยอะไรหรือไม่  ทำไมต้องมีคำนี้?  จึงเป็นที่มาของ "ปฏิบัติการมหาสงกรานต์" เพื่อไขปริศนาให้หายข้องใจเสียที

 

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2489 แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมือง "หนองหารหลวง" สกลนคร และเมือง "หนองหารน้อย" อุดรธานี เคยเป็นเมืองในยุคขอมเรืองอำนาจ เพราะมีการวางผังเมืองในสไตล์ขอมเช่นเดียวกันกับ "เมืองนครธม" ที่ประเทศกัมพูชา

 

เมืองโบราณยุคขอมถูกดัดแปลงสภาพกลายเป็นเมืองสกลนคร (เขตเทศบาลนคร) ในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงร่องรอยของผังเมืองและสิ่งก่อสร้าง เช่น บาราย (สระน้ำศักดิ์สิทธิ์) คู่กับวัดพระธาตุเชิงชุม

 

 

พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง สกลนคร เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมือง สิ่งก่อสร้างที่เห็นในปัจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง

 

ข้างในพระธาตุเชิงชุมเป็นปราสาทขอม หากท่านต้องการจะดูก็ขออนุญาตพระภิกษุที่ดูแลอยู่ที่นั่นให้เปิดลูกกรงเหล็กและเข้าไปชม (เข้าได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นครับ) 

 

ขอบประตูหินทรายด้านขวามือ (มองจากทางเข้าทิศตะวันออก) มีจารึกอักษรขอมโบราณ

 

ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากรได้ถอดออกมาเป็นคำอ่านด้วยอักขระภาษาไทย

 

บรรทัดสุดท้ายของคำแปลมีการกล่าวถึง "สงกรานต์" 

 

คำแปลเป็นภาษาไทย มีการกล่าวถึง "ถวายทาส 4 คน แด่เทวรูป วัว 6 ตัว ข้าวเปลือก และนาแด่สงกรานต์

 

ถอดความจารึกอักษรขอมโบราณเป็นภาษาไทยมีคำว่า "สงกรานต์"

 

       พิสูจน์นัยของคำว่า "สงกรานต์" หมายถึงอะไร?

          โดยส่วนตัวเชื่อว่ายุคนั้นผู้ที่อ่านออกเขียนได้มีเพียงไม่กี่คน ผู้จารึกอักษรขอมโบราณต้องเป็นคนที่มีองค์ความรู้อย่างดีเสมือนปราชญ์ประจำเมือง โดยหลักตรรกวิทยาต้องให้เครดิตว่า "สงกรานต์" น่าจะสื่อถึงอะไรบางอย่างที่มีความหมาย ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ความหมายโดยใช้ข้อมูลทั้งโหราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

          1."สงกรานต์" (คำเต็มคือ มหาสงกรานต์) เป็นโหราศาสตร์โบราณจากอินเดียเข้ามาสู่ดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ หมายถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ" เป็นการเริ่มต้นปฏิทินจักรราศี ปัจจุบันเราๆท่านๆเรียกว่า "ปีใหม่ไทย"  

 

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์แสดงภาพจำลอง (simulation) ปรากฏการณ์ในยุคขอมเรืองอำนาจระหว่างคริตศตวรรษที่ 11 - 13 (AD 1000 - 1200) ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีน (Pisces) เข้าสู่ราศีเมษ (Aries) ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา (azimuth 80)

 

          2.ตรวจสอบตำแหน่งการวางผังเมืองสกลนครเมื่อครั้งยุคขอมเรืองอำนาจโดยใช้เข็มทิศ (Magnetic Compass) และอุปกรณ์ GPS จับที่ฐานพระธาตุเชิงชุม บวกกับการตรวจสอบโดย Google Earth พบว่าเมืองโบราณสกลนครทำมุมกวาด 80 องศา (azimuth 80) ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีน (Pisces) ไปยังราศีเมษ (Aries) ในวัน "มหาสงกรานต์" เมื่อครั้ง AD 1000 - 1200 อนึ่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าการก่อสร้างเมืองในยุคขอมเรืองอำนาจมีความสอดคล้องกับ "วิชาเรขาคณิต" เพราะแนวคูเมือง ปราสาท (ศาสนสถาน) และบาราย (สระน้ำศักดิ์สิทธิ์) ล้วนหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน

         อนึ่ง การที่ผังเมืองหันไปที่มุมกวาด 80 องศา ทำให้มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับตำแหน่งนี้ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงมหาสงกรานต์ 14 - 16 เมษายน และช่วงราศีกัลย์ (zodiac virgo) 24 - 26 สิงหาคม  

 

Google Earth แสดงผังเมืองสกลนครโบราณทำมุมกวาด 80 องศา (azimuth 80) 

 

Google Earth แสดงค่าผังดาราศาสตร์ (astronomical alignment) วัดพระธาตุเชิงชุม หันหน้าตรงกับมุมกวาด 80 องศา (azimuth 80) 

 

ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ตำแหน่งมุมกวาด 80 องศา ปีละ 2 ครั้ง คือ 14 - 16 เมษายน (มหาสงกรานต์) และราศีกัลย์ (zodiac virgo) 24 - 26 สิงหาคม

 

พระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง (Latitude) 17.16 องศาเหนือ และเส้นแวง (Longitude) 104.15 องศาตะวันออก

 

มุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) กับ "สงกรานต์" เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

 

เนื่องจากตัวเมืองสกลและพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ ดวงอาทิตย์จึงขึ้นที่มุมเอียงจากแนวระนาบไปทางทิศใต้ 17 องศา

 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ขึ้ยที่พระธาตุเชิงชุมที่มุมเอียงไปทางทิศใต้ 17 องศา โดยเริ่มต้นจากฐานขององค์พระธาตุ

 

ข็มทิศ (magnetic compass) จับทิศ ณ ฐานประตูด้านทิศตะวันตกพระธาตุเชิงชุม

 

เข็มทิศแสดงค่าผังดาราศาสตร์ (astronomical alighnment) วัดพระธาตุเชิงชุมหันหน้าตรงกับ "มุมกวาด 80 องศา" (azimuth 80)   

 

ตรวจสอบ alignment ด้วย application compass I-Phone ณ ฐานพระธาตุเชิงชุมซึ่งสร้างครอบปราสาทขอม พบว่าทำมุม 80 องศา

 

 

ตรวจสอบโดยอุปกรณ์ GPS Garmin ก็ยืนยันว่าแปลนของพระธาตุเชิงชุมหันหน้าไปที่มุมกวาด 80 องศา

 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ ณ ตำแหน่งมุมกวาด 80 องศา ( 25 สิงหาคม) ก็ตรงกับด้านทิศตะวันออกของพระธาตุเชิงชุม 

 

 ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้า 25 สิงหาคม ที่สระพังทองหรือ "บาราย" ตรงกับ มุมกวาด 80 องศา

 

       ตำนาน กับวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกัน ....... บังเอิญ?

          ป้ายประชาสัมพันธ์ที่บ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร มีข้อความระบุว่า "ในวันประสูติของพระยาสุระอุทก มีปรากฏการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันคือพระขรรค์คู่กายและน้ำพุ อีกทั้งเจ้าเมืองหนองหารหลวงจะเสด็จมาสรงน้ำที่น้ำพุแห่งนี้ในวันสงกรานต์ทุกปี"

         ขณะเดียวกันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ยืนยันว่าเมืองสกลโบราณหันหน้าที่มุมกวาด 80 องศา ตรงมาที่บ้านน้ำพุ และก็ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าในวันสงกรานต์ 14 - 16 เมษายน นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆกับน้ำพุมีกอง "ขี้ตะกรันเหล็ก" แสดงว่าต้องมีเตาหลอมโลหะเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคโบราณทำให้เชื่อได้ว่า ณ สถานที่แห่งนี้ต้องเป็นชุมชนมาก่อนแต่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า "เป็นชุมชนในยุคใด"  

 

ป้ายประชาสัมพันธ์ที่บ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว สกลนคร

 

น้ำพุที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นที่มาของชื่อบ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว สกลนคร

 

การเกิดน้ำพุธรรมชาติ "บ้านน้ำพุ" เพราะบริเวณนี้เป็นพื้นที่ต่ำกว่าพื้นที่รอบๆ และมีทางน้ำใต้ดินเชื่อมต่อ ทำให้น้ำสามารถพุ่งขึ้นเหนือผิวดินได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน

 

บริเวณที่พบเศษขี้ตะกรันเหล็กใกล้ๆกับน้ำพุ

 

 

แปลนของเมืองโบราณสกลนครหันหน้าทำมุม 80 องศา (azimuth 80) และตรงกับตำแหน่ง "บ้านน้ำพุ" ที่ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว ซึ่งมีตำนานกล่าวถึงการตั้งเมืองครั้งแรกของ "พระยาสุรอุทก" ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ........ บังเอิญ?

 

ยิงมุมกล้องลงมาจาก Nok Air ขณะ Landing เห็นได้ชัดเจนว่าถ้าลากเส้นตรงจาก center-line ของ "เมืองสกล" จะไปชนกับ "บ้านน้ำพุ" ที่อยู่ฝั่งตะวันออก

 

ทำไมเมืองสกลโบราณจึงต้องหันหน้าที่ 80 องศา ตรงกับบ้านน้ำพุและดวงอาทิตย์ในวันสงกรานต์

 

พระยาสุระอุทกเจ้าเมืองหนองหารหลวง (สกลโบราณ) ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ?

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่เมืองสกลตรงกับแนว 80 องศา ซึ่งเป็นตำแหน่งพิกัดของบ้านน้ำพุ

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ตรงกับ "สงกรานต์" เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2557 โดยฝีมือ "คุณเหมียว" ซึ่งมีบ้านเป็นร้านขายอาหารอยู่ตรงข้ามประตูทิศตะวันตกของวัดพระธาตุเชิงชุม

 

       คำถาม ..... คำตอบ 

          1.ทำไมบรรพชนยุคขอมเรืองอำนาจจึงต้องสร้างเมืองนี้ให้หันหน้าตรงกับ "สงกรานต์" ........ คำตอบในความเห็นส่วนตัวก็คือ ......... ทิศตะวันออกที่ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนไปยังราศีเมษ" เป็นเสมือนฤกษ์ยามที่ดีของการตั้งเมืองหรือทิศที่เป็นมงคล ปัจจุบันความเชื่อแบบนี้ก็ยังคงอยู่เราๆท่านๆเรียกว่า "ฮวงจุ้ย"

          อนึ่ง เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับ "สงกรานต์" มีความเป็นมาจากชมพูทวีปและเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับอารยธรรมอินเดีย (indianization) ปัจจุบันสงกรานต์ยังเป็นวันปีใหม่ของชาวอินเดียตอนใต้คือรัฐทมิฬนานดู (Tamil New Year) และประเทศบังคลาเทศ (Begali New Year) ดังนั้นจึงเชื่อว่าอาณาจักรขอมก็รับ "สงกรานต์" เข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมของตน เช่นกัน

 

เราๆท่านๆถือว่าเทศกาล "มหาสงกรานต์" เป็นขึ้นปีใหม่ไทยโดยกำหนดให้ตรงกับ 13 - 15 เมษายน ของทุกปี

 

 

ปีใหม่ของชาวบังคลาเทศตรงกับ 14 เมษายน

ปีใหม่ของชาวทมิฬก็ตรงกับ 14 เมษายน 

 

จากคำจารึกภาษาขอมโบราณที่ขอบประตูปราสาท (พระธาตุเชิงชุม) ที่มีคำว่า "ถวาย ............ แด่ สงกรานต์" ทำให้เชื่อว่าบรรพชนยุคนั้นออกแบบให้ผังเมืองสกลโบราณหันหน้าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีเมษ (Aries) โดยทำมุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา 

 

          2.ปัจจุบันปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ" ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ ....... ไม่เหมือนเดิมครับ ด้วยเหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า "การถอยหลังของวสันตวิษุวัต" (precession of vernal equinox) เนื่องจากแกนโลกแกว่ง (Earth's Axis Shifted) ทำให้กลุ่มดาวฤกษ์ (จักรราศี) ที่เป็นฉากหลังของดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปเรื่อยๆในอัตรา 1 องศา ต่อ 72 ปี ถ้านับเวลาจากยุคขอมเรืองอำนาจถึงปัจจุบันราว 1,000 ปี ตำแหน่งจักรราศีจะเปลี่ยนไปประมาณ 14 องศา ดังนั้น วันสงกรานต์ยุคปัจจุบัน 15 เมษายน 2561 ดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ในเรือนราศีมีน (Pisces) ถ้าจะให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าไปในราศีเมษ (Aries) ก็ต้องเลื่อนวันสงกรานต์ออกไปราววันที่ 23 เมษายน 2561 และสร้างพระธาตุเชิงชุมองค์ใหม่ให้เปลี่ยน centerline จาก 80 องศา เป็น 78 องศา อย่างไรก็ตามเราๆท่านๆยึดถือว่าสงกรานต์คือช่วง 13 - 15 เมษายน มานมนานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษจึงยังคงรักษาประเพณีไว้เช่นเดิมแม้ว่าปรากฏการณ์จริงๆจะเปลี่ยนไปแล้ว   

 

 

จากเหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เกิดจาก "แกนโลกแกว่ง" (Earth's Axis Shifted) ทำให้ดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ในราศีมีน (Pisces) ในช่วงสงกรานต์ 15 เมษายน 2561

 

เปรียบเทียบระหว่าง AD 1100 - 1200 ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีเมษ (Aries) แต่มาถึงปัจจุบัน AD 2020 ดวงอาทิตย์ถอยกลับไปที่ราศีมีน (Pisces)

 

แกนโลก (Earth's axis) ไม่ได้คงที่ ณ 23.5 แต่มีการแกว่งระหว่าง 21 - 24 องศา ใช้เวลารอบละ 26,000 ปี ดังนั้นเมื่อถึงปี AD 14,000 ดาวเหนือของเราจะเปลี่ยนจาก Polaris ไปเป็น Vega 

 

 

ถ้าจะให้วันสงกรานต์ในยุคปัจจุบันตรงกับปรากฏการณ์ ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน (Pisces) เข้าสู่ราศีเมษ (Aries) ก็ต้องเลื่อนวันสงกรานต์จากเดิมไปเป็นราววันที่ 23 เมษายน และสร้างพระธาตุเชิงชุมองค์ใหม่ให้ centerline เปลี่ยนจากมุมกวาด 80 องศา เป็น 78 องศา

 

พิสูจน์เชิงประจักษ์ด้วยภาพถ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 14 - 16 เมษายน 2561

 

14 เมษายน 2561 

 

ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นที่สระพังทอง (บาราย) 05:51

 

ดวงอาทิตย์โผล่ที่ขอบฟ้าเวลา 05:59 

 

เปรียบเทียบบรรยากาศระหว่างดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น 05:51 กับดวงอาทิตย์ปรากฏชัดเจน 06:04

 

ตรวจสอบพิกัดดวงอาทิตย์ด้วยเข็มทิศพบว่าอยู่ที่มุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80)

 

 

ดวงอาทิตย์อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) 

 

ดวงอาทิตย์ปรากฏที่หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม

 

เปรียบเทียบบรรยากาศระหว่างยังไม่เห็นดวงอาทิตย์ กับดวงอาทิตย์ปรากฏชัดเจนที่หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม

 

ดวงอาทิตย์ปรากฏกลางประตูวัดพระธาตุเชิงชุม

 

เปรียบเทียบบรรยากาศที่ประตูอุโบสถระหว่างยังไม่เห็นดวงอาทิตย์ (ภาพบน) กับดวงอาทิตย์ปรากฏชัดเจน (ภาพล่าง)

 

การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ที่องค์พระธาตุเชิงชุมโดยยิงมุมกล้องจากพื้นดินจะมองไม่เห็นดวงอาทิตย์เพราะถูงบังด้วยองค์พระธาตุ อย่างไรก็ตามถ้าใช้ Drone ยิงมุมกล้องจากระดับสูงจะเห็นภาพได้ดีกว่านี้

 

ถ้าจะให้เห็นดวงอาทิตย์ก็ต้องยิงมุมกล้องจากด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

 

 

วิธีพิสูจน์ว่าดวงอาทิตย์อยู่ตรงหน้าองค์พระธาตุจากระดับพื้นดิน ต้องยิงมุมกล้องจากทิศใต้และทิศเหนือเพื่อให้เห็นว่า "องค์พระธาตุรับแสงอาทิตย์เพียงด้านทิศตะวันออกเท่านั้น" 

 

พอสายหน่อยดวงอาทิตย์โผล่ที่ด้านข้างทิศใต้ขององค์พระธาตุ

 

เหตุที่ดวงอาทิตย์โผล่ด้านข้องทิศใต้ขององค์พระธาตุเพราะการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ (Sun-Path) ทำมุมเอียง 17 องศา กับแนวดิ่งไปทางทิศใต้ เนื่องจากเมืองสกลตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ (Latitude 17 N)

   

พิกัด GPS ที่มุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) และภาพถ่ายในช่วง "มหาสงกรานต์" ยืนยันชัดเจนว่าในยุคอาณาจักรล้านช้างราว 300 - 600 ปี ที่แล้ว หลวงพ่อองค์แสนในอุโบสถวัดพระธาตุเชิงชุมจะเรืองอร่ามด้วยแสงอาทิตย์ยามเช้าระหว่าง 14 - 16 เมษายน แต่ปัจจุบันภาพนี้ไม่มีอีกแล้วเพราะแสงอาทิตย์ยามเช้าถูกบดบังด้วยสิ่งก่อสร้าง (ตึกสูง) ด้านทิศตะวันออกของวัดพระธาตุเชิงชุม  

 

การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในช่วงมหาสงกรานต์ที่สระพังทอง (บาราย) และวัดพระธาตุเชิงชุม ..... เป็นบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันนัยสำคัญของจารึกอักษรขอมโบราณที่กล่าวถึง "สงกรานต์" และเหตุผลที่ทำไมเมืองสกลโบราณต้องหันหน้าที่พิกัดมุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) 

 

การพิสูจน์เชิงประจักษ์ด้วยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในช่วง "มหาสงกรานต์" 14 เมษายน 2561 ยืนยันนัยสำคัญของ "จารึกขอมโบราณ" ที่กล่าวถึงคำว่า "สงกรานต์"  

 

ทางด้านทิศตะวันออกของอุโบสถวัดพระธาตุเชิงชุมมี "ตึกสูง" 

 

เนื่องจากมีตึกสูงด้านทิศตะวันออกบดบังทำให้รัศมีของดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณวันมหาสงกรานต์เข้าไม่ถึงพระองค์แสน

 

ภาพจำลองมุมดวงอาทิตย์ที่ขอบท้องฟ้าในวันมหาสงกรานต์ถูกบดบังด้วย "ตึกสูง" ของวัดพระธาตุเชิงชุม ทำให้แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องถึงองค์หลวงพ่อองค์แสน   

 

15 เมษายน 2561

 

บรรยากาศที่สระพังทอง (บาราย) รุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นวันที่ 15 เมษายน  

 

เข็มทิศโชว์พิกัดที่ขอบท้องฟ้า "ดวงอาทิตย์น่าจะขึ้นตรงนี้"

 

 

ดวงอาทิตย์มาตามนัดที่พิกัดมุมกวาด 80 องศา

 

ระเบียงท่าน้ำที่สระพังทองทำมุมตรงกับพิกัดดวงอาทิตย์ "มหาสงกรานต์" 

 

ภาพถ่ายที่พระธาตุเชิงชุมเห็นรัศมีของแสงอาทิตย์ด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ

 

แสดง Sun-Path การเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์เอียงไปทางทิศใต้ 17 องศา เพราะพระธาตุและตัวเมืองสกลนครตั้งอยู่ที่ตำแหน่งเส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ

 

ถ้ามี Drone ยิงภาพจากมุมสูงน่าจะได้เห็นภาพแบบนี้ครับ

 

 

16 เมษายน 2561

 

เก็บภาพที่สระพังทอง (บาราย) ตั้งแต่เช้าตรู่ ยังไม่เห็นดวงอาทิตย์ 

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นอย่างสวยงามที่ center-line ของสระพังทอง

 

อีกภาพของดวงอาทิตย์ที่ center-line สระพังทอง 

 

Center-line ของสระพังทองทำมุมกวาด 80 องศา (azimuth 80) 

 

Center-line สระพังทอง มองจากจุด Viewing Point  

 

Viewing Point เป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อชมวิวของสระพังทอง และบังเอิญตรงกับ center-line อย่างลงตัว

 

ภาพจำลอง ถ้าใช้ Drone ยิงมุมกล้องจากระดับสูงน่าจะเห็นภาพแบบนี้

 

เข็มทิศแสดงค่าดวงอาทิคย์ขึ้นตรงกับ center-line ของสระพังทองที่มุมกวาด 80 องศา (sunrise at azimuth 80)

 

ยิงภาพจากอุโบสถของวัดพระธาตุเชิงชุมดวงอาทิตย์ขึ้นที่ประตูกลางตรงกับ center-line 

 

อีกภาพของดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับ center-line ของวัดพระธาตุเชิงชุม

 

Center-line ของวัดพระธาตุเชิงชุมทำมุมกวาด 80 องศา (azimuth 80)

 

ดวงอาทิตย์โผล่พ้นตึกสูงด้านทิศตะวันออกของวัดพระธาตุเชิงชุม

 

ยิงมุมกล้องจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อยืนยันว่าแสงอาทิตย์ส่องตรงเข้าหาองค์พระธาตุที่มุมกวาด 80 องศา สังเกตุว่าองค์พระธาตุด้านทิศใต้และทิศเหนือไม่มีแสงอาทิตย์

 

 

ภาพสวยงามขององค์พระธาตุเชิงชุมยามต้องแสงอาทิตย์รุ่งอรุณ

 

ภาพถ่ายจากทิศตะวันตกขององค์พระธาตุเชิงชุม ดวงอาทิตย์อยู่ทางด้านทิศใต้เล็กน้อยเป็นเพราะลักษณะ Sun-Path ณ เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ 

 

          สรุป 

          ผลการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่าง 14 - 16 เมษายน 2561 ยืนยัน center-line ของผังเมืองโบราณสกลนคร ที่ออกแบบโดยบรรพชนชาวขอมเมื่อพันปีที่แล้ว ทำมุมกวาด 80 องศา ตรงกับปรากฏการณ์ "มหาสงกรานต์" และความหมายคำจารึกภาษาขอมโบราณที่ขอบประตูด้านขวามือของปราสาทศิลาแลงอยู่ภายในองค์พระธาตุเชิงชุม ตอนหนึ่งของบรรทัดสุดท้ายมีคำกล่าว "ถวาย ...................... แด่สงกรานต์" 

         ปฏิบัติการครั้งนี้สะท้อนคำกล่าวที่ว่า ......... "ประวัติศาสตร์เป็นบันทึกเรื่องราวแห่งอดีตกาล วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือพิสูจน์ว่าสิ่งเหล่านั้นจริงหรือไม่" 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ