ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล

 ป่าเศรษฐกิจครอบครัว ทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล

           เป็นแนวคิดของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร วิสาหกิจเพื่อสังคม เกิดขึ้นจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับ "เครือข่ายอินแปง" อำเภอกุดบาก สกลนคร ที่พยายามสร้างป่าในที่ดินส่วนบุคคลของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยมีนโยบายว่าใครมีที่ดิน 10 ไร่ น่าจะปลูกป่าประมาณ 3 - 4 ไร่ เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ขณะเดียวกันก็มีผลผลิตอาหารธรรมชาติเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ชุมชน และยังสามารถขายเป็นรายได้

 

 

       ทำไมจึงใช้ชื่อ "ป่าเศรษฐกิจครอบครัว"

          เมื่อพูดถึงคำว่า "ป่า" ทุกท่านนึกถึงภาพของ "ป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ" ซึ่งเป็นสมบัติของรัฐ ดูแลรักษาโดยหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ "ป่าเศรษฐกิจครอบครัว" เป็นสมบัติส่วนบุคคลมีเอกสารสิทธิ์ นส.3 หรือโฉนดที่ดิน เจ้าของแต่ละรายดูแลรักษาต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือปลูกขึ้นใหม่เพื่อเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน ชุมชน และขายเป็นรายได้ นานๆเข้าป่าเหล่านี้ก็ทำหน้าที่รักษาระบบนิเวศน์ทำให้ที่ดินบริเวณใกล้เคียงเกิดความชุ่มชื้นจากน้ำใต้ดินจนสามารถเพาะปลูกพืชต่างๆได้ดี

          บริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร ได้แนวคิดนี้จาก "เครือข่ายอินแปง" ที่อำเภอกุดบาก เป็นองค์กรภาคประชาชนที่รวมตัวกันสร้างป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติและรักษาระบบนิเวศน์ จึงสนับสนุน "ป่าเศรษฐกิจครอบครัว" ให้เป็นโครงการระดับจังหวัดเพื่อขยายผลไปยังราษฏรรายอื่นๆที่มีที่ดินพอเพียงต่อการปลูกป่าคู่ขนานกับการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสม

 

     

คณะกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร ได้เข้าร่วมพบปะและเสวนากับเครือข่ายอินแปงหลายครั้งจนได้ข้อสรุปบว่าต้องเดินหน้าโครงการ "ป่าเศรษฐกิจครอบครัว" ให้เป็นโครงการใหญ่ระดับจังหวัด

 

การลงพื้นที่หลายครั้งพบว่าราษฏรหลายคนมีป่าของตนเองจากการรักษาต้นไม้ที่เกิดจากธรรมชาติและปลูกขึ้นมาใหม่ ดังตัวอย่างป่ายางนา 20 ไร่ จำนวน 1,200 ต้น ของคุณยายสวิงทอง รำคำ อายุ 65 ปี บ้านบัว ตำบลค้อน้อย อำเภอกุดบาก

 

ป่ายางนาของคุณยายสวิงทอง รำคำ มีเห็ดธรรมชาติเกิดตามฤดูกาลมากมาย สามารถขายเป็นรายได้ทุกๆปี 

 

นอกจากเห็ดธรรมชาติแล้วยังมี "ยางตะเคียน" เป็นยาสมุนไพรแก้แผลกดทับได้อย่างดี มีราคากิโลกรัมละ 300 บาท

 

ป่าธรรมชาติในที่ดิน 200 ไร่ ของนายสุมัธ ศรีมี อำเภอสว่างแดนดิน 

 

ป่าของนายสุมัธ ศรีมี อุดมไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด เป็นคำยืนยันจากคุณลุงทรงพล เดชพันธ์ุ อายุ 74 ปี เป็นหมอสมุนไพรพื้นบ้าน

 

ต้นฤดูฝน 13 กรกฏาคม 2562 เครือข่ายป่าเศรษฐกิจครอบครัวได้ร่วมกันปลูกไม้ป่าเพิ่มเติมซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) 

 

บริษัทประชารัฐฯได้สนับสนุนโครงการนำร่อง "เลี้ยงหอยเพื่อผลิตเครื่องสำอาง Snail White" ที่บ้านโคกสะอาด ต.อุ้มจาน อ.กุสุมาลย์ สกลนคร

 

การวิเคราะห์ SWOT 

 

จุดแข็ง (Strength) 

 

1.เครือข่ายอินแปงมีโครงการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกป่าในที่ดินของตนเองมานานกว่า 20 ปี (บริษัทประชารัฐกำลังสำรวจขึ้นทะเบียน)  

2.สอดคล้องกับค่านิยมและอุปนิสัยของคนไทยที่ชอบดูแลรักษาสมบัติส่วนตัวอย่างจริงจัง

3.มีรายได้ตามฤดูกาลจากผลผลิตธรรมชาติ เช่น เห็ดป่า ใข่มดแดง แมลง พืชผักพื้นบ้าน สมุนไพร ฯลฯ อีกทั้งในระยะยาวสามารถขายไม้ในราคาสูง

4.รักษาระบบนิเวศน์นำมาซึ่งความชุ่มชื้นจากน้ำใต้ดินและลดการสูญเสียหน้าดินจากการกัดเซาะ ทำให้การเพาะปลูกในบริเวณใกล้เคียงได้รับอนิสงค์

 

 

จุดอ่อน (Weakness)

 

1.รายได้จากผลผลิตที่เกิดจากป่ายังไม่มีความแน่นอนในด้านการตลาด

2.ไม่เหมาะกับผู้มีที่ดินจำกัด

3.ใช้เวลาหลายปีในการเห็นผล

 

โอกาศ (Opportunity)

1.รัฐบาลมีนโยบายที่จะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าและมีงบประมาณรองรับทุกปี

2.กระแสการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น สมุนไพร เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม ฯลฯ เริ่มมาแรงในหมู่ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง

3.สอดคล้องกับข้อตกลงนานาชาติเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ซึ่งรัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามตามความตกลงกรุงปารีส เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มอบสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีสแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม High-Level Event on the Ratification of the Paris Agreement

4.ประเทศไทยได้ตั้ง "องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน" เมื่อปี 2550 เพื่อรองรับความตกลง Kyoto Protocol ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นโอกาศที่จะมีการรับซื้อ Carbon Credit เพื่อสร้างรายได้พิเศษให้แก่ป่าเศรษฐกิจครอบครัว 

5.สำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (Biodiversity-Based Economy Development Office: BEDO) ให้ความสนใจและเข้ามาสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ด้วยการขึ้นทะเบียนโครงการนำร่องป่าเศรษฐกิจครอบครัว 32 แปลง ที่สกลนคร และจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องในจังหวัดต่างๆ   

 

 

ภัยคุกคาม (Threat)

 

1.กระแสอุตสาหกรรมการเกษตรรายใหญ่ที่ต้องการใช้ที่ดินจำนวนมาก 

2.นโยบายรัฐบาลที่เน้นสร้าง GDP จากภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการจะส่งผลให้ลูกหลานชาวชนบทไม่อยากทำงานในท้องถิ่น และไม่มีความหวงแหนที่ดินมรดกจากบรรพบุรุษ

3.การบีบคั้นทางเศรษฐกิจทำให้ราษฏรต้องการขายที่ดิน 

4.ราชการยังไม่ยอมรับว่า "ป่าเศรษฐกิจครอบครัว" เป็นส่วนหนึ่งของการเกษตร จึงขาดโอกาศในการรับความช่วยเหลือในกรณีความเสียหายจากภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ

5.การลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตสอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ป่าครอบครัว

 

          จากข้อมูลวิเคราะห์ SWOT เมื่อนำ "จุดแข็ง" มาผสมผสานกับ"โอกาศ" ทำให้มองเห็นแนวทาง 2 ประเด็น ในการสร้างรายได้แก่ราษฏรที่เข้าร่วมโครงการป่าเศรษฐครอบครัว ขณะเดียวกันก็เป็นการตอบคำถามที่พี่ไทยอย่างเราๆท่านๆชอบพูดแบบดราม่าว่า "ปลูกป่าเศรษฐกิจครอบครัวตามนโยบายบริษัทประชารัฐฯแล้วจะได้อะไร" 

          1.สร้างมูลค่าเพิ่มจากป่าโดยใช้ตลาดเป็นตัวนำ เช่น การขายวัตถุดิบ หรือผลผลิตกึ่งแปรรูป เช่น สมุนไพร หรือผลผลิตพืชต่างๆให้แก่เอกชนที่มีตลาดอยู่แล้ว ขณะเดียวกันป่าที่มีศักยภาพต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ก็สามารถพัฒนาในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้บริษัทประชารัฐจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ

          2.ผลักดันให้ภาครัฐเปิดนโยบายมิติใหม่ "ซื้อคาร์บอนเครดิต" จากป่าเศรษฐกิจครอบครัวคู่ขนานกับนโยบายปลูกป่า ทำให้ราษฏรมีรายได้ประจำปีที่แน่นอน เข้าตำรา "รัฐได้ป่า ประชาได้เงิน" ภาษา Thailand 4.0 เรียกว่า win win ในการนี้บริษัทประชารัฐฯจะประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นเพื่อสร้าง "มาตรการและกลไกในการซื้อคาร์บอนเครดิต" โดยมีสาระสำคัญ เช่น

          2.1 มาตรการและวิธีการกำหนดมูลค่าคาร์บอนเครดิต (สามารถศึกษาจากงานวิจัยที่เครือข่ายอินแปง อ.กุดบาก ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับมหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท เมื่อปี 2550 - 2553) 

          2.2 มาตรการสร้างแรงจูงใจแก่ราษฏรรายใหม่ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ 

           2.3 มาตรการอื่นๆที่เหมาะสม

      

 

ตัวอย่างแนวคิด "การขายคาร์บอนเครดิต" ของเครือข่ายอินแปง จากงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท สหรัฐอเมริกา

 

  

(ร่าง) รูปแบบการซื้อขาย Carbon Credit จากป่าเศรษฐกิจครอบครัวสกลนคร โดยมีส่วนราชการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)  สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสกลนคร และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร จำกัด

 

จุดประกายแห่งความหวังในโครงการซื้อขาย Carbon Credit โดย ท่านจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพก) และผู้แทนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562 ณ Road show สร้างการรับรู้การดำเนินงานพื้นที่สีเขียวบอกเขตอนุรักษ์ ชุมชนไม้มีค่า - ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept ณ โรงแรมรามาการ์เดน กทม. 

 

บรรยากาศแห่งการทำ Road Show ที่โรงแรมรามาการ์เดน กทม วันที่ 7 กันยายน 2562

 

        Case Study การปลูกป่าในที่ดินส่วนบุคคล 

 

           บริษัทประชารัฐฯจับมือกับหอการค้าผลักดันนโยบายส่งเสริมให้เอกชนหรือบุคคลที่มีที่ดินและประสงค์จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ประเทศชาติ ด้วยการว่าจ้างเครือข่าย "อินแปง" ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในเรื่องไม้ป่าเป็นผู้รับเหมาปลูกและดูแลป่า ขณะเดียวกันก็เป็นการกระจายรายได้สู่ประชาชนในท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นผู้เสนอแนวคิดนี้จึงเริ่มต้นในที่ดินของตนเอง 4 ไร่ ที่บ้านกุดพร้าว ตำบลวาริช อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร เพื่อเป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์แก่ผู้สนใจ  

 

 

 

วางแผนและเตรียมดินโดยลุงเอก ผู้เชี่ยวชาญการปลูกป่าจากเครือข่ายอินแปง มิถุนายน 2561 

 

ปลูกไม้ป่านานาชนิดในเนื้อที่ 4 ไร่ ปลายเดือนมิถุนายน 2561

 

 

ติดตามผลปลูกซ่อมแซม และดูแลรักษา มิถุนายน 2563 

 

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไม้ป่าระยะเวลา 22 เดือน ระหว่าง มิถุนายน 2561 กับ มีนาคม 2564  

 

เปรียบเทียบการเจริญเติบโต ในรอบ 7 เดือน

 

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตไม้พยุงในรอบ 1 ปี เมษายน 2563 และเมษายน 2564

 

 

จากวันแรกมิถุนายน 2561 (ซ้าย)  ถึงพฤศจิกายน 2564 (ขวา) 

 

ในฐานะสมาชิกสโมสรโรตารีสากลภาค 3340 ก็ต้องร่วมมือในเป้าหมาย Supporting Environment of Rotary International  

 

ผู้รับเหมาจากเครือข่ายอินแปงทำการปลูกและดูแลรักษาอย่างน้อย 3 ปี

 

เป็นการกระจายรายได้สู่ชาวบ้านในท้องถิ่น

 

 

มีการผสมเชื้อเห็ดป่ากับดินที่เพาะต้นไม้เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเมื่อต้นไม้โตในอีก 3 ปีข้างหน้า

 

นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน รองประธานบริษัทประชารัฐฯสกลนคร และที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสกลนคร ได้นำเสนอโครงการนี้ต่อที่ประชุมเครือข่ายป่าครอบครัว จัดโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2562 ที่ศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร และ 7 กันยายน 2562 ที่โรงแรมรามาดการ์เดน กทม. 

 

ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank) มีผลอย่างไรกับป่าเศรษฐกิจครอบครัว 

 

สโมสรโรตารีสกลนครสนับสนุนให้ป่าเศรษฐกิจครอบครับ ฟาร์มดงไร่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร เป็นจุดสาธิตผลดีของธนาคารน้ำใต้ดินกับการปลูกป่า โดยเริ่มสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (close system groundwater bank) 5 หลุม กระจายในพื้นที่ 4 ไร่ โดยใช้งบประมาณ 10,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 

 

เริ่มสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดเมื่อธันวาคม 2561  

 

เปรียบเทียบการเติบโตของต้นไม้ระหว่างเมษายน 2563 กับเมษายน 2566

 

ธนาคารน้ำใต้ดินทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้ด้วยขบวนการ "ไส้ตะเกียง" (capillary action) หรืออีกนัยหนึ่งคือระบบชลประทานใต้ดิน (Subsurface Irrigation) 

 

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้ระหว่างป่าที่มีธนาคารน้ำใต้ดิน กับป่าที่รับน้ำฝนตามธรรมชาติ

 

ภาพถ่ายเดือนมีนาคม 2566 ป่าเศรษฐกิจครอบครัว ฟาร์มดงไร่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร ต้นไม้โตเร็วมากเพราะมีธนาคารน้ำใต้ดิน

 

ตรวจสอบระดับน้ำใต้ดิน (groundwater table) เดือนเมษายน 2566 โดยใช้เชือกผูกลูกลอยหย่อนลงไปในท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน 3 แห่ง (Observation Well) พบว่าระดับน้ำอยู่ที่ 2.9 m 3.26 m และ 3.35 m ซึ่งเหมาะสมต่อการสร้างความชุ่มชื้นด้วยปฏิกริยาใส้ตะเกียง (capillary action)

 

          สรุป

          หากราษฏรมีความมั่นคงทางอาหารจากป่า มีรายได้ที่ต่อเนื่องจากการขายผลผลิต บวกกับรายได้พิเศษจากการขายคาร์บอนเครดิตให้กับภาคเอกชน และเกิดความภาคภูมิใจว่าได้เป็นหนึ่งแรงในการกอบกู้โลกจากภาวะ Climate Change จะนำไปสู่การหวงแหนป่าและหันมาปลูกป่ามากขึ้น โดยภาครัฐไม่ต้องเป็นภาระในการดูรักษา เข้าทำนอง win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล

         ผมนับถือความคิดของสาวน้อยชาวสวีเดนอายุ 16 ชื่อ Greta Thunberg ที่หยุดโรงเรียนทุกวันศุกร์มานั่งประท้วงนักการเมืองและรัฐบาลให้หันมาสนใจเรื่อง Climate Change โดยสาวน้อยใช้คำพูดกระหึ่มโลกว่า "ไม่มีใครเล็กเกินไปที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง" (you are never too small to make a difference)  

 

 

ป้ายภาษาสวีเดนที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ School Strike for Climate ตอนนี้กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ น้อง Greta ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานที่สำนักงานใหญ่ UN ที่กรุงนิวยอก สหรัฐอเมริกา เดือนกันยายน 2019

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ