ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"

 

       ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"

           ท่านรองประธานหอการค้าไทยและประธานหอการค้าอีสาน คุณประพันธ์ุ เตชะสกลกิจกูร มีแนวคิดที่เสนอยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวสำหรับภาคอีสานตอนล่างในเส้นทาง "ราชมรรคา" ผมสรรค์สนธิ บุณโยทยานในฐานะที่ปรึกษา จึงเขียนบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางและจุดเริ่มต้นต่อการจัดทำยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์

           เบื้องต้นขอนำเสนอข้อมูลในลักษณะ Fact Finding ของความเป็นมาที่มีนัยสำคัญต่อการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจสังคมในยุคนั้น เพื่อนำไปสู่บทวิเคราะห์ต่อการจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของภาคอีสานตอนล่าง

 

 

 

       เส้นทาง "ราชมรรคา" มีความเป็นมาอย่างไร

          ย้อนเวลาไปร้อยกว่าปีที่แล้วในยุคสมัยที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมในดินแดนกัมพูชา นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบโบราณสถานของชาวเขมรโบราณ (ancient khmer) ซ่อนตัวอยู่ในป่าดงดิบชื่อว่า "เมืองพระนคร" (Angkor) จึงทำการบูรณะและศึกษาข้อมูลจากจารึกต่างๆ เนื่องจากนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสมีความชำนาญในแวดวงประวัติศาสตร์ทำให้สามารถอ่านและแปลจารึกต่างๆออกมาเป็นภาษาของเขา หนึ่งในนั้นคือจารึกปราสาทพระขันฑ์ใกล้ๆกับนครธม (Angkor Thom) ข้อความตอนหนึ่งของจารึกระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างศาลาที่พักสำหรับคนเดินทาง (Dharmasala) จำนวน 17 แห่ง ในเส้นทางระหว่างเมืองพระนคร (Angkor) ไปยังเมืองพิมาย

             ข้อมูลนี้ถูกนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสนำไปเขียนเป็นนิยายและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นักวิชาการไทยได้แปลหนังสือดังกล่าวโดยให้ชื่อเรื่องว่า "ราชมรรคา" จึงกลายเป็นศัพท์ที่นักโบราณคดีและบริษัททัวร์นำไปเผยแพร่จนกลายเป็นหนึ่งในจุดขายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคอีสานตอนล่าง

           ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอย่างสูงต่อผลงานการศึกษาโครงการ Living Angkor Raod Project (LARP) โดยความร่วมมือของ APSARA Authority Cambodia โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้งบประมาณจาก Thailand Reserch Fund (TRF) 

            อนึ่ง จากข้อมูลของ Mitch Hendrickson ในเอกสาร Historic routes to Angkor: developnent of the Khmer road system ninth to thirteenth century AD in mainland Southeast Asia ระบุว่าเส้นทางราชมรรคามีมานานก่อนยุคขอมเรืองอำนาจและได้รับการปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ผู้สร้างปราสาทพิมาย เส้นทางสายนี้มีความเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีที่พักรายทางสำหรับผู้แสวงบุญ 17 แห่ง รวมทั้งโรงพยาบาล (อโรคยาศาล) อีก 3 แห่ง   

 

แผนที่แสดงขอบเขตอาณาจักรขอมในยุคที่เจริญสุดขีดในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเส้นทาง "ราชมรรคา" เริ่มต้นจากนครอังกอร์ไปสิ้นสุดที่เมืองพิมาย (สีเหลือง) รวมทั้งเส้นทางอื่นๆในราชอาณาจักรขอม 

 

เส้นทางราชมรรคาในยุคก่อนอาณาจักรขอม (pre-Angkor) จนถึงคริสศตวรรษที่ 9 และยุคนั้นยังไม่มีเมืองพิมาย (เอกสารอ้างอิง http://faculty.washington.edu/plape/citiesaut11/readings/Hendrickson--angkor%20roads-Antiquity.pdf )

 

เส้นทาง "ราชมรรคา" ในคริสศตวรรษที่ 11 รัชสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ผู้สร้างเมืองพิมาย (เอกสารอ้างอิง http://faculty.washington.edu/plape/citiesaut11/readings/Hendrickson--angkor%20roads-Antiquity.pdf )

 

โครงการศึกษาเส้นทางราชมรรคา Living Angkor Road Project (LARP) โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆของไทยและกัมพูชา สนับสนุนงบประมาณโดย Thailand Research Fund (TRF) สรุปผลเมื่อปี ค.ศ.2007

 

แผนที่เส้นทางราชมรรคา ที่ฝรั่งเศสทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1911

 

ศิลจารึกที่ปราสาทพระขันฑ์ เมือง Siem Reap กัมพูชา

 

คำแปลจารึกปราสาทพระขันฑ์โดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ยอช เซเดย์ (Georges Coedes) เมื่อปี ค.ศ.1941

 

ส่วนหนึ่งของจารึกกล่าวถึงการสร้างที่พักคนเดินทาง (Dharmasala) บนเส้นทางระหว่างนครอังกอร์ถึงเมืองพิมาย

 

หนังสือพิมพ์บางกอกโพ้ส Bangkok Post 2 สิงหาคม 2550 ตีพิมพ์เกี่ยวกับผลการศึกษา "ศาลาที่พักคนเดินทาง" (Dharmasala) 17 แห่ง บนเส้นทางระหว่างเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

หนังสือนิยายภาษาฝรั่งเศส La Voie royale แต่งโดยนักประพันธ์ชื่อ Andre Malraux ต่อมามีการแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยในชื่อ "ราชมรรคา" เนื้อหาใจความกล่าวถึงนักโบราณคดีและนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสสองคนเดินทางไปยังเส้นทางระหว่างเมืองพระนคร (ขณะเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส) กับดินแดนอาณาจักรสยาม เพื่อค้นหารูปสลักเขมรโบราณและนำไปขายสร้างความรำ่รวย แต่ทั้งสองต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอันโหดร้ายของป่าดงดิบและผู้คนท้องถิ่นที่พร้อมทำร้ายคนแปลกหน้าและสุดท้ายลงเอยด้วยความตายแบบเดียวดาย

 

ปี ค.ศ. 1998 ผมไปปฏิบัติงานราชการในภาระกิจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ที่ประเทศกัมพูชา มีโอกาสตระเวนไปตามจังหวัดต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลด้านการเกษตร และเมื่อมีเวลาว่างก็พูดคุยกับนักวิชาการชาวกัมพูชาและชาวยุโรปที่อยู่ในทีมเดียวกัน คนเหล่านั้นล้วนมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของอาณาจักรเขมรโบราณจึงทำให้เรื่องราวของ The Royal Road ระหว่าง Angkor กับ Siam ถูกยกขึ้นมาเป็นหัวข้อการพูดคุยบ่อยครั้ง

 

ผมมีโอกาสได้กลับไปที่ Angkor อีกหลายครั้งระหว่างปี ค.ศ. 2004 - 2014 ในภารกิจของโครงการ Mekong Water Dialouge และโครงการของ World Bank ได้ใช้เวลาว่างเยี่ยมชมโบราณสถานและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ

    

       สิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของโครงการ Living Angkor Road Project (LARP) ในเส้นทางราชมรรคา

           โครงการนี้ให้ข้อมูลอย่างละเอียดขององค์ประกอบต่างๆในเส้นทางราชมรรคาซึ่งเริ่มต้นจากเมืองพระนคร (Angkor) ปัจจุบันอยู่ใกล้ๆกับเมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา ผ่านช่องเขาพนมดงเล็กที่ปราสาทตาเมือนธมและตรงมายังปราสาทพิมาย โคราช ประเทศไทย

            

       1.ศาลาที่พักคนเดินทาง (Dharmasala) จำนวน 17 แห่ง

           ตามความในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขันฑ์ระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรอังกอร์ (ครองราชย์ พ.ศ.1724 - 1761) ได้สร้างที่ศาลาพักจำนวน 17 แห่ง บนเส้นทางระหว่างเมืองพระนคร (Angkor) กับเมืองพิมาย อนึ่งถ้าวิเคราะห์ในแง่มุมประวัติศาสตร์เส้นดังกล่าวที่มีระยะทางประมาณ 245 กิโลเมตร น่าจะเริ่มสร้างก่อนอาณาจักรขอม แต่ได้รับการปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 (พ.ศ.1549 - 1593) พร้อมๆกับการสร้างปราสาทพิมายเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และต่อมาถูกดัดแปลงเป็นสถานที่ของศาสนาพุทธในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมๆกับสร้างศาลาที่พักและอโรคยาศาลในเส้นทางดังกล่าว

 

 

แผนที่ระบุตำแหน่งศาลาที่พักคนเดินทางตามเส้นทางราชมรรคา เริ่มตั้งแต่เมืองพระนคร (Angkor) ไปสิ้นสุดที่ปราสาทพิมาย

 

อีกหนึ่งมุมมองของแผนที่เส้นทางราชมรรคา น่าสังเกตว่าเมื่อเส้นทางไปถึงเทือกเขาพนมดงเร็กจะเริ่มขึ้นสู่ที่ราบสูงโดยผ่านช่องเขาที่ปราสาทตาเมือนธม (Ta Meun Pass) 

 

ปรียบเทียบรายชื่อศาลาที่พักคนเดินทาง (Dhamarsala) ระหว่างข้อมูลเก่ากับผลการศึกษาโครงการ LARP

 

รายชื่อที่พักคนเดินทางในส่วนของประเทศกัมพูชาเริ่มตั้งแต่เมืองพระนคร (Angkor( ไปถึงเทือกเขาพนมดงเร็ก (Dang Rek) รวมระยะทาง 121.04 กิโลเมตร

 

รายชื่อศาลาที่พักคนเดินทางในส่วนของประเทศไทยตั้งแต่พนมดงเร็ก (Dang Rek) จนถึงพิมาย (Phimai) รวมระยะทาง 123.2 กิโลเมตร

 

รูปร่างหน้าตาของศาลาที่พักคนเดินทางเป็นแบบนี้ (ปราสาทตาเมือน) ที่จังหวัดสุรินทร์ ใกล้ๆกับปราสาทตาเมือนธม ติดชายแดนประเทศกัมพูชา

 

 ศาลาที่พักคนเดินทางที่พบใหม่ในโครงการ LARP

 

      2.อโรคยาศาล โรงพยาบาลในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

          นักวิชาการชาวกัมพูชาในโครงการ LARP ชื่อ Sokrithy ให้ข้อมูลว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สั่งให้สร้างโรงพยาบาล (อโรคยาศาล) หลายแห่งเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในรัชสมัยของพระองค์ และมี 3  แห่ง ตั้งอยู่ในเส้นทางราชมรรคาระหว่างนครอังกอร์ - พิมาย และหนึ่งในนั้นเพิ่งจะถูกพบโดยโครงการนี้

           (King Jayavarman VII, in an attempt to provide better health care to his people, had also ordered the construction of many arogyasala, or hospitals, during his reign. Three of them have been found along the Angkor-Phimai royal road, said Sokrithy, one of them a new discovery) 

 

ปราสาทตาเมือนโต๊ด หันหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมกวาด 85 องศา (azimuth 85) เป็นหนึ่งในสามของอโรคยาศาลตามเส้นทางราชมรรค ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มปราสาทตาเมือน ติดชายแดนประเทศกัมพูชา ที่จังหวัดสุรินทร์

 

รูปร่างหน้าตาของปราสาตาเมือนโต๊ด อโรคยาศาล ในความเป็นจริงตัวโรงพยาบาลสร้างด้วยไม้และพุพังไปหมดแล้วเหลือแต่องค์ประกอบที่เป็นปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย

 

อโรคยาศาล กุฏิฤาษี บนเส้นทางราชมรรคาที่พิมาย

 

จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบที่อโรคยาศาลกุฏิฤาษี พิมาย มีถ้อยคำระบุถึงฤกษ์การเบิกสิ่งของจากท้องพระคลังในวันเพ็ญเดือนไจตระ ณ กาลที่ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ  

   

       3.สะพานศิลาแลงในเส้นทางราชมรรคา

          เป็นที่น่าแปลกใจว่าสะพานเหล่านี้พบเฉพาะในเขตช่วงเมืองพระนคร (Angkor) กับเทือกเขาพนมดงเร็กเท่านั้น ไม่ปรากฏพบในเขตตั้งพนมดงเร็กถึงเมืองพิมาย แต่แปลกยิ่งกว่านั้นกลับพบสะพานหินเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่จังหวัดสกลนครซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลทางทิศเหนือจากเส้นทางราชมรรคาประมาณ 300 กิโลเมตร

 

 

สะพานศิลาแลงพบในเส้นทางราชมรรคาในดินแดนประเทศกัมพูชา

 

สะพานหินในนครธม เมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา

 

สะพานศิลาแลงแห่งเดียวในประเทศไทยพบที่จังหวัดสกลนคร (ภาพถ่ายเมื่ปี พ.ศ.2449

 

ภาพถ่ายสะพานศิลาแลงที่สกลนครกำลังจะถูกกลบตามโครงการขยายถนนหลวงแผ่นดิน

 

สะพานศิลาแลงที่จังหวัดสกลนครได้รับการบูรณะใหม่

 

       4.แหล่งประกอบอุตสาหกรรม

           พบหลักฐานการทำเครื่องปั้นดินเผาและการถลุงแร่เหล็กกระจายอยู่ทั่วบริเวณทั้งตามเส้นทางราชมรรคาในเขตประเทศไทยและกัมพูชา แสดงว่ายุคนั้นมีการผลิตเครื่องดินเผาและเครื่องมือทำจากเหล็กอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

 

พบขี้ตระกรันจากเตาถลุงแร่เหล็กตามเส้นทางราชมรรคาแสดงว่าต้องมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเหล็กกระจายตัวอยู่ในบริเวณนี้

 

ภาพวาดแสดงเตาหลอมเหล็กในยุคขอมเรืองอำนาจ

 

ชาวกัมพูชาในปัจจุบันยังมีความเชื่อเกี่ยวกับ "พระขันฑ์" ที่ผลิตจากแร่เหล็กใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆ

 

การใช้พระขันฑ์ในพิธีมงคลสมรสของชาวกัมพูชา

 

เครื่องปั้นดินเผาในรูปแบบเซรามิคพบกระจัดกระจายอยู่หลายพื้นที่ในเส้นทางราชมรรคา

 

ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีต่างๆ

 

เครื่องปั้นดินเผาเซรามิครูปร่างสวยงามขนาดต่างๆแสดงถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

 

      5.ชุมชนโบราณ

          เส้นทางราชมรรคาเป็นที่ตั้งของชุมชนจำนวนมากในยุคขอมเรืองอำนาจ แสดงว่าถนนสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญระหว่างเมืองหลวงอังกอร์และหัวเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างเมืองพิมายซึ่งเป็นศูนย์กลางของการปกครองในดินแดนที่ราบสูง

 

 

ภาพสลักนูนต่ำ (Bas relief) ที่ปราสาทพระขันฑ์แสดงวิธีการ "ใช้สุ่มจับปลา" ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้วิธีดั้งเดิม

 

 

ภาพแกะสลัก "การใช้ครกตำข้าว" ที่ปราสาทพระขันฑ์ สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ถ่ายทอดกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน

 

 

กีฬาการชนไก่ก็เป็นวิถีแห่งชุมชนที่มีแต่ครั้งยุคโบราณจวบจนทุกวันนี้ ภาพเล็กท่านรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายซกอาน กำลังอุ้มไก่ชนตัวโปรด

 

       ปราสาทพิมายและปราสาทตาเมือนธมน้อมรับเส้นทางราชมรรคาและราชธานีอังกอร์ ....... โดยยอมหันหน้าไปทางทิศใต้

          จากการสำรวจของผมโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่าง Google Earth GPS และเข็มทิศแม่เหล็ก พบว่าปราสาทพิมายและปราสาทตาเมือนธม "ยอมผิดสะเป็ก" โดยหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากหลักเกณฑ์ของปราสาทขอมทั่วไปที่ต้องหันหน้าไปทิศตะวันออกแท้ (due east) หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast) คำอธิบายที่น่าจะสมเหตุสมผลมากที่สุดก็คือ "เป็นเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมืองและการปกครอง น้อมรับเส้นทางราชมรรคา" ที่มาจากนครหลวงอังกอร์ แสดงว่าเส้นทางสายนี้ต้องยิ่งใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ

           การที่ปราสาททั้งสองหันหน้าไปทางนครอังกอร์ทำให้ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" จำเป็นต้องขยับให้เฉียงไปหาทิศเหนือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะตามสะเป็กท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ต้องชี้ตรงไปทางทิศเหนือโดยออกจากห้อง "ครรภคฤหะ" (Garbha Griha) ด้วยมุมฉาก ตามความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าเหตุผลที่ท่อโสมสูตรต้องชี้ไปทางทิศเหนือเพราะให้ตรงกับตำแหน่งที่ตั้ง "เขาพระสุเมรุ" ซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ

 

ปราสาทพิมายและปราสาทตาเมือนธมน้อมรับเส้นทางราชมรรคโดยหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อให้ตรงกับนครหลวงอังกอร์

 

 

ปราสาทพิมายสร้างในรัชสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 เพื่อเป็นศาสนสถานของพราหมณ์ และอีกร้อยกว่าปีต่อมาถูกดัดแปลงเป็นศาสนาพุทธโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

  

ภาพถ่าย Google Earth แสดงให้เห็นชัดเจนว่าปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่มุมกวาด 160 องศา (azimuth 160) 

 

GPS ของ I-Phone แสดงการหันหน้าของปราสาพิมายทางทิศใต้ที่มุมกวาด 160 องศา

 

 

การที่ตัวปราสาทถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศใต้ทำให้ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (โสมสูตร) จำเป็นต้องเบี่ยงออกมาทางมุมเพื่อให้เฉียงไปทางทิศเหนือมากที่สุด 

 

ผมมีความสงสัยความผิดปกติของท่อโสมสูตรที่ปราสาทหลังนี้มาตั้งแต่ไปสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2545 

 

  

GPS แสดงตัวเลขว่าท่อโสมสูตรเบี่ยงไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 25 องศา (azimuth 25) 

 

โดยปกติท่อโสมสูตรที่ปราสาทขอมทั่วไปต้องเปิดออกไปทางทิศเหนือในลักษณะตั้งฉากกับตัวปราสาท แต่ปราสาทพิมายไม่สามารถทำได้เพราะจำเป็นต้องเบี่ยงให้ไปทางทิศเหนือมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าพูดแบบภาษาไทยธรรมดาก็คือ ...... ไหนๆก็รู้ว่าผิดสะเป็กแล้วก็ขอให้ผิดน้อยที่สุด 

 

ปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ที่ช่องเขาตาเมือน (Ta Meun Pass) เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างนครอังกอร์กับพิมายของเส้นทางราชมรรคา และใกล้กันมีปราสาทตาเมือนโต้ดเป็นโรงพยาบาล "อโรคยาศาล" และปราสาทตาเมือนเป็นที่พักคนเดินทาง (Dhamarsala) สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

จากเอกสารของกรมศิลปากร (ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.2538) ยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าปราสาทตาเมือนธมสร้างในสมัยใด แต่จากการพิจารณาศิลปะและจารึกเชื่อว่าน่าจะสร้างตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ( พ.ศ. 1570 - 1599)  

 

 ปราสาทตาเมือนธมก็มาแบบเดียวกันกับปราสาทพิมายคือหันหน้าไปทางทิศใต้ ทำมุมกวาด 174 องศา (azimuth 174) 

 

 เข็มทิศแม่เหล็กแสดงการหันหน้าของปราสาทตาเมือนธมไปทางทิศใต้ที่มุมกวาด 174 องศา

 

จากการที่ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ทำให้ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" จำเป็นต้องเบี่ยงออกไปทางทิศเหนือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

 

 ท่อโสมสูตรพยายามเบี่ยงตัวออกไปทางทิศเนือด้วยมุมกวาด 50.5 องศา และไม่สามารถตั้งฉากกับตัวห้องครรภคฤหะตามสะเป็กของปราสาทขอมทั่วไป

 

ภาพวาดแผนผังของตัวปราสาทแสดงให้เห็นว่าท่อโสมสูตรจำเป็นต้องเฉียงไปทางทิศเหนือที่มุมกวาด 50.5 องศา 

 

       เรื่องราวของช่องเขาตาเมือน Story of The Ta Meun Pass

           ปราสาทตาเมือน เป็นจุดครึ่งทางของเส้นทางราชมรรคาระหว่างนครอังกอร์กับพิมาย และเป็นจุดผ่านบนช่องเขา (The Ta Meun Pass) ที่มีความสำคัญในด้านการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างแผนดินที่ราบตำ่กับแผ่นดินที่ราบสูงซึ่งมีความต่างระดับประมาณ 100 เมตร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้มองเห็นความสำคัญของสถานที่นี้จึงสั่งให้สร้างที่พัก (Dhamarsala) และโรงพยาบาล (Arokayasala) ไว้ในที่เดียวกัน เชื่อว่าผู้เดินทางแสวงบุญต้องแวะพักที่จุดนี้และเข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์ ณ ปราสาทตาเมือนธมเพื่อเป็นศิริมงคลและความปลอดภัยตลอดการเดินทาง 

          มองในแง่มุมของยุทธศาสตร์การปกครองถ้าใครสามารถควบคุมช่องเขาตาเมือนได้ ก็หมายถึงการตัดท่อน้ำเลี้ยงระหว่างเมืองหลวงกับเมืองใหญ่ที่พิมายตลอดจนหัวเมืองย่อยในที่ราบสูงแอ่งโคราช เพราะการเดินทัพจากหัวเมืองดังกล่าวไปยังเมืองหลวงนครอังกอร์ต้องผ่านจุดนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันตรงนี้เป็นยอดภูเขาสามารถมองเห็นข้าศึกในระยะไกลได้อย่างชัดเจน เชื่อว่ากษัตริย์ขอมทุกพระองค์ต้องตรึงกำลังรักษาช่องเขาตาเมือนอย่างเหนียวแน่น เหมือนกับจุดยุทธศาสตร์บนเส้นทางสายไหมที่ชื่อว่า The Kyber Pass ปัจจุบันเป็นช่องเขาระหว่างประเทศปากีสถานกับอัฟกานีสถาน เมื่อครั้ง 300 ปี ก่อนคริสตกาลพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ยกทัพผ่านช่องเขาแห่งนี้ ทุกวันนี้กองกำลังของพันธมิตร NATO ก็ยังคงใช้ช่องเขา Kyber Pass เป็นทางลำเลียงอาวุธและเสบียงอาหารเพื่อการสู้รบในอัฟกานีสถาน 

 

 

ช่องเขาตาเมือน (The Ta Meun Pass) เป็นกึ่งกลางในเส้นทางราชมรรคา

 

ช่องเขาตาเมือนเป็นจุดสูงข่มระหว่างที่ราบต่ำกับที่ราบสูงสามารถมองเห็นข้าศึกในระยะไกลอย่างชัดเจน 

 

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มองเห็นความสำคัญของช่องเขาตาเมือนจึงสั่งให้สร้างที่พัก (Prasat Ta Meun: Dhamarsala) และโรงพยาบาล (Prasat Ta Meun Tod: Arokayasala) ไว้ในที่เดียวกัน  

 

        ตัวอย่างปราสาทขอมที่ถูกสะเป็กโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ (due east) หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

            ปราสาทขอมตามหลักเกณฑ์จะต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ (due east) หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast) และท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" จะชี้ออกไปทางทิศเหนือโดยทำมุมฉากกับห้อง "ครรภคฤหะ" 

 

ภาพแบบแปลนของห้องครรภคฤหะและท่อโสมสูตรของปราสาทขอมทั่วไป

 

          ปราสาทภูมิโปน ที่ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 

           เป็นปราสาทเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ. 1200 - 1299) ก่อนที่จะเกิดอาณาจักรขอม (Angkorian Empire) จากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2560 เห็นป้ายต้อนรับที่ถนนปากทางเข้าหมู่บ้านเขียนว่า "อาณาจักรเจนละ" ซึ่งเก่าแก่กว่าอาณาจักรขอม ปราสาทหลังนี้สร้างด้วยอิฐเผาทั้งหลัง  

 

ปราสาทภูมิโปนหันไปทางทิศตะวันออกแท้และท่อโสมสูตรโผล่ออกมาทางทิศเหนือของห้องครรภคฤหะ

 

 

เข็มทิศแสดงการหันหน้าของตัวปราสาทไปที่ทิศตะวันออกแท้ (due east) ที่มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) 

 

 ท่อโสมสูตรเปิดออกตรงกับทิศเหนือและตั้งฉากกับผนังของห้องครรภคฤหะ 

 

          ปราสาทพนมรุ้ง อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

           เป็นปราสาทขอมสร้างด้วยหินทรายและอยู่ในเส้นทางราชมรรคาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยมุมกวาด 85 องศา (azimuth 85)  

 

เข็มทิศแสดงตำแหน่งการหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อยที่มุมกวาดของตัวปราสาทที่ 85 องศา 

 

 GPS ก็ชี้ที่มุมกวาด 85 องศา

 

ท่อโสมสูตรของปราสาทพนมรุ้งชี้ออกทางทิศเหนือและทำมุมฉากกับห้องครรภคฤหะ

 

 

ท่อโสมสูตรชี้ไปทางทิศเหนือ 

 

           อนึ่งกฏเกณฑ์การหันของท่อโสมสูตรน่าจะมาจากต้นแบบที่อินเดีย ดังตัวอย่างที่มหาวิหารพุทธคยา เพราะฐานโยนีและรอยพระพุทธบาทก็หันไปทางทิศเหนือแสดงว่าทิศนี้ต้องมีนัยสำคัญทางความเชื่อ 

 

 ฐานโยนีหันไปทางทิศเหนือ

 

รอยพระพุทธบาทที่มหาวิหารพุทธคยาก็หันไปทางทิศเหนือ

 

       บทวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว

           จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เดินทางไปประเทศต่างๆเกือบทั่วโลกพบว่า "เรื่องราวที่สร้างเสน่ห์แก่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะต้องมีสีสันและความเร้าใจ เป็นคนละ version กับการ lecture ให้แก่นักศึกษาวิชาโบราณคดี" พูดง่ายๆว่าเรื่องเดียวกันแต่เป็นหนังคนละม้วน เพราะนักท่องเที่ยวไม่ใช่ผู้เรียนปริญญาเอกที่ตั้งใจมาทำวิทยานิพนธ์ไปส่ง advisor เพื่อให้สอบผ่าน แต่เขาเหล่านั้นต้องการความสนุกสนานและความซาบซึ้งที่ปรุงแต่งออกมาจาก Historical facts  จึงจำเป็นต้องมี "ลูกเล่น" ที่เรียกว่า Tourism Gimmick 

           ดังนั้น เมื่อพูดถึง "ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทางราชมรรคา" ต้องมีความแตกต่างกับ "ยุทธศาสตร์การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ของเส้นทางราชมรรคา" 

           จึงขอนำเสนอประเด็นสำคัญ ดังนี้

           1.ประชาสัมพันธ์ด้วยป้าย

           ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะออกแบบโลโก้ (Logo) และโปสเตอร์ขนาดใหญ่ (Cut-out)  ของเส้นทางราชมรรคา หรือเปิดให้มีการแข่งขันออกแบบโดยประชาชนทั่วไป เมื่อได้โลโก้และป้ายประชาสัมพันธ์ที่ลงตัวแล้ว ก็นำไปติดตั้งตามแนวถนนที่สอดคล้องกับเส้นทางนี้ ดังตัวอย่างโลโก้รูปปีรามิดที่ริมถนนไปยังแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน Chichen Itza ของชาวมายา ในแหลมยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก

 

ตัวอย่าง โลโก้รูปปีรามิดชาวมายาบนถนนจากเมือง Cancun ไปยัง Chichen Itza ของประเทศเม็กซิโก 

 

 ตัวอย่าง ป้ายประชาสัมพันธ์โบราณสถานชาวมายาที่ Chichen Itza ติดโชว์ตามสถานที่พักรถหรือสถานที่เหมาะสมตามเส้นทาง เช่น Visitor Center ของการท่องเที่ยวเม็กซิโก

 

          2.แต่ละจังหวัดในเส้นทางราชมรรค "จัดอีเว้นส์" ตามเทศกาลที่เหมาะสม

         เช่น เทศกาลทางวัฒนธรรมที่ปราสาทพิมาย ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แสงอาทิตย์ส่องผ่านช่องประตูจำนวนมากที่สุดของปราสาทในประเทศไทย และเฉลิมฉลองฤกษ์ "อโรคยาศาล" ตามจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่กล่าวถึง "วันเพ็ญเดือนไจตระ และพิธีศารท กาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" (ดูรายละเอียดในบทความ ถอดคำจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบฤกษ์อโรคยาศาล ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้ )

 

การแสดงแสงสีเสียงที่ปราสาทพิมาย

 

 

กาลาดินเน่อร์ของนักท่องเที่ยวที่ปราสาทพิมาย 

 

ปรากฏการณ์ sunset ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ 13 14 15 November  และ 28 29 30 January 

 

 ปรากฏการณ์ sunrise ปีละ 2 ครั้ง 20 21 22 May (ตรงกับราศี Gemini) และ 22 23 24 July (ตรงกับราศี Leo)  

 

 กำหนดการของ "ฤกษ์อโรคยาศาล" ตามจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

           3.สนับสนุนการสร้างภาพยนต์ หรือสารคดี ที่เกี่ยวกับเส้นทางราชมรรคา ด้วยการนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเติมสีสันให้ตื่นเต้นเร้าใจ เช่น  "ประกาศิตตาเมือนธม"  (The Oracle of Ta Meun ) เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพยนต์และสารคดีเป็นหนึ่งในแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวอยากจะมาสัมผัสกับสถานที่จริง และลงเอยด้วยการถ่ายรูปลง Facebook ไปอวดเพื่อนๆ ดังตัวอย่างภาพยนต์เรื่อง Tomb Raider ทำให้ปราสาท Ta Prom ที่ Angkor มีชื่อเสียงโด่งดังจนนักท่องเที่ยวแย่งกันมาชมเพื่อถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ในทำนองเดียวกันภาพยนต์ "นาคี" ก็ทำให้วัดป่าคำชะโนด ที่จังหวัดอุดรธานีกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงโชคลาภจนแทบจะเหยียบกันตาย 

 

โป้สเตอร์ภาพยนตร์ Tomb Raider ที่ทำให้ปราสาทตาพรมโด่งดังไปทั่วโลก

 

นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกแย่งกันถ่ายรูปชนิด "กันตรึม" 

 

           ความเป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ปราสาทตาเมือนธมเป็นจุดครึ่งทางของราชมรรคาระหว่างนครอังกอร์กับเมืองพิมาย ตั้งอยู่บนช่องเขาชื่อ "ช่องตาเมือน" (Ta Meun Pass) ผู้เดินทางเพื่อไปแสวงบุญต้องผ่านเส้นทางนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างที่พัก (Dhamarsala) และโรงพยาบาลชุมชน "อโรคยาศาล" ไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลสุขภาพของประชาชน ปัจจุบันมีชื่อว่าปราสาทตาเมือนโต้ด และปราสาทตาเมือน อนึ่ง คำว่า "เมือน" แปลว่า "ไก่" ในภาษาเขมร และ "ตาเมือน" หมายถึง "ไก่อายุมากที่มีศักดิ์เป็นคุณตา" (Grandfather Chicken) เมื่อครั้งที่บริเวณนี้อยู่ในความยึดครองของกองทัพเขมรแดง โบราณวัตถุจำนวนมากถูกนำไปขายในตลาดมืดเพื่อนำเงินไปใช้ในกิจการของกองกำลัง เชื่อว่า "แท่งศิวะลึงค์" เป็นหนึ่งในโบราณวัตถุที่ถูกขโมย 

 

ปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ที่ช่องเขากึ่งกลางของเส้นทางราชมรรคาระหว่างนครอังกอร์กับเมืองพิมาย

 

แท่งศิวะลึงค์และฐานโยนีหายไปจากปราสาท

 

           สีสันแต่งเติมเพื่อสร้างภาพยนต์ ศิวะลึงค์และฐานโยนีที่ปราสาทตาเมือนธม เป็นสิ่งเคารพสักการะของผู้จาริกบุญที่เดินทางจากนครอังกอร์ไปยังเมืองพิมาย โดยพราหมณ์จะทำพิธีเทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนยอดศิวะลึงค์และไหลออกไปทางท่อโสมสูตรที่อยู่ด้านข้างของห้องครรภคฤหะเพื่อให้ผู้เลื่อมใสนำติดตัวไปตลอดการเดินทางเพื่อความศิริมงคล  

          ทหารเขมรแดงผู้ที่ลักลอบนำศิวะลึงค์ไปขายรวมทั้งผู้ครอบครองที่เปลี่ยนมือมาหลายปี มีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะต้อง "คำสาปประศิตตาเมือนธม" ตามศิลาจารึกเป็นภาษาโบราณ ...... "ออ เวีย มอลูด ละบ้อ เคือง ขะยุ้ม ออ เวีย เงื้อม" หมายความว่า ...... "ผู้ใดเอาของข้าไป ผู้นั้นต้องพิบัติ" สุดท้ายศิวะลึงค์ตกอยู่ในมือผู้มีอิทธิพลรายใหญ่ซึ่งสามารถแก้คำสาปได้โดยอาศัยหมอผีชาวส่วยที่รู้วิธีล้างประกาศิตด้วยการทำพิธีที่ปราสาทพนมรุ้งซึ่งตั้งอยูบนยอดเขาที่สูงข่มปราสาทตาเมือนธม มีการทุบทำลายโบราณวัตถุเพื่อเป็นการสะกดฤทธิ์ อย่างไรก็ตามหมอผีคนนี้รู้ความจริงไม่หมดเพราะประกาศิตจะมีผลอีกครั้งเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับตำแหน่งของท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "ท่อโสมสูตร" ยังผลให้ผู้มีอิทธิพลต้องล้มป่วยด้วยโรคที่หมอก็ไม่ทราบสาเหตุ 

          ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีความเข้าและรู้เงื่อนใขนี้อย่างดีว่าแม้ผู้ครอบครองจะมีอาคมแก้เคร็ดของคำสาปและไม่ถึงกับเสียชีวิตแต่ก็จะล้มป่วยตรงกับช่วงวันที่ดวงอาทิตย์ตรงกับท่อโสมสูตร จึงจับมือกับนักดาราศาสตร์ให้ช่วยคำนวณวันดังกล่าวและพบว่าตรงกับวันที่ 7 เมษายน และ 6 กันยายน จึงเป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่การค้นหาว่าใครคือผู้ครอบครองแท่งศิวะลึงค์ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญระบบดิจิต้อลแฮกข้อมูล online ของโรงพยาบาลชื่อดังว่ามีใครป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุตรงกับวันดังกล่าว ....... เมื่อยืนยันผลได้ชัดเจนก็นำไปสู่การตรวจค้นของดีเอสไอ ....... นี่เป็นเพียงเค้าโครงของภาพยนต์ที่มอบให้กับผู้เขียนบทมืออาชีพนำไปแต่งเติม

 

 

ภาพประกอบภาพยต์ "ประกาศิตตาเมือนธม" 

 

ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (ท่อโสมสูตร) ทางด้านข้างของห้องครรภคฤหะ

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 7 เมษายน และ 6 กันยายน

 

          ผมบรรยายข้อมูลและสร้างจุดเริ่มต้นของประเด็นที่จะนำไปสู่ "ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว" ไว้ขนาดนี้แล้ว ...... ก็น่าจะเป็นภาระของท่านสมาชิกหอการค้าช่วยกันคิดช่วยกันขัดเกลาจนตกผลึกและนำเสนอต่อทางราชการเพื่อพิจารณาบรรจุเข้าแผนโครงการและงบประมาณ ขณะเดียวกันบริษัททัวร์ก็สามารถจับประเด็นไปสร้างจุดขายตามความถนัดของแต่ละท่าน 

         อนึ่ง โครงการนี้ไม่ต้องไปลงทุนก่อสร้างอะไรใหญ่โตให้ยุ่งยากเพราะบรรพชนท่านสร้างไว้ให้เรียบร้อยแล้ว และท่านเหล่านั้นก็ไม่เคยทวงบุญคุญหรือมาขอแบ่งค่าลิขสิทธิ์แม้แต่บาทเดียว

         อย่างไรก็ตามถ้าพระเจ้าสุริยะวรมันและพระเจ้าชัยวรมันท่านฟื้นขึ้นมาได้ ..... ท่านคงจะชี้หน้าเราๆท่านๆในปัจจุบันพร้อมกับกล่าว ...... ถ้ารู้ว่าวันหนึ่งพวกสูจะหาสะตังค์บนสิ่งก่อสร้างของตูข้า ...ข้าจะรื้อทิ้งให้หมด .....เพี้ยง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ