ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never

 ปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never

          14 พฤศจิกายน 2559 ประกบคู่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งเดียวในรอบศตวรรษ ณ ปราสาทพิมาย ที่เดียวแห่งเดียวในประเทศไทย ........ สุริยะเทพทอแสง 76 ช่องประตู ตามด้วยซุปเปอร์มูน และวันลอยกระทง พลาดโอกาสนี้ต้องรอชาติหน้า

 

  

 

 

       ปราสาทพิมายมีอะไรที่พิเศษกว่าปราสาทขอมอื่นๆ

          จากการสำรวจด้วยอุปกรณ์ GPS พบว่าผังแปลนของปราสาทพิมายถูกกำหนดให้หันหน้าไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 160 องศาจากทิศเหนือ (azimuth 160) ขณะที่ปราสาทขอมอื่นๆหันหน้าไปทิศตะวันออกแท้ (Azimuth 90) หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (Azimuth 80 - 85) คำถามจึงอยู่ที่ทำไมปราสาทพิมายจึงต้องหันหน้าไม่เหมือนปราสาทขอมทั่วไป เป็นโจทย์ให้นักโบราณคดีหลายค่ายออกความเห็นแตกต่างกันและยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตามข้อมูลที่สาธารณชนยอมรับและใช้โปรโมทการท่องเที่ยวก็คือ "หันหน้าไปที่เมืองหลวงตามเส้นทางราชมรรคา" จะผิดถูกอย่างไรก็ให้เป็นหน้าที่ของนักโบราณคดีค้นคว้าจนถึงที่สุด 

           คำถามต่อไป ...... มีปราสาทขอมหรือโบราณสถานที่รับอิทธิพลขอมแห่งอื่นๆหันหน้าในลักษณะคล้ายปราสาทพิมายหรือไม่ คำตอบคือ ...... มีครับเท่าที่สำรวจพบ ได้แก่

           1.ปราสาท Banteay Top หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 99 องศา (Azimuth 99) ปราสาทหลังนี้อยู่ใกล้ๆกับปราสาท Banteay Chmar ในประเทศกัมพูชาแถวๆชายแดนไทย ห่างจากเมือง Siem Reap 102 กม.

            2.ปราสาทตาเมือนทม อยู่บนภูเขาที่จังหวัดสุรินทร์ติดชายแดนกัมพูชา หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 172 องศา (Azimuth 172) 

           3.วัดศรีสวายในเมืองเก่าสุโขทัย หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 170 องศา (Azimuth 170)

          4.วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว และวัดนางพญา ที่เมืองเก่าศรีสัชนาลัย หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 135 องศา (Azimuth 135)  

           ขณะที่นักโบราณคดีทุกค่ายยังไม่มีบทสรุปที่ลงตัวเกี่ยวกับประเด็นการหันหน้าของปราสาทพิมาย ...... ผมจึงขอเสนอมุมมองทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่พิสูจน์ได้ว่าปราสาทหลังนี้มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปีละ 4 ครั้ง ได้แก่ดวงอาทิตย์ยามเช้าส่องประกายที่ประตูทิศตะวันออก 76 ช่อง วันที่ 22 พฤษภาคม และ 23 กรกฏาคม ดวงอาทิตย์ยามเย็นเรืองแสงที่ประตูทิศตะวันตก 76 ช่อง วันที่ 29 มกราคม และ 14 พฤศจิกายน 

 

แผนผังแสดงการวางตัวของปราสาทพิมายในแง่มุมดาราศาสตร์ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 160 องศา (Azimuth 160)

 

 

การที่ปราสาทพิมายหันหน้าไปที่มุมกวาด 160 องศา ทำให้ด้านข้างทิศตะวันออกทำมุม 70 องศา และด้านข้างทิศตะวันตกทำมุม 250 องศา เมื่อพิจารณาตามหลักดาราศาสตร์จะเห็นว่าด้านทิศตะวันออกอยู่ในกรอบวิถีดวงอาทิตย์ยามเช้าระหว่าง 65 - 115 องศา และด้านทิศตะวันตกก็อยู่ในกรอบวิถีดวงอาทิตย์ยามเย็นระหว่าง 244 - 293 องศา จึงทำให้มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ลอดประตูด้านข้างปีละ 4 ครั้ง 

 

แสดงวิถีการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในรอบปีเปรียบเทียบกับการวางผังแปลนของปราสาทพิมาย

 

การจับมุมดาราศาสตร์ที่ธรณีประตู Main Chamber ด้านทิศตะวันออก

 

 GPS ยืนยันการหันหน้าของปราสาทพิมายที่มุมกวาด 160 องศา 

 

 GPS แสดงด้านทิศตะวันออกของปราสาทพิมายหันไปที่มุมกวาด 70 องศา 

 

Sunrise ที่ตำแหน่งมุมกวาด 70 องศา 2 ครั้ง คือ 22 May 23 Jul และ sunset ที่ตำแหน่งมุมกวาด 250 องศา 2 ครั้ง 29 Jan 14 Nov (+ - 2 days)

 

 

Sunrise 20 May 2016

 

Sunrise 23 Jul 2016

 

Sunset 29 Jan 2015

 

 

 Sunset 14 Nov 1994 and 2016

 

       ประกบคู่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ชาตินี้มีครั้งเดียว" สุริยะเทพเรืองแสง 76 ช่องประตูทิศตะวันตก ตามติดด้วยซุปเปอร์มูนในรอบ 86 ปี 

          การโคจรมาตรงกันระหว่างปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์อัสดง 76 ช่องประตูและหน้าต่าง กับซุปเปอร์มูนในรอบ 86 ปี เป็นคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นยากมากถึงมากที่สุด และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในศตวรรษที่ 21 หากพลาดวันนี้ก็ต้องรอไปอีกชาติหน้า ดังนั้นจึงต้องมีการบันทึกภาพและเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ท่านที่ไม่มีโอกาสได้มาปราสาทพิมายในวันนั้นได้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ....... งานนี้ได้รับการอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิแห่งอำเภอพิมาย ทำหน้าที่เป็นตากล้องกิตติมศักดิ์บันทึกภาพอาทิตย์อัสดงและซุปเปอร์มูนหลากหลายแง่มุมได้ภาพสวยงามน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ได้ให้การช่วยส่งข้อมูลให้ผมทุกครั้งที่ได้รับการร้องขอ อนึ่งตัวเลข 76 ช่องประตูและหน้าต่างเป็นข้อมูลจากคุณ Phetrada Sornchaipaisal มัคคุเทศก์อาชีพชาวโคราชเดินสำรวจนับจำนวนช่องประตูและหน้าต่างด้วยตนเอง

          ไกด์มืออาชีพคุณ Phetrada Sornchaipaisal นำลูกทัวร์ชาวต่างประเทศมาปักหลักชมปรากฏการณ์ระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤศจิกายน 2559 ทำให้บรรยากาศวันนั้นมีความคึกคัก รวมทั้งไกด์ Phakarat Hanchana ที่เดินทางมาชมด้วยตนเอง และคุณสายชล ศรีสันเทียะ เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ทุกท่านที่ผมเอ่ยนามได้ส่งภาพสวยๆมาให้ชมทาง facebook ..... ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ อนึ่งผมทราบภายหลังจาก facebook ของคุณ Phetrada ว่าท่านประธานหอการค้าโคราช คุณ Hasadin Suwatanapongched ได้เดินทางมาร่วมชมซุปเปอร์มูนที่พิมายด้วย

 

   

ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ตากล้องกิตติมศักดิ์ กำลังยิงภาพอาทิตย์อัสดง จากมุมกล้องของคุณสายชล ศรีสันเทียะ เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย 

 

อีกมุมหนึ่งของอาทิตย์อัสดง

 

ภาพถ่ายด้วยเลนส์เทคนิคพิเศษทำให้แสงอาทิตย์เปล่งประกายน่าอัศจรรย์

 

เปรียบเทียบอาทิตย์อัสดงที่ปราสาทพิมาย กับที่เมือง Ankeny Iowa USA 

 

อีกหนึ่งมุมกล้องสวยๆ 

 

งานนี้หลวงพ่อท่านก็มาชมด้วย ภาพฝีมือไกด์ Phetrada Sornchaipaisal 

 

ภาพนี้เป็นฝีมือของไกด์ Phakarat Hanchana 

 

อาทิตย์อัสดงส่องประกายผ่านช่องประตูและหน้าต่างด้านทิศตะวันตกทุกบาน

 

มาดการเก็บภาพ supermoon โดยท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง

 

ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง และคุณ Phetrada Sornchaipaisal 

 

ปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดงประกบกับซุปเปอร์มูน 14 พฤศจิกายน 2559 

 

เปรียบเทียบตำแหน่ง supermoon ที่ผมทำ computer graphic ไว้ล่วงหน้า กับภาพถ่ายจริงๆในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559  

 

       ซุปเปอร์มูน (supermoon) คืออะไร

          คำนี้เป็นภาษาดาราศาสตร์หมายถึง "การมองเห็นภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุด" เพราะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 86 ปี ครั้งที่แล้วปี 26 Jan 1948 ครั้งนี้ 14 Nov 2016 ครั้งต่อไป 25 Nov 2034 

 

เปรียบเทียบระหว่างภาพดวงจันทร์เล็กที่สุด (micromoon) ดวงจันทร์โดยทั่วไป (average moon) และซุปเปอร์มูน (supermoon)

 

 

ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดด้วยระยะทาง 356,509 กม. 

 

 Supermoon ครั้งที่แล้วเกิดเมื่อ 26 Jan 1948 คราวนี้ 14 Nov 2016 ครั้งต่อไป 25 Nov 2034 

 

ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อัฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง ไม่เห็น supermoon ตัวจริงเพราะเป็นเวลากลางวัน ถ้าพูดตามหลักดาราศาสตร์ที่เวลา 13:52 GMT 

 

 วิถีการเคลื่อนตัวของ supermoon ณ ปราสาทพิมาย และเวลาที่เหมาะสมต่อการถ่ายภาพมากที่สุดคือ 18:00 น. ตำแหน่งดวงจันทร์จะอยู่ในกรอบประตูปราสาทพิมาย 

 

  Supermoon ในกรอบประตูปราสาทพิมาย

 

 

 

Supermoon ในมุมกล้องของ ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง

 

 

Supermoon ที่ Ankeny City Iowa USA 

 

 

ซูมภาพ supermoon มองเห็นหลุมอุกาบาตชื่อ Copernicus และ Tycho รวมทั้งบริเวณที่ดูเหมือนเป็นทะเลมีชื่อว่า Sea of Serenity and Sea of Tranquility 

 

      สรุป

         ยังไม่ทราบว่าการประกบคู่ระหว่างปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดง 76 ช่องประตูปราสาทพิมาย กับ supermoon ครั้งต่อไปจะเกิดอีกเมื่อไหร่ เพราะ supermoon คราวหน้าจะเกิดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2034 ก็ไม่ตรงกับปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดงที่พิมาย ...... ระหว่างเขียนบทความผมอยู่ที่ Ankeny City รัฐ Iowa USA จึงไม่มีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยตนเองต้องอาศัยภาพและข้อมูลรายละเอียดจากท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง และเพื่อนๆใน facebook 

          ดังนั้น ที่ผมพาดหัวว่า "ปฏิบัติการพิมาย" ชาตินี้มีครั้งเดียว ...... เป็นความจริงแน่แท้ครับ ....... Operation Phimai Once or Never ..... see you again next life 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ