ชื่อผู้รายงาน สรรค์สนธิ บุณโยทยาน
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสกลนคร
E-mail sansonthi@gmail.com โทรศัพท์ 081-6708624
Part A ประเด็นสำคัญที่พบเห็น
1.สำนักงาน Council of Agriculture กรุง Taipei
1.1จากจำนวนประชากรทั้งประเทศประมาณ 23 ล้านกว่าคน เป็นเกษตรกรราว 5% หรือ 540,000 คน สร้าง GDP จากผลผลิตที่ระดับฟาร์มเป็นมูลค่า 1.8% (Primary agriculture output 1.8%) แต่ถ้ารวมผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะมีมูลค่า GDP มากขึ้นถึง 11% (Agriculture processing and farm-based recreation 11%)
1.2เกษตรกรใต้หวันเป็น small farmer มีที่ดินถึอครองโดยเฉลี่ยประมาณ 1 Ha หรือ 6.25 ไร่
1.3มีการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นของเกษตรกรรุ่นใหม่ เช่นค่าเช่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโรงเรือน และมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
1.4มีนวตกรรมด้านการเกษตร (agricultural innovations) จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ
1.5มีการอุดหนุนเพื่อให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวและหันไปผลิตสินค้าเกษตรอย่างอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่า
1.6มีการให้บำนาญแก่เกษตรกรที่อายุเกิน 65 ปี เป็นเงินเดือนละ 7,000 NT
1.7เน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่มีตลาดรองรับ (market oriented agriculture)
1.8สนับสนุนให้เกษตรกรทำการผลิตในรูปแบบรวมกลุ่มที่เรียกว่า Farmer’s association
1.9มีการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยในรูปแบบ food safety ซึ่งมีตราสัญลักษณ์และข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (traceability)
2.Tachia Farmer’s Association
2.1มีการจัดทำ Rice Museum ที่น่าสนใจโดยมีการจัดแสดงข้อมูลตั้งแต่ประวัติความเป็นมาจนถึงปัจจุบันของการพัฒนาอาชีพปลูกข้าว
2.2มีการทำวิจัยความเหมาะสมของพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของลูกค้า
2.3รัฐบาลให้เงินอุดหนุน 1/3 ของค่าก่อสร้างโรงสีข้าว
2.4ไม่เคยมีประวัติการขาดทุนแม้แต่ครั้งเดียวตั้งแต่ก่อตั้ง farmer’s Association แห่งนี้ เพราะสามารถขายข้าวที่มีคุณภาพเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
2.5Farmer’s Association รับซื้อข้าวเปลือกในราคาประกันจากเกษตรกรโดยมีมาตรการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียดเพื่อความยุติธรรมในการจ่ายเงิน
2.6การปลูกข้าวมีลักษณะ “เกษตรประณีต” ไร้วัชพืช เป็นข้าวพันธุ์เตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูง (non-photosensitive and high yielding rice variety) มีระบบชลประทานอย่างทั่วถึงทุกแปลง
2.7แปลงเกษตรมีลักษณะผสมผสานระหว่างข้าวกับพืชไร่และพืชสวนชนิดต่างๆ (diversified farming) และใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าโดยไม่ปล่อยให้มีที่ดินว่างเปล่า
3.Hankuan Fruit and vegetable Cooperatives
3.1ทำธุรกิจผลิตพืชผักและผลไม้ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ สร้างได้ปีละ 17 ล้าน NT
3.2รับซื้อผลผลิตทั้งหมดจากสมาชิก 263 คน ในราคาประกันที่ไม่ต่ำกว่าท้องตลาด สมาชิกจึงไม่ต้องเสี่ยงกับผลผลิตขายไม่หมด
3.3มีระบบการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในคอมพิวเตอร์ เพื่อผลิตสารปราบศัตรูพืชให้เกษตรนำไปใช้อย่างถูกต้อง
3.4มีการตรวจสอบ food safety ก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
3.5เป็นการปลูกพืชผักและผลไม้ในรูปแบบ “เกษตรประณีต” (intensive farming)
3.6มีระบบการรับซื้อ ลำเลียง คัดเลือก ตบแต่ง ทำความสะอาด และบรรจุหีบห่อ ให้เป็นสินค้าพร้อมบริโภค (ready to eat)
3.7มีระบบการตลาดที่ชัดเจนโดยมีลูกค้าประจำ เช่น หน่วยทหาร และผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลอดจนตลาดสด (super market) ในตัวเมืองต่างๆทั่วประเทศ
4.Taipei Flower Auction Co.Ltd
4.1มีระบบการคัดเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานเข้าร่วมการประมูล
4.2รัฐบาลท้องถิ่นให้เงินอุดหนุนค่าก่อสร้างอาคารสถานที่ของบริษัท
4.3เป็นตลาดการประมูลไม้ดอกไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
5.Taipei Supermarket
เห็นการวางขายสินค้าเกษตรที่มีเครื่องหมายรับรอง CAS (Certified Agriculture Standards)
Part B การเสนอแนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่สหกรณ์การเกษตรของประเทศไทย
1.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย กับสหกรณ์การเกษตร เพื่อสร้างนวตกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (farm productivity) และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร (create high value) ตลอดจนสร้างรูปแบบอาชีพเกษตรแนวใหม่ที่เป็น “เกษตรประณีต” (intensive farming) เพื่อล้างทัศนคติดั้งเดิมในทำนองวาทะกรรมเชิงหดหู่ที่กล่าวว่า “หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน”
2.ควรมีมาตรการสนับสนุน “ทายาทของสมาชิกสหกรณ์” หรือสมาชิกสหกรณ์ผู้ที่ประสงค์จะเปลี่ยนจากอาชีพดั้งเดิมไปประกอบอาชีพเกษตรแนวใหม่แบบ intensive farming โดยมีเงินอุดหนุนค่าลงทุนโรงเรือนและเครื่องมือทุนแรงในระยะเริ่มต้น รวมทั้งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
3.ส่งเสริมให้มาตรการอาหารปลอดภัย (food safety) เป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสหกรณ์การเกษตร หากสหกรณ์ใดสามารถทำได้จะได้รับการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ทราบโดยสื่อของรัฐ หรือสื่อที่รัฐให้เงินอุดหนุน
รายงานฉบับผู้บริหาร
ผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 – 26 สิงหาคม 2559
ภาพรวมการเกษตรของไต้หวัน
1.ประเทศไต้หวันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 36,193 ตารางกิโลเมตร ประชากร 23.5 ล้าน พื้นที่เกษตรกรรม 24% เกษตรกร 5% เป็นเกษตรกรรายย่อยถือครองที่ดินรายละประมาณ 6.25 ไร่ มีมูลค่าผลผลิตเบื้องต้น 1.8% GDP แต่เมื่อรวมมูลค่าจากสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูปและการท่องเที่ยงเชิงเกษตรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 11% GDP
2.การปลูกข้าวถือว่าเป็นความมั่นด้านอาหารของประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ทำนา 1,629,925 ไร่ มีผลผลิตทั้งสิ้น 1.7 ล้านตัน จากผลผลิตประมาณ 1 ตัน / ไร่
3.เกษตรกรรายย่อยรวมตัวกันเป็น Farmers’ Association เป็นองค์กร NGO มีกฎหมายรับรอง (Farmers’ Association Law) ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 302 แห่ง การสนับสนุนต่างๆของรัฐบาลจึงใช้ช่องทางขององค์กรนี้
4.รูปแบบการเกษตรทั่วประเทศเป็นลักษณะ “เกษตรประณีต” (Intensive Farming) เช่น การปลูกพืชผักในโรงเรือน และมีมาตรการ CAS (Certified Agriculture Standards) สำหรับสินค้าเกษตรระดับ premium ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มมาตรการเกษตรปลอดภัย GAP (Good Agricultural Practices) ปี 1993 และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในปี 2007
คณะดูงาน
คณะดูงานประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานหอการค้าไทย หอการค้าภาค หอการค้าจังหวัด ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้นำเกษตรกร รวม 30 คน
วัตถุประสงค์การดูงาน
เพื่อสร้างแนวคิดในการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรของประเทศไทยจากการเรียนรู้ประเด็นหลักแห่งความสำเร็จ (key success) ของสหกรณ์การเกษตรไต้หวันซึ่งดำเนินการในรูปแบบของ “สมาคมเกษตรกร” (Farmers’ Association)
วิธีการดูงาน
1.เยี่ยมชมตลาด Supermarket และ Flower Auction Co.Ltd ที่กรุง Taipei เพื่อให้เห็นวิธีบริหารจัดการนำสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาด
2.ฟังบรรยายสรุปและซักถามข้อมูลกับผู้บริหารของ Council of Agriculture (COA) ที่กรุง Taipei เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมของการพัฒนาเกษตร นโยบายของรัฐบาลต่อการพัฒนาการเกษตร และแนวโน้มของสถานการณ์ภาคเกษตรในอนาคต
3.เยี่ยมชม Tachia Farmers’s Association ดูแลด้านการผลิตและการตลาดข้าว และ Hankuan Fruit and Vegetable Cooperatives ดูแลด้านการผลิตและการตลาดผลไม้และพืชผัก เพื่อศึกษารายละเอียดของกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของสินค้าเกษตรเหล่านี้
ประเด็นสำคัญที่นำมาสู่ความสำเร็จ (Key Success)
1.เกษตรกรรายย่อยรวมตัวกันเป็นองค์กร Farmers’ Association และ Cooperatives ที่ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนผ่านองค์กร
2.ใช้นวตกรรม (Innovations) จากสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย สร้างรูปแบบ “เกษตรทันสมัย” (Modernised Agriculture) และอาหารปลอดภัย (Food safety) เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) และได้รับการรับรองจาก CAS (Certified Agriculture Standards) ในกรณีของสินค้าระดับ Premium
3.สินค้าเกษตรของไต้หวันมีราคาสูงกว่าแต่ก็สามารถแข่งขันกับสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยเหตุผล “ผู้บริโภคให้ความเชื่อมั่นในความปลอดภัย”
แนวคิดที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรของประเทศไทย
1.ขยายผลนโยบาย “หนึ่งหอการค้า หนึ่งสหกรณ์การเกษตร” เพราะได้รับการพิสูจน์จากประเทศไต้หวันว่าการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยต้องอาศัย “การรวมตัวเป็นองค์กร” ที่ดูแลตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด
2.ยกระดับความร่วมมือระหว่างสหกรณ์การเกษตรกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น สร้างรูปแบบเกษตรทันสมัย (Modernised Agriculture) เพื่อส่งเสริมให้ทายาทเกษตรกรและผู้จบการศึกษาที่เป็นลูกหลานของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรสามารถเริ่มต้นประกอบกิจการของตนเอง
3.ขอความร่วมมือจากภาครัฐและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มข้นการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในรูปแบบ “เกษตรทันสมัย” (Modernised Agriculture)
4.ขยายผลโครงการ Thai GAP กับสหกรณ์การเกษตร เพื่อสร้างความเชื่อมั่น “อาหารปลอดภัย” แก่ผู้บริโภคในประเทศโดยไม่ต้องกังวลกับการส่งออก เพราะปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาร่วมเป็นผู้บริโภคอาหารในประเทศปีละสิบกว่าล้านคน จึงถือว่าเป็นการ “ส่งออกโดยไม่ต้องส่งออก” (Export Without Export)