ประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
ชาวเผ่าโบราณที่เราๆท่านๆเรียกพวกเขาว่า "มายา" (Maya) ในคาบสมุทรยูคาตัน อเมริกากลาง ฝากชีวิตและความเป็นอยู่ไว้กับเทพเจ้าหลายองค์ในการที่จะได้มีชีวิตปกติสุขหาอยู่หากินได้อย่างอุดมสมบูรณ์ หนึ่งในเทพเจ้าเหล่านั้นมีชื่อว่า "กูกูลข่าน" (Kukulkan) บางครั้งก็เรียกว่า "เควซัลโคน" (Quetzalcoatl) ชาวมายาเชื่อว่าเทพกูกูลข่านจะนำมาซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและประชาชนมีสุขภาพดี ผมอ่านเรื่องราวเหล่านี้จาก Pocket Book: The Lost Realms ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างความเชื่อกับวิทยาศาสตร์และนำมาซึ่งการมี "ปฏิทินมายา" ชื่อว่า Haab Calendar และปีรามิดกูกูลข่าน ที่เมืองซิเช่นอีสซ่า ประเทศเม็กซิโก
Pocket Book เล่มนี้ The Lost Realms แปลเป็นไทยว่า "อาณาจักรที่สาบสูญ" เขียนโดย Zecharia Sitchin นักโบราณคดีชื่อดังชาวอเมริกัน ผมซื้อเมื่อวันที่ 5 September 1995 ที่ Manila Phillippines และหวังอย่างลึกๆว่าวันหนึ่งคงจะได้ไปสัมผัสสถานที่เหล่านี้ด้วยตนเอง และ 20 ปี ต่อมา 5 - 6 August 2015 และ 19 - 22 March 2016 ก็ได้ไปที่โบราณดังกล่าวจริงๆ ที่แน่ก็เอาหนังสือเล่มนี้ติดตัวไปด้วยเพื่อ selfie ในมุมเดียวกัน
ชาวมายาเชื่ออย่างสนิทใจว่าเทพเจ้า Kukulkan จะกลับมาหาพวกเขาในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน (Equinox) และดลบันดาลให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นกอบเป็นกำ เป็นศิริมงคลให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง
ในวัน Equinox เทพเจ้า Kukukan จะลงมาจากฟ้าในร่างของพญางูยักษ์ เพื่อรับสิ่งสักการะจากผู้คนและดลบันดาลให้เขาเหล่านั้นได้รับผลผลิตการเกษตรที่สมบูรณ์มีสุขภาพแข็งแรง จากนั้นก็จะเดินทางต่อไปยังใต้บาดาล
รูปสลักเทพ Kukukan หรือ Quetzaltcoatl ตามแหล่งโบราณสถานต่างๆในประเทศเม็กซิโก
"ชาวมายา" คือใคร ...... มาจากไหน ...... และพวกเขาหายไปไหน?
พูดกันแบบตรงๆ .... นักโบราณคดีก็ยืนยันไม่ได้ว่าพวกเขาคือใคร มาจากไหนและในที่สุดก็ทิ้งบ้านทิ้งเมืองไปดื้อๆพวกเขาหายไปไหน ผมอ่านเอกสารหลายฉบับก็มีแต่ใช้คำพูดทำนองแทงกั๊ก "เชื่อว่า ...น่าจะ .... สันนิษฐานว่า ..... เป็นไปได้ว่า ......ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า" แต่ที่ฟันธงในทางวิชาการและยอมรับกันในหมู่นักวิชาการก็คือ ชาวมายาโผล่หน้าเข้ามาในประวัติศาสตร์ราวๆ 1800 ปีก่อนคริสตกาล (1800 BC) และอันตรธานไปอย่างไร้เหตุผลราวๆ คริสต์ศักราช 900 (900 AD) อย่างไรก็ตามพวกเขาได้ทิ้งโบราณสถานอันอลังการกับองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์อันน่าพิศวงไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม พร้อมๆกับตั้งคำถามว่า ........ เอาความรู้มาจากไหน ..... ทำได้อย่างไร?
Timeline แสดงช่วงเวลาของชาวมายาในหน้าประวัติศาสตร์ ช่วงแรกๆพวกเขาร่วมสมัยกับอีกเผ่าที่ชื่อว่า Olmec นักโบราณคดีเชื่อว่าชาวมายาได้รับการถ่ายทอดอารยธรรมต่างๆจากเผ่า Olmec
แผนที่แสดงถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวมายาซึ่งปัจจุบันกระจายอยู่ใน 4 ประเทศ ได้แก่ Mexico, Guatemala, Belize และ Honduras ทั้งหมดนี้อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า "อเมริกากลาง" (Mesoamerica)
นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองหลวงของชาวมายาคือเมือง "ชิเช่น อีสซ่า" (Chichen Itza) จังหวัด Tucatan ประเทศเม็กซิโก
หนึ่งในเหตุผลที่เชื่อว่า Chichen Itza เป็นเมืองหลวงของชาวมายา เพราะมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (The Sacred Cenote) เพื่อใช้ในพิธีบูชายันต์ และปีรามิดกูกูลข่าน (Pyramid Kukulkan) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าองค์นี้
นักโบราณคดีค้นพบว่าที่ก้นของบ่อน้ำแห่งนี้มีหลักฐานของการ "บูชายันต์" ด้วยการโยนสิ่งของมีค่า และมนุษย์ลงไป
ภาพวาดแสดงการบูชายันต์ด้วยหญิงสาวด้วยการโยนลงไปในบ่อน้ำ
หลักฐานการพบสิ่งของมีค่าชนิดต่างๆ รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์ ในก้นบ่อน้ำแห่งนี้
ปัจจุบันบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างหนึ่ง
แผนที่แสดงตำแหน่งของบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (The Sacred Cenote) ที่อยู่ใกล้ๆกับปีรามิดกูกูลข่าน
ปัจจุบัน Cenote เป็นภาษา Spanish แปลว่าบ่อน้ำที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า "หลุมยุบ" (sinkhole) ซึ่งมีจำนวนมากมายในจังหวัด Yucatan นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าหลุมยุบเหล่านี้เป็นผลพวงของ "อุกกาบาต" ขนาดยักษ์ที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วและทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์ุ แต่นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งอธิบายว่าเกิดจากการยุบตัวของหินปูนเพราะน้ำกัดเซาะ
เทพเจ้ากูกูลข่าน ...... ปฏิทินมายาและปีรามิด
ผมมั่นใจว่าทุกท่านที่เข้าไปชมโบราณสถาน "ชิเช่น อีสซ่า" (Chichen Itza) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมายา ต้องได้เห็นและถ่ายภาพเทพเจ้ากูกูลข่านในสัญลักษณ์ของ "พญางูยักษ์" ซึ่งปรากฏอยู่ดาดดื่นตามปีรามิดน้อยใหญ่แม้กระทั้งตามที่เก็บรวบรวมเศษสลักหักพัง ขณะเดียวกันย่อมจะเห็น "ปฏิทินมายา" วางขายมากมายตามร้านขายของที่ระลึก เมื่อเดินเข้าไปถึงใจกลางโบราณสถานต้องเห็น "ปีรามิดกูกูลข่าน" ตั้งตระหง่านอยู่ในลานกว้าง ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งในแง่มุมของความเชื่อและแง่มุมดาราศาสตร์
ภาพข้างล่างเหล่านี้มีสัญลักษณ์ "หัวงู" ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพเจ้ากูกูลข่านอยู่ตามสถานที่ต่างๆ
รูปสลักหัวงูแห่งเทพเจ้ากูกูลข่านที่วางอยู่กับพื้นดิน นัยว่าคงเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานที่หักพังไปแล้ว
ปฏิทินมายาในชื่อว่า Haab Calendar และ Tzolkin Calendar
ปฏิทินหลักๆของชาวมายามี 3 อย่าง คือ
ปฏิทินฮับ (Haab Calendar) ใช้สำหรับกิจกรรมทางการเกษตร มี 365 วัน
ปฏิทินโซกิ้น (Tzolkin Calendar) ใช้สำหรับกิจกรรมทางศาสนา มี 260 วัน
ปฏิทินฉบับยาว (Long Count Calendar) ใช้ในการบันทึกสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้น เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปี ก่อนคริสตกาล (11 August 3114 BC) ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะปฏิทินฮับ และ โซกิ้น ส่วนปฏิทินฉบับนับยาวเป็นเหมือนหนังอีกม้วนนึงซึ่งผมกำลังศึกษาอยู่ครับหากได้ความกระจ่างประการใดจะมาเล่าให้ฟังภายหลัง
ปฏิทินฮับ (Haab calendar) แบ่งออกเป็น 18 เดือนๆละ 20 วัน รวมกันเป็น 360 วัน ส่วนเศษที่เหลืออีก 5 วัน เป็นเดือนย่อยชื่อว่า "วาเย็ป" (Wayep) รวมทั้งหมดเป็น 365 วัน
ทุกๆเดือนของปฏิทินฮับมีชื่อกำกับไล่ตั้งแต่เดือนแรกคือ Pop ......... ไปจนถึงเดือน 18 ชื่อว่า Kumku และเดือนที่เป็นเศษ Wayeb
แต่ละเดือนของปฏิทินฮับมีคำอธิบายความหมายของเดือนนั้นๆว่าควรต้องมีกิจกรรมอะไร ยกตัวอย่าง เช่น ปลายเดือนที่ 6 คือ ซูล (Xul) เทพเจ้ากูกูลข่านจะลงมาจากฟ้าเพื่อรับของสักการะจากมนุษย์และอวยพรให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์ ส่วนเดือนสุดท้าย วาเย็ป มีเพียง 5 วัน เป็นเดือนแห่งลางร้าย ..... ไม่ควรออกเดินทางนอกสถานที่และไม่ควรทำอะไรที่สำคัญ
ปฏิทินฮับเมื่อเปรียบเทียบกับปฏิทินโซกิ้นมีสิ่งน่าสนใจเกิดขึ้น ....... ปฏิทินฮับมี 365 วัน x 52 ปี = 18,980 วัน และปฏิทินโซกิ้นมี 260 วัน x 73 = 18,980 วัน เช่นกัน นักวิชาการเรียกสิ่งนี้ว่า "การครบรอบ" หรือ Calendar Round 52 years
เปรียบเทียบระหว่างปฏิทินฮับกับปฏิทินโซกิ้น เมื่อทั้งครบรอบ ณ 18,980 วัน
ปฏิทินโซกิ้นมี 260 วัน โดยไม่แบ่งออกเป็นเดือน แต่ใช้ตัวเลข 20 วัน x 13 รอบ = 260 วัน
การปรับชดเชยปฏิทินฮับให้สอดคล้องกับฤดูกาลของโลกกับดวงอาทิตย์
ชาวมายาทราบดีว่าปฏิทินฮับที่มี 365 วัน ไม่ลงตัวกับฤดูกาลของโลกกับดวงอาทิตย์ หากปล่อยไปเรื่อยๆกิจกรรมทางการเกษตรจะไม่ตรงกับฤดูกาล เพราะปีจริงๆของดวงอาทิตย์มี 365.2421897 วัน (จากข้อมูลทางดาราศาสตร์ในปัจจุบัน) ชาวมายาคงสังเกตจากตำแหน่งดวงอาทิตย์เมื่อเปรียบเทียบกับปฏิทินฮับและรู้ว่าปฏิทินฉบับนี้สะสมการคลาดเคลื่อนของตำแหน่งดวงอาทิตย์ไปพอสมควร ดังนั้นพวกเขาจึงมีการปรับชดเชยทุกๆ 52 ปี ให้บวกเพิ่มไป 13 วัน แล้วค่อยเริ่มต้นนับปฏิทินฮับใหม่
จากคำอธิบายในภาพนี้ จะเห็นว่าในรอบ 52 ปี ปฏิทินฮับมีวันหายไป 12.5938 หรือ 13 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีสุริยะคติ (mean tropical year 18,992.5938 หรือ 18,993 วัน) ดังนั้นจึงแทรกวันพิเศษเข้าไป 13 วัน ทุกๆ 52 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิทินฮับกับปีรามิดกูกูลข่าน
จากข้อมูลของทางการเม็กซิโกอธิบายว่าปีรามิดกูกูลข่านมีบันไดข้างละ 91 ขั้น x 4 ด้าน = 364 วัน + 1 ของวิหารบนยอดสุด = 365 วัน ขณะเดียวกันปีรามิดมี 9 ระดับ X 2 = 18 เดือนหลักของปฏิทินฮับ ส่วนเศษที่เหลือ 5 วัน ของเดือนสุดท้ายลำดับที่ 19 ชื่อว่า "วาเย็ป" ไม่อยู่ในสาระบบเพราะเป็นช่วง "ลางร้าย" ไม่มีใครอยากกล่าวถึงและไม่มีใครอยากเดินทางไปไหนหรือทำอะไรที่สำคัญ เรียกง่ายว่า ....... อยู่เฉยๆจะดีที่สุด
การสร้างปีรามิดกูกูลข่านเต็มไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง
คำถามใหญ่ที่นักวิชาการแต่ละท่านมีคำอธิบายของตนเอง ..... เขาออกแบบปีรามิดอย่างไรให้เกิด "เงาพญางูยักษ์" เลื้อยลงมาในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (Equinox)
ทางการเม็กซิโกโปรโมทการท่องเที่ยวอย่างครึกครื้นว่า "ต้องมาดูด้วยสายตาของท่านเอง" ได้ผลครับ .... เขารับทรัพย์กันเนื้อๆเพราะนักท่องเที่ยวแห่ไปที่นั่นแบบกันตรึม ผมคำนวณง่ายๆจากค่าเข้าชมครั้งละ 20 USD วันๆหนึ่งมีคนเข้าชมโดยเฉลี่ย 1,000 คน ก็รับทรัพย์ วันละ 20,000 USD เท่ากับ 600,000 บาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ถ้าปีนึง 365 วัน x 600,000 บาท = 219,000,000 บาท ในความเป็นจริงมีผู้เข้าชมโบราณสถานแห่งนี้มากกว่าที่ประมาณการเพราะผมไปที่นั่น 2 ครั้ง ครั้งแรกในฤดู low season เดือนสิงหาคมก็เห็นคนเข้าชมไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ครั้งที่สองไปในช่วง high season ไม่ต้องพูดถึงละครับผู้คนแทบจะเดินเหยียบกันตาย
ป้ายโปรโมทเป็นภาษา spanish แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Welcome Equinox 2016
บรรยากาศที่บริเวณหน้าห้องขายตั๋วเข้าชมโบราณสถาน Chichen Itza
ผู้เข้าชมในช่วง high season เพื่อรอดูปรากฏการณ์ "พญางูยักษ์" เลื้อยลงมาจากยอดปีรามิด
ภาพที่ทุกคนต้องการเห็นด้วยตาตนเอง หลายคนมาจากประเทศต่างๆทั่วโลกผมเองก็มาจากประเทศไทย
คำอธิบายจากนักวิชาการที่ค้นจาก Google
อ่าน Google พบว่ามีคำอธิบายวิธีออกแบบปีรามิดกูกูลข่านให้มีปรากฏการณ์ "พญางูยักษ์" เลื้อยลงมาจากยอดปีรามิดในวัน Equinox ด้วยวิธีนี้ ครับ
สร้างวงกลมขนาดใหญ่และเล็งตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการ์ summer solstice และ winter solstice ทั้งเช้าและเย็น พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้
สร้างรูปสี่เหลี่ยมครอบใส่วงกลมโดยใช้จุดสีแดงเป็นหลักในการเริ่มต้นและให้แน่ใจว่าทั้งสี่ด้านต้องเป็นเสมือน "เส้นสัมผัสวงกลม" จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสดังภาพและนี่คือฐานล่างสุดของปีรามิด
ก่อสร้างปีรามิดให้มีจำนวน 9 ชั้น
ภาพแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่สัมพันธ์กับตัวปีรามิด
ในสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏปีรามิดทำมุมเอียงออกจากทิศเหนือแท้ 18 องศา เมื่อเกิดปรากฏการณ์ equinox แสงอาทิตย์ในตอนบ่ายจะทำมุมกับปีรามิดเป็นภาพพญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากยอด
คำอธิบายในความเห็นส่วนตัว
พิจารณาวิธีการที่ Google อธิบายข้างต้นแล้วมีความเห็นส่วนตัวว่าทำได้จริงแต่ "ใช้เวลานานเป็นปีในการออกแบบ" ถ้านั่ง Time Machince กลับไปในยุคพันกว่าปีที่แล้ว และกษัตริย์ชาวมายาว่าจ้างให้เป็น consult รับเหมาออกแบบปีรามิดตามสะเป็กที่ต้องการ มีวิธีที่ง่ายกว่าใช้เวลาน้อยกว่า แม่นยำกว่า .... และต้นทุนต่ำกว่า เรียกง่ายๆว่าเปิดซองประมูลออกมาราคาของผมต่ำกว่าผู้รับเหมารายอื่นๆ
อนึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการสังเกต "มุมดวงอาทิตย์" ของนาฬิกาแดดที่ออกแบบมาเฉพาะกิจกับปีรามิดหลังนี้
1.ทำ shadow plot ใช้เวลาเพียงวันเดียวเพื่อหาทิศเหนือ - ใต้ - ออก - ตก และทำเป็นรูปกากบาท
ได้ทดสอบวิธี shadow plot ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร มาแล้ว พบว่าสามารถสร้างทิศทั้งสี่ได้ไม่ยากและใช้เวลาเพียงวันเดียว
เริ่ม plot เงาดวงอาทิตย์แต่เช้า
Plot ไปเรื่อยๆโดยทำเครื่องหมายทุก 4 - 5 นาที ถ้าเป็นภาษาคนสูบบุหรี่อาจใช้คำว่า "ดูดยาสักสามคำ"
ทำไปจนบ่ายแก่ๆจะเห็น "เส้นโค้ง" ของเงาดวงอาทิตย์
ได้เวลาบ่ายแก่ๆก็หยุด plot และลากเส้นตรงระหว่างจุดตัดของเงาดวงอาทิตย์กับวงกลม (จุดสีเหลือง) นั่นคือแนว East - West (สีแดง) เมื่อทำมุมฉากกับแนวนี้จะได้แนว North - South
กากบาทแสดงทิศทั้งสี่ (four points of cardinal)
2. สร้าง Model ปีรามิดขนาดเล็กด้วยไม้ (สามารถใช้แรงคนขยับเขยื้นได้) และนำไปวางรับแสงดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ equinox ขยับ Model นี้ให้หันไปในตำแหน่งที่ทำให้เกิดเงาพญางูยักษ์ตามต้องการ
สร้าง Model ปีรามิดขนาดย่อมๆด้วยไม้
เอาไปวาง ณ สถานที่จริงในปรากฏการณ์ equinox และขยับมุมให้กินแสงอาทิตย์
ขยับไปเรื่อยๆโดยสังเกตมุมดวงอาทิตย์
ที่สุดจะได้ตำแหน่งที่เกิดเงาพญางูยักษ์ตามต้องการ และทำเครื่องหมายไว้ทุกด้านเพื่อ marking lay-out ของฐานปีรามิด
ขยายขนาดของ lay-out ออกไปให้ใหญ่ตามต้องการโดยที่มุมต่างๆยังคงเดิม
สร้างปีรามิดของจริงลงไปตามแนว lay-out และให้ได้ "สัดส่วน" เหมือนกับ Model ทุกประการ
ในที่สุดจะเห็นภาพแบบนี้ตรงตามสะเป็กที่ต้องการ
อนึ่ง ในยุคของชาวมายายังไม่มีเทคโนโลยี GPS หรือ I-phone แต่เมื่อทดสอบใช้เครื่องมือนี้ check alignment ที่ตัวปีรามิดก็พบว่าทำมุมกวาดจากทิศเหนือ 18 องศา (Azimuth 18)
iPhone แสดง alignment ของตัวปีรามิดทำมุมกวาด 18 องศา จากทิศเหนือ
ประมวลภาพปรากฏการณ์จริงที่ปีรามิดกูกูลข่านในช่วงวัน vernal equinox
นั่งเฝ้าดูปีรามิดแห่งนี้ 4 วันเต็มๆระหว่าง 19 - 22 มีนาคม 2559 (ซื้อบัตรเข้าชมวันละ 20 USD) โดยใช้นาฬิกาแดดเป็นตัวจับเวลา สรุปได้ว่า "พญางูยักษ์" เริ่มเลื้อยลงมาจากยอดปีรามิดประมาณ 15:50 (solar time 15:50) และเป็นรูปร่างสมบูรณ์ ณ เวลา 17:10 ดังภาพข้างล่างนี้ ครับ
ตรวจสอบความพร้อมของนาฬิกาแดด
เริ่มจับเวลา
เงาดวงอาทิตย์เริ่มมองเห็น ณ เวลา 15:50
16:20 เริ่มมองเห็นเค้าโครง
16:30 เงาพญางูยักษ์ชัดขึ้นเรื่อยๆ
17:10 ปรากฏเต็มตัวมองเห็นพญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากยอดปีรามิด
เงาลำตัว 7 ท่อน เชื่อมต่ออย่างแนบเนี่ยนกับหัวพญางูยักษ์ทำด้วยหินที่อยู่ด้านฐานปีรามิด
สรุป
รู้สึกคุ้มค่าที่ได้มาสัมผัสด้วยตัวเองหลังจากอ่าน Pocket Book: The Lost Realm ตั้งแต่ปี 1995 และติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทำให้มองเห็นปรากฏการณ์เชิงประจักษ์และเกิดแง่มุมความคิด ได้พิสูจน์ประสิทธิภาพของ "นาฬิกาแดด" ซึ่งออกแบบมาเป็นการเฉพาะกับพิกัดทางดาราศาสตร์ของปีรามิดแห่งนี้ ได้สัมผัสกับศาสตร์แห่งความเชื่อของผู้คนจากทั่วโลกซึ่งเดินทางมารับพลังแห่งศิริมงคลของแต่ละคน ได้พบได้เห็นสิ่งที่คิดมานานแล้ว
อนึ่ง......ปฏิบัติการครั้งนี้เกิดได้เพราะการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์สัญชาติอเมริกัน The Hadson Group ที่มีเจ้าของชื่อ Sue Hadson (Suthiphon Boonyothayan Hudson) ........ Thank You Very Much