ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (Sun Overhead)
ประเทศต่างๆที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ (23.5 N tropic of cancer) และ 23.5 องศาใต้ (23.5 S tropic of capricorn) หรือเรียกตามหลักภูมิศาสตร์ว่า Tropical Zone จะมีปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" ปีละ 2 ครั้ง ประเทศไทยและกลุ่มเพื่อนบ้าน ASEAN อีก 9 ประเทศ ก็อยู่ในโซนนี้
อาทิตย์ทรงกลด (sun halo) มักจะเกิดคู่กับปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ" (sun overhead) ถ้ามีความชื้นเหมาะสมในชั้นบรรยากาศ ภาพถ่าย 5 สิงหาคม 2562 ปราสาทนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" เคลื่อนตัวกลับไปกลับมาระหว่าง tropic of cancer 23.5 N - tropic of capricorn 23.5 S
Sun Overhead เคลื่อนตัวกลับไปกลับมาระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ และ 23.5 องศาใต้
ทำไมปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" จึงเกิดขึ้นเฉพาะ tropical zone เท่านั้น?
คำตอบคือ ...... เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง ทำให้มุมตกกระทบ 90 องศา ของดวงอาทิตย์ (angle of incidence) ที่กระทำต่อผิวโลกเคลื่อนตัวระหว่างทิศเหนือและทิศใต้อยู่ในขอบเขตพิกัด tropical zone เท่านั้น
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง ทำให้มุมตกกระทบ 90 องศา ของดวงอาทิตย์ในตำแหน่งเหนือสุดคือ 23.5 N tropic of cancer (Summer Solstice) และตำแหน่งใต้สุด 23.5 S tropic of capricorn (23.5 S)
ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ หรือ ตั้งฉาก หรือ ทำมุม 90 องศา กับโลก" หมายถึงการทำมุมฉากกับ "เส้นสัมผัสวง" ของผิวโลก สอดคล้องกับทฤษฏีเรขาคณิตของปีธากอรัส ...... เส้นรัศมีของทรงกลมจะทำมุมฉากกับเส้นสัมผัสวง ดังนั้นหากลากเส้นตรงของแสงอาทิตย์ ณ จุดที่ทำมุมฉากกับผิวโลกก็จะไปพบกับจุดศูนย์กลางของโลกพอดี อนึ่ง ภาพดวงอาทิตย์ที่ปรากฏต่อสายตาในวัน summer solstice 21 Jun และ winter solstice 21 Dec จะเหมือนกับภาพ graphic
Sun-path ของดวงอาทิตย์สำหรับประเทศที่อยู่ในพิกัด tropical zone (23.5 N - 23.5 S)
ตัวอย่าง sun-path ของจังหวัดสกลนคร ณ เส้นรุ้ง 17.15 องศาเหนือ จะมีปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" (sun overhead) ปีละ 2 ครั้ง
Sun - path ของประเทศที่อยู่นอกพิกัด tropical zone จะไม่มีโอกาศได้เห็น "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" เพราะดวงอาทิตย์ของพวกเขาจะเอียงไปทางทิศใต้ทั้งปี อย่างเก่งก็อยู่ที่ตำแหน่งประมาณ 80 องศา กว่าๆ
ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะในประเทศไทย"
ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 20.33 องศาเหนือ ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ 5.76 องศาเหนือ ที่อำเภอเบตง จังหวัดสงขลา ทำให้มีปรากฏการณ์อาทิตย์ตรงศรีษะปีละ 2 ครั้ง ดังตารางที่ผมเรียงลำดับตามวันที่
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม
อนึ่ง กำหนดเวลา "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" (solar noon) มักจะไม่ตรงกับเวลาเที่ยงของนาฬิกา (clock noon) นั่นเป็นเหตุผลทางดาราศาสตร์ (ท่านสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดในบทความ นาฬิกาแดดมิติเวลาของมนุษยชาติ) ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้ การเปรียบเทียบระหว่าง solar noon กับ clock noon ต้องใช้ curve ที่เรียกว่า equation of time
"ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" กับการท่องเที่ยว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือประเทศไต้หวัน เพราะตั้งอยู่ที่ตำแหน่งเหนือสุดของ tropical zone (tropic of cancer 23.5 N) หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยว (Tourism Bureau) ทำการโปรโมทอย่างเอิกเกริกเพื่อดึงนักท่องเที่ยวให้มา "รับพลังสุริยะ" ซึ่งถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ทางการไต้หวันลงทุนก่อสร้าง Sun Tower รูปร่างแปลกๆจำนวนหลายแห่งให้เป็น Landmark ของแต่ละเมือง งานนี้ผมว่าอาแปะไต้หวันแก "เซ็งลี้ฮ้อ" รับทรัพย์ไปสบายๆโดยที่สุริยะเทพไม่เคยส่งบิลมาเก็บเงินค่าตัวแม้แต่ดอลล่าห์เดียว
หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไต้หวันลงทุนสร้าง sun tower เพื่อโปรโมท sun overhead โดยชูประเด็นว่าตูข้าอยู่ที่ tropic of cancer นะเฟ้ย
Sun towers รูปร่างแปลกที่ทางการไต้หวันสร้างเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว
ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้เด็กๆสนใจวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์
ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะที่ อ.เมืองสกลนคร
ปรากฏการณ์นี้เกิดที่ อ.เมืองสกลนคร ปีละ 2 ครั้ง คือ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม และที่น่าสนใจคือวันที่ 8 พฤษภาคม 2552 ปรากฏการณ์นี้ตรงกับ "วันวิสาขบูชา" สื่อมวลชนจึงเผยแพร่ข่าวออกไปทั่วประเทศเพราะหากผลาดปีนี้ก็ต้องรอไปอีก 11 ปี (วิสาขบูชา 6 พฤษภาคม 2563 ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ตำแหน่ง 89.7 องศา )
8 พฤษภาคม 2552 ให้สัมภาษสื่อมวลชนแบบสดๆในปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะและตรงกับวันวิสาขบูชา
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและคุณนายให้เกียรติเป็นฟรีเซนเตอร์ร่วมกับผมที่วัดพระธาตุเชิงชุม
ปรากฏการณ์ Sun Overhead ที่เขตเทศบาลนครสกลนครเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม
เปรียบปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ" เมื่อ 5 สิงหาคม 2558 และ 5 สิงหาคม 2562 ที่ อ.เมืองสกลนคร
เปรียบเทียบเงาดวงอาทิตย์ 5 สิงหาคม 2558 วัดพระธาตุเชิงชุม และ 5 สิงหาคม 2562 วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
5 สิงหาคม 2562 วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
ทำไมจึงเกิด "อาทิตย์ทรงกลด" พร้อมๆกับปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ"
เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Sun Halo เกิดจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ + ความชื้นในชั้นบรรยากาศที่อยู่ในฟอร์มของละอองน้ำแข็งทำให้แสงเกิดการหักเหในมุม 22 องศา เมื่อเปรียบเทียบกับกับตำแหน่งของผู้ชมปรากฏการณ์
คำอธิบายการเกิด "อาทิตย์ทรงกลด" (Sun Halo)
หลักการหักเหของแสงที่มุม 22 องศา ทำให้เกิด Sun Halo
ปรากฏการณ์ Sun Halo ที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง
สรุป
แม้ว่าปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติปีละ 2 ครั้ง แต่ถ้าเรานำมาเชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน จะทำให้เกิดมุขเด็ดการท่องเที่ยว (Tourism Gimmick) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็ค่อนๆไปทางเรื่องความเชื่อที่คนไทยจำนวนมากก็อินกับอะไรทำนองนี้อยู่แล้ว เรียกว่า "เข้าทางปืน" ทั้งสายวิทย์ และสายมู