ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




วางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์

 วางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์

           วันที่ 21 กันยายน 2557 ผมได้รับเชิญจากสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพให้เป็นวิทยากรในหัวข้อ "การสร้างปราสาทขอม กับหลักดาราศาสตร์" และทราบว่าผู้เข้าอบรมจำนวนหนึ่งเป็นมัคคุเทศก์จากเชียงใหม่ จึงต้องหาข้อมูลและภาพที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ของเมืองนั้น เย็นวันที่ 20 กันยายน 2557 ผมรีบโทรศัพท์ไปหาไกด์พิกุล (Guide Pikul Ruangchai) ที่เชียงใหม่ และขอให้ช่วยถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นที่หน้าประตูท่าแพ เพราะทราบมาก่อนว่าผังเมืองเชียงใหม่มีความเหมือนกับผังเมือง Angkor Thom ที่กัมพูชา ซึ่งถูกออกแบบและก่อสร้างให้สอดคล้องกับ "ทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์" (the four cardinal points) แต่เผอิญโชคไม่ดีที่ในช่วงดังกล่าวท้องฟ้าปิด อีกหกเดือนต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2558 ท้องฟ้าเปิดจึงได้ภาพ ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (sunrise at vernal equinox) หน้าประตูท่าแพอย่างสวยงามจากฝีมือตากล้องมืออาชีพชื่อคุณเอกชัย หลีสิน ชมรมถ่ายภาพเชีบงใหม่ ภาพนี้เป็นการยืนยัน "เชิงประจักษ์" ว่า ผังเมืองเชียงใหม่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับหลักดาราศาสตร์ อนึ่ง "วสันตวิษุวัต" เป็นศัพท์วิทยาศาสตร์ภาษาไทยที่ใช้รากศัพท์สันสกฤตหมายถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "กลางวันเท่ากับกลางคืน" ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ และเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (วสันต = ฤดูใบไม้ผลิ, วิษุวัต = กลางวันเท่ากับกลางคืน)   

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางประตูท่าแพ เมืองเชียงใหม่ ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) เช้าวันที่ 21 มีนาคม 2558 จากฝีมือของคุณเอกชัย หลีสิน ชมรมถ่ายภาพเชียงใหม่ อนึ่งเรื่องราวและรายละเอียดเกี่ยวกับปรากฏการณ์ equinox ท่านสามารถอ่านในบทความต่างๆที่อยู่ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้

 

ทำไมต้องออกแบบเมืองเชียงใหม่ให้ตรงกับทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ 

           ข้อสงสัยเบื้องต้น ..... ทำไมต้องออกแบบผังเมืองให้ตรงกับทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ คำตอบที่น่าจะใกล้เคียงที่สุดก็คือ บรรพชนในยุคนั้นใช้ "ปฏิทินมหาศักราช" (Saka Calendar) ซึ่งวันเริ่มต้นปีใหม่คือวันที่ 1 เดือนไจตระ ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน และดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ และตกที่ตำแหน่งทิศตะวันตกแท้ (ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม) เมื่อเทียบเคียงกับผังเมือง "นครธม" ที่ประเทศกัมพูชา ก็มีลักษณะเดียวกัน 

 

ผังเมืองเชียงใหม่มีความเหมือนกับผังเมืองนครธม 

 

ผังเมืองเชียงใหม่สอดคล้องกับทิศดราศาสตร์ทั้งสี่ ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ขึ้นที่ตะวันออกแท้ และตกที่ตะวันตกแท้

 

 

บรรพชนในดินแดนล้านนายุคแรกๆใช้ปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) เหมือนกับสุโขทัย ซึ่งรับมรดกมาจากขอม อนึ่ง ปฏิทินฉบับนี้มีต้นกำเนิดที่ชาวอารยันในอัฟกานีสถานและเผยแพร่มายังอินเดียถ่ายทอดต่อไปยังอาณาจักรขอม ท้ายสุดมาลงตัวที่อาณาจักรสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาตอนต้น ปฏิทินมหาศักราชเริ่มต้นวันปีใหม่ (วันที่ 1 เดือนใจตระ) ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 

 

ตรวจสอบผังแปลนของปราสาทพนมบาเค็ง ที่เมือง Siem Reap กัมพูชา ด้วยเข็มทิศและเครื่อง GPS

 

ยืนยันว่าผังแปลนของปราสาทพนมบาเค็ง สอดคล้องกับทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ และยังมีสัญลักษณ์เป็นรูปกากบาดปรากฏอยู่ที่พื้นหิน

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่ศรีสัชนาลัย ซึ่งสร้างก่อนเมืองสุโขทัย ก็ถูกออกแบบให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ (equinox) และมีข้อมูลกล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่าเป็นที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ในสมัยนั้น

 

ผมได้รับการยืนยันว่าวัดแห่งนี้หันหน้าเข้าหาตำแหน่งทิศจะวันออกแท้ ตรวจสอบด้วยด้วยอุปกรณ์ GPS โดยไกด์นก Prapaporn Matda

 

ไกด์นก Prapaporn Matda ลงพื้นที่ด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง หันหน้าเข้าหาตำแหน่งตะวันออกแท้ ที่มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90)

 

วัดพระพายหลวงที่สุโขทัยก็หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้เช่นเดียวกัน

 

           จากข้อมูลที่ได้อธิบายข้างต้นทำให้พอมองเห็นเหตุผลของการออกแบบผังเมืองให้ตรงกับทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ สรุปสั้นๆว่าเป็นความเชื่อที่ให้เมืองเชียงใหม่หันหน้าตรงกับวันปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราช และสอดคล้องกับทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์เหมือนกับเมืองนครธมในยุคขอมเรืองอำนาจ ผังเมืองแบบนี้ถูกผ่องถ่ายเป็นมรดกแห่งความเชื่อมายังศรีสัชนาลัย สุโขทัย และเชียงใหม่ 

 

ใช้วิธีการดาราศาสตร์อย่างไร

            ผมคุ้นเคยกับวิธีกำหนดทิศทั้งสี่ให้สอดคล้องกับดาราศาสตร์ (the four cardinal points) มาหลายปีแล้ว และเคยเป็นวิทยากรบรรยายพร้อมปฏิบัติจริงแก่นักเรียนและคุณครูคณิตศาสตร์ในหัวข้อ Shadow Plot ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ชาวอียิปส์โบราณใช้ในการวางผังสิ่งก่อสร้าง เช่น มหาปีรามิด และสฟิ๊งส์ และเชื่อว่าอารยธรรมทั่วโลกก็ใช้วิธีเดียวกันนี้เพราะสามารถทำได้ง่ายและมีความแม่นยำสูง อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีเพียงแท่งไม้ธรรมดากับดวงอาทิตย์

 

วิธีการกำหนดทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์เป็นวิชาเก่าแก่ของมนุษยชาติ

 

 ทิศทั้งสี่ตามหลักดาราศาสตร์ (four cardinal points) 

 

มหาปีรามิดที่อียิปส์ก็ใช้วิธีวางผังด้วย shadow plot

 

วิธี shadow plot ใช้แท่งไม้ปักลงไปให้ตั้งฉากกับบริเวณพื้นเรียบและทำเครื่องหมายให้ตรงกับตำแหน่งของปลายเงาดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เมื่อทำได้ครบตั้งแต่เช้าจนบ่ายจะได้เส้น curve 

 

ใช้เชือกวัดระยะทางที่ยาวเท่ากันระหว่างทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของ curve ลากเส้นตรงผ่านตำแหน่งทั้งสอง "นี่คือทิศตะวันออกแท้และตะวันตกแท้" ส่วนทิศเหนือก็เป็นเส้นตั้งฉากจาก center ของแท่งไม้ไปยังเส้นตะวันออกตะวันตก

 

จะได้ทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ (the four cardinal points)

  

เมื่อปี 2550 ได้จัดอบรมค่ายดาราศาสตร์แก่นักเรียนประถม ที่โรงเรียนบ้านซ่งเต่า อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยให้เด็กๆช่วยกันวางก้อนหินทุกๆ 4 - 5 นาทีที่ตำแหน่งปลายของเงาดวงอาทิตย์  

 

 

เด็กนักเรียนชั้นประถมเรียนรู้วิธีกำหนดทิศทั้งสี่ด้วย shadow plot โดยใช้ก้อนหินวางตามเงาของดวงอาทิตย์

 

 

ช่วงนั้นเป็นปลายเดือนมกราคม 2550 เงาของดวงอาทิตย์จึงเป็นเส้นโค้ง ในที่นี่ "ทิศเหนือแท้" (true north) จึงเป็นเส้นตรงที่สั้นที่สุดระหว่างฐานของไม้กับเส้นโค้ง

 

ทดสอบ layout ของปราสาทภูเพ็ก บนยอดเขาสูง 520 เมตร ที่จังหวัดสกลนคร ด้วยวิธี shadow plot เพื่อยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้ (true east) และตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เรียกว่า "วิษุวัต" (equinox) 

 

ผมทำ shadow plot ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย 

 

สามารถกำหนดทิศทั้งสี่ (four cardinal points) ได้อย่างแม่ยำ

 

ผมเป็นวิทยากรอบรมหลักสูตรปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส  "วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว" ให้แก่คุณครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ก็ต้องใช้วิชา shadow plot 

 

บรรดาคุณครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ต้องทดสอบ shadow plot ด้วยตนเอง

 

หลวงพ่อวัลลพ แห่งวัดคำประมงค์ซึ่งเป็นอโรคยาศาลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้ขอให้ผลทำการวางผังอาคารหลังนี้ให้หันหน้าตรงกับปรากฏการณ์ equinox 

 

ผมและคุณปราสาท ตงศิริ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสกลนคร ต้องทำ shadow plot ตั้งแต่เช้าจนบ่าย โดยมีหลวงพ่อวัลลพ เจ้าอาวาสวัดคำประมงนั่งสังเกตการณ์ตลอดเวลา

 

ลของการทำ shadow plot ได้ทิศตะวันออกและตะวันตกแท้ 

 

 

ทดสอบปฏิบัติวางผังเมืองเชียงใหม่ที่ประตูท่าแพ

          ผมพยายามค้นหาหลักฐานที่เป็นคำจารึกเกี่ยวกับวิธีการวางผังเมืองเชียงใหม่ จนแล้วจนรอดก็ยังหาไม่พบ สอบถามมัคคุเทศก์อาชีพหลายท่านก็ไม่พบคำตอบ จึงจำเป็นต้องใช้หลักการ "ตรรกวิทยา" ซึ่งประกอบด้วยความรู้ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ของบรรพชนผนวกกับความน่าจะเป็นของสังคมในยุค 700 - 800 ปีที่แล้ว มาลงตัวที่ "วิธีพล้อตเงาดวงอาทิตย์" (shadow plot) ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเที่ยงตรงมากที่สุด

          เริ่มต้นด้วยการบรรยายภาคทฤษฏีในห้องที่โรงแรมสุริวงศ์ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 และทดสอบปฏิบัติการจริงที่ประตูท่าแพ วันที่ 2 มีนาคม 2559 ระหว่างเวลา 08:30 - 10:30 น.    

บรรยากาศการบรรยายภาคทฤษฏีที่ห้องประชุมโรงแรมสุริวงศ์ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

 

 

การบรรยายภาคทฤษฏีดาราศาสตร์เพื่อปูพื้นความเข้าใจขั้นพื้นฐาน

 

ถ่ายภาพร่วมกันหลังจบการบรรยายในตอนบ่าย

 

 ลงพื้นที่ปฏิบัติการจริงที่ประตูท่าแพ ใช้อุปกรณ์เพียงแท่งไม้กับดวงอาทิตย์เพื่อทำ shadow plot

 

อันดับแรกจะต้องมองหาสถานที่เหมาะสมให้เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองและปักหลักไม้อันแรกที่นั่นเพื่อเริ่มต้นทำ shadow plot 

 

เริ่ม shadow plot โดยทำเครื่องหมายที่ปลายเงาดวงอาทิตย์ทุกครั้งที่เงาเคลื่อนตัว ในที่นี้ใช้ก้อนหินวางเป็นเครื่องหมาย  

 

การวางก้อนหินผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง จะเห็นแนวของเงาดวงอาทิตย์ (shadow path) มีลักษณะเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก เนื่องจากวันที่ 1 มีนาคม เข้าใกล้ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox 21 March) และถ้าทำต่อไปเรื่อยๆจนถึงบ่ายแก่ๆก็จะได้เส้นตรงยาวออกไปทางทิศตะวันออก 

อนึ่ง ลักษณะเงาของดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงฤดูกาลขึ้นอยู่กับ "ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์" ในช่วงนั้นๆ ดังรายละเอียดตามภาพข้างล่าง 

 

 

แสดงเส้น curve ของเงาดวงอาทิตย์ (shadow path) ในช่วงต่างๆของรอบปีดาราศาสตร์ จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูหนาว (winter solstice) เงาเป็นเส้นโค้ง ช่วงวัน equinox เงาเป็นเส้นตรง และช่วงฤดูร้อน (summer solstice) เงาเป็นเส้นโค้ง การลงพื้นที่ประตูท่าแพตรงกับวันที่ 1 มีนาคม 2559 ซึ่งใกล้จะถึงวัน equinox 21 มีนาคม เงาดวงอาทิตย์ในชวงนี้จึงเป็นค่อนข้างเส้นตรง

 

การหาทิศ N - S - E -W ด้วยวิธี Shadow Plot ในช่วงฤดู Summer (long Day) ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม - 22 กันยายน เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นโค้งอยู่ทางด้านทิศใต้

 

 การหาทิศ N - S - E - W ในช่วงฤดูหนาว Winter  (Short Day) ระหว่างช่วงวันที่ 24 กันยายน - 20 มีนาคม เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นโค้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ

 

  

การหาทิศ N - S - E - W ในวัน Equinox 21 มีนาคม และ 23 กันยายน (กลางวันเท่ากับกลางคืน) เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรงอยู่ทางด้านทิศเหนือ 

 

ลากเส้นตรงจากฐานของแท่งไม้ให้ตั้งฉากกับ shadow path ในแนว East และ West จะได้ทิศเหนือแท้ (true north) และเมื่อนำแท่งไม้หลายๆอันมาวางเรียงกันโดยเล็งให้เป็นเส้นตรงยาวเท่าที่ต้องการไปในแนวทั้งสี่ทิศ  

 

ถ้าใช้เวลาทำ shadow plot จนถึงบ่ายแก่ๆจะได้ shadow path เป็นเส้นตรงยาวๆในแนวทิศ East and West แต่ปฏิบัติการครั้งนี้มีเวลาจำกัดจึงทำได้เพียงชั่วโมงเศษๆพอให้เห็น pattern of the shadow path ว่ามีลักษณะเป็นเส้นตรง และเมื่อลากเส้นตรงจากฐานของไม้ให้ตั้งฉากกับ shadow path จะได้ทิศเหนือแท้ (true north) และจะได้ทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์ (four cardinal points) อนึ่ง เงาของดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงสุริยะ (solar noon) จะชี้ไปที่ทิศเหนือแท้ (ture north)  

 

     

เมื่อได้ภาพกากบาดเป็นทิศทั้งสี่ของดาราศาสตร์แล้ว ก็ใช้แท่งไม้เล็งแนวไปในแต่ละทิศตามความยาวเท่าที่ต้องการ

 

 

การใช้แท่งไม้วางแนวทั้งสี่ทิศให้ใหญ่ตามที่ต้องการ และจับฉากเข้าหากันก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมนั่นก็คือแปลนผังเมือง

 

 

ผังเมืองเชียงใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยม 

 

ตกกลางคืนก็สามารถตรวจสอบแนวผังเมืองด้านทิศเหนือว่าตรงกับตำแหน่ง "ดาวเหนือ" หรือไม่

 

  ถ้ายังไม่พอใจก็ยังสามารถตรวจสอบกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ตรงกับวันที่ 1 เดือนใจตระ (Chaitra) ปฏิทินมหาศักราช หรือ วัน "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) ตรงกับวันที่ 1 เดือนอัสวิน (Aswin)  

 

สรุป

          ในความเห็นของผมเชื่อว่าการวางผังเมืองเชียงใหม่เมื่อ 700 ปีที่แล้ว บรรพชนอย่างท่านพราหมณ์ในราชสำนักผู้มีภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์เลือกใช้วิธี shadow plot เพื่อกำหนดแนวทิศทั้งสี่ ( four cardinal points) อย่างไรก็ตามนักวิชาการท่านอื่นอาจจะมีความเห็นในวิธีที่ต่างออกไป เรื่องแบบนี้ต้องยอมรับว่าทั้งผมและท่านทั้งหลายไม่มีใครเกิดในยุคนั้น ไม่มีใครทราบและเห็นด้วยตาตนเอง ก็ต้องอาศัยการตั้งสมมุติฐานบนหลักวิชา "ตรรกวิทยา" และ "ความน่าจะเป็นตามหลักวิทยาศาสตร์" เช่นเดียวกับ "การสร้างมหาปีรามิด" ที่ประเทศอียิปส์ มีการตั้งทฤษฏีหลากหลายและยังหาข้อยุติที่แท้จริงไม่ได้ ถ้าท่านชมภาพยนต์สารคดีประเภท Discovery Channel หรือ national Geographic ย่อมเห็นได้ว่าเต็มไปด้วยทฤษฏีต่างๆให้ท่านผู้ชมตัดสินใจเอาเองว่าจะเชื่อแนวทางไหน .......... ดังนั้น เรื่องการวางผังเมืองเชียงใหม่ของผมก็มาในแนวทางเดียวกันนี่แหละ ...... ครับ ท่านผู้ชมต้องตัดสินเอาเองว่าเป็นไปได้หรือไม่

 

 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ขึ้นหน้าวัดพระสิงห์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 มีนาคม 2559 โดยฝีมือของคุณทับทิม จาก นสพ.เชียงใหม่นิวส์ 

 

วัดเก่าแก่ในเมืองเชียงใหม่ เช่นวัดพระสิงห์ ก็ถูกสร้างให้สอดคล้องกับผังเมือง

 

 

ผู้เข้าอบรมจากชมรมมัคคุเทศก์ภาคเหนือถ่ายภาพร่วมกันหลังจากได้ทดสอบปฏิบัติ "วางผังเมืองด้วยเทคนิค shadow plot"  

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ