ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




กุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน

ทำไมเดือนกุมภาพันธ์จึงมี 28 วัน และทุกๆ 4 ปี "อธิกสุรทิน" เพิ่มอีก 1 วัน เป็น 29 วัน 

ผมได้รับ Facebook จากเพื่อนชื่อ Nig Dammusig ขอให้เขียนเรื่องราวของปี "อธิกสุรทิน" (Leap Year) เดือนกุมภาพันธ์ทำไมต้อง 29 วัน ในสไตล์ของผม......ยินดีครับ.....จัดให้เดี๋ยวนี้เลย 

 

 

 

       ย้อนอดีตไปที่อาณาจักรโรมัน

          ปฏิทินสากลที่เราๆท่านๆใช้ในปัจจุบันเป็นมรดกของชาวโรมันเมื่อ 700 กว่าปีก่อนคริสตกาล ปฏิทินฉบับแรกมีชื่อว่า "ปฏิทินโรมูรุส" (Calendar of Romulus) เป็นผู้สร้างกรุงโรม ต่อมามีการปรับปรุงโดยจักรพรรดิ์ Numa Pompilius และสุดท้ายมาลงตัวที่ปฏิทินฉบับ Gnaeus Flavius ในปี 304 ก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่าปฏิทินโรมันอิง "จันทรคติ" จึงต้องมีการปรับแต่งโดยเพิ่มและลดวันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรมสอดคล้องกับฤดูกาล การปรับแต่งเช่นนี้เป็นหน้าที่ของ "พระผู้ใหญ่" ซึ่งชาวโรมันให้ความนับถือ ตอนแรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไรทุกอย่างไปได้ด้วยดี .......... แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ครับ..... .......พระผู้ใหญ่หลายท่านอยู่เบื้องหลังอำนาจทางการเมือง......เนื่องจากอาณาจักรโรมันมีการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีระบบแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจคราวละเท่านั้นเท่านี้ปี อย่างว่าแหละครับพระผู้ใหญ่มีเด็กในคถาของตัวเองเป็นผู้บริหารบ้านเมืองและเมื่อถึงปีสุดท้ายที่จะต้องลงจากเก้าอี้ พระผู้ใหญ่ท่านก็เล่นเกมส์ศรีธนญชัยด้วยการแทรกวันเข้าไปเยอะๆเพื่อยืดปฏิทินปีนั้นออกไปให้คนของตัวเองรักษาเก้าอี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พูดภาษาหมัดมวยก็คือการส่งซิกให้กรรมการบนเวทีนับแบบยาวๆจนนักมวยของตัวเองฟื้นจากอาการเมาหมัด ดีไม่ดีพี่แกหยุดนับเอาดื้อๆแล้วหันไปโบกมือไล่ให้นักมวยฝ่ายตรงข้ามเดินเข้ามุมทั้งๆที่หมอนั่นก็ยืนอยู่ที่มุมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการเมืองในปัจจุบันของหลายประเทศที่มักเกิดปัญหาพวกใครพวกมันหรือใช้อำนาจเผด็จการเพื่อพวกพ้องก็มิใช่เรื่องแปลกใหม่......พฤติกรรมแบบนี้มีมาตั้งแต่อดีตหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล

           ล่วงมาถึงปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล ยุคของจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ "จูเลียส ซีซ่าร์" เจ้าของวลีเด็ด "ข้ามา ข้าเห็น ข้าชนะ" (จริงๆแล้วท่านไม่ได้มีตำแหน่งเป็นจักรพรรดิ์ แต่เป็นแม่ทัพโรมันที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้นเราๆท่านจึงเรียกท่านเสมือนเป็นจักรพรรดิ ว่ากันตามระบอบการปกครองของโรมมันจักรพรรดิ์องค์แรกคือ Augustus เริ่มตั้งแต่ 27 BC ซึ่งเปลี่ยนดินแดนในความปกครองของโรมันจากสาธารณรัฐเป็นอาณาจักร) ท่านจูเลียส ซีซ่าร์หมดอารมณ์กับปฏิทินโรมันที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงเพราะวันสำคัญทางศาสนาไม่สอดคล้องกับฤดูกาล เผอิญตอนนั้นท่านซีซ่าร์ยกกองทัพไปอยู่ที่อียิปส์และจับพลัดจับพลูถูกเสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตราก็เลยตกกระไดพลอยโจน เรื่องแบบนี้ไม่ว่ากันหรอกครับหนุ่มใหญ่วัยห้าสิบกว่าๆห่างบ้านห่างเมืองมาไกลพบสาวน้อยหน้าตาสวยแถมมีตำแหน่งเป็นฟาร์โรอะไรจะเหลือละ เชื่อว่าท่านซีซ่าร์คงเปรยๆปัญหาปฏิทินโรมันให้บ้านเล็กคนนี้ฟังจึงเข้าทางปืนพระนางคลีโอพัตราพอดี เลยแนะนำให้ใช้บริการนักดาราศาสตร์ซึ่งเป็นเด็กในคถา ชื่อ Sosigenes of Alexandria  รับผิดชอบยกเครื่องปฏิทินโรมมันใหม่ แม้ว่าจะเป็นเด็กฝากนักดาราศาสตร์ผู้นี้ก็โชว์ฝีมือสร้างปฏิทินฉบับใหม่ตามสไตล์อียิปส์ มีผลงานออกมาเป็น "ปฏิทินสุริยคติ" (Solar Calendar) กำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และทุกๆ 4 ปี ให้เพิ่มอีก 1 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 28 + 1= 29 วัน มีจำนวนวันทั้งสิ้น 365 วันในปีปกติ และ 366 วันในปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ชาวโรมันเรียกปฏิทินฉบับนี้ว่า "Julian Calendar" เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านจักรพรรดิ์ Julius Caesar และประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปีที่ 45 ก่อนคริสตกาล (45 BC)

            ตุลาคม ปี 2006 ผมไปดูงานมหาวิทยาลัยที่กรุงโรมประเทศอิตาลี และมีโอกาศพูดคุยส่วนตัวกับนักวิชาการที่วิหาร St.Peter at Vatican ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ท่านซีซาร์อยากจะเอาใจบ้านเล็กก็เลยคิดจะเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดือนมกราคม (Ianuarius หรือ January) เป็นวัน Equinox ในเดือน Martius เพราะชาวอียิปส์ให้ความสำคัญกับวัน Equinox ซึ่งเป็นปรากฏการณ์กลางวันเท่ากับกลางคืนและดวงอาทิตย์ขึ้นที่ตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ จะเห็นได้ว่าปีรามิดและสิ่งก่อสร้างสำคัญ เช่น สฟิ๊งซ์ หันหน้าเข้าหาทิศดังกล่าว เรื่องนี้ทราบไปถึงเมืองหลวงทำให้สภาแห่งกรุงโรมยื่นคำขาดว่าถ้าท่านซีซ่าร์ยังดื้อดึงเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดือน Ianuarius ซึ่งเป็นพระนามของ God Janus (Januaury) จะลงมติปลดออกจากตำแหน่งจักรพรรดิ์ ถ้าเป็นปัจจุบันคงใช้คำว่า "ถอดถอน" เล่นเอาท่านซีซ่าร์ต้องยอมปรองดองและคงเดือนมกราคมเป็นปีใหม่ต่อไป แต่เพื่อไม่ให้เสียหน้าบ้านเล็กปฏิทินฉบับนี้กำหนด "อธิกสุรทิน" (Leap Year) ตามแบบของอียิปส์โดยทุกๆ 4 ปี มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และ 366 วัน ออกรูปนี้ถือว่า win - win ตำแหน่งยังอยู่และบ้านเล็กก็พอใจ ........ แต่ไม่ทราบว่าบ้านใหญ่ที่กรุงโรมจะพอใจหรือไม่ ..... ประเด็นนี้ท่านซีซ่าร์คงต้องไปเคลียกันเอง 

           การกำหนดให้กุมภาพันธ์เป็นเดือนที่มีการปรับจำนวนวันน่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ กล่าวคือ

           1.การปรับเพิ่มและลดวันในปฏิทินดั้งเดิมของชาวโรมันก็ทำเช่นนี้อยู่แล้วโดยใช้ช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์กับเดือนมีนาคม

           2.ปฏิทิน "โหราศาตร์" ของชาวโรมันเดือนกุมภาพันธ์ตรงกับ "ราศีสุดท้ายของปี"  คือราศีมีน (Zodiac Pisces 19 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม) ดังนั้น เมื่อเดือนอื่นเอา 30 - 31 วันไปกินหมดแล้ว และทั้งปีก็มีจำนวน 365 วัน เมื่อหักลบแล้วเหลือขนมเค็กก้อนสุดท้ายเพียง 28 วัน ยกให้เดือนกุมภาพันธ์ แต่ทุกๆ 4 ปี (อธิกสุรทิน หรือ leap year) ก็แถมให้อีก 1 วัน เป็น 29 และปีนั้นมี 366 วัน   

 

ปฏิทินจักรราศีของชาวโรมันเปรียบเทียบกับปฏิทินสุริยะคติ จะเห็นว่าเดือนกุมภาพันธ์อยู่ใน "ราศีมีน" (Pisces) ซึ่งเป็นราศีสุดท้ายของปีโหราศาสตร์  

 

 

อาณาจักรโรมันถือกำเนิดเมื่อ 700 กว่าปีก่อนคริสตกาล ตามตำนานที่กล่าวถึงสองพี่น้องชื่อ Remus and Romulus ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมของแม่หมาป่าจนเติบใหญ่

 

 

ทุกท่านที่ไปกรุงโรมหรือหลายจังหวัดของประเทศอิตาลีจะเห็นรูปหมาป่าให้กำลังนมเด็กสองพี่น้อง นั่นคือตำนานแห่ง Remus and Romulus  

 

 

ปฏิทินโรมันกำหนดให้เดือน January เป็นเดือนแรกแห่งปีเพราะมาจากตำนานของเทพ Janus ซึ่งดึงดวงอาทิตย์กลับมาคืนสู่ท้องฟ้าหลังจากที่ดวงอาทิตย์คล้อยต่ำมากในฤดูหนาว (Winter Solstice) จนชาวโรมันวิตกว่าดวงอาทิตย์จะไม่กลับมาอีก จึงอ้อนวอนให้ God Janus ช่วยไปเอาดวงอาทิตย์กลับคืนมา

 

 

ว่ากันตามเนื้อผ้าปฏิทินโรมันไม่ได้แย่ขนาดนั้นถ้า "พระผู้ใหญ่" ที่มีหน้าที่ปรับแต่งด้วยการเพิ่มและลดวันให้ปฏิทินมีความสอดคล้องกับฤดูกาลโดยไม่มีเบื้องหลังทางการเมืองจนเกินไป

 

 

ผมไปดูงานที่กรุงโรมเมื่อปี 2006 มีโอกาศได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมมากมายจากเอกสารและสถานที่จริงรวมทั้งได้พูดคุยส่วนตัวกับนักวิชาการใน St.Peter Church สำนัก Vatican

 

ปฏิทินฉบับนี้ถูกใช้อย่างเป็นทางการในปีที่ 45 BC ตรงกับปฏิทินโรมันปีที่ 709 

 

 เปรียบเทียบรูปร่างหน้าตาของปฏิทินโรมัน (Roman Calendar) กับปฏิทินจูเลียส์ ซีซ่าร์ (Julian Calendar) 

 

       สันตปาปาเกรกอเรี่ยนที่ 13 ปรับปรุงปฏิทิน Julian Calendar และใช้ตราบจนปัจจุบัน

           ปฏิทินจูเลียส์ ซีซ่าร์ มีข้อบกพร่องคือขาดหายไป 1 วัน ต่อ 128 ปี และเมื่อสะสมมาเรื่อยๆตั้งแต่ 45 BC จนถึง AD 1582 เกิดปัญหาใหญ่คือ วันที่ 21 มีนาคม มาถึงก่อนปรากฏการณ์  Vernal Equinox ทำให้การคำนวณวันสำคัญทางศาสนาคาทอลิกคือ Easter Sunday ผิดพลาดไปหมด เนื่องจากที่ประชุมพระชั้นผู้ใหญ่ที่เมือง Nicaea ค.ศ.325 โดยมีจักรพรรดิ์ Constantine เป็นประธานลงมติให้วันที่ 21 มีนาคม เป็นวัน "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ) และวันอาทิตย์ถัดจาก Full Moon หลัง Vernal Equinox เป็น Easter Sunday เพื่อรำลึกถึงการฟื้นคืนชีพของพระเยซูหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนในวันศุกร์ 

           ท่านสันตปาปาเกรกอเรี่ยน ที่ 13 ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1582 ปรับปรุงปฏิทินซีซ่าร์ โดยให้วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1582 กระโดดไปเป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.1582 (บวก 10 วัน) เพื่อปรับให้วันที่ 21 มีนาคม ตรงกับปรากฏการณ์ Vernal Equinox ตามมติที่ประชุมของพระผู้ใหญ่ที่เมือง Nicaea

          ปัจจุบันปฏิทินของท่านสันตปาปาเกรกอเรี่ยนกลายเป็นปฏิทินสากลที่เราๆท่านๆใช้กันทั่วโลก และปฏิทินพุทธศักราชของไทยก็ใช้หลักเกณฑ์ "อธิกสุรทิน" (Leap Year) ตามแบบ Gregorian Calendar ดังนั้น ปี พ.ศ.2559 ตรงกับ ค.ศ.2016 จึงมี 29 กุมภาพันธ์ และ 366 วัน 

 

การประชุมพระผู้ใหญ่ที่เมือง Nicaea ในปี ค.ศ.325 โดยมีจักรพรรดิ์ Constantine นั่งเป็นองค์ประธาน 

 

 

 

 

    

 

 

 

เงื่อนไขของปฏิทินฉบับ Gregorian มีด้วยกัน 2 ข้อ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักดาราศาสตร์จึงถือว่าปฏิทินนี้มีความแม่นยำอย่างมาก อย่างไรก็ตามอีกสามพันกว่าปีข้างหน้าจะต้องมีการปรับเพิ่มอีก 1 วัน

 

  

กำหนดวันสำคัญทางดาราศาสตร์ในปฏิทินฉบับ Gregorian 

 

 ผมไปเยี่ยมชมอนุสรณ์ของท่านสันตปาปา Gregorian XIII ที่วิหาร St.Peter กรุงโรม ประเทศอิตาลี 

 

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจกับอนุสรณ์ของท่าน Gregorian XIII แต่สำหรับผมรีบเดินตรงมาทันทีที่เข้ามาในวิหาร St.Peter โดยถามเจ้าหน้าที่ว่าท่าน Gregorian XIII อยู่ตรงส่วนไหนของวิหารเพราะสถานที่นี้กว้างใหญ่มาก เจ้าหน้าที่ก็ใจดีรีบเดินนำมาจนถึงที่และถามผมว่า "ทำไมจึงสนใจเรื่องนี้" ผมตอบว่ากำลังศึกษาเรื่องของดาราศาสตร์และปฏิทิน Gregorian ซึ่งเป็นปฏิทินฉบับที่ทั่วโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน เท่านั้นแหละทั้งผมและเจ้าหน้าที่ก็พูดคุยกันอย่างถูกปากถูกคอ เพราะเป็นครั้งแรกที่มีคนจากประเทศไทยให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ

สรุป  

           ปฏิทินสากลในปัจจุบันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Gregorian Calendar โดยปรับปรุงมาจาก Julian Calendar ของท่าน Julius Caesar เมื่อปี ค.ศ. 1582 ซึ่งมีรากฐานมาจาก Roman Calendar

          เรื่องราวของปฏิทินที่กว่าจะมาถึงวันนี้ ผ่านเบื้องหน้าเบื้องหลังของการเมือง การมุ้ง ความเชื่อ ศาสนา และดาราศาสตร์ ผมไม่ทราบว่าอีกสามพันกว่าปีข้างหน้าใครจะเป็นผู้ลุกขึ้นมาปรับแก้ปฏิทินให้สอดคล้องกับหลักดาราศาสตร์อีกคำรบหนึ่ง........ หรือว่าวันนั้นอาจจะไม่มีใครอยู่บนโลกใบนี้อีกแล้ว     

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ