ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




มองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม

                      มองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม

           เชื่อว่าหลายท่านที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา และอารยธรรม คงจะเคยอ่านเรื่องราวของพระธาตุพนมจากเอกสารและเว้ปไซด์ต่างๆ แต่ครั้งนี้ใคร่ขอเสนอ "พระธาตุพนมในแง่มุมใหม่" ตามหลักฐานที่ค้นคว้าด้วยตนเองบวกกับการประมวลเอกสารของกรมศิลปากร และข้อเขียนของนักวิชาการโบราณคดี ............. ลองตามดูซิครับว่ามุมมองของผมเป็นอย่างไร

 

 

 
                    เริ่มแกะรอยจากปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ปี 2546

           ต้นปี 2545 ผมย้ายไปดำรงตำแหน่งเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนมจึงมีโอกาศใกล้ชิดกับพระธาตุพนม จึงเริ่มต้นจากการใช้เข็มทิศตรวจสอบแปลนของพระธาตุและพบว่า "หันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย" ที่มุมกวาดประมาณ 87 องศา (Azimuth 87) และเพื่อยืนยันความถูกต้องจึงไปถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) 22 กันยายน 2546 พบว่าดวงอาทิตย์ยามเช้าอยู่ที่ริมประตูด้านขวามือหรือทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุ ก็แสดงว่าองค์พระธาตุหันหน้าไปทาง "ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" เหมือนกับโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูหลายแห่ง จึงตั้งข้อสงสัยว่าข้างในองค์พระธาตุอาจจะมีโบราณสถานดั้งเดิมซึ่งถูกออกแบบให้หันหน้าไปที่ "ราศีเมษ" และน่าจะสร้างโดยกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้ขัดแย้งกับความเชื่อและตำนานของพระธาตุพนมที่กล่าวว่าพระธาตุแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.ที่ 8 โดยเจ้าเมืองที่นับถือศาสนาพุทธ ...... ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปด้วยหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

 

 

    

ภาพดวงอาทิตย์ยามเช้าในวันศารทวิษุวัต 22 กันยายน 2546 (Autumnal equinox 2003) แสดงว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย

 

ตรวจสอบด้วยเข็มทิศยืนยันว่าตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการ Equinox (มุมกวาด Az 90 องศา) อยู่ที่ขอบประตูด้านขวามือ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) แสดงว่าองค์พระธาตุต้องหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย 

 

ผังแปลนพระธาตุพนมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มุมกวาดประมาณ 87 องศา (azimuth 87) ชวนให้น่าสงสัยว่าต้องมีส่วนสัมพันธ์กับศาสนาสถานพราหมณ์หรือฮินดู

 

ตรวจสอบด้วยภาพถ่าย Google Earth พบว่าแปลนขององค์พระธาตุพนมหันหน้าไปที่มุมกวาด 87.5 องศา (azimuth 87.5)

 

เข็มทิศแสดงองค์พระธาตุพนมหันหน้าไปที่ตำแหน่งประมาณ 87 องศา ใกล้เคียงกับผลที่แสดงใน Google Earth

 

     มีปราสาทอยู่ข้างในองค์พระธาตุพนม?         

                  ประสบการณ์ที่พระธาตุเชิงชุมจังหวัดสกลนครยืนยันว่ามีปราสาทขอมอยู่ข้างใน แต่ถูกก่อสร้างเพิ่มเติมในยุคอาณาจักรล้านช้างให้มีรูปลักษณ์เป็น "พระธาตุ" จึงน่าสงสัยว่าพระธาตุพนมก็อาจเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

          หลังจากที่เห็นภาพดวงอาทิตย์ในตำแหน่งดังกล่าวจึงรีบเข้าไปกราบนมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมคือท่าน ดร.พระมหาสม ซึ่งทราบดีว่าท่านจบการศึกษาจากประเทศอินเดียและผมเองก็จบการศึกษาจากประเทศอินเดียเช่นเดียวกัน จึงคิดว่าถ้าสนทนากับท่านในฐานะศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยอินเดียคงจะเข้าใจกันได้ไม่ยาก ถามท่านเจ้าอาวาสแบบไม่อ้อมค้อมว่า ........ พระธาตุพนมองค์ดั้งเดิมเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูใช่หรือไม่ครับ? ...... ท่านไม่ตอบตรงๆแต่หยิบหนังสือเล่มหนึ่งให้ดูในนั้นมีภาพ "ท่อโสมสูตร" ที่กรมศิลปากรพบเมื่อคราวที่เข้าไปขุดฐานรากขององค์พระธาตุเพื่อเตรียมก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ทดแทนองค์เดิมที่ล้มเมื่อเดือนสิงหาคม 2518 ท่านให้ดูภาพโดยไม่พูดสักคำเพราะเชื่อว่านักเรียนเก่าจากอินเดียอย่างผมย่อมเข้าใจดีว่า "ท่อโสมสูตร" มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาอะไร 

 

 

ได้สนทนาและขอถ่ายภาพท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ท่าน ดร.พระมหาสม หลังจากถ่ายภาพดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2546

 

ตามหลักฐานทางดาราศาสตร์เชื่อว่าข้างในองค์พระธาตุพนมมีปราสาทโบราณซ่อนอยู่ข้างใน

 

ศาสนสถานดั้งเดิมที่ซ่อนอยู่ข้างในองค์พระธาตุเชิงชุมอาจจะมีรูปร่างแบบนี้

 

พระธาตุพนมล้มเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2518 กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัทอีตัลไทยให้เข้าไปเคลียร์พื้นที่เพื่อก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่

 

ขณะเคลียร์ฐานรากของพระธาตุพนมได้พบว่ามีสิ่งก่อสร้างเดิมอยู่ข้างในและด้านผนังทิศเหนือมีแท่งหินทราย

 

กรมศิลปากรบันทึกว่าแท่งหินทรายที่พบเป็นท่อน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์และพุทธในคติมหายาน

 

ท่อ "โสมสูตร" ทำด้วยหินทราย ถูกพบโดยคนงานของบริษัทอีตัลไทยซึ่งเป็นผู้รับเหมาของกรมศิลปากร (ภาพถ่ายจากหนังสือของท่านเจ้าอาวาท)

 

หนังสือที่ท่านเจ้าอาวาทให้ดูและถ่ายภาพ เป็นจดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ.2522 แต่หลังจากที่ท่านมรณะภาพหนังสือดังกล่าวหายไป ได้มาอีกครั้งจาก ดร.สพสันติ์ เพชรคำ ม.ราชภัฏสกลนคร  

 

ข้อความที่กรมศิลปากรระบุว่า "พบแท่งหินทรายแท่งยาวทำเป็นสองส่วนเซาะร่องตรงกลางประกบกันเกิดเป็นรูตรงกลางเป็นท่อน้ำ ....... ท่อน้ำแบบนี้พบในปรางค์ขอมทั่วไป ทั้งลัทธิพราหมณ์ และศาสนาพุทธในคติมหายาน ......." พูดง่ายๆว่านี่คือท่อ "โสมสูตร" 

 

พระธาตุพนมองค์เดิม (ซ้ายมือ) และพระธาตุพนมองค์ปัจจุบัน (ขวามือ)

 

 

      ถ้าพระธาตุพนมองค์ดั้งเดิมเป็นปราสาทในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ..... ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับ "สุริยะเทพ"

        เดือนกันยายนปีต่อมา 2547 คำนวณวันที่ดวงอาทิตย์น่าจะขึ้นตรงกลางประตูของพระธาตุและพบว่าตรงกับวันที่ 14 กันยายน จึงได้ภาพถ่ายเป็นหลักฐาน (เป็นผลงานของ "น้องแป้ง" เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม ซึ่งบ้านอยู่ที่ อ.ธาตุพนม) ต่อมาได้รู้จักกับอาจารย์ต้อม สุทธิธรรม พากเพียร เจ้าของเพจ "ดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว" และขอความอนุเคราะห์ให้ไปถ่ายภาพดวงอาทิตย์ที่พระธาตุพนมเช้าตรู่วันที่ 14 กันยายน 2563 เพื่อยืนยันปรากฏการณ์หลังจากผ่านพ้นไป 16 ปี ภาพที่อาจารย์ต้อมส่งมาให้ยืนยันเชิงประจักษ์ในสิ่งที่ค้นคว้า  

 

 

ภาพถ่าย 14 กันยายน 2547  

 

14 กันยายน 2547

 

 

สามภาพข้างบนนี้ยืนยันว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มุมกวาด 87.5 องศา (Azimuth 87.5) ภาพสวยงามเหล่านี้เป็นฝีมือของ "น้องแป้ง" ชื่อ Facebook Panadda Promkhoonthong เป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม 

 

เปรียบเทียบภาพถ่าย 14 กันยายน 2563 (ซ้ายมือ) 14 กันยายน 2547 (ขวามือ) 

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายในเฟรมที่เท่ากัน 14 กันยายน 2563 (ซ้ายมือ) 14 กันยายน 2547 (ขวามือ) 

 

 

อาจารย์ต้อม สุทธิธรรม พากเพียร เจ้าของเพจดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว (ภาพเล็กขวามือ อาจารย์ต้อมกับผมกำลังออกรายการ youtube ด้วยกันที่บ้านท่าแร่ อ.เมืองสกลนคร 10 กันยายน 2563) 

 

 

 ภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth  ก็ยืนยันว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุมกวาด 87.5 องศ

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ยืนยันตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่พระธาตุพนมเช้าวันที่ 14 กันยายน 2547 อยู่ที่มุมกวาด 87.5 องศา

       

         คำถาม........ทำไมต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ตำแหน่งมุมกวาด 87.5 องศา?

           พยายามค้นหาเอกสารหลายเล่มเพื่อหาคำตอบแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่พบ จึงจำเป็นต้องใช้ดุลพินิจของตนเองประกอบกับหลักฐานอ้างอิงทางดาราศาสตร์บวกกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และฮินดู ผมให้ความเห็นว่าพระธาตุพนมก็เหมือนกับโบราณสถานหลายแห่งของศาสนาพราหมณ์และฮินดูที่นิยมหันหน้าไปที่ "ราศีเมษ" (Aries) เพราะราศีนี้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์และเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของปีมหาศักราช เมื่อครั้งสองพันกว่าปีที่แล้วราศีเมษตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ซึ่ง "กลางวันกับกลางคืนเท่ากัน" และดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ตำแหน่ง "ทิศตะวันออกแท้" ที่มุมกวาด 90 องศา แต่เนื่องจากแกนโลกแกว่งทำให้วันวสันตวิษุวัตถอยห่างออกจากราศีเมษ 72 ปี ต่อ 1 องศา เมื่อกินเวลาถึง 2,160 ปี ก็ปาเข้าไป 30 องศา ทำให้ดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัตถอยมาอยู่ที่ "ราศีมีน" (Pisces) ภาษาวิชาการเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Precession of vernal equinox ถ้าจะให้ราศีเมษกลับมาตรงกับวันวสันตวิษุวัตอีกครั้งก็ต้องรอนานถึง 26,000 ปี 

           อย่างไรก็ตามตำราวิชา "โหราศาสตร์" ยังคงยึดถือว่า "ราศีเมษ" กับ "วสันตวิษุวัติ" ยังคงอยู่ด้วยกัน โดยไม่สนใจหลักฐานทางดาราศาสตร์เรียกง่ายๆว่า "ทางใครทางมัน"

          ใช้ตัวเลขดวงอาทิตย์ที่ตำแหน่งมุมกวาด 87.5 องศา เข้าไปคำนวณในโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night พบว่าตรงกับช่วง 700 AD และเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนออกจาก "ราศีมีน" (Pisces) เข้าสู่ "ราศีเมษ" (Aries) ซึ่งอินเดียโบราณถือว่าเป็น "วันศักดิ์สิทธิ์" ในชื่อว่า "มหาสงกรานต์" ความเชื่อนี้ตกทอดมายังอาณาจักรต่างๆในภูมิภาคอินโดจีน กระทั่งปัจจุบันคนไทย คนลาว คนกัมพูชา เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "วันสงกรานต์" หรือ "วันปีใหม่" บรรพชนในยุคนั้นจึงสร้างศาสนสถานให้หันหน้าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "มหาสงกรานต์"

 

 

 

 

           ปรากฏการณ์ Precession of vernal equinox สร้างความกระอักกระอ่วนใจแก่ท่านโหราจารย์ในยุคนั้นเป็นอย่างมาก เพราะบีบให้ท่านต้องเลือกเอาระหว่าง "ราศีเมษ" หรือ "วสันตวิษุวัต" ทำให้ศาสนสถานจำนวนหนึ่งยังคงยึดมั่นอยู่ที่ "วสันตวิษุวัต" และอีกจำนวนหนึ่งหันไปจับที่ "ราศีเมษ" ดังตัวอย่างปราสาทพนมรุ้ง เราๆท่านๆจึงเห็นโบราณสถานทั้งสองแบบในอุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย และสถานที่ต่างๆของประเทศไทยและกัมพูชา จังหวัดสกลนครก็มีโบราณสถานทั้งสองแบบ ได้แก่ ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวง เป็น "วสันตวิษุวัต" ส่วนพระธาตุเชิงชุม กับพระธาตุดุม เป็นราศีเมษ

 

ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์คำนวณย้อนหลังไปในช่วง 700 - 800 AD พบว่า "ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ" ที่ตำแหน่งมุมกวาด 87.5 องศา ข้อมูลตรงนี้น่าสนใจครับ ....... เพราะ 700 - 800 AD เป็นช่วงของอาณาจักรจามซึ่งนับถือศาสนาฮินดู

 

       พระธาตุพนมกับอิทธิพลของอาณาจักรจาม หรือจามปา

           สงสัยประเด็นนี้มานานแล้วตั้งแต่เห็นโบราณวัตถุบางชิ้น เช่น รูปสลักสิงห์หมอบ ซึ่งคล้ายกับตัวที่อยู่พระธาตุอิงฮัง เมืองสะหวันนะเขต สปป.ลาว และก็ทราบดีว่าอาณาจักรจามในยุคนั้นนับถือศาสนาฮินดู ต่อมาเมื่อได้อ่านเอกสาร "เมืองหนองหารหลวง และ ภูพานมหาวนาสี" ประกอบกับหนังสือ "ประวัติอำเภอธาตุพนม" จัดพิมพ์โดย อบจ.นครพนม พบว่าผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีก็ยืนยันในข้อสงสัยนี้ บวกกับข้อมูลดาราศาสตร์ที่ระบุคริตศักราช 700 - 800 AD ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของอาณาจักรจาม

 

เว้ปไซด์การท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ระบุว่าเมืองสะหวันนะเขตเคยอยู่ใต้อิทธิพลอาณาจักรจามระหว่างคริตศวรรษที่ 7 - 10 ซึ่งสอดคล้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ที่บ่งชี้ปรากฏการณ์ "ราศีเมษ" ระหว่าง 700 - 800 AD

 

อาณาจักรจาม หรือจามปา กำเนิดขึ้นในคริตศวรรษที่ 2 โดยรับอารยธรรมจากอินเดีย อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่เป็นพันปีและที่สุดก็ล่มสลายอย่างสิ้นเชิงในคริตศวรรษที่ 17 ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเวียดนาม ปัจจุบันชาวจามดั้งเดิมกลายเป็นชนเผ่าส่วนน้อยและหันมานับถือศาสนาอิสลาม

 

โบราณสถานของอาณาจักรจามกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศเวียดนาม

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งก่อสร้างของอาณาจักรจามก่อสร้างด้วย "อิฐเผา" และใช้หินทรายเป็นส่วนประกอบเช่นขอบประตูและทับหลัง

 

ผมไปชมพิพิธภัณฑ์จามที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนามเมื่อปี พ.ศ.2548 

 

ศิวะลึงค์และฐานโยนีเป็นรูปเคารพที่สำคัญของชาวจาม

 

 

รูปสลักสิงห์หมอบที่พระธาตุพนมกับที่พระธาตุอิงฮัง ที่เมืองสะหวันนะเขต สปป.ลาว มีความคล้ายคลึงกันมากจนทำให้คิดว่าต้องมีความเกี่ยวข้องกัน

 

     

รูปแปลนของพระธาตุอิงฮัง ที่เมืองสะหวันนะเขต สปป.ลาว ก็หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุมกวาด 84 - 85 องศา (Azimuth 84 - 85) 

 

โบราณวัตถุชิ้นนี้ก็น่าสงสัยว่าเป็นศิลปะจาม เปรียบเทียบกับศิลปะที่พระธาตุอิงฮัง แขวงสุวรรณเขต สปป.ลาว

 

 

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในผู้เขียนเป็นนักโบราณคดีชื่อดังคือท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม มีข้อมูลที่สนับสนุนว่าพบศิลปะจามในองค์พระธาตุพนม  

 

ภาพโบราณวัตถุศิลปะจามที่พบในองค์พระธาตุพนม

 

 

โบราณวัตถุศิลปะจามพบที่เซบั้งไฟ ฝั่งตรงข้ามกับพระธาตุพนม

 

 

 

หลักฐานที่แสดงว่าอิทธิพลวัฒนธรรมจามได้แผ่เข้ามาถึงพระธาตุพนม

 

แม่น้ำเซบั้งไฟเป็นเส้นทางคมนาคมจากอาณาจักรจาม (ในประเทศเวียดนาม) มายังพระธาตุพนมริมแม่น้ำโขง

 

พระธาตุพนมมองจากปากแม่น้ำเซบั้งไฟ (สปป.ลาว) เชื่อมกับแม่น้ำโขง

 

ภาพถ่ายท่อโสมสูตรและตัวโบราณสถานดั้งเดิมเห็นชัดว่า "สร้างด้วยอิฐเผา" เหมือนกับการก่อสร้างปราสาทต่างๆในยุคอาณาจักรจาม 

 

 

ขอขอบคุณภาพจาก alamy stock photo แสดงให้เห็นชัดเจนว่าปราสาทของอาณาจักรจามสร้างด้วย "อิฐเผา"

 

       วิธีพิสูจน์.......พระธาตุพนมหันหน้าไปที่มุมกวาด 87.5 องศา

 

          1.เริ่มต้นจากภาพถ่ายดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) 22 กันยายน 2546 พบว่าดวงอาทิตย์อยู่ที่ขอบประตูด้านขวามือ (เฉียงไปทางทิศใต้) โดยยิงมุมกล้องจาก center-line ขององค์พระธาตุ ทำให้รู้ทันทีว่าพระธาตุหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย (แต่ยังไม่ทราบตัวเลขมุมกวาด)

 

ดวงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) 22 กันยายน 2546 ขึ้นที่ขอบประตูด้านขวามือขององค์พระธาตุ

 

เปรียบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ระหว่างปราสาทภูเพ็ก กับพระธาตุพนม เป็นเครื่องยืนยันว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

 

          2.ใช้โปรแกรม Google Earth ตรวจสอบพบว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปที่มุมกวาด 87.5 องศา (astronomical alignment at Azimuth 87.5) 

 

Google Earth แสดงพระธาตุพนมหันหน้าไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 87.5 องศา (Azimuth 87.5)

 

เข็มทิศก็แสดงค่า Alignment Az 87 ใกล้เคียงกับ Google Earth 

 

          3.ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ (Starry Night Pro) สร้างภาพจำลองตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่มุมกวาด 87.5 องศา พบว่าตรงกับวันที่ 14 กันยายน

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์แสดงผลตำแหน่งดวงอาทิตย์ Azimuth 87.5 ณ มุมมองจากพระธาตุพนม ตรงกับวันที่ 14 กันยายน

 

          4.ถ่ายภาพดวงอาทิตย์ยามเช้าวันที่ 14 กันยายน 2547 พบว่าตรงกับ center-line ขององค์พระธาตุพนมพอดี 

 

14 กันยายน 2547 ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรงกับ center-line ของพระธาตุพนม เป็นฝีมือการถ่ายภาพของ "น้องแป้ง" เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม ชื่อ Facebook: Panadda Promkhoonthong 

 

           ทั้ง 4 ข้อ เป็นวิธีการทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อยืนยันว่าพระธาตุพนมหันหน้าไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 87.5 องศา หรือศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า Astronomical alignment at azimuth 87.5 หากท่านต้องการพิสูจน์ด้วยตนเองก็สามารถทำได้โดยไปยืนอยู่ที่ center-line หน้าองค์พระธาตุพนมเช้าตรู่วันที่ 14 September and 29 March ของทุกปี และใช้ application compass ใน smart Phone จับภาพดวงอาทิตย์ ณ กลางประตู (ตัวอย่างภาพข้างบน) จะเห็นตัวเลขปรากฏหน้าจอ 87.5 องศา

 

           ล่าสุด Dr.Sopsan Petchkam อาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำนักวิจัยไปดูงานโบราณสถานของอาณาจักรจามที่ประเทศเวียดนาม และได้โพ้สลง facebook เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 มีความเห็นว่า "อาณาจักรจามน่าจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบเรือนยอดของพระธาตุพนม" จึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สนับสนุนบทความนี้

 

 

        สรุป

           มุมมองของผมซึ่งคิดแบบผสมผสานระหว่างดาราศาสตร์กับความเชื่อ ศาสนา และหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ได้ข้อสรุปว่าโบราณสถานดั้งเดิมที่อยู่ภายในองค์พระธาตุพนม มีเรื่องราว ดังนี้

          1.สร้างในสมัยอิทธิพลของอาณาจักรจาม ระหว่าง ค.ศ.700 - 800 ซึ่งแผ่อำนาจมาจากเมืองหลวงในประเทศเวียดนามปัจจุบันโดยอาศัยแม่น้ำเซบั้งไฟเป็นเส้นทางเดินเรือมาเชื่อมกับแม่น้ำโขง ตามหลักฐานโบราณวัตถุศิลปะจามในองค์พระธาตุพนมและที่เซบั้งไฟ สปป.ลาว (ฝั่งตรงข้ามกับพระธาตุพนม) ประกอบกับภาพถ่ายของกรมศิลปากรที่แสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมทำด้วย "อิฐเผา" เหมือนกับปราสาทต่างๆในอาณาจักรจาม (ปัจจุบันเป็นเวียดนาม)  

           2.หันหน้าเข้าหา "ราศีเมษ" ตามความเชื่อในเรื่องวันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์และฮินดู กำหนดให้ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจาก "ราศีมีน" เข้าสู่ "ราศีเมษ" เป็นจุดเริ่มต้นของปีใหม่

          อย่างไรก็ตามการศึกษาและค้นคว้าครั้งนี้อาจจะไม่เหมือนกับข้อมูลที่หลายท่านได้รับทราบในเชิงตำนาน นิทาน หรือประวัติศาสตร์ ผมถือว่าเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่ทางวิชาการเรียกว่า "เปิดมิติใหม่" อนึ่ง ตามตำนานเล่าว่าพระธาตุพนมสร้างเมื่อ พ.ศ.8 มีความเป็นได้ว่าอาจจะมีที่มาจากตัวเลข ค.ศ.800 หรือนักโบราณคดีชาวต่างประเทศใช้คำว่า AD 800 

       แต่ที่แน่นอนและยืนยันได้ชัดเจนก็คือโบราณสถานแห่งนี้เป็นสถานที่ "ศักดิ์สิทธิ์" มาแต่ครั้งเริ่มแรกราว ค.ศ.700 - 800 แม้ว่าจะเปลี่ยนผ่านจากพราหมณ์และฮินดูจนถึงศาสนาพุทธในปัจจุบัน

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ