ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




พระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร

 

การพบพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร........สื่อถึงอะไร ?

          ราว 30 กว่าปีที่แล้วมีโครงการก่อสร้างบันไดคอนกรีตขึ้นปราสาทภูเพ็กบนยอดภูเขาสูง 520 เมตร จากระดับน้ำทะเลโดยใช้งบพัฒนาจังหวัดในโควต้าของ สส. ที่เรียกว่า "เงินผัน" เพื่อให้ชาวบ้านมีงานทำในฤดูแล้ง ระหว่างการก่อสร้างชาวบ้านได้พบ "พระพุทธรูปแกะสลักหินทรายสูงประมาณ 40 ซม." ซ่อนอยู่ใต้โขดหินตรงหน้าผาด้านทิศตะวันออกของปราสาทภูเพ็ก คำถามจึงอยู่ที่ ......... "ทำไมต้องซ่อน"

           อนึ่ง ทุกท่านที่ไปชมปราสาทภูเพ็กจะเห็นพระพุทธรูปนาคปรกองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางห้องในตัวปราสาท ท่านอาจจะคิดว่านี้คือพระพุทธรูปเก่าแก่ตั้งแต่เมื่อครั้งขอมเรืองอำนาจ แต่ในความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น พระพุทธรูปองค์นี้เพิ่งจะสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยพระที่วัดภูเพ็กจ้างช่างแกะสลักมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้วัสดุจากแหล่งหินทรายที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาท ขณะที่กำลังแกะสลักผมก็ยืนดูอยู่ด้วย และที่มุมห้องก็มีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งไม่ใช่ของโบราณร่วมสมัยเช่นกันแต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่นั่นตั้งแต่เมื่อไหร่ 

 

พระพุทธรูปนาคปรกเรียนแบบศิลปะขอมที่ตั้งอยู่กลางห้องปราสาทภูเพ็กเพิ่งจะสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2551 โดยจ้างช่างแกะสลักมาจากกาฬสินธ์ุ

 

พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างองค์นี้ก็ไม่ใช่ของโบราณร่วมสมัยกับปราสาทภูเพ็ก 

 

  

ผมถ่ายภาพนี้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 เห็นช่างจากจังหวัดกาฬสินธ์ุกำลังแกะสลักพระพุทธรูปอยู่ที่บริเวณทิศตะวันตกของตัวปราสาท

 

 

อีกมุมหนึ่งของการแกะสลักพระพุทธรูปองค์ใหม่

 

การค้นพบพระพุทธรูปศิลปะขอมในโพรงหิน

            ขณะที่โครงการก่อสร้างบันไดคอนกรีตขึ้นไปสู่ปราสาทภูเพ็กกำลังดำเนินการอย่างขะมักเขม้น ภายใต้งบประมาณพัฒนาจังหวัดในโควต้าของ สส. (โครงการเงินผัน) ชาวบ้านที่มาร่วมในการก่อสร้างได้พบพระพุทธรูปหินทรายขนาดสูงประมาณ 40 ซม. ซุกซ่อนอยู่ในโพรงใต้โขดหินด้านขวามือของบันไดทางทิศตะวันออกของปราสาทภูเพ็ก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ตู้กระจกของวัดภูเพ็ก การค้นพบครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามว่า "เป็นพระพุทธรูป.....หรือเทพเจ้า และทำไมต้องเอาไปซุกซ่อนใต้โขดหิน"  

 

บันไดคอนกรีตขึ้นปราสาทภูเพ็ก และโพรงหินที่พบพระพุทธรูป

 

โพรงหินที่พบพระพุทธรูปบริเวณหน้าผาด้านทิศตะวันออกของปราสาทภูเพ็ก

 

พระพุทธรูปศิลปะขอมสลักจากหินทรายขนาดสูงประมาณ 40 ซม พบที่โพรงหินบริเวณหน้าผาด้านทิศตะวันออกของปราสาทภูเพ็ก

 

การวิเคราะห์ว่าเป็นพระพุทธรูปหรือไม่...... และสร้างในสมัยกษัตริย์ขอมพระองค์ไหน

          ใช้วิธีการพิจารณาทีละประเด็น ดังนี้

          1.ในเบื้องต้นดูยังไงก็ต้องเป็นรูปสลักศิลปะขอมเพราะรูปลักษณ์หน้าตาบ่งชี้อย่างชัดเจน ภาษาปัจจุบันใช้คำว่า "ไม่ต้องตรวจ ดีเอ็นเอ ก็รู้ว่าเป็นคนชาติไหน"

 

หน้าตาแบบนี้ดูยังไงก็ขอมชัดๆ ถ้าไปหาคุณหมอพรทิพย์ท่านก็คงบอกว่า "ไม่ต้องตรวจดีเอ็นเอ"

 

          2.ยังแกะสลักไม่เสร็จเพราะรายละเอียดต่างๆยังไม่ครบ เช่น มือและเศียร แสดงว่าผู้สร้างต้องรีบเอาไปซ่อนด้วยสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เรื่องนี้สอดคล้องกับการสร้างตัวปราสาทภูเพ็กที่ถูกทิ้งค้างคาไว้เพียงฐานรากและส่วนหนึ่งของปราสาท ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ในสมัยขอมเรืองอำนาจจะพบว่ากษัตริย์ที่นับถือศาสนาพุทธและมีอำนาจมากในการครอบครองดินแดนห่างไกลจนถึงจังหวัดสกลนคร ก็มีเพียง 2 พระองค์ คือ พระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1535 - 1593) และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1723 - 1763) ถ้ารูปสลักนี้เป็น "พระพุทธรูป" ก็น่าจะสร้างในสมัยของกษัตริย์เพียง 2 พระองค์เท่านั้น ก็ต้องวิเคราะห์เป็น 2 กรณี

          2.1 ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 1535 - 1593 โครงการใหญ่ของท่านก็คือปราสาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ และบารายตะวันตกขนาด 2 กม. x 8 กม.ซึ่งสร้างไม่เสร็จแต่ก็ได้รับการสานต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของพระเจ้าอุทัยอาทิยต์วรมันที่ 2 (พ.ศ.1593 - 1609) แม้ว่าพระองค์นับถือศาสนาฮินดูนิกายพระศิวะแต่ก็ให้ความเคารพต่อศาสนาพุทธดังหลักฐานรูปสลักที่ปราสาทปาปวน และไม่ปรากฏเรื่องการขัดแย้งกับศาสนาพุทธแต่อย่างใด ดังนั้นถ้ารูปสลักพระพุทธรูปนี้สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ก็ไม่น่าจะต้องมีการซุกซ่อน และปราสาทภูเพ็กก็น่าจะได้รับการสานต่อจนแล้วเสร็จ ดังนั้น ในสายตาของพนักงานสอบสวนประเด็นนี้น่าจะตกไป

          อย่างไรก็ตามจากบทความที่เคยเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2555 เกี่ยวกับพระพุทธรูปที่ภูถ้ำพระ (อยู่ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้) มีจารึกภาษาขอมระบุว่า ศักราช 988 แรม 10 ค่ำ เดือน 7 (หมายถึงปีของปฏิทินมหาศักราช) ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1066 เป็นสมัยของพระเจ้าอาชาวรมันที่ 3 แสดงว่าศาสนาพุทธได้เกิดขึ้นในดินแดนบริเวณนี้มานานแล้วและก็มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอาชาวรมันที่ 3  ทำให้ท่านพระครูโสมังคลาจารย์หนีไปอยู่ในป่าที่ภูถ้ำพระ ปัจจุบันเป็นบ้านหนองสะไน อำเภอกุดบาก ห่างจากปราสาทภูเพ็กไปทางทิศใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร   

           2.2 เมื่อประเด็นแรกตกไปก็ต้องเหลือตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียวคือสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระหว่าง พ.ศ.1723 - 1763 ในยุคนี้อำนาจของพระองค์ยิ่งใหญ่ครอบครองดินแดนมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือจังหวัดสกลนคร พระองค์เป็นกษัตริย์ที่นับถือพุทธนิการมหายานมีโครงการก่อสร้างปราสาท โรงพยาบาล ที่พักคนเดินทาง สะพาน และอื่นๆอีกมากมาย ประชาชนจำนวนหลายแสนต้องตรากตรำกับโครงการก่อสร้างที่ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่เพราะเมื่อเสร็จอันหนึ่งก็มีโครงการต่อเนื่องเข้ามาอีก ถ้าเป็นภาษาหมัดมวยก็เรียกว่า "เดินหน้าเข้าแลกทุกยก" จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ โครงการต่างๆก็พลอยยุติลง หรือไม่ก็หยุดชั่วคราวเพื่อรอฟังนโยบายจากกษัตริย์องค์ใหม่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นราชบุตรขึ้นครองราชต่อ แต่พระองค์ต้องประสบกับปัญหาแยกตัวเป็นอิสระของอาณาจักรจามปา และเมืองสุโขทัย ประกอบกับข่าวลือที่ว่าพระองค์ติดโรคเรื้อน ดังนั้นโครงการก่อสร้างที่ยังค้างคาก็เป็นอันต้องพับไป พระองค์ครองราชอยู่เพียง 20 ปี (พ.ศ.1220 - 1243) ครั้นแล้วแผ่นดินก็ตกมาถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ซึ่งนักโบราณคดีมีข้อมูลว่าพระองค์นับถือศาสนาฮินดูและแอนตี้ศาสนาพุทธอย่างรุนแรง มีการสั่งให้ทำลายพระพุทธรูปในปราสาทต่างๆของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จำนวนมาก เมื่อข่าวนี้กระจายมาถึงปราสาทภูเพ็กผู้คนที่เคยภักดีต่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ต้องเกิดความหวาดกลัวว่าภัยจะมาถึงตัว งานแกะสลักพระพุทธรูปที่ยังไม่เสร็จจึงต้องถูกนำไปซุกซ่อนในที่ปลอดภัย

ประเด็นจึงมีน้ำหนักพอที่จะชี้ได้ว่า "สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และอาจจะต่อเนื่องไปถึงสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นกษัตริย์นับถือศาสนาพุทธ"  

          3.คราวนี้ก็มาถึงประเด็น "รูปสลักนี้เป็นพระพุทธรูป หรือเทพเจ้า" จึงได้ทำภาพเปรียบเทียบระหว่างพระพุทธรูปในสมัยบายน กับพระวิศนุ พระศิวะ และพระโพธิสัตว์ แต่ก่อนอื่นขอให้พระเดชพระคุณท่านลองเปรียบเทียบหน้าตาระหว่างชาวขอมระดับ "รากหญ้า" กับชาวขอมระดับ "อำมาตย์" ที่กำแพงปราสาทบายน จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีความแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ริมฝีปาก" จึงเชื่อว่าช่างผู้แกะสลักรูปที่ปราสาทภูเพ็กน่าจะเอาตัวอย่างมาจาก "แรงงาน" ที่ตัดหินอยู่แถวๆนั้น หรือไม่ก็ตัวนายช่างเองก็มาจากระดับรากหญ้าเช่นกัน เรื่องแบบนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าใครเป็นคนปั้นพระพุทธรูปผลงานออกมาก็จะเหมือนคนนั้นหรือคนกลุ่มนั้นๆ อีกประการหนึ่งพื้นที่ก่อสร้างปราสาทภูเพ็กอยู่ห่างไกลความเจริญเป็นป่าเป็นเขาภูมิประเทศจัดอยู่ในลักษณะ "หฤโหด" เจ้านายผู้ควบคุมงานที่นี่ก็คงเป็นแค่ระดับอย่างดีไม่เกินข้าราชการ ซี 5 ไต่เต้ามาจากระดับล่างๆ ส่วนเจ้านายระดับสูงๆมาจากตระกูลลูกท่านหลานเธอหน้าตาหล่อเหลาสะโอดสะองพวกเขานั่งกินสาโทสบายๆอยู่ในเมืองหนองหารหลวงไม่ดีกว่ารึ      

 

ดูจากภาพนี้แล้วทำให้เชื่อว่ารูปสลักที่ปราสาทภูเพ็กเอาแบบอย่างมาจากชาวขอมระดับรากหญ้า

 

ภาพนี้ก็มาจากกำแพงปราสาทบายนที่แสดงถึงหน้าตาผู้เป็นเจ้านายกับหน้าตาของคนระดับรากหญ้า

 

เป็นภาพที่ถ่ายเองจากกำแพงปราสาทบายน โดยโปรดสังเกตที่ "ริมฝีปาก" ระหว่างคนระดับเจ้านายกับระดับรากหญ้า

 

ภาพซ้ายเป็นพระพุทธรูปพบที่บ้านท่าวัดริมหนองหารเปรียบเทียบกับรูปสลักที่ปราสาทภูเพ็ก มีหน้าตาแตกต่างกันระหว่าง "เจ้านาย" กับ "รากหญ้า" เพราะบริเวณริมหนองหารเป็นชุมชนที่สะดวกสบายอาหารการกินอุดมสมบูรณ์เป็นบ้านเป็นเมืองที่เจริญแล้ว

          ข้อวินิจฉัยในประเด็นนี้ก็ทำให้มองออกว่ารูปสลักที่ปราสาทภูเพ็กสะท้อนความเป็นบุคคลระดับ "รากหญ้า" ส่วนพระพุทธรูปที่บ้านท่าวัดริมหนองหารบ่งชี้ว่าเป็นบุคคลระดับ "อำมาตย์" 

          ประเด็นต่อไปก็มาถึงการพิจารณาว่ารูปสลักที่ปราสาทภูเพ็กเป็น "พระพุทธรูป หรือเทพเจ้า" โดยนำภาพพระพุทธรูปศิลปะบายน พระวิศนุ พระศิวะ และพระโพธิสัตว์ มาเปรียบเทียบ

 

เปรียบเทียบระหว่างพระพุทธรูปศิลปะบายน กับรูปสลักที่ปราสาทภูเพ็ก มีโครงสร้างของเศียรที่คล้ายกัน ต่างกันที่หน้าตาดังประเด็นที่วิเคราะห์ไว้แต่ต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

           หลังจากที่ท่านได้ชมการเปรียบเทียบระหว่างรูปสลักที่ปราสาทภูเพ็ก กับภาพพระพุทธรูปศิลปะบายน พระวิศนุ พระศิวะ และพระโพธิสัตว์ แล้วก็คงจะตัดสินใจได้ว่ารูปสลักที่ปราสาทภูเพ็กเป็น "พระพุทธรูปศิลปะขอมบายนที่พระพักต์ออกไปทางบุคคลระดับรากหญ้า"

             4.ร่องรอยของของศานาพุทธที่ปราสาทภูเพ็กยังมีอีกครับ เป็นรอยแกะสลักหินคล้ายกับจะทำ "รอยพุทธบาท" แต่ก็ทิ้งงานไปเสียก่อน หลักฐานชิ้นนี้อยู่ที่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวปราสาท ถ้าจะว่าไปแล้วผลงานทุกชิ้นบนยอดภูเขาที่ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่ไม่มีโครงการไหนเสร็จสมบูรณ์แม้แต่ชิ้นเดียว ผมใช้คำพูดเปรียบเปรยเล่นๆว่า "ผู้รับเหมาทิ้งงาน" และพฤติกรรมแบบเดียวกันนี้ก็ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบันให้เราๆท่านๆได้เห็นเป็นประจำ เช่น โครงการรถไฟลอยฟ้าของบริษัทโฮปเวลที่กลายเป็นแท่งคอนกรีตเกะกะรกหูรกตาอยู่ที่ถนนทางไปสนามบินดอนเมือง โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียที่จังหวัดสมุทรปราการ โครงการสร้างโรงพัก และอีกมากมาย 

 

 

ร่องรอยการแกะสลักคล้ายกับรอยพุทธบาทแต่ทำได้เพียงกรอบ

 

 

เปรียบเทียบกับรอยพุทธบาทที่ค้นพบในป่าที่ อ.บัวเชต จังหวัดสุรินทร์

 

5.เปรียบเทียบสถาปัตย์ของฐานปราสาท

          เมื่อเช้ามืดของวันที่ 21 มีนาคม 2558 ระหว่างที่นำคณะมัคคุเทศก์อาชีพ 80 ท่าน ไปชมปราสาทภูเพ็ก ผมได้คุยกับนักวิชาการโบราณคดีที่ใช้ชื่อ Facebook ว่า Sonya SP ท่านร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวศิลปกรรมที่ปรากฏตามปราสาทขอมและแหล่งโบราณคดีต่างๆ ท่านผู้นี้ให้ข้อมูลกับผมว่า "ปราสาทภูเพ็กน่าจะสร้างในสมัยขอมปาปวน" เพราะดูจากลักษณะของฐานปราสาท ผมเลยเอาภาพถ่ายฐานปราสาทมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทบายน และปราสาทปาปวน แต่เนื่องจากปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จจึงไม่มีการตบแต่ลวดลายแม้แต่ชิ้นเดียวจึงทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบ

 

 

              สรุป

           จากเรื่องราวที่เล่าให้ท่านฟังประกอบกับรูปภาพต่างๆที่ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐาน ทำให้เชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้ และปราสาทภูเพ็กสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างไรก็ตามหากท่านผู้รู้ท่านใดมีหลักฐานอื่นๆที่ดีกว่านี้ก็โปรดแจ้งให้ผมทราบด้วยที่ sansonthi@gmail.com หรือที่ Facebook Sansonthi Boonyothayan เพราะการค้นคว้าย้อนหลังไปในอดีตไม่ใช่ของง่ายที่จะฟันธงชนิดตายตัว ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเปลี่ยนเรื่องราวได้เสมอถ้ามีข้อมูลใหม่ที่ดีกว่า    

 

 

  

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ