ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน

 

ประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน ..... รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

           สงสัยมานานแล้วว่าประตูเมืองสกลนครในยุคขอมเรืองอำนาจอยู่ตรงส่วนไหนของคูเมือง อ่านหนังสือของกรมศิลปากรและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ก็ไม่พบข้อมูล ค้นหาในบันทึกของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส แอนเตียน อะมอนิเยร์ เคยมาที่สกลนครในปี พ.ศ.2447 ก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ค้นหารูปและบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งเสด็จมาที่สกลนครเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2449 ก็ไม่พบภาพถ่ายและข้อความ พูดคุยกับนักโบราณคดีหลายท่านก็ยังไม่ได้คำตอบ คุยกับคุณครูเก่าของเมืองสกลท่านหนึ่งพอได้ความว่าชาวบ้านรื้อเอาหินไปทำฐานเสาบ้าน แต่ก็ไม่มีหลักและภาพถ่ายฐานยืนยัน ........ ก็เลยจำเป็นต้องใช้ความรู้และข้อมูลของตนเองเท่าที่จะหาได้บวกกับจินตนาการ และข้อมูลอ้างอิงจากเมืองโบราณต่างๆในยุคขอมเรืองอำนาจ เช่น พิมายและนครอังกอร์ที่กัมพูชา

          อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าต้องมีประตูเมืองอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างแน่นอนเพราะ "เป็นไปไม่ได้ที่เมืองนี้ ไม่มีประตู" ดูจากภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ.2489 และ พ.ศ.2497 เห็นชัดเจนว่ามีคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1,700 เมตร x 1,800 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ตัวเมืองเกือบ 2,000 ไร่ ถือว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ของอาณาจักรขอมในดินแดนเกือบเหนือสุดของอาณาเขต และมีโบราณสถานศิลปะขอมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองต่างๆที่ตั้งอยู่ในภาคอีสานตอนบน ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธ์ุ กรมศิลปากรระบุว่าเมืองนี้น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 อย่างไรก็ตามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 มีกษัตริย์ขอมที่เป็นนักก่อสร้างและมีพระราชอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มรดกของพระองค์ในจังหวัดสกลนครที่กรมศิลปากรยืนยันอย่างน้อย 2 แห่ง ได้แก่สะพานขอม และอโรคยาศาล

          เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประตูเมืองก็น่าจะมีความอลังการพอสมควรให้สมกับเป็นเมืองใหญ่ แต่คำถาม ...... ทำไมหายไปจนหมดไม่เหลือซากแม้แต่น้อย ในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าถูกรื้อเอาหินไปก่อสร้างวัดหรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นภายหลังจากขอมเสื่อมอำนาจและเข้าสู่ยุคอาณาจักรล้านช้างต่อเนื่องกับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ........ อย่างไรก็ตาม กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ทำแผนที่ระวาง 1:4000 แสดงเขตคูเมืองโบราณตาม มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534

 

     

แผนที่ระวาง 1:4000 แสดงเขตคูเมืองโบราณ ตามมติ ครม.วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534  

 

 ภาพถ่าย ปี 2497

 

ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพล่าง) และ พ.ศ.2497 (ภาพบน)  มองเห็นคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมชัดเจน รวมทั้งอ่างเก็บน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า "บาราย" ภาพถ่ายปี พ.ศ.2497 คูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในน้ำหนองหาร นั่นเป็นเพราะมีการสร้างประตูน้ำที่ปากลำน้ำก่ำสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ราวๆ พ.ศ.2490 ทำให้ระดับน้ำหนองหารสูงขึ้นและท่วมคูเมืองโบราณ 

 

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2489 พอจะมองเห็นร่องรอย "ประตูเมือง 2 แห่ง" ด้านทิศตะวันออก และทิศใต้  

 

          พิจารณาภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2489 เห็นได้ชัดเจนว่าเขตคูเมืองโบราณยุคขอมเรืองอำนาจน่าจะเป็นพื้นที่แห้งไม่มีน้ำท่วมขัง เพราะบรรพชนเหล่านั้นคงไม่สร้างเมืองในพื้นที่น้ำท่วม พวกเขาต้องรู้ดีว่าระดับน้ำสูงสุดมาถึงบริเวณไหน

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2489 ก่อนการก่อสร้างประตูแววพยัคฆ์คัน หรือประตูน้ำก่ำ มองเห็นระดับน้ำในหนองหารขึ้นมาไม่ถึงคูเมือง แต่เมื่อพิจารณาภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2497 ซึ่งประตูน้ำก่ำสร้างเสร็จและเก็บกักน้ำได้ในปี 2490 ทำให้ระดับน้ำท่วมเข้ามาถึงแนวคูเมือง

 

 

Timeline การเปลี่ยนแปลงของตัวเมืองสกลนครตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 และ 2497 ยังคงมองเห็นคูเมืองโบราณชัดเจน แต่ภาพถ่ายปัจจุบันคูเมืองหายไปแล้ว ส่วนที่เห็นเป็นแนวด้านทิศตะวันออกเป็นการถมดินทับคูเมือง

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2516 ยังเห็นคูเมืองชัดเจน เปรียบเทียบกับภาพถ่าย Google Earth ปี 2565

 

กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ทำแผนที่ระวางขนาด 1:4000 แสดงพื้นที่ขอบเขตคูเมืองโบราณ ตามมติ ครม. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 (สีเขียวเป็นเอกสารสิทธิ์ของเอกชน สีส้มเป็นที่ดินของรารชการ) ในภาพนี้ประตูเมืองทิศตะวันออก (The East Gate) อยู่ในเขตที่ดินของราชการ จึงง่ายต่อการสำรวจด้วยการขุดเจาะใต้ดินตามหลักวิชาการโดยกรมศิลปากร 

 

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงชัดเจนว่าราชธานีของอาณาจักรขอมที่ชื่อ Angkor ตั้งอยู่ริมทะเลสาปขนาดใหญ่แต่ก็อยู่พ้นจากเขตน้ำท่วมในฤดูฝน พิจารณาแผนที่ Google Earth พบว่าบริเวณที่ตั้งเมืองนี้สูงกว่าระดับน้ำในทะเลสาปมากกว่า 10 เมตร ประกอบกับบันทึกของฑูตจีนชื่อ จูต้ากวน ที่มาประจำนครอังกอร์ในราชสำนักของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ระหว่าง ค.ศ.1296 - 1297 อธิบายถึงระดับน้ำในทะเลสาปสูงขึ้นมากถึงยอดต้นไม้ในฤดูน้ำหลากแต่ไม่มีกล่าวถึงน้ำท่วมตัวเมือง

 

ผมเคยไปนั่งเรือชมทะเลสาปแห่งนี้หลายครั้งและมองเห็นระดับน้ำเปรียบเทียบกับพื้นที่ตัวเมือง Angkor มีความสูงต่างกันและอยู่ห่างกันพอสมควร ประกอบกับทะเลสาปแห่งนี้ไม่มีประตูน้ำเหมือนกับหนองหารสกลนคร

 

 

ช่วงที่ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IUCN และ MRC มีโอกาศไปประชุมและสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการน้ำที่ Siem Reap หลายครั้ง ก็ไม่เคยได้ยินว่าเมือง Angkor (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Siem Reap) ถูกน้ำท่วม อย่างเก่งก็ท่วมเป็นแห่งๆตามที่ลุ่ม เช่น บริเวณที่เป็น "บารายขนาดใหญ่"  

 

   

ปราสาท Neak Pean เป็นโบราณสถานที่อยู่ตรงกลางบารายขนาดใหญ่จึงมักมีน้ำท่วมขังหลายครั้งจากน้ำฝนในพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระดับน้ำในทะเลสาป

  

          พยายามค้นหาหลักฐานเอกสารต่างๆที่สามารถระบุตำแหน่งประตูเมืองโบราณสกลนคร จนทุกวันนี้ก็ยังไม่พบข้อมูลแม้แต่นิดเดียว เลยจำเป็นต้องใช้จินตนาการบวกกับข้อมูลอ้างอิงของเมืองพิมาย และเมืองนครธม ที่ประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดภาพจำลองว่าประตูเมืองน่าจะอยู่ที่ศูนย์กลางของคูเมืองทั้งสี่ด้านโดยมีถนนเชื่อมเป็นรูปกากบาทใกล้กับพระธาตุเชิงชุม (ปราสาทขอม) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมือง คล้ายๆกับเมืองนครธม อนึ่งภาพถ่ายทางอากาศของเมืองหนองหารน้อยซึ่งเป็นเมืองโบราณคู่แฝดกับหนองหารหลวงก็เห็นร่องรอยถนนผ่ากลางเมืองในลักษณะกากบาท

 

    

ภาพถ่ายปี พ.ศ.2489 เมืองหนองหารน้อยซึ่งเป็นเมืองโบราณคูแฝดกับหนองหารหลวงมีถนนเป็นรูปกากบาทตัดกันที่กลางเมือง ทำให้เชื่อว่าเมืองหนองหารหลวงก็น่าจะมีถนนลักษณะเดียวกัน 

 

 

 

ตำแหน่งที่น่าจะเป็นประตูเมืองโบราณโดยมีถนนเชื่อมระหว่างกันเป็นรูปกากะบาด

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2489 ระหว่างเมืองสกลนคร (หนองหารหลวง) และเมืองหนองหารน้อย (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า หนองหาน ขึ้นกับจังหวัดอุดรธานี ) เห็นชัดเจนว่า "ประตูเมือง" น่าจะอยู่ทั้งสี่ทิศ 

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2489 แสดงร่องรอยที่เชื่อว่าเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันออกและทิศใต้ เพราะมีร่องรอยของถนน

 

ผังเมืองโบราณของตัวเมืองสกลนครมีพระธาตุเชิงชุม (ปราสาท) เป็นศูนย์กลาง

 

 

 

แปลนเมืองนครธมที่เอามาอ้างอิง มีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลางและมีถนนตัดกันเป็นรูปกากบาท

 

 

 ตัวเมืองพิมายมีประตูอยู่ตรงกลางของคูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันประตูเมืองโบราณก็ยังปรากฏอยู่ชัดเจน

 

ประตูเมืองพิมายที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนที่เชื่อมไปถึงนครอังกอร์ในกัมพูชา กำลังจะโปรโมทให้เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก แวดวงมัคคุเทศก์อาชีพเรียกถนนสายนี้ว่า "ราชมัครา" (The Royal Road) 

 

          ประตูเมืองโบราณสกลนครน่าจะเหมือนศิลปะขอมบายน            

          จากหลักฐานภาพถ่ายเก่าแก่ที่พอหาได้ของพระธาตุเชิงชุมมองเห็นซุ้มประตูที่ยังมีรูปร่างคล้ายพระปรางค์ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความ แกะรอยอดีตพระธาตุเชิงชุม 4 ยุคอารยธรรม เว้ปไซด์เดียวกันนี้) ซุ้มประตูของวัดที่มีรูปร่างเหมือนประตูเมืองนครธม ทำให้เชื่อว่าน่าจะลอกแบบมาจากประตูเมืองยุคขอมบายนราวพุทธศตวรรษที่ 16 (พ.ศ.1723 - 1763)

         อนึ่ง จากหลักฐานศิลาจารึกภาษาขอมโบราณที่บ้านหนองสะไน อำเภอกุดบาก สกลนคร ระบุปีมหาศักราช 988 ตรงกับ ค.ศ.1066 (พ.ศ.1609) แสดงว่าความเจริญของเมืองสกลนครโบราณเกิดขึ้นก่อน ค.ศ.1000 (พ.ศ.1543) แต่ยุคขอมบายนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ระหว่าง ค.ศ.1180 - ค.ศ.1220 (พ.ศ.1723 - 1763) เป็นไปได้ว่าประตูเมืองของเดิมถูกดัดแปลงให้เป็นลักษณะสไตล์ขอมบายน 

 

 

ภาพถ่ายเก่าแก่ของวัดพระธาตุเชิงชุมที่ข้างในเป็นปราสาทขอม มีซุ้มประตู 3 ปรางค์คล้ายประตูเมืองนครธม

 

 

 ประตูเมืองนครธมเป็นศิลปะขอมบายนสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พุทธศตวรรษที่ 16 

 

ภาพขยายให้เห็นซุ้มประตูสไตล์บายน ด้านทิศตะวันตกของพระธาตุเชิงชุม

 

เปรียบเทียบซุ้มประตูพระธาตุเชิงชุมระหว่างภาพถ่ายเก่า (ก่อน พ.ศ.2494) กับภาพถ่ายปัจจุบัน

 

ภาพถ่ายปี พ.ศ.2494 เห็นซุ้มประตูทิศตะวันตกมีลักษณะคล้ายประตูเมืองนครธม (Angkor Thom) ที่ประเทศกัมพูชา 

 

 

ปรียบเทียบซุ้มประตูพระธาตุเชิงชุมกับซุ้มประตูเมืองนครธม

 

          จะค้นหาประตูโบราณได้อย่างไร ?

          ถ้ากรมศิลปากรเห็นด้วยกับแนวคิดของผมก็น่าจะลองขุดดินที่คูเมืองด้านทิศตะวันออกลงไปให้ถึงดินเดิม เชื่อว่าฐานรากที่เป็นหินน่าจะยังคงอยู่แม้ตัวประตูได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว เพราะการก่อสร้างประตูเมืองขนาดใหญ่ต้องมีการวางฐานรากที่มั่นคงด้วยวัสดุเช่นหินหรือไม้เน้ือแข็งเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่ ถ้าสามารถพิสูจน์จนพบฐานรากประตูเมืองละก้อเราๆท่านๆเปิดประวัติศาสตร์เมืองสกลเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่งได้เลย ไหนๆกรมศิลปากรก็ได้กันเขตแนวคูเมืองไว้ส่วนหนึ่งแล้วโดยห้ามก่อสร้างทุกชนิดบนนั้นก็น่าจะทดลองค้นหาประตูเมืองซะเลยให้มันรู้แล้วรู้รอด

 

 

การสร้างซุ้มจำเป็นต้องมีฐานรากที่มั่นคงโดยใช้วัสดุที่แข็งแรง เช่น ศิลาแลง หินทราย และไม้เนื้อแข็ง 

 

          วิธีการค้นคว้าและค้นหาประตูเมืองโบราณ

          ผมยอมรับว่าไม่เคยเรียนวิชาโบราณคดีแต่เรียนจบปริญญาวิทยาศาสตร์และสนใจศึกษาเรื่องนี้เป็นการส่วนตัวโดยใช้พื้นความรู้วิชาต่างๆที่เรียนมาตั้งแต่มัธยมเอามาผสมผสานกัน จนในที่สุดมาถึงบางอ้อว่าถ้าเราเข้าใจ "พฤติกรรมมนุษย์ในเชิงตรรกวิทยา" ก็ไม่ยากที่จะเรียนรู้เรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากฝีมือมนุษย์ตาดำๆอย่างเราๆท่านๆนี่แหละ จากการศึกษาเรื่องราวอารยธรรมย้อนหลังไปหลายพันปีเริ่มตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียจวบจนปัจจุบัน ผมค้นพบว่า "พฤติกรรมของมนุษย์ยังคงเหมือนเดิม" เปลี่ยนไปเพียงวิธีการที่จะบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ เช่น สมัยโบราณมนุษย์ต้องการขึ้นสู่อำนาจก็ใช้พละกำลังที่เหนือกว่าผู้อื่น มาถึงยุคเทคโนโลยีก็ใช้อาวุธที่ทรงอานุภาพกว่า หรือข้อมูลข่าวสารที่เหนือกว่าเรียกว่า IO (information operation) 

          ดังนั้น การค้นคว้าเรื่อง "ประตูเมืองโบราณ" จึงใช้วิธีการ

          1. จากภาพถ่ายทางอากาศที่เห็นชัดว่าเมืองโบราณสกลนครเป็นสไตล์ "ขอมเรืองอำนาจ" จึงใช้หลักตรรกวิทยาระบุว่า "เมืองนี้ต้องมีประตู" ซึ่งรูปแบบของประตู และถนน ก็น่าจะลอกเรียนมาจากต้นแบบที่นครอังกอร์ เพราะการปกครองของอาณาจักรขอมเป็นระบอบ "อำนาจส่วนกลาง" ไม่ต่างกับประเทศไทยปัจจุบันที่ศูนย์อำนาจอยู่ที่กรุงเทพ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยคำสั่งกระทรวงมหาดไทย แบบแปลนอาคารศาลากลางจังหวัดต้องมาจากกรมโยธาธิการ งบประมาณก็โอนมาจากกรมบัญชีกลาง ข้าราชการจะขอย้ายก็ต้องไปวิ่งเต้นกับอธิบดีหรือปลัดกระทรวงที่กรุงเทพ กระทั่งผู้รับเหมารายใหญ่ๆจะยื่นซองประมูลระดับร้อยล้านพันล้านยังต้องไปคารวะท่านผู้มีอำนาจที่กรุงเทพ ดังนั้น รูปแบบของการก่อสร้างประตูเมืองและการจัดวางผังตัวเมืองก็น่าจะไม่ต่างจากนครอังกอร์ โดยมีตัวอย่างที่ประตูเมืองพิมาย

          2. จากหลักฐานภาพถ่ายของ "ซุ้มประตู" ที่พระธาตุเชิงชุม (ปราสาทขอม) มีรูปร่างคล้ายซุ้มประตูของ "เมืองนครธม" ที่นครอังกอร์ และจากประสบการณ์ตรงของผมที่คุ้นเคยกับเมืองนั้นอยู่แล้วทำให้ทราบว่าซุ้มประตูของปราสาทในยุคขอมบายนกับซุ้มประตูเมืองใช้ศิลปะเดียวกัน

 

 

 

ภาพ (บนซ้ายมือ) เป็นซุ้มประตูเมืองนครธม ส่วนภาพอื่นๆเป็นซุ้มประตูของปราสาทพระขันฑ์ ปราสาทบันเตยกะเดย ปราสาทตาพรม ทั้งหมดนี้มีรูปร่างของศิลปะขอมบายน เป็นการยืนยันว่าซุ้มประตูปราสาทต่างๆในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ขอมบายน) มีลักษณะเหมือนกับประตูเมืองนครธม 

 

 เปรียบเทียบภาพถ่ายซุ้มประตูพระธาตุเชิงชุมกับซุ้มประตูเมืองนครธมมีส่วนคล้ายกันมาก จึงพออนุมานตามหลักตรรกวิทยาได้ว่า "ประตูเมืองโบราณสกลนคร" ก็น่าจะมีรูปร่างแบบนี้  

 

          3. เป็นที่ทราบทั่วไปว่า "คูเมืองที่ยังคงเหลืออยู่" ก็คือแนวคันดินทิศตะวันออกตรงบริเวณที่ใช้ในการแข่งเรือ และทราบอีกว่ามีการถมดินให้สูงขึ้นในสมัยนายกเทศมนตรีท่านหนึ่งราวๆสามสิบกว่าปีที่แล้ว ดังนั้นจึงมีความคิดว่าให้ขออนุญาตกรมศิลปากรเพื่อใช้เครื่องเจาะดินลงไปให้ถึงระดับดินเดิมและเอาตัวอย่างขึ้นมาดูว่ามีวัสดุ "ศิลาแลง หินทราย ไม้เนื้อแข็ง" หรือไม่ ถ้าพบวัสดุดังกล่าวก็ให้กรมศิลปากรทำโครงการขุดสำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะเป็นนายทุนอุดหนุนงบประมาณ ถ้าสามารถค้นพบฐานรากประตูเมืองได้จริงๆรับรองประวัติศาสตร์เมืองสกลเปิดหน้าใหม่ได้อีกฉากหนึ่ง

 

 

แถวๆตรงนี้แหละที่น่าจะมีการเจาะสำรวจหาฐานรากประตูเมืองโบราณ

 

 

ภาพจินตนาการของเมืองสกลนครโบราณในยุคขอมเรืองอำนาจ น่าจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นโครงสร้างหลักๆดังที่เห็น

 

 

 

ภาพที่วาด "เมืองสกลโบราณ" ผมเจตนาให้ตรงกับปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับ centerline ของตัวเมืองที่ตำแหน่ง Azimuth 80 องศา ปัจจุบันตรงกับวันที่ 15-16 เมษายน

 

 

พิกัดที่น่าจะสำรวจประตูเมืองโบราณทางทิศตะวันออก (The East Gate) เป็นที่ดินของราชการตามแผนที่ระวางของกรมธนารักษ์ ตาม มติ ครม. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534

 

กรมธนารักษ์ได้ทำแผนที่ระวาง 1:4000 แสดงเขตคูเมืองโบราณ 

 

เอกสารการกำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง - คูเมือง สกลนคร ของกรมธนารักษ์ 

 

ขอบเขตเมืองเก่าสกลนคร ตามประกาศของ "คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า" มีพื้นที่รวม 3.5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นแนวคูเมืองเดิมตั้งแต่สมัยอารยธรรมขอม ประกาศเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559

 

        เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการค้นหาประตูเมืองโบราณ           

           จากการศึกษาเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้กับแหล่งโบราณคดีพบว่ามีระบบ Scan พื้นที่ด้วย Laser ที่เรียกว่า Light Detection and Ranging : LiDAR + GPR (Ground Penetrating Radar) สามารถเจาะทะลุลงไปใต้ดินและมองเห็นร่องรอยของสิ่งก่อสร้างที่แฝงตัวอยู่ ผลงานล่าสุดคือการค้นพบสิ่งก่อสร้างมากมายที่ปราสาทนครวัด และเมืองนครธม ประเทศกัมพูชา อุปกรณ์กล้องถ่ายภาพชนิดพิเศษนี้สามารถติดตั้งกับ Drone ซึ่งน่าจะมีขายในท้องตลาด หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครจับมือกับกรมศิลปากรก็น่าจะพัฒนาวิธีการไฮเทคได้ไม่ยากนัก หรือไม่ก็เอางบประมาณใส่มืออาจารย์ ม.ราชภัฏ หรือ ม.เกษตรสกลนครที่จบปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ให้ทำหน้าที่ technical consultant ในโครงการสำรวจครั้งนี้ เชื่อว่าอาจารย์ที่จบ PhD Science คงจะเล่นไม่ยาก

 

           เป้าหมายพิกัดของประตูเมือง

           ถ้าใช้โดรนติดอุปกรณ์ LiDAR ทำการ Scan ควรจะ focus ไปที่พิกัดเหล่านี้

 

 

จุดที่น่าจะเป็นที่ตั้งประตูเมืองทั้งสี่ทิศ

N 17 10 23.16  E 104 09 02.76 ปัจจุบันเป็นสถานีประมงน้ำจืดสกลนคร

 

N 17 09 56.38  E 104 09 36.18 เป็นพิกัดที่น่าสำรวจค้นหามากที่สุดเพราะเป็นที่ดินของราชการและยังไม่มีสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งมีร่องรอยจากภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2489

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2489 แสดงร่องรอยของประตูด้านทิศตะวันออก (East Gate) และประตูด้านทิศใต้ (South Gate)

 

N 17 09 28.54. E 104 09 10.47 ปัจจุบันตรงนี้เป็นอาคารพาณิชย์และถนนในตัวเมือง

 

N 17 09 50.25. E 104 08 32.66 ปัจจุบันเป็นที่ดินส่วนบุคคล

 

ภาพถ่าย LiDAR ที่ปราสาทนครวัดแสดงให้เห็นร่องรอยสิ่งก่อสร้างมากมายแฝงตัวอยู่ใต้ดิน

 

เมื่อนำผลภาพถ่าย LiDAR มาสร้างภาพจำลองจะเห็นสวยงามแบบนี้ 

 

 

ภาพถ่าย LiDAR ของเมืองนครธมก็พบร่องรอยสิ่งก่อสร้างมากมาย

 

 

อุปกรณ์ LiDAR สามารถติดตั้งกับ Drone 

 

 

 หลักการทำงานของ LiDAR ในการ Scan พื้นที่

 

 

        ข้อเสนอแนะ          

          เชื่อว่าถ้าเราสามารถค้นหาร่องรอยประตูเมืองสกลนครโบราณที่แฝงตัวอยู่ใต้ดิน ณ ประตูทิศตะวันออก (The East Gate) ....... ก็เท่ากับเราสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มี Story Behind ดีไม่ดีเราอาจพบโบราณสถานอื่นๆอีกหลายแห่งที่ยืนยันว่า ....... นครหนองหารหลวงไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งก่อสร้างที่เห็นในปัจจุบัน ...... ถึงเวลาแล้วครับต้องเล่นกับเทคโนโลยีไฮเทคให้มันสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 และที่ขาดไม่ได้ก็คือการทำ Model ย้อนอดีตเพื่อให้นักท่องเที่ยวมา selfie ดังตัวอย่างที่ Mexico City เขาสร้างเมืองจำลองย้อนอดีตอารยธรรม Aztec เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม 

 

โมเดลเมืองโบราณยุคอารยธรรม Aztec ที่ Mexico City 

 

 

การสร้างภาพจำลองปราสาทขอมที่วัดพระธาตุเชิงชุมโดยใช้ "กระจกภาพ" ทำให้มองเห็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ข้างใน

 

ถ้าสามารถขุดค้นจนพบฐานรากของประตูเมืองโบราณบริเวณพิกีด The East Gate ก็ควรทำสะพานข้ามเพื่อให้มองเห็นชัดเจนเป็นเสน่ห์ของอารยธรรมแห่งอดีตหนองหารหลวง

 

         สรุป

           ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อพันปีที่แล้ว ........ สิ่งที่บรรพชนท่านเห็นในวันสงกรานต์ คือ "ดวงอาทิตย์ในราศีเมษ และตรงพิกัดประตูเมือง" อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันประตูดังกล่าวจะหายไปหมดสิ้นแล้ว แต่ท่านสุริยะเทพยังคง "มาตามนัด" ณ ตำแหน่งมุมกวาด 80 องศา ในวันสงกรานต์ 14 - 16 เมษายน ทุกปี เราๆท่านๆสามารถพิสูจน์ด้วยตัวเอง ณ จุดที่เคยเป็นประตูบริเวณ "คูเมืองริมหนองหาร" ด้านทิศตะวันออก

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ