ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletทอผ้าเส้นใยเฮ้มพ์ ...... มรดก 3,000 ปี จากบรรพชนอีสาน
bulletน้ำท่วมเมืองสกล 2560 ต่างกับน้ำท่วมภาคเหนือ 2567 อย่างไร?
bulletจารึกปราสาทเชิงชุม แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ...... ตรงกับวันอะไรในปฏิทินปัจจุบัน
bullet"ศารทวิษุวัต" (Fall Equinox) มีผลอย่างไรกับพืช สัตว์ และมนุษย์
bulletเวลา ปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะสังคม ....... คำนิยมจากวารสารศิลปวัฒนธรรม
bulletชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เผชิญหน้ากับ อารยธรรมทวารวดี ...... เกิดอะไรขึ้น?
bulletปราสาทขอมเมืองสกลวางตัวในมุมกวาดที่ต่างกัน 80 องศา และ 90 องศา ..... คลาดเคลื่อนหรือเจตนา?
bulletปราสาทบริวารที่ภูเพ็ก ..... ถ้าสร้างเสร็จน่าจะใหญ่ขาดไหน?
bulletสะพานขอม ...... ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
bulletUnseen สะพานขอม ........ ไม่ใช่สะพานธรรมดา
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 สุริยันจันทรา กับ โบราณสถานชื่อดัง 4 แห่ง
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ....... มุมมองวิทยาศาสตร์
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletปรากฏการณ์แสงเหนือ ...... ความสวยงามที่แฝงภัยอันตราย
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์

 

        ปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์

          เชื่อว่าแฟนพันธ์ุแท้ของปราสาทพิมายต้องได้อ่านเรื่องราวของปราสาทหลังนี้มาอย่างโชกโชนในแง่มุมของศิลปะ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ คราวนี้จะขอฉีกแนวมุมมองในประเด็นใหม่โดยเริ่มจาก "คำถามว่า.....ทำไมผู้สร้างปราสาทจึงต้องทำให้แปลกจากหลักเกณฑ์ทั่วไป"  วิธีการวิเคราะห์ของผมมาแบบพนักงานสอบสวนที่ต้องตั้งโจทย์และตามด้วยคำถามว่า "ทำไม" จากนั้นก็ไปค้นหาเหตุผลด้วยกระบวนการ "ตรรกวิทยา" (Logic) และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวยืนยัน ขอเริ่มต้นด้วยคำถาม ดังนี้

 

1. ทำไมปราสาทหลังนี้จึงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นักโบราณคดีอธิบายว่าเพื่อหันให้ตรงกับเมืองหลวง "อังกอร์" ปัจจุบันคือเมือง Siem Reap แต่ประเด็นของผมอยู่ที่........ผู้สร้างใช้วิธีอะไรในการคำนวณทิศทางของปราสาทพิมายให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการ?   

2. ทำไมท่อโสมสูตร (ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) ที่ห้องวิมานของปราสาทประธาน จึงถูกออกแบบให้ออกสู่ภายนอกในลักษณะแตกต่างจากกฏเกณฑ์ของปราสาทขอมทั่วไป

3. มีนัยสำคัญกับปฏิทิน "มหาศักราช" ที่ใช้ในยุคสมัยนั้นหรือไม่ ?

4. มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจไม้

5. ปราสาทพิมายมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปราสาทขอมที่ประเทศไทยจริงหรือ ?

 

      วิเคราะห์ "คำถาม" ที่ละข้อ 

       1. ทำไมหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกจนเกือบจะเป็นทิศใต้ 

          จากการสำรวจด้วยเข็มทิศ และ อุปกรณ์ Application Compass and GPS ประกอบกับแผนที่ดาวเทียม Google Earth พบว่าปราสาทพิมายหันหน้าไปที่มุมกวาด 160 องศา (Azimuth 160) ผิดจากกฏเกณฑ์ทั่วไปของปราสาทขอมที่มักจะหันหน้าไปทางทิศ "ตะวันออกแท้" และ "ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" โจทย์จึงมาอยู่ที่ "ทำไมจึงเป็นเช่นนี้" ไม่เชื่อว่าผู้ออกแบบก่อสร้างจะไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย หรือภาษาไทยใช้คำว่า "สร้างแบบมั่วๆ" เป็นไปไม่ได้ครับชาวขอมในยุคนั้นพวกเขาเป็นวิศวกรขั้นเทพ ต้องมีเหตุผลอะไรบางอย่าง

 

อุปกรณ์ GPS ยืนยันว่าปราสาทพิมายหันหน้าไปที่มุมกวาด 160 องศา (Azimuth 160) 

 

 

ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ก็ยืนยันตัวเลขมุมกวาด 160 องศา (Az 160) 

 

                 กวาดสายตามองหาหลักฐานไปทั่วดินแดนอาณาจักรขอมทั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา มองไปมองมาพบว่าปราสาทจำนวนหนึ่งก็มีลักษณะการหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกันกับพิมาย ได้แก่ปราสาทที่มีชื่อเสียง เช่น

      ปราสาทบันเตยท้อป (Banteay Top) มุมกวาด 99 องศา (Az 99) ระยะทางจาก Angkor 102 กม.

      ปราสาทตาเมือนทม (Tameun Thom) มุมกวาด 174 องศา (Az 174) ระยะทางจาก Angkor 119 กม.

      ปราสาทพิมาย (Phimai) มุมกวาด 160 องศา (Az 160) ระยะทางจาก Angkor  246 กม.

      วัดช้างล้อม ที่เมืองเก่าศรีสัชนาลัย มุมกวาด 135 องศา (Az 135) ระยะทางจาก Angkor 621 กม.

      วัดศรีสวาย ที่เมืองเก่าสุโขทัย มุมกวาด 170 องศา (Az 170) ระยะทางจาก Angkor 596 กม.

          ขณะเดียวกันก็ไปสำรวจที่เมือง Siem Reap ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง Royal Angkor ยังไม่พบว่ามีปราสาทหลังใดหันหน้าไปทาง "ทิศตะวันออกเฉียงใต้" ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ที่มุมกวาด 90 องศา (Az 90 หรือ equinox) และมีบางแห่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาท Banteay Kdei

        แสดงว่าปราสาทที่หันหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเป็นปราสาทบางหลังที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงอย่างน้อย 100 กม. จึงตีความว่าหัวเมืองเหล่านั้นต้องแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการ "สวามิภักดิ์" ต่อเมืองหลวงโดยสร้างปราสาทหลังใดหลังหนึ่งให้หันหน้ามาทางนี้ ตามข้อมูลที่สำรวจปราสาทที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ปราสาทตาเมือนท้อป 102 กม. (อยู่ในประเทศกัมพูชาใกล้ชายแดนไทยด้านจังหวัดสระแก้ว) ส่วนที่ไกลที่สุดคือวัดช้างล้อมที่เมืองเก่าศรีสัชนาลัย 621 กม.   

 

 

จากการเก็บตัวอย่างโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลขอมในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา 85 แห่ง พบว่าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรืออีกนัยหนึ่งไปทางเมืองหลวง Royal Angkor จำนวน 15 แห่ง คิดเป็น 17.64% โดยอยู่ในประเทศไทย 14 แห่ง และประเทศกัมพูชา 1 แห่ง  

 

 

ในความเห็นอย่างเป็นทางการของนักโบราณคดีอธิบายว่าปราสาทพิมายหันหน้าไปทางเมืองหลวงคืออังกอร์ (ปัจจุบันเป็นเมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา) แต่เมื่อตรวจสอบด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth พบว่าไม่ได้หันหน้าตรงกับ Royal Angkor ทีเดียวนัก เพราะเมื่อลากเส้นตรงกับมุมกวาด Az 160 จะลงไปที่ตอนใต้ห่างจากนครอังกอร์ประมาณ 60 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามในแง่ของภาพรวมก็ถือว่ามีนัยสำคัญ 

 

 

ถ้าจะให้ปราสาทพิมายหันหน้าตรงกับเมืองหลวง Royal Angkor ก็ต้องปรับมุมมาที่ Az 144 (ขยับขึ้นมาทางเหนืออีก 16 องศา) แต่ผู้คนในสมัยนั้นยังไม่มีเทคโนโลยี GPS จึงถือว่าทำได้ดีที่สุดแล้ว 

 

          เป็นไปได้ไม้ที่ผู้สร้างปราสาทพิมายจะสามารถคำนวณทิศทางให้ตรงกับเมืองหลวงอย่างลงตัวพอดีเป๊ะ

          โอ้พระเจ้า.....ยากส์มากครับเพราะสมัยนั้นไม่มีอุปกรณ์ GPS พวกเขาสามารถรู้ได้เพียงคร่าวๆโดยใช้วิธีสังเกตตำแหน่งมุมเงยของดาวเหนือ ทำให้รู้ว่าพิมายอยู่ทางทิศเหนือของนครหลวงอังกอร์ และบวกกับข้อมูลการเดินทางมาทางทิศตะวันตกด้วยระยะทางไกลหลายวัน พอสรุปทิศทางได้ว่าปราสาทพิมายควรหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้โดยประมาณ และยึดเอาแนวถนน "ราชมรรคา" (The Royal Road) ที่เชื่อมระหว่างนครอังกอร์กับเมืองพิมายเป็นเกณฑ์       

 

การสังเกตตำแหน่งดาวเหนือระหว่างพิมายกับนครหลวงอังกอร์ทำให้รู้คร่าวๆว่าพิมายอยู่ทางทิศเหนือ

 

แนวถนน "ราชมรรคา" เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยคำนวณมุมปราสาทพิมายให้ตรงกับเมืองหลวงมากที่สุดเท่าที่ทำได้

           

          ในประเทศไทยมีโบราณสถานแห่งใด้ที่หันหน้าได้ตรงกับนครหลวงอังกอร์ชนิด "ตรงเป๊ะ" ? 

            คำตอบคือ "มีครับ" อยู่ที่เมืองเก่าศรีสัชนาลัย เป็นโบราณสถาน 4 แห่ง เรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้มาที่นครหลวงอังกอร์ชนิดตรง 100% ไม่ทราบว่าเขาคำนวณกันอย่างไรจึงแม่นขนาดนั้น ทั้งๆที่ระยะทางห่างถึง 621 กิโลเมตร ถ้าไปถามนักโหราศาสตร์หรือท่านพราหมณ์คงได้คำตอบว่า "ใช้พลังจิต" 

 

วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว และวัดนางพญา เรียงตัวเป็นเส้นตรงและชี้มาที่เมืองหลวงอังกอร์ด้วยมุมกวาด Az 135 ตรงเป๊ะชนิด 100% 

 

วัดช้างล้อมเป็นโบราณสถานที่อยู่ในความสนใจของนักท่องเที่ยว

 

        2. ทำไมท่อโสมสูตร (ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) ของปราสาทพิมายจึงมีทิศทางแตกต่างจากกฏเกณฑ์ปราสาทขอมทั่วไป

          โดยปกติปราสาทขอมจำนวนหนึ่งจะมี "ท่อโสมสูตร" (Somasutra Duct) เป็นอุปกรณ์ลำเลียงน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดระหว่างทำพิธีกรรมให้ไหลออกนอกตัวปราสาททางด้านทิศเหนือเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชาเป็นศิริมงคล โดยทางออกของท่อทำมุมฉากกับตัวห้อง ดังตัวอย่างปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวง ที่จังหวัดสกลนคร และปราสาทพนมรุ้ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เหตุผลที่ท่อโสมสูตรต้องตรงกับทิศเหนือก็เพราะ "ขั้วโลกเหนือ" เป็นสถานที่ตั้งของ "เขาพระสุเมรุ" สถานที่พำนักอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธมหายานซึ่งมีต้นแบบมาจากประเทศอินเดีย 

 

ชาวฮินดูและพุทธมหายานเชื่อว่าเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ที่ "ขั้วโลกเหนือ" ดังนั้นแท่นโยนีต้องหันไปทางทิศเหนือ เพื่อให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีไหลออกไปทางนั้น เมื่อต้นปี 2009 ผมไปที่วิหารพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้เห็นโยนีและศิวะลึงค์ตั้งอยู่ในห้องถัดจากที่ประดิษฐานพระพุทธรูป โยนีชี้ไปทางทิศเหนืออย่างชัดเจน ขณะเดียวกันรอยพุทธบาทก็หันไปทิศเหนือเช่นกัน 

 

 การใช้เข็มทิศแม่เหล็ก (Magnetic Copass) ที่ตอนเหนือของประเทศอินเดียมีความแม่นยำสูงเพราะตั้งอยู่ในเขตที่เส้น Agonic Line ผ่าน หมายถึงบริเวณนี้เข็มทิศจะชี้ที่ True North

 

ผมเดินสำรวจวิหารพุทธคยาอยู่หลายชั่วโมงเพื่อค้นหาโยนีและศิวะลึงค์ในที่สุดก็พบว่าตั้งอยู่อีกห้องหนึ่งของวิหาร

 

 

โยนีที่ปราสาทพระโค ที่ Rolei เมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา ชี้ไปทางทิศเหนือเช่นเดียวกับความเชื่อของอินเดีย 

 

 

ท่อโสมสูตรของปราสาทขอมจะออกไปทางทิศเหนือโดยตั้งฉากกับตัวห้อง

 

 ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร มีท่อโสมสูตรออกทางทิศเหนือ

 

 

ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จจะมีศิวะลึงค์และโยนีตั้งอยู่ที่กลางห้องและหันหน้าไปที่ท่อโสมสูตร 

 

 

 ท่อโสมสูตรของปราสาทภูเพ็กเป็นช่องทำมุมฉากกับตัวปราสาทด้านทิศเหนือ

 

 

 ท่อโสมสูตรของปราสาทนารายณ์เจงเวงออกทางทิศเหนือและทำมุมฉากกับตัวปราสาท

 

 ท่อโสมสูตรของปราสาทพนมรุ้งก็ตั้งฉากกับตัวปราสาท

 

ท่อโสมสูตรของปราสาทพนมรุ้งค่อนข้างตรงกับทิศเหนืออย่างมาก เนื่องจากปราสาทหลังนี้หันหน้าไปที่มุมกวาด 85 องศา (Azimuth 85) ผิดไปจากตำแหน่งทิศตะวันออกแท้เพียง 5 องศา ดังนั้นการที่จะทำให้รางท่อโสมสูตรชี้ไปทางทิศเหนือจึงไม่ยากนัก

 

 

ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปที่มุมกวาด Azimuth 85 องศา

 

GPS ก็แสดงตัวเลขยืนยันว่าปราสาทพนมรุ้งหันไปที่มุมกวาด 85 องศา (Azimuth 85) 

 

          ท่อโสมสูตรของปราสาทพิมายมีลักษณะผิดจากปราสาทขอมทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะถูกบังคับให้ "แหวกออกทางมุมเสาด้วยมุมกวาด 25 องศา (Az 25) และไม่ทำมุมฉากกับตัวปราสาท" ถ้าพูดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ว่าด้วยการออกแบบก่อสร้างอาคารละก้อ "ผิดสะเป็ก" ถ้ามีการตรวจรับจะถูก สตง.เรียกเงินคืน แถมด้วยความผิดทางวินัยร้ายแรง ดีไม่ดีโดนมาตรา 157 เป็นคดีอาญาอีกต่างหาก แต่ทำไมปราสาทพิมายจึงผ่านการตรวจรับไปได้อย่างสบายและอยู่มานานถึงพันกว่าปีโดยไม่มีใครกล่าวหาอะไร ผมเชื่อว่าบรรพชนเหล่านั้นท่านมีเหตุผลสำคัญที่น่าวิเคราะห์

 

 

ท่อโสมสูตรของปราสาทพิมายแหวกออกมาที่มุมของห้องวิมาน 

 

 

ผมได้ชี้ให้มัคคุเทศก์อาชีพสังเกตลักษณะที่ผิดปกติของท่อโสมสูตร ระหว่างการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสร้างปราสาทขอมกับดาราศาสตร์ระหว่าง 18 - 22 มีนาคม 2558 และแวะชมปราสาทพิมายเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 

 

 

เพื่อให้สมจริงสมจังผมเองก็ต้องทำท่าจ้องไปที่ท่อโสมสูตร ทั้งๆที่เคยดูมาหลายครั้งแล้ว แต่สาระจริงก็คือต้องการให้ได้ภาพ "ท่อโสมสูตรไม่ได้มุมฉากกับตัวปราสาท" ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างของทางราชการในปัจจุบันท่านที่เป็น "กรรมการตรวจการจ้าง" หรืออีกนัยหนึ่ง "กรรมการตรวจรับ" คงคิดหนักว่าจะเซ็นรับรองให้หรือไม่ 

 

 

อุปกรณ์ Application Compass แสดงตัวเลขมุมกวาด 25 องศา (Az 25) ของแนว out-let ท่อโสมสูตร

 

 

In-let ของท่อโสมสูตรก็เปิดอยู่ข้างประตูด้วยมุมเอียงๆ แทนที่จะทำมุมฉากกับตัวปราสาทดังเช่นปราสาทขอมทั่วๆไป

 

ผังแปลนแสดงแนวท่อโสมสูตร และการวางตัวของศิวะลึงค์และโยนี ปัจจุบันฐานโยนีและศิวลึงค์หายไปแล้วและถูกแทนที่ด้วยรูปสลักพระพุทธรูปนาคปรกที่มีลักษณะคล้ายพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (เอกสารกรมศิลปากรอธิบายว่าตรงนี้เป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญที่สุดแต่สูญหายไปแล้ว) ในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าเป็นศิวลึงค์และฐานโยนีเพราะเป็นอุปกรณ์ส่วนควบกับท่อโสมสูตร 

 

 

ถ้าจะวางท่อโสมสูตรให้ตรงกับทิศเหนือตามสูตร ก็ต้องแหวกออกไปทางมุมอีกด้านทางทิศเหนือ  แต่อาจจะขัดกับหลักการก่อสร้างอย่างใดอย่างหนึ่งผู้สร้างจึงไม่เลือกแนวทางนี้

 

 

 ถ้าจะวางตำแหน่งท่อโสมสูตรให้เหมือนกับปราสาทพนมรุ้งก็ต้องทำให้เหมือนรูปนี้แต่ผู้สร้างก็ไม่เลือกวิธีดังกล่าวเพราะห่างจากทิศเหนือมากเกินไป 

 

          เหตุผลที่น่าสนใจของการวางแนวท่อโสมสูตรให้ออกทางมุมกวาด 25 องศา (ตามภาพถ่าย) ก็คือ "ให้ท่อโสมสูตรหันไปทางทิศเหนือมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และไม่ขัดกับหลักความมั่นคงของการก่อสร้าง" เพราะตามหลักของศานาฮินดูและศาสนาพุทธนิกายมหายานเชื่อว่า "ทิศเหนือ" คือตำแหน่งแกนของโลกและเป็นที่ตั้ง "เขาพระสุเมรุ" อันเป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าทั้งมวล ดังนั้น โยนีในปราสาทฮินดูและปราสาทพุทธมหายานต่างก็ชี้ไปทางทิศเหนือทั้งสิ้น 

 

       ปราสาทตาเมือนทมคู่แฝดของปราสาทพิมาย 

          กรณีเดียวกัน "ปราสาทตาเมือนธม" ตั้งอยู่บนภูเขาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่จังหวัดสุรินทร์ ก็หันหน้าเข้าหาเมืองหลวงอังกอร์ที่มุมกวาดประมาณ 174 องศา (Az 174) คล้ายๆกันกับปราสาทพิมาย ปราสาทหลังนี้ก็มีท่อโสมสูตรที่ผู้สร้างพยายามบังคับให้ไปทางทิศเหนือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ท่อโสมสูตรจึงออกมาที่มุมกวาด 50 องศา (Az 50) และก็ออกมาจากมุมห้องในลักษณะเอียง (ไม่ได้ทำมุมฉากกับตัวปราสาท) 

 

ปราสาทพิมายและปราสาทตาเมือนทมตั้งอยู่ในเส้นทาง "ราชมรรคา" เชื่อมโยงกับ Royal Angkor City

 

รูปร่างหน้าตา ปราสาทตาเมือนทม ตั้งอยู่บนภูเขาชายแดน ไทย - กัมพูชา ที่จังหวัดสุรินทร์

 

ปราสาทตาเมือนธม อยู่บนภูเขาที่ชายแดนไทย - กัมพูชา หันหน้าไปทางเมืองหลวงอังกอร์ ที่มุมกวาด 174 องศา (Az 174)

 

เข็มทิศแสดงการหันหน้าของปราสาทตาเมือนทมไปทางทิศใต้ที่มุกกวาด 174 องศา (Az 174) 

 

เข็มทิศวางที่ธรณีประตูแสดงตำแหน่งมุมกวาด 174 องศา (Az 174) ยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปทางทิศใต้

 

ถ้าตั;ปราสาทหันหน้าทางทิศใต้ที่มุมกวาด 174 องศา ในทางกลับกันประตูด้านหลังก็ต้องทำมุมกวาด 354 องศา (Az 174 + 180 = Az 354)

 

 

 ท่อโสมสูตรของปราสาทตาเมือนธมมาสไตล์เดียวกับปราสาทพิมาย คือออกทางมุมแบบเอียงๆที่มุมกวาด 50 องศา (Az 50) 

 

ท่อโสมสูตรมุมมองจากตัวปราสาทไปยังกำแพงด้านทิศตะวันออก

 

ท่อโสมสูตรมุมมองจากกำแพงด้านทิศตะวันออกไปยังตัวปราสาท

 

เข็มทิศแสดงตำแหน่งมุมกวาดของท่อโสมสูตรที่ 50 องศา

 

แสดงรายละเอียดของตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของท่อโสมสูตรที่มุมกวาด 50 องศา

 

 

เปรียบเทียบตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของท่อโสมสูตรปราสาทพิมายกับปราสาทตาเมือนทม ทั้งคู่พยายามหันเข้าหาทิศเหนือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่เสียภาพลักษณ์ของแปลนปราสาทมากจนเกินไป

 

        ท่อโสมสูตรมีน้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลจริงๆไม้ ?

           เป็นคำถามที่คาใจผมมาตลอดหลายปีเพราะดูจากข้อมูลทางพิธีกรรมแล้ว "น้ำศักดิ์สิทธิ์" ที่ท่านพราหมณ์ใช้จริงมีปริมาณไม่มากหรือพูดง่ายๆแค่ขันเดียว ถ้าจะให้ไหลโกรกออกไปทางท่อโสมสูตรอย่างที่เราๆท่านๆอยากจะเห็นผมว่าต้องเทกันเป็นปี๊บๆ ซึ่งพิธีกรรมอันสง่างามไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ผมจึงคิดว่าท่อน้ำอันนี้จะเป็นเสมือน "เชิงสัญลักษณ์" เพราะการที่จะให้น้ำไหลอย่างสะดวกจำเป็นต้องมีรางต่อเชื่อมจากปากโยนีไปลงที่ In-let ของท่อ แต่ทุกแห่งที่ผมไปเห็นมาไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศกัมพูชาและประเทศไทยไม่เคยมีอุปกรณ์ดังกล่าวแม้แต่ชิ้นเดียว 

 

 ภาพจำลองของศิวะลึงค์และโยนี กับท่อโสมสูตรที่ปราสาทพิมาย ไม่ปรากฏอุปกรณ์เชื่อมต่อให้น้ำไหลลงอย่างเป็นทิศทาง ถ้าเทน้ำลงไปบนยอดศิวะลึงค์น้ำต้องไหลลงพื้นก่อนที่จะเข้าไปยังปากทางของท่อโสมสูตร ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็ต้องใช้น้ำจำนวนมากเรียกง่ายๆว่าต้องเทกันเป็นปี๊บๆจึงจะพอเพียงต่อการไหลออกไปข้างนอก

 

 

ไปดูศิวะลึงค์และโยนีต้นแบบที่อินเดีย ผมก็ไม่เห็นอุปกรณ์เชื่อมต่อให้น้ำไหลไปลงท่อโสมสูตร เท่าที่เห็นเป็นโยนีตั้งอยู่บนพื้นห้อง 

 

น้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีมีปริมาณไม่มากนัก ไม่ต่างกับการรดน้ำสังข์ในพิธีแต่งงานที่รดใส่มือบ่าวสาวเพียงไม่กี่หยด

 

 

ศิวะลึงค์และโยนีที่เห็นทุกแห่งตั้งโด่เด่อยู่กลางห้องไม่เห็นมี "รางรับน้ำ" ต่อเชื่อมจากปากโยนีไปยัง In-let ท่อโสมสูตร แล้วจะให้น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลไปได้อย่างไร หรือนี่เป็นเพียงพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์ 

 

       ห้องนี้น่าจะมีรูปเคารพอะไร ...... พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

          ผมอ่านหนังสือ "นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย" ของกรมศิลปากร มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่าภาวในอาคารมีห้องสี่เหลี่ยม (ครรภคฤหะ) ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน รูปเคารพดังกล่าวได้สูญหายไปแล้ว คงมีอยู่แต่ร่องน้ำมนต์ที่มุมห้องด้านทิศตะวันออกซึ่งต่อท่อลอดออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในที่นี้ผมเชื่อว่า "ร่องน้ำมนต์" ก็คือ "ท่อโสมสูตร" ดังนั้นรูปเคารพก็ต้องเป็น "ศิวลึงค์และโยนี" อย่างแน่นอนเพราะทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ส่วนควบ" ผมใช้แนวคิดแบบพนักงานสอบสวนครับถ้าพบปลอกกระสุนที่ผ่านการยิงมีเขม่าดินปืนติด มันก็ต้องมาจากปืนและต้องมีคนยิงเพราะเป็นส่วนควบที่เกี่ยวข้องกัน คงไม่มีผู้ร้ายที่ไหนเอาลูกปืนไปใส่หนังสะติ๊กเพื่อใช้ยิงแทนอาวุธปืน และทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวขอมที่นับถือพุทธมหายานและฮินดู   

 

 

 

 

 เอกสารของกรมศิลปากรระบุว่า "ห้องนี้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด แต่ได้สูญหายไปแล้วคงเหลือแต่ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์" ดังนั้นรูปสลักพระพุทธรูปนาคปรกที่เห็นในปัจจุบันก็เป็นสิ่งที่นำเข้าไปตั้งใหม่" ในความเห็นของผมตรงนี้จะต้องเป็น "ศิวะลึงค์และโยนี" เพราะเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของท่อโสมสูตร

 

 อย่างที่ผมได้กล่าวแต่แรกว่าตรงห้องนี้คือสถานที่ประกอบพิธีซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้แก่ "ศิวะลึงค์ โยนี และท่อโสมสูตร" ถ้าผมเป็นผู้รับผิดชอบอุทยานแห่งนี้ผมจะนำโยนี และศิวลึงค์ มาตั้งให้ตรงกับท่อโสมสูตร และนำพระพุทธรูปนาคปรกนี้ไปไว้ยังห้องอื่นที่เหมาะสม 

 

       3. มีนัยสำคัญกับปฏิทิน "มหาศักราช" ที่ใช้อยู่ในยุคสมัยนั้นหรือไม่ ?

          เป็นที่ทราบดีในหมู่นักโบราณคดีว่าปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ที่มุมกวาด 160 องศา ทำให้ประตูด้านทิศตะวันออกถูกบังคับด้วยหลักวิศวกรรมศาสตร์ให้ตรงกับมุมกวาด 70 องศา เมื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลดาราศาสตร์พบว่าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นวันที่ 22 พฤษภาคม (วันที่ 1 เดือน Jyaishtha) และ 23 สิงหาคม (วันที่ 1 เดือน Shravana) ของปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่ใช้แพร่หลายในยุคขอมเรืองอำนาจ ....... อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น?

          อนึ่ง ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับประตูทิศตะวันออกเกิดขึ้นติดต่อกัน 3 วัน (ปีละ 2 ครั้ง) ระหว่าง 20 - 22 พฤษภาคม และ 21 - 23 กรกฏาคม ทุกท่านที่สนใจสามารถไปพิสูจน์ด้วยตนเองเวลาเช้าตรู่ ณ สถานที่จริง 

 

ปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ที่มุมกวาด 160 องศา ทำให้ประตูด้านทิศตะวันออกตรงกับมุมกวาด 70 องศา

 

 

เข็มทิศแสดงการหันหน้าประตูทิศตะวันออกของปราสาทพิมายตรงกับมุมกวาด 70 องศา

 

 GPS ยืนยันว่าประตูทิศตะวันออกปราสาทพิมายหันตรงกับมุมกวาด 70 องศา

 

 

รูปร่างหน้าตาของปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่ใช้อย่างแพร่หลายในยุคขอมเรืองอำนาจ 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทพิมายสอดคล้องกับวันที่ 1 เดือน Jyaishtha ราศีคนคู่ (Gemini) และ วันที่ 1เดือน Shravana ราศีสิงห์ (Leo) ปฏิทินมหาศักราช ขอบคุณภาพถ่ายฝีมือ ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง 

 

 โปรแกรมดาราศาสตร์แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นที่มุมกวาด 70 องศา วันที่ 22 May and 23 July (อนึ่ง ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงกับประตูทิศตะวันออกของปราสาทพิมายสามารถมองเห็นได้ราว 3 วัน ระหว่าง 20 - 22 May และ 21 - 23 July) 

 

 ในความเห็นส่วนตัวผมว่ารูปเคารพในห้องวิมานที่หายไปน่าจะเป็นศิวะลึงค์และโยนีดังภาพจำลองที่ผมสร้างขึ้น เพราะดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับช่องประตูนี้ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ 22 พฤษภาคม (ราศีคนคู่) และ 23 กรกฏาคม (ราศีสิงห์)

 

เอกสารของกรมศิลปากรยืนยันว่ามีการทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ห้องนี้ ประกอบกับหลักฐานวัตถุพยานที่เป็น "ท่อโสมสูตร" ผมจึงเชื่อว่าห้องนี้จะต้องมีศิวะลึงค์และฐานโยนีแน่นอน ไม่งั้นจะมีท่อโสมสูตรไว้ทำไมเพราะทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ส่วนควบกัน เหมือนมีปืนก็ต้องมีลูกปืน

 

วันที่ 22 พฤษภาคม และ 23 กรกฏาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับช่องประตูด้านทิศตะวันออกนี้ แต่ปัญหาคือทั้งสองวันอยู่ในฤดูฝน ผมเคยแจ้งข้อมูลนี้ให้กับท่าน ผอ.ปริวรรต ทรรศนสฤษด์ เมื่อราว พ.ศ.2547 แต่ก็ไม่สามารถถ่ายรูปได้เพราะเป็นหน้าฝน

 

ผมพยายามหลายครั้งที่จะถ่ายรูปที่มุมนี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม ราศีคนคู่ (Gemini) และ 23 กรกฎาคม ราศีสิงห์ (Leo) แต่ไม่สำเร็จสักครั้งเพราะเป็นฤดูฝนฟ้ามักจะปิด ก็เลยต้องใช้ภาพตัดต่อด้วยคอมพิวเตอร์ให้ชมไปพลางๆก่อนครับ

 

ในที่สุดผมก็ได้ภาพนี้จากคุณ Phetrada Sornchaipisal นายกสมาคม Alet Aducation โดยเป็นผลงานของท่านอาจารย์จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.พิมาย เป็นปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับช่องประตูและหน้าต่างของปราสาทพิมาย เช้าตรู่วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านครับ

 

เปรียบเทียบระหว่างปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกที่ปราสาทพิมาย โดยยิงมุมกล้องจากคนละด้านของปราสาท (สังเกตจากการหันหน้าของพระพุทธรูปนาคปรก) 

 

และผมก็โชคดีครับ ....... ได้ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ขึ้นที่ปราสาทพิมายในราศีสิงห์ (Zodiac Leo) ตรงกับวันที่ 23 กรกฏาคม 2559 ไปร่วมประชุมกับหอการค้าภาคอีสานที่โรงแรมดุสิตปริ้นเซส โคราช ระหว่าง 21 - 24 กรกฏาคม 2559 ก็เลยได้โอกาสตื่นแต่ตีสี่บึ่งรถยนต์ไปถ่ายภาพที่ปราสาทพิมาย ไปถึงที่นั่นเวลาตีห้าต้องไปขออนุญาตเป็นการพิเศษเพื่อเข้าไปถ่ายภาพ

 

 อีกมุมกล้องของภาพดวงอาทิตย์ขึ้นที่ราศีสิงห์เช้าตรู่วันที่ 23 กรกฏาคม 2559

 

 

ผมได้พบกับท่านอาจารย์จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.พิมาย ซึ่งไปรอถ่ายภาพดวงอาทิตย์เช่นกันกับผม และชวนผมไปกินกาแฟที่บ้านของท่านซึ่งอยู่ใกล้ๆกับปราสาทพิมาย 

 

รอยขีดที่พื้นประตูตรงกับมุมกวาด Az 70 องศา ผมได้ทำผังแสดงทิศต่างๆไว้ตามภาพถ่ายเมื่อคราวอบรมมัคคุเทศก์วันที่ 20 มีนาคม 2558

 

รอยขีดที่พื้นประตูด้านทิศตะวันออกชี้ไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 70 องศา 

 

 

ทั้ง GPS และเข็มทิศแม่เหล็ก แสดงค่ามุมกวาด 70 องศา ที่ประตูด้านทิศตะวันออก 

 

 

แผนผังแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นที่หน้าประตูทิศตะวันออก ในวันที่ 22 พฤษภาคม (ราศีคนคู่) และวันที่ 23 กรกฏาคม ราศีสิงห์) 

 

จริงๆแล้ว "โยนี" ที่ผมกล่าวถึงก็มีอยู่แล้วแต่ตั้งอยู่ในปรางค์พรหมทัต และกลายเป็นฐานที่ตั้งรูปสลักพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถ้าเปลี่ยนให้ไปตั้งใหม่ที่ห้องวิมานของปรางค์ประธาน และทำศิวะลึงค์จำลองให้มีขนาดสมส่วนกันน่าจะดูใกล้เคียงของเดิมมากกว่านะ

 

      4.ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ

          เนื่องจากปราสาทพิมายหันหน้าที่มุมกวาด 160 องศา จึงไม่เข้าสะเป็กทางดาราศาสตร์เหมือนกับปราสาทขอมทั่วไป แต่ในความผิดสะเป็กก็ยังมีเสน่ห์อะไรบางอย่างที่เป็น Unseen ทีเดียวละครับ ดังข้อมูลต่อไปนี้

 

แสดงผังตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ของรอบปี (สัญลักษณ์ดวงอาทิตย์สีแดง เป็นตำแหน่ง Sunrise ตรงกับประตูทิศตะวันออก และ Sunset ตรงกับประตูทิศตะวันตก)  

 

Sunpath แสดง Sunrise เช้าวันที่ 22 May, 23 July ตรงกับประตูทิศตะวันออก และ Sunset เย็นวัน 14 Nov, 29 Jan ตรงกับประตูทิศตะวันตก

 

เปรียบเทียบปราสาทพิมายกับตำแหน่ง "ดวงอาทิตย์ยามเช้า" ที่เคลื่อนตัว ณ ขอบฟ้าระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ 

 

Sunrise 22 May ราศีคนคู่ (Zodiac Gemini), 23 July ราศีสิงห์ (Zodiac Leo)

ตรงกับประตูทิศตะวันออก ที่มุมกวาด 70 องศา (Az 70)

 

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ปราสาทพิมายถ่ายเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559

โดยอาจารย์ ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิ อ.พิมาย

ประสานงานโดยคุณ Phetrada Sornchaipisal อุปนายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย 

 

 ตำแหน่ง "ดวงอาทิตย์ยามเย็น" ในรอบปีของปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์

 

 Sunset ตรงกับประตูทิศตะวันตก ที่มุมกวาด 250 องศา (Az 250) วันที่ 14 Nov, 29 Jan

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 มีนาคม

และ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) 23 กันยายน 

 

 

ดวงอาทิตย์ตกที่สวยงามของปราสาทพิมาย มีปีละ 2 ครั้ง วันที่ 14 พฤศจิกายน และ 28 - 29 มกราคม

 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ตกปีละ 2 ครั้ง ทั้งสองภาพนี้ผมได้รับความอนุเคราะห์จาก

อดีตท่านผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นายปริวรรต ทรรศนสฤษด์ เมื่อปี 2548 

 

 

เปรียบเทียบภาพดวงอาทิตย์ตก เมื่อ 29 มกราคม 2548 กับ 29 มกราคม 2558 

 

ภาพดวงอาทิตย์ตกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 ถ่ายจากด้านทิศตะวันออก

โดยไกด์อาชีพภาษาอังกฤษ Prapaporn Matda (ไกด์นก) 

 

ดวงอาทิตย์ยามอัสดงที่ปราสาทพิมาย 14 พฤศจิกายน 2565 

ภาพถ่ายฝีมือ ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง 

 

 ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ตกที่ปราสาทพิมาย 14 พฤศจิกายน 2565

ขอขอบคุณ ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ที่ส่งภาพสวยงามมาให้

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" 20 มีนาคม 2558 

 

แสงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" กับเหล่านางอัปสรในยุคดิจิต้อล 

 

แสงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ส่องตรงไปที่เสาซึ่งมีรูปสลักนางอัปสรอยู่ที่โคนเสา

 

แสงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ส่องตรงไปที่ขอบประตูรูปนางอัปสร (Cr ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง) 

 

ในตอนเย็นของวัน "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม และ "ศาทรวิษุวัต" 23 กันยายน

ดวงอาทิตย์จะส่องตรงไปยังภาพสลักของนางอัปสรที่ขอบประตูด้านทิศตะวันตก

 

ผมคำนวณตำแหน่ง "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" (sun overhead) ที่ปราสาทพิมาย และส่งข้อมูลไปให้ท่านอาจารย์จำนงค์ แพงเพ็ง และขอความอนุเคราะห์ให้ถ่ายภาพราววันที่ 11 - 12 สิงหาคม 2559 และเมื่อถึงวันนั้นท่านอาจารย์ก็ส่งภาพนี้มาให้ทาง facebook อนึ่งภาพซ้ายมือเป็น computer graphic ที่ทำขึ้นเพื่อให้ทราบตำแหน่งดวงอาทิตย์ ภาพขวามือเป็นภาพถ่ายจริง

 

 

อีกมุมมองของดวงอาทิตย์ตรงศรีษะที่ปราาทพิมาย

 

ท่านอาจารย์จำนงค์ แพงเพ็ง กำลังเล็งมุมกล้อง และสังเกตว่าฐานปราสาทพิมาย "ไม่มีเงา" เพราะดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับปราสาท

 

                   5. ปราสาทพิมายใหญ่ที่สุดในบรรดาปราสาทขอมจริงหรือ?

                   

                  จากเอกสารของกรมศิลปากรระบุว่าปราสาทพิมายมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปราสาทขอมของประเทศไทย แต่การสำรวจและรังวัดเชิงคณิตศาสตร์โดยทีมงานนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามและเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบว่าปราสาทพิมายมีความยาว 30 เมตร และห้องปรางค์มีขนาด 4.4 m x 4.4 m สูง 28 เมตร ขณะที่ปราสาทภูเพ็กบนยอดภูเขา +520 ม. อำเภอพรรณานิคม สกลนคร ยาว 40 เมตร ห้องปรางค์ 5.5 m x 5.5 m แต่น่าเสียดายว่าสร้างไม่เสร็จ หากเสร็จสมบูรณ์น่าจะสูง 35 เมตร (ใช้วิธีคำนวณเชิงคณิตศาสตร์โดยอ้างอิงสัดส่วนของปราสาทพิมาย) ดังนั้น หากปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จจะมีขนาดใหญ่กว่าปราสาทพิมาย

 

 ปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จแต่ก็มองเห็นความยาวของฐานและขนาดของห้องปรางค์ชัดเจน

 

ทีมงานนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามกำลังวัดขนาดห้องปรางค์ ได้ 5.5 m x 5.5 m

 

วัดความยาวของตัวปราสาทได้ 40 m

 

 

เปรียบเทียบขนาดของปราสาทภูเพ็ก ปราสาทพิมาย และปราสาทพนมรุ้ง

 

 

หากปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จน่าจะสูง 35 เมตร ขณะที่ปราสาทพิมายสูง 28 เมตร 

 

 ทีมงานอุทยานประวัติศาสตร์พิมายกำลังวัดขนาดห้องปรางค์ได้ 4.4 m x 4.4 m

 

 เปรียบเทียบขนาดประตูห้องปรางค์ ปราสาทภูเพ็ก สูง 3.65 m กว้าง 1.84 m ปราสาทพิมาย สูง 2.88 m กว้าง 1.41 m 

 

       ของแถมท้ายบท ลูกเล่นดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ "สุริยะปฏิทินจักรราศี"

          ที่ประตูด้านตะวันออกและตะวันตกของห้อง "ครรภคฤหะ" หรือห้องวิมานของปรางค์ประธาน มีรอยขีดอยู่ที่พื้น (center line) รอยขีดทางทิศตะวันออกชี้ไปที่มุมกวาด 70 องศา (Az 70) และรอยขีดทางทิศตะวันตกชี้ไปที่มุมกวาด 250 องศา (Az 250) ผมเกิดความคิดว่าน่าจะหาของเล่นทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ด้วยการออกแบบ "สุริยะปฏิทินจักรราศี" ใส่แผ่นกระดาษขนาด A-4 เอาไปวางทาบให้ตรงกับรอยขีดที่พื้นประตูด้านทิศตะวันออกและตะวันตก จะได้เส้นนำสายตำไปที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกในราศีนั้นๆ

 

ประตูด้านตะวันออกและตะวันตกของห้องครรภคฤหะ

 

 

รอยขีดที่พื้นประตูทิศตะวันออก

 

 

วางสุริยะปฏิทินจักรราศีให้เส้นสีแดงทาบสนิทกับรอยขีด เส้นสีแดง "ตรงเป๊ะ" กับราศีคนคู่ (Gemini) และราศีสิงห์ (Leo) ที่มุมกวาด 70 องศา (Azimuth 70) ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นการจงใจหรือบังเอิญแต่เมื่อผลออกมาแบบนี้พูดได้คำเดียวว่า "คอมพิวเตอร์ยังเรียกพี่" 

 

รอยขีดที่พื้นประตูทิศตะวันตก

 

 

 

วางสุริยะปฏิทินจักรราศีให้เส้นสีแดงทาบสนิทกับรอยขีด

 

สุริยะปฏิทินจักรราศีด้านทิศตะวันออก ใช้ตำแหน่งของ Sunrise เป็นตัวชี้ว่าวันนี้อยู่ในราศีอะไร

 

ภาพนี้ "ตัดต่อด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์" ให้เห็นว่าถ้าฟ้าเปิดจะเห็นภาพแบบนี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม ราศีคนคู่ (Gemini) และ 23 กรกฏาคม ราศีสิงห์ (Leo)

  

สุริยะปฏิทินจักรราศีด้านทิศตะวันตก ใช้ตำแหน่ง Sunset ชี้ว่าวันนี้เราอยู่ในราศีอะไร

 

ทดสอบใช้สุริยะปฏิทินจักรราศีในเช้าวันที่ 20 มีนาคม 2558 sunrise ตรงกับเส้นแสดง "ราศีเมษ และราศีตุล" ในวันนั้นเราอยู่ในช่วงฤดูแล้งหลังจากฤดูหนาวจึงเป็น "ราศีเมษ" และเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ  

 

       สรุป 

          หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านที่เป็นแฟนคลับมีมุมมองปราสาทหินพิมายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งด้าน นอกจากนี้ผมเชื่อว่าเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดี "ในเชิงบูรณาการ" โดยเอาความรู้ด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ผสมผสานเข้าด้วยกัน ........ นำไปสู่คำถามว่า "ทำไม" เปิดมิติใหม่ๆที่สนุกสนานและตื่นเต้นกับการค้นพบที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวปราสาทหลังนี้ ขณะเดียวกันก็เป็น Gimmick การท่องเที่ยวเปิดประตูสู่อีสานด้วยปราสาทหินพิมาย

           ความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าปราสาทพิมายเป็นข้อประณีประนอมระหว่าง "การเมือง กับความเชื่อ" โดยหันหน้าเข้าหาเมืองหลวงในรูปแบบ "สวามิภักดิ์" ขณะเดียวกันก็ยังคงความเชื่อ "ตำแหน่งเขาพระสุเมรุ" ด้วยการหันท่อโสมสูตรให้ใกล้ทิศเหนือมากที่สุดเท่าที่ทำได้     

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ