ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




มองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ

 

นักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ มองปราสาทขอมในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ

          บทความนี้เป็นผลจากโครงการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถของมัคคุเทศก์อาชีพ หลักสูตร "การสร้างปราสาทขอม ในหลักดาราศาสตร์" จัดโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20 - 24 กันยายน 2557 ผู้เข้าอบรมจำนวน 80 คนมาจากชมรมมัคคุเทศก์อาชีพภาษาต่างๆ การอบรมเริ่มต้นด้วยบรรยายที่โรงแรมทวินทาวเวอร์ และดูงานภาคสนามที่เมืองเก่าอยุธยา พระปรางค์สามยอดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ฟ้าแดดสงยางที่กาฬสินธ์ุ และตบท้ายด้วยการชมปรากฏการณ์ศารทวิษุวัติ (autumanl equinox) ที่ปราสาทภูเพ็กสกลนคร เช้ามืดวันที่ 23 กันยายน 2557 มัคคุเทศก์อาชีพทุกท่านได้รับความรู้ดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทขอม และสามารถนำไปประยุกต์ในการบรรยายแก่นักท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มสีสันและมูลค่าแก่โบราณสถานในสถานที่ต่างๆ 

 

 

ไกด์อาชีพภาษาอังกฤษ Prapaporn Matda เป็นท่านหนึ่งที่นำความรู้ไปใช้ในการทำทัวร์ และยังส่งภาพปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พร้อมกับข้อมูลทางคณิตศาสตร์มาให้ผมราวกับถ่ายทอดสด ทำให้ผมเกิดความรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่ที่นั่นจริงๆ

 

          ผมกับ Guide Prapaporn Matda ปฏิบัติการร่วมกันเหมือนภาพยนต์ The Tomb Raider ที่มีนางเอกของเรื่องชื่อว่า Laura Croft (แสดงโดย Angelina Jolie) โดย Guide Prapaporn หรือ "ไกด์นก" เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการในพื้นที่จริงโดยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการทำทัวร์และส่งภาพกับข้อมูลมาให้ผมทาง Facebook ผมนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่วิเคราะห์ภาพและหาข้อมูลมาประกอบและส่งผลกลับไปให้ไกด์นกทาง Facebook ในระยะเวลาสั้นๆเกือบจะเรียกว่า real-time นี่คือที่มาของสมยานาม "นักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ" มองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ

 

การอบรมเปิดฉากด้วยการบรรยาย "ที่มาของอารยธรรมในแอ่งสกลนครตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน" โดย ดร.สพสันต์ เพชรคำ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระหว่าง 09:00 - 12:00 น. วันที่ 20 กันยายน 2557 ที่โรงแรมทวินทาวเว่อร์ กทม.

 

ผู้เข้ารับการอบรมมาจากชมรมมัคคุเทศก์อาชีพภาษาต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายทั้งสิ้น 150 คน และลงพื้นที่ดูงานภาคสนาม 80 คน

 

ผู้เข้าอบรมถ่ายภาพร่วมกันที่หน้าปราสาทหินพิมาย โคราช เมื่อเช้าวันที่ 22 กันยายน 2557 

 

หลังจากที่ ดร.สพสันต์ เพชรคำ ปูพื้นอารยธรรมเรียบร้อยแล้วก็ส่งไม้ต่อให้ผมเจาะลึกในแง่มุมดาราศาสตร์ในสถานที่จริง ภาพนี้เป็นการบรรยายแบบสดๆที่หน้าวัดชัยวัฒนาราม เมืองเก่าอยุธยา วัดนี้มีความแปลกกว่าวัดอื่นๆในเมืองเก่าเพราะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกของเมือง และหันหน้าไปที่มุม azimuth 70 degree ตรงกับราศี Taurus หรือว่าผู้สร้างคือพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ท่านประสูติในราศีดังกล่าว 

 

ปฏิบัติการระหว่างไกด์นกกับผมครั้งนี้ทำให้สามารถสรุปว่า "ปราสาทขอมในประเทศไทย" แบ่งออกตามลักษณะการวางแปลนเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ที่มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90 degree) ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox) ซึ่งปีหนึ่งมีสองครั้ง กล่าวคือ "วสันตวิษุวัต" (21 March vernal equinox) กับ "ศารทวิษุวัต" ( 23 September autumnal equinox) อนึ่ง ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ตรงกับวันขึ้นปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราชที่อาณาจักรขอมและกรุงสุโขทัยตอนต้นใช้เป็นปฏิทิน จากการสืบค้นผมได้ข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นสถานที่ประกอบพิธี"มูรธาภิเษก" โดยการใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์รดพระเศียรของกษัตริย์ในการขึ้นครองราช หรือ "ราชาภิเษก" ตามคติความเชื่อของพราหมณ์  อนึ่งการทำพิธีราชาภิเษกมีความสำคัญต่อการสร้างอำนาจของกษัตริย์ในการปกครองประชาชน เพราะทำให้กษัตริย์มีฐานะเป็น "สมมุติเทพ" (God King) ผู้คนต้องเคารพยำเกรง ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สร้างอาณาจักรขอมเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกที่ปราสาทบนภูเขาพนมกุเลน และก็มีความเชื่อว่าพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ก็ทรงทำพิธีราชาภิเษกในวัน "วสันตวิษุวัต"

          ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าปราสาทขอมที่หันหน้าเข้าหา "วสันตวิษุวัต" เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญ เช่น "ราชาภิเษก" และพิธีกรรมสำหรับบุคคลชั้นสูงที่เป็นผู้ปกครองเมือง   

 

ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการเราๆท่านๆทราบว่า "กรุงสุโขทัย" เป็นราชธานีแห่งแรกของ "คนไทย" แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในอดีตของการเริ่มต้นสร้างเมืองพบว่าเมืองนี้เป็น "หน้าด่านทางเหนือสุด" ของอาณาจักรขอม หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อาณาจักรอังกอร์" ดังนั้นแบบแปลนการก่อสร้างจึงอิงตามความเชื่อของชาวขอมที่ใช้ปฏิทินมหาศักราชเป็นตัวกำหนดวันสำคัญต่างๆ

 

ผมไปดูสถานที่และเก็บข้อมูลทุกครั้งที่ขับรถไปประชุมราชการที่เชียงใหม่เพราะสุโขทัยเป็นทางผ่าน ตอนนั้นผมยังรับราชการเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร ในช่วงปี 2545 - 2552 

 

ในบทความนี้ใช้ข้อมูลของวัดในสุโขทัย 3 แห่ง คือ วัดพระพายหลวง วัดมหาธาตุ และวัดศรีสวาย เป็นตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า

 

   

วัดพระพายหลวง หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ (equinox) ทำมุมกวาด 90 องศา

 

 

ภาพถ่ายดาวเทียม Google earth และพิกัด GPS แสดงให้เห็นชัดเจนว่าวัดพระพายหลวงหันหน้าตรงเข้าหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox) 

 

หากท่านที่สนใจไปยืนอยู่ที่วัดแห่งนี้ในวันที่ 21 มีนาคม "วสันตวิษุวัต" และ 23 กันยายน "ศารทวิษุวัต" จะเห็นภาพดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับ center ของพระปรางค์ประธาน (ภาพนี้ผมสร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ยังรอให้ท่านที่เเผอิญไปที่นั่นในวันดังกล่าวถ่ายภาพจริงๆส่งมาให้ภายหลัง.......ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ 

 

Computer graphic แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" 

 

"ไกด์นก" (Guide Prapaporn Matda) ลงมือเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ไฮเทค เพื่อยืนยันว่าวัดพระพายหลวงหันหน้าเข้าหา equinox จริงๆ  

 

แบบแปลนของวัดพระพายหลวง

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ก็หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ หรือ equinox 

 

ไกด์นก ยืนยันตำแหน่ง azimuth 90 หรือ equinox ด้วย application GPS ใน Sumsung Galaxy

 

 ภาพถ่ายดาวเทียม Google earth ก็ยืนยันพิกัดของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ว่าหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ equinox 

 

ภาพตัวอย่าง "พิธีราชภิเษก" ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ที่ปราสาทพนมกุเลน ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรขอม

 

2. หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุมกวาดระหว่าง 80 - 85 องศา

          ประเด็นนี้มีผู้คนถามผมมากว่า "ทำไมปราสาทขอมจำนวนหนึ่งจึงต้องหันหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ หันหน้าไปที่มุมกวาดประมาณ 84.5 องศา (azimuth 84.5 degree) เรื่องนี้ผมเขียนบทความไว้เรียบร้อยแล้วในเว้ปเดียวกันนี้ "ไขปริศนาพนมรุ้ง" http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538667652 อย่างไรก็ตามจะขออธิบายอีกครั้งว่าเกิดจาก "การแกว่งของแกนโลก" ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า Precession of vernal equinox ทำให้ราศีเมษ (Zodiac Aries) ที่เคยอยู่ในตำแหน่งตรงกับดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เมื่อย้อนกลับไปดูท้องฟ้าเมื่อราวๆสองถึงสามพันปีที่แล้ว ระหว่าง 2220 BC - 60 BC ซึ่งเป็นยุคที่วิชาโหราศาสตร์เดินคู่ขนานกับวิชาดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตกับ "ราศีเมษ" อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน

          กาลเวลาผ่านไปเหมือนติดปีกบินและมาถึง AD 800 - AD 1200 เป็นช่วงที่อาณาจักรขอมกำลังรุ่งเรืองดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตขยับมาอยู่ใน "ราศีมีน" (Zodiac Pisces) และราศีเมษหนีไปอยู่ที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านพราหมณ์จึงจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกระหว่างตำแหน่งวสันตวิษุวัต หรือตำแหน่งราศีเมษ อนึ่งทางโหราศาสตร์ในราชสำนักขอมถือว่าวันที่ดวงอาทิตย์เริ่มเคลื่อนตัวเข้าเรือนของราศีเมษให้ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราช ขณะเดียวกันปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตก็เป็นสิ่งที่เชื่อถือกันมาแต่เดิมและเห็นได้ในเชิงประจักษ์ ท่านพราหมณ์จึงจำเป็นต้องแบ่งความเชื่อออกเป็นสองส่วนซึ่งเอาทั้ง "วสันตวิษุวัต" และ "ราศีเมษ" เข้าตำรารักพี่เสียดายน้อง ดังนั้น เราๆท่านๆจึงเห็นปราสาทขอมส่วนหนึ่งหันหน้าตรงไปที่ตำแหน่งวสันตวิษุวัต (ทิศตะวันออกแท้ 90 องศา) และอีกส่วนหนึ่งหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ราวๆมุมกวาด 80 - 85 องศา จากการสังเกตของผมปราสาทขอมที่เมือง Siem Reap ส่วนใหญ่หันหน้าไปที่ 90 องศา มีเพียงส่วนน้อย เช่น ปราสาท Banteay Kdei หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ปราสาทขอมในประเทศไทยจำนวนมากหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

วัดมหาธาตุที่เมืองเก่าสุโขทัย หันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

 

การหันหน้าไปที่มุมกวาด (azimuth 81) ก็เพื่อให้วัดมหาธาตุตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตญ์ในราศีเมษ (Aries) 

 

ผมได้คำนวณวันที่เหมาะสมแก่การถ่ายรูปดวงอาทิตย์ที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นเสน่ห์ในการท่องเที่ยว 

 

ปราสาทพนมรุ้ง เป็นจุดขายที่เรื่องลือถึงปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ลอดประตู 15 ช่อง ในราวต้นเดือนเมษายน และต้นเดือนกันยายน ก็เพราะหันหน้าไปที่มุมกวาด หรือ azimuth 84.5 องศา 

 

ผมไปที่ปราสาทพนมรุ้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 ก็ยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปที่ตำแหน่งประมาณ 84.5 องศา จริงๆ

 

ภาพถ่ายอันสวยงามของดวงอาทิตย์ขึ้นที่ปราสาทพนมรุ้ง

 

 

ผมทำข้อมูลอธิบายการหันหน้าของปราสาทพนมรุ้งเป็นภาษาอังกฤษ มีสาระเดียวกันกับที่เขียนไว้ข้างต้นของบทความนี้

 

แกนของโลกไม่ได้อยู่ที่ 23.5 องศาเสมอไป แต่แกว่งไปแกว่งมาระหว่าง 21 - 24 องศา ด้วยเหตุผลทางฟิสิกซ์ดาราศาสตร์ที่ว่าด้วย Precession of vernal equinox ดังนั้นอีกราวหมื่นปีข้างหน้าแกนของโลกจะชี้ไปที่ดาว Vega และจะเป็นดาวเหนือของเราๆท่านๆในตอนนั้น

 

การที่แกนโลกแกว่งยังผลให้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีต่างๆเปลี่ยนไป ทุกๆ 2,160 ปี และจะกลับมาครบรอบที่ราศีเดิมอีกครั้งในเวลา 26,000 ปี ข้างหน้า ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า The Great Year หรือ Metonic Cycle  

   

 

ไดอะแกรมแสดงการเคลื่อนตัวของราศีทุกๆ 2,160 ปี  จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตที่ตรงกับ "ราศีเมษ" (Aries) อยู่ในช่วง 2220 BC - 60 BC และปัจจุบัน 60 BC - 2100 AD ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตกำลังอยู่ในราศีมีน (Pisces) และกำลังจะเคลื่อนเข้าหาราศี "คนแบกหม้อน้ำ" (Aquarius) ในอีก 85 ปีข้างหน้า นับจาก ADS 2015

  

 

แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" เมื่อ 2220 BC - 60 BC ตรงกัยราศีเมษ (Aries) 

 

 

 ต่อมาในยุคขอมเรืองอำนาจ ระหว่าง AD 800 -  AD 1200 ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตเปลี่ยนมาตรงกับราศีมีน (Pisces) ส่วนราศีเมษ (Aries) หนีไปอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 

 

 3. หันหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 

          ปราสาทขอมที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศไทยและก็มีคำถามว่า "ทำไมต้องหันหน้าไปทางทิศนี้" เพราะไม่อยู่ในสาระบบของดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ ในความเห็นส่วนตัวของผมเชื่อว่าปราสาทขอมที่หันหน้าแบบนี้จะต้องอยู่ที่หัวเมืองสำคัญๆในดินแดนที่ห่างไกลจากเมืองหลวงของอาณาจักรขอม (นครอังกอร์) การหันหน้าไปทางทิศนี้ก็เพื่อให้ชี้ไปที่เมืองหลวงเป็นเชิงสัญลักษณ์ให้ผู้คนที่เมืองนั้นๆตระหนักว่าเมืองหลวงอยู่ทางทิศดังกล่าว อันเป็นกุสโลบายทางการเมือง เท่าที่สำรวจได้ในปัจจุบันพบว่าปราสาทขอมหรือวัดที่สร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ และหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มี 3 แห่ง ได้แก่  

            1. ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปที่มุมกวาด 160 องศา (azimuth 160) ผิดจากพิกัดเมืองหลวง Angkor ไปทางทิศตะวันตก

 

 

          2. วัดศรีสวาย ที่เมืองเก่สุโขทัย หันหน้าไปที่มุมกวาด 170 องศา (azimuth 170) ผิดตำแหน่งเมืองหลวงมากกว่าปราสาทพิมาย เกือบจะลงอ่าวไทย

 

 

 

                    3. แห่งนี้ซิครับทีเด็ดเพราะหันหน้าไปที่มุมกวาด 135 องศา (azimuth 135) ตรงกับเมืองหลวง Angkor เป๊ะเลย ได้แก่ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว และวัดนางพญา ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ผมไม่ทราบว่าบรรพชนท่านเหล่านั้นคำนวณอย่างไรผลจึงออกมาแม่นยำเช่นนี้ บางท่านอาจจะตั้งข้อกังขาว่า "ออกแบบผิดหรือเปล่าเนี่ย" เพราะปราสาทขอมจะต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ไม่มีหรอกที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แบบนี้ ผมมีเหตุผลยืนยัน ดังนี้ครับ

          3.1 ผู้ออกแบบเป็นพราหมณ์ในราชสำนักคร่ำหวอดกับวิชาดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ระดับชั้นพระกาฬ ไม่มีทางที่จะออกแบบให้ปราสาทหันผิดทิศ ท่านเหล่านั้น "จงใจออกแบบให้หันหน้าไปทางนครหลวงอังกอร์" ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่านั่นคือ "ราชธานี" ของพวกเราทั้งหลายที่ตั้งเมืองอยู่ที่นี่ แต่การจะคำนวณทิศทางให้แม่นยำขนาดไหนก็สุดแท้แต่ฝีมือของผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พูดถึงเทคโนโลยีเรื่องการแผนที่ในยุคขอมเรืองอำนาจก็มีแต่ "ดาวเหนือ" ดวงเดียวเท่านั้นที่บอกได้ว่าใครอยู่ทิศเหนือและใครอยู่ทิศใต้โดยพิจารณาจากค่าความต่างของมุมเงยดาวเหนือ ณ สถานที่ดังกล่าว แต่ส่วนจะคำนวณระยะห่างหรือทิศทางในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกละก้อยังหาวิธีการไม่พบ สมัยปัจจุบันผมเอาเปรียบท่านพราหมณ์ในราชสำนักขอมอย่างมากเพราะผมเล่นใช้แผนที่ดาวเทียม Google Earth และอุปกรณ์ GPS จาก Smart Phone ดังนั้นการจะออกแบบให้ปราสาทที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงเป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร หันหน้าได้ตรงกับนครหลวงอังกอร์แบบตรงเป๊ะย่อมเป็นสิ่งที่ยากส์แสนยากส์ 

          3.2 ผมเก็บข้อมูลปราสาทขอม 34 หลัง กับมือตัวเองที่เมือง Siem Reap ซึ่งเคยเป็นราชธานีอังกอร์ พบว่า 28 หลัง หันหน้าไปที่ตำแหน่ง 90 องศา หรือ equinox ส่วนอีก 4 หลัง หันหน้าไปที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ราศีเมษ ได้แก่ Prasat Banteay Kdei, Prasat Banteay Samrei และ Prasat Prei และ Banteay Chmar

                    อีก 4 หลัง "ปราสาทนครวัด" หันหน้าไปทางทิศตะวันตกแต่ก็ทำมุมเป็น equinox เช่นเดียวกับ "ปราสาทพระวิหาร และปราสาทพระพิลัย" หันหน้าไปทางทิศเหนือแต่แปลนของปราสาทก็ทำมุมเป็น equinox มีปราสาทหลังเดียวคือ Banteay Top ที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยทางด้านจังหวัดสระแก้ว หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุมกวาด 98 องศา 

           ผมยังไม่พบและไม่เคยได้ยินข้อมูลว่าปราสาทขอมที่เมือง Siem Reap ซึ่งเป็น Royal City of Angkor หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะที่นั่นเป็น "ราชธานีอยู่แล้ว" จะให้ปราสาทของเขาหันไปหาใครที่ไหนอีกละ

           อย่างไรก็ตามปราสาท Banteay Top เป็นปราสาทหลังเดียวในประเทศกัมพูชาที่หันหน้าไปหานครหลวงอังกอร์ด้วยมุมกวาด 98 องศา ปราสาทหลังนี้อยู่ห่างจากปราสาท Bayon ในเมือง Siem Reap ออกไปทางตะวันตกราว 102 กิโลเมตร ใกล้ๆกับชายแดนประเทศไทยที่จังหวัดสระแก้ว ก็ยิ่งยืนให้เห็นว่า "หัวเมืองลูกที่อยู่ห่างไกล" จะต้องมีปราสาทที่หันหน้าเข้าหานครหลวงอังกอร์

           ส่วนปราสาท "ตาเมือนธม" ที่อยู่ติดชายแดนไทยกับกัมพูชาที่จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากปราสาท Bayon ในนครธมประมาณ 119 กิโลเมตร ก็หันหน้าเข้าหานครหลวงอังกอร์ด้วยมุมกวาด 170 องศา เหมือนกับวัดศรีสวาย ที่สุโขทัย อนึ่ง ปราสาทตาเมือนธมยังมีปัญหาการครอบครองเพราะทางการของกัมพูชาก็ส่งทหารเข้ามาตั้งค่ายอยู่ด้านหน้าปราสาทจ่อหัวกับกองกำลังของทหารไทย   

 

วัดช้างล้อม ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 135 องศา (azimuth 135) 

 

GPS แสดงการหันหน้าของวัดช้างล้อมที่ Az 135

 

 

วัด 4 แห่งที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรัสัชนาลัย ได้แก่วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว และวัดนางพญา เรียงตัวกันเป็นเส้นตรงและหันหน้าไปที่มุมกวาด 135 องศา เพื่อให้ตรงกับปราสาทบายนใจกลางนครธม ราชธานีของอาณาจักรขอม ปัจจุบันเป็นเมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา

 

 

วัดทั้ง 4 แห่ง เรียงตัวเป็นเส้นตรงและชี้ไปที่ปราสาทบายน ในใจกลางนครธม เมือง Siem Reap Cambodia

 

วัดอาวาสใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 108 องศา

 

วัดจุฬามณี ที่จังหวัดพิษณุโลก ก็เป็นอีกแห่งที่หันหน้าเข้าหาทิศตะวันนออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 110 องศา (azimuth 110) แต่พลาดเป้านครหลวงอังกอร์ไปทางเหนือ (ผมตรวจสอบข้อมูลนี้ทางภาพถ่ายดาวเทียม กำลังจะหาวิธียืนยันจากข้อมูลภาคพื้นดินจากไกด์ที่ไปทำทัวร์แถวนั้น หากไกด์ท่านใดผ่านไปที่วัดนี้ก็โปรดเก็บข้อมูลให้ด้วยครับ)  

 

หลังจากที่ผมเขียนบทความนี้เสร็จไม่กี่วัน ไกด์นกมีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558) ก็แวะไปเก็บข้อมูลที่วัดจุฬามณีและยืนยันว่าหันหน้าที่ Az 110 จริงๆ

 

 

ไกด์นก Prapaporn Matda ผู้หญิงเก่งคนนี้ลุยได้ทุกที่และมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ GPS and Compass 

 

ปราสาทตาเมือนธม ที่จังหวัดสุรินทร์ติดชายแดนไทยกัมพูชา และวัดศรีสวาย ที่สุโขทัย ต่างก็หันหน้าเข้าหานครหลวงอังกอร์ด้วยมุมกวาด 170 องศา (Az 170) 

 

ปราสาทบันเตย ท้อป (Banteay Top) หันหน้าเข้าหานครหลวงอังกอร์ด้สยมุมกวาด 98 องศา สร้างในสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น เดียวกับปราสาท Banteay Chmar ที่อยู่ใกล้ๆกัน ปราสาทหลังนี้อยู่จังหวัดบันเตย มินเจย ใกล้ชายแดนไทยด้านจังหวัดสระแก้ว ห่างจากปราสาทบายนในนครหลวงอังกอร์ราว 128 กิโลเมตร   

วิเคราะห์

 

           ปราสาทขอมในประเทศไทยจำแนกตามลักษณะการวางแปลนหันหน้าได้ 3 ประเภท โดยมีเหตุผลตามความเชื่อของ "กษัตริย์สมมุติเทพ" (God King) ซึ่งจะต้องประกอบพิธี "ราชภิเษก" ในวัน "วสันตวิษุวัต" หรือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวเข้าสู่ราศีเมษ และอีกประการหนึ่งก็มีปราสาทบางหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่าเป็นเมืองลูกของราชธานีอังกอร์ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างปราสาทและโบราณสถานที่มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลขอม จำนวน 50 หลัง ได้ข้อมูลว่า  

          1.หันหน้าตรงเข้าหาทิศตะวันออกแท้ azimuth 90 หรือ equinox มีจำนวน 16 หลัง (32%)

          2. หันหน้าเข้าหาราศีเมษ ที่มุมกวาดระหว่าง 80 - 85 องศา (azimuth 80 - 85) จำนวน 20 หลัง        (40%)

          3. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ชี้ไปที่นครหลวงอังกอร์ ปัจจุบันคือเมือง Siem Reap

              ประเทศกัมพูชา จำนวน 14 หลัง (28%) 

          จากข้อมูลในตารางจำแนกลักษณะการหันทิศทางของปราสาทขอมและโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลขอมในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ทำให้มีข้อที่น่าวิเคราะห์ ดังนี้

           1. ปราสาทที่อยู่ในเมืองหลวงอังกอร์ (Siem Reap) ส่วนใหญ่ 78% หันหน้าที่ตำแหน่ง equinox แต่ปราสาทและโบราณสถานในประเทศไทยหันหน้า equinox เพียง 32% แสดงว่าปราสาทที่อยู่ในเมืองหลวงยังคงยึดหลักเกณฑ์ equinox เป็นเรื่องสำคัญ และยังคงยึดมั่นในปฏิทินมหาศักราชที่กำหนดให้ ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) เป็นวันปีใหม่ 

          2. เมื่อมาถึงประเด็นของการหันหน้าเข้าหาราศีเมษ (Aries) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุมกวาด 80 - 85 องศา พบว่าปราสาทที่เมือง Siem Reap มีเพียง 11% ขณะที่ปราสาทในประเทศไทยมีมากถึง 40% ก็น่าจะมีเหตุผลว่าผู้ปกครองในหัวเมืองที่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีความคิดและความเชื่อที่แตกต่าง และให้ความเชื่อถือราศีเมษมากกว่า ความเชื่อนี้นำไปสู่การกำหนดวันปีใหม่ที่ไม่ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) นั่นก็คือวันมหาสงกรานต์ที่อยู่กลางเดือนเมษายน และมีข้อน่าสังเกตุเพิ่มเติมอีกว่าบรรดาปราสาทขอมในประเทศไทยที่หันหน้าเข้าหาราศีเมษอาจจะเป็นต้นแบบของวัดต่างๆในกรุงศรีอยุธยา 

          3. ปราสาทขอมที่หันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ตรงกับนครหลวงอังกอร์ ในประเทศไทยมี 28% ส่วนในตัวเมือง Siem Reap ไม่มีปราสาทหลังใดหันหน้าในทิศดังกล่าว มีเพียงปราสาท Banteay Top ที่อยู่ห่างเมือง Siem Reap ไปทางทิศตะวันตกราวๆ 100 กว่ากิโลเมตร ใกล้ชายแดนไทยด้านจังหวัดสระแก้ว แสดงว่าหัวเมืองสำคัญที่อยู่ห่างออกไปต้องมีปราสาทหลังใดหลังหนึ่งหันหน้าไปทางนครหลวงอังกอร์เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ในเชิงสัญลักษณ์ ส่วนปราสาททุกหลังในเมืองอังกอร์ (Siem Reap) ก็ไม่ต้องหันไปหาใครที่ไหนเพราะเขาอยู่ในเมืองหลวง  

 

ภาพบนปราสาทขอมหันหน้าเข้าหา equinox ภาพล่างหันหน้าเข้าหาราศีเมษ (Aries)    

         

          อนึ่ง มีข้อสังเกตว่าอาณาจักรขอมมักจะแต่งตั้งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ เช่น ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และพิมาย และมีการสร้างปราสาทหลังใดหลังหนึ่งให้หันหน้าไปที่นครหลวงอังกอร์ แต่การให้เจ้านายไปเป็นเจ้าเมืองที่ห่างไกลก็กลายเป็นดาบสองคม เพราะถึงจุดหนึ่งบุคคลนั้นๆหรือลูกหลานที่ขึ้นมาเป็นใหญ่มักมีความคิดในลักษณะ "ดังแล้วต้องแยกวง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงตอนที่เมืองหลวงเกิดภาวะ "ขาลง" พฤติกรรมเช่นนี้เลยกลายมาเป็นมรดกทาง ดีเอ็นเอ ให้แก่คนยุคปัจจุบัน เราๆท่านๆจะได้ยินได้ฟังบ่อยๆว่าผู้ที่ล้มล้างอำนาจก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอก "ก็เด็กที่เราเลี้ยงมาตั้งแต่อ้อมแต่ออก หรือไม่ก็คนที่เห็นหน้ากันแทบทุกวันนั่นแหละ" รู้ยังงี้เอาขี้เถ้ายัดปากตั้งแต่ยังนอนแบเบาะซะดีกว่า.........ช่างเป็นสัจธรรมที่พุทธองค์กล่าวไว้ชัดเจนว่า.........มีอำนาจเดี๋ยวก็เสื่อม ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน........สาธุ 

บัญชีรายชื่อปราสาทและโบราณสถานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย 50 หลัง

กลุ่มที่ 1 หันหน้าเข้าหาตำแหน่ง equinox จำนวน 16 หลัง (32%)

ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร, ปราสาทนารายณ์เจงเวง สกลนคร, ปราสาทบ้านพันนา สกลนคร, ปราสาทเมืองสิงห์ ร้อยเอ็ด, ปราสาทวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี, วัดพระพายหลวง สุโขทัย, วัดตระพังทอง สุโขทัย, วัดศรีรัตตนมหาธาตุเฉลียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย, วัดมะกอก และวัดพระนอน กำแพงเพชร, กู่กาสิงห์ ร้อยเอ็ด, ปราสาทสะด้อกก๊อกธม สระแก้ว, วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่, ปราสาทศรีขรภูมิ สุรินทร์, ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ศรีษะเกศ และปราสาทภูมิโปน ที่สุรินทร์

กลุ่มที่ 2 หันหน้าเข้าหา "ราศีเมษ" จำนวน 20 หลัง (40%)

ปราสาทตาเมือน สุรินทร์, ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ บุรีรัมย์, ปราสาทพนมวัน โคราช, พระธาตุเชิงชุม และพระธาตุดุม สกลนคร, ปราสาทนางรำ โคราช, วัดมหาธาตุ ราชบุรี, วัดมหาธาตุ และวัดสระศรี สุโขทัย, วัดริมทาง วัดกำแพงงาม และวัดพระศรีอริยบท กำแพงเพชร, ปราสาทเปือยน้อย ขอนแก่น, ปราสาทเมืองเก่า ปราสาทบ้านปราสาท ปรางค์บ้านสีดา กู่สวนแตง ปรางค์พร โคราช, กู่ประภาชัย ขอนแก่น  

กลุ่มที่ 3 หันหน้าไปทางนครหลวงอังกอร์ จำนวน 14 หลัง (28%)

ปรางค์สามยอด และปรางค์แขก สพบุรี, ปราสาทตาเมือนธม บนภูเขาที่ชายแดนไทยกัมพูชาที่สุรินทร์, ปราสาทหินพิมาย โคราช, วัดศรีสวาย สุโขทัย, วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว วัดนางพญา ที่อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย สุโขทัย วัดทั้ง 4 แห่งเรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้ตรงไปยัง "ปราสาทบายน" ที่อยู่ห่างประมาณ 600 กิโลเมตร อย่างแม่นยำ 100 % ที่มุมกวาด 135 องศา (azimuth 135), วัดมะไฟ และวัดอาวาสใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, วัดจามเทวี วัดมหาวัน และวัดพระธาตุหริภุณไชย ลำพูน  

บัญชีรายชื่อปราสาทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในประเทศกัมพูชา  36 หลัง

กลุ่มที่ 1 หันหน้าเข้าหาตำแหน่ง equinox จำนวน 28 หลัง (78%)

West Mebon, Preah Khan, Krol Ko, Neak Pean, Ta Som, Tep Pranam, Preah Phitu, Phimean Arkas, Bapoun, Bayon, Tha Keow, Tha Phrom, East Mebon, Pre Rup, Bat Chum, Krawan, Banteay Srei, Ta Phrom Kel, Phanom Bakeng, Baksei Chumkrong, Preah Ko, Bakong, Rolei, Angkot Thom, Chow Say Tevada, Chow Say Vibol, Phnom krom, Prei Montri

กลุ่มที่ 2 หันหน้าเข้าหาราศีเมษ จำนวน 4 หลัง 

Banteay Prei, Banteay Kdei, Banteay Samrei, Banteay Chmar (11%) 

กลุ่ที่ 3 หันหน้าในทิศทางอื่น จำนวน 4 หลัง (11%) 

Preah Palilay หันหน้าไปทางทิศเหนือ, Angkor Wat หันหน้าไปทางทิศตะวันตก, Phra Viher หันหน้าไปทางทิศเหนือ, แต่ทั้งสามปราสาทก็มีผังแปลนที่ทำมุมตรงกับ equinox ในทางใดทางหนึ่ง เช่น Angkor Wat ปรากฏการณ์ equinox ตรงกับประตูด้านทิศตะวันออก (ซึ่งเป็นประตูหลัง)   

Banteay Top หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ตรงกับนครหลวงอังกอร์ เพราะเป็นปราสาทที่ไม่ได้อยู่ในเมืองหลวงอังกอร์ แต่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก 102 กิโลเมตร ใกล้ชายแดนไทยที่จังหวัดสระแก้ว   

 สรุป

การสร้างปราสาทขอม หรือโบราณสถานที่ดัดแปลงและก่อสร้างขึ้นใหม่จากฐานรากเดิมของปราสาทขอม แสดงถึง "นัยสำคัญ" อย่างใดอย่างหนึ่งในทางความเชื่อ ศาสนาและการเมือง เนื่องจากชาวขอมมีการปกครองโดยกษัตริย์สมมุติเทพและมีศูนย์รวมอำนาจที่เมืองหลวง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ