ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก

 

ปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก ด้วยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 - 22 ธันวาคม 

Operation Janus measuring earth's tilt on winter solstice 21 - 22 Dec 

 

เราๆท่านๆที่เรียนจบชั้นมัธยมคงทราบว่าโลกกลมๆของเราใบนี้หมุนรอบตัวเองด้วยแกนที่เอียงประมาณ 23.5 องศาจากแนวดิ่ง ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์บนผิวโลกในแต่ละวันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็นเหตุให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรของมุมดวงอาทิตย์ เราจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ฤดูกาล" หากตั้งคำถามว่าเอาละเราทราบดีว่าแกนของโลกทำมุมเอียง 23.5 องศา เราจะมีวิธีพิสูจน์ด้วยตนเองอย่างไรให้รู้ว่าเจ้าตัวเลข 23.5 องศา นี่มันถูกต้องหรือไม่ ในฐานะ "นักพิภพวิทยา" ผมมีคำตอบให้ครับและยืนยันว่า "เล่นไม่ยาก" เด็กมัธยมก็ทำได้โดยใช้อุปกรณ์พื้นบ้านลงทุนไม่เกิน 100 บาท

........ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีที่เคารพครับ เชิญพบกับ...... ปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลกด้วยอุปกรณ์ผลิตเองที่บ้าน บวกกับความรู้ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และตาดูหูฟัง .......  

 

 

ทำไมต้องตั้งชื่อปฏิบัติการนี้ว่า "เจนัส" ?

         เมื่อ 713 ปีก่อนคริตกาล จักรพรรดิ์โรมันชื่อ “นูม่า ปอมปีเลียส”(Numa pompilius) สร้างปฏิทินขึ้นมาให้ชาวโรมันได้ใช้กัน โดยกำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับ 1 มกราคม และมีทั้งหมด 12 เดือน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวโรมันสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์ในฤดูหนาวคล้อยต่ำลงไปเรื่อยๆทางทิศใต้ ขณะเดียวกันกลางคืนยาวก็ขึ้นเรื่อยๆ (ความจริงคือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ “เหมายัน” หรือ Winter solstice กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ตรงกับปฏิทินปัจจุบันวันที่ 21 ธันวาคม) พวกเขาเกิดความกลัวว่าดวงอาทิตย์จะลาลับไปทำให้โลกมืดตลอดกาล จึงต้องไปพึ่งเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าที่ชื่อ “เจนัส” (God Janus)เทพเจ้าองค์นี้ถือกุญแจไขท้องฟ้า ผลจากการบนบานศาลกล่าวประมาณ 10 วัน ดวงอาทิตย์เริ่มขยับตัวเคลื่อนกลับมาทางทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง พวกเขาดีใจมากและเชื่อว่านี่คือผลงานของเทพเจ้าเจนัส จึงตั้งให้วันนี้เป็นวันแรกของปี คือ 1 January มาจากรากศัพท์ Janus นับแต่นั้นเรื่อยมาวันที่ มกราคมจึงเป็นปีใหม่ในปฏิทินโรมัน (อนึ่งหากท่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปชมในบทความ "ทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม" ในคอลั่มเปิดโลกวิทยาศาสตร์เว้ปไซด์เดียวกันนี้) ดังนั้น ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" หรือ Winter solstice จึงมีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าเจนัสของชาวโรมัน ผมจึงเอาชื่อนี้มาใช้ในปฏิบัติการวัดมุมเอียงของโลก  

 

 

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" (Winter solstice)

 

 โลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง และไปในทิศทางตรงข้ามกับเข็มนาฬิกา

 

 

 

           การเอียงของโลกทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ในแต่ละวันเปลี่ยนไป การสะสมพลังงานความร้อนที่บริเวณผิวโลกก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ทำให้เกิดภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เราจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ฤดูกาล" ในรอบหนึ่งปีเรามีปรากฏการดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลสำคัญ 4 ครั้ง ได้แก่

1. "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิต ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร (Equator) 

2. "ครีษมายัน" (Summer solstice) กลางวันยาวที่สุดในรอบปี เป็นฤดูร้อน ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ หรือเส้น Tropic of Cancer

3. "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนอีกครั้งหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 23 กันยายน ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร

4. "เหมายัน" ออกเสียง เห- มา-ยัน (Winter solstice) กลางวันสั้นที่สุด กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี เป็นฤดูหนาวตรงกับวันที่ 21 - 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ (Tropic of Capricorn)

ท่านที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับ "เหมายัน" (winter solstice) เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปชมได้ในบทความ "ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เหมายัน ที่ปราสาทภูเพ็ก 21 - 22 ธันวาคม" ในคอลั่มสากกะเบือยันเรือรบของปราสาทภูเพ็ก เว้ปไซด์เดียวกันนี้  

ปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) วันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2557

 

แน่ละครับนักเรียนมัธยมทั่วไปก็ทราบดีว่าโลกของเรานี้เอียง 23.5 องศา แต่การจะพิสูจน์ด้วยตนเองมันเป็นการท้าทายอีกระดับหนึ่ง

 

ผมได้พิสูจน์สูตรการคำนวณและสร้างเป็นสมการไว้เรียบร้อยแล้วดังนี้

Earth's tilt

= Angle of incidence at solar noon on winter solstice (21 - 22 Dec) - Angle of local latitude

   หรือ t = c - a

   

 

ขั้นตอนที่ 1

ค้นหาองศาของเส้นรุ้ง ณ จุดปฏิบัติการ สมมุติว่าจุดดังกล่าวอยู่ที่ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ก็ต้องค้นหาว่า ณ ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่ในเส้นรุ้งเท่าไหร่ ผมมีสองวิธีครับ

วิธีแรก

รอให้ถึงวันที่โลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน แล้ววัดมุม angle of incidence เวลา solar noon มุมดังกล่าวจะเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง ณ ปราสาทภูเพ็ก

 

 

การพิสูจน์สูตรว่า angle of incidence at solar noon on equinox = angle of the local latitude

 

ผมกำลังวัดมุม Angle of incidence at solar noon ในวันที่ 21 March 2012 ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

 

ผลการคำนวน Angle of incidence at solar noon ในวัน vernal equinox ที่ปราสาทภูเพ็ก ได้ผลลัพท์เท่ากับ 17 องศา 

 

 

 

Solar noon หรือเที่ยงสุริยะ เป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ทำมุมตรงกับทิศเหนือแท้ ณ สถานที่นั้นๆ ในภาพจะเห็นว่าเงา และภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์อยู่ตรงกับเส้นทิศเหนือ (N) ของนาฬิกาแดด

 

วิธีที่สอง

ใช้ตำแหน่ง "มุมเงย" (altitude of the north star) ดาวเหนือเป็นตัวชี้องศาของเส้นรุ้ง ในที่นี้ผมพบว่ามุมเงยของดาวเหนือ ณ ปราสาทภูเพ็กเท่ากับประมาณ 17 องศา ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลของวิธีแรก 

 

มุมเงยของดาวเหนือเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง ณ สถานที่นั้นๆ การค้นหาดาวเหนือสามารถใช้กลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) และกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นเครื่องชี้นำสายตา 

 

การพิสูจน์ด้วยวิธีเราคณิตว่ามุมเงยของดาวเหนือเท่ากับองศาสของเส้นรุ้ง ณ สถานที่นั้นๆ

 

 

อุปกรณ์การค้นหาตำแหน่งดาวเหนือแบบง่ายๆ ที่ผมทำขึ้นเองโดยหยิบของที่มีอยู่ในบ้านมาประกอบเข้าด้วยกัน

 

ขั้นตอนที่ 2 

คำนวณหา angle of incidence at solar noon on winter solstice 21 - 22 Dec โดยใช้นาฬิกาแดด ในที่นี้ผมได้ค่าของมุม = 40.36 องศา (A = 40.36) 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 3

เอามุม angle of incidence ที่ได้จากขั้นตอนทั้งสองมาลบกัน จะได้องศาของมุมเอียงของโลก

 

 

มุม c หรือ A = 40.36 และองศาของเส้นรุ้ง = 17

40.36 - 17 = 23.36 องศา นี่คือมุมเอียงของโลก แต่ในความเป็นจริงมุมเอียงของโลกตามข้อมูลขององค์การ NASA แห่งสหรัฐอเมริกา เท่ากับ 23.439281 องศา ก็ถือว่า "สูสี" ครับ เพราะผมคำนวณด้วยอุปกรณ์พื้นบ้านย่อมแม่นยำไม่เท่ากับการใช้ดาวเทียมและคอมพิวเตอร์ไฮเทคของ NASA แต่นี่เป็นการพิสูจน์ด้วยองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการเรียนของเด็กๆให้สมกับนโยบายที่ต้องการให้เด็กๆไทยของลูกหลานของเราๆท่านๆ "คิดเป็นทำเป็น"  

ปราสาทภูเพ็กกับการท่องเที่ยวเชิง "ดาราศาสตร์" ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" วันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2557 (winter solstice 21 - 22 Dec 2014)

ผู้เข้าร่วมชม "ปฏิบัติการเจนัส" ยังได้ของแถมในการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ โดยจะได้ชมภาพอันสวยงามบนท้องฟ้าที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก ดังนี้

 

ดวงอาทิตย์ตกในฤดูหนาวมองจากปราสาทภูเพ็ก 

 

ปราสาทภูเพ็กยามเย็นในฤดูหนาว

 

เย็นวันที่ 21 ธันวาคม 2557 ดวงอาทิตย์ตกที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 245 องศา (Azimuth 245 ) ตรงตามสัญลักษณ์บนแท่งหินที่เสมือน "สุริยะปฏิทิน"

 

 

 เย็นวันที่ 21 ธันวาคม 2557 ขณะที่ดวงอาทิตย์หย่อนตัวลงขอบฟ้าจะปรากฏดาวเคาระห์สองดวงคือ ดาวเพ็ก หรือดาวศุกร์ (Venus) และดาวพุธ (Mercury) 

 

 หัวค่ำเวลา 20:00 นาฬิกา กลุ่มดาวฤกษ์ที่สวยงาม ดาวนายพราน (Orion) และดาวสุนัขใหญ่ (Canis Major) จะปรากฏหน้าประตูปราสาทภูเพ็ก

 

 ดาวนายพราน (Orion) และดาวสุนัขใหญ่ (Canis Major) มีเรื่องเล่าขานมากมายที่เชื่อมโยงกับดาวแมงป่อง (Scorpio) ตลอดจนเรื่องราวของดาวโจรในนิยายกามนิตและวาสิฏฐี

 

ตกดึกดาวพฤหัส (Jupiter) ขึ้นเด่นเป็นสง่าในราศีสิงห์ (Zodiac Leo) 

 

 เช้ามืดวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ดาวแมงป่อง (Zodiac Scorpio) ขึ้นที่หน้าปราสาทภูเพ็ก สอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่าทำไมดาวนายพรานกับดาวแมงป่องต้องอยู่คนละฟากฟ้าและไม่มีโอกาสเห็นกัน

 

 

ดวงอาทิตย์ยามเช้า 22 ธันวาคม 2547 ขึ้นตรงกับสัญลักษณ์ของสุริยะปฏิทิน ปราสาทภูเพ็ก

 

บรรยากาศยามเช้าของปรากฏการณ์ "เหมายัน" ที่ปราสาทภูเพ็ก

 

อีกมุมของปรากฏการณ์ "เหมายัน" ผ่านประตูปราสาทภูเพ็ก

 

 โปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 115 องศา (Azimuth 115) 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ