ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง

 

ไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ..... ในอีกมุมมอง

 

         

               พระธาตุเชิงชุมในปัจจุบันเป็นพุทธสถานที่สำคัญของชาวสกลนคร และเป็นตราประจำจังหวัด ประวัติความเป็นมาที่เราๆท่านๆรับทราบอย่างกว้างขวางเป็นตำนานชื่อว่า "อุรังคนินทาน" เอาเค้าเรื่องมาจากยุคขอมเรืองอำนาจโดยตัวเอกของเรื่องมีนามว่า "พระยาสุวรรณภิงคาร" เป็นบุตรของ "พระยาสุรอุทก" ส่วนชื่อพระธาตุเชิงชุมก็มาจากความเชื่อตามตำนานว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ประชุมประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์และกำลังรอให้องค์ที่ห้ามาประทับในอนาคต ท่านที่สนใจรายละเอียดของตำนานก็สามารถหาอ่านได้ตามเว้ปไซด์และหนังสือแนะนำจังหวัดสกลนคร ในทางวิชาการยอมรับว่า "ตำนาน" มีเค้าจากเรื่องจริงในอดีต นั่นคือเมืองนี้สร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ โดยมีสิ่งก่อสร้างและอักขระจารึกภาษาขอมเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ความเห็นส่วนตัวของผมเชื่อว่าตำนานอุรังคนิทานถูกสร้างขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นและได้รับการปรุงแต่งเพิ่มเติมเรื่อยมาจนปัจจุบัน

          อ้างถึงหนังสือ "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร" โดย ผศ.ดร.สพสันติ์ เพชรคำ เรื่องราวของพระธาตุเชิงชุมปรากฏในประวัติศาสตร์หลังยุคอาณาจักรล้านช้าง เมืองโบราณสกลนครเกิดภาวะซบเซากรุงธนบุรีเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแห่งนี้และแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์พาครอบครัวไพล่พลมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บริเวณบ้านธาตุเชิงชุมพร้อมทำหน้าที่เป็น "ข้าพระธาตุ" ขณะเดียวกันก็มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ้นฐานเป็นชุมชนย่อยในบริเวณใกล้เคียงหลายตำบล เมื่อเข้าสู่ยุคอาณาจักรรัตนโกสินทร์มีการยกระดับชุมชนต่างๆขึ้นเป็นเมือง บ้านธาตุเชิงชุมมีผู้คนหนาแน่นพอตั้งเป็นเมืองใหญ่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้าน "ธาตุเชิงชุม" เป็นเมือง "สกลทวาปี" ในปี พ.ศ.2329 และแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็น "พระธานี" เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรกขึ้นต่อกรุงเทพ

         ครั้นล่วงมาถึง พ.ศ.2369 ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เกิดสงครามระหว่างสยามกับเวียงจันทร์ กองทัพหลวงยกขึ้นมาปราบปรามแต่เจ้าเมืองสกลทวาปีและกรมการเมืองไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันบ้านเมือง พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพจากกรุงเทพมาตรวจราชการเห็นว่าเป็นการขัดขืนราชการศึกจึงสั่งเอาตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาวพร้อมให้กวาดต้อนครอบครัวราษฏรเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่เมืองกบินทร์บุรี เมืองประจันตคาม คงให้เหลือผู้คนเพื่อรักษาพระธาตุเชิงชุมแต่พวก "เพียศรีคอนชุม" ตำบลธาตุธาตุเชิงชุม กับบ้านหนองเหียน บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านธาตุนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาง บ้านผ้าขาว และบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล ให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม และสั่งให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาเป็นผู้รักษาเมืองสกลทวาปีในระหว่างที่ยังไม่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมือง

        ต่อมา พ.ศ.2378 อุปฮาด (คำสาย) ราขวงศ์ (คำ) ท้าวอิน เมืองมะหาใช พาบ่าวไพร่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ (คำ) เป็น "พระยาประเทศธานี" เป็นเจ้าเมือง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองสกลทวาปีเป็น "สกลนคร" ในยุคนี้มีผู้คนอพยพจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจำนวนมากกระจายตั้งถิ่นฐานในแขวงเมืองสกลนคร อาทิ กลุ่มชาวผู้ไทนำโดยท้าวโฮงกลางบุตรเจ้าเมืองวัง และชาวกะโซ่ (ไทโส้) นำโดยเพี้ยเมืองสูงพาครอบครัวบ่าวไพร่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ต่อมา พ.ศ.2387 ได้โปรดเกล้าฯให้ท้าวโฮงกลางเป็น "พระเสนานรงค์" ยกบ้านพานพร้าวเป็นเมือง "พรรณานิคม" และโปรดเกล้าฯให้เพี้ยเมืองสูงเป็น "หลวงอรัญอาสา" ยกบ้านกุดขมานเป็น "เมืองกุสุมาลย์มณฑล"    

          อย่างไรก็ตาม ประวัติที่แท้จริงของพระธาตุเชิงชุม (ปราสาทขอมโบราณ) ยังไม่มีการค้นคว้าละเอียดมากนัก แม่แต่ชื่อที่แท้จริงของปราสาทหลังนี้ก็ยังไม่ปรากฏในเอกสารใด จึงขอใช้ชื่อว่า "ปราสาทเชิงชุม" ไปพลางก่อน อ่านหนังสือของกรมศิลปากรก็เพียงแต่บอกอย่างกว้างๆว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (คริตศตวรรษ ที่11 - 12) แต่ยังไม่ทราบว่าตรงกับสมัยรัชกาลใดของอาณาจักรขอม เพราะจารึกภาษาขอมที่พบในองค์พระธาตุระบุเพียงวันเดือนทางจันทรคติแต่ไม่ได้ระบุปีมหาศักราช ปัจจุบันเท่าที่ทราบยังไม่มีนักประวัติศาสตร์หรือนักโบราณคดีท่านใดให้การค้นคว้าอย่างต่อเนื่องแบบจริงๆจังๆ ทุกครั้งที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยายหรือเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก็มีเพียงข้อมูลเก่าๆที่อยู่ในเอกสาร เรียกง่ายๆว่า "ฉายหนังม้วนเดิม" เฝ้ารอพระเอกขี่ม้าขาวมาเจาะข้อมูลอย่างเป็นทางการให้มีอะไรเพิ่มเติมอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังก็ยังไม่เห็นสักที จนที่สุดเห็นทีต้องลงมือเองซะแล้วเป็นที่มาของบทความ "ไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง" 

 

                  เริ่มต้นจากจารึกภาษาขอมที่ขอบประตู

          ก่อนอื่นขออธิบายว่าวิธีการศึกษาของผมอาจไม่เหมือนนักวิชาการที่เรียนมาทางด้านประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี เพราะจบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์จึงถนัดวิธีการประมวลข้อมูลในลักษณะเชื่อมโยงแบบบูรณาการระหว่างความรู้แขนงต่างๆทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งโหราศาสตร์ แล้วนำมาพิจารณาความเป็นไปได้ เช่น หลักฐานทางวัตถุและเรื่องราวมีความสอดคล้องกันหรือไม่ เหมือนพนักงานสอบสวนที่เขียนสำนวนในระบบกล่าวหาเพื่อส่งฟ้องศาล ดังนั้น สิ่งแรกที่เริ่มต้นแกะรอยก็ต้องเป็นเอกสารหลักฐานระบุที่มาที่ไปของรูปคดี ได้แก่"จารึกภาษาขอม" ที่ขอบประตูด้านขวามือ (หันหน้าเข้าหาตัวปราสาท)

         อนึ่งชื่อปัจจุบันที่เรียกว่า "พระธาตุเชิงชุม" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นภาษาลาวในยุคอาณาจักรล้านช้าง (หลังจากที่อาณาจักรขอมล่มสลายราวพุทธศตวรรษที่ 18) ปราสาทขอมหลายแห่งในจังหวัดสกลนครและภาคอีสานโดยทั่วไปจึงถูกเปลี่ยนชื่อจาก "ปราสาท" เป็น "พระธาตุ" และคำว่าพระธาตุยังคงใช้ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน 

 

   

ประตูเข้าข้างในตัวปราสาทที่ขอบด้านขวามือมีจารึกอักษรขอม 12 บรรทัด

 

จารึกภาษาขอมถูกถอดคำออกเป็นอักษรไทย และแปลความเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญชื่อ นายอำไพ คำโท หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กทม. ผมต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อท่านผู้นี้

 

จารึกภาษาขอมที่ขอบประตูด้านขวามือของทางเข้าประตูปราสาท 

 

เปรียบเทียบการถอดคำจากภาษาขอมมาเป็นอักษรไทย และแปลความหมายในภาษาไทย โดยนายอำไพ คำโท อนึ่ง มีการสะกดคำว่า "พะนุรพิเนา" กับ "พระนุรพิเนา" ผมเชื่อว่า "พะนุรพิเนา" น่าจะถูกต้องกว่า

 

ผมลอกออกมาให้เห็นชัดๆขึ้น

         

          วิเคราะห์และตีความจากคำจารึก

 

      1. แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร

               ข้อความนี้ไม่ได้ระบุศักราชว่าเป็นปีไหน จึงต้องหาทางค้นคว้าโดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์ประกอบกับข้อมูลโหราศาสตร์ เพื่อดูว่าตรงกับวันไหนของปีอะไร ในที่นี้จำเป็นต้องตีความทีละประเด็น เริ่มต้นจาก

               แรม 8 ค่ำ ภาษาดาราศาสตร์หมายถึงอายุเฟสของดวงจันทร์นับจากวันแรกจนถึงวันที่ 23 ของเดือนตามปฏิทินจันทรคติ (waning moon 23 days old) โดยกำหนดให้ Full Moon เป็นอายุ 15 days old แรม 8 ค่ำจึง เท่ากับ 15 days old + 8 days old = 23 days old 

             เดือน 7 ตามปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่อาณาจักรขอมใช้อยู่ หมายถึงเดือน Ashwin ตรงกับราศี Libra เทียบกับปฏิทินปัจจุบันอยู่ระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 22 ตุลาคม 

 

ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ซึ่งใช้อยู่ในอาณาจักรขอม ปฏิทินนี้ยังคงใช้ต่อเนื่องมาถึงสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินจุลศักราช

 

   ชยานักษัตร ตามตำราโหราศาตร์อินเดียน่าจะหมายถึง Chitra Nakshatra ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างราศี Virgo และราศี Libra  

 

ตำราโหราศาสตร์อินเดีย กำหนดให้ราศี Libra มี นักษัตรที่ชื่อว่า Chitra  Swati และ Vishaka  

 

การคำนวณด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์พบว่าวันที่ 19 October 1204 AD ดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างราศี Virgo และราศี Libra

 

การคำนวณด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์มองเห็น แรม 8 ค่ำ ตรงกับ 19 Oct 1204 AD

 

ผลประมวลของโปรแกรมดาราศาตร์ และโปรแกรมแปลงปฏิทินสากลให้เป็นปฏิทินมหาศักราช แสดงผลว่า "แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร" น่าจะตรงกับวันอังคารที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 หรือ วันอังคารที่ 27 เดือน Asvina Saka 1126 

 

            จากข้อมูลที่ประมวลตามหลักดาราศาสตร์และหลักโหราศาสตร์ ตีความได้ดังนี้

            คำจารึก แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ตรงกับปฏิทินสากลปัจจุบัน วันอังคารที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 (พ.ศ.1747) หรือ ปฏิทินมหาศักราช วันอังคารที่ 27 เดือน Ashwin หรือ Asvina ปี 1126 อยู่ในช่วงปลายรัชสมัยของกษัตริย์ขอม "ชัยวรมันที่ 7" (Jayavarman VII AD 1180 - AD 1220)

                      ช่วงเวลา ณ วันที่จารึก "ต้องมีเมืองและตัวปราสาทตั้งอยู่นานแล้ว"เพราะมีการกล่าวถึงตำแหน่งผู้ปกครองหมู่บ้านและผู้ปกครองเมือง จึงเป็นไปได้อย่างมากว่า "คำจารึก" กระทำขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างปราสาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวเมืองและปราสาทน่าจะมีอายุก่อน ค.ศ.1204 หลายปี โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลของกรมศิลปากรที่ระบุว่าปราสาทอีกสองหลังที่อยู่ไม่ไกลนัก คือ ปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาทดุม เป็นโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจสร้างในสมัยขอมปาปวนซึ่งเกิดก่อนยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ร้อยกว่าปี อย่างไรก็ตามโบราณสถานที่สร้างในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และอยู่ใกล้ปราสาทเชิงชุม ก็คือ "สะพานหิน" ส่วนที่อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันตกคือ "ปราสาทภูเพ็ก" และ "อโรคยาศาล"  

           จากข้อมูลที่พบในเว้ปไซด์ของจังหวัดสกลนครกล่าวถึงเอกสารสำคัญศิลาจารึกมีข้อความสนับสนุนมุมมองที่ว่า ณ วันที่จารึกต้องมีตัวเมืองและตัวปราสาทตั้งอยู่นานแล้ว .....มีใจความ ดังนี้

ขนาดของศิลาจารึกแผ่นนี้กว้าง 49 เซนติเมตร สูง 52 เซนติเมตร ติดอยู่ที่กรอบประตูเข้าภายในอุโมงค์ ซึ่งอยู่ติดผนังด้านหลังของวิหารวัดพระธาตุ เชิงชุม คาดว่าคงนำมาจากแห่งใดแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงแล้วนำมาติดไว้ที่กรอบประตู 

ลักษณะตัวอักษรจารึกด้วยอักษรขอมและภาษาขอมโบราณ อายุสมัยของศิลาจารึกอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งเป็นช่วงที่ขอมมีอิทธิพลในเมืองหนอง หารหรือที่มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่าเมืองสกลนคร 
ชื่อเว้ปไซด์      อ้างอิง  http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/sgk/file/im5.html

 

 อนึ่ง คำที่ยังตีความไม่ออกคือ "มัทยกษัตร วันอาทิตย์" ต้องศึกษาต่อไปครับ

             2. ชื่อตำแหน่งของเจ้านายขอมผู้ปกครองเมือง

             ได้อ่านเอกสารของท่านจิตร ภูมิศักดิ์ และมีข้อมูล ดังนี้ 

                "โขลญพล" หมายถึงหัวหน้าผู้ควบคุมกำลังคน หรือนายทหารคุมกำลัง

                "กำเสตง" เป็นตำแหน่งเทียบได้กับ "เจ้าเมือง" เป็นปัจจุบันท่านกำเสตงคงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ระดับซี 10 แสดงว่าเมืองนี้ต้องมีความสำคัญทีเดียวเพราะมีเจ้านายระดับกำเสตง ผมได้เขียนบทความในเว้ปไซด์เดียวกันนี้ เรื่อง "หนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน" ที่อยู่เหนือสุดของอาณาจักรขอมและเป็นเมืองที่ประจันหน้ากับอิทธิพลของอาณาจักรจามปา  

            "โลญ" ในความเห็นของผมอาจเป็นชื่อตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้าน เพราะมีถ้อยคำกล่าวว่า โลญหัวหน้าหมู่บ้านชะเลง และโลญหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา อย่างไรก็ตามมีการซ้ำซ้อนระหว่างคำว่า "โขลญพลเป็นหัวหน้าแห่งหมู่บ้านพะนุรพิเนา" กับ "โลญผู้เป็นหัวหน้าแห่งหมู่บ้านพะนุรพิเนา" และ "โขลญพลแห่งชระเลง" กับ "โลญผู้เป็นหัวหน้าแห่งหมู่บ้านชระเลง" หรือว่า โลญ เป็นหัวหน้าดูและการปกครองทั่วไป ส่วน โขลญพล ดูและกำลังคนในการสู้รบ

 

        3. ชื่อหมู่บ้านและสถานที่ตั้ง

            ส่วนหนึ่งของคำแปลจารึกเป็นภาษาไทยกล่าวว่า ..... "ที่ดินซึ่งนอกหลักเขตให้ขึ้นอยู่กับโลญผู้เป็นหัวหน้าแห่งหมู่บ้านพะนุรพิเนา (เนินมะตูม)" .......... ตีความว่าบ้าน "พะนุรพิเนา" น่าจะตั้งอยู่บนที่เนินและมีดงมะตูม ส่วนคำว่าหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่นอกหลักเขต ไม่ทราบแน่ชัดว่าหมายถึง "นอกตัวเมือง" หรือ "นอกเขตตัวปราสาท" หากพิจารณาตามหลักภูมิประเทศจะพบว่าชุมชนที่มีปราสาทและตั้งอยู่บนเนินนอกตัวเมืองโบราณสกลนคร คือ "ชุมชนธาตุนารายณ์เจงเวง"

           อนึ่ง คำว่า "เนินมะตูม" อ้างอิงมาจากเว้ปไซด์  http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/sgk/file/im5.html  และคำแปลจารึกเป็นภาษาไทยที่วัดพระธาตุเชิงชุม

 

 

จากข้อมูลที่ระบุว่าหมู่บ้านพะนุรพิเนาอยู่นอกหลักเขตและเป็นเนินมะตูม ถ้าดูตามภูมิประเทศและความเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ "น่าจะเป็นบริเวณปราสาทนารายณ์เจงเวง" เพราะปราสาทหลังนี้สร้างมาก่อนรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และผู้ที่ทำจารึกต้องรู้จักหมู่บ้านนี้เป็นอย่างดี 

 

  

บริเวณปราสาทนารายณ์เจงเวงต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก่อนและตั้งอยู่บนเนิน ปัจจุบันก็สามารถมองเห็นสภาพการเป็นเนินอย่างชัดเจน

 

เปรียบภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2514 ของปราสาทนารายณ์เจงเวง กับภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2489 ของพระธาตุเชิงชุม จะเห็นว่า "บาราย" อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาททั้งคู่

       

         ตามหาหมู่บ้าน "พะนุรพิเนา" 

 

           

          ถ้าผมมีงบประมาณจะดำเนินการค้นหาหมู่บ้าน "พะนุรพิเนา" ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบผสมผสานระหว่างข้อมูลต่างๆทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คล้ายๆกับพนักงานสอบสวนคดีอาญาที่ต้องทำสำนวนส่งอัยการให้มีน้ำหนัก "สั่งฟ้องได้" โดยมีหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นของรูปคดี

           จากข้อมูลเบื้องต้นตั้งข้อสมมุติฐานว่า "บ้านพะนุรพิเนา" น่าจะอยู่ที่บริเวณ "ปราสาทนารายณ์เจงเวง" บ้านธาตุนาเวงในปัจจุบัน ..... ด้วยเหตุผล ดังนี้

          1. ความหมายของชื่อและลักษณะภูมิประเทศตามคำจารึก จากคำแปลภาษาขอมออกมาเป็นภาษาไทย มีถ้อยคำที่น่าสนใจคือ ....... หมู่บ้านนี้อยู่นอกหลักเขต ตีความว่าต้องอยู่นอกตัวเมืองสกลโบราณ ....... และมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า "เนินมะตูม" แสดงว่าหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนเนินและมีต้นมะตูมมาก ประกอบกับตรงนี้มีปราสาทหลังใหญ่และบาราย (สระน้ำศักดิ์สิทธิ์) ขนาดใหญ่ น่าจะเป็นชุมชนใหญ่ในยุคนั้น  

 

รอบนอกตัวเมืองสกลโบราณมีซากโบราณสถานกระจายอยู่ทั่วไป แต่ที่เป็นปราสาทและบารายขนาดใหญ่มีเพียงแห่งเดียวคือ "ปราสาทนารายณ์เจงเวง" 

 

ปัจจุบันยังคงมีบารายขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทนารายณ์เจงเวง

 

การแปลจารึกภาษาขอมที่ขอบประตูปราสาทเชิงชุมเป็นภาษาไทย มีคำว่า "ตมุลวนรวิเนาว" ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า "หมู่บ้านพะนุรพิเนา (เนินมะตูม)" 

 

           2. ว่าจ้างที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ (Botanist Expert) ให้ค้นหาหลักฐานว่าที่บริเวณพื้นที่รอบๆปราสาทนารายณ์เจงเวงเคยมี "ดงมะตูม" อยู่หรือไม่ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายเก่าๆเพื่อค้นหาต้นมะตูมที่อยู่ใน background ของภาพเหล่านั้น ประกอบกับการสำรวจทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Survey) และสำรวจทางปฐพีวิทยา (Soil Survey)      

 

 

ภาพเก่าเมื่อร้อยปีที่แล้วอาจจะมีร่องรอยของต้นมะตูมอยู่ใน Background 

 

          3. บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนครเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 กล่าวว่า ......ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่ 1 แห่ง เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี แสดงว่าบ้านนาเวง (พะนุรพิเนา ?) ต้องเป็นชุมชนสำคัญในยุคขอมเรืองอำนาจเพราะมีทั้งถนนและสะพานเชื่อมต่อไปที่นั่น

           ประกอบกับจารึกที่ระบุว่า ...... แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ด้วยพวกเราพากันไปชี้แจงต่อโขลญพล เป็นหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา ตามคำแนะนำของกำเสตง ...... แสดงว่าโขลญพล (น่าจะเป็นชื่อตำแหน่ง) ต้องเป็นคนสำคัญในยุคนั้นเพราะใครจะทำอะไรก็ต้องไปขอความเห็นชอบ จึงอนุมานว่าหมู่บ้านพะนุรพิเนาต้องเป็นชุมชนใหญ่    

 

กรมพระยาดำรงราชานุภาพมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร และมีบันทึกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449

 

สะพานขอมและถนนไปทางบ้านธาตุนาเวงตามบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

           4. ใช้เทคโนโลยีไฮเทค LIDAR (Light Detection and Ranging) + GPR (Ground Penetrating Radar) เป็นกล้องถ่ายภาพด้วยแสง Laser ติดตั้งกับ Drone เพื่อ Scan หาร่องรอยของชุมชนโบราณ วิธีการนี้ใช้ได้ผลมาแล้วในการสำรวจร่องรอยโบราณสถานหลายแห่งที่ประเทศกัมพูชา จากภาพถ่าย Google Earth เห็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ 80 m x 180 m อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ..... บาราย? ถ้าข้อมูลออกมาเป็นจริงตามนี้ก็เชื่อว่าต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในยุคนั้น  

 

การใช้ Drone ติดกล้อง LIDAR เพื่อ Scan พื้นที่บริเวณปราสาทนารายณ์เจงเวง

 

 

ภาพถ่ายทางอากาศของปราสาทเชิงชุม (พระธาตุเชิงชุม) กับบาราย (สระพังทอง) มีสัดส่วนการวางผังเหมือนกับปราสาทนารายณ์เจงเวงกับสระน้ำขนาดใหญ่ 

 

  

ตัวอย่างภาพ Scan ด้วยกล้อง LIDAR ที่ปราสาทนครวัด พบว่ามีร่องรอยสิ่งก่อสร้างมากมายรอบๆบริเวณนั้น 

 

เมื่อนำภาพ LIDAR Scan มาปรุงแต่งจะได้ภาพที่ใกล้เคียงความเป็นจริง 

 

          5. หากการ Scan ด้วย LIDAR + GPR (Ground Penetrating Radar) มีเค้าร่องรอยสิ่งก่อสร้างโบราณและบริเวณนั้นพอจะขุดสำรวจได้ก็น่าจะดำเนินการ หากที่เป็นที่ของเอกชนคงต้องเจรจากับเจ้าของแต่ถ้าเป็นที่ดินสารธารณะต้องให้กรมศิลปากรเป็นเจ้าของเรื่อง อย่างไรก็ตามวิธีขุดค้นที่ง่ายที่สุดและรบกวนเจ้าของที่ดินน้อยที่สุด คือการใช้เครื่องเจาะดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 นิ้ว (Auger Drill) โดยขอความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร เพื่อนำตัวอย่างดินขึ้นมาตรวจสอบลักษณะองค์ประกอบว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานหรือไม่ 

 

 เครื่องเจาะดินขนาดเล็ก (Auger Drill) 

           

 

             บ้าน "ชระเลง" เป็นชื่อหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตัวเมืองหรือเขตตัวปราสาท แต่ไม่ทราบว่าอยู่ตรงส่วนไหน ...... เพราะบรรพชนผู้จารึกไม่ได้บอกพิกัด ในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าตั้งอยู่ที่วัดศรีสระเกษในตัวเมืองโบราณสกลนคร ปัจจุบันอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนเชิงชุม ข้อมูลที่ทำให้เชื่อว่าตรงนี้คือหมู่บ้านชระเลงด้วยเหตุผล 3 ประการ

          1.พระที่จำวัดอยู่ที่นี่เล่าให้ฟังว่าเคยมีสระน้ำโบราณแต่ถูกแปรสภาพถูกถมดินกลบไปหมดแล้ว ........ น่าจะเป็น "บาราย" ?

           2.ใต้ฐานของสิมมีแผ่นศิลาแลง ทำให้เข้าใจว่าตัวปราสาทขอมสูญสลายตามกาลเวลาหรือถูกรื้อเอาวัสดุไปสร้างอย่างอื่น ทำให้เหลือแต่ฐานและกลายเป็นฐานรากของสิมไปโดยปริยาย

           3.บริเวณนี้เป็นที่ดอน เมื่อคราวน้ำท่วมเมืองสกลครั้งใหญ่ระหว่าวันที่ 28 กรกฏาคม - 5 สิงหาคม 2560 วัดแห่งนี้ "ไม่ท่วม" เข้าสะเป็กการก่อสร้างปราสาทขอมที่ต้องอยู่บนที่ดอน

           อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวซึ่งถ้ากรมศิลปากรเห็นด้วยก็สมควรพิสูจน์ด้วยการขุดค้นบริเวณวัดเพื่อให้ได้หลักฐานเชิงวัตถุ 

 

 

 

 

แสดงที่ตั้งของหมู่บ้านชระเลงที่วัดศรีษะเกษ 

 

เหตุผลที่ผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่าวัดศรีสระเกษเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชะเลง ก็เพราะจารึกระบุว่าอยู่ในภายในหลักเขต ประกอบกับเคยได้ยินคำบอกเล่าของพระที่จำวัดอยู่ที่นี่ว่าเคยมีสระน้ำโบราณแต่ถูกแปรสภาพด้วยการถมดิน (น่าจะหมายถึงบาราย) และสังเกตว่ามีวัสดุก่อสร้างเป็นศิลาแลงจำนวนมาก เช่น กำแพง และฐานของสิม อาจจะถูกรื้อออกมาจากสิ่งก่อสร้างยุคขอม

 

สังเกตเห็นฐานของสิมสร้างทับอยู่บนแผ่นศิลาแลง มีความเป็นไปได้ว่าตรงนี้เคยเป็นปราสาทขอมมาก่อน

 

ตัวอย่างที่พระธาตุดุม (ปราสาทขอม) เหลือเพียงฐานรากศิลาแลง ส่วนตัวปราสาททำด้วยอิฐเผาสูญหายไปตามกาลเวลา หรืออาจถูกรื้อเอาวัสดุไปก่อสร้างอาคารอย่างอื่น 

 

ได้ข้อมูลจากคุณประจักร์ เชื้อจารย์ชิน อายุ 37 ปี มีบ้านอยู่บริเวณหลังวัดศรีสระเกษ เป็นช่างศิลป์ทำปราสาทผึ้ง  ยืนยันว่าเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่เมืองสกลนครระหว่าง 28 กรกฏาคม - 5 สิงหาคม 2560 บริเวณวัดศรีสระเกษ "ไม่ท่วม" แสดงว่า "เป็นที่ดอน" เหมือนกับพระธาตุเชิงชุม (ปราสาทขอม) ซึ่งน้ำก็ไม่ท่วม จึงสัณนิฐานว่าตรงนี้น่าจะเป็นปราสาทขอมเพราะอยู่บนที่ดอน (ปราสาทขอมมักจะสร้างอยู่บนบริเวณที่ดอน)   

 

ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2497 แสดงให้เห็นขอบเขต "ตัวเมืองโบราณ" ซึ่งบ้านชระเลงน่าจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งในเขตเมืองโบราณนี้ ส่วนบ้านพะนุรพิเนา (เนินมะตูม) น่าจะอยู่ที่บริเวณปราสาทนารายณ์เจงเวง นอกตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร

 

ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2489 แสดงเขตเมืองสกลโบราณ แสดงว่าหนองหารยังคงอยู่ห่างจากตัวเมือง

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศระหว่าง พ.ศ.2489 กับ พ.ศ.2497 จะเห็นชัดเจนว่าระดับน้ำหนองหารที่เพิ่มขึ้นจนรุกล้ำเข้าไปถึงเขตตัวเมืองโบราณเป็นผลจากการสร้างประตูที่ปากแม่น้ำก่ำในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม 

 

 

ภาพเชิงซ้อนตัวเมืองโบราณสกลนคร

 

จากข้อมูลของเพจพิพิธภัณฑ์เมืองสกล ม.ราชภัฏสกลนคร ระบุว่ามี "บาราย" อยู่ตรงนี้สอดคล้องกับคำบอกเล่าของพระที่วัดศรีสระเกษ ในความเห็นของผมน่าจะเป็นสถานที่ตั้งของ "บ้านชระเลง" 

 

        3. ถวายทาส วัว ข้าวเปลือก และ "นาแด่สงกรานต์"

             ผมติดใจคำว่า "สงกรานต์" น่าจะหมายถึง "มหาสงกรานต์" ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในเรือนของ "ราศีเมษ" เพราะแบบแปลนของเมืองนี้ถูกออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าเข้าหา "ราศีเมษ" ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา (Azimuth 80 degree) เป็นสเป็กเดียวกับปราสาทพนมรุ้ง และอีกหลายปราสาทในประเทศไทยและกัมพูชา

        อนึ่ง แกนเอียงของโลกมีความคลาดเคลื่อน ทำให้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ไม่ตรงกับ "ราศีเมษ" ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า Precession of vernal equinox (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทความ ไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง) ทำให้การสร้างปราสาทขอมต้องเลือกระหว่าง "ราศีเมษ" กับ "วสันตวิษุวัต" และพบว่าปราสาทขอมหลายแห่งเลือก "วสันตวิษุวัต" เช่น ปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาทภูเพ็ก หันหน้าที่มุมกวาด 90 องศา ส่วนปราสาทเชิงชุม และปราสาทดุม เลือก "ราศีเมษ" จึงหันหน้าที่มุมกวาด 80 องศา 

 

 

 

 

ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth ก็ยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปที่มุมกวาด Azimuth 80 องศา

 

 

ข้อมูลภาคพื้นดินจากเครื่อง GPS ก็แสดงมุมกวาด 80 องศา

 

 ผมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์คำนวณ ก็ได้รับการยืนยันว่าในช่วงของพุทธศตวรรษ ที่ 16 -17 หรือคริตศตวรรษ ที่ 11 - 12 ดวงอาทิตย์ขึ้นในราศีเมษ (Aries) ที่มุมกวาด 80 องศา 

 

ในยุคขอมเรืองอำนาจน่าจะเห็นภาพแบบนี้ที่ปราสาทเชิงชุม (ใช้ปราสาทนารายณ์เจงเวงเป็นแบบ) 

 

ปัจจุบันปราสาทเปลี่ยนโฉมเป็นพระธาตุแต่สุริยะเทพก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม น่าจะเห็นภาพนี้ราววันที่ 16 เมษายน

 

ภาพถ่ายสถานที่จริงวันที่ 16 เมษายน 2557 โดยคุณเหมียว ดารณี พงษ์ไพบูลย์ ต้องขอบคุณมากครับ ผมไม่มีโอกาสถ่ายภาพด้วยตนเองเพราะอยู่ที่อเมริกา จึงต้องส่งเฟสบุกขอร้องให้คุณเหมียวซึ่งมีบ้านอยู่หน้าวัดพระธาตุเชิงชุมจัดการให้ (จริงๆบ้านคุณเหมียวอยู่หลังวัดแต่ผู้คนเรียกตรงนี้ว่าหน้าวัด ผมเลยจำเป็นต้องบอกคุณเหมียวไปแบบนั้น เพราะถ้ามัวแต่ไปอธิบายมากกว่านี้อาจจะทำให้คุณเหมียวสับสน) 

 

 

ตำแหน่งดวงอาทิตย์เช้าวันที่ 16 เมษายน 2557 ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ผมคำนวณไว้ เพราะคุณเหมียวถ่ายตอนดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้วจึงเอียงไปทางขวามือเล็กน้อย 

 

ผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่พระธาตุเชิงชุม วันที่ 16 เมษายน 2557 ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ (Ascending sun path at lat 17 N lon 104 E )พบว่า "ตำแหน่งดวงอาทิตย์" ขึ้นตรงกับใจกลางปราสาทจริงๆ (ปัจจุบันเป็นองค์พระธาตุ)

 

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับหน้าองค์พระธาตุเชิงชุม ด้วยมุมกวาด (Azimuth) 80 องศา และดวงอาทิตย์จะกลับมาที่ตำแหน่งนี้อีกครั้งในวันมหาสงกรานต์ 15 - 16 เมษายน ดังนั้นปีหนึ่งดวงอาทิตย์จะมาขึ้นตรงหน้าพระธาตุเชิงชุม 2 ครั้ง  

  

 

เปรียบเทียบให้เห็นการดัดแปลงจากปราสาทฮินดู เป็นพระธาตุเชิงชุมโดยการก่อสร้างครอบตัวปราสาทองค์เดิม

 

 

ตัวเมือง บาราย (สระน้ำ) และปราสาท ทั้งหมดนี้ถูกออกแบบให้หันหน้าไปที่มุมกวาด 80 องศา

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดกึ่งกลางของ "สระพังทอง" (บารายขอม) ที่มุมกวาด Azimuth 80 degree ปีหนึ่งมีสองครั้งได้แก่ วันที่ 15 เมษายน และ 25 สิงหาคม ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 25 สิงหาคม 2557 

 

 

ครื่อง GPS แสดงผลดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าวันที่ 25 สิงหาคม 2557 ในตำแหน่งมุมกวาด Azimuth 80 degree และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันมหาสงกรานต์ 15 เมษายน 

 

 

ผังเมืองเก่าสกลนคร และบาราย ทำมุมที่ azimuth 80 degree 

 

ด้วยกาลเวลาผ่านไปพันกว่าปี ดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ที่มุมกวาด 80 องศา แต่กลุ่มดาวฤกษ์ที่ฉากหลังของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราศี ได้เปลี่ยนจากราศีเมษ (Aries) ไปเป็นราศีมีน (Pisces) ด้วยเหตุผลของแกนโลกขยับตัวเล็กน้อย (Earth's pole shifted) 

 

 

 สิ่งก่อสร้างจากยุคขอมเรืองอำนาจเพียงอย่างเดียวที่ยังคงมีสภาพค่อนข้างเหมือนเดิมคือ "บาราย" ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า "สระพังทอง" อาจจะเพี้ยนมาจากคำไทยโบราณว่า "ตระพังทอง"

 

 

วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นใน "ราศีเมษ" เป็นวันสำคัญของการทำพิธีทางศาสนาฮินดู

 

นยุคนั้นพราหมณ์กับบุคคลที่มีตำแหน่งสูงจะเข้าไปทำพิธีในปราสาท โดยเทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนยอดศิวะลึงค์ไหลลงไปยังฐานโยนี และไหลออกนอกตัวปราสาททางท่อโสมสูตร 

 

เปรียบเทียบระดับความสูงของตำแหน่งที่ตั้งตัวปราสาทกับหนองหาร จะเห็นว่ามีความต่างกันประมาณ 10 เมตร ทำให้แสงอาทิตย์ยามเช้าในวัน "ราศีเมษ" สามารถส่องเข้าไปในตัวปราสาทได้อย่างง่าย 

 

         จากหลักฐานทางดาราศาสตร์ และรูปแปลนของการวางผังตัวเมืองให้หันหน้าไปที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา (Azimuth 80) สอดคล้องกับคำจารึก "ถวายแด่สงกรานต์" ก็พอจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศจากของเดิมเมื่อพันกว่าปีที่แล้วถูกเปลี่ยนไปจนหมดสิ้น ตัวปราสาทถูกดัดแปลงเป็นพระธาตุและมีการก่อสร้างวัดพระธาตุเชิงชุมบดบังแสงอาทิตย์ ทำให้มองไม่ออกว่าของเดิมมีสภาพอย่างไร ขณะเดียวกันก็มีการนำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานจำนวนมาก หากไม่มีผู้รู้ช่วยอธิบายก็จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ทราบที่มาที่ไปของพระธาตุเชิงชุมแห่งนี้ 

 

       ลำดับการเปลี่ยนแปลงจาก "ปราสาท" เป็น "พระธาตุ"

           เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่าเมื่ออาณาจักรหนึ่งรุ่งเรืองก็มีการก่อสร้างศาสนสถานตามความเชื่อของยุคนั้น และเมื่ออาณาจักรดังกล่าวโบกมือลาลับไปมีอาณาจักรน้องใหม่ไฟแรงเข้ามาแทนที่ ศาสนสถานและความเชื่อก็เปลี่ยนไป บวกกับแนวคิดทางการเมืองและการปกครองที่ต้องโชว์ความยิ่งใหญ่ของผู้มีอำนาจในยุคนั้น ก็ย่อมนำมาสู่การก่อสร้างศาสนสถานของตนเองโดยสร้างขึ้นใหม่ให้ใหญ่กว่าของเก่า หรือไม่ก็สร้างคล่อมทับลงไปในของเดิม เรื่องแบบนี้มีให้เห็นทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะที่จังหวัดสกลนครและประเทศไทย ยกตัวอย่างศาสนสถานของนักรบครูเสดที่กรุงเยรูซาเล็มในดินแดนอิสราเอลเป็นโบสถ์คาทอลิก แต่เมื่อตกไปอยู่ในอำนาจของอาณาจักรออตโตแมนที่นับถือศาสนาอิสลามก็ถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า วิหารรูปทรงปิรามิดของชาวแอสเทกและชาวมายาในอเมริกากลางเมื่อถูกกองทัพสเปนส์เข้ายึดครองก็ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นโบสถ์คาทอลิก วิหารฮินดูที่เมืองอโยธยา ประเทศอินเดียก็ถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ยังดีนะที่กองทัพอันเกรียงไกรของยอดนักรบบนหลังม้า "เจงกีสข่าน" ไม่สามารถยึดครองกรุงโรมได้ ไม่งั้นวิหารเทพเจ้าหลายแห่งคงถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสไตล์เอเซีย

           มาถึงเรื่องของ "ปราสาทเชิงชุม" ในตัวเมืองสกลนคร ที่กรมศิลปากรให้ข้อมูลว่าก่อสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (ปัจจุบันเราๆท่านๆอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 26 นับจากปี พ.ศ.2500 - 2599 โดยพุทธศตวรรษที่ 1 นับจาก พ.ศ.0 - พ.ศ. 99) และก็ทราบอีกว่าอาณาจักรขอมโรยลาราวพุทธศตวรรษที่ 18 ต่อเนื่องกับพุทธศตวรรษที่ 19 และอาณาจักรล้านช้างได้เข้ามาแทนที่อิทธิพลขอมจึงถูกเปลี่ยนเป็นอิทธิพลลาวล้านช้าง วิถีชีวิต ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา การเมืองการปกครองก็เปลี่ยนไป เจ้าเมืองที่นี่คงมองเห็นว่าปราสาทขอมหลังนี้มีฐานรากที่มั่นคงดีอยู่แล้ว และทำเลก็เด่นเป็นสง่า จึงตัดสินใจสร้าง "พระธาตุ" คล่อมลงไปที่ตัวปราสาท และดัดแปลงบางส่วนให้เป็นวัดพุทธนิกายหินยาน การดัดแปลงแบบเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ยกตัวอย่าง "นครวัด" ชื่อเดิมคือ "วิศนุโลกา" (สถานที่สถิตย์ของพระวิศนุ) แต่เมื่อศาสนาพุทธนิกายหินยานเข้ามาปกครองก็มีการนำพระพุทธรูปจำนวนมากเข้าไปประดิษฐานทำให้ได้ชื่อใหม่ว่า "นครวัด" ส่วนที่ปราสาท "บันเตยกะได" ก็เช่นกันมีการนำพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างเลียนแบบของเดิมเข้าไปประดิษฐานทำให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ทราบข้อมูลคิดว่าเป็นของเก่าจริงๆ

          การที่ "ปราสาทขอม" ถูกเปลี่ยนเป็น "พระธาตุ" ในยุคอาณาจักรล้านช้าง ทำให้เกิดรูปลักษณ์ใหม่อย่างสิ้นเชิงจนแทบดูไม่ออกว่าของเดิมคืออะไร และสิ่งที่หายไปด้วยการถูกรื้อทิ้งหรือฝังอยู่ข้างใต้ดินก็คือ "ท่อโสมสูตร" หรือท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมต่อจาก "ฐานโยนี" ให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีไหลออกทางทิศเหนือ หากท่านที่ต้องการจะดูว่าสิ่งนี้รูปร่างอย่างไรก็เชิญไปชมที่ปราสาท "นารายณ์เจงเวง" อยู่ในวัดธาตุนารายณ์หลังตลาดสดบ้านธาตุใกล้ๆกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร หรือขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อนึ่ง ที่ "พระธาตุพนม" ก็มีการค้นพบท่อโสมสูตรฝังอยู่ใต้ดินด้านทิศเหนือขององค์พระธาตุ เมื่อปี 2518 เกิดเหตุการณ์พระธาตุพนมล้มเพราะฐานรากทรุด กรมศิลปากรเข้าไปทำการเคลียส์พื้นที่เพื่อจะก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ ระหว่างที่ขุดดินก็พบท่อโสมสูตรเป็นแท่งหินทรายสี่เหลี่ยมฝังอยู่ใต้ดิน   

 

 

การดัดแปลงจาก "ปราสาทขอม" ให้เป็น "พระธาตุ" นอกจากจะเปลี่ยนรูปทรงอย่างสิ้นเชิงแล้ว อีกสิ่งที่หายไปคือ "ท่อโสมสูตร" (ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของตัวปราสาท

 

 

ท่อโสมสูตรที่พระธาตุเชิงชุมน่าจะจมอยู่ใต้ดินบริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุ

 

ฐานโยนีที่พระธาตุเชิงชุมแกะสลักจากหินทรายเนื้อละเอียด

 

 

 ฐานโยนีที่พระธาตุเชิงชุม (ศิวะลึงค์หายไปแล้ว) เป็นวัตถุพยานยืนยันว่าต้องมีท่อโสมสูตร เพราะเป็นอุปกรณ์ส่วนควบกัน ครั้งหนึ่งพระท่านเอาไปว่างไว้ข้างๆม้านั่งที่หน้าประตูวัดเลยกลายเป็นที่เขี่ยบุหรี่ของบรรดาสิงห์อมควัน เพราะดูขนาดและลักษณะแล้วมันพอดีมือ (ภาพนี้ถ่ายวันที่ 20 กันยายน 2546) 

 

 

ฐานโยนีและศิวะลึงค์ ที่สมบูรณ์แบบจะมีลักษณะอย่างนี้ (ภาพถ่ายจาก "ปราสาทพนมบาเค็ง" ที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา)

 

 

ท่อโสมสูตรของพระธาตุนารายณ์เจงเวง อยู่ทางด้านทิศเหนือ

 

 

ท่อโสมสูตรที่ปราสาทภูเพ็ก แต่ไม่พบฐานโยนีเป็นไปได้ว่าอาจจะยังแกะไม่เสร็จเพราะปราสาทภูเพ็กสร้างได้เพียงครึ่งเดียวก็มีการทิ้งงานแบบกระทันหัน (อ่านรายละเอียดในเว้ปไซด์) 

 

พระธาตุพนมล้มเมื่อ ปี 2518 เพราะฐานรากทรุดหลังจากฝนตกหนักประกอบกับมีทางหลวงแผ่นดินอยู่ใกล้ๆทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจากรถบรรทุกที่วิ่งผ่าน พระธาตุพนมก็เป็นการดัดแปลงจากปราสาทฮินดูเช่นเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม ฐานรากของตัวปราสาทคงไม่สามารถรองรับน้ำหนักขององค์พระธาตุในส่วนที่ต่อเติม

 

 

 "ท่อโสมสูตร" ที่กรมศิลปากรขุดพบระหว่างที่ทำการเคลียส์ฐานรากขององค์พระธาตุพนมทำด้วยหินทรายฝังอยู่ใต้ดินทางด้านทิศเหนือ

 

 ท่อโสมสูตร และฐานโยนีต้องชี้ไปทางทิศเหนือเพราะที่นั่นเป็นที่ตั้งของ "เขาพระสุเมรุ" ตามความเชื่อของศานาฮินดูและพุทธมหายาน ในภาพนี้แสดงฐานโยนีที่พุทธคยา อินเดีย ที่โคปุระของนครธม กัมพูชา และที่ปราสาทบายน ใจกลางนครธม ฐานโยนีทุกอันชี้ไปทางทิศเหนือ

 

          ภาพถ่ายพระธาตุเชิงชุมเก่าที่สุดเท่าที่หาได้เชื่อว่าภาพนี้มีอายุก่อน ปี พ.ศ.2449 บนซุ้มประตูมีแท่งปลายยอดกลมๆคล้ายศิวะลึงค์ แต่ภาพถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ.2449 เมื่อครั้งที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร พบว่าแท่งคล้ายศิวะลึงค์ถูกดัดแปลงให้เป็นแท่งยอดแหลม และภาพถ่ายปัจจุบันมีการทาสีใหม่เป็นสีขาว

 

 

 ลำดับภาพถ่ายพระธาตุเชิงชุมตั้งแต่ปราสาทขอมจนเป็นองค์พระธาตุในปัจจุบัน

 

ภาพถ่ายพระธาตุเชิงชุมเก่าที่สุดเท่าที่หาได้ สังเกตุที่ยอดซุ้มประตูมีรูปร่างเป็นแท่งปลายกลมๆคล้ายศิวะลึงค์ หรือพระปรางค์ 

 

ภาพถ่ายโดยช่างชาวฝรั่งเศสที่ติดตามเสด็จในคณะของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ.2449

 

 ปรียบเทียบภาพถ่ายยอดซุ่มประตูของพระธาตุเชิงชุม แสดงให้เห็นการดัดแปลงจากรูปร่างคล้ายศิวะลึงค์หรือพระปรางค์ให้เป็นแท่งยอดแหลม ไม่ทราบว่ามีการดัดแปลงเมื่อไหร่และเพื่อวัตถุประสงค์อันใด

 

เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดได้แก่ยอดซุ้มประตู และมีการเพิ่มเติมภาพ (มองไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร) บนผิวของพระธาตุ แต่รูปสลักในจั่วประตูยังคงเหมือนเดิม

 

ภาพสลักในจั่วประตูหายไปกลายเป็นสีแดงพื้นๆ ขณะเดียวกันภาพนูนๆบนองค์พระธาตุถูกลบออกไป

 

 

ป็นไปได้หรือไม่ว่าแท่งที่ปลายกลมๆคล้ายศิวะลึงค์หรือพระปรางค์บนยอดซุ่มประตูพระธาตุเชิงชุมถูกสร้างขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น 

 

 ในสมัยรัชกาลที่สี่ "สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีการสร้าง "นครวัดจำลอง" ที่วัดพระแก้วมรกต เข้าใจว่าในยุคนั้นนิยมศิลปะยอดพระปรางค์

 

เปรียบเทียบกับพระปรางค์วัดอรุณ

 

ศิลปะการก่อสร้างเจดีย์รูปร่าง "พระปรางค์" ได้รับอิทธิพลศิลปะขอมตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ต่อเนื่องมายังกรุงศรีอยุธยา และตกทอดมากรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

 

 

 

            เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะของแท่งคล้ายศิวะลึงค์หรือพระปรางค์จากภาพถ่ายก่อนปี 2449 กับภาพถ่ายปัจจุบัน ทำให้เกิดข้อสังเกตุ

          แท่งดังกล่าวอาจเป็นของดั่งเดิมจากยุคขอมโดยเจตนาทำให้เป็นรูปศิวะลึงค์ แต่จากการค้นคว้าเปรียบเทียบกับปราสาทขอมทั้งในกัมพูชาและประเทศไทย ผมยังไม่เคยเห็นมีศิวะลึงค์อยู่บนซุ้มประตู หรืออาจจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของศิลปะที่นี่เพียงแห่งเดียว ถ้ากรมศิลปากรอนุญาติให้ผม "พิสูจน์" ด้วยการขูดหรือแคะดูวัสดุข้างในว่าเจ้าแท่งนี้ทำด้วยหินทราย หรือเป็นการก่ออิฐถือปูน ถ้าเป็นแท่งหินทรายก็น่าจะเป็นของดั่งเดิมจากยุคขอม แต่ถ้าเป็นก่ออิฐถือปูนธรรมดาก็น่าจะสร้างในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างไรก็ตามผมมีข้อสงสัยอีกอย่างหนึ่งคือ "ทำไมการดัดแปลงจึงออกมาเหมือนไร้ฝีมือ" ราวกับว่าคนที่ทำไม่ใช่ช่างก่อสร้างเพราะรูปทรงที่เห็น "บิดเบี้ยว" อย่างน่าเกลียดไม่สมกับเป็นงานระดับเมืองใหญ่อย่างสกลนคร

 

 

 

 

เปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัวจะเห็นว่าอันที่ดัดแปลงมีรูปทรงบิดเบี้ยว

 

อันนี้ก็บิดเบี้ยวไม่ได้สัดส่วนเสียชื่อช่างก่อสร้างหมด นี่ถ้าเป็นยุคปัจจุบันต้องส่งช่างผู้นี้ไปอมรมที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานเสียใหม่ 

 

          จากเหตุการณ์ที่ยอดพระธาตุเชิงชุมหักและมีการบูรณะโดยกรมศิลปากรในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม ผมได้โอกาสปีนนั่งร้านขึ้นไปพิสูจน์วัสดุที่ใช้ก่อสร้างแท่งยอดแหลมบนซุ้มประตู พบว่าเป็นวัสดุ "ก่อด้วยปูนซีเมนต์" ผมจึงเชื่อว่าน่าจะมีการก่อสร้างครั้งแรกในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่นิยมศิลปะแบบ "ปรางค์" และต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางสมัยรัชกาลที่สี่หรือที่ห้ามีการดัดแปลงใหม่เป็น "ยอดแหลม" ให้เหมือนกับแท่งเทียนบูชา ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาวัสดุการต่อเติมที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกที่อยู่ในอุโบสถหลังหลวงพ่อองค์แสน ก็เชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านช้างและดัดแปลงเพิ่มเติมในยุครัตนโกสินทร์ 

 

 

 วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ผมปีนนั่งร้านที่ใช้ซ่อมยอดพระธาตุเชิงชุม ขึ้นไปดูอย่างใกล้ชิดที่ยอดซุ้มประตู พบว่าสิ่งก่อสร้างบนยอดซุ้มประตูทำด้วย "ปูนซีเมนต์" จึงเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งก่อสร้างที่เกิดพร้อมกับตัวปราสาทในยุคขอม และน่าจะก่อสร้างเป็นรูป "ปรางค์" ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น และดัดแปลงอีกครั้งในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางและคงรูปจนถึงปัจจุบัน

 

 ในช่วงที่ผู้รับเหมากำลังซ่อมยอดพระธาตุเชิงชุมราวต้นเดือนกรกฏาคม 2557 ผมได้ขอให้ช่างผู้รับเหมาซึ่งมีความชำนาญในเรื่องวัสดุปีนขึ้นไปพิสูจน์ "แท่งคล้ายเทียน" ว่าทำด้วยวัสดุอะไร ผลปรากฏว่าเป็น "ปูนซีเมนต์"    

 

 

 

 

 

 

 

 

พิจารณาวัสดุที่ต่อเติมจากหน้าประตูหินทรายของปราสาทขอมด้านทิศตะวันออก ที่อยู่หลังหลวงพ่อองค์แสน พบว่าเป็นการก่ออิฐถือปูน จึงเชื่อว่าอาจต่อเติมในยุคอาณาจักรล้านช้าง และดัดแปลงเพิ่มเติมในยุครัตนโกสินทร์

 

 

ภายในตัวปราสาทยังเห็นหินก่อตัวขึ้นไปจนถึงยอด

 

      สรุป

           แม้ว่าการค้นคว้าครั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่า "พระธาตุเชิงชุม" มีชื่อดั้งเดิมว่าอะไร สร้างในปีไหน ตรงกับรัชกาลใด แต่ก็ได้ข้อมูลที่น่าจะเป็นสาระสำคัญ ดังนี้

           1. พระธาตุหลังนี้เดิมเป็น "ปราสาทขอม" และมีการต่อเติมดัดแปลงในยุคอาณาจักรล้านช้าง และมีการต่อเติมดัดแปลงอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน พระธาตุเชิงชุมแจ้งเกิดในยุคขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ถูกเปลี่ยนรูปร่างเป็นพระธาตุในยุคอาณาจักรล้านช้าง ดัดแปลงอีกครั้งในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ดัดแปลงล่าสุดในยุครัตนโกสินปัจจุบัน จึงเรียกได้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว 4 ยุคอารยธรรม 

           2. ปราสาทถูกออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าเข้าหาราศีเมษ (Aries) เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา และทุกวันนี้ดวงอาทิตย์ก็ยังขึ้นตรงหน้าปราสาท (วัดพระธาตุเชิงชุม) ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา จากการคำนวณในมิติดาราศาสตร์ปัจจุบันจะตรงกับวันที่ 15 -16 เมษายน ถ้าไปยืนอยู่ในโบสถ์พระธาตุเชิงชุมเวลา 06:00 - 06:20 จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางประตู แต่ราศีจะเปลี่ยนเป็น "ราศีมีน" (Pisces) (หากย้อนกลับไปเมื่อพันกว่าปีที่แล้วในยุคอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหน้าประตูปราสาทในวันที่ 12 เมษายน เป็น "ราศีเมษ" (Aries)

 

 

           

          อย่างไรก็ตามถ้ายังคงต้องการให้พระธาตุเชิงชุมหันหน้าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีเมษเหมือนกับเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว ต้องสร้างให้องค์พระธาตุเปลี่ยนมุมไปที่ 76 องศา (Azimuth 76 degree) เรื่องนี้เป็นเหตุผลทางดาราศาสตร์เนื่องจากแกนของโลกไม่คงที่ ภาษาวิชาการเรียกว่า Precession of vernal equinox 

 

 

           3. ยืนยันว่าต้องมี "ท่อโสมสูตร" อยู่ใต้ดินทางด้านทิศเหนือขององค์พระธาตุ เช่นเดียวกันกับพระธาตุพนม 

          4. จารึกภาษาขอมทำให้ทราบว่าเมืองนี้เป็นชุมชนใหญ่เพราะมีผู้ปกครองระดับเจ้าเมือง (กำเสตง) และมีการปกครองลดหลั่นตามลำดับชั้นจนถึงผู้ใหญ่บ้าน โดยมีปราสาท (พระธาตุเชิงชุม) เป็นศูนย์กลางของเมือง และบาราย (สระพังทอง) เป็นทะเลศักดิ์สิทธิ์ อนึ่ง คำจารึกที่ขอบประตูมีใจความว่า "แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร" น่าจะตรงกับปฏิทินปัจจุบันวันอังคารที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 ปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และคำจารึกนี้น่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างปราสาทและตัวเมืองราวร้อยกว่าปี 

          5.จารึกได้ระบุชื่อหมู่บ้าน 2 แห่ง คือ บ้านพระนุรพิเนา เชื่อว่าเป็นบริเวณพระธาตุนารายณ์เจงเวง และหมู่บ้านชระเลง เชื่อว่าตั้งอยู่บริเวณวัดศรีสระเกษ  

           6. เนื่องจาก "องค์พระธาตุเชิงชุม" ในปัจจุบันสร้างครอบลงไปที่ฐานของตัว "ปราสาทขอม" น้ำหนักส่วนใหญ่จึงกดทับลงไปที่ฐานรากซึ่งไม่มีการตอกเสาเข็มรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น จึงต้องระวังเป็นพิเศษอย่าให้มีรถยนต์ขนาดใหญ่เข้าไปใกล้ๆตัวพระธาตุ เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้พระธาตุเสียหายได้

 

น่าเสียดายที่มีการก่อสร้างอาคารบดบังทัศนียภาพของทิศตะวันออกของพระธาตุเชิงชุม จึงทำให้ภาพดวงอาทิตย์ขึ้นในตำแหน่งมุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) ไม่สวยงามเท่าที่ควร จริงๆแล้วเมื่อพันปีที่แล้วดวงอาทิตย์จะทำมุมตรงกับประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาท  

 

          7. ปัจจุบันทัศนียภาพของวัดพระธาตุเชิงชุมเปลี่ยนไปมาก "จากหลังวัด กลายเป็นหน้าวัด" อาจเป็นเพราะผังเมืองและแนวถนนตลอดจนย่านชุมชนทำให้เป็นเช่นนั้น ขณะเดียวกัน "บารายศักดิ์สิทธิ์" (สระพังทอง) ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระธาตุเชิงชุมมาแต่ดั้งเดิมก็ถูกบดบังและแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง 

 

 บริเวณหน้าวัดจริงๆอยู่ด้านทิศตะวันออกแต่ถูกละเลยมานานจนมีการก่อสร้างอาคารบดบังทัศนียภาพ และก็ไม่มีการประดับประดาอะไรเป็นพิเศษทำให้ผู้คนคิดว่าที่นี่คือประตูหลังวัด

 

 

"หลังวัด" จริงๆอยู่ทางทิศตะวันตกแต่ถูกดัดแปลงให้เป็น "หน้าวัด" ด้วยซุ้มประตูและการตบแต่งอย่างสวยงาม ผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างคิดว่านี่คือประตูหน้าวัด 

 

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2497 เห็นชัดเจนว่าพระธาตุเชิงชุมกับบารายศักดิ์สิทธิ์ (สระพังทอง) เป็นสิ่งคู่กัน แต่สภาพปัจจุบันถูกบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างบดบังทำให้สถานที่ทั้งสองถูกแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง อนึ่งภาพนี้แสดงให้เห็นว่าชุมชนเริ่มขยายตัวทางด้านหลังวัด (ทิศตะวันตก) เพราะมีถนนตัดผ่าน ส่วนบริเวรหน้าวัดเป็นที่ว่างเปล่า การขยายตัวของชุมชนทางด้านหลังวัดเป็นไปอย่างต่อเนื่องทำให้บริเวณนี้ถูกเข้าใจว่า "เป็นหน้าวัด" ไปโดยปริยาย

 

        อนึ่ง ข้อมูลต่างๆในบทความนี้เป็นผลจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองส่วนตัว ผิดถูกอย่างไรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของท่านผู้อ่าน จะพยายาม update อย่างต่อเนื่องเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ที่สามารถหักล้างข้อมูลเก่า ..... และยินดีอย่างยิ่งหากท่านผู้อ่านมีข้อมูลที่ดีกว่าก็ขอความอนุเคราะห์แบ่งปันด้วยนะครับ ..... เพื่อให้พี่น้องไทสกลได้รับความรู้ที่ย้อนหลังไปพันกว่าปี   

 

       พระธาตุเชิงชุมในอนาคต

          ชาวพุทธคงจะยอมรับคำกล่าวของพุทธองค์ที่ว่า ทุกอย่างในโลกนี้ล้วน "อนิจจัง" เป็นสัจจะธรรมที่ไม่มีใครคัดค้าน อาณาจักรน้อยใหญ่ในอดีตกาลล้วนวนเวียนอยู่กับวงจร "แจ้งเกิด รุ่งเรือง โรยรา และเสื่อมสลาย" ไม่มีอาณาจักรใดในโลกสามารถอยู่ยงคงกระพัน กรุงโรมที่ว่าแน่ๆมีกองทัพอันแข็งแกร่งทุกวันนี้เหลือเพียงซากโบสถ์วิหารเก่าๆรูปปั้นหักๆ ชาวมักกะโรนีที่นั่งดูดยาจิบไวนส์อยู่ริมถนนก็บอกไม่ถูกว่าบรรพบุรุษของตนเป็นใครในยุคโรมันเรืองอำนาจ เฉกเช่นพี่น้องชาวสุโขทัยที่นั่งกินสาโทอยู่ตามกระท่อมกลางนาก็ไม่สามารถอธิบายว่าเขาเหล่านั้นสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมือง ทหารเอก หรือทาสในยุคอาณาจักรสุโขทัยหรือไม่

           ใกล้ตัวเข้ามาถึงพี่น้องไทสกลก็ไม่สามารถอธิบายว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นใครในยุคอาณาจักรล้านช้าง อย่างดีก็แค่ไล่ย้อนหลังไปเพียงกรุงรัตนโกสินทร์ และที่สุดของที่สุดเราๆท่านๆก็ไม่รู้ว่าอีกพันหรือสองพันปีข้างหน้าเมืองสกลนครจะกลายเป็นอะไร ประเทศไทยจะยังคงอยู่หรือไม่ ผมก็บอกไม่ถูกว่า "พระธาตุเชิงชุม" จะมีรูปร่างอย่างไร จะยังคงอยู่ไปได้อีกกี่ปี...........ทุกสิ่ง....... "ล้วนอนิจจัง สาธุ" 

 

 

 

 

 

    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ