ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก

 ปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วสัมพัทธ์การหมุนรอบตัวเองของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทบายน

 

 

        เราๆท่านๆที่เรียนวิชาภูมิศาสตร์ทราบดีว่าโลกหมุนรอบตัวเองด้วยเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าแสดงตัวเลขเป็นหน่วยองศาในอัตราความเร็วเชิงมุมก็เท่ากับ 15 องศาต่อชั่วโมง (มาจาก 360 องศา หารด้วย 24 ชั่วโมง) ขณะเดียวกันถ้าจะแสดงข้อมูลเป็นอัตราความเร็วที่คุ้นๆกันทั่วไปที่เรียกว่า "ความเร็วสัมพัทธ์" เท่ากับ 1,670 กม. ต่อชั่วโมง (คำนวณจากเส้นรอบวงของโลกที่เส้นศูนย์สูตร 40,075 กม. หารด้วย 24 ชม.) ทั้งหมดนี้เราลอกมาจากในหนังสือตำราเรียนที่องค์การนาซ่าเขาวิจัยด้วยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก แต่ในฐานะที่เราๆท่านๆอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องการพิสูจน์ด้วยมือตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาดาวเทียมหรืออุปกรณ์ไฮเทคอะไรพรรณนั้น.......จะทำได้หรือไม่ ผมขอตอบว่าได้สบายครับ ขอเชิญทุกท่านไปหาคำตอบใน "ปฏิบัติการกาลิเลโอ" ที่โบราณสถานในยุคขอมเรืองอำนาจ ชื่อว่าปราสาทภูเพ็ก ตั้งอยู่บนยอดภูเขาสูง 520 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่จังหวัดสกลนคร วันที่ 21 ธันวาคม 2556 เหตุผลที่ผมใช้ชื่อปฏิบัติการกาลิเลโอก็เพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกี่ชื่อ "กาลิเลโอ" ขณะเดียวกันจะมีการเปรียบเทียบความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย กับปราสาทบายน เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ว่าปราสาทไหนจะเคลื่อนที่เร็วกว่ากัน

    การหมุนรอบตัวเองของโลก

        ก่อนอื่นผมขอนำข้อมูลการหมุนรอบตัวเองของโลกมาให้เราๆท่านๆทราบเป็นน้ำจิ้มก่อนที่จะเข้าเรื่อง ดังนี้ครับ

          โลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 2 มิติ 

             1. ความเร็วเชิงมุม หมายถึงโลกเป็นวัตถุทรงกลมมีมุมเท่ากับ 360 องศา หมุนรอบตัวเองด้วยเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นความเร็วเชิงมุมจึงเท่ากับ 360 องศา หารด้วย 24 ชั่วโมง นั่นคือความเร็ว 15 องศาต่อชั่วโมงเท่ากันทั้งโลก

       2. ความเร็วสัมพัทธ์ หมายถึงความเร็วของโลกเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุที่อยู่นอกโลก เช่น ดวงอาทิตย์ เป็นความเร็วเฉพาะพื้นที่ว่าอยู่ ณ เส้นรุ้งที่เท่าไหร่ เช่นที่เส้นศูนย์สูตร (เส้นรุ้งศูนย์องศา) มีความเร็วสัมพัทธ์มากที่สุดเพราะมีระยะทางมากที่สุดเนื่องจากเป็นเส้น Equator ส่วนที่อยู่ในเส้นรุ้งองศามากกว่านั้นจะมีความเร็วสัมพัทธ์น้อยลงตามลำดับเพราะกินระยะทางได้น้อยกว่า ตัวอย่าง เส้นรอบวงของโลก ณ เส้นรุ้ง 17 องศา มีระยะทางน้อยกว่าเส้นรอบวงของโลก ณ เส้นศูนย์สูตร์ (เส้นรุ้งศูนย์องศา) ดังนั้นเมื่อหารระยะทางดังกล่าวด้วยตัวเลขเวลา 24 ชั่วโมง ก็จะได้ตัวเลขความเร็ว กิโลเมตร / ช่วโมง น้อยกว่าตามลำดับ

 

 

 

  

ตามภาพนี้ เส้นรอบวงของโลก ณ เส้นศูนย์สูตร = 2Pi x R (รัศมีของโลก ณ เส้นศูนย์สูตร) ขณะเดียวกัน เส้นรอบวงของโลก ณ เส้นรุ้ง a คำนวณได้จากสมการ  r = R x cos a  เมื่อได้ r แล้วก็เข้าสูตร 2Pi x r  

        

 

       เรามาทำความรู้จักกับท่าน "กาลิเลโอ" และดูว่าทำไมผมจึงต้องใช้ชื่อของท่านในปฏิบัติทางดาราศาสตร์ครั้งนี้ 

        ท่านกาลิเลโอ เป็นชาวอิตาลีเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1564 และเสียชีวิตเมื่อ 8 มกราคม ค.ศ.1642 รวมอายุได้ 77 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปีซ่า และมีความรู้อย่างแตกฉานในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกซ์ และสนใจศึกษาด้านดาราศาสตร์อย่างมาก ท่านได้อ่านผลงานที่ท้าทายกฏหมายคาทอลิกของนักดาราศาสตร์รุ่นพี่ที่ชื่อ คอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 ถึง 24 พฤษภาคม ค.ศ.1543 เพราะในยุคนั้นศาสนจักรคาทอลิกมีอำนาจสูงสุดสามารถออกกฏหมายได้ตามใจชอบ เรียกว่าชี้นกเป็นไม้ได้อย่างหน้าตาเฉย ท่านคอเปอร์นิคัสเขียนหนังสือมีสาระสำคัญว่า "โลกเป็นบริวารและโคจรรอบๆดวงอาทิตย์" เรื่องนี้ขัดใจกับศาสนจักรอย่างแรงเพราะยุคนั้นมีความเชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์เป็นบริวารและโคจรรอบโลก" ศาสนจักรได้ออกคำสั่งประหารชีวิตท่านคอเปอร์นิคัสทันทีที่หนังสือออกเผยแพร่สู่สาธารณะ แต่ช้าไปต๋อยท่านคอเปอร์นิคัสโชคดีที่ตายก่อน ท่านรู้ล่วงหน้าถึงชะตากรรมที่ฝ่าฝืนกฏเหล็กคาทอลิกจึงซ่อนหนังสือไว้ใต้เตียงนอนระหว่างที่ป่วยหนัก และสั่งเสียกับเพื่อนสนิทว่าถ้าข้าตายเมื่อไหร่ให้นำหนังสือออกไปเผยแพร่ทันที

 

ท่านคอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์ นักดาราสาสตร์ที่กล้าท้าทายกฏเหล็กคาทอลิกด้วยการเขียนหนังสือที่ยืนยันว่าโลกโคจรรอบๆดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ 

 

สาระสำคัญในหนังสือของท่านคอเปอร์นิคัส ที่ระบุว่าดาวเคราะห์ต่างๆรวมทั้งโลกโคจรรอบๆดวงอาทิตย์ ซึ่งก่อให้เกิดการขัดใจอย่างรุนแรงกับศาสนจักรคาทอลิกถึงกับออกคำสั่งประหารชีวิตอย่างทันควัน

 

คอเปอร์นิคัสถูกคำสั่งให้ประหารชีวิตแต่ท่านผู้นี้ตายก่อน ศาสนจักรคาทอลิกจึงออกคำสั่งใหม่ให้ประนามอย่างเสียหายและนำศพไปฝังแบบหยามเกียรติชนิดไร้ญาติ แต่ไม่นานมา ค.ศ.2005 นี้สำนักวาติกันได้มีคำสั่งใหม่ให้ขออภัยต่อท่านคอเปอร์นิคัสและสั่งให้ค้นหาศพขึ้นมาฝังใหม่อย่างฮีโร่ในโบสถ์อันสง่างามที่โปแลนด์ และได้ใช้เทคโนโลยีภาพเชิงซ้อนวาดภาพของท่านขึ้นมาใหม่ 

 

หลังจากที่สำนักวาติกันออกคำขอโทษท่านคอร์เปอร์นิคัสอย่างเป็นทางการ รัฐบาลโปแลนด์ได้จัดพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติในปี 2010

 

องค์การดาราศาสตร์นานาชาติตั้งชื่อหลุมอุกาบาตใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 93 กิโลเมตร ในชื่อ Copernicus

        

           ในที่สุดหนังสือเล่มนี้ได้ตกมาถึงมือท่านกาลิเลโอราว 80 ปีต่อมา ทำให้ท่านกาลิเลโอตัดสินใจสานงานนี้ต่อทันทีเนื่องจากมีการค้นคว้าด้วยกล้องโทรทัศน์ที่ประดิษฐ์เองส่องไปที่ดาวพฤหัส เห็นดวงจันทร์ 4 ดวง โคจรรอบดาวแม่ ทำให้แน่ใจว่าดาวเคราะห์ในระบบสุริยะรวมทั้งโลกต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ ข่าวการค้นพบบวกกับการป่าวประกาศของท่านกาลิเลโอต่อสาธารณชนทำให้ร้อนถึงศาสนจักรโดยท่านสันตปาปา สั่งให้นำตัวมาขึ้นศาลคาทอลิกและตัดสินให้ท่านกาลิเลโอมีความผิดมหันต์เรียกว่าหวิดๆถูกแขวนคอ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนค.ศ.1633 แต่ด้วยความที่ท่านประกอบคุณงามความดีไว้มากจึงลดโทษเหลือแค่กักขังในบ้านตลอดชีวิตและห้ามเผยแพร่เรื่องนี้อีกอย่างเด็ดขาด อนึ่งระหว่างที่ถูกพิพากษามีการบังคับให้อ่านคำสารภาพว่าเรื่องข้อมูลโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นการโกหกพกลมเหลวไหลสิ้นดี ท่านจำเป็นต้องอ่านตามใบสั่งเพราะไม่งั้นโดนแขวนคอลูกเดียว แต่ด้วยวิญญาณแห่งนักวิชาการที่มั่นใจแน่วแน่ในสิ่งที่ตนเองเชื่ออย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ท่านกาลิเลโอจึงพึมพัมให้พอได้ยินในหมู่กองเชียร์ที่ยืนอยู่ใกล้ๆว่า Eppur Si Muove (and yet it moves) แปลเป็นไทยแบบสะใจว่า "โลกมันก็ยังโคจรต่อไปโว้ย"

 

ภาพวาดแสดงถึงการสำรวจด้วยกล้องโทรทัศน์ที่ประดิษฐ์เองส่องไปที่ดาวพฤหัสและพบว่ามีดวงจันทร์ 4 ดวง ทำให้ท่านกาลิเลโอกล้ายืนยันข้อมูลของท่านคอเปอร์นิคัสชนิดตายเป็นตาย 

 

ภาพเขียนการนำตัวท่านกาลิเลโอขึ้นไตร่สวนในศาลคาทอลิก เมื่อปี ค.ศ.1633

 

ภาพการตัดสินให้ท่านกาลิเลโอมีโทษหนักถึงกักขังตลอดชีวิตและห้ามพูดจาแบบนี้อีกอย่างเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1633 และเป็นที่มาของวาทะกรรมก้องโลก Eppur Si Muove (And Yet It Moves) ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี 

 

        อย่างไรก็ตาม 360 ปี ต่อมาสำนักวาติกันยอมรับว่าข้อมูลของท่านกาลิเลโอถูกต้องอย่างเป็นทางการ จึงมีการออกหนังสือขออภัยเมื่อปี ค.ศ.1992 โดยสันตะปาปาจอนห์ พอล ที่สอง (Pope John Paul II) และมีนัยว่าจะสร้างอนุสวรีย์ให้ท่านไว้ที่สำนักวาติกันแต่ก็ยังเขินๆอยู่จึงยังเป็นเพียงข้อเสนอไว้พิจารณา แต่ที่แน่ๆองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาได้ตั้งชื่อยานสำรวจดาวพฤหัสชื่อว่า Galileo ปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่18 ตุลาคม ค.ศ.1989

 

     

หลุมศพของท่านกาลิเลโออยู่ที่โบสถ์ชื่อ Basillica Santa Croce เมือง Florence ประเทศ Italy  

 

 อนุสวรีย์ของท่านกาลิเลโออยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Uffizi เมือง Florence ประเทศ Italy ผมได้ไปเยือนสถานที่แห่งนี้มาแล้วหลายปีก่อน

 

 แสตมป์ของประเทศอิตาลีในสหภาพยุโรปเป็นที่ระลึกแด่ท่านกาลิเลโอ ปี 2009

 

 องค์การนาซ่าแห่งสหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวพฤหัสเมื่อปี 1989 ตั้งชื่อว่ายาน Galileo 

 

 

สันตะปาปาจอนห์ พอล ที่สอง แห่งสำนักวาติกัน ได้มีหนังสือขอโทษแก่กาลิเลโอย้อนหลัง 360 ปี ในปี ค.ศ.1992 

 

  ภาพการ์ตูนล้อเลียนกาลิเลโอ กับสันตะปาปาในสมัยนั้น ว่าทั้งสองท่านมองต่างมุมอย่างสิ้นเชิง   

 

    ขั้นตอนของ "ปฏิบัติการกาลิเลโอ" ที่ปราสาทภูเพ็ก วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

        ขั้นตอนที่ 1 หาความยาวเส้นรอบวงโลก ณ เส้นศูนย์สูตร โดยวิธีของท่านอีราโต้สทีเนส เมื่อ 200 ปี ก่อนคริสตกาล (ดูรายละเอียดในบทความ ปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส วัดโลกทั้งใบไทยกัมพูชา) ได้ตัวเลขเท่ากับ 38,451 กิลโลเมตร

 

ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็ก นำโดยอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือฤาษีเอก อมตะ และคุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ พร้อมด้วบลุงบุปผา ดวงมาลย์ ประธานชมรมพยัคฆ์ภูเพ็ก ได้ไปปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส วัดมุม Angle of incidence ณ เวลา solar noon ที่ปราสาทบายน เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 ตรงกับปรากฏการณ์ "วสัตวิษุวัต" (Vernal equinox) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ กลางวันเท่ากับกลางคืน ผลการคำนวณได้ค่า Angle of incidence = 13.4686 องศา 

 

ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย ผมลุยเดี่ยวใช้นาฬิกาแดดจับมุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ ได้ค่ามุม 17.3540 องศา

 

 

 

ผลการคำนวณตามสูตรอีราโต้สทีเนส ได้ความยาวเส้นรอบวงของโลก 38,451 กิโลเมตร (error 3.9%) แต่เป็นความยาวในแนวขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ (pole to pole) อย่างไรก็ตามเรา "อนุโลม" ใช้ตัวเลขนี้เป็นเส้นรอบวงของโลกในแนวเส้นศูนย์สูตร  

  

 

 ในวัน "วสันตวิษุวัต" ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรงทำให้ง่ายต่อการวัดมุมตกกระทบ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ

 

           อย่างไรก็ตามการคำนวณหาความยาวเส้นรอบวงของโลกสามารถ "ทำได้ทุกวัน" โดยใช้สูตรของท่านอีราโตสทีเนส ดังภาพข้างล่างนี้ มุม a และมุม b (angle of incidence) เป็นมุมเอียงของดวงอาทิตย์เมื่อเวลา "เที่ยงสุริยะ" (solar noon) ณ ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย และปราสาทบายน เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ในที่นี้หากเรากำหนดให้ปฏิบัติการในวันที่ 21ธันวาคม 2556 ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" (winter solstice) กลางคืนยาวที่สุด (กลางวันสั้นที่สุด) ในรอบปี เราก็ต้องคำนวณหาค่าองศาของมุม a และมุม b เพื่อเข้าสูตรการคำนวณ

 

 

        ขั้นตอนที่ 2 คำนวณหาความเร็วสัมพัทธ์ของการหมุนรอบตัวเองของโลก ณ เส้นศูนย์สูตร โดยเอาความยาวเส้นรอบวงของโลก 38,451 กิโลเมตร หารด้วยเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง ได้ตัวเลขความเร็วสัมพัทธ์เท่ากับ 1,602 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แสดงว่าถ้าเราๆท่านๆไปยืนอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรแถวๆประเทศอินโดนีเซียเราจะเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับการหมุนรอบตัวเองของโลกด้วยความเร็ว 1,602 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วพอๆกับเครื่องบินรบรุ่น F-16 ของกองทัพอากาศไทย แต่เราไม่รู้สึกอะไรเลยเพราะโลกเป็นวัตถุขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบขนาดกับตัวเรา

        อย่างไรก็ตาม เราใช้นาฬิกาแดดพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าโลกยังคงเคลื่อนที่ด้วย "ความเร็วเชิงมุม" ที่อัตรา 15 องศา ต่อชั่วโมง มาจากการเอาตัวเลข 24 ชั่วโมง ไปหาร 360 องศา (โลกเป็นวัตถุทรงกลมมีมุมเท่ากับ 360 องศา)    

  

ในความเป็นจริงทางคณิตศาสตร์ความยาวเส้นรอบวงของโลกระหว่างแนวขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ กับความยาวในแนวเส้นศูนย์สูตรมีความต่างกันเล็กน้อย

 

       ขั้นตอนที่ 3 คำนวณหาความเร็วสัมพัทธ์ของการหมุนรอบตัวเองของโลก ณ ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย อยู่ที่เส้นรุ้ง 17.3540 องศา และที่ปราสาทบายน เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา อยู่ที่เส้นรุ้ง 13.4686 องศา (ผมและทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กสามารถคำนวณหาองศาเส้นรุ้งของปราสาทภูเพ็กและปราสาทบายนได้จากปฏิบัติการอีราโต้สทีเนสในวัน "วสันตวิษุวัต" เพราะค่าของมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ จะเท่ากับองศาของเส้นรุ้งที่สถานที่นั้นๆ) 

สูตรการคำนวณความเร็วสัมพัทธ์ของปราสาททั้งสองมีดังนี้

ความเร็วสัมพัทธ์ ณ เส้นรุ้ง a = ความเร็วสัมพัทธ์ ณ เส้นศูนย์สูตร x cos a

(a = องศาของเส้นรุ้งนั้นๆ)

ตามสูตรนี้ความเร็วสัมพัทธ์ของตัวปราสาทภูเพ็กที่หมุนไปพร้อมๆกับโลก

         = 1,602 x cos 17.3540

         = 1,602 x 0.95448011

         = 1,529 กม. ต่อชั่วโมง 

ขณะเดียวกันความเร็วสัมพัทธ์ของตัวปราสาทบายนที่หมุนไปพร้อมๆกับโลก

               = 1,602 x cos 13.4686

                 = 1,602 x 0.97086472

               = 1,555 กม. ต่อชั่วโมง

เมื่อพิจารณาผลการคำนวณทำให้ทราบว่าปราสาทภูเพ็ก ที่จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสัมพัทธ์ช้ากว่าปราสาทบายน ที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ในสัดส่วน 1,529 : 1,555

อนึ่ง ความเร็วขนาดนี้ถือว่าเร็วกว่าความเร็วของเสียง ซึ่งมีอัตราอยู่ที่ 1,200 กม ต่อ ชั่วโมง และแน่ละครับก็ต้องเร็วกว่าเครื่องบินเจ็ทหลายรุ่น

  

  

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 4. ตรวจสอบการหมุนรอบตัวเองของโลก "ในเชิงมุม" ว่ายังคงเป็นปกติหรือไม่ในวันที่ 21 ธันวาคม 2556 เพื่อยืนยันผลการคำนวณตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 - ขั้นตอนที่ 3 

        วิธีการตรวจสอบผมใช้นาฬิกาแดด ควบคู่กับนาฬิกาข้อมือ (ต้องเป็นนาฬิกาตัวเลขระบบดิจิต้อลเพื่อให้มองเห็นตัวเลขชนิดเข้าตากรรมการ) ทั้งนี้ได้ทดลองปฏิบัติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่ 1 Kartika ของปฏิทินมหาศักราชในยุคของอาณาจักรขอม และตรงกับวันแรกของราศีแมงป่อง ผลการทดสอบโดยใช้นาฬิกาแดดยืนยันว่าโลกยังคงหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเชิงมุมที่ 15 ต่อชั่วโมง ดังหลักฐานตามภาพถ่ายของนาฬิกาแดด (solar time)เปรียบเทียบกับนาฬิกาข้อมือ (clock time) 

 

 

สุริยะปฏิทินขอมพันปีที่ปราสาทภูเพ็กแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีแมงป่องอย่างแม่ยำ

 

สมการแห่งเวลา (Equation of time) ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างเวลาของนาฬิกาแดด (solar time) กับเวลาของนาฬิกาข้อมือ (clock time) สำหรับวันที่ 23 ตุลาคม นาฬิกาแดดจะเร็วกว่านาฬิกาข้อมือ (Dial fast) 12 นาที ท่านผู้ชมที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องสมการแห่งเวลาสามารถเข้าชมได้ในคอลั่มเปิดโลกวิทยาศาสตร์ ชื่อบทความนาฬิกาแดดมิติแห่งเวลาของมนุษยชาติ ของ www.yclsakhon.com 

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์โชว์ตัวเลข clock time 1148 และ solar time 1200 แสดงว่านาฬิกาแดดถึงเวลาเที่ยงก่อนนาฬิกาข้อมือ 12 นาที 

 

นาฬิกาแดดต้องถูกวางให้ตรงกับ "ทิศเหนือแท้" โดยใช้แปลนของปราสาทภูเพ็กเป็นตัวช่วย เพราะปราสาทหลังนี้ถูกออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าตรงเข้าหาทิศตะวันออกแท้ และหันด้านข้างตรงกับทิศเหนือแท้ 

 

ต้องตรวจสอบเงาของนาฬิกาแดดทุกๆชั่วโมงเพื่อบันทึกภาพว่าตรงกับสมการแห่งเวลาหรือไม่ 

 

นาฬิกาแดดชี้ที่ solar time 08:00 และนาฬิกาข้อมือ clock time 07:48 สอดคล้องกับสมการแห่งเวลา

 

solar time 09:00 clock time 08:48

 

solar time 10:00 clock time 09:48

solar time 12:00 clock time 11:48

 

solar time 13:00 clock time 12:48

 

            วันที่ 21 ธันวาคม 2556 นำนักเรียน English Program โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา กำลังเรียนวิชา Earth and Space มาปฏิบัติการตรวจสอบอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกว่ายังคงเป็นปกติสุขที่ 15 องศาต่อชั่วโมงหรือไม่ เพื่อจะได้ยืนผลการคำนวณความเร็วสัมพัทธ์ของปราสาทภูเพ็ก เปรียบเทียบกับปราสาทบายน แต่ถ้าผลการตรวจสอบพบว่าอัตราการหมุนรอบตัวเองเชิงมุมไม่ใช่ 15 องศาต่อชั่วโมง อะไรจะเกิดขึ้น แน่นอนครับผู้คนในโลกใบนี้ต้องเปลี่ยนนาฬิกาใหม่หมดอย่างถ้วนหน้าตั้งแต่เศรษฐีพันล้านอย่างรัฐมนตรีบางท่านที่เผอิญเกิดมารวย จนถึงผู้ใช้แรงงานหาเช้ากินค่ำที่เผอิญเกิดมาจน อนึ่งนักเรียนที่สนใจเรื่องนี้ต้องยอมเดินขึ้นปราสาทภูเพ็กด้วยบันได 500 ขั้น และใช้ชีวิตในสไตล์อินเดียน่า โจนส์ 

 

เช้าวันที่ 21 ธันวาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08:00 เป็นต้นไป นักเรียนโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา ชั้น ม.4 ม.5 แผนก English Program  เข้าร่วมปฏิบัติการกาลิเลโอ ที่ปราสาทภูเพ็ก เพื่อคำนวณอัตราความเร็วสัมพัทธ์ของปราสาทภูเพ็กที่เคลื่อนไปพร้อมกับการหมุนรอบตัวเองของโลก จากการคำนวณโดยใช้นาฬิกาแดดเป็นอุปกรณ์ พบว่าปราสาทภูเพ็กมีอัตราความเร็ว 1,529 Km/Hr เร็วกว่าความเร็วของเสียง 1,234 Km/Hr เร็วกว่าเครื่องบินแอร์บัส A-380 1,000 Km/Hr

 

 

 

ใช้นาฬิกาแดดชนิดตั้งฉากกับพื้นโลก (Vertical sundial) เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณอัตราความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลก ณ ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทภูเพ็ก โดยแนบตัวนาฬิกาแดดเข้าไปกับกำแพงของปราสาทภูเพ็ก 

 

 

เมื่อแนบนาฬิกาแดดเข้าไปกับกำแพงของปราสาทภูเพ็ก เข็มของตัวนาฬิกา (Gnomon) ถูกออกแบบให้ชี้ไปที่ดาวเหนือด้วยมุมเงยเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง 17 องศา 

 

 

ปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบและก่อสร้างให้ตรงกับตำแหน่งดาราศาสตร์ ทำให้สามารถติดตั้งนาฬิกาแดดได้อย่างง่ายดาย ในภาพแสดงตำแหน่งกำแพงของตัวปราสาทที่ติดตั้งนาฬิกาแดด

 

ตรวจสอบการทำงานของนาฬิกาแดดกับสมการแห่งเวลา (Equation of time) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่านาฬิกาแดดทำงานได้ตรงตามหลักความเป็นจริงตามหลักดาราศาสตร์ นั่นคือ Solar time = Clock time + 1 minute ในภาพแสดงเวลาของนาฬิกาแดด (Solar time) ที่ 10:00 น. เปรียบเทียบกับนาฬิกาข้อมือ (Clock time) 10:01 น. 

 

สุริยะปฏิทินขอมพันปีก็ทำหน้าที่ชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" (Winter solstice) และราศีแพะทะเล (Zodiac Capricorn) 

 

        สรุป

           โลกใบนี้ยังคงหมุนรอบตัวเองตามปกติที่อัตรา 1,602 Km/Hr (Error 3.84% จากข้อมูลขององค์การนาซ่า 1,666 Km/Hr) และความเร็วเชิงมุม 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง หรือ 360 องศา ต่อ 24 ชั่วโมง เราๆท่านๆยังคงสามารถใช้นาฬิกาอันเดิม อย่างไรก็ตามผมไม่ทราบว่าอีกหลายหมื่นปีข้างหน้าโลกจะยังคงรักษาอัตราความเร็วนี้ได้หรือไม่ ก็ต้องรอดูกันไปถึงตอนนั้นค่อยว่ากับใหม่นะคราบ 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ