ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง

 

ฤาตำนานหนองหารล่ม.......จะกลายเป็นเรื่องจริง

         ความเป็นมาของหนองหาร
      ตำนานพระยาสุรอุทก (ตำนานหลวง)

         หนองหารหลวง เป็นชื่อเก่าของเมืองสกลนครจากตำนานที่กล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างเจ้าเมืองชื่อ พระยาสุระอุทก กับพญานาคธนมูล และตอนจบเหล่าพญานาคสำแดงเดชถล่มเมืองหนองหารจมธรณีกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ ชื่อว่า “หนองหาร”

 

 

 

เมืองหนองหารหลวงสร้างขึ้นโดย "ขุนขอม" พาผู้คนมาจากนครอินทปัทฐ์มาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหาร ณ บริเวณบ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว  

 

ขุนขอมมีบุตรชายชื่อ "พระยาสุระอุทก" ขณะประสูตรมีพระขันฑ์ติดออกมาพร้อมกับปรากฏการณ์เกิดน้ำพุพุ่งขึ้นมาจากใต้ดิน เมื่อเติมใหญ่ได้ครองเมืองหนองหารหลวงต่อจากบิดา

 

พระยาสุระอุทกเดินทางไปตรวจราชการตามชายแดนที่บริเวณแม่น้ำมูล ได้พบกับพญานาคชื่อ "ธนมูล" และเกิดการต่อสู้กัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะเพราะต่างก็มีฤทธิ์เดชพอๆกัน

 

 

พญานาคธนมูลผูกใจเจ็บจึงพาพรรคพวกแอบตามมาที่เมืองหนองหารหลวงโดยแปลงกายเป็นเก้งเผือก พระยาสุระอุทกได้ข่าวมามีเก้งเผือกมาป้วนเปี้ยนอยู่ที่ชานเมืองก็สั่งให้นายพรานออกไปล่าจนในที่สุดเก้งเผือกก็ถูกยิงตาย ชาวเมืองต่างพากันเอาเนื้อเก้งไปแบ่งกันกิน นาคธนมูลจึงถอนร่างตนเองออกจากเก้งเผือกที่ตาย และสั่งให้พรรคพวกโจมตีเมืองหนองหารหลวงในคำ่คืนนั้น

 

เมืองหนองหารหลวงและพระยาสุระอุทกถูกพญานาคโจมตีแบบไม่รู้ตัว และถูกรัดด้วยบ่วงนาคราชจนเสียชีวิตลากเอาศพไปทิ้งลงแม่น้ำโขง ทางที่ลากศพไปกลายเป็นร่องน้ำชื่อว่า "น้ำกรรม" ต่อมาเพี้ยนเป็น "น้ำก่ำ" เมืองหนองหารหลวงล่มจมธรณีกลายเป็นบึงขนาดใหญ่  

 

 หนองหารในปัจจุบันมีเนื้อที่ 133 ตารางกิโลเมตร (ระดับน้ำ +157 เมตร) เป็นแหล่งน้ำดิบของการประปาภูมิภาคหล่อเลี้ยงเทศบาลนครสกลนคร และเป็นแหล่งน้ำแห่งเดียวของชุมชนรอบๆหนองหาร

 

        การเกิดหนองหารจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

 

           ในทางวิทยาศาสตร์หนองหารเกิดจากปรากฏการณ์ธรณีวิทยาที่เรียกว่า “หลุมยุบ” เนื่องจากการทรุดตัวของบ่อหินเกลือขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินกลายเป็นแหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุด ในภาคอีสานมีเนื้อที่ 133 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 83,000 ไร่ (ที่ระดับเก็บกักน้ำ +157 เมตร จากระดับน้ำทะเล) เป็นที่สองรองจากบึงบรเพ็ด หนองหารได้รับน้ำ จากลำธาร 21 สาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือลำน้ำพุงซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูเขาภูพาน น้ำในหนองหาร ไหลลงแม่น้ำโขง โดยลำน้ำก่ำ ที่นี่เป็นแหล่งน้ำและอาหารอันอุดมสมบูรณ์ จึงพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนตั้งแต่ครั้งยุคสมัย ก่อนประวัติศาสตรฺ์ภายใต้ชื่อ “วัฒนธรรมบ้านเชียง” ราว 3000 ปีที่แล้ว และเปิดประตูเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ด้วย อารยธรรมทวาราวดีในพุทธศตวรรษที่ 11 ต่อเนื่องด้วยยุคขอมเรืองอำนาจราวพุทธศตวรรษที่15 เปลี่ยนผ่านเป็น อานาจักรล้านช้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 และเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ในพุทธศตวรรษ์ที่ 24 จวบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าหนองหารทำหน้าที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยอย่างต่อเนื่องมานานกว่าสามพันปี

 

แผ่นดินภาคอีสานเคยเป็นทะเลมาก่อนในยุค Paleozoic Era (Late Permian 255 Ma)

 

เปลือกโลกยกตัวขึ้นกลายเป็นแผ่นดินในยุค Cenozoic 65 Ma

 

ภาคอิสานแบ่งออกเป็น "แอ่งสกลนคร" และ "แอ่งโคราช" โดยมีเทือกเขาภูพานกั้นตรงกลาง

 

    การเป็นทะเลมาก่อนทำให้มีหินเกลือสะสมใต้ดิน ขณะเดียวกันน้ำจากผิวดินเริ่มซึมลงไปเรื่อยๆ

 

น้ำจากผิวดินเริ่มซึมลึกลงไปถึงชั้นหินเกลือ

 

หินเกลือถูกน้ำกัดจนเป็นของเหลวและทำให้เกิดโพรงขนาดใหญ่ใต้ดิน

 

โพรงขนาดใหญ่ทรุดตัวกลายเป็นหลุมยักษ์เรียกว่า "หลุมยุบ" (sinkhole) 

 

กลายเป็นทะเลสาปและขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆจากการกัดเซาะของน้ำ

 

มีลำน้ำจากแหล่งที่สูงกว่าไหลมาสะสมกลายเป็นทะเลสาปขนาดใหญ่ มีชื่อว่า "หนองหาร" 

 

ลำน้ำที่ไหลลงหนองหารและมีปริมาณน้ำมากที่สุดคือ "ลำน้ำพุง" 

 

น้ำส่วนเกินของหนองหารไหลลง "ลำน้ำก่ำ" และในที่สุดไหลลง "แม่น้ำโขง" 

 

 

 

 

 

      หนองหารในความทรงจำของชาวบ้าน        

        ย้อนอดีตราว 70 ปีที่แล้วหนองหารเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำลักษณะน้ำท่วมขังบริเวณกว้างช่วงฤดูฝน และเมื่อถึงฤดูแล้งน้ำลดจนเกือบแห้งเหลือเพียงบางส่วนในที่ต่ำ ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชาวเมืองสกลนครและชุมชนต่างๆที่อาศัยอยู่รอบๆ เพราะอุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยตรงไม่ต้องผ่านระบบประปา จากคำบอกเล่าของ นายสำ บุรเนตร อายุ 77 ปี ชาวบ้านบึงศาลา หมู่ที่ 8 ตำบลนาตงวัฒนา อำเภอโพนนาแก้ว ยืนยันว่าเคยจับปลาเสือหนักถึง 8 กิโลกรัม และปลาดุกขนาดตัวเกือบเท่าขา รวมทั้งปลาอีกหลายชนิด น้ำในหนองหารใสสะอาดดื่มได้ เช่นเดียวกันกับนางกองมณี พรหมดิเรก อายุ 84 ปี ชาวชุมชนในเขตเทศบาล นครสกลนครให้การยืนยันว่าเมื่อครั้งเป็นสาวๆได้ไปช่วยพ่อแม่หาปลาในหนองหาร และดื่มกินน้ำหนองหารอย่าง สนิทใจ อีกทั้งจากหลักฐานภาพถ่ายเก่าๆของหนองหารเมื่อครั้งที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการ ที่เมืองสกลนครในปี พ.ศ.2449 ก็ยืนยันบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์

 

หนองหารในอดีตเมื่อยังไม่มีการปิดกั้นประตูน้ำ มีสภาพธรรมชาติที่สวยงามน้ำสะอาด จนมีคำกล่าวว่า "น้ำใสไหลเย็น เห็นตัวปลา" 

 

ในสมัยนั้นน้ำในหนองหารไม่ลึกนักสามารถเดินไป หรือนั่งเกวียน และขับรถจี๊บไปถึงเกาะดอนสวรรค์ได้ แต่พอมีการปิดกั้นประตูน้ำเมื่อ ปี 2496 ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นจนท่วมแนวคูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาพถ่ายปี 2497) 

 

คุณยายกองมณี พรหมดิเรก อายุ 84 ปี กำลังบรรยายสภาพของหนองหารสมัยเมื่อคุณยายยังเป็นวัยรุ่น ในเวที "โสเหล่กันวันเสาร์" จัดโดยชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล ร่วมกับเทศบาลนครสกลนคร เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2556 

 

          หนองหารเริ่มเปลี่ยนไป  

         ราว 40 – 50 ปี ที่ผ่านมาเริ่มเห็นการเสื่อมโทรมของหนองหาร เพราะมีการสร้างประตูน้ำแห่งแรกเมื่อปี 2496 ตามด้วยประตูน้ำแห่งที่สองใน ปี 2535 ทำให้น้ำนิ่งไม่สามารถถ่ายเทผ่านลำน้ำก่ำไปลงแม่น้ำโขง เมื่อน้ำที่เสื่อมคุณภาพสะสมนานๆเข้าก็เกิดวัชพืช เช่น ผักตบชวา และสาหร่ายหลายชนิดขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนเกิดการตื้นเขินและปิดกั้นการออกเรือของชาวบ้าน ปัจจุบันวัชพืชเหล่านี้ กินพื้นที่บริเวณขอบๆหนองหารอย่างมาก อีกทั้งรวมตัวกันเป็นแพขนาดใหญ่เรียกว่า “สนุ่น” ลอยไปลอยมา หนักๆเข้าก็กลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ จากการที่มีประตูกั้นน้ำเป็นสาเหตุให้ปลาจากแม่น้ำโขงไม่สามารถเข้ามาวางใข่และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของระบบนิเวศน์ที่มีมาแต่ดั่งเดิม แม้ว่าทางราชการจะสร้าง “บันไดปลาโจน” แต่ก็ไม่สามารถเรียกความหลากหลายของพันธุ์ปลากลับคืนมาได้เหมือนเดิม อาจจะเป็นเพราะปลาส่วนหนึ่งไม่สามารถผ่านบันไดดังกล่าว ประกอบกับมีการลักลอบจับปลาในบริเวณหน้าบันไดปลาโจนในขณะที่ปลามารวมตัวกัน

 

 

 

ประตูกั้นน้ำแห่งแรกชื่อว่า ประตูน้ำก่ำ หรือ ประตูแววพยัคฆ์คัน สร้างเสร็จในปี 2496

 

ประตูน้ำแห่งที่สอง สร้างในปี 2535 โดยกรมประมง ใช้เงินกู้จากกองทุนร่วมมือด้านเศรษฐกิจโพ้นทะเล (Overseas Economic Coorperation Fund :OECF) ของประเทศญี่ปุ่น มีการตั้งชื่อว่า "ประตูระบายน้ำสุรัสวดี" 

 

 

สภาพน้ำเน่าเสียและวัชพืชเริ่มปรากฏในปี 2516 โดยเปรียบเทียบกับภาพถ่าย ปี 2497       

 

ภาพเปรียบเทียบหนองหารในอดีต 2497 กับปัจจุบัน เห็นได้ชัดเจนว่าสภาพน้ำเสื่อโทรมไปมาก มีวัชพืชและสาหร่ายหนาแน่นในบริเวณริมฝั่ง เนื่องจากมีอินทรีย์วัตถุและน้ำเสียจากตัวเมือง ประกอบกับเป็นน้ำนิ่งไม่สามารถถ่ายเทได้

 

บันไดปลาโจนที่สร้างคู่ขนานกับประตูน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกให้ปลาจากแม่น้ำโขงที่ว่ายทวนน้ำมาทางลำน้ำก่ำสามารถเข้าไปวางใข่และเพาะเป็นตัวอ่อนในหนองหาร ซึ่งเดิมมีสภาพระบบนิเวศน์เรียกว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำ" เหมาะแก่การขยายพันธ์ุปลาตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามมีข้อถกเถียงที่ยังหาข้อสรุปไม่ลงตัวว่า บันไดปลาโจนนี้ใช้ได้ผลจริงขนาดไหน 

 

สภาพวัชพืชที่หนาแน่น มีการจับตัวเป็นแพขนาดใหญ่เรียกว่า "สนุ่น" ลอยอยู่ทั่วไปในหนองหาร

 

กองสนุนขนาดใหญ่เหมือนเกาะลอยน้ำ

 

        ทุกวันนี้ภาพพจน์ของหนองหารเปลี่ยนไปราวหน้ามือกับหลังมือ จากน้ำที่เคยดื่มกินได้อย่างสนิทใจแปรสภาพ เป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย และมีการแพร่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ในตับจากการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุขพบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบหนองหารในรัศมี 3 กิโลเมตร เมื่อ ปี พ.ศ.2530 มีอัตราชุกชุมถึงร้อยละ 37.97 อีกทั้งชาวบ้านไม่กล้าที่จะลงไปเล่นน้ำเพราะมีอาการคันตามผิวหนัง เมื่อปี พ.ศ.2543 ผู้เขียนได้รับหน้าที่เก็บข้อมูลในนามของบริษัทที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการก่อสร้างประตูน้ำก่ำที่ใช้เงินกู้จากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจโพ้นทะเลของประเทศญี่ปุ่น (OECF) พบว่าการหาปลาของชาวบ้านเป็นไปด้วยความลำบากเพราะถูกปลาปักเป้า แย่งกัดกินปลาที่ติดตาข่ายจนเหลือแต่หัว แสดงว่าประชากรปลาปักเป้ามากขึ้นอย่างผิดสังเกต ผู้เขียนตั้งประเด็น คำถามว่าปลาปักเป้าน่าจะเป็นตัวชี้วัดการเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ นายจักพงษ์ วงกาฬสินธุ์ อายุ 64 ปีข้าราชการบำนาญที่ชอบตกปลาในหนองหารเป็นกิจกรรมอดิเรกกล่าวกับผู้เขียนว่า ดึงเบ็ดขึ้นมาสิบครั้งติดปลาปักเป้าขึ้นมาแปดครั้ง ถ้าท่านผู้อ่านได้ดูภาพถ่ายเปรียบเทียบหนองหารระหว่างอดีตกับปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเจนว่าสภาพน้ำเสื่อมโทรมอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใกล้ฝั่งสีของน้ำจะออกโทนเขียวคล้ำเพราะประชากร ที่หนาแน่นของวัชพืชและสาหร่าย 

      การตื้นเขินจากตะกอน

         จากผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร พบว่าหลังจาก ที่มีการก่อสร้างประตูน้ำก่ำและเริ่มกักน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 60 ปี มีตะกอนสะสมในหนองหารมากกว่า 1.871 ล้าน ลบ.ม. และอีก 15 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2571 จะมีตะกอนสะสมมากถึง 2.794 ล้าน ลบ.ม. หากเป็นเช่นนี้ความจุของหนองหารจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลโดยตรงต่อปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองสกลนครเนื่องจากหนองหารเป็นเสมือนแก้มลิงขนาดใหญ่ที่รองรับน้ำฝนจากตัวเมืองและภูพาน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาการตื้นเขินที่เกิดจากความหนาแน่นของสาหร่ายใต้น้ำซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยที่เอื้อได้แก่แสงแดดและอินทรีย์วัตถุที่มาจากเขตเทศบาลและชุมชนรอบหนองหาร ยิ่งกว่านั้น ระบบการกำจัดน้ำเสีย และสิ่งปฏิกูลจากครัวเรือนได้เปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อครั้งอดีตที่แต่ละครัวเรือนมีที่ดินว่างเปล่าที่เรียกว่า “บ่อขี้ซีก” ทำหน้าที่ดูดซับและกำจัดน้ำเสียโดยขบวนการธรรมชาติก่อนที่จะปล่อยไหล ลงหนองหาร แต่ปัจจุบันบรรดาบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ทั้งหมดได้เปลี่ยนระบบจากส้วมซึมและบ่อขี้ซีกเป็น “ถังแซ้ท” ดูเผินๆก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่น่าจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ในความเป็นจริงกลายเป็นระบบเสมือนท่อต่อตรงให้สิ่งปฏิกูลไหลงลงทางระบายน้ำและสุดปลายทางที่หนองหาร เนื่องจากขนาดของถังไม่สอดคล้องกับจำนวนความถี่ของการใช้งาน และยังมีการใช้สารเคมีล้างทำความสะอาดห้องน้ำไปทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล 

        การก่อสร้างของราชการรุกล้ำหนองหาร

        โครงการของส่วนราชการจำนวนมากรุกล้ำหนองหาร และขัดขวางการไหลเวียนของน้ำทำให้เกิดการสะสม วัชพืชและตะกอน เช่นโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะที่ดอนลังกา โดยการถมดินกั้นทางไหลของน้ำเพื่อทำเป็นทางเชื่อมระหว่างที่ดินในฝั่งกับดอนลังกาที่อยู่ในน้ำ ทำให้วัชพืชจำนวนมากไปสะสมอยู่บริเวณนั้นจนทำให้น้ำเน่าเสีย และตื้นเขิน แม้ว่าทางราชการจะใช้เครื่องจักรลงไปกำจัดแต่ก็ไร้ผลเพราะทำได้เพียงจำนนวนจำกัดและไม่ต่อเนื่อง ปัจจุบันก่อยังมีการรุกล้ำหนองหารเพื่อก่อสร้างสถานที่ราชการอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่น่าจะหาที่เหมาะสมบริเวณอื่น

โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะโดยใช้งบประมาณเพื่อการท่องเที่ยว มีการถมดินเป็นถนนไปเชื่อมกับดอนลังกา ทำให้เกิดการสะสมของวัชพืชจำนวนมากและกลายเป็นน้ำเน่าเสีย  

             

        สาหร่ายพิษภัยเงียบในน้ำหนองหาร

        ผลการศึกษาทางชีววิทยาในหนองหารโดย ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดหนึ่งมีสารพิษชื่อว่า “ไมโคซีสตีส” (Microcystis) ส่งผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบและอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในท่อน้ำดี ขณะเดียวกันนายแพทย์สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล กรรมการที่ปรึกษาศูนย์หนองหาร ได้ศึกษาสถิติการเกิดโรคมะเร็งในตับของประชาชนบริเวณ รอบๆหนองหาร ก็พบว่าประชาชนที่บ้านท่าแร่ซึ่งอยู่ริมหนองหารมีความถี่ของโรคมะเร็งสูงกว่าที่อื่นๆ ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรทำการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์สาหร่ายพิษและสถิติการเกิดโรคมะเร็ง ให้รู้แน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากน้ำหนองหารหรือไม่ 

       ผมในฐานะนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ได้ให้แนวคิดการวิจัยแก่นักเรียนมัธยมหกสายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ให้ทำวิจัยว่ามีประชากรสาหร่ายพิษที่ว่านี้มากน้อยแค่ไหนในหนองหาร โดยขอให้ ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลก็ปรากฏชัดเจนว่าพบสาหร่ายบ้านี่จริงๆ

 

 

จากงานวิจัยของ ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ยืนยันว่าพบสาหร่าย "ไมโครซีสตีน" ในบริเวณหนองหาร ซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีสารพิษเป็นอันตรายต่อตับและท่อน้ำดี

 

ผลงานวิจัยของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมหก โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เกี่ยวกับสาหร่ายพิษ Microcystis เสนอในงานประชุมทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ของกลุ่มโรงเรียนในภาคอีสานตอนบน เมื่อเดือนกรกฏาคม 2556

 

ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ กำลังติวเข้มลูกศิษย์ก่อนนำเสนอผลงาน ที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

 

บรรยากาศขณะนักเรียนกำลังนำเสนอผลงานวิจัยสาหร่ายพิษไมโครซีสตีส

 

ผลการวิจัยแสดงว่ามีการพบจำนวนเซลของสาหร่ายไมโครซีสตีส ในที่ต่างๆของหนองหาร แต่ที่น่าเป็นห่วงคือพบมากที่สุดในบริเวณท่อสูบน้ำเข้าโรงผลิตประปาของเขตเทศบาลนครสกลนคร

 

การวิจัยของนักเรียนสกลราชวิทยานุกูลเมื่อปี 2556 พบว่า ปริมาณสาหร่ายพิษ Microcystin ในบริเวณท่อสูบน้ำประปามีจำนวนมากที่สุด 170,000 cells / 1,000 cc 

 

สภาพปัจจุบันของบริเวณท่อสูบน้ำดิบจากหนองหารเข้าสู่การขบวนการผลิตน้ำประปาเมืองสกล

 

ภาพถ่าย Google Earth แสดงบริเวณสถานีสูบน้ำจากหนองหารเพื่อผลิตน้ำประปาเมืองสกล

 

บริเวณที่สูบน้ำเพื่อผลิตประปาอยู่ริมฝั่งติดกับตัวเมืองทำให้คุณภาพน้ำต่ำมากการประปาจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการบำบัด

 

สมัยก่อนการสูบน้ำจากหนองหารใช้ท่อยาวลงไปถึงบริเวณที่น้ำคุณภาพดี

 

ภาพถ่ายปี 2522 ยังมองเห็นท่อสูบน้ำประปาจากหนองหารยาวออกไปไกลฝั่ง

 

 ในฐานะนายกสโมสรโรตารีสกลนคร เป็นผู้ให้แนวคิดในหัวข้อการวิจัยและเป็นสปอนเซ่อร์ส่วนหนึ่งก็เลยต้องถ่ายรูปกับทีมงานเป็นที่ระลึก

 

          บทบาทของภาคประชาชน

        อย่างไรก็ตามผู้เขียนในฐานะ ที่ทำงานเป็นที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ริเริ่มโครงการชักชวน ให้ประชาชนหาวิธีกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในระดับครัวเรือน เพื่อลดภาระของระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครสกลนคร ที่สามารถรองรับได้เพียงครึ่งเดียวของปริมาณน้ำเสีย ในภาพรวม ด้วยการเขียนบทความ ”กู้หนองหารด้วยมือเรา” ในคอลั่มจับประเด็นร้อนของเว้ปไซด์ www.yclsakhon.com 

      ฤาตำนานหนองหารล่ม จะกลายเป็นเรื่องจริง

        ในท้องเรื่องของตำนานเมืองหนองหารหลวง พญานาคเป็นผู้ถล่มเมืองให้จมลงสู่ธรณีเพราะเหตุความขัดแย้ง ระหว่างพระยาสุระอุทกผู้เป็นเจ้าเมืองกับพระญานาคธนมูล แต่ในยุคปัจจุบันเมืองสกลนครอาจจะล่มสลาย ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเพราะเงื้อมมือของพวกเราเอง ที่ร่วมกันสร้างมลพิษแก่หนองหารด้วยความจงใจ หรือรู้เท่า ไม่ถึงการ ดังนั้น ตำนานแห่งหนองหารหลวงจึงน่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ ให้เราๆท่านๆได้เกิด ความตระหนกและตระหนัก สลัดคราบแห่งความเป็น "ไทยเฉย" รีบเร่งหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น "พญานาคธนมูลเวอร์ชั่นใหม่" ในร่างของสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จะลุกขึ้นมาถล่มนครหนองหารหลวง เป็นครั้งที่สอง หรือจะเป็นครั้งสุดท้าย.....คราวนี้แหละตำนาน "หนองหารล่ม" จะกลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมาในชาตินี้ของท่านและผม

ข้าจะกลับมาใหม่ลุยรอบสอง ในร่างของน้ำเสียและมลพิษ ชาวสกล ......ระวังให้ดี

 

 

         

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ