ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




คำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ

คำสอนของพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ

        เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวพุทธทั่วโลกว่าองค์ศาสดาของเรากำเนิดที่ดินแดนภารตะ และมอบมรดก "ธรรมะ" แก่เราๆท่านๆทั้งหลายให้ยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมานานกว่าสองพันห้าร้อยปี ศาสนาพุทธได้เจริญอย่างสุดขีดในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์มูรยะ (304 - 232 ปี ก่อนคริสตกาล) และก็เจริญต่อเนื่องมาเรื่อยๆจนขยายออกไปยังดินแดนต่างๆที่เป็นประเทศปากีสถาน และอัฟกานีสถานในปัจจุบัน แต่เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ศานาพุทธในดินแดนภารตะก็ถึงกาลอวสาน เมื่อถูกกองทัพจากตุรกีรุกรานและเผาทำลายมหาวิทยาลัยพุทธแห่งแรกของโลกที่ "นาลันทา" อย่างย่อยยับ เป็นการปิดฉากอาณาจักรแห่งพุทธศาสนาในดินแดนแม่ อย่างไรก็ตามเราก็ยังโชคดีที่คำสอนของพุทธองค์ได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอื่นๆในเอเซียใต้ที่เกาะศรีลังกา เอเซียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น และเอเซียอาคเนย์อย่างอินโดนีเซีย พม่า ไทย และกัมพูชา ทำให้ศาสนาพุทธยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างต่อเนื่อง

ก่อกำเนิด และรุ่งโรจน์ของศาสนาพุทธ

        เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า ถ้าไม่ได้จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์มูรยัน ครองราชระหว่าง ปีที่ 269 - 232 ก่อนคริสตกาล หรือระหว่าง พ.ศ.274 - 311 ศาสนาพุทธคงไปไม่ไกลขนาดที่เห็นในปัจจุบัน พระองค์เริ่มคิดที่จะเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาพุทธตามคำเกลี้ยกล่อมของพระมเหสีประจวบกับการที่ได้เห็นคนบาดเจ็บล้มตายมากกว่า 250,000 ชีวิต ในคราวทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่กับแคว้นคาลิงกะ ราวปีที่ 8 ของการครองราช พระองค์ตัดสินใจเด็ดขาดต่อการเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและหันมาเอาดีทางเผยแพร่คำสอนพุทธองค์ โดยส่งธรรมฑูต (Dutus)ไปทั่วแคว้นแดนไกล (ศัพท์คำว่าฑูตในภาษาไทย มาจากรากภาษาสันสกฤตว่า Dutus ภาษาอังกฤษแปลตรงตัวว่า emissaries) ในการนี้ธรรมฑูตชื่อ "พระโสณะ และพระอตตระ" ถูกส่งมาที่ดินแดนสุวรรณภูมิทางทิศตะวันออก แต่น่าเสียดายว่าไม่มีรายละเอียดอธิบายเพิ่มเติมว่าสุวรรณภูมิจริงๆอยู่ตรงไหน นักประวัติศาสตร์บางท่านให้ความเห็นว่าน่าจะอยู่แถวๆพม่าในปัจจุบัน เพราะดินแดนนี้อยู่ใกล้กับเขตแดนของอาณาจักรมูรยัน (ดูแผนที่ประกอบ) หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์มูรยันอาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นอาณาจักรใหม่ๆภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่นับถือพุทธหลายพระองค์ เช่น อาณาจักรของกษัตริย์เชื้อสายกรีก ทำให้มีการสร้าง "พระพุทธรูป"    

 

543

ลุมพินีสถาน ปัจจุบันอยู่ในประเทสเนปาลติดกับชายแดนของอินเดีย เป็นที่ประสูติของเจ้่าชายสิทธัตถะราว 563 - 624 BCE (Before Common Era: BCE ก่อนคริสตกาล) ทุกวันนี้นักประวิติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่าเจ้า ชายสิทธัตถะประสูติในปีไหน ทำให้การนับพุทธศักราช (พ.ศ.) ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเลือกเอาปีไหน ระหว่าง 544 - 483 BCE ในกรณีนี้ประเทศไทยเลือกเอา 543 BCE ส่วนประเทศพม่าเลือกเอา 544 BCE ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะโปรดเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0

 

 

ภายในตัวอาคารที่วิหารลุมพินี มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบหินแกะสลักแสดงการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะโดยคลอดออกมาทางซี่โครงด้านขวาของพระนางมหาเทวีพระมารดา และแผ่นหินวางไว้ที่พื้นแสดงตำแหน่งของเหตุการณ์ดังกล่าว เข้าใจว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมต้องเข้าแถวยาวเยียดเพื่อทะยอยเดินเข้าไปในบริเวณที่จัดแสดง 

 

 

พระเจ้าอโศกมหาราชมีอายุอยู่ระหว่าง ปี 304 - 232 BCE และเป็นกษัตริย์ระหว่าง ปี 269 - 232 BCE (ก่อนคริสตกาล) เดิมพระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์ แต่หลังจากสิ้นสุดมหาสงครามกับ "แคว้นคาลิงกะ" ในปีที่ 8 แห่งการครองราช ราว 261 BCE ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บมากกว่า 250,000 คน พระองค์จึงหาทางละทิ้งการใช้อำนาจบาทใหญ่และฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยการเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และกลายเป็นจักรพรรดิ์ชาวพุทธที่ยิ่งใหญ่สัญลักษณ์ประจำพระองค์ซึ่งมีรูป "พระธรรมจักร" อยู่ใต้ฐานสิงห์สี่หน้าหมายถึงคำสอนของพุทธองค์จะแพร่ไปทุกทิศของโลก ปัจจุบันปรากฏเป็นสัญลักษณ์ในธงชาติอินเดีย 

 

อาณาจักรมูรยัน (Mauryan Empire) ของพระเจ้าอโศกมหาราช กว้างใหญ่ไพศาลกินอาณาเขตประเทศอินเดียปัจจุบัีนเกือบทั้งหมด และขยายไปถึงพื้นที่ปัจจุบันของประเทศปากีสถานและอัฟกานีสถาน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์เพียง 50 ปี พระราชอาณาจักรมูรยันก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆและสิ้นสลายกลายเป็นอาณาจักรของราชวงศ์อื่นๆ หรือว่านี่แหละคือสัจจธรรมที่พุทธองค์กล่าวว่า "ทุกอย่างล้วนอนิจจัง"  

 

 

พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมฑูตไปเผยแผ่ศาสนาพุทธในดินแดนต่างๆ และเป็นที่มาของเรื่องราวของพระธรรมฑูตที่ชื่อ "พระโสณะ และพระอตตระ" ที่ชาวพุทธเชื่อว่าได้เดินทางมาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ

 

จารึกสองภาษาคือภาษากรีกและภาษาอรามิก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวถึงการละเว้นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การให้ความรักและความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ต่างๆ พบที่เมืองกันดาฮาล ประเทศอัฟกานีสถาน ต่อมาเอาไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงกาบูล ปัจจุบันหายไปอย่างไร้ร่องรอยอาจจะไปตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของเศรษฐีที่ไหนสักแห่ง

 

ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชยังไม่มีการประดิษฐ์พระพุทธรูป แต่พอกาลเวลาล่วงเลยมาถึงยุคของพระเจ้ากานีสกะมหาราชกษัตริย์ชาวกรีกที่นับถือพุทธ (Kaniska the Great) แห่งอาณาจักรคุชชั่น (Kushan Empire) ครองราชระหว่างคริตศักราช 127 - 151 หรือ พ.ศ. 670 - 694 มีการสร้างพระพุทธรูปสไตล์กรีกขึ้นเป็นครั้งแรก  

 

 

พระพุทธรูปศิลปะกรีกที่อัฟกานีสถานกำลังอยู่ระหว่างการขุดค้นหาเพิ่มเติมหลังจากที่รัฐบาลตาลีบันถูกขับไล่ออกไปแล้ว

 

 

พระพุทธรูปนอนที่ประเทศ Tajikistan 

 

พระพุทธรูปนอนที่ Tajikistan ได้รับการบูรณะและเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Ourgonteppa

 

การถดถอยและล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดีย

        ศาสนาพุทธในอินเดียเจริญรุ่งเรื่องมาเรื่อยๆจนถึงยุคแห่งอาณาจักรคุปตะ (Gupta Empire) ราวปี ค.ศ.320 - 550 หรือ พ.ศ.670 - 1093 เริ่มมีเค้ารางแห่งการถดถอยเนื่องจากกษัตริย์ของราชวงศ์นี้นิยมศาสนาฮินดู มีการสร้างความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็น "อวตาร" ของพระวิศนุ กษัตริย์บางองค์ก็แสดงตนเป็นศัตรูต่อศาสนาพุทธอย่างชัดเจน เช่น ในยุคของกษัตริย์มิฮิรากูละ (Mihirakula) ค.ศ.515 หรือ พ.ศ.1058 มีการทำลายศาสนสถานของพุทธ ในช่วงสมัยนี้พระธุดงชาวจีนที่เดินทางมายังอินเดีย เช่น ฟาเซี่ยน และพระถังซำจั๋ง ได้บันทึกเหตุการณ์ว่าเห็นการถดถอยของศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามศาสนาพุทธได้เผยแผ่ออกไปยังดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เกาะชวา และทำให้เกิดอารยธรรมทวาราวดีในประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ 11หลังสิ้นยุคสมัยของอาณาจักรปาละ (Pala Empire) พ.ศ.1443 - 1643 ศาสนาพุทธก็เริ่มถดถอยอย่างชัดเจนด้วยแรงเบียดจากศาสนาฮินดู ประกอบกับเรื่องราวที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารหนึ่งของพระวิศนุสะสมความเชื่อแรงขึ้นมากทำให้ชาวพุทธเปลี่ยนไปนับถือฮินดู

 

 

 

   

   

        บทสรุปแห่งการล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดียเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนในปี ค.ศ.1193 หรือ พ.ศ.1736 เมื่อกองทัพมหึมาของชาวเติกร์นำโดยแม่ทัพชื่อ บักตียาร์ คีจิ บุกเข้าทำลายและเผามหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา พระสงฆ์มากกว่า 10,000 รูปถูกฆ่าตาย ส่วนที่รอดชีวิตก็กระสานซ่านเซ็นไปยังดินแดนห่างไกลเช่น ทิเบต หรืออินเดียตอนใต้   

 

  

มหาวิทยาลัยนาลันทาศูนย์กลางแห่งศาสนาพุทธในคริตศวรรษที่ 12 อยู่ในแคว้นมคธ ปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยกองทัพจากตุรกี 

 

มหาวิทยาลัยนาลันทา มีเนื้อที่กว้างประมาณ 88 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาพุทธที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่าง คริสต์ศวรรษที่ 5 - ค.ศ. 1197 มีนักศึกษาอาศัยอยู่ตามหอพักต่างๆมากถึง 10,000 คน มาจากดินแดนห่างไกล เช่น ธิเบต จีน และเปอร์เซีย พระถังซำจั๋งเคยธุดงผ่านมาที่นี้ใน คิตศวรรษ์ที่ 7 และบันทึกอธิบายความยิ่งใหญ่อลังการของสถานที่แห่งนี้ 

 

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนาลันทาเหลือเพียงซากฐานรากของสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ กลายเป็นสถานที่เรียนรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของรัฐพิหาร นาลันทาถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงด้วยการเผาและรื้อทิ้งโดยกองทัพจากดินแดนตุรกีนำโดยแม่ทัพ บักติยาร์ คีจิ (Baktiyar Khiji) ในปี ค.ศ.1193 พระภิกษุจำนวนนับหมื่นรูปถูกสังหาร ส่วนที่เหลือรอดชีวิตก็หนีไปยังแดนไกล เช่น ธิเบต และอินเดียตอนใต้  

 

 

ดวงตราของมหาวิทยาลัยนาลันทา

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมกับแผนผังของมหาวิทยาลัยนาลันทา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดียตอนเหนือ อยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐชื่อว่าปัทน่า (Patna) 88 กิโลเมตร 

 

คำสอนแห่งพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ

        ชาวพุทธทั่วโลกต้องขอบคุณบุรุษที่ชื่อ ดร.บิมราว รามจิ แอมเบดก้าร์ (Dr.Bhimrao Ramji Ambedkar) หรือชาวพุทธในอินเดียนิยมเรียกท่านอย่างเคารพนบนอบว่า ดร.บาบาซาเฮบ แอมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Ambedkar) ท่านเกิด 14 เมษายน ค.ศ.1891 และเสียชีวิต 6 ธันวาคม ค.ศ.1956 ท่านผู้นี้ทำให้ประวัติศาสตร์ประเทศอินเดียต้องบันทึกไว้ว่า "เป็นผู้ทำให้คำสอนของพุทธองค์กลับคืนมาสู่แผ่นดินแม่อีกคำรบหนึ่ง หลังจากเหินห่างไปนานนับพันปี" ดร.แอมเบดก้าร์เกิดในครอบครัววรรณะต่ำสุดของสังคมอินเดีย แต่ด้วยการที่มีบรรพบุรุษเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษและพ่อก็รับราชการในกองทัพบกอินเดีย จึงอาศัยใบบุญของพ่อที่เป็นข้าราชการทหารสามารถฝากฝังลูกชายให้เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล แต่ด้วยวรรณะต่ำสุดก็ถูกเหยียดหยามด้วยการให้นั่งเรียนนอกห้องและห้ามกินน้ำในภาชนะเดียวกับเพื่อนๆ ต้องให้ภารโรงเทน้ำให้กินแบบยืนห่างๆ ท่านเขียนบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า "วันไหนภารโรงไม่มาทำงาน วันนั้นอดกินน้ำ" แต่ด้วยความมุมานะอดทนไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาราศีที่เลือกเกิดไม่ได้ ประกอบกับเป็นเด็กหัวดีเรียนเก่งจึงสามารถสอบผ่านได้อย่างง่ายดาย ต่อมาในปี ค.ศ.1897 ครอบครัวย้ายไปทำงานที่เมืองบอมเบย์ท่านจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยม Elphinstone High School และเป็นนักเรียนจากวรรณต่ำสุดเพียงคนเดียวที่ได้เข้าเรียนที่นี่ ท่านสอบได้คะแนนดีมากจึงสามารถเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่ Elphinstone College ภายใต้สังกัด Bombay University ในปี ค.ศ.1907

          อนึ่ง ในฐานะที่เป็นนักเรียนเก่าจากประเทศอินเดียผมก็เคยเป็นนักศึกษาแผนกวิชา Intermediate Science สังกัด Bombay University แต่เรียนที่ Wilson College ในปี ค.ศ.1969 - 1970 เป็นรุ่นน้องท่าน ดร.แอมเบดก้า ราว 63 ปี

          จากนั้นท่านได้รับทุนไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านคือ "เงินรูปีอินเดีย"

 

  

ดร.แอมเบดก้าร์ในวัยหนุ่มที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา

 

          ด้วยดีกรีระดับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาประกอบกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ท่านได้ผันตัวเองเข้าสู่การเป็นอาจารย์ใหญ่ในสถาบันกฏหมายชื่อดังอย่าง Government Law College Bombay ในปี ค.ศ.1935 จากผลงานโดดเด่นด้านกฏหมายรัฐบาลอินเดียจึงเชิญให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1947 ท่าน ดร.แอมเบการ์ ได้พยายามทำกฏหมายให้ชาวอินเดียทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม แต่ด้วยความเชื่อและประเพณีที่ยึดถือกันมานับพันปีทำให้สังคมอินเดียยังคงวนเวียนอยู่ในกฏแห่งชั้นวรรณะ สิ่งเหล่านี้ทำให้ ดร.แอมเบการ์ ต้องตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตด้วยการประกาศ "เปลี่ยนศาสนาจากฮินดู ไปเป็นศาสนาพุทธ" ที่เมืองนาคปูร์ รัฐมหารัชตะ (Nagpur Maharashtra) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1956 ในวันเดียวกันนั้นมีชาวฮินดูวรรณะสูตปฏิบัติตามท่านผู้นำมากมายกว่า 380,000 คน และทะยอยตามมาอีกหลายล้านคนในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเหตุการณ์นี้ด้วยคำว่า "คลื่นแห่งพุทธศาสนาตามแบบอย่างแอมเบการ์" (Ambedkarite Buddhism) เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ท่าน ดร.แอมเบก้าร์ เสียชีวิตลงที่บ้านในกรุงนิวเดลลีด้วยโรคเบาหวานหลังจากเหตุการณ์สำคัญนี้เพียง 6 อาทิตย์ ปัจจุบันคลื่นแห่งพุทธรรมในแผ่นดินแม่ยังคงเจริญเติมโตขึ้นตามลำดับจนมีคำเรียกขานว่า "ศาสนาพุทธเกิดใหม่" (Neobuddhism หรือ Buddhist Movement) ดร.แอมเบดก้าร์ เชื่ออย่างแน่วแน่ว่าศาสนาพุทธสามารถแก้ปัญหาการไม่เท่าเทียมของชาวอินเดีย และทำให้ระบอบชั้นวรรณะหายไปจากสังคม  

 

 

 

 

ดร.แอมเบการ์ และภรรยา ในพิธีประกาศเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือพุทธ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1956 ที่เมืองนาคปูร์ โดยถือฤกษ์วันเดียวกันกับพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมูรยะประกาศเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์ไปเป็นพุทธเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว 

 

 

ผู้คนนับแสนมาร่วมพิธีประกาศเปลี่ยนจากศาสนาฮินดูไปเป็นพุทธ เรียกว่า "พิธีเดชะภูมิ" (Deeksha Bhoomi) หรืออาจเรียกแบบสำนวนไทยๆว่า "ประกาศคำมั่นต่อแผ่นดิน"

 

 

 

นวันนั้น ดร.แอมเบดก้าร์ ได้ประกาศคำมั่น 22 ประการ ที่ท่านและผู้ที่ศัทธาจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามคำสอนของพุทธองค์

 

        ผมได้คัดลอกต้นฉบับภาษาอังกฤษมาให้ท่านได้อ่านอย่างจุใจพระเดชพระคุณ เนื้อหาสาระสำคัญกล่าวถึงการเลิกเชื่อถือคำสอนของศานาฮินดู เช่น การนับถือเทพเจ้าต่างอันได้แก่ พระพรหมณ์ พระวิศนุ พระศิวะ และไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะเป็นอวตารของเทพเจ้า ที่สำคัญ "ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิศนุ" รวมทั้งจะปฏิบัติตามคำสอนแห่งพุทธองค์อย่างแน่วแน่ในการดำรงชีวิต  

 He prescribed 22 vows to his followers:

 

  1. I shall have no faith in BrahmaVishnu and Maheshwara nor shall I worship them.
  2. I shall have no faith in Rama and Krishna, who are believed to be incarnation of God, nor shall I worship them.
  3. I shall have no faith in GauriGanapati and other gods and goddesses of Hindus nor shall I worship them.
  4. I do not believe in the incarnation of God.
  5. I do not and shall not believe that Lord Buddha was the incarnation of Vishnu. I believe this to be sheer madness and false propaganda.
  6. I shall not perform Shraddha nor shall I give pind.
  7. I shall not act in a manner violating the principles and teachings of the Buddha.
  8. I shall not allow any ceremonies to be performed by Brahmins.
  9. I shall believe in the equality of man.
  10. I shall endeavour to establish equality.
  11. I shall follow the noble eightfold path of the Buddha.
  12. I shall follow the ten paramitas prescribed by the Buddha.
  13. I shall have compassion and loving-kindness for all living beings and protect them.
  14. I shall not steal.
  15. I shall not tell lies.
  16. I shall not commit carnal sins.
  17. I shall not take intoxicants like liquor, drugs, etc.
    (The previous four proscriptive vows [#14–17] are from the Five Precepts.)
  18. I shall endeavour to follow the noble eightfold path and practice compassion and loving-kindness in every day life.
  19. I renounce Hinduism, which disfavors humanity and impedes the advancement and development of humanity because it is based on inequality, and adopt Buddhism as my religion.
  20. I firmly believe the Dhamma of the Buddha is the only true religion.
  21. I consider that I have taken a new birth.
  22. I solemnly declare and affirm that I shall hereafter lead my life according to the teachings of Buddha's Dhamma

 

 

 

ทุกๆปีในเดือนตุลาคมพุทธศาสนิกชนจากอินเดียและทั่วโลกจะมารวมตัวกันที่เมืองนาคปูร์ บริเวณหน้าสถูปเดชะภูมิ เพื่อรำลึกถึงการเกิดใหม่แห่งคำสอนพุทธองค์ในแผ่นดินแม่

 

สถูปเดชะภูมิ (Deekshabhoomi) สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ.2001โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบสถูปของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองสาถจี 

 

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถูปเดชะภูมิ ที่เมืองนาคปูร์ รัฐมหารัชตะ อินเดีย

 

 ชาวเมืองนาคปูร์ได้สร้างอนุเสาวรีย์ให้แก่ ดร.แอมเบดการ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญในการประกาศเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปเป็นพุทธอย่างเป็นทางการ

 

 

 

สนามบินนานาชาติแห่งเมืองนาคปูร์ ก็ใช้ชื่อว่า Dr.Ambedkar International Airport

 

และที่ขาดไม่ได้คือมหาวิทยาลัยเปิดที่ชื่อว่า Dr.Babasaheb Ambedkar Open University ที่เมือง Ahmedabad รัฐ Gujarat 

 

เสียงเรียกร้องความเท่าเทียมในสังคม

        ลูกคลื่นแห่งศาสนาพุทธส่งผลให้ชาวอินเดียที่อยู่ในวรรณะสูตรวมตัวกันผลักดันให้ทางการอินเดียหันมาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเรียกตัวเองว่า Dalit Movement การเรียกร้องของมหาชนกลุ่มนี้สร้างความกระอักกระอ่วนใจแก่ทางการอินเดียเป็นอย่างมากเพราะอินเดียมีรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่ในภาพแห่งความเป็นจริงระบอบชั้นวรรณะยังคงหลอนอยู่ในสังคมอย่างเหนียวแน่น

       ผมเป็นนักเรียนอยู่ที่ประเทศอินเดีย 5 ปี ระหว่าง พ.ศ.2512 - 2517 โดยเรียนอยู่ที่ Wilson College Bombay Univesity รัฐ Maharashtra และที่ Punjab Agricultural University เมือง Ludhiana รัฐ Punjab ได้พบเห็นการแบ่งชั้นวรรณะจนชินตา แต่ในฐานะที่ผมนับถือพุทธจึงไม่รังเกียจผู้คนที่ต่างวรรณะทำให้บรรดานักการภารโรงและคนงานในมหาวิทยามีความรู้สึกที่ดีต่อผมเป็นอย่างมาก

 

 

ภาพถ่ายร่วมกับนักเรียนชาวอินเดียของ Punjab Agricultural University ปี ค.ศ.1971

 

ผมกลับไปเที่ยวอินเดียในปี ค.ศ.2009 ก็ยังพบเห็นการแบ่งชั้นวรรณะ อย่างภาพนี้เป็นสถานที่อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากภูเขาที่เมืองราชคฤธ รัฐพิหาร วรรณะสูตต้องอาบข้างล่าง ส่วนวรรณะพราหมณ์อาบอยู่ข้างบนเป็นต้นน้ำ 

 

 

 

 

 

สัญญลักษณ์ของขบวนการ Dalit Movement ใช้เครื่องธรรมจักร์ของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นโลโก้ 

 

ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาพุทธที่นับอย่างเป็นทางการเกือบแปดล้านคน แต่ที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ยังมีอีกหลายล้านคน ที่เป็นเช่นนี้เพราะประชาชนไม่กล้าบอกว่าตัวเองนับถือพุทธเพราะกลัวอะไรบางอย่างจากสังคมส่วนใหญ่

 

ดร.แอมเบการ์ได้รับเกียรติอย่างมากจากชาวอินเดียที่มีใจเป็นธรรมแห่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

 

 

        รัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะฟื้นฟูศาสนาพุทธในอินเดียโดยการส่งพระธรรมฑูตไปปฏิบัติงานที่นั่นโดยถือหนังสือเดินทางราชการสีน้ำเงิน แต่ในความเห็นส่วนตัวของผมพระธรรมฑูตจากประเทศไทยยังไม่เข้าตาชาวอินเดียที่ต้องการนับถือพุทธเพราะเราเอาวิธีการปฏิบัติตนของพระจากประเทศไทยไปใช้ที่อินเดีย หลายอย่างก็ขัดกับหลักการและคำสอนของพุทธองค์ เช่น การยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆจำนวนมาก การคลุกคลีอยู่กับวัตถุมงคลและเรื่องโชคชะตาราศี ขณะเดียวกันผู้ที่ไปทำบุญที่เรียกว่า "ธรรมะทัวร์" ก็เป็นชาวไทยที่คุ้นเคยกับเรื่องวัตถุมงคลและโชคลาภ ผมเคยถูกสานุศิษย์ของ ดร.แอมเบก้าร์ ต่อว่าให้ฟังเรื่องของพระไทยในอินเดียทำให้ผมหน้าแตกและไม่สามารถแก้ตัวแทนกันได้ ดังนั้นนโยบายพระธรรมฑูตของไทยจึงกลายเป็น "อัฐยายซื้อขนมยาย" เพราะมีแต่คณะทัวร์แสวงบุญจากประเทศไทยไปให้การสนับสนุน และในสภาพความเป็นจริงที่เมืองพุทธคยา (Bodhi Gaya) ก็มีวัดและพระสงฆ์จากชาติต่างๆไปประจำอยู่ที่นั่นเปรียบเสมือน "สถานฑูตพุทธ" เช่น วัดพม่า วัดญี่ปุ่น วัดจีน วัดทิเบต วัดศรีลังกา เรียกว่าใครมาจากประเทศไหนก็ไปทำบุญที่วัดของตนเอง 

          ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติควรสังคายนาบทบาทของพระธรรมฑูตเสียใหม่ให้มีความเคร่งวินัยและยึดคำสอนของพุทธองค์อย่างเคร่งครัด อย่างน้อยก็ให้เท่าเทียมกับพระของอินเดียที่เมืองนาคปูร์......อยากให้ย้ำว่า.....หลักการของศาสนาพุทธคือ "คำสอนของพุทธองค์"........ ไม่ใช่วัตถุมงคลไม่ใช่โชคลาภ ไม่ใช่การเสริมบารมี และพิธีกรรมต่างๆที่เป็นพุทธพาณิชย์ ....... สาธุ

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ