ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




เมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา

 เมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา 

      เชื่อว่าชาวพุทธโดยทั่วไปมีความรู้และความเข้าใจต่อความสำคัญตลอดจนที่มาของวัน "อาสาฬหบูชา" เป็นอย่างดี ผมคงไม่ต้องเอามะพร้าวมาขายให้ชาวสวน แต่สิ่งที่อยากจะเล่าให้ท่านๆที่เป็นแฟนคลับของ www.yclsakhon.com ฟังก็คือเรื่องราวในแง่มุมทางด้านโบราณคดี ดาราศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของเมืองสารนาท รัฐอุตตาละประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่มาของวันอาสาฬบูชา  

 

 

      เรื่องราวโบราณคดีของเมืองสารนาท ต้องยกเครดิตให้ท่านนายพล "อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม" (Major General Alexander Cunnigham) ผู้ก่อตั้งกรมสำรวจโบราณคดีของประเทศอินเดีย ท่านผู้นี้เป็นนายพลของกองทัพบกอังกฤษประจำการอยู่ในประเทศอินเดีย เป็นทหารช่างและนักโบราณคดี เมื่อปลดเกษียณจากราชการทหาร ค.ศ.1861 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสำรวจโบราณคดี ท่านเกิดเมื่อ ค.ศ. 1814 และเสียชีวิตปี ค.ศ.1893 เป็นผู้ค้นพบและบูรณะโบราณสถานที่ตั้งของ "สถูปดาเม็ก" (Dhamek Stupa) ภาพที่เห็นในปัจจุบันสูง 43.6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 เมตร สร้างราวปี ค.ศ.500 หรือ พ.ศ.1043 เพื่อทดแทนสถูปของเดิมสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ 249 ปี ก่อนคริสตกาล หรือ พ.ศ.294 เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของพระพุทธเจ้าและบรรดาสานุศิษย์องค์สำคัญต่างๆ บริเวณใกล้ๆกันมีเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช สลักเรื่องราวของสถานที่แห่งนี้  

 

 

ท่านนายพลอเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ผู้ก่อตั้งกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย เป็นผู้ค้นพบและบูรณะโบราณสถานบริเวณสถูปดาเม็ก

 

      พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์มูรยะ 272 - 232 ปี ก่อนคริตกาล ได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถาน ณ เมืองสารนาท รัฐอุตตาละประเทศ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของ "การเทศนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์" ณ ป่าอิสิปตมฤคทายวัน เมืองพาราณาสี แคว้นมคธ (ชื่อในยุคนั้น) พระองค์ได้สร้างสถูป อาคารประกอบ และที่สำคัญมีเสาหินสูง 15.25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 0.71 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่ยอด 0.56 เมตร มีจารึกเป็นภาษาพราหมีกล่าวว่า "ผู้ใดจะก่อความแตกแยกในหมู่สงฆ์ไม่ได้" เสาหินแท่งนี้ถูกทำลายแตกเป็นท่อนๆโดยกองทัพจากตุรกีที่เข้ามายึดครองดินแดนอินเดียตอนเหนือ ในช่วงคริตศตวรรษที่13 - 16 ส่วนยอดของเสาหินเป็นรูปสิงห์สี่หัวและมีพระธรรมจักรที่ฐาน มีความหมายว่า "คำสอน" ของพุทธองค์จะแผ่ไพศาลไปทั้งสี่ทิศ และกงล้อ 24 ซี่ หมายถึงคำสอนจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนไม่มีวันหยุด ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองสารนาท (Sarnath Museum) ผมได้เข้าไปชมแล้วแต่ทางการของรัฐห้ามถ่ายรูปในนั้น ได้เพียงถ่ายภาพจากภายนอก  

 

 

 

 

 

 

พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองสารนาท ตั้งอยู่ใกล้บริเวณโบราณสถานแห่งสถูปดาเม็ก ตั้งแสดงโบราณวัตถุจากยุคราชวงศ์มูรยะมากมาย และมีพระพุทธรูปศิลปะ "มธุรา" ซึ่งเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธรูปที่วิหาร "พุทธคยา" 

 

ส่วนยอดของเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองสารนาท รูปพระธรรมจักรแสดงวงล้อ 24 ซี่ กลายเป็นสัญลักษณ์ของธงชาติอินเดีย และสิงห์สี่หัวเป็นตราของรัฐบาลอินเดีย  

 

      ตามเรื่องราวในพุทธประวัติสถานที่แห่งนี้เป็นป่าชื่อ "อิสิปตมฤคทายวัน" แปลว่าที่อยู่ของฤาษี มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต "อิสิ" แปลว่า "ฤาษี" เมื่อครั้งที่พุทธองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ก็เคยมาปฏิบัติตนบำเพ็ญเพียรเพื่อค้นหาสัจธรรมร่วมกับฤาษีห้าท่านแต่ไม่สำเร็จ ท่านจึงแยกตัวออกมุ่งหน้าสู่ป่าอุรุเวลาเสนานิคม ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ มีระยะทางห่างกับประมาณ 212 กม. ณ ที่นี่พระองค์สามารถบรรลุถึงขั้นตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนหก

 

 

ระยะทางจากป่าอิสิปตมฤคทายวัน เมืองพาราณาสี ไปยังป่าอุรุเวลาเสนานิคม ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ ห่างกันประมาณ 212 กม.

 

ที่มาของชื่อ "อาสาฬหบูชา"

 "อาสาฬ" เป็นชื่อกลุ่มดาวกฤษ์คนยิงธนู (Constellation Sagittarius) และชาวอินเดียโบราณให้ชื่อว่า "นักษัตรอาสาฬ" (Naksatra Ashadha) ชาวพุทธเชื่อว่าวันที่พุทธองค์ได้เทศนาสั่งสอนฤษีทั้งห้า ณ ป่าอิสิปตมฤรรคทายวัน ตรงกับปรากฏการณ์ดวงจันทร์คืนวันเพ็ญอยู่ในกลุ่มดาวนี้ จึงได้ชื่อว่า "อาสาฬหบูชา" (Asalha Puja)

 

ชื่อ "อาสาฬหบูชา" มาจากปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ใน "นักษัตร อาสาฬ" (Naksatra Ashadha) ตามความเชื่อในตำราโหราศาสตร์ของอินเดีย (Hindus Astrology) นักดาราศาสตร์เรียกว่า "กลุ่มดาวฤกษ์คนยิงธนู" (Constellation Sagittarius)  

 

อาสาฬหบูชา พ.ศ. 2559 (ค.ศ.2016) ตรงกับวันอังคารที่ 19 กรกฏาคม รัฐบาลท่านใจดีจึงประกาศให้วันจันทร์ที่ 18 กรกฏาคม เป็นวันหยุดพิเศษเพราะไม่งั้นบรรดาคนทำงานทั้งราชการและเอกชนจะใช้สูตร "ลา 1 ได้ 5" เพราะวันที่ 16 - 17 เป็นเสาร์ - อาทิตย์ และวันที่ 19 - 20 เป็นวันอาสาฬหบูชา - เข้าพรรษา วันจันทร์ที่ 18 กรกฏาคม จึงถูกแซนวิสระหว่างวันหยุด ....... ดังนั้นคิดสาระตะแล้วแถมฟรีอีก 1 วันไปเลย 

 

      หลังจากพระองค์ตรัสรู้แล้วได้ย้อนกลับไปหาฤาษีทั้งห้าคนที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน เพื่อเทศนาให้เห็นธรรมที่ทรงตรัสรู้ และฤาษีหนึ่งในนั้นคือท่านโกณฑัญญะสามารถบรรลุโสดาบันเป็นพระสงฆ์องค์แรกของศาสนาพุทธ ชาวพุทธในปัจจุบันเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "พระรัตนตรัยครบองค์สามสมบูรณ์" เป็นครั้งแรกของโลก 

      บริเวณป่าแห่งนี้เป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงมีฝูงกวางจำนวนมากใช้ชีวิตอย่างอิสระไม่มีผู้ใดรังแก ปัจจุบันรัฐบาลท้องถิ่นได้อนุรักษ์กวางไว้จำนวนหนึ่งเพื่อรำลึกถึงครั้งพุทธกาล

 

ฝูงกวางเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากทางการท้องถิ่นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งป่าอิสิปตมฤคทายวัน

 

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นบริเวณที่เคยเป็นป่าอิสิปตมฤคทายวัน มองเห็นสถูปดาเม็กอย่างชัดเจน

 

      ทางการอินเดียได้บูรณะสถานที่แห่งนี้อย่างจริงจังภายใต้ความรับผิดชอบของกรมสำรวจโบราณคดีแห่งชาติ (Archaeological Survey of India) ซากวิหารจึงปรากฏต่อสายตาของสาธารณะอีกคำรพหนึ่ง

 

ป้ายชี้ทางเดินไปยังวิหาร Panchaytan ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพุทธองค์เทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 

 

ส่วนหนึ่งของวิหารที่ได้รับการอนุรักษ์อย่างดี เพื่อให้ชาวพุทธได้มาสักการะ

 

พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาที่นี่เพื่อเดินจงกลมรอบสถูปดาเม็ก

 

พุทธศาสนิกชนชาวทิเบตก็แสดงความเคารพอยู่ที่พื้นสนามหญ้า

 

พุทธศาสนิกชนจากประเทศไทยก็นิยมนิมนต์ให้พระจากเมืองพุทธคยาทำหน้าที่เป็นไกด์ทัวร์

 

สถานที่ซึ่งพุทธองค์พบกับปัญจวัคคีย์ยังมีข้อถกเถียงในแง่โบราณคดี บ้างก็ว่าที่สถูปดาเม็ก (Dhamek Stupa)  บ้างก็ว่าที่สถูปชูกานดี (Chaukhandi Stupa) ที่อยู่ห่างออกไปราว 750 เมตร

 

 

สำหรับผมไม่เกี่ยงครับว่าสถูปอันไหนเป็นจุดที่พุทธองค์พบกับปัญจวัคคีย์ เพราะยังไก็ต้องเป็นที่ใดที่หนึ่ง ก็เลยต้องไปนมัสการทั้งสองแห่ง

 

 

ที่สถูปชูการดี (Chaukhandi Stupa) มีป้ายอธิบายว่าตรง ณ สถานที่นี้พุทธองค์ได้พบกับปัญจวัคคีย์ 

 

รายละเอียดในป้ายอธิบายชัดเจนว่าสถูปชูกานดีสร้างในสมัยราชวงศ์คุปต้า ราวคริตศตวรรษที่ 4 - 5 และตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่พุทธองค์ได้พบกับปัญจวัคคีย์หลังจากได้ทรงตรัสรู้แล้ว และสถูปหลังนี้ยังถูกระบุอยู่ในบันทึกของ "พระถังซำจัง" เมื่อคราวที่เดินทางมาจาริกบุญในคริตศวรรษที่ 7  

 

      การเดินทางไปที่เมืองสารนาทง่ายนิดเดียวครับ เพราะมีสายการบินตรงจากกรุงเทพไปลงที่นั่น มีทั้ง Thai International และ Indian Airline ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง 

 

อันดับแรกต้องไปขอวีซ่าเข้าประเทศอินเดีย 

 

เส้นทางบินตรงจากสนามบินสุวรรณภูมิ สู่สนามบินนานาชาติเมืองพาราณาสี

 

สนามบินพาราณาสีอยู่ห่างจากเมืองสารนาทเพียงสิบกว่ากิโลเมตร 

 

นักแสวงบุญชาวไทยส่วนใหญ่นิยมนุ่งขาวห่มขาวจากบ้าน ผมก็ไปพร้อมๆกับคณะดังกล่าวแต่แต่งตัวแบบธรรมดา

 

บนเครื่องสายการบินอินเดียมีการเสริพอาหารแขกให้เป็นการต้อนรับสู่ดินแดนภารตะ

 

สายการบินแห่งชาติอินเดียบริการดีทีเดียว อาหารอร่อย (ในสายตาคนอย่างผมที่เป็นนักเรียนเก่าจากอินเดีย) 

 

การรถไฟของอินเดียมีบริการรถด่วนพิเศษวิ่งระหว่างเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา ชื่อรถด่วนสายมหาปรินิปพาน (Mahaparinirvan Express) ผมไม่ทราบว่าชื่อแบบนี้คนไทยจะชอบนั่งหรือไม่ ความจริงปรินิปพานในภาษาฮินดิหมายถึง "สวรรค์" แต่ความหมายในสายตาของคนไทยอาจหมายถึงการตายแบบถาวร

      อย่างไรก็ตามถ้าแฟนคลับของ yclsakhon ประสงค์จะนั่งภาวนาให้ตรงกับสถานที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน เมืองสารนาท เพื่อให้ได้บรรยากาศของยุคสมัยพุทธกาล ในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ผมขอแนะนำให้ท่านไปที่วัดพระธาตุเชิงชุม ในตัวเมืองสกลนคร และหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มุมกวาด 64 องศา ทวนเข็มนาฬิกา จริงๆแล้วผมอยากจะไปนิมนต์ให้พระครูวินัยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุม ทำเครื่องหมายไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้เห็น เพราะผู้คนจำนวนมากไม่ได้จบเรียนวิชาคณิตวิทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณป้าคุณลุงรุ่นเคี้ยวหมาก    

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ