ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา

ดาราศาสตร์ที่เราเห็น........ล้วนเป็นภาพลวงตาทั้งน้านละคุณลุง 

ที่พาดหัวแบบนี้เพราะต้องการสื่อให้ท่านผู้อ่านได้มาถึงบางอ้อว่า สิ่งที่เราๆท่านๆมองเห็นบนท้องฟ้าล้วนเป็น "ภาพลวงตา" อันเนื่องมาจากเหตุ 6 ประการคือ

          1.มิติแห่งระยะทางและการเดินทางของแสง........ดวงดาวทุกดวงบนท้องฟ้าที่เรามองเห็นในปัจจุบัน "เป็นภาพในอดีต" ทั้งสิ้นเพราะกว่าภาพที่เป็นจริงจะเดินทางมาถึงโลกก็ต้องกินเวลานับหลายล้านปีแสง ดวงดาวนับล้านที่เห็นอยู่ทุกค่ำคืนอาจจะระเบิดหรือดับสูญไปนานแล้วก็ได้แต่ภาพการระเบิดยังเดินทางมาไม่ถึงเรา ขนาดดวงอาทิตย์อยู่ในระบบสุริยะเดียวกันต้องใช้เวลาถึง 8 นาที ดาวอังคารอยู่ในระบบสุริยะตำแหน่งถัดไปจากโลกมีระยะห่างระหว่าง 36 - 250 ล้านไมล์ (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งในวงโคจร) ต้องใช้เวลา 3.2 - 22.4 นาที ภาพของดาวอังคารจะมาถึงโลก ดังนั้นภาพดวงดาวต่างๆที่เราเห็นเป็นภาพในอดีตอันไกลโพ้น เช่น ดาวฤกษ์อัลฟ่า เซนเทารี่ ห่างจากโลก 4.24 - 4.37 ปีแสง และ ดาวฤกษซีรีอุส อยู่ห่าง 8.58 ปีแสง 

 

ภาพดวงอาทิตย์ที่มองเห็นเป็นอดีตเมื่อ 8.31 นาทีที่แล้ว เพราะกว่าแสงอาทิตย์จะเดินทางมาถึงโลกต้องใช้เวลาขนาดนั้น

 

 

ดาวฤกษ์ที่เราๆท่านๆเห็นอยู่ทุกค่ำคืนล้วนเป็นภาพในอดีตที่ไกลโพ้นนับล้านและหลายล้านปีแสง

 

ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดคือ ดาวอัลฟ่า เซนเทารี่ (Alpha Centauri) 4.24 - 4.37 ปีแสง 

 

ดาว "ซีรีอุส" อยู่ในกลุ่มดาวหมาใหญ่ เป็นดาวฤกษ์ที่มองเห็นใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด   

 

การระเบิดของดาวฤกษ์ที่เรียกว่าซุบเป่อร์โนว่าก็กินเวลานับหลายล้านปีแสงจึงจะส่งภาพมาให้ชาวโลกเห็น

 

เนบิวล่ารูปร่างเหมือนปู (Crab Nebula) เป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ที่จบสิ้นไปแล้วเหลือแต่แสงเจิดจ้าสวยงาม ชาวโลกมนุษย์ต้องใช้เวลารอนานถึง 6,500 ปีแสง จึงจะได้ยลโฉมอันตระการตาของมัน

 

มีข่าวแพลมออกมาว่ามนุษยชาติจะได้เห็นดวงชนกันจนระเบิดในราวๆปี 2022 แต่ในความจริงมันชนกันเรียบร้อยแล้วเมื่อ 1800 ปีแสง แต่แสงการระเบิดเพิ่งจะเดินทางมาถึงโลก

 

นักดาราศาสตร์ระบุว่าดาวที่ชนกันดังกล่าวอยู่ในกลุ่มดาวหงษ์ (Cygnus Constellation)

 

          2.ตำแหน่งการเรียงตัว ดาวฤกษ์ที่เราเห็นและตั้งชื่อเป็นกลุ่มดาวนั้นกลุ่มดาวนี้ ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกันแบบที่เห็น ดาวฤกษ์เหล่านั้นอยู่กันคนละระนาบแต่เมื่อมองจากระยะไกลเราจึงเห็นเป็นภาพอยู่ในระนาบเดียวกัน ดังตัวอย่างกลุ่มดาวนายพราน (Orion Constellation) และกลุ่มดาวกางเขนใต้ (Southern Cross Constellation) 

 

กลุ่มดาวนายพราน (Orion Constellation) ประกอบด้วยดาวฤกษ์หลายดวงอยู่กันคนละระนาบแต่เรามองเห็นเหมือนเป็นฉากแบนๆซึ่งเป็นภาพลวงตา

ดาวกางเขนใต้ (Southern Cross) เป็นกลุ่มดาวที่ประเทศในซีกโลกใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งออสเตเรีย และนิวซีแลนด์ ใช้เป็นดาวนำทางที่ชี้ทิศใต้ (เนื่องจากในบริเวณนั้นมองไม่เห็นดาวเหนือ) ประเทศทั้งสองจึงนำภาพกลุ่มดาวกางเขนใต้ไปไว้ในธงชาติ 

 

ไม่ใช่เฉพาะดาวฤกษ์เท่านั้นนะครับ ดาวเคราะห์ก็เรียงตัวเป็นภาพลวงตาได้เช่นกัน เช่น ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2556 ดาวเคราะห์สามดวงคือ ดาวพฤหัส ดาวศุกร์ และดาวพุธ เรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยนมสวยงามที่ท้องฟ้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือหลังดวงอาทิตย์ตกดิน 

 

จริงๆแล้วดาวเคราะห์ทั้งสามดวงไม่ได้เรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ทั้งสามวางตัวอยู่ในระนาบเดียวกันทำให้มองเห็นเป็นภาพสามเหลี่ยม 

 

ดาวศุกร์คู่กับดาวพฤหัส ดูเหมือนอยู่ใกล้กัน

 

แต่ในความเป็นจริงดาวศุกร์และดาวพฤหัสอยู่ไกลกันคนละมุมของระบบสุริยะ

 

ดาวเคียงเดือน conjunction of Saturn Moon Venus Jupiter 29 Nov 2019 (Cr:ขอบคุณ ดร.สพสันติ์ เพชรคำ สำหรับภาพถ่ายดาวเคียงเดือน) 

 

ตำแหน่งจริงการวางตัวของดาวเคียงเดือน Saturn Moon Venus Jupiter 29 Nov 2019

         

          3.การเคลื่อนที่เสมือน (Apparent motion) ทุกๆวันเราๆท่านๆเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกและตกทางตะวันตก แต่ในความเป็นจริงดวงอาทิตย์อยู่เฉยๆไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนเลย โลกของเราหมุนรอบตัวเองจึงทำให้เกิดภาพลวงตาว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ขึ้นและตก

 

 

          ขณะเดียวกันเรามองเห็นดวงอาทิตย์ยามเช้าเปลี่ยนตำแหน่งไปมาระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ เช่น ฤดูร้อนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้าด้านทิศเหนือ ส่วนฤดูหนาวดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้าด้านทิศใต้ นี่ก็ภาพลวงตาเช่นกัน เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศา จึงทำให้มองเห็นเป็นอย่างนั้น

 

 

 

          4. ภาพลวงตา "เชิงมุม" (angular diameter) หมายถึงดวงดาวที่อยู่ใกล้จะดูเหมือนมีขนาดใหญ่กว่าดวงดาวที่อยู่ไกล เช่น ภาพของดาวศุกร์ดูใหญ่ดาวพฤหัสทั้งๆที่ดาวศุกร์เล็กกว่าดาวพฤหัสหลายเท่าแต่อาศัยว่าอยู่ใกล้โลกมากกว่า อีกตัวอย่างหนึ่งดวงจันทร์ก็สามารถบังดวงอาทิตย์ได้มิดทั้งดวงจึงเกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคา" เรื่องแบบนี้คนโบราณมีคำพูดว่า "เส้นผมบังภูเขา" 

 

 

วัตถุที่อยู่ไกลจะดูเล็กกว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ ตามหลักการฟิสิกซ์ที่เรียกว่า "ภาพลวงตาเชิงมุม" (angular diameter) 

 

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเกิดจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์ทำให้สามารถบังภาพดวงอาทิตย์ได้ทั้งดวง

 

          5. ภาพลวงตาจากมุมมองที่ต่างกัน

          ภาพที่ชินตาของดวงจันทร์ที่เราๆท่านๆเห็นอยู่แทบทุกคืนและถูกนำไปใช้เป็น "ปฏิทินจันทรคติ" (Lunar Calendar) โดยใช้ข้างขึ้น เต็มดวง ข้างแรม และเดือนมืด เป็นตัวกำหนดวันในปฏิทิน แต่ในความเป็นจริง "ดวงจันทร์เต็มดวงทุกวัน" เพราะรับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่ภาพที่เราเห็นเกิดจาก "มุมมองที่แตกต่างในแต่ละวัน" เนื่องตำแหน่งของโลกกับดวงจันทร์เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามดวงจันทร์ "มืดจริงๆ" ก็มีเพียงปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" เกิดจากเงาของโลกบังดวงจันทร์จนมิด

 

  

ตำแหน่งของดวงจันทร์ในแต่ละคืนเปลี่ยนไปทำให้มุมมองจากโลกเปลี่ยนไปจึงเห็นภาพเป็นข้างขึ้น เต็มดวง ข้างแรม และเดือนมืด

 

 

มุมมองที่ทำให้เห็นเป็น Full Moon 

 

มุมมองจากซีกโลกด้านใต้ เช่น เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย กับมุมมองจากซีกโลกด้านเหนือที่จังหวัดสกลนคร ประเทศไทยก็หันไปคนละทาง

 

ในปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" ภาพการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ออกจากเงามืดระหว่างออสเตเรีย กับประเทศไทย ก็เคลื่อนไปคนละทาง

 

          6.ภาพลวงตาจากการมองผ่านสิ่งปนเปื้อนในอากาศ

           ทุกๆเช้าและเย็นภาพของดวงอาทิตย์เป็นสีแดง และดวงจันทร์ในตอนเย็นก็มีขนาดใหญ่กว่าปกติและมีสีออกแดงนิดๆ เป็นเพราะมองผ่านสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่ระดับขอบฟ้า เช่น ฝุ่น และหมอก ประกอบกับการหักเหของแสงจึงทำให้ภาพของดวงจันทร์ดูใหญ่ขึ้นกว่าปกติ 

 

 

 

 

           ทุกท่านที่เรียนวิชาดาราศาสตร์จึงถูกธรรมชาติแหกตาแบบลูกไม้ตื้นๆ ผมเคยทดสอบกับนักเรียนมัธยมโดยถามว่าภาพที่เราเห็นเป็นของจริงหรือไม่ แน่นอนครับทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ของจริง" พอผมแย้งว่านั่นเป็นภาพลวงตาทั้งหมด เด็กๆทำหน้าเบ้เหมือนไม่เชื่อแต่พอฟังคำอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์แล้วก็ต้องจนมุมด้วยหลักฐาน ดังนั้น สิ่งที่ตาเห็นอยู่โทนโท่ก็ไม่ใช่ของจริงเสมอไป ถ้าเอาเรื่องนี้ขึ้นโรงขึ้นศาลคงยุ่งพิลึก  

           ท้ายที่สุดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของจินตนาการที่มนุษยชาติสร้างขึ้นมาอย่างมีสีสัน เช่น ตัวอย่าง "พระจันทร์สีน้ำเงิน" (blue moon) หมายถึงการมี full moon 2 ครั้งในเดือนเดียวกัน ซึ่งนานๆจะเกิดขึ้นสักครั้ง ดังสำนวนภาษาอังกฤษ once in a blue moon เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2558

 

 

 

       สรุป

          เมื่อทราบแล้วว่าดวงดาวทั้งมวลที่เราๆท่านๆเห็นบนท้องฟ้าล้วนเป็นภาพลวงตาทั้งสิ้น ...... คำสาบานใดๆที่กระทำต่อดวงดาวเหล่านั้นก็คงจะเป็นภาพลวงตาเช่นกัน พุทธองค์ท่านจึงสอนว่า .... ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเองไม่ต้องหวังพึ่งสิ่งอื่นๆ ..... สาธุ

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ