รับพลัง "สุริยันจันทรา" ปีใหม่มหาศักราช ประชันดาวหางแพนสตาร์ 20 -21 มีนาคม 2556 ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
วันที่ 20 - 21 มีนาคม 2556 ปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์จะกลับมาเยือนปราสาทภูเพ็ก สกลนคร และชาวโลกทั้งมวลอีกคำรบหนึ่ง นั่นคือ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) เป็นวันปีใหม่ของดาราศาสตร์ และปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ซึ่งประเทศต่างๆในเอเซียกลาง เช่น อัฟกานีสถาน อุซเบกีสถาน คาซักสถาน อิหร่าน ฯลฯ ขณะเดียวกันรัฐบาลอินเดียก็ใช้ปฏิทินฉบับนี้อย่างเป็นทางการ องค์การสหประชาติกำหนดให้วันนี้เป็น "วันเนารูซสากล" (วสันตวิษุวัตในภาษาเปอร์เชียน) และปีนี้มีแขกพิเศษจากแดนไกลโพ้นมาเยือน นั่นคือ "ดาวหางแพนสตาร์"
.jpg)
การเฉลิมฉลองเทศกาล "เนารูซ" (Nowruz) อย่างยิ่งใหญ่ที่มหานครนิวยอก สหรัฐอเมริกา โดยองค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันปีใหม่ของประเทศในเอเซียกลาง
.jpg)
ป้ายเชิญชวนเฉลิมฉลองเทศกาลเนารูซที่มหานครนิวยอก สหรัฐอเมริกา
.jpg)
ผมเคยปฏิบัติงานร่วมกับ UN ในนามของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ที่ประเทศอัฟกานีสถาน จึงรู้จัก "เนารูซ" เป็นอย่างดี เพราะเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ของที่นั่น
ผมเชื่อว่าแฟนคลับของเว้ปนี้คงรู้จักปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสัตวิษุวัต" (Vernal equinox) เป็นอย่างดี เพราะวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิทินมหาศักราช และปฏิทินโหราศาสตร์สากลที่ใช้คำว่า "วันแรกของราศีเมษ" (First Point of Aries) ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม โลกโคจรเข้าสู่ตำแหน่งที่แสงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นศูนย์สูตรทำให้ทั่วโลกพบกับปรากฏการณ์ "กลางวันเท่ากับกลางคืน" และดวงอาทิตย์ขึ้นที่ "ทิศตะวันออกแท้" ตกที่ "ทิศตะวันตกแท้" ที่แน่ๆดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดกึ่งกลางประตูปราสาทภูเพ็กอย่างพอดิบพอดี เพราะปราสาทหลังนี้ถูกออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 90 องศา (Azimuth 90 degree)

โลกโคจรเข้าตำแหน่ง "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม

สุริยะปฏิทินขอมพันปีชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัต โดยทำมุมกวาด 90 องศา


ดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" ขึ้นตรงกึ่งกลางประตูปราสาทภูเพ็กอย่างพอดิบพอดี

เส้นกึ่งกลางประตูปราสาทภูเพ็ก ตรงกับตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ หรือ Equinox โดยเครื่อง GPS ชี้ตำแหน่งดังกล่าว

ในตอนเย็นดวงอาทิตย์ตกที่ด้านทิศตะวันตกแท้ตรงกับกึ่งกลางผนังปราสาทภูเพ็ก
ทำความรู้จักกับดาวหาง "แพนสตาร์" (Panstarrs) เป็นแขกจากแดนไกลเข้ามาเยือนโลกในเดือนมีนาคม 2556
"แพนสตาร์" เป็นชื่อหอดูดาวตั้งอยู่ที่เกาะฮาวาย ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกามีฐานะเป็นรัฐ หอดูดาวแห่งนี้มีคณะทำงานหลายคนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ท่านเหล่านี้ร่วมกันค้นพบดาวหางดวงนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2554 จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อให้เหมือนกับหอดูดาวว่า "ดาวหางแพนสตาร์"

หอดูดาวแพนสตาร์ ตั้งอยู่บนยอดภูเขา ที่เกาะฮาวาย


ภาพดาวหางแพนสตาร์จากโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night
วิถีโคจรของดาวหางแพนสตาร์
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าวิถีโคจรของดาวหางไม่เหมือนวิถีของดาวเคราะห์ทั่วๆไป ดางหางโคจรเป็นวงรีและใช้เวลายาวนานมากกว่าจะครบหนึ่งรอบ ดาวหางแพนสตาร์จะมาเยือนโลกอีกครั้งราว 110,000 ปี ข้างหน้า ผมอยากจะชวนท่านที่เคารพมาติดตามความเคลื่อนไหวของดาวหางดวงนี้สักหน่อย
วันที่ 5 มีนาคม 2556 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดด้วยระยะทาง 1.10 AU (Astronomical Unit) หมายถึงความยาว 1.1 เท่าของระยะทางจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ (ระยะทางจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ หรือ 1 AU = 93 ล้านไมล์ หรือ 150 ล้านกิโลเมตร) แต่ไม่ต้องห่วงครับมันไม่พุ่งเข้าชนโลกอย่างแน่นอน เพียงแต่เฉียดๆไปเท่านั้น
วันที่ 10 มีนาคม 2556 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะห่าง 0.30 AU หรือ 45 ล้านกิโลเมตร พอๆกับความห่างระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ดาวหางจะมีความสว่างมากที่สุดขณะเดียวกันก็ถูกรังสีความร้อนทำให้น้ำแข็งและฝุ่นกลายเป็นละอองเล็กๆสะท้อนแสงอาทิตย์เป็นลำหางยาวที่สุด
อย่างไรก็ตามตลอดทั้งเดือนมีนาคมเราสามารถมองเห็นดาวหางแพนสตาร์ได้ตอนพลบค่ำทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก จริงๆแล้วมันอยู่บนท้องฟ้าทั้งวันแต่ถูกแสงอาทิตย์กลบจึงมองไม่เห็น ต้องรอจนพลบค่ำให้ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปก่อนจึงมองเห็นแต่ก็มีเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเศษเท่านั้นเพราะมันจะลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไปเช่นกัน
ต้นเดือนเมษายน 2556 ดาวหางแพนสตาร์เริ่มโคจรหนีจากดวงอาทิตย์มุ่งกลับสู่ขอบนอกของระบบสุริยะขนาดที่เห็นจะเล็กลงเรื่อยๆ

จริงๆแล้วดาวหางดวงนี้มาปรากฏกายใกล้ดวงอาทิตย์แล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 แต่มันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกแสงอาทิตย์กลบจึงมองไม่เห็น ต้องรอให้เปลี่ยนตำแหน่งสูงกว่าดวงอาทิตย์จึงจะเริ่มมองเห็น

ผมสร้างภาพจำลองให้ดูว่าดาวหางแพนสตาร์เริ่มมองเห็นที่ขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตก วันที่ 2 มีนาคม 2556

จ


วันที่ 6 เมษายน 2556 ดาวหางแพนสตาร์จะโคจรห่างออกไปจากดวงอาทิตย์ ทางด้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

วันที่ 6 เมษายน 2556 ดาวหางแพนสตาร์ เป็นเพียงจุดเล็กๆอยู่ทางซ้ายมือของกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopia)
ภาพถ่ายดาวหางแพนสตาร์ copy จาก internet ขอขอบคุณเจ้าของภาพเหล่านี้ครับ Thank You Very Much for your nice picture of Comet Panstar 2013
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
บรรยากาศที่ปราสาทภูเพ็กไม่อำนวยเนื่องจากหมอกควันมากจึงมองไม่เห็นดาวหางแพนสตาร์ผมจึงให้ดูรูปจากโปรแกรมดาราศาสตร์แทน
รับพลังสุริยันจันทรา
คืนวันที่ 20 ต่อเนื่องถึงเข้าวันที่ 21 มีนาคม 2556 ชมรมพยัคฆ์ภูเพ็กจะจัดกิจกรรมรับพลังสุริยันจันทรา นัยว่าจะเป็นการสยบภัยหรือฑูตแห่งความเลวร้ายจากดาวหาง เรื่องนี้หลายท่านอาจมองว่าเป็นความงมงาย แต่ผู้ที่อยู่ในวงการแห่งความเชื่อถือว่าเป็นสิ่งที่พิสูจน์โดยหลักวิทยาศาสตร์ธรรมดาไม่ได้ และนี่คือเสน่ห์ของปราสาทภูเพ็กซึ่งเป็นจุดนัดพบที่ลงตัวระหว่างวิทยาศาสตร์ และศาสตร์แห่งความเชื่อ


ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนตัวกลับมาทางทิศเหนือโดยหยุดพักที่ "ราศีมีน" (Zodiac Pisces) ในวันที่ 20 กุมภาพันธ 2556 เป็นราศีสุดท้ายของปฏิทินมหาศักราช ก่อนที่จะเข้าสู่ "ราศีเมษ" (Zodiac Aries) ในวันที่ 21 มีนาคม 2556

ก่อนถึง "ปฏิบัติการรับพลังสุริยันจันทรา" พวกเราชมรมพยัคฆ์ภูเพ็กจะอุ่นเครื่องด้วยการต้อนรับ "ราศีมีน" ในวันที่ 19 - 20 กุมภาพันธ์ 2556 และชมดาวศุกร์ขึ้นตีคู่กับดวงอาทิตย์
ชุมนุนเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ "ศาสตร์แห่งความเชื่อ"


ในภาพท่านผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณกำลังทำพิธีล้างอาถรรพ์เมื่อคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตรงกับปฏิบัติการวันสิ้นโลก ที่ปราสาทภูเพ็ก
.jpg)

คืนวันที่ 20 มีนาคม 2556 ดวงจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 สถิตย์อยู่ใน "ราศีคนคู่" (Zodiac Gemini)
21 มีนาคม 2556 เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับโลก ณ เส้นศูนย์สูตร ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน และสามารถใช้ปรากฏการณ์นี้คำนวณองศาของเส้นรุ้งได้
คำว่าเส้นรุ้ง (Latitude) เป็นศัพท์ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดตำแหน่งของพื้นโลกว่าเรากำลังอยู่ที่ไหน การกำหนดเส้นรุ้งก็ใช้ทฤษฏีวงกลมของท่านปีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเมื่อสองร้อยปีก่อนคริสตกาล โดยแบ่งโลกออกเป็นสองส่วน ตรงกลางคือเส้นศูนย์สูตรเท่ากับศูนย์องศา ส่วนที่ขั้วโลกเหนือเท่ากับ +90 องศา ขั้วโลกใต้ -90 องศา
เราทราบจากตำราว่าปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่อยู่ที่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ แต่เราจะพิสูจน์ได้อย่างไร
.jpg)

เราสามารถคำนวณหาองสาของเส้นรุ้ง ณ ปราสาทภูเพ็กได้โดยใช้ข้อมูลของมุมเอียงดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" หรือ 21 มีนาคม เพราะวันนี้ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับโลกที่เส้นศูนย์สูตร

นาฬิกาแดดเป็นอุปกรณ์ในการคำนวณองศาของเส้นรุ้งได้ง่ายที่สุด
ชมรมพยัคฆ์ภูเพ็กขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเรื่องราวดาราศาสตร์ และศาสตร์แห่งความเชื่อ เข้าร่วมกิจกรรม ดังกำหนดการ
20 มีนาคม 2556
15:00 น.รวมตัวที่ชมรมพยัคฆ์ภูเพ็ก บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
16:00 น.เคลื่อนตัวขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็ก จัดเตรียมที่พักตามอัธยาศัย
18:00 น.ชมดาวหางแพนสตาร์ ทางทิศตะวันตก และชมดวงอาทิตย์ตกขอบฟ้าที่ตำแหน่ง "ทิศตะวันตกแท้" (Due west) ที่มุมกวาด 270 องศา
19:00 น.อาหารเย็น และเสวนารอบกองไฟ
22:00 น.ทบทวนวิธีการจับพิกัดตำแหน่งดาวเหนือ จิบกาแฟร้อนๆรอบดึก และ "รับพลังจันทรา" ก่อนเข้านอน
21 มีนาคม 2556
06:30 น.ชมปรากฏการณ์สุริยะปฏิทิน "ราศีเมษ" และ "รับพลังสุริยะ" ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กึ่งกลางประตูปราสาทภูเพ็ก
07:30 น. อาหารเช้า และปฏิบัติการวัดมุมดวงอาทิตย์เพื่อคำนวณองศาเส้นรุ้ง ณ ปราสาทภูเพ็ก เสร็จกิจกรรมประมาณ 10:00 น.
รายงานผลกิจกรรมรับพลัง"สุริยันจันทรา"ด้วยภาพ
ท่าน ผอ.สุรพล ยงยอด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนคร (คนใส่เสื้อแขนยาวขวามือสุด) ได้ขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็กในตอนเย็นวันที่ 20 มีนาคม 2556 เพื่อตรวจความพร้อมในกิจกรรม "รับพลังสุริยันจันทรา" และท่าน ผอ.ได้อุดหนุนงบประมาณแก่ชมรมพยัคฆ์ภูเพ็กเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


เตรียมการพักแรมเพื่อรับพลังสุริยันจันทราบริเวณปราสาทภูเพ็ก


ป้ายประชาสัมพันธ์งาน สนับสนุนโดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนคร

เริ่มรับพลังจันทราตั้งแต่เที่ยงคืน นำโดยฤาษีเอก อมตะ และคุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์


บรรดาแฟนคลับที่มาจากกรุงเทพ เชียงราย เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด นั่งสมาธิรับพลังจันทรา

คณะผู้ทรงศีลซึ่งเป็นแขกขาประจำเริ่มประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของท่านเหล่านั้นตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง

เริ่มต้นการรับพลังสุริยันตั้งแต่เช้ามืด

ดวงอาทิตย์เริ่มโผล่ขึ้นที่ขอบฟ้าตรงกลางประตูปราสาทภูเพ็ก


ดวงอาทิตย์ส่องพลังตรงเข้าหาผู้ศัทธาอย่างถ้วนหน้า

การรับพลังสุริยะในท่าถัดของ ฤาษีเอก อมตะ

คุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ ทำหน้าที่พรีเซนเตอร์ในการวัดความเที่ยงตรงของสุริยะปฏิทิน ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม 2556 ดวงอาทิตย์มาตามนัดที่ตำแหน่ง "ราศีเมษ" (Zodiac Aries)

ชาวต่างประเทศก็มาด้วย ชื่อ มร.นิกโคลาส จากประเทศสวีเดน

สำหรับผมก็ต้องเก็บข้อมูลดาราศาสตร์ตามธรรมเนียม


ทุกท่านล้วนพอใจในกิจกรรมและลากลับด้วยความเคารพต่อสถานที่ศักดื์สิทธิ์แห่งนี้
