ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




กู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน

 กู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.......เริ่มต้นที่บ้าน

          พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง "งานลือเรื่องหนองหาร"  แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธรรม......คำขวัญที่คุ้นหูของพี่น้องชาวสกลนคร หนึ่งในนั้นมีคำว่างามลือเรื่องหนองหาร......ยังเป็นจริงอยู่อีกหรือ ? พบกับความจริงที่ไม่ต้องเอาใบบัวมาปิดในบทความต่อไปนี้ 

           เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ผมได้เข้าร่วมวงสัมมนา "ถอดบทเรียนหนองหาร สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยศูนย์หนองหารศึกษา ที่ ดร.สพสันติ์ เพชรคำ แห่งคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นโต้โผใหญ่ ผู้เข้าร่วมวงสัมมนาประกอบด้วยหลายภาคส่วน อาธิ คุณครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะทำงานศูนย์หนองหารศึกษาประกอบด้วยอาจารย์จากคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผู้แทนชุมชนรอบหนองหาร นายกสโมสรโรตารีสกลนคร ฯลฯ เนื้อหาสาระของการสัมมนามุ่งเน้นไปที่การประเมินสถานะภาพของหนองหารในลักษณะ "ตรวจสุขภาพ" ว่าปัจจุบันอยู่ในอาการป่วยอย่างไรขนาดไหน 

 

คุณประสาท ตงศิริ ที่ปรึกษาศูนย์หนองหารศึกษาทำหน้าที่ประธานกล่าวเปิดการสัมมนาแบบไม่ต้องไหว้ครูมากมายนัก

 

ดูหน้าดูตาแล้วผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ล้วนแต่ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ "น้ำหนองหาร" ตั้งแต่เกิดจนโต

 

              มองหนองหารในสายตาวิศวกร......จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สกลนคร

 

เปิดฉากการบรรยายสภาพกายภาพในปัจจุบันของหนองหารเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา โดยอาจารย์ทศพล จตุระบุล จากคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สกลนคร

 

          อาจารย์ทศพล จตุระบุล ชี้ให้เห็นว่าหนองหารในปัจจุบันกำลังเผชิญกับภัยหลักๆ 3 ประการ คือ

           1. น้ำเน่าเสียจากการสะสมของสาหร่ายนานาชนิดจนกลายเป็นขี้เลนอยู่ใต้ท้อง เนื่องจากน้ำนิ่งและไม่มีทางระบายออกสาหร่ายจึงเติบโตแบบ "จัดเต็มๆ"  และที่ร้ายก็คือไม่สามารถใช้เครื่องจักรตักหรือขุดลอกดินขี้เลนออกได้อย่างที่ชาวบ้านทั่วไปคิด เพราะหากไปขุดดื้อๆจะทำให้แก้สมีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟล์และสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่นอนอยู่ใต้ท้องน้ำปะทุขึ้นมาปนกับน้ำดี ทำให้น้ำหนองหารเน่าเสียทั้งหมดไปโดยปริยาย

           2. ปริมาตรความจุน้ำหนองหารลดลงเนื่องจากการสะสมของสาหร่ายทำให้ตื้นเขิน ดังนั้นความลึกของหนองหารที่พูดๆกันก็ต้องถึงคราวเปลี่ยนตัวเลขใหม่

           3. ตะกอนดินนานาชนิดที่ถูกกัดเซาะลงมาจากพื้นที่ต้นน้ำปีละร่วม "ห้าหมื่นตัน" เข้ามาสะสมในหนองหารแบบขาประจำทุกปี ตะกอนเหล่านี้ไม่มีทางระบายออกเพราะเป็นน้ำนิ่ง

 

       เปิดโปงสาหร่ายมรณะในหนองหาร

 

 ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่ายจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ท่านด็อกเตอร์คนสวยเปิดโปงด้วยพาดหัวตัวยักษ์ว่า ประเทศไทยกำลังถูกคุกคามด้วย "สาหร่ายมรณะ" สยองก่อโรคมะเร็งตับ หนองหารของเราก็จัดอยู่ในภาวะดังกล่าว เช่นกัน

 

  จริงๆแล้วเจ้าสาหร่ายมรณะที่ว่านี้เป็น แบคทีเรีย ชื่อว่า "ไมโครซีสตีส" มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถสังเคราะห์แสงจึงมีสีเขียวและเมื่อรวมตัวกันมากๆเป็นล้านๆเซลจะมีสภาพเป็นแพสีเขียวลอยเหนือน้ำเหมือนสาหร่าย ในต่างประเทศเรียกว่า Algae Bloom ภายในเซลของเจ้านี่มีสารพิษที่เรียกว่า "ไมโครซีสตีน" เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสัตว์และมนุษย์ หลายประเทศถึงขนาดห้ามลงน้ำเด็ดขาด (อ่านรายละเอียดในคอลั่มภัยเงียบรุกชาวสกล จากสาหร่ายพิษในหนองหาร)

 

 

ด็อกเตอร์คนสวยยังย้ำอีกว่าเจ้าสาหร่ายบ้านี่ชอบสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของหนองหาร เพราะน้ำนิ่ง มีแสงแดด มีอาหารให้กินอย่างโอชะจากสารฟอสเฟต และไนโตรเจน ที่มากับน้ำเสียของตัวเมือง เรียกว่าเข้าทางปืนเขาละ

 

 

 

จากข้อมูลที่ผมสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องกับการประปายังไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวกับสารพิษ "ไมโครซิสตีน" เพราะสารดังกล่าวยังไม่อยู่ในสาระบบการเฝ้าระวัง แต่องค์การอนามันโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานออกมาแล้วว่า ไม่เกิน "หนึ่งไมโครกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร" ดังนั้นเราๆท่านที่ดื่มน้ำจากประปาเมืองสกลก็ต้องใช้วิธี "ช่วยตัวเอง" ไปพลางๆก่อนโดยการติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่มี "ผงถ่านแอกตีเวเต็ดคาร์บ้อน" (Activated Carbon) ซึ่งพอจะช่วยกรองสารพิษตัวนี้ได้ หลังจากฟังท่านด็อกเตอร์บรรยายแล้วผู้ฟังทำท่าแหยงๆกับน้ำดื่มที่พนักงานโรงแรมภูพานเพลสเสริฟ

         

          แนะนำเมนูเด็ดจาก.......ปลาที่หาง่ายที่สุดในหนองหาร

 

  

อาจารย์ทรงทรัพย์ อรุณกมล ประธานสาขาวิชาประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร

 

ต่อจากเรื่องสาหร่ายพิษ ก็ถึงคิวของอาจารย์ทรงทรัพย์ อรุณกมล แห่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาจารย์หนุ่มรูปหล่อท่านนี้ฟันธงว่าปลาที่หาได้ง่ายที่สุดในหนองหาร คือ "ปลาปั๊กเป้า" ซึ่งตรงกับข้อมูลของ ดร.สพสันติ์ เพชรคำ ที่บอกว่ายกเบ็ดตกปลาขึ้นมาสิบครั้งติดปลาปั๊กเป้าถึงเก้าครั้ง ในความเห็นส่วนตัวของผมเจ้าปลาชนิดนี้เป็นตัวชี้วัดของน้ำเสื่อมโทรม เพราะมันทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ๆได้มากกว่าปลาชนิดอื่นๆ และที่แน่ๆชาวเมืองสกลนครเลิกกินปลาหนองหารมาหลายปีแล้ว.....ด้วยเหตุผล "มันเป็นตาย่าน นะคร้าบ"   

         ถังส้วมแบบแซ็ท......ตัวการเติมมลภาวะลงหนองหาร

 

 

 

 

ด็อกเตอร์วิจิตรา สุจริต อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ด็อกเตอร์สาวสวยรวยวิชาท่านนี้ไม่อ้อมค้อม ปล่อยหมัดตรงทันทีว่า "ถังแซท" ที่บรรดาบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และบ้านสมัยใหม่ในตัวเมืองสกลนคร เป็นตัวปล่อยมลภาวะของเสียลงสู่หนองหารแบบ One way Ticket เพราะผู้ใช้แบบเราๆท่านๆขาดความรู้ในการบริหารจัดการเจ้า "เทคโนโลยี" ตัวนี้ เช่น ไม่เคยเติมสารจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายลงไปเลย แถมยังใช้สารเคมีล้างห้องน้ำเป็นประจำลงไปฆ่าจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสิ่งปฏิกูล เข้าตำรามือไม่พายยังเอาเท้าราน้ำ สมัยก่อนพวกเราใช้ส้วมซึมที่มีระบบบำบัดตามธรรมชาติ หรือบำบัดของเสียจากครัวเรือนในรูปแบบ "บ่อขี้ซีก" หรือเรียกให้เป็นวิชาการว่า พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดจิ๋ว (Micro Wetlands) ดังนั้นถังแซทจึงกลายสภาพเป็น "ไหฝังดินใบนึง" ยิ่งให้ผู้รับเหมามาสร้างบ้านเขาก็จะเลือกใช้ถังแซทขนาดเล็กที่สุดเพื่อลดต้นทุน เจ้าของบ้านก็ไม่ใส่ใจเรื่องนี้ ทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ "กดชักโครงลูกเดียว"

 

       โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหนองหาร

           เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2555 ดร.สพสันติ์ เพชรคำ อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์หนองหารศึกษา ได้ประสานงานกับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นำโดย ผศ.ดร.อนุกูล วัฒนสุข ให้มาร่วมระดมสมองในการเสนอโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาหนองหารอย่างยั่งยืน โดยจะเสนอในลักษณะเป็นแพกเกจใหญ่ประกอบด้วยโครงการย่อยที่จะนำไปสู่การพัฒนาหนองหาร ผมก็ร่วมนั่งฟังอยู่ตลอดรายการเกือบทั้งวัน หากโครงการวิจัยเหล่านี้ได้รับการอนุมัติและมีงบประมาณให้ ก็จะเริ่มทำวิจัยให้เสร็จภายในหนึ่งปี 

 

คณะอาจารย์จาก ม.ราชภัฏสกลนคร และ ม.เกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 

 

มีการอภิปรายวิธีการเสนอโครงการวิจัยอย่างกว้างขวาง

 

        โครงการวิจัยและพัฒนาหนองหาร....ยังต้องรออีกนานกว่าจะเห็นผล

            ถ้าจะให้พูดแบบตรงๆโครงการวิจัยและพัฒนาหนองหารต้องรองบประมาณจากรัฐบาลโดยผ่านหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง คำถามคือ จะได้หรือเปล่า เมื่อไหร่จะได้ ได้เท่าไหร่จึงจะพอ ถ้าได้มาแล้วพอเป็นน้ำจิ้มก็ไม่สามารถการันตีว่าหนองหารจะใสสะอาดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วชาวบ้านตาดำๆอย่างเราๆท่านๆจะมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันอย่างไร ผมอยู่ที่สกลนครนานกว่าสามสิบปีมองเห็นปัญหาของหนองหารเหมือน "ไก่กับไข่" ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนก่อน ราชการก็บอกว่ายังไม่มีงบประมาณ ชาวบ้านก็บอกว่าต้องรอภาครัฐเข้ามาช่วย ฟังจากปากของเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดที่เป็นเพื่อนกันตอนนี้เกษียญแล้ว บอกว่าขอตั้งโครงการไป 1,200 ล้านบาท สลึงเดียวก็ยังไม่ได้ วันก่อนเข้าประชุมที่ศาลากลางจังหวัดร่วมกับท่านผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ฟังการชี้แจงของสำนักงานจังหวัดว่าขอตั้งงบประมาณป้องกันปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองสกลนครไปหลายล้าน แต่ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะได้รับอนุมัติทั้งๆที่รัฐบาลมีเงินกู้เพื่อการนี้อยู่ในมือตั้ง "สามแสนห้าหมื่นล้านบาท" 

 

       ผลการศึกษาเบื้องต้นพบความจริงเกี่ยวกับน้ำเสียที่ไหลลงหนองหาร ดังนี้

           1. บ่อบำบัดของเทศบาลรับผิดชอบน้ำเสียได้เฉพาะชุมชนที่อยู่ในตัวเมืองเท่านั้น ส่วนที่อยู่เลยประตูเมืองออกไปไม่มีระบบอะไรทั้งสิ้น ปล่อยน้ำเสียลงหนองหารผ่านคูคลองธรรมชาติแบบเสรี เทศบาลตำบลท่าแร่ก็เช่นกันระบบบำบัดรับผิดชอบได้บางส่วน

 

 

 

 

          2. บ้านจัดสรร และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เกิดขึ้นยังกะดอกเห็ด ทั้งหมดนี้ไม่มีระบบบำบัดที่เป็นรูปธรรม ใช้ถังแซ้ท และบ่อบำบัดขนาดเล็กภายในสถานที่ ซึ่งถ้าไม่มีการจัดการที่ถูกต้องแล้วก็ไม่ต่างกับปล่อยไหลดื้อๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ถังแซ้ท" ถ้าไม่เติมจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ แถมยังเอาสารเคมีล้างห้องน้ำใส่ลงไปก็ยิ่งทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้ลดน้อยจนย่อยสลายสิ่งปฏิกูลไม่ทัน  

 

 

 

         คงถึงเวลาที่เราๆท่านๆกลับมาสู่ความจริง.....กู้หนองหารด้วยมือตัวเอง....เริ่มต้นที่บ้านของแต่ละคน โดยผมเริ่มแล้วครับ ดังนี้

           ระบบบำบัดน้ำเสียระดับครัวเรือนแบบที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคขอมเรืองอำนาจ ภาษาอีสานเรียกว่า "บ่อขี้ซีก" ได้หายไปจากสังคมชาวเมืองสกลนครนานแล้ว คงเหลือแต่สังคมชนบทเท่านั้น ชุมชนทุกแห่งไม่ว่าระดับ อบต. เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง จนถึงเทศบาลนคร ล้วนพึ่งพาการกำจัดน้ำเสียออกจากครัวเรือนโดยผ่าน "ท่อระบายน้ำ" ของชุมชนนั้นๆ และที่สุดของที่สุดก็ปล่อยลงแหล่งน้ำขนาดใหญ่ "หนองหาร" บ้านผมก็อยู่ในชุมชนหมู่บ้านอารียาติดลำห้วยทรายใกล้หนองหาร จึงต้องกำหนดมาตรการส่วนตัวด้วยการ กำจัดน้ำเสียผ่าน "บ่อขี้ซีก" ของตัวเองภายในบริเวณบ้าน

 

 

ทุกบ้านมีน้ำมันพืชเหลือใช้จากการปรุงอาหารและมักกำจัดโดยวิธีเทลงในที่ล้างจาน ที่สุดของที่สุดไหลไปลงหนองหาร ลองคำนวณตัวเลขง่ายๆถ้าเราๆท่านๆรอบหนองหาร 50,000 ครัวเรือนเทน้ำมันพืชใช้แล้วลงท่อระบายน้ำในอัตรา 100 ซีซี /ครัวเรือน /วัน ภายใน 1 ปี หนองหารจะรองรับสิ่งนี้มากถึง 1.8 ล้านลิตร  

 

เศษอาหาร หรือน้ำมันพืชที่ใช้ทอดแล้วควรเทลงดินตามโคนต้นไม้ในบ้าน ให้จุลินทรีย์ธรรมชาติย่อยสลาย อย่าเทลงในซิ้งล้างจานโดยตรงเพราะมันจะไปลงหนองหารผ่านท่อระบายน้ำของหมู่บ้าน

 

น้ำเสียจากการถูบ้านและล้างจานก็ควรเทใส่โคนต้นไม้ในบ้านให้ทำหน้าที่เป็น "บ่อขี้ซีก" 

 

ต้นมะนาวหลังบ้านใช้น้ำที่เหลือจากการซักผ้าและน้ำล้างจาน เป็นการปุ๋ย Phosphate ให้แก่พืชไปในตัว ขณะเดียวกันถ้าท่านพอมีสะตางค์ก็ควรใช้น้ำยาซักผ้าที่ระบุว่า "ย่อยสลายได้" (Biodegradable) 

 

เติมจุลินทรีย์ลงในโถส้วมเดือนละครั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของถังแซ้ท และลดการใช้สารเคมีในห้องน้ำให้น้อยที่สุดเพื่อปกป้องจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการย่อยสลายปฏิกูล ถ้าจะให้ดีหันมาใช้สาร EM ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ

 

ถังย่อยสลายเศษอาหารเพื่อเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ เป็นการลดภาระของการจัดการขยะอินทรีย์ไม่ให้ปะปนกับขยะอื่นๆ

 

ถังใบนี้ใช้จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายเศษอาหาร ถังพาสติกสีดำทำให้เกิดความร้อนจากแสงอาทิตย์และช่วยเร่งการทำงานของจุลินทรีย์

 

บ่อเลี้ยงปลาในบ้านจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำเป็นครั้งคราว  

 

น้ำจากบ่อเลี้ยงปลามีอินทรีย์วัตถุสูงถูกปล่อยในบริเวณปลูกต้นไม้

 

 

มีบ่อดักน้ำที่เรียกว่า "ธนาคารน้ำใต้ดิน" 

 

         เชื่ออย่างจริงจังว่า....หากทุกคนช่วยกันโดยไม่ต้องรอภาครัฐ เราสามารถลดการปล่อยน้ำเสียลงหนองหารได้อย่างเป็นรูปธรรม ผมเชื่อในพลังของทุกคน....หากทุกอย่างเริ่มต้นที่บ้าน....น้ำหนองหารจะดีกว่านี้ ....... ท่านว่าจริงไม้ละ

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ