ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

 ปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

Operation Doomsday 2012 at Prasat Phupek Sakon Nakhon

ข่าวใหญ่ลือสะพัด.......ปฏิทินชาวมายาบอกว่าโลกจะดับสูญในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ตรงกับ พ.ศ. 2555 แต่สุริยะปฏิทินขอมพันปีที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดเขาสูง 520 เมตร ชี้ว่าวันนี้เป็นวัน "เหมายัน" กลางคืนยาวที่สุด และโลกก็ยังอยู่ต่อไป

 

 

           ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" จึงขอท้าพิสูจน์แบบชนิดจัดเต็มเชิงประจักษ์ โดยนัดกันที่ปราสาทภูเพ็กตั้งแต่คืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 จนถึงบ่ายวันที่ 21 ธันวาคม 2555 เพื่อปฏิบัติการทางฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และที่ขาดไม่ได้คือลึกลับศาสตร์ ยืนยันว่าแกนของโลกยังคงอยู่เหมือนเดิม ชีวิตยังดำเนินต่อไป พี่น้องเกษตรกรผู้ที่เป็นหนี้ผ่อนส่งบัตรเครดิตของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ เพราะไปรูดปรื้ดรูดปรื้ดตามนโยบายรัฐบาลก็ยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นต่อไป ข้าราชการที่แปะโป้ในโครงการกรุงไทยธนวัตรก็ต้องตัดดอกต่อไปตามธรรมเนียม

ในวันดังกล่าวท่านจะได้พบกับวิทยากร "สี่หนุ่มสี่มุม" ได้แก่ นายแพทย์ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา และอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือฤาษีเอก อมตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณและลึกลับศาสตร์ และที่ขาดไม่ได้คือลุงบุปผา ดวงมาลย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รู้จักปราสาทภูเพ็กทุกซอกทุกมุม เราทั้งสี่คนจะพิสูจน์ให้เห็นว่า "แกนโลก" ยังคงอยู่ที่ 23.5 องศา และขั้วโลกเหนือก็ยังคงชี้ไปที่ "ดาวเหนือ" ดวงอาทิตย์จะมาตามนัดที่ตำแหน่งมุมกวาด115 องศา ตรงตำแหน่งรอยสลักสัญลักษณ์ของสุริยะปฏิทินขอมพันปี ทั้งหมดนี้จะใช้หลักฐานทางดาราศาสตร์ของบรรพชนโบราณที่ปรากฏอยู่บนปราสาทภูเพ็กเป็นตัวช่วย โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ไฮเทคใดๆทั้งสิ้น เรียกว่าเล่นกับแบบสดๆชนิด "ตาดู หูฟัง"    

    

 

          ที่มาของวันสิ้นโลก 2012

           เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางว่า "ปฏิทินชาวมายา" ที่ประเทศเม็กซิโกเป็นต้นกำเนิดของข่าวระทึกขวัญชิ้นนี้ นัยว่าปฏิทินดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม 2012 นักวิชาการบางคนเลยตีความว่าเมื่อปฏิทินสิ้นสุดลงโลกก็จะดับสูญตามไปด้วย อาจจะเป็นเพราะการพลิกกลับขั้วของแกนโลกทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นแล้วในพระคำภีร์ไบเบิ้ลฉบับพันธสัญญาเก่า เรื่องนี้เข้าทางปืนนักเขียนนวนิยายพ้อกเก็ตบุกขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และยิ่งกระชับเข้าล้อกของบริษัทยักษ์ใหญ่วงการบันเทิงภาพยนต์ฮอลีวู้ดก็ยิ่งตื่นเต้นเข้าใหญ่ บวกกันแรงกระพือของหมอดูแม่นๆที่มีชื่อเสียงเล่นเอาคนทั้งโลกตกอยู่ในความกลัวตามๆกัน ทางการประเทศเม็กซิโกเจ้าตำหรับของปฏิทินมายาเลยได้ทีขี่แพะไล่ด้วยการจัดเทศกาลฉลองวันสิ้นโลกที่ปีรามิดในเมืองชิเช่นอีสซ่า แหลมยูคาตัน บริษัททัวร์และธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และกิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องขานรับอย่างเป็นระบบ ทำเอาเป้าส่งเสริมทัวร์ประเทศนี้นัยว่าทะลุ 52 ล้านคนแล้ว

 

โฉมหน้าของปฏิทินมายา ที่มาของวันสิ้นโลก

นักโบราณคดีแปลความตามปฏิทินมายาพบว่าสิ้นสุดตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม 2012 เป็นเหตุให้มีการตีความว่าโลกจะถึงกาลอวสานในปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice 2012) ซึ่งรู้กันทั่วไปว่าคือวันที่ 21 December 2012

ปฏิทินเผ่ามายาฉบับนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก (Museo Maya de Cancun)

 

 

พิธีกรรมของชาวเผ่ามายา 

 

การจัดฉากพิธีกรรม "วันสิ้นโลก 2012" โดยใช้คนพื้นเมืองเผ่ามายาโบราณ สามารถเรียกความสนใจได้อย่างมาก

 

 

          สาเหตุของการพลิกกลับของขั้วโลก ตามความเชื่อของผู้คนจำนวนมาก......พวกเขาผูกเรื่องได้ดีครับ....แต่ดูออกจะหนักไปทางภาพยนต์ฮอลีวู้ด ผมทราบเรื่องราวทำนองนี้มานานแล้วตั้งแต่ปี 2535 จึงนำมาแชร์ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ....จริงเท็จอย่างไร.....ก็เป็นเรื่องของความเชื่อ  

          จากการที่ผมสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอารยธรรมต่างๆของโลกทำให้ได้ข้อมูลอย่างหนึ่งจากหนังสือพ้อกเกตบุกของนักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล Zacharia Sitchin ว่า ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนเมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันประเทศอีรัก) เมื่อห้าพันปีที่แล้ว เชื่อว่าระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งชื่อว่า "นิบีรุ" (Nibiru) หรือ เมอร์ดุ๊ก (Marduk) ในภาษาบาบิโลเนี่ยน ดาวเคราะห์นิบีรุมีขนาดน้องๆดาวพฤหัสและอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก โคจรเป็นรูปวงรีเหมือนดาวหางใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 3,600 ปี เมื่อดาวนิบีรุโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน แรงดึงดูดอันเนื่องจากขนาดและความเร็วของมันจะทำให้โลกพลิกกลับขั้วได้ง่ายๆ 

 

  

แผ่นจารึกดินเผาของชาวบาบิโลเนี่ยนค้นพบที่อีรัค ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน แสดงระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ "นิบีรุ" ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นฐานของมนุษย์ที่ภาษาสุเมเรี่ยนเรียกว่า "อนันนากี" เป็นพระเจ้าในสายตาของบรรพชนเหล่านั้น พระคำภีร์ไบเบิ้ลภาษาฮีบริวเรียกมนุษย์นี้ว่า "เนฟิลิ่ม" แต่ถ้าเป็นภาษาปัจจุบันอย่างเราๆท่านๆก็จะใช้คำว่า "เอเลี่ยน"   

นักเขียนพ้อกเก็ตบุ๊กชื่อดังชาวอเมริกัน แซกชาราย ซีสชิ่น (Zecharia Sitchin) ผู้เปิดเผยเรื่องราวของดาวเคราะห์นิบีรุ และมนุษย์อนันนากีที่ชาวสุเมเรี่ยนเรียกว่า "พระเจ้า" ผมสะสมหนังสือของคุณลุงท่านนี้เกือบทุกเล่มโดยซื้อมาจากต่างประเทศเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว และเล่มที่โด่งดังที่สุดเห็นจะเป็น The 12th Planet   

ชาวสุเมเรี่ยนเชื่อว่าดาวเคราะห์ "นิบีรุ" อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถัดออกไปจากดาวพลูโต

วงโคจรของดาวเคราะห์นิบีรุ หรือ Planet X เป็นรูปวงรีเหมือนดาวหาง มีรอบโคจร 3,600 ปี

อีกภาพหนึ่งของวงโคจรดาวเคราะห์นิบีรุ

องค์การนาซ่าก็สงสัยเหมือนกันว่าน่าจะมีดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบอีกดวงหนึ่งจึงตั้งชื่อว่า Planet X 

องค์การนาซ่าเคยส่งยานอวกาศชื่อว่า IRAS ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษขึ้นไปสำรวจหาดาวเคราะห์ดวงนี้

ผลการสำรวจของยานอวกาศ IRAS (Infrared Astronomical Satellite) มีข่าวแพลมออกมาว่าเจอวัตถุลึกลับใหญ่พอๆกับดาวพฤหัสอยู่ไกลโพ้นที่ขอบระบบสุริยะ 

ภาพแสดงการโคจรของดาวเคราะห์นิบีรุเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน

ด้วยความเร็วของดาวเคราะห์นิบีรุอาจฉุดให็โลกเสียการทรงตัวและพลิกกลับขั้ว

เมื่อดาวเคราะห์นิบีรุเข้ามาใกล้โลกแรงดึงดูดอันมหาศาลของมันอาจทำให้โลกพลิกกลับขั้วได้ง่ายๆ

พระคำภีร์ไบเบิ้ลฉบับ Old Testament The Book of Joshua มีบันทึกว่า วันที่โจชัวยกกองทัพเข้าโจมตีเมืองกีบบียอน (Gibeon) ปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของกรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล วันนั้นเกิดเหตุการณ์ประหลาด "พระอาทิตย์ค้างฟ้า" กลางวันยาวมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันชาวมายาและแอสแทกในอีกซีกโลกที่อเมริกาใต้ มีเรื่องราวเป็นตำนานว่า "กลางคืนยาวผิดปกติ" ทั้งสองเหตุการณ์อาจหมายถึงโลกหยุดนิ่งชั่วขณะหรือหมุนช้าลงชั่งคราวอันเนื่องจากแรงดึงดูดของนิบีรุ 

 

พระคำภีร์ไบเบิ้ลมีเรื่องราวน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ โดยมีวีรบุรุษที่ชื่อ "โนอาร์" ได้รับการบอกกล่าวจากพระเจ้าให้ต่อเรือขนาดใหญ่กู้ชีวิตคนและสัตว์ได้จำนวนหนึ่ง 

ฉากภาพยนต์เรื่อง 2012 โลกาวินาศ แสดงเหตุการณ์น้ำท่วมโลกตามคำทำนายของปฏิทินเผ่ามายา

ผมสะสมหนังสือ Pocket Book เรื่องทำนองนี้มาหลายปีแล้ว อ่านกลับไปกลับมาหลายครั้งจนแทบจำได้ 

ผมชอบอ่านหนังสือแนวนี้มานานแล้วที่บ้านมีเก็บไว้หลายเล่ม พอมาเขียนเรื่องนี้เลยมองออกว่าจะออกไปในแง่มุมไหน

ดูภาพนี้แล้วบอกไม่ถูกว่าชาวสุเมเรี่ยนรู้ได้ยังไงว่า "ดาวเสาร์" มีวงแหวนเพราะเพิ่งจะถูกค้นพบเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วโดยใช้กล้องโทรทัศน์ ก็แสดงว่าบรรพชนเหล่านั้นไม่หน่อมแน้มอย่างที่เราๆท่านๆคิด 

 

          เรื่องราวดาวเคราะห์นิบิรุของชาวสุเมเรี่ยน อาจฟังดูเพี้ยนๆเหมือนนวนิยายเพราะพวกเขาอยู่ในยุคโบราณจะมีความรู้ได้อย่างไรกันละ ขนาดองค์การนาซ่าในยุคปัจจุบันที่แสนจะไฮเทคยังไม่รู้จักดาวเคราะห์ดวงนี้เลย แต่นาซ่าก็ไม่กล้าฟันธงว่า "ไม่มี" ก็เพราะพวกเขามีข้อมูลที่ยังคิดไม่ตกว่าแรงดึงดูดอะไรมาทำให้วงโคจรของดาวพลูโตแกว่งไปแกว่งมาเหมือนถูกอะไรมาดึง เป็นเหตุการณ์เดียวกับที่นักดาราศาสตร์ชาวยุโรปค้นพบดาวเคราะห์เนปจูนจากการสังเกตวงโคจรของดาวเคราะห์ยูเรนัสว่าเหมือนมีอะไรมาดึงๆถ่วงๆ ในที่สุดเมื่อมีการพัฒนากล้องดูดาวที่ทันสมัยก็ส่องพบเนปจูนในที่สุด ประกอบกับข้อมูลที่จารึกไว้ในแผ่นดินเผาของชาวสุเมเรี่ยนเมื่อหลายพันปีที่แล้วก็ไม่ใช่ขี้ไก่เสียทีเดียว พวกเขาจารึกไว้ชัดเจนว่า "ดาวเสาร์มีวงแหวน" ทั้งๆที่เราๆท่านๆในปัจจุบันเพิ่งมองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์จากกล้องโทรทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมาไม่นานนี้เอง ดังนั้นองค์การนาซ่าและนักดาราศาสตร์ทั่วไปจึงเรียกดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบนี้ว่า The Planet X ส่วนเจ้าดาวเคราะห์ดวงนี้จะเป็นดวงเดียวกับนิบีรุหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป   

           กิจกรรม และวิธีการท้าพิสูจน์ของ "ปฏิบัติการวันสิ้นโลก" ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

          ในเมื่อปฏิทินชาวมายาและกระแสข่าวลือทั่วโลกตั้งโจทย์ว่า "แกนโลก" จะกลับขั้ว ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กก็ต้องพิสูจน์หักล้างว่านี่คือข่าวลือเข้าทำนอง "แหกตา" ระดับโลก โดยปฏิบัติการ "ตรวจแกนโลก" ใช้หลักดาราศาตร์และคณิตศาสตร์จากข้อมูลที่บรรพชนเมื่อพันปีที่แล้วทิ้งไว้ที่ปราสาทภูเพ็ก    

       1.ปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์  

      1.1 พิสูจน์ว่าขั้วโลกเหนือยังคงชี้ที่ตำแหน่ง "ดาวเหนือ"

           โดยใช้รอยขีดที่พื้นหินหน้าท่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ (ท่อโสมสูตร) เป็นเครื่องช่วยหาตำแหน่ง ในคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ผมกับคุณหมอศิริโรจน์ฯ จะปีนขึ้นไปบนหลังคาของห้องวิมานของปราสาทภูเพ็ก และใช้เชือกผูกลูกดิ่งหย่อนลงมาให้ตรงกับจุดกึ่งกลางของท่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ (มีรอยขีดบนหินกำกับอยู่ที่ข้างฝาและพื้น) เพื่อกำหนดตำแหน่งยืนให้หันหน้าตรงทิศเหนือภูมิศาสตร์ซึ่งชี้ที่ขั้วโลกเหนือ (Geographic north) ใช้อุปกรณ์ครึ่งวงกลมวัดมุมเงยขึ้นไป 17 องศา จะตรงกับ "ดาวเหนือ" (North Star, Polaris) หลายท่านอาจถามว่ารู้ยังไงว่านี่คือดาวเหนือ ก็ใช้วิชาดาราศาสตร์ครับ ราวหัวค่ำของคืนดังกล่าวจะใช้ดาวค้างคาว (Cassiopia) เป็นตัวช่วยชี้ ถ้าดึกหน่อยจะใช้กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นตัวชี้

 

 

ตอนหัวค่ำในฤดูหนาวดาวค้างคาวชี้ที่ตำแหน่งดาวเหนือ เราจะเริ่มเห็นดาวกลุ่มนี้ขึ้นหัวค่ำตั้งแต่เดือนกันยายนจนหมดฤดูหนาว  

  

ดึกหน่อยในฤดูหนาวดาวหมีใหญ่ขึ้นก็ชี้ที่ดาวเหนือได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนดาวกลุ่มนี้จะขึ้นตอนหัวค่ำ  

งยขึ้นไป 17 องศา ต้องตรงกับดาวเหนือ

คืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ผมกับคุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ ปีนขึ้นไปบนทับหลังด้านทิศเหนือของปราสาทภูเพ็ก เพื่อจับพิกัด "ดาวเหนือ" ด้วยมุมเงย 17 องศา โดยใช้ดาวค้างคาว (หัวค่ำ) และดาวหมีใหญ่ (ตอนดึก) เป็นตัวช่วยชี้ตำแหน่ง 

จุดที่จะเล็งหาดาวเหนือได้สะดวกต้องปีนขึ้นไปบนทับหลังของปราสาทภูเพ็ก (การปีนป่ายแบบนี้เป็นความสามารถเฉพาะคน ห้ามเลียนแบบ) 

เลยเที่ยงคืนของวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ไปเล็กน้อย เราสามารถมองเห็นดาวเหนือได้ง่ายโดยใช้กลุ่มดาวหมีใหญ่ และกลุ่มดาวค้างคาว ชี้ตำแหน่ง โดยหันหน้าไปที่ทิศเหนือแท้และเงยขึ้นไปประมาณ 17 องศา

ด้านทิศเหนือของผนังปราสาทภูเพ็กมีรูสี่เหลี่ยมเป็นท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (ท่อโสมสูตร) 

ที่หน้าท่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ (ท่อโสมสูตร) มีรอยขีดที่หินแสดงทิศเหนือแท้ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมหายาน ซึ่งถือว่าขั้วโลกเหนือคือ "เขาพระสุเมรุ" ที่สถิตของเหล่าเทพ  

ภาพภายในท่อโสมสูตร (สร้างยังไม่เสร็จ)

ท่อโสมสูตรและรอยขีดที่จุดเซนเตอร์

อีกมุมหนึ่งของรอยขีดด้านล่างของท่อโสมสูตรแสดงทิศเหนือแท้

ท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (โสมสูตร) ที่ยังสร้างไม่เสร็จแต่พอมองเห็นรูปร่าง ท่อนี้ถ้าเสร็จตามโครงการมีหน้าที่ลำเลียงน้ำศักดิ์สิทธิ์จากการประกอบพิธีให้ไหลออกสู่ด้านนอกตัวปราสาทด้านทิศเหนือให้ตรงกับตำแหน่งของเขาพระสุเมร 

 

          1.2 พิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าดวงอาทิตย์จะต้องขึ้นที่มุมกวาด 115 องศา  (Azimuth 115) ของตำแหน่งสุริยะปฏิทินขอมพันปี ในเช้าวันที่ 21 ธันวาคม 2555 หรือ 21 December 2012

            ปราสาทภูเพ็กมีหินสี่เหลี่ยมวางอยู่หน้าประตูห้องวิมานด้านบนมีรูสี่เหลี่ยมเล็กๆเรียงกันในรูปทรงเรขาคณิต ผมใช้หลักดาราศาสตร์บวกกับข้อมูลปฏิทินมหาศักราช นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจักรวาล แต่ผมตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีสำคัญของปฏิทินมหาศักราชซึ่งใช้ในราชสำนักขอม ปฏิทินฉบับนี้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ในระบบราชการอินเดีย ผมเป็นนักเรียนเก่าจากมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งรัฐปันจาบ ประเทศอินเดีย ก็มีไดอารี่ปฏิทินมหาศักราชควบคู่กับปฏิทินสากล ดังนั้นผมได้ทำการพิสูจน์ในเชิงประจักษ์หลายครั้งหลายหนจนลงความเห็นว่านี่คือ "สุริยะปฏิทิน" ขอมพันปี ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่คอลั่ม "ปราสาทภูเพ็ก" ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้  ดังนั้นเช้าวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ต้องขึ้นตรงกับตำแหน่ง "เหมายัน" ราศีแพะทะเล (Zodiac Carpricornus) 

การใช้สุริยะปฏิทินชี้ดวงอาทิตย์ในวัน "เหมายัน"  21 ธันวาคม (Winter Solstice 21 December) ที่มุกวาด 115 องศา (Azimuth 115)

เก็บภาพดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ Winter Solstice ทำมุมกวาด หรือ Azimuth 115 องศา เมื่อปี 2002 

 

           1.3 ตรวจสอบว่าแกนของโลกยังคงอยู่ที่มุมเอียง 23.5 องศา จากแนวดิ่ง

           เป็นที่ทราบอย่างดีว่าโลกของเราโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงจากแนวดิ่ง 23.5 องศา (มุมเอียงจริงๆตามหลักคณิตศาสตร์เท่ากับ 23.439281 องศา แต่เพื่อให้ง่ายต่อการจำและใช้งานจึงอนุโลมให้ใช้ตัวเลข 23.5 องศา) ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วยมุมตกกระทบไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาจึงก่อให้เกิดฤดูกาลอย่างที่เราๆท่านๆสัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กมีวิธีตรวจสอบมุมเอียงของแกนโลกโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฮเทคอะไรทั้งสิ้น พูดง่ายๆว่าคำนวณโดยใช้ไม้แท่งเดียวเท่านั้น วิธีการคำนวณใช้สูตรนี้นะคร้าบ

มุมเอียงของแกนโลก = 90 - (มุมเงย ณ เที่ยงสุริยะของวันเหมายัน + องศาของเส้นรุ้ง)

หรือ

Eart's tilt = 90 - (Altitude at Solar Noon of Winter Solstice + Angle of latitude or Angle of incidence at Solar Noon of Equinox) 

มุมเอียงของโลก = มุมเอียงของดวงอาทิตย์ในวันเหมายัน - มุมเอียงของดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัต

Earth's tilt = Angle of incidence at Solar Noon of Winter Solstice - Angle of incidence at Solar Noon of Equinox or Angle of local latitude

อนึ่ง องศาของเส้นรุ้ง สามารถหาได้สองวิธี หนึ่งวัดมุมเงยของดาวเหนือซึ่งทำได้ทุกคืน สองวัดมุมเอียงของดวงอาทิตย์ (Angle of incidence) ในวันที่ 21 มีนาคม หรือ 23 กันยายน เป็นปรากฏการณ์ "วิษุวัต" โลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน  

การพิสูจน์สมการที่ช้ในการคำนวณมุมเอียงของแกนโลก (Earth's tilt Calculation)

สมการสำหรับคำนวณมุมเอียงของแกนโลก โดยใช้ข้อมูลมุมเอียง (Angle of incidence) และมุมเงย (Altitude) ของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์เหมายัน (Winter Solstice) และวิษุวัต (Equinox) 

แสดงการวัดมุมเอียงของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (Angle of incidence at Solar Noon)โดยใช้นาฬิกาแดด

            1.4 ตรวจสอบอัตราความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลก   

          ปกติโลกหมุนรอบตัวเองในอัตราความเร็ว 1 องศา ต่อ 4 นาที หรือ 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง โดยคำนวณจากโลกเป็นวัตถุทรงกลม 360 องศา และหมุนรอบตัวเองโดยเฉลี่ยวันละ 24 ชั่วโมง ตัวเลขนี้ใช้ในการกำหนดเวลามาตรฐาน Greenwich Mean Time (GMT) โดยให้เมือง Greenwich ที่ประเทศอังกฤษเป็นจุดเริ่มต้นของ "ศูนย์องศา เส้นแวง" (Longitude 0) ประเทศไทยเราใช้เส้นแวงที่ 105 ตะวันออก เราจึงอยู่ที่โซนเวลา +7 GMT คำนวณจาก 105 องศา x 4 นาที = 420 นาที หารด้วย 60 = 7 ชั่วโมง มิน่าตอนถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรแข่งที่ประเทศอังกฤษเวลาสองทุ่มแฟนบอลพี่ไทยอย่างเราๆท่านๆต้องถ่างตาดูที่เวลาตีสาม เล่นเอาง่วงนอนกันระนาวในตอนทำงานวันรุ่งขึ้น ในการนี้เราใช้นาฬิกาแดดเปรียบเทียบกับนาฬิกาข้อมือ และกร้าฟสมการแห่งเวลา (Equation of time) เพื่อตรวจดูว่าโลกหมุนรอบตัวเองในอัตราปกติ 1 องศา ในเวลา 4 นาที หรือ 15 องศา ใน 1 ชั่วโมง หรือไม่

 

   

วันที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 08:00 น. นาฬิกาแดด และนาฬิกาข้อมือ ให้ข้อมูลตรงกับสมการแห่งเวลา (Equation of time) ก็แสดงว่าอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกยังคงปกติ ในทางตรงข้ามถ้าความเร็วของการหมุนรอบตัวเองต่างออกไปไม่ว่าจะช้าลงหรือเร็วขึ้น เงาดวงอาทิตย์บนนาฬิกาแดดจะไม่สัมพันธ์กับสมการแห่งเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับนาฬิกาข้อมือ

  

วันที่ 10 กันยายน 2555 นาฬิกาแดด กับนาฬิกาข้อมือ เท่ากับแบบลงตัวทำให้สามารถคำนวณหาอัตราความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลกได้อย่างสบายๆ ผลการคำนวณพบว่า โลกยังคงหมุนที่อัตรา 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง เป็นปกติ

วันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 12:00 ทั้งนาฬิกาแดดและนาฬิกาข้อมือชี้ตำแหน่งเดียวกันเป๊ะ จึงยืนยันว่าการหมุนรอบตัวเองของโลกยังคงไม่มีอะไรบิดเบี้ยว 

อย่างไรก็ตามในวันที่ 17 ธันวาคม 2555 นาฬิกาแดดกับนาฬิกาข้อมือจะกลับมาเท่ากันอีกครั้งหนึ่ง จะใช้วิธีเดิมตรวจสอบการหมุนรอบตัวเองของโลกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่  

ทีมงานได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้สองช่วง กล่าวคือ

ยกที่หนึ่ง วันที่ 23 กันยายน 2555 ตรงกับปรากฏการณ์จะศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) จะทำการวัดมุม Angle of incidence ของดวงอาทิตย์ เพื่อดูว่าเท่ากับ 17  องศาหรือไม่ เนื่องจากปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ มุมของดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงสุริยะต้องเท่ากับ 17 องศา เช่นกัน ขณะเดียวกันก็จะใช้สุริยะปฏิทินตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าว่าตรงกับ ราศีคันช่าง (Zodiac Libra) ทำมุมกวาดจากทิศเหนือแท้ 90 องศา  (Azimuth 90) 

ในส่วนของทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็ก ที่รับภารกิจด้าน "ความเชื่อ และลึกลับศาสตร์"  นำโดยฤษีเอก อมตะ และลุงบุปผา ดวงมาลย์ จะเริ่มปฏิบัติการล้างอาถรรพ์ครั้งแรกในคืนวันที่ 15 กันยายน 2555 ตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง ด้วยการนั่งภาวนาแบบจัดเต็มที่ห้องใจกลางของปราสาทภูเพ็ก และปฏิบัติการครั้งที่สองที่ปราสาทภูเพ็กเช่นกัน เริ่มภาวนาตั้งแต่ดึกๆคืนวันที่ 22 กันยายน 2555 ตรงกับขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 23 กันยายน   

          กำหนดการปฏิบัติงานในวันที่ 23 กันยายน 2555 มีดังนี้ ครับ

            เย็นวันที่ 22 กันยายน 2555 เวลา 18:00 - 20:00 พบปะเสวนากันที่ "ร้านคำหอม" ในตัวเมืองสกลนคร เพื่ออุ่นเครื่องกันก่อนด้วยไวน์หมากเม่าคุณภาพดี พร้อมกับแกล้มเลิศรส

ส่วนทีมงานของฤษีเอก อมตะ จะขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็กตั้งแต่หัวค่ำของวันนี้เพื่อปฏิบัติการล้างอาถรรพ์  

เช้ามืดวันที่ 23 กันยายน 2555

04:00 ออกเดินทางจากตัวเมืองสกลนคร ไปยังปราสาทภูเพ็ก 

05:00 พร้อมกันที่บริเวณลานวัดบ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม สกลนคร ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขามรถนนลาดยางขึ้นไปถึง และจะเดินขึ้นบันไดประมาณเกือบห้าร้อยขั้นขึ้นไปยังตัวปราสาท คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที

05:30 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ในการวัดมุมดวงอาทิตย์

06:10 เริ่มการตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์กับสุริยะปฏิทินขอมพันปี เพื่อดูว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงตำแหน่งราศีคันชั่ง (Zodiac Libra) หรือไม่

07:00 -12:00 ใช้นาฬิกาแดดจับมุมดวงอาทิตย์เพื่อคำนวณหามุมเอียง ณ เที่ยงสุริยะ (Angle of Incidence at Solar noon) ค่าของตัวเลขน่าจะเท่ากับองศาเส้นรุ้งของปราสาทภูเพ็ก ประมาณ 17 องศา  และตัวเลขนี้จะเท่ากับมุมเงยพิกัดของดาวเหนือ เราจะเก็บตัวเลขนี้ไว้เพื่อเข้าสูตรอีกครั้งในวันที่ 21 ธันวาคม 2555 เพื่อคำนวณหามุมเอียงของแกนโลกว่าจะอยู่ที่ 23.5 องศาหรือไม่

12:00 สรุปผลการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับในวันนี้สามารถสรุปสถานะภาพของแกนโลกในเบื้องต้นว่ายังคงอยู่สบายดีหรือไม่ 

 

ดวงอาทิตย์ในเช้าวันที่ 23 กันยายน  2555 น่าจะตรงกับตำแหน่งราศีคันช่าง (Zodiac Libra) ของสุริยะปฏิทิน ที่ปราสาทภูเพ็ก

Angle of incidence ของดวงอาทิตย์วันที่ 23 กันยายน 2555 น่าจะเป็นแบบนี้

          ยกที่สอง 20 - 21 ธันวาคม 2555 ตรวจสอบตำแหน่งขั้วโลกเหนือ ดูตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าในราศีแพะทะเล และวัดมุมเอียงของโลก

มีกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 20 ธันวาคม 2555

18:00 ขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็ก เพื่อเตรียมอุปกรณ์ และที่พักค้าง

19:00 เป็นต้นไป หาพิกัดดาวเหนือโดยใช้ข้อมูลมุมเงย 17 องศา ที่ได้จากปฏิบัติการวันที่ 23 กันยายน 2555 

การหาพิกัดดาวเหนือโดยใช้มุมเงย 17.2 องศา และให้ดาวค้างคาว กับดาวหมีใหญ่เป็นตัวชี้

ขณะเดียวกันทีมงานของฤษีเอก อมตะ และลุงบุปผา ดวงมาลย์ จะทำพิธีล้างอาถรรพ์ที่ดาวเคราะห์เรียงตัวเป็นเส้นตรงประกบดวงอาทิตย์ในคืนนี้

วันที่ 21 ธันวาคม 2555

06:30 ใช้สุริยะปฏิทินขอมพันปีตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ว่าขึ้นตรงกับราศีแพะทะเล (Zodiac Capricornus) หรือไม่

07:00 - 12:00 ใช้นาฬิกาแดด กับนาฬิกาดิจิต้อล คำนวณอัตราความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลก (Speed of Earth's rotation) โดยใช้สมการแห่งเวลาเป็นตัวเปรียบเทียบ เพื่อดูผลว่าโลกยังคงหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราปกติ 15 องสา ต่อ 1 ชั่วโมง หรือไม่  

08:00 - 13:00 ใช้นาฬิกาแดดจับมุมดวงอาทิตย์เพื่อคำนวณหามุมเงยของดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ  (Sun's altitude at Solar noon) ควบคู่กับการทำ Shadow Plot เพื่อยืนยันตัวเลขซึ่งกันและกัน 

13:30 นำตัวเลข angle of incidence ที่ได้จากปฏิบัติการวันที่ 23 กันยายน 2555 และ Sun's altitude วันที่ 21 ธันวาคม 2555 เข้าสมการตามสูตรเพื่อคำนวณมุมเอียงของแกนโลก ว่าจะเท่ากับ 23.5 องศาหรือไม่  

14:00 สรุปผลปฏิบัติการ ประกาศผลทางเว้ปไซด์ และเฟสบุกของชมรมดาราศาสตร์แห่งเมืองทัลซ่า รัฐโอคลาโฮม่า สหรัฐอเมริกา เพื่อตัดหน้าปฏิทินเผ่ามายา 12 ชั่วโมง

 

 

ผมได้พิสูจน์ที่มาที่ไปของสูตรการคำนวณ "มุมเอียงของโลก" (Earth's Tilt) ที่จะทำในวันที่ 21 ธันวาคม  2012 โดยใช้ทฤษฏีปีธากอรัสที่เคยเรียนในชั้นมัธยมปลายสมัยอยู่โรงเรียนรุจิเสรีวิทยา สะพานควาย กทม. เมื่อปี 2509 - 2510     

ภาพแสดงการได้มาของสูตรมุมเอียงของโลก

วิธีการวัดมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 ธันวาคม และการหามุมเงยของดาวเหนือ

มุมเงยของดาวเหนือ ณ ตำแหน่งที่เรายืนอยู่

การพิสูจน์ว่ามุมเงยของดาวเหนือเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง

ดาวค้างคาวชี้ไปที่ดาวเหนือ

คืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ผมกับคุณหมอศิริโรจน์ฯ จะขึ้นไปวัดมุมเงยของดาวเหนือบนนี้แหละ 

วิธีการคำนวณหาองศาเส้นรุ้ง ณ ปราสาทภูเพ็ก ในวัน "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) 23 กันยายน ในวันนี้มุมเอียงของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (Angle of incidence) จะเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง  

วิธีการคำนวณหามุมเงยของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะที่ปราสาทภูเพ็ก ในวัน "เหมายัน" (Winter solstice) 21 ธันวาคม กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี 

สรุปแล้วผลการคำนวณทั้งหลายแหล่ต้องลงตัวที่ 

หนึ่ง ขั้วโลกเหนือยังตรงกับดาวเหนือ

สอง ดวงอาทิตย์ในเช้าวันที่ 21 December 2012 ต้องตรงกับตำแหน่งราศีแพะทะเลของสุริยะปฏิทินขอมพันปี  

สาม มุมเอียงของโลกต้องอยู่ที่ 23.5 องศา 

และสี่ อัตราความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลกต้องอยู่ที่ตัวเลข 15 นาที ต่อ 1 ชั่วโมง  

            กิจกรรมเหล่านี้เป็นการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ว่า "แกนโลก" ยังคงเหมือนเดิม เพราะขั้วโลกยังชี้ที่ "ดาวเหนือ" ดวงอาทิตย์ในวันนี้ขึ้นที่มุมกวาด 115 องศา และมุมเอียงของแกนโลกอยู่ที่ 23.5 องศา อย่างไรก็ตามหากไม่เป็นไปตามนี้ ก็แสดงว่าเราๆท่านๆต้องเตรียมตัวเตรียมใจกันได้แล้ว ผมและทีมงานพูดอย่างตลกๆว่าเหตุผลที่เราขึ้นมาปฏิบัติการที่ยอดภูเขาสูง 520 เมตร เพราะถ้ามันเกิดน้ำท่วมโลกเข้าจริงๆพวกเราคงรอดละว้า

เพื่อให้กิจกรรมสนุกยิ่งขึ้นจะเปิดให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทีม 4 -8 คน สมัครเข้าแข่งขันการคำนวณเพื่อพิสูจน์ว่าแกนโลก "ยังคงอยู่ที่เดิมด้วยมุมเอียง 23.5 องศา" โดยขึ้นไปเก็บข้อมูลของจริงที่ปราสาทภูเพ็ก ในคืนวันที่ 20 ธันวาคม และวันที่ 21 ธันวาคม 2555

ความจริงเรื่องแบบนี้ก็เหมือนการตรวจสุขภาพคน ถ้าหัวใจเต้นระหว่าง 70 - 80 ครั้ง ต่อนาที ความดันโลหิตอยู่ที่ 80 -120 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.5 องศา ก็ถือว่าปกติ  

          2. กิจกรรมทางด้านความเชื่อและลึกลับศาสตร์

          คืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตรงกับ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ปีมะโรง เมื่อเลยเที่ยงคืนจะเข้าสู่วันที่ 21 ธันวาคม ตรงกับ ขึ้น 8 ค่ำ วันนี้จะเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ 4 ดวง กับดวงอาทิตย์ เรียงตัวเป็นเส้นตรงในทางโหราศาสตร์มันทะแม่งในทางไม่ดี วันนี้อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือ ฤาษีเอก อมตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญาณและลึกลับศาสตร์จะรับหน้าเสื่อการแก้อาถรรพ์ ผมว่าฤาษีของเราคงต้องจัดแบบเต็มๆละคราวนี้

 

วันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 พ.ศ. 2555 ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ และดาวอังคาร เรียงตัวเป็นเส้นตรง.......ลางร้าย ?

ถ้ายืนอยู่หน้าปราสาทภูเพ็กเช้ามืดวันที่ 21 ธันวาคม 2012 จะเห็นภาพนี้ 

ดาวพฤหัส หรือยักษ์ใหญ่ใจดีอยู่คนละมิติเวลา และต่างตำแหน่งในฟากฟ้าไม่สามารถแผ่อิทธิพลเข้ามาช่วยเราๆท่านๆได้เลย

 

         

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์      

    เพื่อให้งานนี้ดูเป็นสากลหน่อยผมจึงทำโปสเตอร์เป็นภาพสวยๆราวกับโฆษณาภาพยนต์ โลกาวินาศ 2012

        

 

 

 

 

 

 

ส่วนหนึ่งของภาพโปรโมทวันสิ้นโลกใน Internet (จริงๆแล้วภาพนี้เป็นปฏิทินแอสเท็ก)

แสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ ของวัน "วิษุวัต" 21 มีนาคม 23 กันยายน เปรียบเทียบกับวัน "เหมายัน" 21 ธันวาคม นำข้อมูลทั้งสองส่วนนี้เข้าสูตรก็สามารถวัดมุมเอียงของแกนโลกได้อย่างสบาย  

           

              น้องๆนักเรียนสายวิทย์คณิตมัธยมปลายโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมปฏิบัติการกับทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กในวันดังกล่าว แจ้งความสมัครใจได้ที่ sansonthi@gmail.com โดยจับมือกันเป็นทีมๆละ 4 - 8 คน และให้คุณครูที่ปรึกษาเซ็นรับรอง ทีมไหนทำดีเข้าตากรรมการ มีรางวัลให้ตามสมควร 

          รายงานผล "ปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012" แบบยกต่อยก

 

           23 สิงหาคม 2555 ตรวจสอบแกนโลกเบื้องต้น

               ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กเริ่มออกหมัดแรกด้วยการตรวจสอบแกนโลกโดยใช้นาฬิกาแดด เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 (ตรงกับวันสิ้นสุดของราศีสิงห์ ต่อเนื่องกับราศีหญิงสาว) ที่ปราสาทภูเพ็ก 

การตรวจสอบแกนโลกเบื้องต้นพบว่าทุกอย่างยังปกติ โดยดูจากเงาของนาฬิกาแดดที่อิงทิศเหนือแท้จากสุริยะปฏิทิน ในที่นี้เงาดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบต่อผิวโลก ณ ปราสาทภูเพ็กยังคงเหมือนเดิมคือ ขนานกับเส้นแบ่งเวลาอย่างลงตัวพอดี (เวลาที่เก็บข้อมูล 08:00 สุริยะ หรือ 08:00 Solar Time) และเงาก็อยู่ที่โซนวันยาวใต้เส้น "วิษุวัต" ในทางกลับกันหากแกนโลกเปลี่ยนไปเงาของดวงอาทิตย์จะเพี้ยนจากปกติ 

           15 กันยายน 2555 ตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ และอัตราความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลก (Speed of Earth's Rotation) และที่ขาดไม่ได้ คือ "พิธีแก้อาถรรพ์วันสิ้นโลก" โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ ฤาษีเอก อมตะ ลุงบุปผา ดวงมาลย์ และทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็ก

           ผลการทดสอบต่างๆในวันนี้พบว่าตำแหน่งดวงอาทิตย์ และอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกยังคง "ปกติทุกอย่าง" ดวงอาทิตย์ขึ้นที่มุมกวาดประมาณ 88 องศา โลกหมุนรอบตัวเองที่อัตรา 15 องศา ต่อ  1 ชั่วโมง 

บันไดขึ้นปราสาทภูเพ็กเกือบห้าร้อยขั้น ต้องฝึกออกกำลังเป็นประจำไม่งั้นหมดแรงก่อนแน่นอน

ทัศนียภาพยามเช้ามองจากปราสาทภูเพ็ก 

ดวงอาทิตย์เช้าวันที่ 15 กันยายน 2555 มาตามนัดครับ ที่มุมกวาด Azimuth 88 องศา และในวันที่ 23 กันยายน 2555 ตรงกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) ก็คงจะมาตามนัดเช่นกัน ในตำแหน่งมุมกวาด 90 องศา 

โปรแกรมดาราศาสตร์สร้างภาพจำลองตำแหน่งดวงอาทิตย์ เช้าวันที่ 15 กันยายน 2555 

ผู้ติดตามของลุงบุปผา ดวงมาลย์ ทำหน้าที่พรีเซนเตอร์ใหญ่โพสท่าถนัด 

เปรียบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ กับเส้น "วิษุวัต" (Equinoctial line) ที่ธรณีประตู ปราสาทภูเพ็ก

ต้องปีนขึ้นไปข้างบนของตัวปราสาทภูเพ็ก เพื่อตรวจสอบเงาดวงอาทิตย์กับนาฬิกาแดด

หินก้อนนี้แหละครับ ใช่เลยสถานที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับจับมุมดวงอาทิตย์ด้วยนาฬิกาแดด

ผมต้องเอาเปรียบชาวขอมโบราณนิดนึงด้วยการใช้อุปกรณ์ "จีพีเอส" เพื่อตั้งนาฬิกาแดด เพราะข้างบนนั้นไม่มีร่องรอยตำแหน่งทิศดาราศาสตร์อะไรเลย 

นาฬิกาแดดโชว์ เจ็ดโมงเช้า ตรงเพง

แปดโมงเช้ากับสองนาทีก็ตรงอีกเช่นกัน

เมื่อสอบเทียบกับสมการแห่งเวลา วันนี้ 15 กันยายน นาฬิกาแดดเร็วกว่านาฬิกาข้อมือเพียง หนึ่งนาทีเท่านั้น ถือว่ายังสูสีกัน

บอกแล้วครับ ที่ขาดไม่ได้คือพิธีล้างอาถรรพ์วันสิ้นโลก โดยฤาษีเอก อมตะ และคณะ เริ่มกันตั้งแต่ตีสาม

           19 กันยายน 2555 ตรวจสอบแกนโลกด้วยนาฬิกาแดดกับสมการแห่งเวลา 

            จากการตรวจสอบมุมดวงอาทิตย์ที่เวลาเที่ยงสุริยะ (solar noon) โดยใช้สมการแห่งเวลามาเป็นตัวเทียบ พบว่าทุกอย่างยังคงปกติเพราะสมการระหว่าง clock time และ solar time ตลอดจนมุมเงยของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อพื้นโลก ณ เส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ ก็ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  

 ในภาพนี้แสดงให้เห็นว่า 19 September 2012 (12 9 19) นาฬิกาแดด (Solar time) ชี้ที่เวลาเที่ยงสุริยะ (Solar noon) ขณะที่นาฬิกาข้อมือ (Clock time) ชี้ที่เวลา 11:57 ซึ่งถูกต้องตามข้อมูลใน "สมการแห่งเวลา" (Eqation of Time) ก็ยืนยันได้ว่าการหมุนรอบตัวเองของโลก และมุมเอียงของโลกยังปกติ 

          23 กันยายน 2555 ฟันธงยกแรก "แกนโลกยัง โอเคซิกกาแร๊ต"  

           ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กใช้เวลาดึกดื่นตื่นตั้งแต่ตีสองกว่าๆลุยขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็กท่ามกลางความมืดสนิท เพื่อปฏิบัติการวันสิ้นโลก ตามที่วางแผนไว้ เริ่มต้นโดยการทำพิธี "ล้างอาถรรพ์" จากอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือฤษีเอก อมตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ และมีลุงบุปผา ดวงมาลย์ เป็นผู้ช่วย

          กิจกรรมหลักๆของปฏิบัติการในวันนี้ได้แก่

              1.พิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าดวงอาทิตย์จะมาตามนัดหรือไม่ เนื่องจากปราสาทภูเพ็กสร้างในยุคขอมเรืองอำนาจและบรรพชนเหล่านั้นท่านใช้ปฏิทิน "มหาศักราช" จึงออกแบบให้ปราสาทภูเพ็กต้องหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ปีละสองครั้ง ครั้งแรกตรงกับ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) 21 มีนาคม เป็นฤดูใบไม้ผลิ และราศีเมษ ครั้งที่สอง "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) 23 กันยายน ฤดูใบไม้ร่วง ราศีตุล ในวันดังกล่าวดวงอาทิตตย์จะต้องขึ้นตรงกับ "รอยขีดที่ธรณีประตู" ปราสาทภูเพ็ก หากแกนโลกเปลี่ยนไปจากเดิมดวงอาทิตย์จะไม่มาตามนัดในวันดังกล่าว แต่อาจจะมาในวันอื่นๆแทนเพราะปฏิทินมหาศักราชออกแบบตามมุมเอียงของโลกที่ 23.5 องศา

          2.ตามหลักดาราศาสตร์วัน "วิษุวัต" ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลกที่ "เส้นศูนย์สูตร" ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน และมุมตกกระทบ ณ เที่ยงสุริยะ (Angle of incidence at solar noon) ต้องเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง ณ ที่ตั้งของปราสาทภูเพ็ก จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ GPS และแผนที่ Google Earth ทราบว่าเส้นรุ้งของปราสาทภูเพ็กเท่ากับ 17.2 องศาเหนือ ดังนั้นมุมตกกระทบในวันนี้ก็ต้องเท่ากับข้อมูลที่ว่า

            3.เมื่อนำข้อมูลอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก (ซึ่งเก็บข้อมูลไว้แล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555) มาประกอบกับผลของการพิสูจน์ ก็จะช่วยให้ยืนยันผลได้แม่นยำทีเดียวละ 

           อย่างไรก็ตามผมและทีมงานทุกคน อดหลับอดนอนสองวันเต็มๆเล่นเอาเพลียไปตามๆกัน แต่พวกเราก็ยินดี และสนุกกับงานนี้ครับ

 

 

 

 

 

การจับภาพดวงอาทิตย์ ใช้เชือกผูกลูกดิ่งหย่อนลงมาให้ตรงกับเส้น "ทิศตะวันออกแท้" ที่ธรณีประตู ขณะจับภาพผู้สื่อข่าวของเนชั่นแชนแนลกำลังถ่ายภาพอย่างเอาจริงเอาจัง ผมเลยต้องยอมถ่ายติดด้านหลังของช่างภาพคนนั้น   

แม้ว่าจะมีต้นไม้บังส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ แต่ก็สามารถมองเห็นได้ว่าดวงอาทิตย์ตรงกับตำแหน่งเชือกที่มีลูกดิ่งหย่อนลงมาที่รอยขีดตรงกลางธรณีประตู ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันออกแท้ตามนัยของวันวสันตวิษุวัต และศารทวิษุวัต ของปฏิทินมหาศักราช

มื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 ได้รับเชิญไปออกรายการสด สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 (รายการ ข่าว 5 หน้า 1)  

เบื้องหลักการทำงาน ทุกคน (รวมทั้งสุนัข) หมดแรงข้าวต้มตามๆกัน

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 -18 ตุลาคม 2555 ลงบทความ "ปฏิบัติการวันสิ้นโลก" ในสกู๊ปหน้า 1 

 

       วันที่ 23 ตุลาคม 2555 ตรงกับปฏิทินมหาศักราช วันที่ 1 เดือนคะติกา  (Katika) ศักราช 1934 ราศีแมงป่อง (Scorpio) 

           จากการพิสูจน์เชิงประจักษ์พบว่า วันนี้ "สุริยะปฏิทิน ปราสาทภูเพ็ก" ชี้ที่ดวงอาทิตย์ในตำแหน่งราศีแมงป่อง ที่มุมกวาด 102 องศา (Azimuth 102) ก็แสดงว่าดวงอาทิตย์มาตามนัด และแกนโลกยังคงอยู่เป็นปกติสุข อย่างไรก็ตามทีมงานจะรอลุ้นยกสุดท้ายในวันที่ 20 - 21 December 2012  

ปฏิทินมหาศักราชระบุว่าวันที่ 23 ตุลาคม ตรงกับวันที่ 1 Katika ราศีแมงป่อง (Scorpio) 

สุริยะปฏิทินแสดงมุมกวาด 102 องศา ในวันที่ 23 October 2012

เปรียบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ วันที่ 23 October 2003 กับวันที่ 23 October 2012 ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันที่ราศี Scorpio  

ตราบจนถึงวันที่ 23 October 2012 ดวงอาทิตย์ก็ยังมาตามนัดที่ตำแหน่งราศี Scorpio (Azimuth 102) 

 

 ที่สุดของที่สุด 21 ธันวาคม 2555.....ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" ฟันธง....วันสิ้นโลกตามคำทำนายของปฏิทินเผ่ามายาเป็นเพียง "ข่าวลือ" ด้วยการพิสูจน์ทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดังนี้

1.ล้อกเป้าดาวเหนือ....ยืนยันตำแหน่งขั้วโลกเหนือ

ทีมงานพยัคภูเพ็กเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่สี่ทุ่มคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2555 จนถึงตีสามของวันที่ 21 ธันวาคม เพื่อยิงพิกัดไปที่ดาวเหนือทุกๆ 2 ชั่วโมง และให้ผู้ร่วมปฏิบัติการสังเกตว่า "ดาวเหนือ" หยุดนิ่งอยู่กับที่ตลอดเวลา แต่ดาวอื่นๆเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่อง  

ใช้อุปกรณ์ที่ผลิตเองเล็งไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 0.00 องศา และมุมเงย 17 องศา จะเห็นดาวเหนือ ขณะเดียวกันก็ใช้ตำแหน่งกลุ่มดาวฤกษ์ ดาวค้างคาว (Cassiopia)  กับดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นตัวช่วยในการล้อกเป้า

 

ดาวเหนือจะไม่เคลื่อนที่ แต่ดาวอื่นๆเคลื่อนที่ตลอดเวลาจากตะวันออกไปตะวันตก ในที่นี่เราใช้ "ดาวค้างคาว" กับ "ดาวหมีใหญ่" เป็นตัวช่วยชี้ตำแหน่งดาวเหนือ

 

2.ดวงอาทิตย์มาตามนัด ที่เวลา 06:30 น. วันที่ 21 ธันวาคม 2555 สุริยะปฏิทินขอมพันปี ชี้ดวงอาทิตย์ในตำแหน่งมุมกวาด 115 องศา ที่ราศีแพะทะเล

 จากการเก็บข้อมูลและภาพดวงอาทิตย์ขึ้นที่สุริยะปฏิทินขอมพันปีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยืนยันได้ว่าดวงอาทิตย์มาตามนัด ก็แสดงว่ามุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อผิวโลกในแต่ละฤดูกาลยังปกติ นั้่นก็หมายความว่าแกนโลกยังคงเหมือนเดิม

3.โลกหมุนรอบตัวเองในอัตราเชิงมุม 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง 

เราสามารถใช้นาฬิกาแดด กับนาฬิกาข้อมือเป็นอุปกรณ์การคำนวณ โดยมีสมการแห่งเวลาเป็นเครื่องช่วยในการเทียบเวลาระหว่างนาฬิกาแดดกับนาฬิกาข้อมือ ในที่นี้เริ่มบันทึกข้อมูลตั้งแต่ 08:00 - 12:00 พบว่านาฬิกาแดดทำงานเป็นปกติที่อัตรา15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง (โลกเป็นวัตถุทรงกลม 360 องศา หารด้วย 24 ชั่วโมง = 15 องศา ต่อ ชั่วโมง) ในการนี้ได้ใช้ข้อมูลของนาฬิกาแดดวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ซึ่งชี้เวลาเท่ากับนาฬิกาข้อมือแบบชั่วโมงต่อชั่วโมง 

 

 

 

4.แกนโลกยังคงเอียงอยู่ที่ 23.5 องศา  

ใช้ความยาวของเงานาฬิกาแดด ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (Solar noon) วันที่ 21 December 2012 คำนวณหามุมเอียงของดวงอาทิตย์ (Angle of incidence) เพื่อไปลบกับมุมเอียงของดวงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 23 September 2012 ผลจะต้องเท่ากับประมาณ 23.5 องศา (จริงๆแล้วมุมเอียงปกติของโลกเท่ากับ 23.439281 องศา) 

 

 

มุมเอียงปกติของโลก 

= Angle of incidence on Winter solstice - Angle of incidence on Autumnal or Vernal equinox 

= 40.57 - 17.1 

= 23.47 องศา

"ผลการเก็บข้อมูลจากการปฏิบัติ 4 วิธี ยืนยันได้ว่าแกนโลกยังคงปกติ" 

การพิสูจน์ข้างต้นยืนยันว่าแกนโลกยังอยู่ในสภาพปกติ เราๆท่านๆก็คงต้องใช้ชีวิตต่อไปตามอัตภาพของแต่ละคน ผู้ใดเป็นหนี้เป็นสินเพราะผ่อนรถคันแรก บ้านหลังแรก ก็ต้องรับภาระผ่อนต้นผ่อนดอกตามระเบียบ พี่น้องข้าราชการที่แปะโป้โครงการกรุงไทยธนวัตก็จำเป็นต้องก้มหน้าก้มตาตัดดอกโดยดุษฏี ส่วนพี่น้องเกษตรกรที่ไปรูดปรื้อๆบัตรเครดิตของ ธกส. ก็ต้องยอมรับสภาพดอกเบี้ย ขณะเดียวกันกลุ่มสตรีที่กู้เงินกองทุนพัฒนาสตรีที่นายกยิ่งลักษณ์โอนไปให้เมื่อเร็วๆนี้ก็ต้องรีบไปเคลียส์ดอกเบี้ยซะดีๆ .......ทุกชีวิตยังคงเดินต่อไป ข่าวลือคือข่าวลือ ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กได้ทำหน้าที่ในข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แก่สาธารณะอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักในคำสอนพุทธองค์ที่ว่าด้วย......ชาวพุทธต้องใช้สติ คิดด้วยเหตุผลแห่งความเป็นจริง.....สาธุ

อุปกรณ์สำหรับหาตำแหน่งดาวเหนือ ที่พิกัดมุมกวาด Az 0.00 องศา และมุมเงย 17 องศา ผลิตเองโดยใช้สิ่งที่หาได้ที่บ้าน 

ดวงอาทิตย์มาตามนัดที่มุมกวาด 115 องศา 

 

 

ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กโพสภาพนี้ลงในเฟสบุกของสมาคมดาราศาสตร์เมืองทัลซ่า รัฐโอคลาโฮม่า สหรัฐอเมริกา เพื่อประกาศผลว่า "โลกยังคงอยู่" 

 

 

 

สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการนัดพบอย่างลงตัวระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ 

ตบท้าย......สถานที่ค้นพบปฏิทินชาวมายา กับสถานที่ตั้งของปราสาทภูเพ็ก อยู่ในเส้นรุ้งเดียวกัน แต่คนละซีกโลก

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ