ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




เข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8

        ทำไมเข้าพรรษบางปีต้องเดือน 8-8

          ชาวพุทธทั่วไปคงจะคุ้นเคยกับการเข้าพรรษาที่บางปีถูกกำหนดให้เป็นเดือน 8-8 เรียกว่า "อธิกมาส" ตามปฏิทิน "จันทรคติ" โดยปีนั้นจะมี 13 เดือน แตกต่างจากปี "ปกติมาส" ที่มี 12 เดือน ....... ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

 

 

             พุทธบัญญัติ

             เป็นที่ทราบดีในหมู่ชาวพุทธว่าการเข้าพรรษาเป็น "พุทธบัญญัติ" เพื่อให้เหล่าสงฆ์ได้หยุดการสัญจรและอยู่จำวัดศึกษาทบทวนพระธรรมวินัย หากมีความจำเป็นจริงๆที่จะต้องสัญจรก็ต้องว่ากันเป็นกรณีไป กำหนดการเข้าพรรษาเริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถัดจากวันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ตามปฏิทิน "จันทรคติ" ที่ใช้อยู่ในชมพูทวีปและอาณาจักรโบราณที่เจริญมาก่อน เช่น บาบิโลน และกรีก

          ปฏิทินจันทรคติของชาวพุทธนี้เริ่มต้นนับหนึ่งราวๆต้นฤดูหนาว (แถวๆเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม) นัยว่าเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต คนไทยเรียกเดือนหนึ่งว่า "เดือนอ้าย" และเรียกเดือนที่สองว่า "เดือนยี่" จากนั้นก็นับต่อเป็นเดือน 3, 4, 5, 6, .............จนถึงเดือนสุดท้ายคือ อันดับที่ 12

 

จุดเริ่มต้นของวันอาสาฬหบูชาเกิดขึ้นที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อพุทธองค์เดินทางกลับไปพบกับปัญจวัคคีย์และหนึ่งในนั้นได้ขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนา ทำให้ครบองค์ประกอบสำคัญทั้งสามประการคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้อยู่ในรัฐอุตตาละประเทศ ของอินเดีย

 

จุ

ผมเดินทางไปที่เมือง "สารนาท" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 และพบว่ารัฐบาลท้องถิ่นยังคงอนุรักษ์ฝูงกวางไว้ในที่ที่เคยเป็นป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นอนุสรณ์แห่งเขตอภัยทานเหมือนกับครั้งพุทธกาล

 

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของเมืองสารนาท ใกล้กับแม่น้ำคงคาและเมืองพารานาสี

 

ป้ายอธิบายว่าพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอาณาจักรมูรายะ ได้มาสร้างเสาหินแท่งนี้ไว้เมื่อ 272 - 232 ปี ก่อนคริสตกาล 

 

แท่งเสาหินที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ โดยยอดสุดเป็นรูปสิงห์สี่หน้าและพระธรรมจักร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งเมืองสารนาท (อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ในคอลั่ม อินเดียน่า โจนส์) 

     

          เหตุผลทางดาราศาสตร์ ทำให้ต้องมี เข้าพรรษาเดือน 8-8

          พิจารณาสภาพภูมิอากาศของดินแดน "พุทธภูมิ" ซึ่งอยู่ประเทศอินเดียตอนเหนือปัจจุบันเป็นเขตปกครองของรัฐพิหาร และรัฐอุตตาละประเทศ เส้นรุ้ง 26 - 27 องศาเหนือ เดือน 8 อยู่ระหว่างกรกฏาคมถึงต้นสิงหาคม เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝนตรงกับพุทธบัญญัติ ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในดินแดนแหลมทองที่นับถือศาสนาพุทธ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนม่าร์ และเวียดนาม ก็มีภูมิอากาศไม่ต่างจากพุทธภูมิมากนักจึงสามารถปฏิบัติตามพุทธบัญญัติในการเข้าพรรษาได้อย่างลงตัว

         มองลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่าพุทธบัญญัตินี้ล๊อกสะเป็กไว้สองประการได้แก่ "ต้นฤดูฝน" กับ "แรม 1 ค่ำ เดือน 8" เมื่อปฏิบัติไปได้สัก 6 - 7 ปี ก็เริ่มเกิดปัญหาไม่ตรงกับพุทธบัญญัติคือผิดฤดูกาลเพราะปฏิทินจันทรคติมีเพียง 354 วัน ส่วนปฏิทินสุริยะคติมี 365 วัน ต่างกันปีละ 11 วัน และฤดูกาลบนพื้นโลกก็เกิดจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ (สุริยคติ) ไม่ใช่ดวงจันทร์ เป็นเหตุให้วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ขยับร่นเร็วขึ้นปีละ 11 วัน กลายเป็นว่าต้องเข้าพรรษาในเดือนเมษายนเป็นฤดูแล้ง และไปออกพรรษาราวต้นเดือนกรกฏาคมซึ่งเป็นฤดูฝน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีวิธีปรับชดเชยโดยเพิ่มเดือน 8-8 ตามสูตรของนักดาราศาสตร์ชาวกรีกชื่อเมตั้นแห่งกรุงเอเธน (Meton of Athen) เพื่อขยับให้ปฏิทินจันทรคติสอดคล้องกับฤดูกาลของท้องถิ่น

           วิธีการปรับชดเชยแบบนี้ไม่ใช่มีแต่ปฏิทินจันทรคติของประเทศไทย ปฏิทินจันทรคติของชาวจีนก็ใช้สูตรเดียวกันเพื่อปรับให้ "วันตรุษจีน" ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ตรงกับปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิ ทำนองเดียวกันปฏิทินของชาวยิวก็มีการปรับชดเชยเพื่อให้เทศกาลสำคัญตรงกับฤดูกาล ชาวอิสราเอลตั้งชื่อปีที่มี 13 เดือนว่า the pregnant year   

 

ตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ปีจันทรคติมี 354 วัน ส่วนปีสุริยคติมี 365 วัน

     

          อาณาจักรโบราณ เช่น บาบิโลน และกรีก มีสูตรชดเชยระหว่างปฏิทินจันทรคติกับปฏิทินสุริยะคติอยู่แล้ว เนื่องจากอาณาจักรเหล่านั้นก็มีประเพณีที่ต้องปฏิบัติตามฤดูกาลเช่นกัน และก็เป็นที่ทราบดีว่าสมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายระหว่างอาณาจักรทำให้ความรู้และเทคโนโลยีสามารถถ่ายทอดสู่กันได้ไม่ยาก นักดาราศาสตร์ชาวกรีกชื่อ   "เมตั้น แห่งกรุงเอเธน" ได้ประกาศใช้สูตรนี้อย่างเป็นทางการเมื่อ ปี 432 BC (432 ปี ก่อนคริสตกาล) แต่ชาวบาบิโลนใช้สูตรนี้มานานก่อนหน้าท่านเมตั้น

          การชดเชยเพื่อให้ปฏิทินจันทรคติยังคงสอดคล้องกับฤดูกาล (intercalary) มีวิธีดังนี้ ให้เพิ่มเดือนพิเศษเข้าไป 1 เดือน ในช่วงใดช่วงหนึ่งที่เหมาะแก่ประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า intercalary month ทำให้ปีนั้นมีทั้งหมด 13 เดือน ภาษาไทยและภาษาอินเดียเรียกปีนี้ว่า "อธิกมาส" กำหนดให้มีปีอธิกมาส 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี โดยจัดคิวในปีที่ 3, 6, 8, 11, 14, 17 และ 19 ตามลำดับ

 

  

ตัวอย่าง สูตรการปรับชดเชยปฏิทิน "จันทรคติ" ให้สอดคล้องกับฤดูกาลตามปฏิทิน "สุริยะคติ" เริ่มตั้งแต่ปี 2548 จนถึง 2566 มีการเพิ่มปี "อธิกมาส" 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี และเรียงคิวตามสูตรของเมตั้น จัดลำดับปีที่ 3, 6, 8, 11, 14, 17 และ 19 อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าปีนี้ 2555 เป็นทั้งปี "อธิกมาส " และปี "อธิกสุรทิน" คือเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน

 

 

การปรับชดเชย เดือน 8-8 ของปฏิทินจันทรคติให้สอดคล้องกับฤดูกาลมีผลต่อ "มาฆบูชา อาสาฬหบูชา วิสาขบูชา และออกพรรษา"

 

นักดาราศาสตร์ชาวกรีก เมตั้นแห่งกรุงเอเธน (Meton of Athen) ประกาศใช้สูตรชดเชยปฏิทินจันทรคติให้สอดคล้องกับฤดูกาล เมื่อ 432 ปี ก่อนคริสตกาล (432 BC) ปัจจุบันองค์การอวกาศสากลได้ตั้งชื่อหลุมอุกาบาตบนดวงจันทร์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเมตั้น

 

         เหตุผลทางคณิตศาสตร์

            สูตรของเมตั้น (Meton of Aten) ที่กำหนดสูตรชดเชย 19 ปี ให้มีเดือนจันทรคติเพิ่ม 7 ครั้ง มาจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ที่ทำให้ผลลัพท์ของการสะสมจำนวนวันเท่ากันระหว่าง ปีสุริยคติ (solar year) กับปีจันทรคติ (lunar year) ภายในรอบ 19 ปี   

 

           19 year x 365 days (solar year) = 6,935 days

 

           19 year x 354 days (lunar year) = 6,726 days + (30 lunar days x 7 = 210 days)

                                                                                                                          = 6,936 days

 

          สูตรนี้เห็นได้ชัดเจนว่าในรอบ 19 ปีจันทรคติ มีจำนวนวันน้อยกว่าปีสุริยคติ 210 วัน ( 7 months x 30 days) ดังนั้นจึงต้องเพิ่มชดเชยเข้าไป 210 วัน หรือ 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี  

 

 ไหนๆก็คุยกันเรื่องนี้แล้วขอแถมภาพสวยๆเกี่ยวกับเมืองสารนาท และเมืองพารานาสีให้ท่านดูสักชุดนึง

 

ภาพมุมกว้างของสถูปใหญ่ และฐานรากของสถูปเล็กๆที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 

 

พุทธบริษัทชาวธิเบตมาจารึกบุญที่นี่เป็นจำนวนมาก

 

พระพุทธชาวธิเบตนิกาย "วัชระยาน" 

 

 

การเดินรอบสถูปสามรอบ

 

บรรยากาศของท่าแม่น้ำคงคา ที่เมืองพารานาสี

 

พระสงฆ์ไทยเจอกับโยคีขนานแท้

 

เรือที่จัดไว้รับนักท่องเที่ยวชมแม่น้ำคงคา

 

  

ตื่นแต่เช้ามืดเพื่อไปลงเรือที่แม่น้ำคงคาหน้าเมืองพารานาสี

 

แขกพายเรือมาขายปลาให้ปล่อยเอาบุญ เดิมไม่เคยมีประเพณีแบบนี้แต่คนไทยทัวร์ไทยไปสอนไว้

 

การได้อาบน้ำในแม่คงคาถือเป็นบุญอย่างยิ่ง

 

คนไทยไปไหนมีคนเดินตามขอเงินตลอด เพราะพี่ไทยใจดีครับ กับนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆเขาไม่เห็นตามไปขอ

 

ครับ......คราวนี้มากับพระ

 

        พระสงฆ์ไทยในประเทศออสเตเรีย จะสามารถ "เข้าพรรษา" ได้ตรงกับพุทธบัญญัติหรือไม่

          เป็นเรื่องที่น่าคิดครับเพราะทวีปออสเตเรียตั้งอยู่ในซีกโลกด้านใต้ทำให้ฤดูกาลที่นั่นตรงกันข้ามกับประเทศอินเดียและประเทศไทยในซีกโลกด้านเหนือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เข้าพรรษาที่ประเทศออสเตเรียตรงกับฤดูแล้งและขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ออกพรรษาตรงกับฤดูฝน ......... ไม่ตรงกับพุทธบัญญัติ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากศาสนาพุทธถือกำเนิดที่ประเทศอินเดียตั้งอยู่ในซีกโลกด้านเหนือ กำหนดวันเข้าพรรษาตามพุทธบัญญัติจึงสอดคล้องกับต้นฤดูฝนที่อินเดีย แต่เมื่อชาวพุทธอพยพไปอยู่ที่ออสเตเรียเป็นซีกโลกด้านใต้แต่ยังยึดถือพุทธบัญญัติของแผ่นดินแม่ 

          เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับศาสนาฮินดูและศาสนาคริสต์ เพราะชาวฮินดูฉลองเทศกาล Holi ในเดือนมีนาคมเป็นฤดูใบไม้ผลิ (spring) แต่ที่ประเทศออสเตเรียเป็นฤดูใบไม้ร่วง (autumn) เช่นเดียวกันชาวคริสต์ฉลองคริตมาสในเดือนธันวาคมเป็นฤดูหนาว (winter) แต่ที่ประเทศออสเตเรียเป็นฤดูร้อน (summer) จึงสรุปได้ว่ามนุษยชาติกำหนดวันสำคัญของแต่ละศาสนาตามฤดูกาลของแผ่นดินแม่ แต่เมื่อย้ายไปอาศัยอยู่อีกซีกโลกก็จำเป็นต้อง "ทำใจ" ยอมรับสภาพ

   

 

ซีกโลกด้านเหนือและซีกโลกด้านใต้จะมีฤดูกาลตรงกันข้ามระหว่างกัน

 

 

ประเทศออสเตเรียมีวัดไทยอยู่หลายแห่ง เช่น วัดไทยพุทธาราม ที่เมืองบริสเบน วัดพุทธรังษี ซิดนี่ย์ วัดไทยนคร เมลเบิร์น 

 

Chart แสดงปริมาณน้ำฝนที่เมืองบริสเบน ประเทศออสเตเรีย

 

การแต่งกายเพื่อฉลองคริสต์มาสที่ซีกโลกด้านเหนือและซีกโลกด้านใต้

 

         

       ความเชื่อ ...... ปีไหนเป็น "อธิกมาส" 8 - 8 จะเกิดภัยแล้ง หรือหน้าฝนมาช้า ..... จริงหรือไม่

          คำตอบในทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ยังไม่พบว่า "อธิกมาส" หรือ 8 - 8 จะเกี่ยวข้องกับภัยแล้งหรือหน้าฝนมาช้าแต่ประการใด เพราะเรื่องปีอธิกมาสเป็นการปรับปฏิทินจันทรคติให้วันเข้าพรรษากลับมาอยู่ในต้นฤดูฝนเพื่อให้ถูกต้องกับพุทธบัญญัติ เป็นเรื่องกิจของพระสงฆ์ไม่เกี่ยวกับการเกิดฤดูกาล ตามหลักวิทยาศาสตร์ฤดูกาลบนโลกใบนี้เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะมุมเอียง 23.5 องศา ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อผิวโลกเปลี่ยนไปทุกๆวันมีผลต่อการสะสมพลังงานความร้อนและก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ดังนั้น สามารถพูดได้ว่า ปี 8 - 8 ปรับตามปฏิทินสุริยะคติเพื่อเหตุผลทางพุทธบัญญัติเท่านั้น

           ส่วนการเกิดภัยแล้งหรือหน้าฝนมาช้าเกิดจากเหตุผลทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติ เช่น El Nino และ Climate change 

 

ต้นเหตุของการเปลี่ยนฤดูกาลมาจากปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยมุมเอียง 23.5 องศา ทำให้พลังงานความร้อนสะสมของแสงอาทิตย์ ณ ผิวโลกในสถานที่ต่างๆไม่เท่ากัน และก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน 

 

 

ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า El Nino ก่อให้เกิดภัยแล้งเพราะกระแสน้ำเย็นไหลเข้ามาในภูมิภาคทำให้น้ำทะเลระเหยได้น้อยยังผลให้มีความชื้นในอากาศน้อยและฝนไม่ค่อยตก ในทางตรงกันข้ามกระแสน้ำอุ่นไหลไปอีกฝั่งของภูมิภาคทำให้บริเวณนั้นมีไอน้ำมากฝนจะตกหนัก เรียกชื่อว่า La Nina 

 

ภูเขาหัวโล้นจากการทำลายป่าเพื่อปลูกพืชไร่ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลายหมดสภาพการอุ้มน้ำที่จะป้อนลงสู่แม่น้ำข้างล่างตามระบบธรรมชาติ  เป็นฝีมือของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ 8-8 

 

          สรุป

          การที่วันเข้าพรรษาบางปีตรงกับ "แรม 1 ค่ำ เดือน 8 - 8" เนื่องจากการผสมผสานระหว่าง พุทธบัญญัติ + ปฏิทินจันทรคติ + ปฏิทินสุริยะคติ + ฤดูกาลที่ตงกับต้นฤดูฝน ...... หลักการทางคณิตศาสตร์ถ้าจำเป็นต้องตอบสนองตัวแปรมากกว่าหนึ่งประการ ก็หนีไม่พ้น "การปรับชดเชย" ให้เกิดการลงตัวอย่างเหมาะสม ในที่นี้พุทธบัญญัติกำหนดให้ "เข้าพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และเป็นช่วงต้นฤดูฝน" 

 

 

 

       

         







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ