ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




เผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก

         เผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก

           จากการพิจารณาอย่างละเอียดในเชิงวิศวกรรม คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์พบว่าผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างปราสาทหลังนี้ต้องมีความรู้อย่างมาก ไม่งั้นรูปแปลนคงไม่สามารถออกมาอย่างที่เห็น 

 

ภาพวาดการก่อสร้างทางขึ้นปราสาทภูเพ็ก (ภาพจากร้านอาหารในเมือง Siem Reap)  

 

ภาพถ่ายทางอากาศของปราสาทภูเพ็ก จากมุมมองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย

 

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดภูเขา ณ +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล

 

GPS แสดงความสูงจากระดับน้ำทะเล +520 เมตร

 

           ปราสาทภูเพ็ก เป็นศาสนสถานสร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อภูเพ็ก สูงจากระดับน้ำทะเลกลาง 520 เมตรอยู่ในพื้นที่ของบ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เชื่อว่าตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราว พ.ศ. 1724 - 1763 แม้ว่าปราสาทหลังนี้จะสร้างได้เพียงครึ่งเดียวแต่ก็แสดงถึงภูมิปัญญาที่ล้ำค่าในเชิงวิศวกรรม คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ น่าที่จะเป็นตัวอย่างในเชิงเทคนิคแก่สิ่งก่อสร้างในยุคปัจจุบัน ผมนำท่านผู้อ่านไปพิจารณาเป็นข้อๆ ดังนี้

 

       การเลือกสถานที่ ...... สเป็ก "เขาพระสุเมรุ" มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นตัวประกอบ

          ภูเขาที่ชื่อในปัจจุบันว่า "ภูเพ็ก" ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง เนื่องจากมีความสูงกว่าภูเขาลูกอื่นๆในบริเวณเดียวกัน และยังมีรูปทรงคล้ายเขาพระสุเมร วิธีการเลือกจะต้องหามุมมองที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน  โดยขึ้นไปบนยอดภูเขาที่อยู่ห่างออกไปแล้วมองกลับเข้ามา (ในภาพนี้ผมถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์ขณะที่บินสำรวจสภาพอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดเล็ก เดือนมีนาคม ปี 2545) ขณะเดียวกันก็มีมุมมองได้จากหลายสถานที่ เช่น จากหนองหาร และจากบริเวณใกล้เคียงอย่างบ้านดอนกกยาง ต.เหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร อยู่ทางทิศใต้ของหนองหาร ภูเขาลูกนี้ไม่ว่าจะมองจากทิศทางไหนก็มีรูปร่างเหมือน "เขาพระสุเมร" ดังนั้น จึงถูกสเป็กและเข้าตากรรมการอย่างท่านพราหมณ์ผู้ออกแบบปราสาทภูเพ็กเป็นอย่างยิ่ง.....แน่นอนครับทุกอย่างลงตัวที่ภูเขาลูกนี้  

          อนึ่ง การเลือกสถานที่มีที่มาจากเมืองหลวงอังกอร์ ประเทศกัมพูชา คือปราสาท Phnom Krom ริมทะเลสาป มีภูเขารูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุเมื่อมองจากทะเลสาป อีกแห่งหนึ่งได้แก่ปราสาทวัดภู แขวงจัมปาสัก สปป.ลาว ก็เลือกภูเขาที่มีรูปร่างดุจเขาพระสุเมรุ เช่นกัน  

 

มองจากทะเลสาปจะเห็นภูเขารูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุที่มีปราสาท Phnom Krom ตั้งอยู่บนยอด

 

  

ซูมมุมกล้องจะเห็นปราสาท Phnom Krom ตั้งอยู่บนยอดเขา

 

เปรียบเทียบภาพภูเขาระหว่างภูเพ็ก สกลนคร Phnom Krom Siem Reap Cambodia และ วัดภู จำปาสัก สปป.ลาว ทั้งสามแห่งมีรูปร่างคล้ายกัน 

 

ภูเขา "ภูเพ็ก" มองจากทิศใต้โดยยิงมุมกล้องจากเฮลิคอปเตอร์ 

 

เปรียบเทียบภูเขาภูเพ็กกับเขาพระสุเมรุ 

 

พิจารณาจากภูมิประเทศในภาพรวมแล้วก็เชื่อได้ว่าพวกเขาน่าจะหาที่ยืนบนภูเขาบริเวณทิศใต้ของภูเพ็ก และมองเห็นภาพแบบนี้  

 

หรือไม่ก็มองทางด้านทิศตะวันออกจากทะเลสาบหนองหาร 

 

หรือพวกเขาเลือกมุมมองจากหนองหารซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของภูเพ็ก

 

เปรียบเทียบมุมมองภูเขาภูเพ็กจากทิศใต้โดยยืนอยู่บนภูเขาที่ภูพาน และจากทิศตะวันออกจากหนองหาร

 

ดวงอาทิตย์หย่อนตัวลงที่ยอดเขาภูเพ็กในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox) เป็นภาพที่มองแล้วขลังในสายตาของชาวขอม

 

มุมมองจากบ้านดอนกกยาง ต.เหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร อยู่ริมหนองหาร ทางด้านทิศใต้

 

 

 

       การหาแหล่งวัสดุก่อสร้าง

          เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้สนใจเรื่องราวของอาณาจักรขอมว่า วัสดุที่ใช้สร้างปราสาทน้อยใหญ่มาจากวัตถุสามชนิด ได้แก่ อิฐเผา หินทราย และศิลาแลง (แม่รัง) ในกรณีของปราสาทภูเพ็กใช้วัสดุเพียงชนิดเดียวคือ "หินทราย" เนื่องจากบนภูเขาลูกดังกล่าวเต็มไปด้วยหินทรายเนื้อละเอียดปริมาณมากมายในบริเวณด้านทิศตะวันตกของยอดเขา แต่ตามสะเป็กตัวปราสาทต้องอยู่ใกล้หน้าผาด้านทิศตะวันออกเพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้สะดวก พวกเขาก็ต้องยอมลำเลียงหินจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกด้วยระยะทางประมาณ 300 เมตร อย่างไรก็ตามการก่อสร้างปราสาทถูกทิ้งงานอย่างกระทันหัน (อ่านเรื่องราวใน....ภูเพ็กเมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ) ทำให้การตัดหินถูกระงับไปด้วย หินจำนวนมากตัดไปได้เพียงบางส่วน หินบางก้อนถูกตัดเรียบร้อยแล้วทิ้งไว้กลางป่า บางก้อนตัดเข้ารูปไว้ล่วงหน้าก็ถูกทิ้งเช่นกัน

 

แหล่งตัดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของภูเขา ส่วนตัวปราสาทอยู่ทางทิศตะวันออก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ร่องรอยการสลักหินด้วยสิ่ว (ภาพจากปราสาทนารายณ์เจงเวง) 

 

       การวางผังรูปแปลนของปราสาท ให้หันหน้าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ของ "ปฏิทินมหาศักราช"

          ตามที่ได้เขียนเรื่องราวไว้ในบทก่อนๆว่าปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบให้ให้เป็นศาสนาสถานและสุริยะปฏิทิน จึงต้องหันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้เพื่อให้แสงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ส่องตรงเข้ายังประตูปราสาท คำถามจึงอยู่ที่ "พวกเขาหาทิศตะวันออกแท้ได้อย่างไร จากการวิจัยด้วยหลักวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผมเห็นวิธีการสองอย่าง กล่าวคือ 

           วิธีที่หนึ่ง ใช้การเล็งตำแหน่งดาวเหนือให้ได้ทิศ "เหนือแท้" และทำมุมกวาดไปทางขวามือ 90 องศาจะได้ทิศตะวันออกแท้ แต่วิธีนี้จะยากต่อการหาทิศตะวันออกแท้เพราะตำแหน่งของดาวเหนือในยุคนั้นเฉียงไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย

 

 

ภาพ graphic จากโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night แสดงตำแหน่งดาวเหนือเอียงไปทางทิศตะวันออก เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะแกนโลกแกว่ง ภาษาวิชาการทางดาราศาสตร์เรียกว่า precession of equinox 

 

ตำแหน่งดาวเหนือในปัจจุบันค่อนข้างตรงกับทิศเหนือแท้ 

 

          วิธีที่สอง ใช้วิธีพร้อตเงาดวงอาทิตย์ (Shadow plot) แบบอียิปส์โบราณ ได้ทดลองไปทำวิธีดังกล่าวที่ปราสาทภูเพ็กโดยใช้เวลาเกือบทั้งวันตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ๆ ก็ได้ผลครับ ผมสามารถหาทิศตะวันออกแท้ ทิศเหนือแท้ได้โดยไม่ยากเพราะดวงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์การหาทิศที่ชัวร์ที่สุด (ดังในรูป) การทำ shadow plot ใช้อุปกรณ์ง่ายๆคือกระดาษหนึ่งแผ่น กับตะปู หรือวัสดุที่สามารถวางให้ตั้งฉากกับแผ่นกระดาษ ใช้วงเวียนสร้างวงกลมสักสามวงหรือมากกว่านั้นโดยให้ศูนย์กลางอยู่ที่ center ของฐานตะปู เริ่มพล้อตเงาของยอดตะปูตั้งแต่เก้าโมงเช้าและพล้อตทุกๆห้านาทีเพื่อให้ได้เส้น curve พล้อตไปเรื่อยๆจนถึงบ่ายสามโมงจะได้เส้นของเงาดวงอาทิตย์ ให้ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดที่ curve ของช่วงเช้าและช่วงบ่ายแตะกับวงกลม เราจะได้เส้นแสดงทิศตะวันออกแท้กับทิศตะวันตกแท้

  

วางแผ่นกระดาษบนพื้นราบเรียบ

 

Step 1 เริ่ม plot เงาดวงอาทิตย์ตั้งแต่เก้าโมงเช้า และ plot ไปเรื่อยๆทุกๆห้านาทีเพื่อให้ได้เส้น curve 

 

พอถึงบ่ายสามโมงจะได้เส้น curve ให้ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดตัดของ curve กับวงกลม จะได้เส้นตรงหลายเส้นที่ขนานกัน (ดังภาพ) เส้นตรงเหล่านี้คือทิศตะวันออกแท้ (Due East) ตะวันตกแท้ (Due West)  

 

ส่วนทิศเหนือก็หาได้โดยทำเส้นตรงตั้งฉากกับเส้นตะวันออก - ตะวันตก การหาทิศตะวันออกแท้ด้วยวิธีนี้มีความแม่ยำสูงและง่าย ชาวอียิปส์ก็ใช้วิธีนี้ในการวางแปลนสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ปีรามิดและสฟิงส์

 

ภาพขยายให้เห็นขั้นตอนการทำ shadow plot เพื่อหาทิศทั้งสี่ Step 1 เริ่ม plot ตั้งแต่เช้าเงาดวงอาทิตย์อยู่ทางทิศตะวันตก 

 

Step 2 เงาดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันออก

 

Step 3 บ่ายแก่ๆเงาดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันออกจนเกือบสุดทาง ให้ลากเส้นระหว่างจุดตัดระหว่างเงาดวงอทิตย์กับวงกลมแต่ละวง นี่คือแนวทิศ Geographic East -  Geographic West สังเกตว่าทุกเส้นจะต้องขนานกันเพื่อยืนยันว่าเราทำได้ถูกต้องแล้ว

 

Step 4 จับฉากจากแนว E - W จะได้แนวเส้น N - S เป็นรูปกากบาท

 

แสดงขั้นตอน shadow plot เพื่อวาง floorplan ของปราสาทภูเพ็ก

 

 

พิสูจน์การกำหนดแนว East - West โดยใช้เงาดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 March 2012 

 

การทำ shadow plot ในวัน vernal equinox 21 Mar 2012 ที่ปราสาทภูเพ็ก เพื่อตรวจสอบทิศตะวันออกแท้

 

เงาของดวงอาทิตย์ในวัน equinox เป็นเส้นตรงในแนว East - West ขนานกับแปลนของปราสาทภูเพ็ก

 

การเคลื่อนของเงาดวงอาทิตย์ขนานกับตัวปราสาทภูเพ็ก ในแนว East - West  

 

การวางแนวทิศทั้งสี่จาก shadow plot 

 

การทำ shadow plot ทั้งสองครั้งที่ปราสาทภูเพ็กได้ผลตรงกัน

 

เชื่อว่าการวางแนวตัวปราสาทให้ตรงกับ alignment East - West น่าจะมาจากการทำ shadow plot 

 

Step 7 แนวกำแพงของปราสาทภูเพ็กซึ่งได้จากผลของการทำ Shadow Plot

 

แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเรียงตัวในพิกัด North - South 

 

แนวกำแพงด้าทิศตะวันตกที่เพิ่งก่อได้นิดเดียวแต่ผู้รับเหมาทิ้งงานไปเสียก่อน 

 

ผมได้ใช้วิธีเดียวกันนี้กับการออกแบบก่อสร้างอาคารที่วัดคำประมงซึ่งเป็นอโรคยาศาลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง อำเภอพรรณานิคม สกลนคร

 

ดึงเชือกตามแนว East - West ให้ได้เส้นตรง

 

มื่อถึงวัน "วิษุวัต" (equinox) ลองทดสอบเล็งตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเพื่อยืนยันความถูกต้องของแนว East - West 

 

เชื่อว่าการก่อสร้างแนวกำแพงและคูน้ำของปราสาทขอมอื่นๆก็ใช้วิธีเดียวกันนี้

 

 

 

วิธีนี้ช่วยให้การวางแปลนตัวปราสาทตรงกับทิศทั้งสี่อย่างแม่นยำ โดยประตูปราสาทด้านทิศตะวันออกจะตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ และตกที่ทิศตะวันตกแท้ (Vernal equinox 21 มีนาคม และ Autumnal equinox 23 กันยายน)  

 

 

ภาพบนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ตรงกับกึ่งกลางประตูปราสาท และภาพล่างดวงอาทิตย์ตกที่ทิศตะวันตกแท้กึ่งกลางผนังของห้องวิมาน ทั้งสองภาพถ่ายในวัน "วสันตวิษุวัต" ปี 2554

 

 

รอยขีดที่ธรณีประตู ตรงกับรอยขีดที่ผนังด้านทิศตะวันตก เป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในวัน "วิษุวัต" 

 

 

ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จตามโครงการ ดวงอาทิตย์ยามเช้าของปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต"  (21 มีนาคม) จะตรงกับกึ่งกลางประตูพอดี

 

 

GPS แสดงทิศตะวันออกแท้ (due east) หรือ วิษุวัต (equinox) มุมกวาด Azimuth 90 องศา ที่ธรณีประตูทิศตะวันออก

 

GPS ยืนยันว่ารอยขีดที่พื้นและผนังประตูทิศเหนือ รวมทั้งท่อโสมสูตร ชี้ไปที่ "ทิศเหนือแท้" (True North) หรือ Azimuth 0.00 องศา

 

รอยขีดที่พื้นหินหน้าประตูหลอกด้านทิศใต้ แสดง GPS 180 องศา 

 

เงาดวงอาทิตย์อัสดง (sunset) วนปรากฏการณ์ vernal equinox ชี้ตรงกับรอยขีดที่ผนังประตูทิศตะวันตก

 

ใช้เงาของไม้เป็นตัวชี้ว่า sunset ตรงกับรอยขีดแสดงทิศตะวันตกแท้ (due west) ที่ผนังประตู 

 

ดูจากฐานแปลนของตัวปราสาทจะเห็นว่ามีช่องหน้าต่างให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามาในราศีต่างๆตามปฎิทินมหาศักราช

 

ปฏิทินมหาศักราชต้นแบบของการก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก ให้ตรงกับดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาของราศีที่เป็นเดือนต่างๆ

 

      การขยายผลเทคโนโลยีขอมพันปีไปยังการวางแปลนก่อสร้างอโรคยาศาล วัดคำประมง สกลนคร

          วิธีเดียวกันนี้ได้ทำ shadow plot เพื่อกำหนดแนวทิศตะวันออกแท้ให้แก่แปลนก่อสร้างสถาบันญาณสิทธิธรรมโอสถบำบัด ในบริเวณอโรคยาศาล วัดคำประมง อ.พรรณานิคม สกลนคร ซึ่งเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งดำเนินการโดยท่านหลวงตาวัลลภ ในการนี้หลวงตามีความประสงค์จะให้ตัวอาคารดังกล่าวจำลองปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ของปราสาทภูเพ็ก โดยให้แสงอาทิตย์ยามเช้าของวันดังกล่าวส่องตรงเข้ามายังองค์พระนาครัตนโพธิสักกมหาธาตุ

 

เริ่มทำ shadow plot ตั้งแต่เช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 โดยให้คุณประสาท ตงศิริ ที่ปรึกษาอาวุโสของหอการค้าจังหวัดสกลนครเป็นผู้บันทึกข้อมูล และหลวงตาวัลลภนั่งกางร่มให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงศ์ ซึ่งเป็นแพทย์อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยในอโรคยาศาล 

 

ได้ curve เงาดวงอาทิตย์สวยงามพร้อมกับแนวทิศตะวันออกแท้

 

วันที่ 23 กันยายน 2549 ตรงกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ และตกที่ทิศตะวันตก แท้ หลวงตาวัลลภท่านขอตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้วิธี "เชิงประจักษ์"   

 

หลวงตาวัลลภยืนถ่ายภาพการยืนยันความถูกต้องของแนวทิศตะวันออกแท้ของแปลนก่อสร้าง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2549

 

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 ได้ไปร่วมพิธีตอกเสาเข็มอาคารดังกล่าว (ขณะนั้นเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร) 

 

ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในการอบรมครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตร "ปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส" วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว ก็ใช้วิธี Shadow Plot เป็นส่วนหนึ่งของการอบรม

 

ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงในการทำ Shadow Plot 

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมฝึกปฏิบัติ Shadow Plot ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

 

ผู้เข้าอบรมฝึกทำนาฬิกาแดดซึ่งจะวางให้ตรงกับตำแหน่ง Geographic North ที่หาได้จากการทำ Shadow Plot 

 

         การวางฐานรากตัวปราสาท

          เป็นที่ทราบดีว่าปราสาทหลังนี้สร้างด้วยหินทรายล้วนๆมีน้ำหนักมากจึงจำเป็นต้องวางฐานรากให้มั่นคง จากการสังเกตบริเวณขอบที่พื้นดินผมเห็นหินวางยื่นออกมาเหมือนฐานแผ่ (ดูภาพ) ทำให้เชื่อได้ว่าสิ่งนี้คือฐานรากที่อยู่ใต้ดินเพื่อรองรับน้ำหนักลักษณะเดียวกับการเทคอนกรีตเป็นฐานแผ่รองรับเสาของบ้านในปัจจุบัน พวกเขาน่าจะเริ่มต้นด้วยการเคลียร์พื้นที่และขุดลงไปในดินจนถึงระดับที่เป็นดินแน่นหรือเจอชั้นหิน ทำการปรับหน้าดินให้ราบเรียบด้วยสายตา และใช้อุปกรณ์ท่อไม้บรรจุน้ำ (ดังภาพ) ทำหน้าที่เหมือนสายยางตรวจสอบแนวระดับ 

 

       การตรวจสอบแนวระนาบ

       สามารถทำได้ 2 วิธี

                   วิธีที่ 1 

         สมัยนั้นยังไม่มีสายยางจับระดับน้ำ แต่ก็สามารถผลิตอุปกรณ์ง่ายๆเป็นกระบอกบรรจุน้ำใช้งานได้อย่างดีโดยดูจากระดับน้ำที่ปลายท่อสองข้างต้องเท่ากัน 

 

อุปกรณ์ทำด้วยกระบอกไม้บรรจุน้ำใช้จับระดับ

 

ขุดหน้าดินลงไปจนถึงชั้นดินดานที่แข็ง

 

ใช้อุปกรณ์จับระดับ

 

วางก้อนหินชั้นแรกและจับระดับ

 

วางก้อนหินซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆตามที่ต้องการพร้อมกับการจับระดับ

 

ได้ฐานรากที่แข็งแรงและได้ระดับ

 

สร้างตัวปราสาทบนฐานรากพร้อมกับการจับระดับน้ำเพื่อให้มั่นใจว่าถูกต้องกับแนวระนาบ 

 

           วิธีที่ 2 ใช้ลูกดิ่งและจับฉาก ตามทฤษฎีเรขาคณิตบทที่หนึ่ง ...... เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง มุมประชิดรวมกันเท่ากับสองมุมฉาก 

 

 

Step 1 ขุดเปิดหน้าดินลงไปจนถึงดินแข็งและปรับแต่งให้ราบเรียบด้วยสายตา

 

 

Step 2 ใช้ลูกดิ่ง และเชือกขึงระหว่างเสาสองต้น เอาไม้ฉากตรวจสอบว่าได้ระดับ "มุมฉากหรือไม่" ถ้ายังไม่ใช่ก็ต้องขยับเชือกข้างใดข้างหนึ่ง

 

เมื่อขยับเชือกจน "ได้ฉาก" ทั้งสองข้างแล้วแสดงว่าได้ระดับถูกต้อง

 

การทดสอบจับระดับแนวระนาบโดยใช้เชือกและวัตถุถ่วงน้ำหนัก

 

ทดสอบกับปราสาทขอมที่บ้านปรางค์ ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง นครราชสีมา

 

วางก้อนหินให้ตรงกับแนวระดับ

 

วิธีนี้สามารถทำได้ระยะทางยาวตามต้องการแต่ต้องตรวจสอบทุกจุดให้แน่ใจว่า "ตั้งฉาก"

 

 

 

 แสดงฐานแผ่ส่วนที่โผล่เหนือดิน ขนาดกาลเวลาผ่านไปนานเกือบพันปีตัวปราสาทยังตั้งอยู่อย่างมั่นคงไม่มีวี่แววว่าจะทรุดตัว เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าฐานรากต้องมั่นคงชนิดชัวร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าพูดตามภาษาราชการปัจจุบัน สตง. หรือ ปปช. ชิดซ้ายไปเลยโครงการนี้ไม่มีนอกไม่มีในทุกอย่างแข็งแรงมั่นคง

 

 

กาลเวลาผ่านนับพันปีปราสาทหลังนี้ก็ยังมีรูปทรงมั่นคง ไม่มีร่องรอยของการทรุดตัวให้เห็นแม้แต่น้อยแสดงว่าฐานรากมีความแข็งแรงอย่างยิ่ง

 

       การตรวจสอบแนวดิ่ง

         วิธีนี้ทำได้ง่ายด้วยเชือกกับลูกดิ่ง

 

 

 

ระดับน้ำยืนยันว่าฐานรากของปราสาทยังคงได้ระนาบกับพื้นโลก

 

ลูกดิ่งแสดงว่าตัวปราสาทยังคงตั้งฉากกับพื้นโลก

 

ลูกดิ่งยืนยัน Vertical Line  แสดงว่าตัวปราสาทยังคงเสถียรเหมือนพันปีที่แล้ว

 

      วิธีการทำให้ผนังตัวปราสาทมีความแข็งแรง

          นี่ถ้าผู้ออกแบบชาวขอมโบราณผู้สร้างปราสาทภูเพ็กฟื้นขึ้นมาได้ผมจะทำเรื่องขออนุมัติให้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเสนอปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาฟิสิกส์ เพราะดูแล้วพวกเขาใช้ความรู้วิชาฟิสิกส์ขั้นเทพ ลองมาดูกันชัดๆครับว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง

     การยึดหินในส่วนที่อยู่ด้านนอกของผนัง

     ใช้วิธีเข้าเดือยโดยบากที่ขอบก้อนหินเป็นรูปตัวที และใช้โลหะทำเป็นสลักยึดหินสองก้อนเข้าหากันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและป้องกันการหลุดหล่น

 

เห็นก้อนหินที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจำนวนมากวางระเกะระกะอยู่ข้างตัวปราสาท แต่ยังไม่ได้ยกขึ้นไปประกอบ เมื่อพิจารณาจะเห็นวิธการเข้าเดือยเป็นรูปตัวทีเพื่อยึดให้หินสองก้อนติดกันอย่างแน่นหนา 

 

จากหลักฐานที่พบทำให้ทราบว่าการเข้าเดือยเพื่อยึดหินจะทำในส่วนที่เป็นโครงสร้างที่อยู่ตามรอยขอบ ดังตัวอย่างในภาพนี้

 

หินสองก้อนนี้อยู่ตรงขอบข้างบน ตอนก่อสร้างคงวางติดกันแต่ด้วยกาลเวลาจึงแยกออกดังที่เห็น

 

การเข้าเดือยระหว่างหินสองก้อนโดยใช้แผ่นโลหะเป็นรูปตัวที แต่แผ่นโลหะสูญหายไปแล้ว หรือว่ายังไม่ทันได้ใส่ก็ต้องทิ้งงานเสียก่อน 

 

แท่งโลหะสำหรับยึดหินให้ติดกัน

 

แท่งโลหะรูปตัว I-shape พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ภาพและข้อมูลจากจาก ดร.ตุ้ม Chatchawas Ktipipatphon ขอบคุณมากครับ 

 

  

ตัวอย่างที่ปราสาทตาพรม เมืองเสียมราช ประเทสกัมพูชา (แต่แผ่นโลหะที่ใช้ยึดหลุดหายไปแล้ว) 

 

 เทคโนโลยีวิธีการยึดหินแบบนี้เกิดขึ้นนับพันปีแล้ว ผมไม่ทราบว่าพวกเขาถ่ายทอดความรู้กันอย่างไร ดังตัวอย่างที่โบราณสถานชื่อ Puma Punku ที่ประเทศโบลิเวีย  

 

           การตอกลิ่มเพื่อให้เกิดแรงดันด้านข้าง (Side stress) และการเข้ารูปที่จุดเชื่อมต่อตามหลักวิชาฟิสิกส์การตอกลิ่มเข้าทางปืนการเพิ่มแรงดันของ "อาร์คีมิดีส" ทำให้เกิดการเบียดตัวออกด้านข้างภาษาวิศวกรรมเรียกว่า side stress ทำให้ผนังส่วนนี้มีความแน่น 

 

 

 

เป็นการตอกสลักเพื่อให้เกิดแรงดันบนและล่างในแนวตั้ง (vertical stress)

 

การเข้ารูปหินก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้มีการจับตัวกันอย่างแข็งแรง

 

 

การวางเสาประตูใช้วิธีสลักหินให้เป็นรูปสามเหลี่ยมประกบกันเพื่อให้เกิดหน้าสัมผัสที่มากขึ้นและเป็นการกระจายแรงออกไปด้านข้าง

 

    การแกะสลักลวดรายต่างๆบนผนังปราสาท

      การที่ปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างโดยไม่มีการแกะสลักลวดลายแม้แต่ชิ้นเดียว เป็นหลักฐานที่ทำให้เห็นชัดว่าปราสาทขอมสร้างโดยใช้หินทรายมาก่อเรียงตัวเป็นรูปปราสาทให้เรียบร้อยก่อน และค่อยแกะสลักลวดลายต่างๆภายหลังโดยมีการออกแบบขนาดและรูปร่างของก้อนหินให้สอดคล้องกับรูปที่จะแกะสลัก

 

 

ปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างจึงไม่มีลวดลายอะไรให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว

 

 

 

แสดงวิธีการแกะสลักลวดลายบนผนังปราสาทขอม

 

เปรียบเทียบระหว่างประตูหลอกของปราสาทนารายณ์เจงเวงที่มีการสลักลวดลาย กับประตูหลอกของปราสาทภูเพ็กที่ยังไม่ได้สลักอะไร 

 

 

       ก่อกำแพงรอบตัวปราสาท 

          พบว่าได้มีการเริ่มก่อกำแพงด้านทิศตะวันตก แต่ทำได้เพียงฐานรากและทิ้งงานไปเสียก่อน 

 

 

 

       ซุ้มประตูทางขึ้นตัวปราสาท

          พบว่าตรงบันไดขั้นสุดท้ายมีร่องรอยการสลักหินเหมือนกับเตรียมที่จะติดตั้งซุ้มประตู ผมจึงจินตาการโดยใช้ซุ้มประตูของปราสาทพระวิหารเป็นต้นแบบ คาดว่าน่าจะเป็นรูปพญานาค (ดูภาพประกอบ) ผิดถูกอย่างไรคงต้องกลับชาติไปพิสูจน์หรือให้ผู้ที่มีพลังทางจิตเข้าทรงดูว่าคิดถูกหรือไม่

 

พบว่าที่แท่นหินตรงบันไดขั้นสุดท้ายมีรอยสลักเป็นมุมฉาก เหมือนจะต้องมีอะไรมาตั้งใส่ตรงนี้

 

จึงจินตนาการว่าน่าจะเป็นเศียรพญานาค โดยเอาตัวอย่างจากปราสาทพระวิหาร

 

ที่ทางขึ้นด้านล่างก็มีกองหินเป็นบริเวณกว้าง อาจจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีเศียรพญานาคเป็นซุ้มประตู 

 

ซุ้มประตูของปราสาทพระวิหาร 

 

       บันไดทางเดินขึ้นตัวปราสาท

          เป็นสไตล์ของปราสาทขอมที่ต้องมีทางเดินขึ้นในทิศที่ตรงกับหน้าปราสาท ในกรณีของปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ บันไดทางขึ้นจึงต้องอยู่ทางทิศตะวันออกเช่นกัน โดยมีความยาวประมาณ 500 เมตร เริ่มต้นที่ระดับความสูง +383 เมตร จากระดับน้ำทะเล และสิ้นสุดที่ระดับความสูง +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล จากสภาพที่เห็นในปัจจุบันยืนยันชัดเจนว่า "ยังก่อสร้างไม่เสร็จ" 

 

 

 

 

เทคนิคการสร้างขั้นบันไดมีทั้งวิธีตัดก้อนหินเป็นชิ้นๆแล้วนำมาวางเรียงกัน และสลักขั้นบันไดลงบนหินก้อนใหญ่

 

หินก้อนใหญ่บางก้อนก็เพิ่งสลักได้นิดเดียว 

 

บันไดขั้นสุดท้ายเป็นหินก้อนขนาดใหญ่ ก็มีร่องรอยสกัดได้นิดเดียว

 

เปรียบเทียบระหว่างบันไดขอม (ซ้ายมือ) กับบันไดปัจจุบัน (ขวามือ) 

 

ถ้าก่อสร้างได้เสร็จตามโครงการ ....... ปราสาทหลังนี้จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ?

            ประเด็นนี้ยังคงเป็นปริศนาที่ไม่มีใครฟันธง จึงต้องใช้จินตนาการเอาเองผิดถูกอย่างไรก็ต้องกลับชาติไปพิสูจน์กันเอาเองละคราบ แต่ดูจากฐานรากของ Main Chamber พบว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างและยาว 552 ซม หรือ 5.52 เมตร ใหญ่กว่าปราสาทพิมายซึ่งมีขนาดของห้อง 437 ซม (552 - 437 = 115 ซม) ดังนั้นถ้าสร้างเสร็จจริงๆยอดปราสาทภูเพ็กก็ต้องสูงกว่าของปราสาทพิมาย

 

ปราสาทภูเพ็กถูกทิ้งงานไว้เพียงครึ่งเดียวและไม่มีใครสานต่อให้แล้วเสร็จ .... เป็นที่มาของตำนาน "อรดีมายา" ผู้หญิงชนะผู้ชายในการแข่งขันสร้างปราสาทเพื่อให้ได้พระอุรังธาตุไปประดิษฐาน

 

ผมจึงจินตนาการเอาเองว่าถ้าสร้างเสร็จจะสวยงามแบบนี้ ..... ผิดถูกอย่างไรขอให้ท่านผู้ชมตัดสินเอาเองคราบ

 

 หรือว่าเป็นแบบนี้ ?

 

 

 

 

โปรโมทการท่องเที่ยวด้วย Selfie

จินตนาการโคปุระและตัวปราสาทอาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้

 

ทางเดินขึ้นและซุ้มประตูอาจจะมีหน้าตาแบบนี้

 

 

ทางเดินขึ้นปราสาทภูเพ็กยาวทั้งสิ้นประมาณ 500 เมตร 

 

การวัดระยะทางของทางเดินขึ้นปราสาทภูเพ็ก

 

ขนาดของห้อง Main Chamber ปราสาทภูเพ็ก 552 Cm x 552 Cm 

 

ขนาดของห้อง Main Chamber ปราสาทพิมาย 437 Cm x 437 Cm ยืนยันโดย อจ.จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.พิมาย

 

การวัดขนาดห้อง main chamber ของปราสาทพิมายโดยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 

ข้อมูลขนาดของปราสาทพนมรุ้งจัดให้โดยหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง คุณพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ เมื่อคราวที่ไปร่วมบรรยายพิเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2561

 

 

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามกำลังวัดขนาดห้อง main chamber ปราสาทภูเพ็ก ได้ตัวเลข 5.52 m x 5.52 m

 

การวัดขนาดห้อง main chamber ของปราสาทภูเพ็ก โดยคณะนักศึกษาปริญาโทมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ภาพถ่ายทางอากาศปราสาทภูเพ็กกับขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 40 เมตร 

 

เปรียบเทียบขนาดระหว่างปราสาทภูเพ็ก ปราสาทพิมาย และปราสาทพนมรุ้ง

 

ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จอาจจะมีรูปร่างแบบนี้ (จากจิตนาการ) และเป็นปราสาทยุคขอมเรืองอำนาจใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

เปรียบเทียบปราสาทภูเพ็ก ยาว 40 เมตร กับ ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา ยาว 26 เมตร

 

เปรียบเทียบขนาดความสูงของประตูห้องครรภคฤหะ ปราสาทพระวิหาร 2.20 เมตร กับปราสาทภูเพ็ก 3.65 เมตร

  

       สรุป

           เชื่ออย่างจริงๆว่าผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก "ไม่ธรรมดา" พวกเขาใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในระดับ "ชั้นเทพ" ทำให้ปราสาทหลังนี้ยืนตากแดดตากฝนร่วมพันปีอย่างไม่สะทกสะท้าน และยังไม่มีวี่แววว่าจะล้มลงมา ผิดกับสิ่งก่อสร้างของเราๆท่านๆในยุคปัจจุบันที่มีข่าวเนืองๆว่าทรุดที่นั่นทรุดที่นี่ จึงมีคำกล่าวที่ค่อนข้างเสียดแทงใจว่า ..........เทคโนโลยีปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ