การบริหารจัดการน้ำด้วยการสร้างเขื่อนในสหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า "ล้มเหลว" น่าจะเป็นบทเรียนแก่รัฐบาลไทยที่กู้เงิน "สามแสนล้าน" มาทำโครงการ "จัดการน้ำ"
นางฮิลล่าลี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวยืนยันต่อหน้าผู้นำชาติประชาคมอาเซี่ยนที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวปราศัยในงานเลี้ยงรับรองที่โรงแรมเมอริเดี้ยน อังกอร์ จังหวัดเสียมราช ประเทศกัมพูชา เมื่อ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ คลินตัน ได้เข้าประชุมร่วมกับรัฐมนตรีจากประเทศประชาคมอาเซี่ยน (ไทยเข้าร่วมด้วย ดูที่ธงชาติ) ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ ได้กล่าวแก่ที่ประชุมอย่างตรงไปตรงมา "ข้าพเจ้าขอพูดแบบเปิดอกว่า เรา (หมายถึงอเมริกา) ได้ทำผิดพลาดอย่างมหันต์ต่อการจัดการน้ำในอเมริกา และยินดีจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขงโดยเอาประสบการณ์จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซีสซิปี้"
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบเรื่องอย่างละเอียดผมจึงขอคัดลอกข่าวของสำนัก เอเอฟพี นิวส์ มาให้ดูพร้อมคำแปลชนิดหมัดต่อหมัด
AFP News – Sat, Jul 14, 2012
The US on Friday urged Mekong nations to learn from its mistakes in river infrastructure projects, as Laos confirmed it has postponed a controversial multi-billion dollar dam project.The $3.8 billion hydroelectric project at Xayaburi has sharply divided the four Mekong nations -- Laos, Vietnam, Cambodia and Thailand -- who rely on the river system for fish and irrigation.
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้กระตุ้นให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเรียนรู้ความผิดพลาดจากโครงการก่อสร้างต่างๆที่กระทำในแม่น้ำของประเทศอเมริกา โดยยกกรณี ประเทศลาวได้ยืนยันว่าชลอโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีซึ่งกำลังถูกวิพากวิจารณ์ เขื่อนนี้มีมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญ เกี่ยวข้องกับ 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้เพื่อการประมง และการชลประทาน
US Secretary of State Hillary Clinton pressed for further environmental assessments before proceeding with the project during a meeting with Mekong countries in the Cambodian capital, echoing calls from Hanoi and Phnom Penh who worry the dam could decimate their fishing and farming industries.
ในการประชุมร่วมกับประเทศลุ่มน้ำโขงที่เมืองหลวงของกัมพูชา นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เน้นย้ำเรื่องการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการ โดยฟังเสียงสะท้อนด้วยความกังวลจากกรุงฮานอย และกรุงพนมเป็ญ ว่าการสร้างเขื่อนจะทำลายแหล่งประมงและอุตสาหกรรมการเกษตร
Clinton, who called the Mekong river basin "a miracle", said Washington would help fund studies on the impact of proposed dams on the river, on which some 60 million people depend for transportation, food and economy.
นางคลินตัน ได้กล่าวยกย่องลุ่มน้ำโขงว่า "มหัศจรรย์" และทางวอชิงตันจะให้ความช่วยเหลืองบประมาณสำหรับการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากเขื่อน ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม แหล่งอาหาร และเศรษฐกิจ ของประชากรราว 60 ล้่านคน
"I'll be very honest with you. We made a lot of mistakes," Clinton said in her opening remarks, offering the assistance of her country's Mississippi river commission to the Mekong nations.
ข้าพเจ้าขอพูดแบบเปิดอกว่า เรา (หมายถึงสหรัฐอเมริกา) ได้กระทำการผิดพลาดอย่างมหันต์มาแล้ว นางคลินตันกล่าวแสดงความเห็นในช่วงเปิดการประชุม โดยจะมอบให้คณะกรรมมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิบปี้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขง
"We've learned some hard lessons about what happens when you make certain infrastructure decisions and I think that we all can contribute to helping the nations of the Mekong region avoid the mistakes that we and others made," she said.
เราได้เรียนรู้บทเรียนอย่างหนักต่อผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจก่อสร้างโครงการ ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าเราจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขง เพื่อที่จะได้ไม่ซ้ำรอยความผิดพลาดที่เราและคนอื่นๆก่อขึ้น
The Mississippi, one of the longest rivers in the US, has struggled with a number of river projects over the years that have led to floods, water flow issues and sediment problems.
แม่น้ำมิสซิสซิบปี้เป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่ยาวที่สุดในสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายนี้ได้ถูกย่ำยีเป็นเวลาหลายปีจากโครงการสารพัดอย่าง ยังผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม การไหลที่ผิดธรรมชาติ และการตื้นเขิน
Laos Foreign Minister Thongloun Sisoulith said after the talks in Phnom Penh that he had assured his Mekong counterparts the Xayaburi dam was on hold until its neighbours' environmental concerns were answered."The Laos government decided to postpone, we have to study more," he told reporters.
ท่านทองล้วน สีเสาลิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของลาว กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่าได้ยืนยันต่อเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงที่กรุงพนมเป็ญแล้ว โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะต้องชลอจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรัฐบาลลาวจึงตัดสินใจชลอและจะทำการศึกษาเพิ่มเติม
Environmentalists fear the proposed 1,260 megawatt dam, the first of 11 on the key waterway, will have disastrous environmental effects and harm the livelihoods of millions of people.Communist Laos, one the world's most under-developed nations, hopes the dam will help it become "the battery of Southeast Asia" and plans to sell most of the electricity to Thailand.
นักสิ่งแวดล้อมกลัวว่าโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 1,260 เมกกะวัต ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 แห่งของแม่น้ำสายนี้ จะส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชากรนับล้านคน ประเทศคอมมิวนิสต์ลาวหวังว่าการมีเขื่อนจะทำให้ประเทศของเขาเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้" และวางแผนที่จะขายไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศไทย
But there is opposition to the project in Thailand too, and Thai Mekong river basin villagers said through a lawyer on Friday they would seek a court ruling to ban Thailand's state electricity giant from buying power from the dam.
อย่างไรก็ตามก็มีการคัดค้านโครงการนี้ในประเทศไทย และชุมชนลุ่มน้ำโขงของไทยกล่าวว่าพวกเขาได้ยืนข้อเรียกร้องผ่านนักกฏหมายเพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งให้ยักษ์ใหญ่ไฟฟ้าของไทยยกเลิกการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งนี้
แผนที่แสดงลุ่มน้ำมิสซิสซิบปี้ ในสหรัฐอเมริกา
แผนผังแสดงระบบการจัดการน้ำในลุ่มน้ำมิสซิสซิบปี้ ถูกออกแบบอย่างดีว่าจะควบคุมการผันน้ำให้ได้ตามตัวเลขที่ระบุ (หน่วย เอเค่อร์ฟุต ต่อวินาที) แต่พอเกิดวิกฤตเข้าจริงๆลูกพี่ใหญ่ด้านวิศวกรรมชลประทานก็เข้าตาจนเหมือนกัน
ภาพถ่ายเก่าเมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการบริหารจัดการน้ำในปี พ.ศ. 2463
สภาพ "เอาไม่อยู่" ของระบบการบริหารจัดการน้ำ
ในที่สุดก็ต้องพังบางส่วนของพนังกั้นน้ำเพื่อระบายลงไปยังพื้นที่ฟลัดเวย์
ภาพบรรยากาศการเยือนประเทศกัมพูชาของนางฮิลลารี่ คลินตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และบทบาทของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ที่เป็นแขกรับเชิญในงานเดียวกัน