ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




โลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
โลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
 

          จริงๆแล้วทุกตารางนิ้วของแผ่นดินเป็นโลกล้านปีทั้งหมด ไดโนเสาร์ก็เดินเพ่นพ่านไปทั่วโลกไม่จำกัดบริเวณแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ที่มีการค้นพบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศนั้นๆ เช่น รัฐเทคซัส และรัฐโอคลาโฮม่า สหรัฐอเมริกา มีซากฟอสซิลอยู่ใต้พื้นดินตื้นๆ หลายแห่งเกลื่อนกลาดตามผิวดินจนลานตาไปหมดจนแทบจะเอามาขว้างหัวเล่น ที่เกาะทัสมาเนีย ตอนใต้ของประเทศออสเตเรียก็เช่นเดียวกัน มีซากฟอสซิลสัตว์และพืชในทะเลจากยุค “เปอร์เมี่ยน” ซึ่งเคยเป็นทะเลตื้นๆ เมื่อ 300 ล้านปี กระจัดกระจายตามข้างถนนใครอยากได้ก็ไปเก็บเอาตามใจชอบ แอ่งสกลนครก็เช่นกันมีซากฟอสซิลกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ฟอสซิลไดโนเสาร์ และไม้กลายเป็นหิน ........ ภาษาอีสานเรียกว่า "หลายโพด บ่อึ้ด" 

 

เดือนเมษายน 2554 ไปสำรวจแหล่งฟอสซิลที่เมือง Avant รัฐ Oklahoma สหรัฐอเมริกา ก็พบซากฟอสซิลหอยและสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวนมาก 

 

ผมไปเดินหาซากฟอสซิลตามข้างถนนที่รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา และที่เกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตเรีย ดูแล้วทั้งสองแห่งน่าจะเป็นฟอสซิสในยุคเปอร์เมี่ยน ราวๆ 250 - 300 ล้านปี เพราะสิ่งที่พบเหล่านั้นล้วนเป็นสัตว์และพืชทะเล
 
 
 
หินที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย
 
 
 
 
ฟอสซิลที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย หาง่ายมากเพราะหล่นเกลื่อนกลาดอยู่ตามข้างถนน
 
 
 
 
ฟอสซิลที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย เป็นหอย ปลา และพืชทะเล จากยุคเปอร์เมี่ยน ในมหายุคพาเลโอโซอิก
 
 
 
 
ฟอสซิลที่เมือง Fort Worth รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ที่พบตามข้างถนนเป็นหอยทะเล เข้าใจว่าเป็นยุคเปอร์เมี่ยน เช่นเดียวกันกับที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย
 
 
 
 
ฟอสซิลหอยบางชิ้นซ่อนตัวอยู่ในก้อนหิน ต้องเปิดออกมาจึงจะเห็นข้างในเป็นรูปร่างชัดเจน
 
 
         
          แอ่งสกลนคร คืออะไร

           แอ่งสกลนคร เป็นชื่อทางวิชาการทางธรณีวิทยา หมายถึงแผ่นดินที่อยู่ระหว่างแม่น้ำโขง กับเทือกเขาภูพาน ประกอบด้วยจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี และหนองคาย แต่ถ้ามองภาพรวมทั้งภาคอีสานเราเรียกพื้นที่นี้ว่า “ที่ราบสูงโคราช” ประกอบด้วยแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช แผ่นดินทั้งหมดนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนใน “มหายุคพาเลโอโซอิก” ราว 300 ล้านปี และถูกดันขึ้นมาเป็นแผ่นดิน “มหายุคมีโซโซอิก” ราว 245 – 65 ล้านปี ไดโนเสาร์ชนิดต่างๆล้วนเกิดขึ้นในมหายุคนี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเซียส จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่าพื้นที่แอ่งสกลนครน่าจะเกิดขึ้นในยุค “ครีเทเซียส” ราว 120 ล้านปีที่แล้ว

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
           
           รอยเท้าไดโนเสาร์บนพื้นหินทรายตามภาพนี้ พบที่ริมถนน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ไม่ห่างจากแม่น้ำโขงเท่าไหร่ การเกิดรอยเท้าแบบนี้มีโอกาสน้อยกว่าหนึ่งในล้านเพราะต้อง  บังเอิญจริงๆ จำลองเหตุการณ์ได้ดังนี้ ไดโนเสาร์ลงไปเดินในพื้นดินนุ่มๆที่ริมแม่น้ำ ทำให้เกิดรอยเท้าในพื้นดินและทันใดนั้นก็มีตะกอนของแม่น้ำมาทับถมรอยเท้า นานๆเข้าตะกอนดินก็ทับถมหนาขึ้นจนรอยเท้าจมอยู่ใต้ดินลึก ร้อยล้านปีต่อมาทั้งหมดกลายเป็นหินและถูกดันขึ้นมาบนพื้นดินในยุค "เทอเชียรี่" (ตอนต้นของมหายุคซีโนซีอิก) ประมาณ 50 ล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับงบประมาณยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
         
          ฟอสซิลไดโนเสาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร

          ฟอสซิลไม่ใช่กระดูกแต่เป็นแร่ธาตุที่ซึมเข้าไปแทนที่กระดูกทำให้กลายเป็นหิน การเกิดฟอสซิลนั้นยากมากโอกาศเพียงหนึ่งในล้าน เพราะทันทีที่ไดโนเสาร์ตายร่างของมันต้องตกลงไปในน้ำ ส่วนที่เป็นเนื้อถูกกัดแทะโดยสัตว์ต่างๆหรือเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ ขณะที่ตะกอนของน้ำก็ทยอยทับถมร่างนั้นให้จมลึกลงไป นานๆเข้าแร่ธาตุที่อยู่ในตะกอนดินจะค่อยๆซึมเข้าไปในกระดูกจนทำให้กลายเป็นหิน ดังนั้น หากเอาฟอสซิลมาเปรียบเทียบกับกระดูกจะเห็นความต่างชัดเจน กระดูกมีรูพรุนมากมาย แต่ฟอสซิลเป็นเนื้อแน่นไม่มีรูพรุน มีน้ำหนักเหมือนหิน ถ้าพูดกันตรงๆก็เป็นหินดีๆนี่แหละ ฟอสซิลเหล่านี้ถูกฝังลึกอยู่ใต้ดิน นานนันร้อยล้านปี ต่อมาใน “มหายุคซีโนเซอิก” ราว 60 – 50 ล้านปีที่แล้ว แผ่นดินถูกดันขึ้นมาเป็นภูเขาทำให้ฟอสซิลบางส่วนขึ้นมาอยู่ตื้นๆตามเนินเขา และถูกน้ำกัดเซาะจนโผล่ให้เห็นตามผิวดิน สังเกตได้ว่าจุดที่พบฟอสซิลมักจะเป็นบริเวณเนินเขา  

 

 

 

ฟอสซิลแต่งต่างจากกระดูก (ดังตัวอย่างในภาพ) เพราะฟอสซิลเป็นหินที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุที่เข้าไปแทนที่กระดูกจึงมีเนื้อแน่น (ไม่มีรูพรุนเหมือนกระดูก)

 

ผมไปชมฟอสซิลที่ Natural Museum เมือง Norman รัฐ Oklahoma USA ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะครับ

 

         

Natural Museum แห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮม่า

         

         ตามหา “ฟอสซิล” ที่จังหวัดสกลนคร 4 กรกฏาคม 2553

            เมื่อพูดถึงฟอสซิลใครๆก็นึกถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่กาฬสินธุ์ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในความเป็นจริงจังหวัดสกลนครก็เต็มไปด้วยสิ่งเหล่านี้เพียงแต่ยังไม่ได้มีการค้นหาอย่างจริงๆจังๆ ดังนั้น ทีมงาน “พยัคฆ์ภูเพ็ก” ซึ่งประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น วิศวกรในร่างของฤาษีเอก อมตะ นายแพทย์ นักพิภพวิทยา และศิลปินเพื่อชีวิต จึงต้องรับอาสาทำหน้าที่นี้ไปพลางๆก่อน จนกว่าจะได้ผู้เชี่ยวชาญด้าน “บรรพชีวินวิทยา” ตัวจริงเสียงจริงเข้ามาเทกโอเว่อร์ภารกิจนี้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมาชิกทีมงานจะไม่ได้ร่ำเรียนวิชาบรรพชีวินวิทยาโดยตรง แต่หลายคนก็จบการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลด้านชีววิทยา ฟิซิกส์ เคมี และธรณีวิทยา อยู่พอสมควร จึงพอที่จะนำข้อมูลมาให้แฟนๆของคอลั่มนี้ได้สัมผัสแบบถ่ายทอดสด

           ทีมงานได้รับทราบจากผู้นำท้องถิ่นว่าบริเวณเชิงเขาใกล้ๆปราสาทภูเพ็กมีฟอสซิลไดโนเสาร์อยู่หลายแห่ง มีคนเคยมาเก็บไปขายเพื่อทำมวลสาร “จาตุคาม” เมื่อทราบเช่นนี้จึงได้รีบรุดไปดูสถานที่ดังกล่าวทันที เมื่อไปถึงพบว่าภูมิประเทศเหมาะแก่การค้นหาฟอสซิลอย่างมากเพราะเป็นเชิงเขาพื้นที่ลาดชัน มีร่องรอยการกัดเซาะของน้ำอย่างชัดเจน และที่น่าสนใจหินที่พบเป็นหินตะกอนจากยุค “เมโซโซอิก” เข้าสะเป็กของการเกิดฟอสซิล ใช้เวลาไม่นานก็พบฟอสซิลจำนวนหนึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดิน และฝังตัวอยู่ตื้นๆ แต่เนื่องจากทีมงานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ธรณีวิทยา ประกอบกับบริเวณนี้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน จึงไม่สามารถที่จะขุดค้นอย่างจริงๆจังๆ ได้แต่ขุดแคะเล็กๆน้อยๆตามซอกหิน และพื้นดินที่สงสัยว่าจะมี แม้ว่าจะยังไม่พบฟอสซิลที่มีรูปร่างทั้งตัวอย่างครบถ้วน แต่ก็ได้หลักฐานยืนยันว่าที่นี่เป็นแหล่งไดโนเสาร์เมื่อร้อยกว่าล้านปีที่แล้วอย่างแน่นอน

 

 

 

 

ฟอสซิลที่พบจะเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่งเกิดจากการกัดเซาะและเคลื่อนไหลตามกระแสน้ำทำให้แตกเป็นชิ้นๆ

 

 

  

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฟอสซิลอันขวามือสุดมีลักษณะเหมือนซี่โครงมีส่วนที่ป่องออกมาตรงกลาง ตามหลักการแพทย์แล้วนี่คือกระดูกที่เคยหักมาก่อนแล้วเชื่อมต่อภายหลังจึงป่องออกมาตรงรอยต่อ แสดงว่าไดโนเสาร์ตัวนี้อาจจะต่อสู้กันหรือตกลงมาจากที่สูง ทำให้บาดเจ็บกระดูกซี่โครงหัก

 

ภาพขยายให้เห็นชิ้นส่วนฟอสซิล แท่งขวามือสุดน่าจะเป็นส่วนซี่โครงที่เคยหักและสมานกลับคืนทำให้เป็นรอยโป่ง

 

  

 

 

 

 

 

ทีมงานได้พบเขี้ยวไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อติดอยู่ในก้อนหิน จึงพูดกันเล่นๆว่าไอ้ตัวนี้แหละที่ไปไล่กัดเขาจนกระดูกซี่โครงหัก และในที่สุดมันเองก็พบจุดจบกลายเป็นฟอสซิลเช่นกัน

 

   

ฟอสซิลชิ้นนี้น่าจะเป็นกระดูกขาหลังท่อนบนที่เรียกว่า "ฟีเม่อร์" ของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อตัวขนาดกลางๆ

 

 

 

 

 

 

       ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Woods) 

          ภูเขาที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว สกลนคร มีซากไม้กลายเป็นหินเกือบทั้งภูเขา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2561 ดร.สพสันติ์ เพชรคำ และ ดร.หมู ปูริดา และคณะนำนักศึกษาเอกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา ม.ราชภัฏสกลนคร ไปฝึกงานภาคสนามที่หมู่บ้านดังกล่าว ผมในฐานะที่ปรึกษาก็ร่วมเดินทางไปด้วยเพราะทราบดีว่าที่นั่นมีแหล่ง "ไม้กลายเป็นหิน" สามารถมองเห็นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลำธารที่น้ำไหลลงมาจากยอดภูเขาเนื่องจากซากเหล่านั้นถูกน้ำกัดเซาะให้ไหลมารวมกัน จากการใช้ GPS จับระดับความสูงพบว่าตีนภูเขาอยู่ที่ +261 เมตร และยอดภูเขาอยู่ที่ระดับ +314 เมตร จากระดับน้ำทะเล จิตนาการตามหลักธรณีวิทยาว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์อาจจะเป็นยุค Paleozoic 300 ล้านปี หรือยุค Mesozoic 250 - 65 ล้านปี บริเวณนี้เป็นป่าดงดิบในพื้นที่ราบมีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านเมื่อต้นไม้ตายลงจะถูกตะกอนจากแม่น้ำทับถมอย่างต่อเนื่องตามหลักการเกิดฟอสซิล (fossilization) กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยล้านปีพื้นโลกถูกดันขึ้นมาเป็นภูเขาในยุค Cenozoic ราว 50 ล้านปีที่แล้วทำให้ซากฟอสซิลที่ฝังอยู่ใต้ดินเริ่มโผล่ขึ้นมาในลักษณะชิ้นใหญ่ๆเมื่อถูกน้ำฝนกัดเซาะเป็นเวลานานนับล้านปีทำให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆกระจัดกระจายตามลำธารและบริเวณใกล้เคียง ถ้ามีการขุดค้นอย่างจริงจังน่าจะพบซากไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดินอีกจำนวนมาก  

 

เศษที่แตกหักของไม้กลายเป็นหินกระจัดกระจายทั่วไปบนภูเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลำธาร 

 

 เส้นทางจากหมู่บ้านภูตะคามไปยังภูเขาที่มีซากไม้กลายเป็นหิน

 

ปีนขึ้นตามเส้นทางจากตีนเขา +261 m ไปสู่ยอดเขา +314 m โดยเกาะติดกับแนวลำธาร 

ใช้รถอีแต๊กของชาวบ้านเป็นพาหนะเดินทาง 

 

อาจารย์และนักศึกษารวมพลก่อนปีขึ้นภูเขา 

 

 ดร.สพสันติ์ เพชรคำ หัวหน้าทีม เริ่มเก็บภาพซากไม้กลายเป็นหินตามแนวลำธาร

 

 

ตัวอย่างชิ้นส่วนไม้กลายเป็นหินที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กๆมากมายนับไม่ถ้วน

 

ลำธารที่น้ำไหลลงมาจากยอดภูเขา

 

บางชิ้นก็ใหญ่ บางชิ้นก็เล็ก 

 

สรรค์สนธิ บุณโยทยาน กับไม้กลายเป็นหินชิ้นใหญ่ 

 

ดร.หมู ปูริดา กำลังพิจารณาซากไม้กลายเป็นหิน  

 

กระจัดกระจายทั่วบริเวณ

 

 มีหลายขนาดปะปนกัน

 

ใช้ GPS จับพิกัดซากไม้กลายเป็นหินก้อนใหญ่ที่ระดับความสูง +280 เมตร 

 

       ความเสี่ยงของการถูกทำลาย

           ทราบจากชาวบ้านว่ามีนายทุนมากว้านซื้อซากไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่เอาไปขายเป็นเคื่องประดับสวนของคนมีสะตางค์ จึงน่าจะมีมาตรการป้องกันและสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านว่า "นี่คือสมบัติของแผ่นดิน" ที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ และน่าจะอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและเป็นองค์ความรู้ของลูกหลาน 

 

 

       ทำไมไดโนเสาร์จึงสูญพันธ์ุ

 

          ถือว่าการสำรวจครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะได้ข้อมูลที่เป็นเนื้อเป็นหนังและยืนยันได้ว่าจังหวัดสกลนคร รวมทั้งแอ่งสกลนครทั้งหมดเป็นแผ่นดินที่เคยมีไดโนเสาร์เดินเพ่นพ่าน หาอยู่หากิน ไล่กัดกัน ออกลูกออกหลานสืบเชื้อสายอย่างต่อเนื่อง จนถึงวาระสุดท้ายเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ทุกอย่างก็ถึงกาลอวสานและสิ้นสุดมหายุคเมโซโซอิกอย่างเป็นทางการ เปิดศักราชใหม่แก่มหายุคซีโนโซอิกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเราๆท่านๆในปัจจุบัน 

          หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า "ทำไมไดโนเสาร์จึงสูญพันธ์ุ" นักธรณีวิทยาได้ทำการค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเจาะลึกทุกแง่มุม ตั้งแต่เรื่องโรคระบาด แผ่นดินไหว ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ในที่สุดมาลงตัวที่ "ภัยจากอวกาศ" นั่นคือเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วโลกถูกแอสตีรอยหรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนที่บริเวณ "คาบสมุทรยูคาตัน" ประเทศเม็กซิโก ทำให้เกิดฝุ่นพิษกระจายไปทั่วโลกและขณะเดียวกันโลกก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นจนแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงพื้นทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ไดโนเสาร์ก็เลยพลอยสูญพันธ์ุเพราะขาดอาหารที่เกิดจากห่วงโซ่ที่เริ่มต้นจากพืช แต่สัตว์เล็กๆที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรอดชีวิตเพราะหลบภัยอยู่ตามถ้ำและกินอาหารที่เหลืออยู่ตามพื้นดิน และวิวัฒนาการตามกาลเวลาจนกลายมาเป็นเราๆท่านในปัจจุบัน

          เมื่อวันที่ 4 - 7 สิงหาคม 2558 ผมไปที่เมือง Chichen Itza ประเทศเม็กซิโก ได้เห็นหลักฐานทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นผลพวงของแอสตีรอยพุ่งชนโลกที่คามสมุทร Yucatan (ปัจจุบัน Yucatan เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเม็กซิโก) หลักฐานดังกล่าวคือ "หลุมยุบ" (Sinkhole) ที่คนท้องถิ่นเรียกชื่อในภาษาสเปนว่า Cenotes หลุมยุบเหล่านี้มีจำนวนมากมายจนแทบนับไม่ถ้วนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนแถบนี้

 

ผมไปที่เมือง Chichen Itza ในต้นเดือนสิงหาคมเพื่อปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ แต่ก็เก็บข้อมูลเรื่องอื่นๆรวมทั้งเรื่องของ "หลุมยุบ" 

 

  

 

 

 

 

คาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก เป็นจุดที่แอสตีรอยพุ่งเข้าชนโลก ภาพถ่ายดาวเทียมด้วยกล้องชนิดพิเศษทำให้เห็นร่องรอยอย่างชัดเจน

 

หลุมยุบ (Cenotes) กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน

 

หลุมยุบบางแห่งมีน้ำใสสะอาดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของท้องถิ่น

 

หลุมยุบเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวมายาเพราะที่นี้ไม่มีแม่น้ำและลำธารบนผิวดินเนื่องจากเป็นแหล่งหินปูนขนาดใหญ่ หลุมยุบจึงเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำที่อยู่ใต้ดิน 

 

ชาวมายันได้ใช้หลุมยุบบางแห่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม เช่น การโยนสิ่งของมีค่าต่างๆได้แก่ทอง หยก สิ่งทอ หม้อ ลงไปในบ่อน้ำ รวมทั้งการสังเวยชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฟ้าฝนที่ชื่อว่า God Chaac  

 

ผมไปดู cenote แห่งนี้ใกล้ๆกับที่ตั้งปีรามิดกูกูลข่าน ที่แหล่งโบราณสถานชิเช่นอีสซ่า

 

 

แผนที่แสดงตำแหน่ง Cenotes ในบริเวณโบราณสถาน Chichen Itza

 

หลุมยุบบางแห่งอยู่ในป่ามีน้ำสีดำๆที่เกิดจากการหมักหมมของอินทรีย์วัตถุ

 

 

 

       การเผยแพร่ผลงาน

 

          ผลงานการค้นคว้าครั้งนี้ได้เผยแพร่ให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล นำไปจัดนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร  ปี 2554 และจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ตึก 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตั้งแต่ปี 2560

 

นักเรียนมัธยมปลายได้รับความรู้เรื่องดึกดำบรรพ์วิทยา

 

นิทรรศการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสกลนคร จัดทำโดยนักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

 

พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ตึก 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

เสนอเรื่องราวยุคดึกดำบรรพ์ของแอ่งสกลนคร

 

มีการค้นพบซาก Fossil Dinosaur จำนวนมากในบริเวณเชิงภูเขาด้านทิศใต้ของโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ (ปราสาทภูเพ็ก)

 

มีตัวอย่าง Fossil ของจริงที่พบในบริเวณเทือกเขาภูพาน

 

        สรุป

          ฟอสซิลไดโนเสาร์มีทั่วโลก เพียงแต่อยู่ลึกอยู่ตื้น บางแห่งก็หาง่ายเพราะอยู่ระดับผิวดิน เช่น แถบทวีปอเมริกาเหนือ และในทะเลทรายมองโกเลีย คนจีนเห็นซากฟอสซิลขนาดใหญ่ในทะเลทรายดังกล่าวเลยจินตนาการว่านี่แหละคือมังกร ภาษาจีนกลางใช้คำว่า "คงหลง" แต่หลายแห่งอยู่ลึกมากจนหาไม่พบ หากทีมงานพบอะไรใหม่ๆจะมารายงานให้ทราบต่อไป ครับผม   

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ