ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว

 

 

 

      ท่านเชื่อหรือไม่ว่าเมื่อ 200 ปี ก่อนคริสตกาล นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกชื่อ "อีราโตสทีเนส" สามารถวัดเส้นรอบวงของโลกได้อย่างค่อนข้างแม่นยำโดยใช้เงาของดวงอาทิตย์

              ท่านอีราโตสมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลห้องสมุดที่เมือง อเล็กซานเดรีย ในอียิปส์ (ขณะนั้นอียิปส์เป็นดินแดนยึดครองของกรีกจากอิทธิพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช) รองมาดูประวัติของท่านผู้นี้เป็นน้ำจิ้มก่อนเข้าเรื่อง 

               332 ปี ก่อนคริสตกาล กองทัพอันเกรียงไกรของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ย่างเท้าเข้าสู่ดินแดนอียิปส์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย พระองค์ต้องแปลกใจที่ผู้ปกครองและประชาชนที่นั่น ให้การต้อนรับดุจเทพเจ้า และไม่ต้องเสียเลือดแม้แต่หยดเดียว เนื่องจากกิติศัพท์ในยอดฝีมือแห่งการรบ ประกอบกับข่าวลือที่ว่าพระองค์เป็นบุตรของอดีตฟาร์โร ซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าของพวกเขา จากนั้นเป็นต้นมาอียิปส์จึงเป็นส่วนหนึ่งของกรีก และประกาศตัวเป็นเอกราชหลังการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช นายทหารพวกพ้องของพระองค์ได้ตั้งราชวงศ์ "ปโตเลมี" ขึ้นมาเป็นฟาร์โรและปกครองอียิปส์ตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสตกาล จนมาถึงฟาร์โรองค์สุดท้ายคือ "พระนางครีโอพัตรา ที่ 7" ฟาร์โรองค์นี้ท่านสวยและผิวขาวเพราะเป็นเชื้อสาย กรีกลูกหลานของอเล็กซานเดอร์มหาราช อย่างไรก็ตามทุกอย่างย่อมมีวันจบสิ้นอาณาอียิปส์ถูกผนวกเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล เมื่อพระนางคลีโอพัตราสิ้นพระชนม์    

 

          เมืองอเล็กซานเดรีย ทางภาคเหนือของอาณาจักรอียิปส์ เป็นมหานครที่ตั้งขึ้นในสมัยนั้นโดยใช้ชื่อของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนแห่งนี้เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรมาซีโดเนีย ของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ “อเล็กซานเดอร์” และเป็นธรรมเนียมของชาวกรีก ซึ่งมีสัญชาตญาณของนักวิชาการไปอยู่ที่ไหนก็ต้องมีห้องสมุดตามไปที่นั่น ท่าน”อีราโตสทีเนส” จึงถูกแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่หัวหน้าห้องสมุดแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย 

 

    
 
       
     ท่าน”อีราโตสทีเนส” และผลงานการคำนวณหาเส้นรอบวงโลก

          อีราโตสทีเนส มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี 276 -194 ก่อนคริสตกาล เป็นชาวกรีก แต่เกิดที่เมือง ไซรีน (Cyrene)ภายใต้การปกครองของกรีก (ปัจจุบันอยู่ในประเทศลิเบีย) เหตุที่กรีกมีอิทธิพลในดินแดนดังกล่าว ก็เนื่องมาจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (356 – 323 ปี ก่อนคริตกาล) กษัตริย์หนุ่มไฟแรงแห่งอาณาจักรมาซีโดเนีย ทำศึกชนะ พระเจ้าดาเรียส ที่ 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย และเดินทัพเข้าสู่ดินแดนอียิปส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเปอร์เซียในปี 332 ก่อนคริสตกาล ตั้งแต่นั้นมาอียิปส์ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาซีโดเนียเชื้อสายกรีก อีราโตสทีเนส (Eratosthenes)เป็นผู้เชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ มีผลงานเด่นในด้านการกำหนดเส้นรุ้ง เส้นแวงของโลก ได้รับสมญานามในยุคนั้นว่า “เบต้า” ภาษากรีกแปลว่า “ยอดฝีมืออันดับสอง” ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รองจากท่านปีธากอรัส ผลงานสุดยอดซึ่งเป็นที่ฮือฮาไปทั้งโลก ตั้งแต่สองร้อยปีก่อนคริสตกาล ตราบจนปัจจุบัน ก็คือ การวัดเส้นรอบวงของโลกโดยใช้เงาดวงอาทิตย์ เมื่อปี 240 ก่อนคริสตกาล ท่านอีราโตสทีเนส เรียนหนังสืออยู่ที่เมือง อเล็กซานเดรีย และเมืองเอเธนส์ ในปี 236ก่อนคริสตกาล ได้รับการแต่งตั้งจาก ปโตเลมี ที่ 3 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าห้องสมุด ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ท่านอีราโตสทีเนส และ อาร์คีมีดีส (Archimedes)เป็นเพื่อนซี้กัน ในปี 194 ก่อนคริสตกาล ท่านอีราโต้สทีเนส ประสบโรคร้ายทำให้ตาบอด และเสียชีวิตในปีต่อมา 

 

 

 

                ผลงานเด่นของท่านอีราโตสทีเนส ที่ยังครองใจนักดาราศาสตร์ทั่วโลก แม้ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยมาสองพันกว่าปีแล้ว ก็คือการคำนวณ “เส้นรอบวงของโลก” โดยใช้เงาของดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ใช้คำพูดเปรียบเปรยว่า ท่านอีราโตสทีเนส มองลงไปยังก้นบ่อน้ำที่เมืองไซอีน พอเงยหน้าขึ้นมาก็บอกได้ว่าโลกมีเส้นรอบวงเท่ากับ 250,000 สตาเดีย แต่เรื่องจริงมีอยู่ว่า ท่านอีราโตสทีเนส ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องสมุดอยู่ที่เมือง อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ได้ยินข่าวเล่าขานอย่างหนาหูว่าในวัน ครีษมายัน (Summer Solstice) ดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงตรงส่องแสงดิ่งลงไปยังก้นบ่อน้ำที่เมือง ไซอีน (Syene) แต่วันเดียวกัน ที่เมือง อเล็กซานเดรีย ดวงอาทิตย์ทำมุมเอียงประมาณ 7 องศากว่าๆ กับแท่งเสาหิน โอเบรีส (Obelisk) ถ้าเป็นคนทั่วๆไปแบบเราๆท่านๆ ก็คงไม่คิดอะไรมาก ฟังหูซ้ายก็ปล่อยออกหูขวาเหมือนไม่มีอะไรในก่อไผ่ แต่นี่เผอิญเป็นนักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญวิชาคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ท่านอีราโตสทีเนสจึงคิดว่าเรื่องนี้ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงเห็นจัง ในปีต่อมาได้ว่าจ้างให้คนเดินทางไปยังเมืองไซอีน เพื่อวัดระยะทางแบบก้าวต่อก้าวให้รู้ว่าเส้นทางยาวเท่าไหร่ ในที่สุดได้ข้อมูลว่า 5,000 สตาเดีย (เป็นหน่วยวัดระยะทางของกรีกในยุคนั้น) ขณะเดียวกันท่านก็เดินทางไปพิสูจน์ปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์ ที่บ่อน้ำในเมืองดังกล่าวด้วยตนเอง ว่าเป็นจริงหรือไม่ ผลปรากฏว่าในวัน ครีษมายัน ดวงอาทิตย์ทำมุมตรงดิ่งลงไปยังก้นบ่อน้ำจริง ท่านเลยรู้ว่าเมืองนี้ตั้งอยู่ที่เส้น Tropic of Cancer ซึ่งดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลกในวันดังกล่าว 
    

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 

      ภาคปฏิบัติ....การคำนวณหาเส้นรอบวงของโลกโดยใช้หลักการของท่าน "อีราโตสทีเนส"

          องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมครูมัธยมที่สอนวิทย์-คณิตจากทั่วประเทศ จำนวน 4 รุ่น และคุณครูเหล่านั้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ

 

 

 

 

 

           ตัวอย่าง "ปฏิบัติการอีราโตสทีเนส" โลกทั้งใบวัดด้วยไม้แท่งเดียว ระหว่างโรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม อ.เมือง นครพนม กับ โรงเรียนม่วงสามสิบ อ.ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี

 

           โรงเรียนคู่นี้ตั้งอยู่ที่เส้นแวงเดียวกัน คือ 104 องศาตะวันออก ทั้งคู่ได้ประสานงานกันทางโทรศัพท์ และเลือกวันที่ 23 กันยายน 2550 เป็นวันปฏิบัติการตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ "ศารทวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน  ในการนี้นักเรียนทั้งสองฝ่ายทำ Shadow Plot เพื่อหามุมเอียงของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (Solar noon) อนึ่งคำว่า "เที่ยงสุริยะ" หมายถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าไปตรงกับ "เส้นแวง" ของสถานที่นั้นๆ เงาของดวงอาทิตย์จะสั้นที่สุดในรอบวันและชี้ไปที่ทิศเหนือแท้ หรือทิศเหนือภูมิศาสตร์ (Geographic North)  

  ทั้งคู่ใช้หลักการ ดังนี้

  1. แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังทุกส่วนของโลกเป็นเส้นตรงเหมือนกันหมด

 2. โลกเป็นวัตถุทรงกลมขนาดใหญ่ ผิวโลกมีความโค้งเสมือนเส้นรอบวง ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ ในแต่ละที่ไม่เท่ากัน

 3. ถ้าทราบระยะทางระหว่างสถานที่ 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้บนเส้นแวงเดียวกัน ประกอบกับค่าความต่างของมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ ก็สามารถคำนวณหาความยาวของเส้นรอบวงโลกได้ โดยใช้สูตร

 

       (ระยะทางระหว่างสถานที่ / ค่าองศาของความต่าง) x 360  
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       ปฏิบัติการ"อีราโตสทีเนส" ในต่างประเทศ

          โรงเรียนมัธยมและประถมหลายประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และให้เด็กๆเกิดความสนุกสนานกับดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทำด้วยมือตนเองใช้ห้องเรียนกลางแจ้ง บางประเทศก็ให้พ่อแม่ผู้ปกครองมาช่วยเป็นที่ปรึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       สิ่งที่อยากจะทำต่อไป...."วัดโลกทั้งใบ ไทย-กัมพูชา"

          สิ่งที่อยากมากที่สุดก็คือ ทำ"ปฏิบัติการอีราโตสทีเนส"  โดยเลือกสถานที่ "ปราสาทภูเพ็ก" จังหวัดสกลนคร คู่กับ "ปราสาทบายน" เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา เนื่องจากปราสาททั้งคู่อยู่ในเส้นแวงเดียวกัน คือ 103-56 และ 103-51องศาตะวันออก และสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เหมือนกัน น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ความร่วมมือทางดาราศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างสองประเทศ และด้วยบรรยากาศอันดีระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กับท่านนายกฮุนเซน น่าจะมอบให้กระทรวงศึกษาธิการของไทยประสานเรื่องนี้ดู โดยฝ่ายไทยควรมอบให้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเป็นเจ้าภาพ เลือกโรงเรียนมัธยมในจังหวัดสกลนคร เช่น พรรณาวุฒาจารย์ สกลราชวิทยานุกูล ดงมะไฟวิทยา ศึกษาสงเคราะห์ และพังโคนวิทยาคม เป็นต้น เป็นผู้ปฏิบัติ.....จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเยาวชนของทั้งสองประเทศ ท่าน สส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดสกลนครช่วยผลักดันด้วยนะครับ...... 

 

 

 

 

            21 มีนาคม 2555 ตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox) แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร กลางวันเท่ากับกลางคืน วันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงหน้าประตู "ปราสาทภูเพ็ก" สกลนคร ประเทศไทย และ"ปราสาทบายน" เสียมราช ประเทศกัมพูชาในเวลาเดียวกัน เพราะปราสาททั้งคู่อยู่ที่แวง 103 E และทั้งคู่ก็หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้เหมือนกัน เป็นปราสาทขอมที่สร้างในยุครัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงน่าจะทำ "ปฏิบัติการอีราโตสทีเนส" เพื่อวัดเส้นรอบวงของโลก หากทำได้ปฏิบัติการนี้จะเป็นครั้งแรกของโลกที่เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยใช้โบราณสถานขอมพันปีเป็นอุปกรณ์  

           







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ