ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




หลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร

หลากมิติอารยธรรม 4 ยุค ที่ "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร

          บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร เป็นชุมชนที่ผ่านมิติธรณีวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ การตั้งถิ่นฐานของบรรพชนก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์นำหน้าโดยอารยธรรมทวารวดี เปลี่ยนมือมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม ส่งต่อไปยังอาณาจักรล้านช้าง เข้าสู่อารยธรรม แห่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น จวบจนปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสกลนคร

          ชุมชนบ้านท่าวัด ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร ดำเนินการโดยสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เนื่องจากมีเรื่องราวน่าสนใจหลากหลาย ที่ภาษาการท่องเที่ยวใช้คำว่า “จุดขาย” (Gimmick)

 

บ้านท่าวัดอยู่ริมหนองหารฝั่งทิศตะวันตก หากมองไปยังฝั่งทิศตะวันออกจะเห็นโบสถ์คาทอลิกบ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว 

 

          องค์ประกอบทางธรรมชาติที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ “หนองหาร” เป็นหลักฐานสำคัญทางธรณีวิทยาที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกตั้งแต่ยุคที่เป็นทะเล และยกตัวขึ้นมาเป็นแผ่นดิน จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “หลุมยุบ” (Sinkhole)  และความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของทรัพยากรประมงน้ำจืด เป็นแหล่งอาหารหล่อเลี้ยงชุมชนรอบข้างมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จวบจนถึงยุคสมัยของเราๆท่านๆในปัจจุบัน 

        เรื่องราวการกำเนิดหนองหารในภาพลักษณ์ของนิยายอมตะแบบจักรๆวงศ์ๆที่ติ่นเต้นเร้าใจ เล่าขานได้ชั่วลูกชั่วหลาน ของ “ท้าวผาแดง และนางไอ่คำ” ที่ผสมผสานระหว่างศาสนาความเชื่อ และการชิงรักหักสวาทระหว่างมนุษย์ธรรมดากับพญานาคผู้ทรงอิทธฤทธิ์ จนทำให้แผ่นดินล่มสายกลายเป็นทะเลสาปหนองหารหลวง ขณะเดียวกันก็ยังมีนิยายทำนองเดียวกันแต่เป็นอีกเวอร์ชั่นคือเรื่อง “พญาสุระอุทก” กับพญานาคธนมูล และฟานด่อน ที่สะท้อนยุคขอมเรืองอำนาจ
 

 

            สิ่งที่หลงเหลืออยู่ของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และคำจารึก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าชุมชนแห่งนี้เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอารยธรรมทวารดีที่นำพุทธศาสนามายังดินแดนแห่งนี้ราว 1,500 ปีที่แล้ว และต่อเนื่องมายังยุคขอมเรืองอำนาจซึ่งมีทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เรื่อยมายังยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง ที่นำวัฒนธรรมและภาษาลาวเข้ามาฝังรากลึกในดินแดนแห่งนี้จวบจนปัจจุบัน 

เจดีย์ หรือภาษาลาวล้านช้างเรียกว่า “พระธาตุ” ที่บ้านท่าวัด แม้ว่าสร้างในสมัยปัจจุบันแต่ก็สะท้อนให้เห็นอิทธิพลที่ยังไม่เสื่อมคลายของอาณาจักรล้านช้าง เป็นสิ่งก่อสร้างที่เด่นชัดเห็นได้แต่ไกล สมกับเป็น Landmark ของสถานที่ เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายในราว ค.ศ.1432 หรือ     พ.ศ.1975 อาณาจักรล้านช้างได้เข้ามาแทนที่ โดยมีศูนย์กลางอยูที่เมืองหลวงพระบาง ดินแดนในภาคอีสานตอนบนจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของล้านช้าง และเป็นที่มาของวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งถึอศาสนาพุทธนิกายเถรวาท พูดภาษาลาว และสร้างเจดีย์ในรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า “พระธาตุ”  
 
มารู้จักกับบ้านท่าวัด
 ปัจจุบันบ้านท่าวัด แบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือบ้านท่าวัดเหนือ หมู่ที่ 3 และบ้านท่าวัดใต้ หมู่ที่ 9 ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาร ทางฝั่งด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองสกลนคร ขึ้นกับตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร ในราวยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณบ้านท่าวัดกลายเป็นบ้านเมืองร้าง การตั้งถิ่นฐานของชุมชนบ้านท่าวัดที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 170 กว่าปีที่แล้ว โดยเป็นการอพยพเข้ามาของกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ เริ่มต้นจากเผ่าย้อ เผ่ากะเลิง ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ห่างจากบ้านท่าวัดไปประมาณ 7-8 กม. โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งหนองหารบริเวณคุ้มวัดใต้ในปัจจุบันเนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ ภายใต้การนำของนายเชียงนนท์ ต้นตระกูลของสกุล “นนท์สะเกต” จากนั้นมีอีก 2-3 ครอบครัวย้ายตามมา ได้แก่ต้นตระกูลของ หอมจันทร์ และสาขันธ์โคตร กลุ่มต่อมาเป็นเผ่าผู้ไท กะโส้ และลาว จากบ้านหนองผือ อำเภอกุสุมาลย์ ซึ่งประสบกับความแห้งแล้งติดต่อกันหลายปี ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณคุ้มวัดเหนือ จากเสียงเล่าลือถึงความอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีผู้คนจากทุกสารทิศ เช่น ชนเผ่าลาวจากอุบลราชธานีอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นและสืบเนื่องจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของหมู่บ้านแห่งนี้ จึงขอท้าวความตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไล่มาเรื่อยจนถึงยุคของจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน
 

 

 

 

 

ยุคดึกดำบรรพ์
                หลายร้อยล้านปีก่อนดินแดนภาคอีสานทั้งหมดเป็นทะเล และถูกยกตัวขึ้นมาเป็นแผ่นดินเรียกว่า “แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร” ราว 250 - 70 ล้านปีที่แล้ว ตรงกับยุคของไดโนเสาร์ที่มีชื่อทางวิชาการว่า   เมโซโซอิก (Mesozoic) ดินแดนแถบนี้จึงมีหินเกลือสะสมอยู่ใต้ดินจำนวนมาก หลายแห่งหินเกลืออยู่ตื้นกลายเป็นพื้นที่ดินเค็ม หลายแห่งก็มีอุตสาหกรรมสูบเอาน้ำเค็มขึ้นมาตากแห้งทำเกลือสินเทาว์ เช่น อำเภอ คำตากล้า และอำเภอวานรนิวาส ขณะเดียวกันก็มีการขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์มากมายทั่วภาคอีสาน ที่จังหวัดสกลนครก็มีฟอสซิลจำนวนมากบริเวณบ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม
จากการที่มีหินเกลือสะสมอยู่ใต้ดินตื้นๆจำนวนมากบริเวณที่เป็นหนองหารในปัจจุบัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เรียกว่า “หลุมยุบ” (Sinkhole) กลายเป็นทะเลสาปตื้นๆขนาดใหญ่ และแปรสภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) เชื่อมโยงกับแม่น้ำโขงโดยลำน้ำก่ำ ในฤดูฝนมีน้ำขังเอิ่อล้นเป็นบริเวณกว้าง ส่วนฤดูแล้งน้ำไหลลงแม่น้ำโขงกลายเป็นบึงชื้นแฉะ หรือ”ป่าบง ป่าทาม” เหมือนกับบริเวณอำเภอ   ศรีสงคราม ต่อมาในช่วงรัฐบาล จอมพลแปลก พิบูลสงคราม พ.ศ.2484 – 2496 ได้มีการสร้างประตูควบคุมระดับน้ำชื่อว่า “ประตูน้ำก่ำ” ต่อมาราว พ.ศ.2535 ได้สร้างประตูน้ำใหม่โดยใช้เงินกู้จากประเทศญี่ปุ่น

 

ภาพวาดแสดงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ที่เรียกว่า “หลุมยุบ” (Sinkhole) เนื่องจากมีหินเกลือสะสมอยู่เป็นจำนวนมากในระดับตื้น เมื่อหินเกลือถูกน้ำกัดเซาะเป็นเวลานานก็ยุบตัว กลายเป็นบึงขนาดใหญ่ และวิวัฒนาการเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ

 

ภาพถ่ายจาก Google Earth แสดงให้เห็นประตูบังคับระดับน้ำ ที่บริเวณต้นทางของลำน้ำก่ำ ทำให้หนองหารแปรสภาพจากพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Reservoir) ดังที่เห็นในปัจจุบัน 

 

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

 
                จากการค้นพบโบราณวัตถุที่เป็นภาชนะดินเผา และเครื่องใช้ต่างๆ บวกกับการส่งตัวอย่างไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ที่สถาบันชิคาโก้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้รู้ว่าชุมชนที่บ้านท่าวัดมีอายุไม่น้อยกว่า 5,500 ปี ตรงกับยุควัฒนธรรมบ้านเชียงตอนต้น ซึ่งกำหนดอายุไว้ตั้งแต่ 5,600 – 3,000 ปี

 

ภาชนะดินเผา และเครื่องประดับสัมฤทธิ์ ที่พบในบริเวณบ้านท่าวัด แสดงให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นเพราะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่

 

ยุคทวารวดี

 
                เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางแล้วว่า อารยธรรม “ทวารวดี” มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย เข้ามายังประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ 11 มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดนครปฐม และราชบุรี ส่วนในภาคอีสานศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “ฟ้าแดดสงยาง” อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และแผ่อิทธิพลมายังบริเวณบ้านท่าวัดในระยะต่อมา ด้วยอิทธิพลของอารยธรรมทวาราวดีทำให้ดินแดนบริเวณนี้เข้าสู่  “ยุคประวัติศาสตร์” เป็นครั้งแรกด้วยการมีศาสนาพุทธ และใช้อักขระแบบอินเดียโบราณ แม้ว่าเรายังค้น   ไม่พบหลักฐานว่าผู้คนที่บ้านท่าวัดในยุคนั้นมีหน้าตาอย่างไร แต่จากหลักฐานเทียบเคียงจากศิลาจารึกและ     รูปสลัก ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ทำให้ทราบว่าคนชั้นสูงที่มีอำนาจปกครองน่าจะเป็นชาวต่างถิ่นที่มีเชื้อสายอินเดีย ส่วนผู้คนทั่วไปประเภทชาวบ้านธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ น่าจะเป็นคนในท้องถิ่นที่ยกระดับจากวัฒนธรรมบ้านเชียงและชุมชนที่ตั้งหน้าตั้งตาหาอยู่หากินไปวันๆโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก  มาเป็นผู้คนที่นับถือศาสนาพุทธ และดำรงชีวิตอยู่ภายใต้การปกครองที่มีกฏระเบียบ มีรูปแบบการอยู่อาศัยเป็นตัวเมือง หรือเป็นส่วนหนึ่งของเมืองราชธานี  

 

 

 

 

 

 

หลักฐานทางโบราณคดี เป็นแท่งเสมาสกัดจากหินทรายในรูปแบบศิลปะยุคทวารวดี ตั้งแสดงอยู่ที่บ้านท่าวัดเหนือ แสดงว่าบริเวณนี้ต้องเป็นศาสนสถานของพุทธนิกายเถรวาท ที่แผ่อิทธิพลเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11 และเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาจนถึง พุทธศตวรรษ ที่ 15 จากนั้นอารยธรรมขอมก็เข้ามาแทนที่ ทำให้ดินแดนหนองหารแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม  
 
          เป็นที่น่าคิดอย่างหนึ่งว่า อารยธรรมทวารวดีที่แผ่เข้ามายังบริเวณริมหนองหารเมื่อพันกว่าปีที่แล้วจะต้องมีปัญหากับคนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนหรือไม่ เพราะดินแดนแห่งนี้ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าแต่มีการตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งนักวิชาการตั้งชื่อบรรพชนเหล่านี้ว่า "วัฒนธรรมบ้านเชียง" ในความเห็นส่วนตัวผมเชื่อว่ามีปัญหาแน่ๆเพราะสัญชาติญาณของมนุษย์ไม่ว่าจะมีอารยธรรมหรือบ้านป่าเมืองเถื่อนย่อมมีสิ่งเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ "หวงแหนในสมบัติ และดินแดน" เรื่องนี้ยังไม่มีการค้นคว้าอย่างเป็นทางการและยังไม่พบจารึกที่แสดงถึงการต่อสู้แย่งชิงดินแดน ผมขอยกตัวอย่างการเข้ายึดครองดินแดนในทวีปอเมริการะหว่างชาวยุโรปกับชนเผ่าพื้นเมือง มีการต่อสู้ด้วยอาวุธแต่ชาวยุโรปมีเทคโนโลยีทางทหารที่ดีกว่าจึงเป็นฝ่ายชนะและได้ครอบครองดินแดนเหล่านั้นเป็นอาณานิคม ส่วนเจ้าของเดิมก็ถูกเปลี่ยนฐานะเป็นประชาชนชั้นสองไปโดยปริยาย เป็นไปได้ว่าผู้เข้ามาใหม่ที่นักวิชาการตั้งชื่อว่า "ทวารวดี" มีอารยธรรมและระบบการเมืองการปกครองที่เพียบพร้อม จึงเอาชนะเจ้าของถิ่นเดิมไม่ยากนักและที่สุดชาวพื้นเมืองก็ถูกกลืนกลายเป็นประชาชนในอาณัติที่ต้องเข้าระบบการปกครองตามระเบียบ
           อย่างไรก็ตาม ผมก็มีอีกแง่มุมหนึ่งคือผู้มาใหม่เป็นชาวพุทธนิกายเถรวาทที่ยึดหลักธรรมะไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าฟัน อาจจะเปิดการเจรจาแบบสันติวิธีให้อยู่ร่วมกันได้ และก็ช่วยเหลือถ่ายทอดความรู้พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพื้นเมืองให้ดีขึ้น ที่สุดก็กลายเป็นสังคมเดียวกันและนับถือศาสนาพุทธอย่างถ้วนหน้าในรุ่นลูกรุ่นหลาน
  
 
 
 
 
 
ถ้าดูตามข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่ข้างบนนี้ เห็นได้ว่าอารยธรรม "ทวารวดี" น่าจะมีรากฐานจากอาณาจักร "ศรีวิชัย" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ตอนใต้ของแหลมทองและเกาะชวา เพราะดูจากศิลปะของพระพุทธรูปที่โบโรบุโด หรือบุโรพุทโธ มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก 
 
 
 
 
          พิจารณาดูศิลปะในเสมาหินทรายยุคทวารวดีซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในบริเวณวัดใกล้ๆกับเจดีย์ฟ้าแดดสงยาง เห็นได้ชัดเจนว่าต้องเป็นเชื้อสายอินเดียโดยไม่ต้องตรวจ "ดีเอ็นเอ" แต่ก็น่าสงสัยว่าพอถึงยุคปัจจุบันพวกเขาหายไปไหนหมด เพราะเราๆท่านๆที่เป็นคนที่นี่ไม่เหลือร่องรอยหน้าตาแบบนี้เลย จมูกที่เคยโด่งก็กลายเป็น "ดั่งแหมบ" ตาโปนๆก็กลายเป็นตาตี่ๆ หรือว่าพวกเขาถูกชาวขอมล้างเผ่าพันธ์ุไปหมดในยุคนั้น เนื่องจากผู้คนเชื้อสายทวารวดีหน้าตาเหมือน "แขกจาม" ซึ่งเป็นคู่แค้นอย่างแรงกับชาวขอม จึงต้องถูกกำจัดให้หมดไปไม่ให้เหลือเชื้อไว้สืบสกุล เรื่อง ดีเอ็นเอ ไม่ใช่พูดเล่นนะครับ ผมมีประสบการณ์จากการที่ไปปฏิบัติงานในตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน ภายใต้โครงการของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง (ดอยตุง) ร่วมกับองค์การสหประชาชาติ ได้พบเห็นผู้คนจำนวนมากที่จังหวัด "บาดักชาน" มีผมสีแดง ผิวขาว ตาสีฟ้าๆ เหมือนชาวยุโรปยังกะแกะ พวกเขายืนยันว่าบรรพบุรุษเป็นชาวกรีกที่มากับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว พูดแบบไทยๆก็คือฝรั่งชาวกรีกมาใข่ทิ้งไว้ พวกเขาสืบเชื้อสายมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานจึงยังคงรักษา ดีเอ็นเอ ยุโรปเอาไว้ได้ ขณะเดียวกันผมก็ได้พบผู้คนอีกเผ่าในประเทศนี้มีหน้าตาผิวพรรณออกไปทางเอเซีย (มองโกล) ก็ได้ข้อมูลว่าเจงกีสข่าน กุบไบลข่าน มาใข่ทิ้งไว้เช่นกัน แสดงว่าถ้าจะศึกษาเรื่องราวอารยธรรมก็ต้องเอาข้อมูล "ด้านพันธุกรรมศาสตร์" เข้าไปประกอบด้วย 
ยุคขอมเรืองอำนาจ
                เป็นที่ทราบดีว่าดินแดนหนองหารแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้อิทธิพลของอารยธรรมเขมรโบราณ หรือรู้จักกันอีกนัยหนึ่งว่า “ขอม” เราจึงมีโบราณสถานศิลปะขอมหลายแห่ง เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม และพระธาตุเชิงชุมซึ่งถูกอิทธิพลศิลปะลาวล้านช้างสร้างรูปทรงพระธาตุคล่อมตัวปราสาทของเดิม
 

จากข้อมูลการค้นคว้าทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า อิทธิพลของอาณาจักรขอมเข้ามาสู่ดินแดน     หนองหาร ราวพุทธศตวรรษ ที่ 15 – 16 (พ.ศ.1400 – 1500) โดยเข้ามาแทนที่อารยธรรมทวารวดี ผู้คนก็ได้รับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ไปเป็นศาสนาฮินดูสลับกับศาสนาพุทธนิกายมหายาน ขณะเดียวกันการสร้างตัวเมืองริมฝั่งหนองหารก็เลียนแบบสถาปัตยกรรมของเมืองพระนครซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม มีคูเมืองรูปทรงสี่เหลี่ยม เข้าใจว่าบริเวณบ้านท่าวัดถูกใช้เป็นที่ทำการเกษตรเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ 

พระพุทธรูปนิกายมหายาน ในรูปแบบพระโพธิสัตว์ศิลปะขอม สกัดจากหินทราย ตั้งแสดงอยู่ที่ศูนย์วัฒธรรม บ้านท่าวัดเหนือ เข้าใจว่าสร้างในสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมัน  ที่ 1 ซึ่งเป็นกษัตริย์ขอมที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน หรือไม่ก็ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาพุทธอีกพระองค์หนึ่ง
 

พระพุทธรูป "ศิลปะขอม" ที่บ้านท่าวัด ริมหนองหาร สกลนคร

 

พระพุทธรูป "ศิลปะขอม" ที่ปราสาทบันเตยกะได เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา 

 

เปรียบเทียบรูปลักษณ์ของพระพุทธรูปที่บ้านท่าวัด สกลนคร ประเทศไทย กับพระพพุทธรูปที่ปราสาทบันเตยกะได เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก น่าเชื่อว่าสร้างในสมัยเดียวกันในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

เนื่องจากชาวขอมนับถือศาสนาฮินดู สลับกับศาสนาพุทธนิกายมหายาน บางครั้งก็ผสมปนเปไปพร้อมๆกัน ดังนั้นที่บ้านท่าวัดจึงมีทั้งพระพุทธรูปมหายาน และสัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู ได้แก่ฐานโยนีและศิวะลึงค์ โบราณวัตถุในภาพนี้เป็นฐานโยนีสกัดจากหินทราย ส่วนศิวะลึงค์หายไปแล้ว

 

ฐานโยนีในภาพ ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถ บ้านท่าวัดเหนือ ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสวงหาโชคลาภของราษฏรทั่วไป โบราณวัตถุชิ้นนี้ยืนยันว่าบริเวณดังกล่าวต้องเป็นปราสาทฮินดูมาก่อน เพราะโยนีและศิวะลึงค์ เป็นเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาในวันสำคัญ

 

 

เสมาหินทรายศิลปะผสมระหว่างทวารวดีกับขอม เป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียวที่มีศิลปะแบบนี้ พบที่บ้านม้า อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เสียดายว่าหายไปนานแล้วยังจับมือใครดมไม่ได้ แสดงว่าในช่วงรอยต่อทั้งสองอารยธรรมต้องมีการถ่ายทอดหรือลอกเลียนแบบศิลปะระหว่างกันอยู่ช่วงหนึ่ง  

 

ยุคอาณาจักรล้านช้าง

                ปลายพุทธศตวรรษ ที่ 19 อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงและอาณาจักรล้านช้างได้เข้ามาแทนที่ กษัตริย์ที่สำคัญของล้านช้างได้แก่เจ้าฟ้างุ้ม มีเมืองหลวงอยู่ที่นครหลวงพระบาง และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เวียงจันทร์ จากการค้นคว้าทางโบราณคดีพบว่าอิทธิพลของล้านช้างทำให้บริเวณบ้านท่าวัดเจริญขึ้นมาอย่างมาก และได้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง “ศรีเชียงใหม่หนองหาร” ศิลาจารึกอักษรไทน้อย ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดศรีเชียงใหม่ บ้านท่าวัดใต้ แสดงถึงอารยธรรมของอาณาจักรล้านช้าง ที่ทำให้บ้านท่าวัดเจริญขึ้นเป็นเมือง ในราวพุทธศตวรรษ    ที่ 22 โดยจารึกนี้ได้ระบุศักราช 998 ตรงกับปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ.2179 

 

พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดศรีเชียงใหม่ บ้านท่าวัดใต้ แสดงให้เห็นการเฟื่องฟูของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ในดินแดนแถบนี้ และน่าจะมีการสร้างพระอุโบสถคล่อมศาสนสถานที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในภาคอีสานตอนบนที่ได้รับอิทธิพลล้านช้าง ดังนั้นบ้านท่าวัดจึงเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการตั้งถิ่นฐานของบรรพชนตั้งแต่ชุมชนธรรมดา จนถึงอารยธรรมระดับเมือง

 

 

 

พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บ้านท่าวัดเหนือ 

 

หลายท่านมีคำถามว่าอิทธิพลของกรุงศรีอยุธยาได้เข้ามาถึงดินแดนหนองหารหลวง และที่บ้านท่าวัดแห่งนี้หรือไม่ คำตอบก็คือยังไม่ปรากฏหลักฐานใดๆทั้งจารึก โบราณวัตถุ โบราณสถาน ที่เป็นศิลปะของอยุธยาเลย แสดงว่าในยุคนั้นกรุงศรีอยุธยาไม่สนใจดินแดนแถบอีสานเหนือ อาจจะเพราะว่าไม่ต้องการเปิดศึกหลายด้านแค่ลำพังพม่ากับเขมรก็หนักพอแล้ว จึงไม่อาจขยายกำลังกองทัพเข้ามาที่นี่ ประกอบกับอาณาจักรล้านช้างก็ไม่ธรรมดาพวกเขามีความพร้อมทั้งกำลังทหารและข้าวปลาอาหารที่สมบูรณ์ สู้เป็นมิตรกันแบบต่างคนต่างอยู่ดีกว่า
 
ยุคอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                ในช่วงปลายยุคอาณาจักรล้านช้างต่อเนื่องกับยุคต้นของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ อาจเกิดความไม่สงบขึ้นในดินแดนบ้านท่าวัด ทำให้กลายเป็นเมืองร้างไปช่วงหนึ่ง ต่อมาประมาณ 170 กว่าปีที่แล้วได้มีการอพยพเข้ามาอยู่ใหม่ของชนเผ่าต่างๆ ดังนี้
                การตั้งถิ่นฐานบ้านท่าวัดตั้งขึ้นบริเวณศรีเชียงใหม่ เริ่มต้นเมื่อประมาณ ๑๗๐ กว่าปี โดยมีร่องรอยของการตั้งชุมชนโบราณในอดีตให้ปรากฏเห็นในปัจจุบันคือ ฐานสถาปัตยกรรมที่ใช้วัสดุศิลาแลงของสิ่งก่อสร้างคงหลงเหลืออยู่ เป็นหลักฐานว่าที่บ้านท่าวัดมีผู้คนมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยผู้คนที่อยู่บริเวณท้องถิ่นใกล้เคียงได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งก่อนและในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นก็ได้มีบุคคลที่อยู่ห่างออกไปได้ทยอยอพยพเข้ามาแล้วก็ได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าวัดเป็นหลักฐานว่าที่บ้านท่าวัดมีผู้คนมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ได้กล่าวว่าชุมชนแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ๓ กลุ่ม ดังนี้คือ
            ชนกลุ่มแรก ได้แก่พวกเผ่าย้อ เผ่ากะเลิงจากบ้านงิ้วด่อน และคูสนามซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จากบ้านท่าวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๗-๘ กม. ชนกลุ่มนี้ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางตอนใต้ของบ้านท่าวัด ริมฝั่งหนองหารโดยการนำของตาเชียงนนท์ซึ่งเป็นหัวหน้า เป็นต้นสกุลนนท์สะเกตด้วยเหตุผลที่ว่า บริเวณหนองหารแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์กว่าที่อยู่ก่อนครั้งแรกก็มี ๒-๓ ครอบครัวแล้ว      ก็ติดตามกันเข้ามาและก็ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งหนองหาร ซึ่งเป็นคุ้มท่าวัดใต้ในปัจจุบัน เป็นต้นตระกูล นนท์สะเกต หอมจันทร์ สาขันธ์โคตร
                ชนกลุ่มที่สอง ได้แก่ พวกผู้ไทย กะโซ่และลาว จากบ้านหนองผือจากอำเภอกุสุมาลย์ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านท่าวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐ กม. เป็นชนกลุ่มที่สองที่พากันอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งหนองหารตอนเหนือบริเวณนี้จึงเรียกว่าคุ้มเหนือหรือคุ้มหนองผือหรือคุ้มผือด้วยเหตุที่พวกอพยพเข้าเป็นชาวบ้าน หนองผือเหตุผลที่อพยพเข้ามาก็เนื่องจากถิ่นฐานเดิมเกิดความแห้งแล้งติดต่อกันมาหลายปี ขาดน้ำในการทำไร่ทำนาทำเกษตรไม่ได้ผล แต่พอทราบข่าวจากการลงมาหาปลาในน้ำหนองหาร แล้วกลับไปเล่าถึงความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณหนองหารให้ฟังว่า ถ้าอยากอยู่ดีกินดีให้ไปอยู่เมืองศรีเชียงใหม่เป็นบ้านเก่าเมืองหลัง (เมืองฮ้าง) ในน้ำมีปลาในป่ามีสัตว์ แข้ก็หลาย คุ้มเหนือเป็นคุ้มที่มีคนอพยพเข้ามามากที่สุด พวกอพยพเข้ามาตอนแรกมียายบัว (พวกโซ่) ตาสีแพง ตาทิดสา ตาจันโท คำมั่นหล้า ยายพา ยายวันนา เป็นต้นตระกูล ทุมเชียงเข้ม ดาโอภา นานาวัน มูลทองสุข ดาบสมเด็จ มนต์อินทร์ ในปัจจุบัน
                ชนกลุ่มที่สาม กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นก็มีพวกลาวจาก บ้านสร้างมิ่ง จังหวัดอุบลราชธานี อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าวัดหลังกลุ่มที่สอง เพียงไม่กี่ปี สาเหตุคือถิ่นเดิมเกิดความแห้งแล้งติดต่อกันหลายปีเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่สอง ตอนแรกเข้ามาไม่มีนามสกุล โดยเข้ามาหักล้างถางพงจับจองที่ดินตั้งหลักแหล่งระหว่างคุ้มเหนือกับคุ้มใต้ ซึ่งต่อมาบริเวณดังกล่าวเรียกว่าคุ้มกลาง ต้นตระกูลของสกุลฮัมภาราช และดาบสีพาย จากบัดนั้นจนถึงบัดนี้จึงได้กลายมาเป็นชุมชนบ้านท่าวัด ปัจจุบันได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ หมู่คือ หมู่ ๓ และหมู่ ๙ ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร (พูลสวัสดิ์ มูลตองคะ : ๒๕๕๑)
            ส่วนนามสกุลที่อพยพเข้ามาภายหลัง ทั้ง ๓ กลุ่ม นี้คือกลุ่มบ้านท่าวัดน้อย มาจากจังหวัดศรีสะเกษ มาตั้งอยู่คุ้มเหนือก็มี แต่อยู่ไม่ได้เนื่องจากไม่ถนัดกับพื้นที่ทำมาหากิน จึงได้อพยพไปอยู่บ้านศรีวิชา  นอกจากนี้ยังมีตระกูลชมชายผลมาจนถึงปัจจุบัน
                จะเห็นได้ว่าการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าวัดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุของการคมนาคม หนีสภาพความแห้งแล้ง ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต จึงได้มีการแสวงหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า ซึ่งพื้นที่แห่งใหม่ที่บ้านท่าวัดนี้มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้หนาแน่น มีสัตว์ป่าและปลามากมายในหนองหาร มีน้ำสมบูรณ์ตลอดปี การอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งที่อยู่ใหม่ที่บ้านท่าวัดจะเห็นว่ามีกลุ่มคนสามกลุ่มคนที่เข้ามาตาม ทั้งนี้โดยชาวย้อสกลได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่คุ้มใต้เป็นอันดับแรก ส่วนชาวบ้านหนองผือเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่คุ้มเหนือเป็นอันดับที่สอง และพวกลาวจากจังหวัดอุบลเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่คุ้มกลางเป็นอันดับสุดท้าย ปัจจุบันได้มีการอพยพผสมผสานกันทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน และสามารถดำรงชีวิตอยู่รวมกันได้อย่างผาสุก
   
บ้านท่าวัดในปัจจุบัน
                เป็นชุมชนที่ผสมผสานระหว่างชนเผ่าต่างๆที่ได้หลอมรวมกันเป็นราษฏรส่วนหนึ่งของจังหวัดสกลนคร ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีแต่ดั่งเดิมของตนไว้ ปัจจุบันหมู่บ้านท่าวัดได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงอนุรักษ์ โดยการสนับสนุนของจังหวัดสกลนครร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผู้ที่ไปท่องเที่ยวที่นี่จะได้สัมผัสกับสิ่งที่น่าสนใจ กล่าวคือ
                1.ธรรมชาติอันงดงามของบรรยากาศหนองหาร ทั้งยามเช้าและยามเย็น และหากได้มีการนั่งเรือชมทิวทัศน์ทางน้ำด้วยแล้ว จะได้เห็นความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์น้ำนานาชนิด รวมทั้งได้ชมวิถีชีวิตการประมงของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ตลอดจนดอนที่อยู่กลางน้ำ
                2.วัดเก่าแก่ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน อย่างวัดกลางศรีเชียงใหม่ และวัดบ้านท่าวัดเหนือ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคล้านช้าง อีกทั้งยังได้นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทำบุญ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว อนึ่ง พิพิธภัณฑ์วัดกลางศรีเชียงใหม่ ได้จัดสร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งที่ได้ทรงเสด็จนำคณะครูอาจารย์ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2532 และจังหวัดสกลนครได้สนองพระราชดำริ จัดสร้างพิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2534
                3.สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาชนิดต่างๆ และงานฝีมือของท้องถิ่น จำพวกเสื่อกก ผ้าทอ กระติบข้าว รวมทั้งได้สัมผัสกับอาชีพเกษตรกรรมของชาวบ้านตามฤดูกาล 
                4.แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนอื่นๆที่สามารถเชื่อมโยงกันทางเรือรอบๆหนองหาร ซึ่งสะท้อนบรรยากาศของนิทานแห่งความรักอันลือลั่น ในเวอร์ชั่น ท้าวผาแดงและนางไอ่คำ บวกกับนิทานอมตะในเรื่องของพระยาสุระอุทก กับพญานาคธนมูล ซึ่งทั้งสองเรื่องลงเอยที่การกำเนิดหนองหาร และดอนต่างๆ ที่เราๆท่านๆเห็นในปัจจุบัน
                5.สำหรับท่านที่สนใจในปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาก็จะได้สัมผัสกับผลพวงของ “หลุบยุบ”  ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เมโสโซอิก เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว
 
        
 
        สรุป
          บ้านท่าวัด มีหลักฐานของการทับซ้อนทางอารยธรรมตั้งแต่ยุคทวาราวดี ขอมเรืองอำนาจ ล้านช้าง และรัตนโกสินทร์ และที่น่าสงสัย (ยังหาคำอธิบายไม่ได้) ก็คือการพบ "เศียรพระพุทธรูป" รูปร่างคล้ายศิลปะกรีก (Greco Buddhism) จากดินแดน "คันธาราช" (Gandhara) ปัจจุบันเป็นรอยต่อระหว่างประเทศอัฟกานีสถานกับปากีสถาน หรือศิลปะยุค "คุปตะ" (Gupta Period) จากเมืองมะธุรา ประเทศอินเดีย ...... ทำไมจึงมาอยู่ที่นี่? 
      ความเห็นส่วนตัว พระพุทธรูปศิลปะนี้อาจจะเป็นการเชื่อมโยงจากอินเดียยุค "คุปตะ" ที่รับอิทธิพลจากศิลปะกรีก และเป็นต้นแบบของพระพุทธรูปยุคทวาราวดีในประเทศไทย   
 
พระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี ขอมเรืองอำนาจ ....... ศิลปะกรีก หรือคุปตะ ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บ้านท่าวัดเหนือ
 
ต้นแบบของพระพุทธรูปยุคทวาราวดี? ...... เปรียบเทียบเศียรพระพุทธรูประหว่าง "ทวาราวดี" กับ "ศิลปะกรีก?"
 
เศียรพระพุทธรูปที่บ้านท่าวัดเหนือเปรียบเทียบกับศิลปะกรีกจากประเทศปากีสถาน
 
เศียรพระพุทธรูปที่บ้านท่าวัดเหนือกับพระพุทธรูปศิลปะ "คุปตะ" จากประเทศอินเดีย
 
ฐานโยนีจากยุคขอมเรืองอำนาจที่บ้านท่าวัดเหนือ
 
 






Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ