ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ

 

 ภูเพ็กนครที่สาปสูญ

เมกกะโปรเจคพันปีซ่อนเร้นกลางป่า

The Lost Realm of Phupek                                                                                                           

Brief story of Prasat Phupek

“Prasat Phupek” or “Phra Tad Phupek” is present name of an ancient Khmer temple located on the mountaintop 520 meters from sea level at Ban Phupek, Tombon Na Hua Bor, Amphur Panna Nikom, Sakon Nakhon province. This temple is only half finished due to the unknown reason, so far there is no any inscription found to indicate when it was built. The only one best evidence of tracing back to history are “unfinished rock cutting and halfway of construction” that showed sign of sudden stop working. This scenario points to the reign of King Jayavarman VII of ancient Khmer Empire during A.D. 1180 – 1220 because many temples are built in hurried fashion and left unfinished, more over the Khmer King name Jayavarman VIII who reigned after his death was on the opposite political and religious side. Many Buddha images in many temples at the Royal Angkor City were destroyed it is one of the strong reasons why Prasat Phupek was left unfinished.

            On the side of legend Prasat Phupek is named after the “Pek Star” local name of Planet Venus, this story tell conflict between women party and men party who fighting for the right to possess Lord Buddha’s relic that Phra Maha Kassapa brought from India. The conflict ends up with competition to build a stone temple in one night and stop at the sight of Pek Star to see who win. Women party chooses to build temple at Narai Cheng Weng Park near Nong Han Laung City where men party chooses the site on mountaintop of Doi Tan. At the end men party happens to lose because they were cheated to stop working by the sight of fake Pek Star made of floating lantern by women party, this is why Prasat Phupek has her name.

            Scientifically speaking Prasat Phupek is aligned with important astronomical events called equinoxes and solstices in order to follow the Saka Calendar. On every vernal equinox 21st March and autumnal equinox 23rd September, sunrise will appear at center of east gate. A foundation sandstone block of 56 Centimeter by 56 Centimeter is found to fit with sunrise on important zodiacs of Saka Calendar.

            The Fine Art Department registered Prasat Phupek as single temple archaeological site in A.D.1935 but presently a local volunteer group called “Payak Phupek” (Phupek Tiger) found more unfinished temple and a stone weir as well as seven mysterious mounds aligned with zodiac Aries hidden in the forest.                                        

  เป็นที่ทราบกันดีในวงการนักโบราณคดีและผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ว่า อิทธิพลของอาณาจักรขอมได้แผ่เข้ามายังดินแดนหนองหารหลวง หรือจังหวัดสกลนครในปัจจุบันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เข้ามาแทนที่อาณาจักรทวาราวดีซึ่งมีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 อิทธิพลของอาณาจักรขอมมีหลักฐานทางกายภาพได้แก่ตัวเมืองหนองหารหลวงที่ออกแบบตามสไตล์ขอม ลักษณะเป็นเมืองสี่เหลี่ยมมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ กลางเมืองมีปราสาทประธาน (ปัจจุบันคือพระธาตุเชิงชุม) พร้อมด้วย "บาราย" (ชื่อปัจจุบัน สระพังทอง) ซึ่งเปรียบเสมือนทะเลศักดิ์สิทธิ์แห่งเขาพระสุเมรในความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน ผู้ปกครองชาวขอมแต่ละยุคได้ก่อสร้างปราสาทไว้หลายแห่งนอกเหนือจากปราสาทประธานที่อยู่กลางเมือง ได้แก่ ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทดุม อโรคยาศาล และปราสาทภูเพ็ก ดินแดนหนองหารหลวงอยู่ภายใต้อิทธิพลขอมจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 และได้ส่งต่อเมืองหนองหารหลวงให้กับอาณาจักรน้องใหม่ชื่อว่า "ล้านช้าง" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่นครหลวงพระบางและนครเวียงจันทร์ พวกเขาได้ดัดแปลงปราสาทประธานจากศิลปะขอมมาเป็นเจดีย์ศิลปะล้านช้าง และตั้งชื่อใหม่ว่า "พระธาตุเชิงชุม"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 1 ปราสาทหินบนยอดเขา....ผลงานที่ค้างคา

      กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน "ปราสาทขอม" ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาชื่อว่า     "ภูเพ็ก" เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 โดยให้ชื่อเป็นทางการว่า "พระธาตุภูเพ็ก" ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร แต่ในความเป็นจริงไม่ทราบว่าผู้สร้างมีเจตนาตั้งชื่อปราสาทของพวกเขาว่าอะไร อย่างไรก็ตามโบราณสถานแห่งนี้อยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาสิ่งก่อสร้างจากยุคขอมเรืองอำนาจ.....แต่อนิจจาพวกเขามีอันต้องละทิ้งผลงานนี้อย่างกระทันหัน และไม่หวนกลับมาอีกเลย จากข้อมูลของกรมศิลปากร ในหนังสือชื่อ "ร้อยรอยเก่าสกลนคร" จัดพิมพ์โดยสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2555 กล่าวถึงปราสาทหลังนี้ว่า

........พระธาตุภูเพ็ก เป็นปราสาทหินทรายขนาดใหญ่ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ก่อได้เพียงผนังเรือนธาตุระดับคานทับหลังของปราสาท องค์ปราสาทมีทางเข้าคูหาภายในด้านทิศตะวันออก ส่วนอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ปราสาทมีมุขกระสันเชื่อมกับมณฑปที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมพืนผ้า ฐานล่างสุดของปราสาทและมณฑปเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทมีสระน้ำขนาดเล็ก 2 สระ (สระแก้ว) เนื่องจากเป็นปราสาทที่ก่อสร้างไม่สำเร็จและไม่มีลวดลายที่สามารถใช้เปรียบเทียบเพื่อกำหนดอายุได้ นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่าน่าที่จะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 เช่นเดียวกับศานสถานอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง........

        เป็นที่น่าสังเกตว่า "นักโบราณคดี" ก็ใช้คำว่า "สันนิษฐานว่า น่าจะ...." ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่ผูกพัน หรือพูดตามภาษาแฟนคลับก็เรียกว่า "แทงกั้ก" ดังนั้นผมก็ขอถือโอกาส "สันนิษฐาน" เช่นกันว่าปราสาทหลังนี้น่าจะสร้างในปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ดังเหตุผลที่จะบรรยายต่อไป 

              ก่อนอื่น.....ขอนำทุกท่านนั่ง Time Machine ย้อนกลับเมื่อครั้งปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรวันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ราวๆ พ.ศ.1743 - 1763 ตัดภาพไปที่.......คนงานซึ่งเป็นชาวบ้านในท้องถิ่นกำลังสาละวนอยู่กับการก่อสร้างปราสาทอยู่บนยอดเขาสูง ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มข้นโดยกองกำลังติดอาวุธนำโดยเจ้านายขอม และนายช่างควบคุมงานซึ่งเป็นพราหมณ์มีความรู้ด้านวิศวกรรม ศาสนาและดาราศาสตร์อย่างดี ผู้ใช้แรงงานเหล่านั้นต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ ทุกข์ยากแสนสาหัสเพราะต้องเผชิญกับภูมิประเทศอันแสนโหดร้าย ไข้ป่าที่ยังไม่มียารักษา พวกเขาไม่มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ไม่มีประกันสังคม ไม่มีบัตรเครดิตเกษตรกร ไม่มีแม้กระทั่งวันหยุดตามเทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์ โอกาสพบหน้าลูกเมียไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างต้องแลกด้วยชีวิตเพื่อรีบเร่งให้ปราสาทแล้วเสร็จตามแผนงาน ชีวิตประจำวันอันโหดร้ายดำเนินไปอย่างซ้ำซากปีแล้วปีเล่า ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับบ้าน

 

 

      เช้าวันหนึ่งขณะที่ทุกชีวิตตื่นขึ้นมาเพื่อเผชิญชะตากรรมอันซ้ำซาก พวกเขาได้สังเกตเห็นความผิดปกติของบรรดาทหารและพราหมณ์ เจ้านายเหล่านั้นมีท่าทางแปลกๆเหมือนลังเลการตัดสินใจอะไรบางอย่าง ที่เห็นได้ชัดคือไม่เร่งรัดการเข้างาน และแล้วข่าววงในก็รั่วออกมาว่า "ท่านชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์แล้ว" และบรรดาทหารกับพราหมณ์กำลังจะยกกองทัพกลับเมืองหลวง ตามยุทธวิธีเล่นเกมส์การเมืองที่เรียกว่า "แทงกั้ก" เนื่องจากการขึ้นครองราชของกษัตริย์ขอมแต่ละพระองค์ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ ท่านเหล่านั้นต้องกำจัดคู่แข่งทางการเมืองให้ราบคาบเสียก่อนไม่ให้เหลือหอกข้างแคร่แม้แต่คนเดียว บรรดาแม่ทัพนายกองจึงต้องเลือกข้างให้ถูกมิฉะนั้นแล้วจะเป็นภัยแก่ตัว ทางที่ดีก็อยู่แบบกลางๆเอาไว้ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนสีให้ชัดเจนตอนรู้ว่าไผเป็นไผเรียบร้อยแล้ว พฤติกรรมแบบนี้ยังคงตกทอดมาถึงปัจจุบันทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ข้าราชการจำนวนมากจำเป็นต้อง "เปลี่ยนสี" เพื่อความอยู่รอด ที่สุดของที่สุดสรุปได้ว่าไม่มีใครติดใจที่จะสร้างปราสาทหลังนี้อีกต่อไป สถานะการณ์จึงเข้าข่าย "ตัวใครตัวมัน" บรรดาพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้โอกาสที่รอมานานแล้ว พร้อมใจกันเปล่งเสียงเฮและโยนอุปกรณ์ทิ้งเผ่นกลับบ้านอย่างรวดเร็ว ก็ในเมื่อลูกพี่ทิ้งงานแล้วพวกเราจะทำต่อไปให้เหนื่อยทำไมละ  

              ปราสาทหินทรายที่ก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งเดียวจึงถูกทิ้งร้างท่ามกลางสายลม แสงแดด และสายฝนอย่างเดียวดายอยู่บนยอดเขากลางป่าทึบ กาลเวลาผ่านไปร่วมพันปีทุกอย่างเงียบหายเข้ากลีบเมฆ ไม่มีใครรู้ว่าที่นี่มีสิ่งก่อสร้างอันอลังการดุจเขาพระสุเมร อาณาจักรล้านช้างที่รับไม้ต่อจากอาณาจักรขอมคงเข้าไม่ถึงพื้นที่นี้ เพราะส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่มบริเวณตัวเมืองหนองหารหลวง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีเชียงใหม่หนองหาร" ตามภาษาล้านช้างดังคำจารึกภาษาไทยน้อยบนแท่งหินทรายตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร หรือเป็นไปได้ว่าพวกเขารู้จักปราสาทหลังนี้ แต่ดูแล้วไม่คุ้มค่าต่อการบูรณะหรือดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานตามศิลปะล้านช้าง อีกทั้งการไปมาหาสู่ก็ยากลำบากเลยปล่อยทิ้งไว้ตามสภาพ อีกทั้งนายช่างของอาณาจักรล้านช้างไม่ถนัดกับการก่อสร้างที่ใช้หินก้อนใหญ่ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

     

 

        ล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสที่ทำงานในราชสำนัก ชื่อ Etienne Aymonier เดินทางมาสำรวจเมืองสกลนครและบันทึกไว้ในหนังสือ Khmer Heritage in Thailand ตีพิมพ์ที่กรุงปารีส พ.ศ.2444 กล่าวว่าเมืองสกลนครมีประชากรราวๆ 300 ครัวเรือน ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆพระธาตุเชิงชุมซึ่งข้างในมีจารึกภาษาเขมรโบราณไว้ที่ขอบประตูด้านขวามือ ท่านผู้นี้ไม่ได้กล่าวถึงปราสาทภูเพ็กแม้แต่คำเดียว ต่อมาในปี พ.ศ.2449 พระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร ท่านได้ถ่ายภาพและบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ ได้แก่พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดุม สะพานขอม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ที่น่าสังเกตุคือท่านกล่าวถึงนิทานเรื่องการแข่งขันสร้างปราสาทระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยเรียกพระธาตุนารายณ์เจงเวงว่า "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" บันทึกของพระองค์มีรายละเอียด ดังนี้........วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่ แห่ง 1 เปนสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า "อรดีมายานารายณ์   เจงเวง" ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี ข้าหลวงบริเวณได้นัดราษฏรมาออกร้านขายผ้าพรรณาต่างๆ ซึ่งเปนฝีมือชาวสกลนคร ณะที่นี้ด้วย ดูอยู่จนเวลาเช้า 4 โมงจึงกลับ....... หากวิเคราะห์บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่กล่าวถึงอรดีมายานารายณ์เจงเวง แสดงว่า "อุรังคนิทาน" ที่กล่าวถึงเรื่องราวการแข่งขันสร้างปราสาทระหว่างฝ่ายหญิงซึ่งรับผิดชอบปราสาทในตัวเมือง กับฝ่ายชายที่ต้องสร้างปราสาทบนดอยแท่น (ภูเพ็ก) เพื่อแย่งชิงการเป็นเจ้าของพระอุรังคธาตุที่พระมหากัสสะปะนำมาจากอินเดีย ย่อมสะท้อนให้เห็นการมีตัวตนของปราสาทภูเพ็กในสมัยนั้น เพราะมีการจับคู่ระหว่างปราสาทนารายณ์เจงเวง กับปราสาทภูเพ็กที่อยู่บนยอดภูเขา   

   

 

 

      ปราสาทภูเพ็กปรากฏขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2476 กรมศิลปากรส่งคณะเจ้าหน้าที่มาสำรวจเพื่อทำแผนผังตัวปราสาทและบริเวณรอบๆ คณะดังกล่าวได้สลักข้อความไว้ที่ขอบประตูว่า มาราชการสนาม ลงวันที่ 7 / 10 / 2476 และต่อมาได้ขึ้นทะเบียน "ปราสาทภูเพ็ก" เป็นโบราณสถานโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 ประกอบด้วยรายละเอียดสิ่งก่อสร้าง 3 อย่างคือ ปรางค์ประธาน ฐานศิลาแลง (ความจริงเป็นหินทราย) และสระน้ำ ต่อมาได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเพิ่มเติม เพื่อกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน   พ.ศ.2524 และทุกอย่างก็จบลงแบบ ซ.ต.พ. ไม่ได้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมอะไรอีกเลย ผู้คนทั่วไปอย่างเราๆท่านๆก็คิดว่า "ภูเพ็ก" มีแค่ตัวปราสาทเท่านั้น และเป็นศาสนสถานในยุคขอมเรืองอำนาจ แต่สิ่งที่ผู้คนทั่วไปกล่าวขวัญอย่างกว้างขวางก็คือ "อุรังคนิทาน" ที่บรรยายถึงการแข่งขันสร้างอุปโมง (ปราสาท) ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเพื่อแย่งชิง "พระอุรังคธาตุ" ไว้ประดิษฐานในสถานที่ของตน ตามเนื้อเรื่องฝ่ายหญิงเอาชนะด้วยเล่ห์เพทุบาย จุดโคมไฟลอยขึ้นฟ้าแล้วหลอกว่า "ดาวเพ็ก" (ดาวศุกร์) ขึ้นแล้วให้ทุกคนหยุดการก่อสร้างและมาตรวจดูผลงาน ปรากฏว่าฝ่ายหญิงสามารถสร้างปราสาทนารายณ์เจงเวงเสร็จก่อน ส่วนฝ่ายชายสร้างปราสาทภูเพ็กได้เพียงครึ่งเดียวเป็นผู้แพ้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "เพ็กมุสา" และกลายมาเป็นชื่อปราสาทภูเพ็กในที่สุด 

 

 

 

      การค้นพบเพิ่มเติม          

        ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก"พ.ศ.2553 อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรืออีกนัยหนึ่ง "ฤษีเอก อมตะ" พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นบ้านภูเพ็กประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ฟอร์มทีมเดินป่าให้ชื่อว่า "พยัคฆ์ภูเพ็ก" เพื่อทำการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งลึกลับในบริเวณป่าบนเทือกเขาภูเพ็ก โดยมีนายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา เป็นที่ปรึกษา จัดกิจกรรมเดินป่าสำรวจหาร่องรอยของสิ่งก่อสร้างที่น่าจะร่วมสมัยกับตัวปราสาทที่อยู่บนยอดภูเขา ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" สำรวจพบว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่ใช่เป็นแค่ตัวปราสาท แต่ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นอีกมากมายซ่อนตัวอยู่ในป่า....รอการพิสูจน์ด้วยสายตาของเราๆท่านๆ และเพื่อให้ท่านที่อ่านบทความนี้เกิดอารมณ์ร่วมชนิดเอามันส์แต่เพียบพร้อมไปด้วยข้อมูลเชิงวิชาการในสไตล์ "อินเดียน่าโจนส์" จึงขอเล่าเรื่องประกอบภาพจากสิ่งที่ค้นพบ โดยใช้ภาษาและถ้อยคำที่เป็นอิสระจากบทความทางวิชาการทั่วๆไป....ไม่ว่ากันนะครับ 

 

    

 

          ภูเพ็ก....เขาพระสุเมร ผู้สร้างปราสาทภูเพ็กได้พิจารณาเลือกภูเขาที่มี รูปร่างเหมือน “เขาพระสุเมร”  เพื่อสร้างตัวปราสาทให้ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดตามความเชื่อที่ตกทอดมาจากดินแดนภารตะ ภาพที่เห็นถ่ายจากมุมมองบนเฮลิคอปเตอร์ทางด้านทิศใต้แต่ไม่ทราบว่าผู้สร้างเลือกภูเขาลูกนี้จากมุมมองอย่างไร อาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาขึ้นไปยืนดูอยู่บนภูเขาภูพาน (ตามภาพประกอบ) 

                  ในช่วงฤดูแล้งต้นปี 2554 ได้มีการสำรวจบริเวณรอบๆปราสาทภูเพ็ก ทีมงานได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้สร้างปราสาทภูเพ็กมีเจตนาที่จะตั้งเมืองที่ โดยให้ตัวปราสาทตั้งอยู่บนยอดภูเขา เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรและให้สิ่งก่อสร้างอื่น เช่น ปราสาทลูกตั้งอยู่รายล้อมด้านล่าง จากสิ่งที่ค้นพบเรารู้ว่าพวกเขาต้องก่อสร้างฝายทดน้ำให้แล้วเสร็จเสียก่อน เพื่อรองรับการอุปโภค และบริโภคของผู้คนจำนวนมากที่เป็นแรงงานก่อสร้าง ขณะเดียวกันก็มีแหล่งหินตัดกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทั้งที่ตัดเสร็จเรียบร้อยเตรียมขนย้าย และที่ตัดไปได้เพียงบางส่วน มีการนำหินที่ตัดเสร็จแล้วมาวางเป็นฐานรากของตัวอาคาร ที่อาจจะเป็นปราสาทลูก แต่ที่ลึกลับกว่านั้นเห็นจะเป็นเนินดินเจ็ดลูกที่เรียงตัวเป็นเส้นตรง เราไม่ทราบว่าพวกเขาทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร อาจต้องใช้เวลาค้นคว้าอีกระยะหนึ่ง 

 

 

 

 

 

 

 
 

       เหตุผลที่สันนิษฐานว่าปราสาทหลังนี้สร้างในปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 
 
        การทิ้งงานแบบกระทันหัน?......จากภาพที่เห็นในเชิงประจักษ์ทำให้ทราบดีว่าปราสาทหลังนี้สร้างได้เพียงครึ่งเดียวก็ถูกทิ้งร้างอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร ยืนท้าทายท่ามกลางกระแสลม แสงแดดที่แผดเผาและรับแรงกระแทกของน้ำฝนอย่างเดียวดายท่ามกลางป่าทึบร่วมพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดีและข้อมูลแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ทำให้เชื่อได้ว่าปราสาทหลังนี้น่าจะสร้างในปลายยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวๆ พ.ศ.1750 - 1763 กล่าวคือ 

         1. อำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครอบคลุมมาถึงดินแดนหนองหารหลวง เพราะมีสิ่งก่อสร้างในยุคสมัยนั้น คือ อโรคยาศาล (โรงพยาบาลชุมชน) ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อ.สว่างแดนดิน และสะพานขอม อยู่ที่ด้านทิศตะวันตกของลานรวมใจหน้าประตูเมืองสกลนคร

    2. มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียืนยันว่าสิ่งก่อสร้างจำนวนมากของกษัตริย์องค์นี้สร้างไม่เสร็จ หรือรีบร้อนสร้างโดยทิ้งจุดบกพร่องไว้มากมาย เช่น ปราสาทบายนในนครธม ที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์มีโครงการก่อสร้างปราสาท โรงพยาบาล ที่พักกลางทาง ถนนหลวง มากมายหลายแห่ง ผู้คนถูกเกณฑ์มาจำนวนมากทั้งที่ยินยอมและฝืนใจ พระองค์ใช้คำพูดปลอบใจผู้คนที่มาเหนื่อยยากลำบากรำบนกับการก่อสร้างว่า "สูเจ้าลำบากในชาตินี้ จะสบายในชาติหน้า" แต่ในความเป็นจริงเขาเหล่านั้นก็คือคนธรรมดาไม่มีใครอยากทิ้งลูกทิ้งเมียมาลำบาก ยังไงก็ต้องเอาชาตินี้ไว้ก่อนเพราะชาติหน้าไม่รู้ว่ามีจริงหรือเปล่า ครั้นพอทราบข่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ ทุกคนต่างทิ้งงานทันทีเหมือนโล่งอกจะได้กลับบ้านกลับช่อง ส่วนบรรดาแม่ทัพนายกองก็ต้องยกกำลังกลับเมืองหลวงที่ "นครอังกอร์" หรือเสียมราชในปัจจุบัน เพื่อรอดูนโยบายของท่านวรมันองค์ใหม่และจะได้เปลี่ยนสีได้ตามกระแส พูดถึงตรงนี้ทำให้ผมนึกถึงข้าราชการจำนวนมากในปัจจุบันก็ยังใช้วิธีการเดียวกันนี้เพื่อความอยู่รอด  

      3. พอสิ้นยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรขอมอันเกรียงไกรก็เข้าสู่สัจธรรมแห่งภาวะขาลง เพราะงบประมาณร่อยหลอ ผู้คนเหนื่อยล้าจากโครงการใหญ่ๆ กองทัพอ่อนล้าจากการรบกับอาณาจักรจาม พระเจ้าอินทราวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นรัชทายาทขึ้นครองราชในช่วง พ.ศ.1763 - 1786 ก็ไม่ได้ทำอะไรมากเพราะต้องประครองตัวรักษาเมืองหลวง เนื่องจากเมืองน้องใหม่ที่เคยอยู่ใต้อำนาจอย่างสุโขทัย และล้านช้างเริ่มออกแววฉายแสงกระด้างกระเดื่องขึ้นมา อาณาจักรของพระองค์เริ่มเข้าสู่ยุคถดถอย พอถึงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ช่วง พ.ศ.1786 - 1839 พระองค์ไม่พอใจศาสนาพุทธนิกายมหายานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างรุนแรง ได้สั่งให้ทำลายสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธอย่างขนานใหญ่ พระพุทธรูปถูกทำลายนับไม่ถ้วน นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสประมาณการว่าพระพุทธรูปถูกทำลายไม่น้อยกว่า 10,000 องค์ รูปพระโพธสัตว์ที่สลักอยู่ตามปราสาทต่างๆถูกสกัดออก เช่นที่ปราสาทตาพรม และปราสาทนาคพัน ประกอบกับอาณาจักรขอมถูกรุกรานโดยกองทัพอันเกรียงไกรของชาวมองโกล "กุบไบลข่าน" พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 จำเป็นต้องยอมจ่ายค่าบรรณาการเพื่อให้เมืองหลวงอยู่รอด  หลังจากนั้นก็มีกษัตริย์ขอมขึ้นครองราชในช่วงสั้นๆอีก 6 พระองค์ และมีการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปเป็นศาสนาพุทธนิกายหินยานโดยรับอิทธิพลจากศรีลังกา และแล้วอาณาจักรขอมก็หนีไม่พ้นสัจจธรรมแห่งการเสื่อมถอยถูกทำลายย่อยยัพจากกองทัพกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ.1975 ปิดฉากอาณาอันยิ่งใหญ่ที่อยู่มายาวนาน 500 ปี  จากเหตุผลที่กล่าวมานี้ "ปราสาทภูเพ็ก" จึงถูกทิ้งร้างและไม่มีใครสนใจที่จะรื้อฟื้นให้แล้วเสร็จตามพระประสงค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  

        4. ปราสาทหลังนี้ "ถ้าสร้างเสร็จ" จะใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (มีความยาว 40 เมตร ใหญ่กว่าปราสาทพิมายที่มีความยาว 30 เมตร) และตั้งอยู่บนยอดภูเขาสูง 520 เมตร ท่ามกลางป่าดงดิบ การจะเข้ามาก่อสร้างต้องสู้กับภูมิประเทศที่โหดร้าย ต้องใช้งบประมาณและคนงานจำนวนมาก แสดงว่าผู้ประสงค์จะสร้างต้องเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจมากสอดคล้องกับยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  

          อย่างไรก็ตามได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากนักโบราณคดีที่เป็นเพื่อนกัน เล่าให้ฟังว่า "ปราสาทภูเพ็ก" น่าจะสร้างในยุค "ศิลปะปาปวน" ซึ่งเก่ากว่ายุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เนื่องจากดูจากเทคนิคการก่อสร้างฐานรากขององค์ปราสาทที่เป็นรูป "ฐานบัว" ส่วนสาเหตุการหยุดงานแบบกระทันหันก็ยังไม่มีข้อยุติที่แน่นอนว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แต่ที่มองเห็นจากวัตถุพยานยืนยันได้ว่า "ผู้รับเหมาทิ้งงานจริงๆ" ถ้าเป็นยุคปัจจุบัน สตง. และ ปปช. ต้องขึ้น Black-list ผู้รับเหมารายนี้ไว้แล้ว

         ดังนั้น ผมจึงจำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ที่สุด ก็อย่างว่าละครับเราๆท่านๆไม่ได้เกิดในยุคนั้น 

 
 
  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  บทที่ 2 สุริยะปฏิทินขอมพันปี

 

      ได้รับแรงจูงใจจากการอ่านหนังสือ "รอยอดีตสกลนคร" ของกรมศิลปากร ทำให้อยากจะค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทขอมให้มากขึ้น เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2544 ขึ้นไปสำรวจปราสาทภูเพ็กบนยอดภูเขา +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใช้เข็มทิศจับแนวของตัวปราสาท พบว่าหันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้ (Due east) และสังเกตเห็นก้อนหินสี่เหลี่ยมขนาด 56 ซม. คูณ 56 ซม. มีรูสี่เหลี่ยมรอบๆขอบ ตั้งอยู่คู่กับศิวลึงค์ด้านหน้าประตูของห้องประธาน ขณะเดียวกันก็ได้เห็นรอยขีดที่ธรณีประตูทิศตะวันออกชี้ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานเบื้องต้นว่าปราสาทหลังนี้ต้องหันหน้าเข้าหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ในวัน "วิษุวัต" (Equinox) จึงได้วางแผนที่จะขึ้นไปสังเกตการณ์เชิงประจักษ์ในวันที่ 23 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวัน "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) และแล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามที่คิด ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ของวันดังกล่าวขึ้นตรงกับศูนย์กลางประตูอย่างสวยงาม จึงตั้งชื่อปราสาทหลังนี้ว่า "สุริยะปฏิทินขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก" และต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นวัน"วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) สถาบันราชภัฏและหอการค้าจังหวัดสกลนคร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม "สุริยะปฏิทิน" โดยมีประชาชน ผู้แทนส่วนราชการ และสื่อมวลชน ขึ้นไปชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่หน้าปราสาทอย่างเนืองแน่น จากนั้นก็ได้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  

 

หนังสือรอยอดีสกลนคร ของกรมศิลปากร เป็นแรงจูงใจให้อยากค้นคว้าเรื่องราวของปราสาทภูเพ็กมากขึ้น และไปที่นั่นเมื่อเดือนกรกฏาคม 2544 โดยให้ลูกสาวคนเล็ก ชื่อ กรวิกร บุณโยทยาน (นุ้ย) เป็นพรีเซนเตอร์ 

เช้าตรู่วันที่ 23 กันยายน 2544 ได้ถ่ายภาพปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) ตรงกับตำแหน่งของแท่งหิน "ครรภบัตร" จึงตั้งชื่อหินก้อนนี้ว่า "สุริยะปฏิทินขอมพันปี"

  

เช้าตรู่วันที่ 21 มีนาคม 2545 สถาบันราชภัฏสกลนคร และหอการค้าสกลนคร จัดกิจกรรม "สุริยะปฏิทิน ขอมพันปี"  

 

สุริยะปฏิทินขอมพันปีชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) อย่างแม่นยำ โดยมีประจักษ์พยานจากสถาบันราชภัฏสกลนครและกรรมการหอการค้าสกลนคร รวมทั้งประชาชนที่สนใจนับร้อยคน

 

ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ที่ปรากฏแก่สายตาของประจักษ์พยานจำนวนนับร้อยคน

 

สถานีโทรทัศน์ ITV ทำข่าวเผยแพร่ทั่วประเทศ                  

          จากการเป็นนักเรียนเก่าประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ.2512 - 2517 บวกกับความสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของอาณาจักรขอมตั้งแต่ พ.ศ.2541 เมื่อคราวที่ไปปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาด้านเกษตร-ชลประทาน ที่ประเทศกัมพูชาในโครงการความมั่นคงด้านอาหารภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทำให้ผมมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับอารยธรรมขอม และสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบ "สุริยะปฏิทินขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก" ได้แก่ปฏิทินมหาศักราชที่อาณาจักรขอมรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ปฏิทินฉบับนี้ใช้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เป็นแม่แบบในการกำหนดวันสำคัญต่างๆของรอบปี เริ่มต้นที่วันปีใหม่ตรงกับ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox)กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบท้องฟ้าในตำแหน่ง "ทิศตะวันออกแท้" ทำมุมกวาด 90 องศา จากทิศเหนือ และตกขอบท้องฟ้าที่ "ทิศตะวันตกแท้" ทำมุมกวาด 270 องศา จากทิศเหนือ เป็นวันเริ่มต้นแห่งฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของปฏิทินปัจจุบัน ในทางโหราศาสตร์เรียกวันนี้ว่า "จุดแรกของราศีเมษ" ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอาณาจักรขอมเรื่องอำนาจ พราหมณ์ในราชสำนักหรือท่านปุโรหิตกำหนดให้วันดังกล่าวมีความสำคัญต่อสถานะ "กษัตริย์สมมุติเทพ" ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พุทธมหายาน และพุทธวัชรยาน ดังนั้น เมื่อวันนี้มาถึงท่านเหล่านั้นต้องประกอบพิธีภายในตัวปราสาทที่หันหน้าตรงกับดวงอาทิตย์ในยามเช้าตรู่ โดยพราหมณ์เทน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ศิวะลึงค์อาบลงไปที่ฐานโยนีและไหลออกไปยังท่อ "โสมสูตร" ที่เปิดออกนอกตัวปราสาทด้านทิศเหนือ ปราสาทภูเพ็กมีองค์ประกอบของหลักฐานทางกายภาพที่สอดคล้องกับความเชื่อนี้อย่างครบถ้วน ได้แก่ท่อโสมสูตรและศิวะลึงค์ จึงกล้าฟันธงว่าปราสาทหลังนี้ถูกสร้างให้สอดคล้องกับปฏิทินมหาศักราช   

        ถ้าท่านผู้อ่านได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวชมปราสาทขอมที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา และหากท่านมีเข็มทิศแม่เหล็ก (Magnetic compass) อยู่ในมือก็ลองตรวจสอบตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของแปลนปราสาทน้อยใหญ่เหล่านั้น เช่น ปราสาทนครวัด ปราสาทบายน ปราสาทปาปวน ปราสาทพนมบาเค็ง ปราสาทตาพรม ปราสาทบันทายศรี เป็นต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าทุกปราสาทหันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ อนึ่ง ตามหลักดาราศาสตร์ทิศเหนือของเข็มทิศแม่เหล็ก (Magnetic North) จะไม่ตรงแบบร้อยเปอร์เซ็นต์กับทิศเหนือภูมิศาสตร์ (Geographic North) โดยมีมุมที่ต่างกันภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า "ค่าแปรปรวนของแม่เหล็กโลก" (Magnetic Deviation) แต่เผอิญเมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 13 องศาเหนือ ค่าความแปรปรวนของแม่เหล็กโลกน้อยมากทำให้เข็มทิศแม่เหล็กมีความเที่ยงตรงสูง เรียกว่าน้องๆเข็มทิศของเครื่อง GPS อย่างไรก็ตามผมได้ใช้ทั้งเข็มทิศแม่เหล็ก และเข็มทิศ GPS ตรวจสอบทิศของปราสาทพนมบาเค็ง ปราสาทนครวัด ปราสาทบายน และปราสาทบันทายศรี สามารถฟันธงได้ว่าปราสาทเหล่านี้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ (Due east) ตรงกับตำแหน่ง "วิษุวัต" หรือทำมุมกวาด 90 องศาจากทิศเหนือ ดังนั้นในวันสำคัญของปฏิทินมหาศักราช ได้แก่วันปีใหม่หรือเริ่มต้นวันแรกของเดือนไจตระ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหน้าประตูปราสาทอย่างสวยงาม และวันนี้พราหมณ์จะทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ให้แก่กษัตริย์เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเทน้ำลงบนศิวลึงค์ให้ไหลผ่านฐานโยนีออกไปทางท่อโสมสูตรที่อยู่ทิศเหนือ   

  

   

       

   

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แท่งหินที่นักวิชาการกรมศิลปากรเรียกว่า "ครรภบัตร" และสื่อความหมายว่า "แผนผังจักรวาล" ได้พิสูจน์ในทางดาราศาสตร์แล้วว่าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ ได้แก่ วสันตวิษุวัต (vernal equinox) ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) ครีษมายัน (summer solstice) เหมายัน (winter solstice) และครึ่งทางจักรราศี (cross quater)

 

เปรียบเทียบกับองศาของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ 

 

แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ วสันตวิษุวัต (vernal equinox) ครึ่งทางจักรราศี (cross quater) และ เหมายัน (winter solstice)

 

แท่งหิน "ครรภบัตร" กับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ทั้ง 4 ฤดู 

 

เปรียบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ครึ่งทางจักรราศี" (cross quater) ราศีมีน (pisces) และราศีแมงป่อง (scorpio)

 

เปรียบเทียบระหว่างปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox 21 Mar) กับ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox 23 Sep)  

 

      อนึ่ง กรมศิลปากรเรียกหินที่มีสัญลักษณ์นี้ว่า "ครรภบัตร" โดยบรรยายว่า......

     "ครรภบัตร" เป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านบนตรงกลางเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 22 ซม. และมีช่องสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 ซม. เจาะเรียงเป็นแนวรอบสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านละ 5 ช่อง รวมทั้งสิ้น16 ช่อง

     แท่นหินสำหรับบรรจุสัญลักษณ์มงคลสำหรับประกอบพิธีฝังอาถรรพ์ก่อนการประดิษฐานรูปเคารพ โดยจะอยู่ภายในแท่นที่ประดิษฐานรูปเคารพอีกชั้นหนึ่ง ช่องเหล่านี้เจาะสำหรับบรรจุแผ่นโลหะ หินรัตนชาติ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของอนุภาคทั้งหลายในจักรวาล ตามตำแหน่ง ทิศ และระดับความสำคัญ ครรภบัตรที่มีการบรรจุสัญลักษณ์อย่างถูกต้องจะทำหน้าที่เป็น "มณฑล" หรือแผนผังจักรวาลในรูปย่อที่รวมของพลังอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในจักรวาล อันจะส่งกระแสถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่รูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่ด้านบน รูปเคารพนั้นจะเกิดมีชีวิตและพลังอำนาจกลายสภาพเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ...... ในความเห็นของผมแปลความว่านี่คือ "สุริยะปฏิทิน" 

 

 

 

   

 

          ถ้าแปลความตามที่กรมศิลปากรกล่าวโดยโยงเข้าหาปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ตามนัยยะของปฏิทินมหาศักราชและตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีต่างๆ แท่งหินนี้ก็น่าที่จะสอดคล้องกับ "สุริยะเทพ" ในวันสำคัญตามปฏิทินมหาศักราช เช่น "วสันตวิษุวัต" ตรงกับปีใหม่และราศีเมษ สุริยะเทพจะปรากฏที่ตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ ผมจึงเรียกสิ่งนี้ว่า "สุริยะปฏิทิน" และตัวปราสาทภูเพ็กก็ถูกออกแบบและก่อสร้างให้ตรงกับตำแหน่งดาราศาสตร์ดังหลักฐานการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และภาพถ่ายข้างล่างนี้  

 

 

 

         ร่องรอยทางดาราศาสตร์ที่ยังคงอยู่ในพื้นหิน

             หากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าปราสาทหลังนี้ยังคงรักษาร่องรอยทางดาราศาสตร์ไว้อย่างครบถ้วนทั้งสี่ด้าน แต่ผู้คนที่ไปชมไม่ได้สังเกตและเดินเหยียบไปมาโดยไม่นึกว่านี่คือหลักฐานสำคัญที่ผู้สร้างได้ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

 

The East Line

 

ธรณีประตูด้านทิศตะวันออกมีรอยขีดที่พื้น

 

 

รอยขีดที่ธรณีประตูชี้ไปที่ "ทิศตะวันออกแท้" ทำมุมกวาด (azimuth) 90 องศา จากทิศเหนือ 

 

ประตูทิศตะวันออกมีรอยขีดที่พื้นธรณีบ่งชี้ว่าเป็นทิศตะวันออกแท้ หรือ Equinox ทำมุมกวาด 90 องศา (Azimuth 90 degree)

 

 

GPS แสดงมุมกวาด 90 องศา (Azimuth 90) 

 

รอยขีดที่ผนังด้านทิศตะวันตกของห้องวิมาน ตรงกับรอยขีดที่ธรณีประตูด้านทิศตะวันออก

 

รอยขีดที่ผนังห้องด้านทิศตะวันตกยังคงปรากฏอยู่ 2 รอย ข้างบนและข้างล่างถ้าลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างกันจะเห็นว่าเป็นเส้นตรงในแนวดิ่ง

 

 

ขึงเชือกระหว่างรอยขีดที่ผนังกับรอยขีดที่ธรณีประตูเพื่อตรวจสอบว่าตรงกันหรือไม่

 

เชือกที่ขึงระหว่างรอยขีดที่ผนังกับรอยขีดที่ธรณีประตูเป็นเส้นตรง

 

The West Line

 

รอยขีดที่ประตูหลอกด้านทิศตะวันตก (ปราสาทภูเพ็กมีประตูจริงเฉพาะด้านทิศตะวันออกเท่านั้น ประตูด้านทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ล้วนเป็นประตูหลอก (blind door) 

 

GPS แสดงทิศตะวันตกที่มุมกวาด 270 องศา (Azimuth 270 degree)

 

ในตอนเย็นของปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 มีนาคม เงาของดวงอาทิตย์ทาบตรงกับรอยขีดที่ประตูหลอกทิศตะวันตก

 

 

แสงอาทิตย์ ณ ขอบฟ้าทิศตะวันตกทำให้เงาของไม้ (stick) ทาบสนิทกับรอยขีด the west line บนผนังประตูหลอกด้านทิศตะวันตก 

 

The North Line

 

 
 
รอยขีดที่ผนังกำแพงด้านทิศเหนือ (ด้านใน) ตรงกับ center ของท่อโสมสูตร
 
 
 
รอยขีดด้านทิศเหนือตรงกับท่อ "โสมสูตร" แสดงว่าท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ชี้ที่ทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของ "เขาพระสุเมร"
 
 
 
GPS แสดงทิศเหนือแท้ ที่มุมกวาดศูนย์องศา (Azimuth 00 degree) 
 
 
 
ท่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ หรือท่อโสมสูตร (somasutra) อยูที่ประตูหลอกด้านทิศเหนือ
 
 
 
GPS แสดงมุม Azimuth 0 degree at somasutra
 
 
 
รอยกากบาทที่พื้นก็แสดงเส้น north south east and west 
 
 
 
The South Line
 
 
 
เข็มทิศแสดงทิศใต้
 
 
วางเครื่อง GPS ตามรอยขีดที่พื้นด้านทิศใต้ 
 
 
 
GPS แสดงว่ารอยขีดที่พื้นด้านทิศใต้ทำมุมกวาด 180 องศา (Azimuth 180 degree)
 
 
 
ตรวจสอบมุมกวาดทิศใต้ด้วย GPS และ I-Phone อุปกรณ์ทั้งคู่แสดงผลมุมกวาด 180 องศา 
 
 
 
 
 

บทที่ 3 ปราสาทลูก....หรือ อโรคยาศาล ?
 
 
 

  ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" ได้ใช้ความพยายามค้นคว้า สำรวจอย่างละเอียดจนพบว่าภูเพ็กไม่ใช่มีเพียงสิ่งก่อสร้างแค่ตัวปราสาท แต่ผู้สร้างเจตนาให้เป็นเมืองรายล้อมปราสาท และนี่คือที่มาของ ภูเพ็ก.....เมกกะโปรเจค 

  ปราสาทลูก?   หินทรายก้อนสี่เหลี่ยมถูกนำมาเรียงเป็นแถว ดูเหมือนเป็นฐานรากของอาคาร อาจเป็นปราสาทลูก หรือ อโรคยาศาล ทีมงานยังไม่กล้าขุดสำรวจอย่างจริงจัง ต้องรอให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เข้ามาดำเนินการร่วมกันในฤดูแล้งหน้า เชื่อว่าถ้าขุดสำรวจลึกลงไปใต้ดิน     เราน่าจะเห็นอะไรมากกว่านี้แน่นอน 

 

 

 

 

 

 

 

             เมื่อใช้เครื่องมือ จีพีเอส และเข็มทิศตรวจสอบก็พบว่าฐานรากของปราสาทลูกหลังนี้ "หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้" เช่นเดียวกันกับปราสาทภูเพ็ก

 

       หินตัด ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีทั้งที่ตัดเสร็จแล้วแต่ยังไม่เคลื่อนย้าย และที่เพิ่งเริ่มตัดไปได้นิดเดียวทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงสถานะการณ์ที่ผู้ก่อสร้างทิ้งงานอย่างกระทันหัน และไม่มีโอกาสได้กลับมาสานต่ออีกเลย จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรารู้ว่ายุคที่อาณาจักรขอมเรืองอำนาจสูงสุด และกินอาณาเขตมาถึงดินแดนหนองหารหลวงแห่งนี้ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรขอมอันเกรียงไกรก็เข้าสู่สัจธรรมแห่งการโรยลาและล่มสลายในที่สุด

 

 

         ภาพปริศนา ? หนึ่งในบรรดาหินตัดที่ยังไม่เป็นรูปร่าง มีอยู่ก้อนนึงที่มีรูปสลักปริศนา ดูไม่ออกว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไร แต่จากการวิเคราะห์เชื่อว่ายังทำไม่เสร็จ และผู้เขียนมีอันต้องลุกหนีไปอย่างฉับพลัน จากหลักฐานเท่าที่เห็น ผู้สลักภาพนี้น่าจะเป็นคนๆเดียวกับผู้รับผิดชอบสกัดหินก้อนนี้ เขาคงต้องการอธิบายด้วยรูปภาพว่าทำไมจึงต้องทิ้งงาน ด้วยการที่ด้อยความรู้ อ่านไม่ออก เขียนหนังสือไม่เป็นจึงต้องใช้วิธีสื่อด้วยภาพ 

 

 

 

 


บทที่ 4 ฝายทดน้ำ....สิ่งก่อสร้างชิ้นเดียวที่เสร็จสมบูรณ์ 

          ระบบชลประทาน.......ฝายทดน้ำ การก่อสร้างทุกอย่างบนโลกใบนี้ต้องมีน้ำเพื่อการใช้สอยอย่างเพียงพอ เพราะการเอาแรงงานเข้าไปชุมนุมจำนวนมากจำเป็นต้องมีน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ ทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" ได้ค้บพบฝายทดน้ำเพื่อใช้ในโครงการนี้ซ่อนตัวอยู่ในป่าด้านล่างของตัวปราสาท มีลักษณะเป็นหินทรายก้อนสี่เหลี่ยมวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบกั้นลำห้วย "วังกกไฮ" สถานที่นี้ชาวบ้านเห็นก้อนหินรูปสี่เหลี่ยมวางระเกะระกะอยู่ในลำห้วยมาหลายปีแล้วแต่ไม่ได้สนใจว่ามันคืออะไร พอข้อมูลนี้เข้าหู อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือ ฤษีเอก อมตะ และนายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 ทั้งคู่หูผึ่งขึ้นมาทันที่และรีบขอให้ทีมพยัคฆ์ภูเพ็กนำไปดูสถานที่ดังกล่าวโดยด่วน ทันทีที่ได้สัมผัสกับกองหินในลำห้วยทั้งสองท่านเกิดข้อสงสัย 2 ประการ 

      1. เป็นก้อนหินตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วถูกลำเลียงมาจากข้างบนเพื่อนำไปก่อสร้างที่ข้างล่างของภูเขา โดยการลำเลียงทางน้ำ

       2. หรือว่าเป็น "ฝายทดน้ำ" เพื่อการอุปโภคบริโภค

       จากการถกข้อมูลเบื้องต้นภายในทีมลงความเห็นว่าควรตัดประเด็นที่ 1 ออก เพราะการลำเลียงหินทางน้ำในลำธารที่ไหลลงสู่เบื้องล่างของภูเขาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะหลายส่วนของลำน้ำนี้มีความลาดชั้นสูง  ขณะเดียวกันด้านล่างของตัวลำธารก็มีแหล่งหินคุณภาพเดียวกันจำนวนมากมายไม่จำเป็นต้องขนลงมาจากข้างบน จึงเหลือเพียงประเด็นที่ 2 มุ่งไปที่ "ฝายทดน้ำ" เพราะจากการสังเกตภูมิประเทศของลำห้วยตรงนี้มีความราบเรียบด้วยความยาวมากกว่า 100 เมตร เหมาะแก่การก่อสร้างฝายเก็บน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน ถ้าจะให้รู้แน่ต้องขุดดินบางส่วนออกให้เห็นฐานราก วันนั้นเราไม่มีกำลังพอและเริ่มค่ำมืดแล้วทีมงานจึงตัดสินใจพักไว้ก่อน 

        วันที่ 6 เมษายน 2554 ทีมงานพร้อมอาสาสมัครจากวัยรุ่นในบ้านภูเพ็กรีบรุดไปที่ไซด์งานแต่เช้า โดยท่านฤาษีเอก อมตะ ทำหน้าที่จุดธูปขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางตามประเพณีและความเชื่อ พอลงมือขุดไปได้ครึ่งวันทุกคนถึงกับทึ่งในสิ่งที่เห็น มันเป็นฝายทดน้ำจริงๆเพราะมีการเรียงหินก้อนสี่เหลี่ยมอย่างเป็นระเบียบลึกลงไปใต้ดินและขวางตลอดความกว้างของลำห้วย ตัวฝายหนาในแนวตัดประมาณ 5 เมตร และยังลึกเข้าไปสองฝั่งของตลิ่งแสดงว่าในยุคนั้นลำห้วยสายนี้มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน แต่ด้วยการตกตะกอนและการทับถมบวกกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศตามกาลเวลาที่นานนับพันปี จึงมีสภาพตามที่เห็น 

 

 

 

 

 

ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนั้นถูกกระแสน้ำพัดจนล้ม ทำให้เรามองเห็นก้อนหินสี่เหลี่ยมติดขึ้นมากับราก

 

 

ภาพเปรียบเทียบของฝายหินก่อนและหลังจากเคลียร์หน้าดินบางส่วนออก ทำให้เห็นรูปร่างของฝายหินที่ชัดเจน

 

 

สำนักศิลปากรที่ 10 จากร้อยเอ็ด จับมือกับอุทยานแห่งชาติภูพาน และอาสาสมัครท้องถิ่น พร้อมด้วยนักเรียนจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคอีสาน ทำการขุดลอกฝายขอมพันปี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557   

 


บทที่ 5 โรงครัว...กองทัพเดินด้วยท้อง

       โรงครัว…..กองทัพเดินด้วยท้อง ภาขนะทำด้วยดินเผารูปทรงกลมๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเมตร น่าจะเป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เพราะอยู่ในบริเวณเดียวกันกับแหล่งตัดหิน แน่นอนครับกองทัพที่ไหนๆในโลก ก็ล้วนต้องเดินด้วยท้องทั้งสิ้น อาหารและน้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้  

 

 

 


บทที่ 6 เนินดินลึกลับ.....ชี้ไปที่ราศีเมษ

       ทีมงานได้พบเนินดินประหลาดเรียงแถวเป็นเส้นตรง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวปราสาทภูเพ็ก จากการสอบถามผู้คนรวมทั้งพระภิกษุก็ไม่ทราบว่ากองดินเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออะไร เล่ากันว่ามีคนเคยมาขุดหาสมบัติแต่ถูกอำนาจลึกลับทำให้เสียสติจนต้องมาเส้นไหว้ขอขมา อย่างไรก็ตามเมื่อสำรวจตำแหน่งที่ตั้งด้วยระบบ GPS พบว่าเนินดินทั้ง 7 ลูก เรียงตัวเป็นเส้นตรงและทำมุมกวาดประมาณ 80 องศา เมื่อใช้โปรแกรมดาราศาสตร์ตรวจสอบย้อนหลังไปประมาณ 900 ปี ด้วยวิธีสร้างภาพจำลองของท้องฟ้า พบว่าดวงอาทิตย์อยู่ใน "ราศีเมษ" 

 

 

 

         บทสรุป

           เชื่อว่าผู้สร้างนครภูเพ็กหวังจะให้สถานที่นี้เป็นเมืองอีกแห่งหนึ่ง ถึงได้พยายามลงทุนลงแรงบุกเบิกผืนป่าดั้นด้นขึ้นไปยังยอดเขาสร้างปราสาทท่ามกลางภูมิประเทศหฤโหด จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆทำให้ทราบว่างานก่อสร้างกระจายตัวออกไปหลายจุด โดยออกแบบให้ปราสาทบนยอดเขาเป็นศูนย์กลางของตัวเมือง แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่เรียกว่า "เปลี่ยนแผ่นดิน" และอำนาจปกครองใหม่ก็ไม่ลงรอยกับอำนาจเก่า ประกอบกับอาณาจักรขอมอยู่ในภาวะขาลง โครงการนี้จึงถูกยกเลิกและทิ้งร้างแบบไม่ดูดำดูดี ซากสิ่งก่อสร้างจำนวนมากถูกซ่อนและฝังอยู่กลางป่าชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ด้วยความพยายานและมุมานะของทีมงาน "พยัคฆ์ภูเพ็ก" เรื่องราว "นครที่สาปสูญ" จึงปรากฏต่อสายตาสาธารณะชนอย่างเราๆท่านๆ ท้ายที่สุดหวังอย่างยิ่งว่าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องน่าจะทำโครงการขุดค้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวให้ได้ข้อมูลมากขึ้น อาจนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆที่ยังคาดไม่ถึง บทความนี้จึงเป็นเสมือนการ "เปิดกรุขอมพันปี" ที่อยู่นอกกรอบทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ