ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

วสันตวิษุวัต 21 มีนาคม 2551 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ตำนาน
“ เพ็กมุสา” แห่งปราสาทภูเพ็ก ถูกรีเพลกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

     วันที่ 21 มีนาคม 2551 แกนของโลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ หรืออีกนัยหนึ่งแสงอาทิตย์ตกกระทบกับผิวโลกด้วยมุม 90 องศา ที่เส้นศูนย์สูตร ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า “ วสันตวิษุวัต” (Vernal equinox) ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทุกๆปีเป็นปกติ แต่ปีนี้ไม่ธรรมดาเพราะมีปรากฏการณ์ที่นานปีจะมีครั้ง คือ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันฟังสวดพระปะติโมกข์ และจะเห็นดาวเพ็ก (ดาวศุกร์) ขึ้นตอนรุ่งสาง ย้อนเหตุการณ์ของตำนานอุรังคธาตุที่เรียกว่า “ เพ็กมุสา” ราวกับถ่ายทอดสดย้อนหลังเป็นพันปี ส่วนชาวคริตส์คงต้องฉลองใหญ่เช่นกันเพราะ วัน “ อีสเตอร์ ซันเดย์” หรือ “ ปาสก้า” (Pascha) ของปีนี้หมุนกลับมาตรงกับเหตุการณ์เมื่อวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

     ชาวสกลนครคงจะคุ้นเคยกับเรื่องราวของตำนานอุรังคธาตุ ที่กล่าวถึงการแข่งขันสร้างปราสาทระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย เพื่อตัดสินว่าใครจะได้พระอุรังคธาตุซึ่งพระมหากัสปะนำมาจากชมพูทวีปไปบูชา ฝ่ายชายตกลงจะสร้างปราสาทบนยอดภูเขาที่ชื่อว่าดอยแท่นอยู่นอกตัวเมืองหนองหารหลวง ส่วนฝ่ายหญิงนำโดยพระนางนารายณ์เจงเวงชายาของพระยาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหารหลวง เงื่อนไขการแข่งขันระบุว่าให้เริ่มต้นสร้างปราสาทพร้อมกัน และทันทีที่เห็นดาวเพ็ก (ดาวพระศุกร์) ก็ให้หยุดก่อสร้าง แล้วมาดูว่าใครสร้างเสร็จหรือไม่เสร็จ ผู้ชนะจะได้พระอุรังคธาตุไปบูชาตามสัญญา ครั้นเมื่อถึงเวลาลงมือก่อสร้างฝ่ายชายประมาทว่าผู้หญิงคงไม่มีน้ำยาก็เลยชะล่าใจหันไปสร้างทางเดินก่อน ส่วนตัวปราสาทค่อยรอทีหลังคิดว่ายังไงก็เสร็จทัน ขณะเดียวกันฝ่ายหญิงเริ่มใช้หมัดเด็ดของสตรีเพศโดยแต่งตัวลักษณะล่อแหลมถ้าเป็นปัจจุบันอาจเรียกว่าสายเดี่ยวไปยั่วกิเลศ ทำให้ฝ่ายชายไม่เป็นอันทำงานทำการ ครั้งพอใกล้ถึงรุ่งสางฝ่ายหญิงปล่อยหมัดเด็ดชุดสอง จุดโคมไฟขึ้นฟ้าและหลอกว่าดาวเพ็กขึ้นแล้วฝ่ายชายจึงละทิ้งการก่อสร้าง ทำให้ปราสาทบนดอยแท่นไม่เสร็จ ต่อมาจึงรู้ว่าโดนหลอกแต่ก็ช้าไปต๋อยกลับลำไม่ทันแล้ว ปราสาทหลังนี้จึงถูกขนานนามว่า “ เพ็กมุสา” และกลายมาเป็น “ ปราสาทภูเพ็ก” หรือ “ พระธาตุภูเพ็ก” อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

     อาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรเขมรโบราณหรือที่เรียกติดปากว่า “ ขอม” เปรียบเสมือนอาณาจักรโรมันแห่งเอเชียอาคเนย์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 17 อาณาจักรนี้คลอบคลุมภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราว พ.ศ.1723 – 1763 เป็นยุคขอมเรืองอำนาจอย่างสุดๆ พระราชอาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ไพศาล และมีโครงการก่อสร้างมากมาย ได้แก่ เมืองขนาดใหญ่(นครธม) ถนนเชื่อมระหว่างเมือง ที่พักกลางทาง ปราสาทน้อยใหญ่ สะพานหินซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำชลประทาน และที่ขาดไม่ได้คือ อโรคยาศาล (โรงพยาบาลชุมชน) จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นที่ทราบดีในแวดวงของนักโบราณคดีว่าท่านวรมันองค์นี้นับถือศาสนาพุทธมหายานอย่างแรงกล้า พระองค์ทุ่มเทงบประมาณและกำลังคนอย่างมหาศาลในการก่อสร้างปราสาทเพื่อแสดงความศัทธาต่อพระโพธิสัตว์ เช่น ปราสาทบายน ปราสาทตาพรมปราสาทนาคพัน และตัวเมืองนครธม แต่พอถึงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ราว พ.ศ.1786 – 1838 พระองค์นับถือศาสนาฮินดูและแอนตี้ผลงานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างชนิดตายไม่ต้องเผาผีกัน มีคำสั่งให้ทำลายพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ทั่วราชอาณาจักร ที่ปราสาทตาพรมปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการลบทิ้งรูปสลักของพระโพธิสัตว์ หรือไม่ก็ดัดแปลงให้เป็นรูปศิวะลึงค์ ปราสาทที่ยังก่อสร้างได้ครึ่งๆกลางๆถูกดัดแปลง หรือไม่ก็ทิ้งร้างในทำนองประชดประชัน

     ปราสาทภูเพ็ก ที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นแห่งหนึ่งที่สร้างได้เพียงพื้นฐานและข้างฝาของห้องวิมาน และถูกทิ้งร้างยืนตระหง่านอย่างเดียวดายบนยอดเขาสูง 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์เสียก่อน และไม่มีผู้ใดสานงานต่อเนื่องจากสาเหตุข้างต้น ประกอบกับอาณาจักรขอมในยุคต่อจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 เดินเข้าสู่สัจธรรมที่ว่า “ เมื่อถึงจุดสูงสุดแล้วสูเจ้าจำต้องโรยราไปตามกาลและเวลา” ปราสาทภูเพ็กจึงมีสภาพเท่าที่เห็น อย่างไรก็ตามถ้าคิดนอกกรอบแบบ “ เอาอุปสรรคเป็นอุปกรณ์” ปราสาทแห่งนี้เป็นวัตถุพยานที่สะท้อนภาพในแง่มุมของศาสนา ดาราศาสตร์ และข้อขัดแย้งทางการเมืองอย่างชัดเจน เริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ก่อสร้าง ปุโรหิตผู้รับผิดชอบโครงการต้องมองหาภูเขาที่สูงที่สุดและมีรูปร่างเหมือน “ เขาพระสุเมร” ต้องมีการปรับแต่งพื้นดินบนยอดเขาให้ราบเรียบเพื่อให้ตัวปราสาทตั้งอยู่ริมหน้าผาด้านทิศตะวันออกและทำมุมกวาด 90 องศา จากทิศเหนือ ตามความเชื่อวันศักดิ์สิทธิ์ของปฏิทินมหาศักราช (Saka calendar) ที่กำหนดให้ตรงกับ “ วสันตวิษุวัต” (Vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศ “ ตะวันออกแท้” (Due east) แสงอาทิตย์ยามเช้าตรู่จะส่องตรงเข้าไปยังประตูห้องวิมานเพื่อเป็นพลังในการประกอบพิธีของเจ้านายชั้นสูง จากการสำรวจอย่างละเอียดพบว่าหินทรายที่ใช้ก่อสร้างถูกนำมาจากหน้าผาด้านทิศตะวันตก อยู่ห่างออกไปประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันยังมีร่องรอยของการตัดหินทุกขั้นตอน เริ่มจากการทำเครื่องหมายตีเส้นกำหนดรูปร่างบนแท่งหิน การเซาะร่องได้เพียงบางส่วน และหินที่ตัดเรียบเสร็จแล้วถูกทิ้งอยู่เรี่ยราดตามรายทาง แสดงให้เห็นการทิ้งงานแบบกะทันหัน ขณะเดียวกันก็มีรอยขีดที่พื้นประตูด้านทิศตะวันออกและผนังด้านทิศตะวันตกบ่งชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัต ซึ่งตามปฏิทินสากลปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วสันตวิษุวัต : Vernal equinox ) และ 23 กันยายน (ศารทวิษุวัต : Autumnal equinox ) รวมทั้งรอยขีดที่ประตูด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก บ่งชี้ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า “ ทิศภูมิศาสตร์ทั้งสี่” (The four cardinals) หลายท่านอาจตั้งคำถามว่าบรรพชนเหล่านั้น ใช้วิธีกำหนดทิศตามหลักดาราศาสตร์ได้อย่างไร คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือใช้เทคโนโลยี Shadow plot โดยหาจุดตัดระหว่างเงาของหลักไม้ที่ตั้งตรง กับเส้นรอบวงกลมที่ไม้อันนั้นเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นวิธีเดียวกันกับที่ชาวอียิปส์โบราณใช้ในการกำหนดทิศของปีรามิดและวิหารต่างๆ

     ถ้าท่านได้มีโอกาสไปที่ปราสาทภูเพ็ก ตรงกับวัน “ วสันตวิษุวัต” 21 มีนาคม หรือ “ ศารทวิษุวัต” 23 กันยายน จะเห็นด้วยตาตนเองว่าดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางของประตูห้องวิมาน และเรืองแสงสีแดงอย่างสวยงามเหนือแท่งศิวะลึงค์ที่ตั้งอยู่หน้าประตู ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เช่นเดียวกันนี้ก็มีที่ปราสาท นครวัด ที่เมืองเสียบเรียบ ประเทศกัมพูชา ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 ราว พ.ศ. 1656 – 1693 และอีกหลายปราสาท เช่น ปราสาทพนมบาเค็ง และปราสาทบายน เกี่ยวกับเรื่องนี้ เอลลินอร์ มานนิการ์ (Eleanor Mannika) นักโบราณคดีแห่งบรรพกาลชื่อดังชาวอเมริกันเจ้าของหนังสือ ANGKOR WAT Time, Space, and Kingship ให้ข้อมูลว่าปราสาทนครวัดเต็มไปด้วยหลักฐานทางดาราศาสตร์ที่เชื่อมโยงอย่างลึกซื้งกับความเชื่อของศาสนาฮินดู และเชื่อว่าพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 ประกอบพิธีราชาภิเษกในวัน “ วสันตวิษุวัต” จะเห็นได้ว่าที่ระเบียงด้านทิศตะวันออกของปราสาทนครวัด แสงอาทิตย์ในวันดังกล่าวส่องตรงไปที่ตรงกลางของภาพเกาะสลักพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งมีรูปพระวิษณุอวตาลเป็นเต่าชื่อ “ กอร์มะ” ทำหน้าที่หนุนภูเขา “ มันดาระ” ไม่ให้จมทะเลน้ำนม

     นอกจากนี้ที่ปราสาทภูเพ็กยังมีแท่งหินทรายสี่เหลี่ยมขนาด 56 ซม. X 56 ซม. มีรูสี่เหลี่ยมเล็กๆเรียงตัวเป็นรูปทรงเรขาคณิต นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรให้ความเห็นในหนังสือชื่อ “ รอยอดีตสกลนคร” ว่าช่องสี่เหลี่ยมเหล่านี้อาจมีความหมายถึงการจำลองจักรวาลหรือที่ประทับของเทพเจ้า ซึ่งในสายตาของ สรรค์สนธิ บุณโยทยาน มองทะลุไปถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญที่เปรียบเสมือนเทพเจ้าของของชาวขอม เพราะพวกเขานับถือดวงอาทิตย์เป็นเทพเจ้า จะเห็นได้ว่าชื่อของกษัตริย์ขอมหลายพระองค์มีคำว่า “ สุริยะ” และ “ อาทิตย์” เช่น สุริยะวรมัน อุทัยอาทิตย์วรมัน คำว่า “ วรมัน” แปลว่า “ ปกป้อง หรือ คุ้มครอง” ดังนั้น สุริยะวรมัน จึงหมายถึง ผู้ที่สุริยะเทพให้การปกป้อง และเมื่อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ถอดรหัสมุมกวาดของช่องสี่เหลี่ยมเหล่านี้ พบว่าเป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีสำคัญ เช่น ราศีเมษ ราศีมีน ราศีแมลงป่อง และราศีแพะทะเล เมื่อไปเฝ้าดูดวงอาทิตย์ในเช้าตรู่ของวันที่ตรงกับราศีดังกล่าวก็พิสูจน์ได้ด้วยตาตนเองแบบเชิงประจักษ์ จึงกล่าวได้ว่าเจ้านายชาวขอมซึ่งปกครองเมืองหนองหารหลวง (เชื่อว่าเป็นชื่อเก่าของเมืองสกลนครในยุคขอมเรืองอำนาจ) อุตส่าห์ลงทุนลงแรงอย่างมหาศาลขน ไพล่พลและเครื่องมือจำนวนมากปีนขึ้นไปก่อสร้างปราสาทบนยอดเขาสูง 500 เมตร ท่ามกลางภัยธรรมชาติที่รุมล้อมแทบทุกย่างก้าว ก็เพื่อสร้างศาสนสถานในรูปแบบ “ สุริยะปฏิทินมหาศักราช” ให้เป็นมิ่งขวัญแห่งเมืองหน้าด่านที่สำคัญอย่างหนองหารหลวง นอกจากนี้ปราสาทภูเพ็กยังตั้งอยู่ในเส้นตรงแนว ตะวันออก-ตะวันตก เดียวกันกับ ปราสาทนารายณ์เจงเวง ที่อยู่นอกเมืองหนองหารหลวง ขณะเดียวกันก็ทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมสวยงามกับ ปราสาทหินพิมาย และปราสาทบายน จนเรียกได้ว่านี่คือ “ สามเหลี่ยมพุทธมหายาน” เพราะทั้งสามแห่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธนิกายมหายานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

                                         ดังนั้น ปราสาทภูเพ็ก จึงไม่ใช่เป็นเพียงโบราณสถานธรรมดา แต่เป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อทางศาสนา ผสมผสานกับการปกครองระบอบเทวราชา และปฏิทินมหาศักราช ที่ผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันสำคัญทางดาราศาสตร์ และสุดท้ายของสุดท้ายความเชื่อดังกล่าวตกทอดมาเป็นวิชาโหราศาสตร์ในรูปแบบปฏิทินไทย ที่เริ่มต้นวันปีใหม่ (สงกรานต์) ด้วยตำแหน่งดวงอาทิตย์ใน “ ราศีเมษ” และปี 2551 นี้ ชาวคริสต์ทั่วโลกต้องฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เพราะวัน “ อีสเตอร์ ซันเดย์” หรือภาษากรีกเรียกว่า “ ปัสก้า” ( ซึ่งกำหนดสูตรคำนวณโดย First Council of Nicaea เมื่อ ค.ศ. 325 ) ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม 2551 ซึ่งหมุนกลับมาตรงกับเหตุการณ์เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเมื่อ ค.ศ. 33 อยู่ในช่วงที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ตรงกับวันศุกร์ วสันตวิษุวัต พระจันทร์เต็มดวง (Friday, Vernal equinox and Full moon) และฟื้นคืนชีพในวันอาทิตย์

 

 

 

 

 

 


ปราสาทภูเพ็ก สูง 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนยอดภูเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา ภูพาน จังหวัดสกลนคร มีรูปร่างเหมือนเขาพระสุเมร และสูงที่สุดในละแวกนั้น


ตัวปราสาทหันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ หรือ “ วิษุวัต” และถูกกำหนดให้อยู่ที่หน้าผาด้านทิศตะวันออกสุด โดยขนก้อนหินทรายมาจากแหล่งที่อยู่ด้านทิศตะวันตกห่างออกไปประมาณ 400 เมตร


ดวงอาทิตย์ส่องแสงเรืองรองเหนือแท่งศิวะลึงค์ ที่หน้าประตูห้องวิมานของปราสาทภูเพ็ก ในเช้าตรู่ของวัน “ วสันตวิษุวัต” แกนของโลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน ทางโหราศาสตร์ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของราศีเมษ และเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี


ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน “ เหมายัน” (Winter solstice) แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ เป็นราศี “ แพะทะเล” (Carpricornus) กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม


แท่งหินทรายที่ตั้งอยู่หน้าประตูปราสาทภูเพ็ก แสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในราศีสำคัญ โดยเริ่มต้นที่ราศีเมษ (Zodiac Aries)

 


รอยขีดบนพื้นธรณีของประตูปราสาทภูเพ็ก แสดงทิศตะวันออกแท้ หรือเส้นวิษุวัต (Equinox alignment) เป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางหน้าปราสาทในวัน “ วสันตวิษุวัต” 21 มีนาคม และ “ ศารทวิษุวัต” 23 กันยายน


ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับยอดปรางค์อันกลางของปราสาทนครวัด ในวัน “ วสันตวิษุวัต” ตามที่Eleanor Mannika ผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์แห่งบรรพกาล ชาวอเมริกัน ทำการศึกษาไว้ และเขียนหนังสือ ชื่อ ANGKOR WAT Time, Space, and Kingship


 


รุ่งสางวันที่ 21 มีนาคม 2551 พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออกแท้ เป็นวัน “ วสันตวิษุวัต” (Vernal equinox) วันนี้จะเห็น “ ดาวเพ็ก” (ดาวศุกร์) ดาวพุธ ดาวพฤหัส และดวงอาทิตย์ เรียงตัวเป็นเส้นตรง ผ่านราศี “ คนแบกหม้อน้ำ” (Zodiac Aquarius)

ตามสูตรของ The First Council of Nicaea เมื่อ ปี ค.ศ. 235 กำหนดให้วัน “ อีสเตอร์” หรือ “ ปาสก้า” ตรงกับ วันอาทิตย์ ถัดจาก Full Moon ที่ตามหลัง “ วสันตวิษุวัต” วันที่ 21 มีนาคม (Vernal equinox) เพราะเชื่อว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ในวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ และตรงกับ “ วสันตวิษุวัต” และ ฟื้นคืนชีพในวันที่สาม คือวันอาทิตย์ ดังนั้นจึงใช้ชื่อวันนี้ว่า Easter Sunday หรือ Pascha ซึ่งเป็นวันสำคัญยิ่งยวดของศาสนาคริสต์


 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ