ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ความเป็นมาของสุริยปฏิทิน

 

    ดาราศาสตร์แห่งบรรพกาล ที่มาของปฏิทิน

 1. ดาราศาสตร์กับมนุษยชาติ

           นักโบราณคดีที่ขุดค้นในดินแดนอู่อารยะธรรมของโลกระหว่างแม่น้ำไตรกีสและยูเฟรตีส ที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย(ปัจจุบันเป็นประเทศอีรัก) ยังไม่สามารถอธิบายให้ชัดเจนว่าทำไมวิชาดาราศาสตร์จึงเป็นสิ่งแรกๆที่มนุษย์ได้เรียนรู้เมื่อเข้าสู่อารยธรรม พวกเขาน่าจะศึกษาเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือสิ่งที่อยู่บนพื้นโลกมากกว่าจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบสุริยะและดวงดาวที่อยู่ไกลโพ้น วิชานี้น่าจะเหมาะสำหรับยุคสมัยของพวกเราในปัจจุบันที่มียานอวกาศ มีกล้องดูดาวประสิทธิภาพสูง มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ฯลฯ แต่ตรงกันข้ามจารึกโบราณของชาวสุเมเรี่ยนเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว ได้กล่าวถึงความเป็นมาของระบบสุริยะอย่างละเอียด พวกเขารู้จักดาวเคราะห์ชั้นนอกที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คือ ดาวยูเรนัส และเนปจูน ซึ่งเราเพิ่งค้นพบเมื่อสองสามร้อยกว่าปีมานี้เอง ส่วนดาวพลูโตพบเมื่อเจ็ดสิบกว่าปีที่แล้วใน พ.ศ.2473 ยิ่งกว่านั้นจารึกของพวกเขายังยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์อันไกลโพ้นสุดขอบที่ชื่อว่า นีบิรุ/มาร์ดุ๊ก (Nibiru/Marduk) โคจรรอบดวงอาทิตย์แบบตามเข็มนาฬิกา (Retrograde motion) ด้วยเวลา 3,600 ปี เป็นวงรีเหมือนดาวหางฮัลเล่ย์ ข้อมูลเหล่านี้ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาอักเคเดี้ยน บาบิโลเนี่ยน และแอสสิเรี่ยน ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เกิดขึ้นหลังจากสุเมเรี่ยนล่มสลายไปแล้วเป็นพันปี ห้องสมุดที่เมืองนิเนเว่ห์ของพระเจ้าอัสสูบันนิปาล (Ashurbanipal) กษัตริย์นักรบและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรแอสสิเรียเมื่อ 2,600 ปี ที่แล้ว บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับดาราศาสตร์ไว้มากมายไม่แพ้ห้องสมุดของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

           ที่ประเทศไอร์แลนด์ Ireland (เป็นเกาะอยู่ใกล้ๆประเทศอังกฤษ) มีกองหินประหลาดที่เข้าข่ายวิชาดาราศาสตร์ เรียกว่านิวเกรน (Newgrange) นักโบราณคดีเชื่อว่ามีอายุประมาณ 5,300 ปี หรือ 3,300 ปี ก่อน ค.ศ. กองหินดังกล่าวมีรูปร่างเหมือนกระทะทรงกลมคว่ำ สูง 10 เมตร กว้าง 87 เมตร มีช่องให้แสงอาทิตย์ยามเช้าของวันเหมายัน (Winter Solstice) ส่องลึกเข้าไปตามทางเดินแคบๆ


            กองหินลึกลับสโตนส์เฮ็จน์ (Stonehenge) อันลือชื่อของเกาะอังกฤษ ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ชี้บ่งตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวัน ครีษมายัน (Summer Solstice) ท่านเซ่อร์นอร์แมน ล็อกเยอ่ร์ (Sir Norman Lockyer) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชาดาราศาสตร์แห่งบรรพกาล (Archaeo-astronomy) ได้ศึกษาเรื่องราวของสโตนศ์เฮ็นจ์อย่างละเอียดและเขียนหนังสือ ซื่อ รุ่งอรุณแห่งดาราศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.2437


           ดวงอาทิตย์มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของเราอย่างแนบแน่น เช่น เมื่อโลกพาพวกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว(ยิ่งกว่าลูกกระสุนปืน)ประมาณ 30 กิโลเมตร/วินาที ครบ 1 รอบ เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองประมาณ 365.25 ครั้ง พวกเราก็แก่ไปอีก 365 วัน หรือ 1 ปี เพราะ DNA ของเราถูกโปรแกรมให้สอดคล้องกับโลกและระบบสุริยะ มิติแห่งกาลเวลาที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มาจากตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เนื่องจากความเกี่ยวพันระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น

 


  2. ปีแห่งจักรราศี และการเคลื่อนที่แบบถดถอยของตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน วสันตวิษุวัต

           หลายพันปีมาแล้วบรรพชนผู้มีภูมิปัญญาสูงในดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แบ่งเส้นทางเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าออกเป็น 12 ช่องๆละ 30 องศา รวมทั้งสิ้น 12 x 30 = 360 องศา ในแต่ละเดือนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งดังกล่าวเดือนละ 1 ช่อง และไกลออกไปมองเห็นกลุ่มดาวฤกษ์เป็นฉากอยู่ข้างหลัง ท่านเหล่านั้นสร้างจินตนาการให้กลุ่มดาวฤกษ์มีภาพลักษณ์เหมือนรูปคน รูปสัตว์ โดยตั้งชื่อให้เรียกขานได้ เช่น กลุ่มดาวแกะทองคำ กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวคนคู่ และกลุ่มดาวปู ดังที่กล่าวแล้วในบท 2.1 เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตรงกับกลุ่มดาวฤกษ์ใดก็เรียกชื่อเดือนให้ตรงกับกลุ่มดาวนั้นๆ การเคลื่อนที่ ครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 365 วัน เรียกว่า 1 ปี เท่ากับดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ครบทั้ง 12 กลุ่มแล้ว

           ในที่นี้จำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้นนับหนึ่ง ฮิปปาชุส (Hipparchus) นักดาราศาสตร์ชาวกรีกเมื่อ 2,200 ปีที่แล้ว กำหนดให้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในกลุ่มดาวแกะทองคำ หรือ ราศีเมษ (Aries) เป็นราศีแรกของปี และให้นับหนึ่งโดยเริ่มต้นจากวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนพอดี วันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ตำแหน่งตะวันออกแท้ทำมุมกวาด 90 องศา จากทิศเหนือ เผอิญอยู่ในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิพอดี จึงเรียกวันนี้ว่า Vernal equinox หรือ Spring equinox ภาษาไทยใช้คำว่า วสันตวิษุวัต ที่จริงคำนี้เป็นภาษาแขกอินตาละเดีย (Hindi) ออกเสียงว่า Visuva มาจากรากศัพท์สันสฤกต ท่านบังเละแกออกเสียงในฟิล์มเต็มๆว่า Visuva Samkrati วิษุวะ สัมกราติ หรือ Mesha Samkrati เมช่า สัมกราติ พี่ไทยเราออกเสียงว่า วิษุวัต สงกรานต์ หรือ เมษา สงกรานต์ โชคดีที่ผมเคยเป็นนักเรียนเกษตรอยู่ที่รัฐปันจาบ อินเดีย 5 ปี เต็มๆ จึงมีประสบการณ์ภาษาแขกพอสมควร

           เมื่อ 134 ปี ก่อนคริสตกาล (134 B.C.) ท่านฮิปปาชัส ได้ค้นพบปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับจักรราศี คือ การเคลื่อนที่แบบถดถอยของตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัต (Precession of vernal equinox) เรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับเราๆท่านๆที่ไม่ได้เรียนวิชาดาราศาสตร์มาโดยตรง แม้กระทั่งหมอดูโหราศาสตร์ที่นั่งอยู่ใต้ต้นมะขามท้องสนามหลวง ผมเองกว่าจะทำความเข้าใจให้ตัวเองก็เล่นเอาหืดขึ้นคอต้องอ่านเอกสารกลับไปกลับมาหลายตลบ ในที่สุดสรุปสาระสำคัญได้ กล่าวคือ

           ที่เราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ตอนเป็นเด็กๆคุณครูบอกว่า โลกของเรามีลักษณะเอียง 23.5 องศา จากแนวดิ่ง นั่นถูกต้องในปัจจุบันแต่ในความเป็นจริงมุมที่ว่านี้ขยับเปลี่ยนไปช้าๆ โดยแกว่งกลับไปกลับมาระหว่าง 21 องศากว่าๆ กับ 24 องศา กว่าๆ การเปลี่ยนเพียงแค่ 1 องศา ต้องใช้เวลานานถึง 7,000 ปี ท่าน Sir Norman Lockyer นักดาราศาสตร์แห่งบรรพกาลชาวอังกฤษ เจ้าของผลงานวิจัยชื่อ รุ่งอรุณแห่งดาราศาสตร์ (The Dawn of Astronomy) เมื่อ ปี ค.ศ.1894 หรือ พ.ศ.2437 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุมเอียงของโลก


                            ปี คศ.                 มุมเอียงของโลกจากแนวดิ่ง (องศา)

   ปัจจุบัน                        23.5

  500 BC                      23.75

1000 BC                      23.81

1500 BC                      23.87

2000 BC                      23.92

2500 BC                      23.97

3000 BC                      24.02

3500 BC                      24.07

4000 BC                      24.11

 

     
ถ้าโลกไม่เอียง 23.5 องศา แสงอาทิย์จะส่องตรงกลางโลกตลอดกาล กลางวันจะเท่ากับกลางคืนเสมอ ไม่ว่าโลกจะโคจรไปอยู่ส่วนใดของวงโคจรก็ตาม และจะไม่มีการเปลี่ยนฤดูกาล

 

      ภาพจำลองในวันวิษุวัต(Equinox)สำหรับคนที่อยู่ซีกโลกเหนือประมาณ เส้นรุ้ง20 องศาเหนือ สังเกตบริเวณโคนต้นไม้จะวางอยู่ซีกโลกเหนือเงาต้นไม้ตอนเที่ยงจะเอียงมาทิศเหนือ(ซ้ายมือ) จะสังเกตเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกตรง (true east) เป็นรูปสีแดงเล็ก และโค้งข้ามศีรษะเอียงไปทางใต้เล็กน้อย และตกตรงทิศตะวันตกตรง เป็นรูปสีแดงใหญ่
 

           2.1 โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และขณะเดียวกันก็หมุนรอบตัวเองด้วยมุมเอียงดังกล่าว ถ้าพูดเป็นภาษาคณิตศาสตร์ต้องบอกว่า โลกหมุนรอบตัวเองประมาณ 365 ครั้ง เท่ากับ โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ 1 ปี จึงมีประมาณ 365 วัน ในแต่ละวันมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร (เส้นลากผ่านกึ่งกลางโลก) จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโลกในวงโคจร ณ วันนั้นๆ และในรอบ 1 ปี แสงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉาก 90 องศา กับเส้นศูนย์สูตร อยู่ 2 วัน คือ วันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) และศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) สองวันนี้กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี equinox มาจากภาษาลาติน equi = equal (เท่ากัน) nox = night (กลางคืน) equinox = equal night ท่าน ฮิปปาชัส กำหนดให้วันวสันตวิษุวัต ที่ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีเมษ (Aries) เป็นวันแรกของปี บรรดานักโหราศาสตร์เรียกวันนี้ว่า จุดเริ่มต้นของราศีเมษ (First point of Aries) ความจริงข้อมูลนี้มีมาก่อนหลายพันปี ชาวเมโสโปเตเมียซึ่งเป็นต้นตำหรับวิชาดาราศาสตร์เรียกวันนี้ว่า นิสซันนู (Nissanu)

  

          ภาพจำลองการเกิด วสันตวิษุวัต(รูปโลกไกล)จะมีกลางวันเท่ากับกลางคืน มายัง ครีษมายัน(โลกอยู่ซ้ายสุด)แสงจะตั้งฉากกับเส้นรุ้งที่ 23.5 องศาเหนือกลางวันจะยาวกว่ากลางคืนที่สุด ต่อไปยัง ศารทวิษุวัต(โลกอยู่ใกล้)จะมีกลางวันเท่ากับกลางคืนอีกครั้ง และต่อไปยังเหมายัน(โลกขวาสุด)ที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นรุ้งที่ 23.5 องศาใต้ กลางคืนจะยาวกว่ากลางวันที่สุด

            เมื่อ ปี ค.ศ.134 BC ท่านฮิปปาชัสให้ข้อมูลว่าตำแหน่ง วสันตวิษุวัต เปลี่ยนไปอย่างช้าๆโดยเคลื่อนที่ไปในทิศทางถอยหลังเข้าหาราศี มีน (Pisces) ซึ่งเป็นราศีสุดท้ายอันดับทื่ 12 แทนที่จะเดินหน้าไปสู่ราศีวัว(Taurus) ปรากฏการณ์นี้มีสาเหตุจากมุมเอียงของโลกเปลี่ยนไป ดังที่ผมอธิบายในข้อ 2.1 เมื่อคำนวณทางดาราศาสตร์พบว่า การเคลื่อนที่จากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง กินมุม 30 องศา ใช้เวลา 2,160 ปี จึงเรียกว่า ปีแห่งจักราศี (Age of zodiac) ในสมัยของท่านฮิปปาชัส วสันตวิษุวัต อยู่ในราศีเมษ แต่ปัจจุบัน (2003) วสันตวิษุวัต ถดถอยมาอยู่ที่บริเวณเส้นแบ่งระหว่างราศีมีน(Pisces) กับราศีคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) และเมื่อการเคลื่อนที่ของ วสันตวิษุวัต ครบรอบ 360 องศา คือผ่านทั้ง 12 ราศี และกลับมาที่เดิมคือ ราศีเมษ ใช้เวลาทั้งสิ้น เกือบ 26,000 ปี นักดาราศาสตร์ ตั้งชื่อว่า ปีใหญ่(The Great Year)

 

แผนภูมิแสดงการถดถอยของวสันตวิษุวัต(Vernal Equinox) จากราษีมีน(Pisces) ไปทางราศีกุมภ์(Aquarius) กินเวลาราศีละ 2.160 ปีกว่าจะครบรอบถึง 25,920 ปี

มนุษยชาติกับปฏิทิน

           ตามหลักฐานทางโบราณคดีมนุษย์รู้จักสร้างปฏิทินก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร พวกเขาใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการกำหนดช่วงเวลา โดยอ้างอิงกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้าได้แก่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และแม้กระทั่งดาวฤกษ์ พวกเขาใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เรียงตัวกันเป็นสัญลักษณ์ เช่น กองหินลึกลับ สโตนจ์เฮ้นจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ และ กองหินประหลาด เมดิซีน วีล (Medicine wheel) บนยอดของเทือกภูเขาบิ๊กฮอน ในรัฐไวโอมิ่ง สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนักวิชาการยังยอมรับว่ามึนตึ๊บเพราะไม่สามารถฟันธงว่าปฏิมากรรมเหล่านั้นมีอายุเก่าแก่ขนาดไหนและใครเป็นคนสร้างขึ้นมา เราเพียงแต่รู้ว่ามันเป็นปฏิทินที่ใช้ข้อมูลดาราศาสตร์อิงกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์

 

 

           พระคำภีร์ไบเบิ้ลฉบับเก่า (The Old Testament) กล่าวถึงบรรพบุรุษเก๋ากึ๊กที่ชื่อ อีน็อก (Enoch) ชายผู้นี้แหละมีเรื่องราวระบุว่าซี้แหงกับพระเจ้ามากที่สุดและได้รับการถ่ายทอดความรู้ดาราศาสตร์จากเทวดาที่ชื่อ อูเรี่ยน (Uriel) จนสามารถประดิษฐ์ปฏิทินโดยใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นตัวชี้ เรียกว่า เครื่องกลแห่งอูเรี่ยน (Uriel’s Machine)

          

            เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนแห่งลุ่มน้ำ ไตรกีส และ ยูเฟรตีส ที่รู้จักกันดีในชื่อว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ปัจจุบันอยู่ในประเทศอีรัก ของอีตาหนวดซัดดัม ได้สร้างปฏิทินขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลกที่เมือง นิปปู (Nippur) เมื่อ 3,760 ปี ก่อนคริสตกาล พวกเขาแบ่งช่วงเวลา 1 ปี ออกเป็น 12 เดือน และให้เริ่มปีใหม่ในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Spring Equinox)

          ครั้นอารยธรรมอียิปต์ฉายแสงขึ้นมาก็สร้างปฏิทินขึ้นมาใช้โดยถ่ายทอดข้อมูลไปจากชาวสุเมเรี่ยน ชาวอียิปต์ใช้วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับดาวฤกษ์ซิริอุส (Sirius) เป็นปีใหม่ เพราะพวกเขานับถือดาวดวงนี้เป็นเสมือนเทพโอซิรีส (Osiris) เมื่ออาณาจักรโรมันผงาดขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ 753 ปี ก่อนคริสตกาล ก็สร้างปฏิทินขึ้นโดยนับเริ่มต้นจากปีที่สร้างกรุงโรม ภาษาลาตินใช้คำว่า ab urbe condita (A.U.C.) ปฏิทินโรมันเป็นจันทรคติคือใช้ดวงจันทร์เป็นตัวอ้างอิง โดยให้ปีหนึ่งมี 10 เดือน หรือ 304 วัน และให้วันที่ 1 มกราคม เป็นปีใหม่ ( เดือนมกราคม มาจากชื่อของเทพ เจนัส Janas ) ต่อมาปรับเพิ่มเป็น 355 วัน และมีเดือนบวกพิเศษอีก 1 เดือน ทุกๆปีเว้นปี แต่ปฏิทินฉบับนี้คลาดเคลื่อนจากรอบปีตามสุริยะคติ ประมาณ 5 วัน ในรอบทุกๆ 4 ปี เมื่อสะสมนานนับร้อยปีก็เป็นเหตุให้วันสำคัญไม่ตรงกับฤดูกาลที่กำหนด ชาวโรมันเริ่มหงุดหงิดกับปฏิทินของพวกเขาแต่ยังไม่มีใครอาจหาญลุกขึ้นมาแก้ไข จวบจนถึงสมัยของจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส ซีซ่า (Julius Caesar) เมื่อ 48 ปี ก่อนคริสตกาล พี่แกคุ้นเคยกับข้อมูลดาราศาสตร์และปฏิทินของอียิปต์เพราะมีหวานใจพระนางคลีโอพัตราอยู่ที่นั่น จึงเกิดความคิดว่าไหนๆก็มีเมียเป็นอียิปต์แล้วต้องเอาความรู้ของเขามาปรับแก้ปฏิทินของโรมันซะเลย ใครจะว่ายังไงก็ไม่ว่ากันเพราะหลวมตัวไปแล้วนี่หว่า อันนี้ผมคิดเองนะครับไม่กล้ายืนยันว่าท่านซีซ่าร์คิดเช่นนี้หรือเปล่า แต่ดูเหตุการณ์มันฟ้องอยู่ในที ท่านซีซ่าร์เรียกที่ปรึกษาชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส (Sosigenes) แห่งเมืองอเลกซานเดรีย มารับมอบภาระกิจให้คิดวิธีปรับแก้ปฏิทินโรมันเสียใหม่ให้สอดคล้องกับฤดูกาล

           ในที่สุด โซซิเจเนส ส่งการบ้านอันยอดเยี่ยมให้ท่านซีซ่าร์ ในอีก 2 ปี ต่อมา ( 46 ปี ก่อนคริสตกาล) โดยกำหนดให้เป็นปฏิทินสุริยะคติ ปีหนึ่งมี 365 วัน และบวกพิเศษ อีก 1 วัน ทุกๆ 4 ปี เพราะคำนวณจากฐานว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เท่ากับ 365.25 วัน ตอนแรกท่านซีซ่าอยากจะให้เริ่มวันปีใหม่ที่ วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) หรือไม่ก็ เหมายัน (Winter Solstice) แต่พวกวุฒิสมาชิกไม่ยอมเพราะปฏิทินโรมันถือว่า วันที่ 1 มกราคม มีความหมายอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลทางการเมืองท่านซีซ่าจึงยอมประนีประนอมในประเด็นนี้เพราะไม่อยากเป็นศัตรูกับวุฒิสภา อย่างไรก็ตามท่านซีซ่าร์ยังไว้เชิงเอาชื่อเจ้าของไปตั้งชื่อเดือน กรกฏาคม (July มาจาก Julius) และต่อมากษัตริย์โรมัน ชื่อ Augustus ก็เอาอย่างมั่ง เดือนสิงหาคม จึงใช้คำว่า August ปฏิทินของท่านซีซ่าร์ (Julian Calendar) ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศยุโรปมาจวบจนถึง ปี ค.ศ.1582 ก็ต้องสังคายนาอีกครั้งหนึ่ง

           แม้ว่าปฏิทินซีซ่าร์ถือว่าดีที่สุดในยุคนั้นแต่ยังมีความคลาดเคลื่อนปีละ 0.0076 วัน เมื่อกาลเวลาผ่านไป 131 ปี ก็สะสมเป็น 1 วัน ยิ่งเวลาผ่านไปพันปีก็ยิ่งคลาดเคลื่อนมากขึ้นจนทำให้วันสำคัญทางศาสนาคาทอลิกไม่ตรงกับฤดูกาลทางดาราศาสตร์ เช่น อีสเตอร์ (Easter) ซึ่งถือเป็นวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน วันอีสเตอร์ถูกกำหนดโดยสภาศาสนาแห่งเมืองนีเซีย (Council of Nicaea) เมื่อปี 325 หลังคริสตกาล ให้ตรงกับวันอาทิตย์ถัดจากวันเพ็ญที่เกิดขึ้นหลังวันวสันตวิษุวัต ทั้งนี้พวกเขากำหนดให้ วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันวสันตวิษุวัต ปฏิทินซีซ่าร์สะสมความคลาดเคลื่อนไว้มากจนเป็นเหตุให้วันที่ 21 มีนาคม ถึงก่อนวันวสันตวิษุวัต ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1582 ท่านสันตะปาปา เกรเกอรี่ ที่ 13 แห่งกรุงโรม (Pope Gregory XIII) ได้ออกประกาศกฎหมายแห่งศาสนจักร ให้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินของท่านซีซ่าร์เสียใหม่ หลังจากที่มอบให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางดาราศาสตร์ ชื่อ Jesuit Christopher Clavius (1537 – 1612) ทำการศึกษาอย่างละเอียด ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติเพราะในยุคนั้นท่านสันตะปาปาประมุขของศาสนจักรมีอำนาจล้นฟ้า สาระสำคัญของปฏิทินใหม่ซึ่งเรียกว่าปฏิทินเกรเกอร์เรี่ยน (Gregorian calendar) มีดังนี้


           1. หลังจากวันพฤหัสบดี ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1582 รุ่งขึ้นวันศุกร์ให้ถือเป็น วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.1582 โดยอัตโนมัติปฏิทินฉบับนี้มีการชดเชยเพิ่มวันพิเศษ 1 วัน ทุกๆ 4 ปี เรียกว่า Leap Year คือให้มี 29 กุมภาพันธ์ ในปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว แต่ปีสุดท้ายของศตวรรษซึ่งตรงกับครบรอบ 4 ปี ได้แก่ 1600 และ 2000 ที่หารด้วย 400 แล้วลงตัว ให้มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ได้ ส่วนปีสุดท้ายของศตวรรษที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น 1700 1800 1900 และ 2100 ให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วันตามปกติ ปฏิทินเกรกอเรี่ยนใช้ข้อมูลที่นับจำนวนวันในรอบ 1 ปีเท่ากับ 365.2425 วัน ความคลาดเคลื่อนจากรอบปีทางดาราศาสตร์ (Solar Year) ที่มีจำนวนวันเท่ากับ 365.2422 เพียง 0.0003 วัน / ปี ดังนั้นจะมีความเที่ยงตรงได้นานถึง 3,336 ปี จึงค่อยปรับอีก 1 วัน เรียกว่านานจนลืมเลยละครับ ปีนี้ ค.ศ.2006 ต้องรออีกตั้ง 2,912 ปี
ปฏิทินเกรกอเรี่ยน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นปฏิทินที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันในยุคปัจจุบัน เรียกว่าปฏิทินสากล

           ย้อนข้ามทวีปกลับมาดูที่บ้านเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนชมพูทวีป ชาวฮินดูมีปฏิทินใช้มาตั้งแต่โบราณกาล ที่โด่งดังและรู้จักแพร่หลายคือ ปฏิทินมหาศักราช (Saka calendar) เริ่มใช้ตั้งแต่พระเจ้าศาลิวาหนะ แห่งราชวงศ์ศกะ ทรงมีชัยชนะต่อศัตรูเทียบได้ตรงกับ ค.ศ.ที่ 78

           ปฏิทินมหาศักราชแพร่เข้าไปในดินแดนอาณาจักรขอมพร้อมกับความเชื่อทางศาสนาฮินดูและกลายเป็นปฏิทินของพวกเขาไปโดยปริยาย จารึกของชาวขอมจึงอิงมหาศักราชทั้งสิ้น มหาศักราชถือว่าวันปีใหม่ตรงกับวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ความเชื่อนี้ตกมาถึงพี่ไทยอย่างเราๆด้วย เพราะวันมหาสงกรานต์คือปีใหม่ เป็นวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าราศีเมษเช่นกัน เรื่องราวของ 12 จักรราศีตกมาถึงชมพูทวีปในสมัยที่จอมทัพหนุ่มไฟแรงแห่งอาณาจักร มาซีโดเนีย คือพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช กรีฑาทัพเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้เมื่อ 327 ปี ก่อนคริสตกาล ชมพูทวีปในยุคนั้นกลายเป็นดินแดนในอาณัติของอาณาจักรมาซีโดเนียซึ่งมีวัฒนธรรมเหมือนชาวกรีก ปฏิทินมหาศักราชจึงใช้จักรราศีเช่นเดียวกับชาวกรีก

ปฏิทินพุทธศักราช กำเนิดโดยนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา กำหนดเอาปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นปี พ.ศ.1 โดยเริ่มนับ แรม 1 ค่ำ เดือน 6 ถัดจากวันนิพพาน คือ วันเพ็ญ เดือน 6 (ปัจจุบันตรงกับวันวิสาขบูชา) แต่ไม่ทราบเหตุใดประเทศต่างๆที่นับถือพุทธนับจุดเริ่มต้น พ.ศ. 1 ไม่พร้อมกัน พม่า จีน และอินเดีย นับ พ.ศ.1 ก่อนประเทศไทย 1 ปี ดังนั้น พ.ศ.2546 ของไทยจึงเท่ากับ พ.ศ.2547 ของพม่า

           ยุคขอมเรืองอำนาจในดินแดนแหลมทอง ระหว่าง คริสตศักราช ที่ 9 - 12 ก่อนยุคอาณาจักรสุโขทัย ครั้งนั้นพวกเขาใช้มหาศักราชอย่างแพร่หลาย ศิลาจารึกหลัก ที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงประดิษฐ์อักษรไทยก็ใช้มหาศักราช ที่ 1205 (ตรงกับ พ.ศ.1826) ครั้นถึงยุคกรุงศรีอยุธยาไทยเราหันมาใช้ จุลศักราช และใช้มาเรื่อยๆจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และต่อมา รัชกาลที่ 5 เห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะเป็นของพม่าจึงโปรดให้เปลี่ยนมาใช้ พุทธศักราช แทนตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ตามได้มีการกำหนดให้มี รัตนโกสินทร์ศก ขึ้นโดยเริ่มนับตั้งแต่สร้างกรุงเทพ เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2324 ปัจจุบันเรียกว่า วันจักรี

           ผมค้นคว้าอ่านหนังสือเกี่ยวกับปฏิทินนานาประเทศแล้วพบว่าพวกเขาเหล่านั้น ใช้ดาราศาสตร์เป็นตัวอ้างอิงทั้งสิ้น บางศาสนาใช้ทั้งพระอาทิตย์และพระจันทร์ประกอบกัน เรียกว่า Luni-solar calendar เช่น คริสตศักราช มหาศักราช และพุทธศักราช บางศาสนาก็ใช้พระจันทร์เพียงอย่างเดียว เช่น ชาวอิสลาม ชาวยิว และชาวจีน เรียกว่า Lunar calendar ส่วนใหญ่จะมีการปรับปฏิทินให้สอดรับกันระหว่าง พระอาทิตย์กับพระจันทร์ เพื่อให้วันสำคัญตรงกับฤดูกาลที่เป็นข้อกำหนดทางศาสนา เช่น ปฏิทินจันทรคติของไทย ต้องมีการปรับให้มี เดือน 8-8 ทุกๆ 2 – 3 ปี เพื่อขยับให้วัน สำคัญทางพุทธศาสนาอยู่ตรงกับฤดูกาล เพราะปฏิทินจันทรคติมีจำนวนวันน้อยกว่าสุริยคติ ปีละ 11 วัน หากปล่อยไปเรื่อยๆอีก 10 ปีข้างหน้าพวกเราคงต้องเข้าพรรษาในฤดูแล้งแถวๆเดือนมีนาคม และออกพรรษาในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน เนื่องจากวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ขยับร่นขึ้นไป ปีละ 11 วัน ส่วนทางศาสนาอิสลามพวกเขาไม่ปรับอะไรทั้งสิ้นเพราะถือว่าเป็นประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า พิธีสำคัญทางศาสนา เช่น วันรามาดาน (ฤดูถือศีลอด) จะขยับร่นไปเรื่อยๆปีละ 11 วัน โดยไม่คำนึงว่าจะตรงกับฤดูอะไร ข้างชาวจีน และชาวยิว แม้ว่าจะใช้จันทรปฏิทินแต่พวกเขามีการปรับโดยบวกเดือนพิเศษซึ่งมี 30 วัน เข้าไป เป็นเดือนที่ 13 เรียกว่า Leap Year จำนวน 7 ครั้ง ต่อ 19 ปี เพื่อให้วันตรุษ วันเฉลิมฉลอง และวันบุญประเพณีสำคัญต่างๆตรงกับฤดูกาลที่กำหนด


    
       อย่างไรก็ตามถ้าใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นปฏิทินโดยไม่สนตัวเลขว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ อย่างนี้ไม่ต้องปรับอะไรเลยเพราะดวงอาทิตย์เป็นตัวทำให้เกิดฤดูกาล เพียงแต่ว่าต้องมีวัตถุถาวร มั่นคง ไม่โยกเยกและคนมือบอนก็ย้ายหรือขยับไม่ได้ เช่นก้อนหินหนักๆเป็นเครื่องชี้จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า สุริยะปฏิทิน

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ