การค้นหาและพิสูจน์ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ที่ปราสาทภูเพ็ก 
พิสูจน์ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ที่ปราสาทภูเพ็ก |
|
สรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา พิสูจน์ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของปราสาทภูเพ็ก โดยใช้เทคโนโลยีของชาวอียิปส์โบราณเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ที่พวกเขาค้นหาทิศตะวันออกแท้เพื่อสร้าง มหาปีรามิดและตัวสฟิ๊งส์ ให้หันหน้าตรงเข้าสู่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้นในตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ ทำมุม 90 องศา (Azimuth 90) กับทิศเหนือแท้ (True north) วันนี้ทุกส่วนของโลกกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน เพราะดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับโลก ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ซึ่งใช้ในยุคขอมเรืองอำนาจถือว่าวันดังกล่าวตรงกับปีใหม่ และเป็นช่วงวันเกิดของพระราม อวตาลที่ 8 ของพระวิษณุ ปัจจุบัน วสันตวิษุวัต ตรงกับ 21 มีนาคม ประเทศในกลุ่มเอเชียกลาง เช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน อุซเบกิสสถาน และบางส่วนของปากีสถาน ถือว่าวันนี้ตรงกับปีใหม่ เรียกว่า เนารูส ซึ่งปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาหลายพันปีแล้ว
การพิสูจน์ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ใช้เงาของดวงอาทิตย์เป็นตัวชี้วัด (Shadow Plot) โดยมีอุปกรณ์พื้นฐานที่มีมาหลายพันปีแล้ว และสามารถทำได้ทุกวันทุกสถานที่ ดังนี้
1. หาพื้นที่ราบได้ระดับ และแสงอาทิตย์ส่องถึงทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น 2. สร้างเส้นวงกลมบนพื้นดิน 3 4 วง และที่จุดศูนย์กลางมีหลักไม้ หรือ วัตถุอื่นๆที่มีความแข็งแรง ตั้งให้ได้ฉากกับพื้นดิน 3. เมื่อ เงาของยอดหลัก แตะพอดีกับเส้นวงกลมในช่วงก่อนเที่ยง ให้ทำเครื่องหมายไว้ เรียกว่าจุด A พอตกบ่ายเงาของยอดหลักจะแตะพอดีกับเส้นวงกลมอีกครั้งหนึ่ง ให้ทำเครื่องหมายเช่นกัน เรียกว่า จุด B 4. ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างเครื่องหมาย A B ทั้งสองจุด จะได้แนวทิศตะวันออกแท้ ตะวันตกแท้ และลากเส้นตั้งฉากจะได้ทิศเหนือ ใต้ แท้ เช่นกัน 5. เมื่อได้เส้นแนวทิศดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ก็สามารถวางผังเพื่อก่อสร้างตัวปราสาทภูเพ็กให้หันหน้าตรงเข้าสู่ตำแหน่ง วสันตวิษุวัต หรือ Vernal Equinox ซึ่งดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหน้าปราสาท และแท่งศิวะลึงค์ พอดีในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ของทุกปี
|

|
หาพื้นที่ราบเรียบได้ระดับ และแสงอาทิตย์ส่องได้ตลอดทั้งวัน บริเวณหน้าประตูปราสาทภูเพ็ก |
สร้างวงกลม และทำหลักให้ตั้งฉากที่ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของวงกลม คอยสังเกตยอดของเงาดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าก่อนเที่ยง ทุกๆ 5 นาที ว่าสัมผัสพอดีกับเส้นรอบวง ให้ทำเครื่องหมายทันที |

|

|
และเมื่อเข้าในช่วงบ่าย (หลังเที่ยง) ยอดของเงาจะสัมผัสกับเส้นรอบวงอีกครั้งหนึ่ง ให้ทำเครื่องหมายเช่นกัน แล้วให้ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างสองจุดดังกล่าว จะได้แนวทิศตะวันออก ตะวันตกแท้ เรียกว่าเส้น วสันตวิษุวัต หรือ Equinox alignment |
ลากเส้นตั้งฉากกับแนว ตะวันออก ตะวันตก จะได้แนวทิศ เหนือ ใต้ แท้ (True north True south) |
 |

|
ใช้เชือกเชื่อมโยงระหว่างแนว ตะวันออก ตะวันตก ที่ได้จากการทำ Shadow Plot สอบเทียบกับแนวของประตูปราสาท พบว่าขนานกันอย่างพอดี แสดงว่าปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าเข้าสู่ทิศตะวันออกแท้ |
การสอบเทียบแนว Center ของประตูปราสาท กับแนวทิศตะวันออก ตะวันตก ที่ได้รับ |

|

|
การสาธิต Shadow Plot เพื่อหาทิศที่แท้จริง เพื่อสร้างนาฬิกาแดด ชนิดระนาบ (Horizontal sundial) ที่โรงเรียนบ้านซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในโครงการอบรมเข้าค่ายเยาวชนของ กลุ่ม ดี้ดี เมืองสกล นำโดยคุณน้ำตาล หรือคุณกัลปังหา เฟือร์เรีย จากโรงพยาบาลรักษ์สกล ทำหน้าที่หัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญ |
การทำ Shadow Plot ที่วัดคำประมง เพื่อกำหนดผังออกแบบก่อสร้างอาคาร อโรคยาศาล ที่ใช้หลักการทางดาราศาสตร์ของ พระเจ้าชัยวรวันที่ 7 ในภาพ คุณประสาท ตงศิริ ประธานชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล กำลังจดบันทึกข้อมูลเงาดวงอาทิตย์ |

|

|
อุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับทำ Shadow Plot | |
พิสูจน์ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ที่ปราสาทภูเพ็ก
|