พุทธศาสนาในงานประติมากรรม |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
26 กุมภาพันธ์ 2550 15:38 น. |
 |
|
ซ้าย ผลงานของ เขียน ยิ้มศิริ ซึ่งปั้นใหม่โดย มานพ สุวรรณปินฑะ และขวา นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ และผลงาน | |
 | ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่หยั่งรากลึกในประเทศไทยมายาวนาน และมีบทบาทสำคัญต่อแนวความคิดและวิถีชีวิตของผู้คนมาตลอดระยะหลายศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงคนทำงานศิลปะ ในภาวะที่กระแสและค่านิยมแห่งโลกียะไหลบ่าอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อ และอิทธิพลของวัฒนธรรมอันหลากหลาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ จัดนิทรรศการแสดงผลงานประติมากรรมชุด พุทธศาสนา จิตวิญญาณตะวันออกในประติมากรรมไทย ด้วยการขนผลงานประติมากรรม 25 ชิ้น ของ 20 ประติมากรชั้นนำของเมืองไทย มาให้ผู้ที่รักในงานศิลปะได้ชื่นชมกัน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถ.เจ้าฟ้า โดยเริ่มจัดแสดงมาตั้งแต่วันวาเลนไทน์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและจะจัดแสดงยาวไปจนถึงวันวาเลนไทน์ปีหน้า
|
|
ผลงานชื่อ Self-Portrait, Crisis in 1997 ของ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล | |
 |
 | งานประติมากรรมร่วมสมัยทั้ง 25 ชิ้นงาน ที่นำมาจัดแสดง ล้วนแต่สะท้อนความรู้สึกและเรื่องราวที่ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา อาทิ ผลงานชื่อ รอยยิ้มกับกาลเวลา ของ ธนะ เลาหกัยกุล ที่ถ่ายทอดถึง ความว่างเปล่าซึ่งซ่อนเร้นอยู่ด้านในของหน้ากากแห่งความเงียบ ของเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะแบบเชียงแสนยุคต้น, ผลงานชื่อ สงบ ของ เสาวภา วิเชียรเขตต์ ถ่ายทอดถึง การทำจิตใจสงบ-แล้วว่าง เว้นจากความวุ่นวายซึ่งมาจากกิเลสตัณหาทั้งปวง,ผลงานชื่อ ชีวิต 2 ของ คำอ้าย เดชดวงตา ถ่ายทอดถึง การเวียนว่ายตายเกิดหรือวัฏฏสงสาร ที่มี ตัณหา อยู่ในส่วนลึกของทุกชีวิต ผลงานชื่อ อธิฐานเพื่อการเกิดใหม่ ของ สุโรจนา เศรษฐบุตร ถ่ายทอดถึงความคิดของศิลปินที่เห็นว่าผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลยอมรับถึงสภาวะที่เป็นอยู่จริง ณ ปัจจุบัน, ผลงานชื่อ บูชา 1 ของ ถาวร โกอุดมวิทย์ ผลงานศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่คนในสังคมไทยให้ความสำคัญต่อรูปเคารพอื่น ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาโดยตรง หากปรากฎเป็นรูปสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสัมพันธภาพของมนุษย์กับธรรมชาติ ผลงานชื่อ หยุด ของ วิชัย สิทธิรัตน์ ถ่ายทอดความคิดที่ว่า เมื่อจิตเข้าสู่สภาวะแห่งความเมตตาธรรม กายก็หยุดจากการฆ่า หยุดจากการเบียดเบียนกัน หยุดจากการทำร้ายจิตใจคนอื่นหยุดจากการใช้วาจาซึ่งนำมาซึ่งความเจ็บปวด,ผลงานชื่อ ฌาน ของ นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ที่ถ่ายทอดถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป,ผลงานชื่อ Self-Portrait, Crisis in 1997 ของ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ถ่ายทอดถึงความคิดที่ว่า มนุษย์ต่างจากสัตว์ เพราะมนุษย์นั้นมีสำนึกถึงจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม ความดี ความงามทั้งหลาย แต่สิ่งเร้าแวดล้อมตัวเรามักปรุงแต่งจิตของเราให้ออกนอกลู่นอกทางแห่งความเป็นมนุษย์
|
|
นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และผลงาน | |
 |
|
และยังมีผลงานของศิลปินท่านอื่นๆเช่น นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์, ศิวดล สิทธิพล มณเฑียร บุญมา เขียน ยิ้มศิริ,นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ,วสันต์ ฮารีเมา, เข็มรัตน์ กองสุข, ปัญญา วิจินธนสาร, ศิรินิจต์ ดีรุจิเจริญ ,นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน, หริธร อัครพัฒน์ ,ชีวา โกมลมาลัย ,มานพ สุวรรณปินฑะ และ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
| |
ข่าวศิลป์บ้านเฮา
29 ตค.2549 เวทีอาสาเพื่อประชาชนสัมภาษณ์กลุ่มศิลป์เพื่อชีวิต และกลุ่มศิลป์แห่งชีวิต การหล่อหลอมเยาวชนให้เป็นคนดีโดยเริ่มจากศิลปะ
29 ตค. 2549 21.00-24.00 น. รายการเวทีอาสาเพื่อประชาชนได้สัมภาษณ์กลุ่มศิลป์เพื่อชีวิต และกลุ่มศิลป์แห่งชีวิต ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนในชนบทห่างไกลในอำเภอภูพานที่ใช้ศิลปะการวาดรูปเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดสมาธิและปรับปรุงอารมณ์ให้เย็นขึ้น มีความคิดอ่านที่เป็นเหตุผล กลุ่มนี้เกิดขึ้นวัดถ้ำไฮ โดยพระคุณเจ้า ภูเมศ เป็นผู้ให้การสนับสนุนและอบรมการวาดรูปให้ ได้รับการสนับสนุนจาก อบต.กกปลาซิว โดยท่านรองนายกอบต.นายรวมมาลัย ชีด้าม เป็นสมาชิกกลุ่มให้ให้การสนับสนุนใกล้ชิด ทางกลุ่มยังเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยมีภูผายลเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการชมทิวทัศน์ขณะพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในสกลนคร ภาพสลัก 3000 ปี เป็นภาพเขียนที่สะท้อนความเป็นอยู่ในอดีตเมื่อ 3000 ปีก่อน เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด ยังมีถ้ำยาว วัดถ้ำไฮ และสถานที่ต่างๆรอบๆอีกมาก ทีมมัคคุเทศก์น้อยพร้อมที่จะพาท่านชมธรรมชาติ
เครือข่ายสร้างสรรค์เมืองสกลหรือกลุ่มดี๊ดี โดย อ.วรวิทย์ ตงศิริ และอ.กัลปังหา เฟอร์เรีย(น้ำตาลคนสวย) ไดไปเยี่ยมกลุ่มศิลป์เพื่อชีวิต ที่วัดถ้ำไฮ ได้สนับสนุนการวาดภาพของเยาวชนน้องๆ โดยมอบอุปกรณ์วาดภาพ กระดาษ สี และเงินทุนโดยประสานจากส่วนต่างๆ แต่เดิมน้องๆ ใช้กระดาษสมุดมาวาดภาพกันตามมีตามเกิด ด้วยใจรักสามารถพัฒนาการวาดภาพได้ดียิ่งขึ้นและยังทำให้เกิดสมาธิปรับเปลี่ยนนิสัยให้ใจเย็นขึ้น อ.วรวิทย์ จึงเชิญน้องเยาวชนและผู้ใหญ่ตามรายชื่อข้างใต้ มาออกอากาศสดเมื่อวันที่ 29 ตค.2549 โดยมีชาวบ้านนาขี้นาค บ่อเดือนห้า รอฟังรายการอยู่ทางบ้าน
กลุ่มศิลป์เพื่อชีวิต(เยาวชนบ้านนาขี้นาค หมู่ 2) ต.กกปลาซิว อ.เมือง จ.สกลนคร
1)นายรวมมาลัย ชีด้าม รองนายกอบต.กกปลาซิว
2) นายแปลก ซีแพง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนาขี้นาค
3) ด.ญ.สุนทรีย์ ชีด้าม (ปู)
4)ด.ญ. มินตรา ชีด้าม (แอ๋ม)
5)ด.ญ.สุพัตรา ซีแพง (นาง)
6)ด.ญ.สุกานดา สันทัด (ยุ้ย)
7) ด.ญ.ภาริณี ซีแพง (อ้อ)
8) ด.ช.นวพล ซีแพง (โจ้)
9)ด.ช. ประวิทย์ นารถชมสา (เหมา)
10)ด.ช. ดนุพล นารถชมสา (คำผาน)
กลุ่มศิลป์แห่งชีวิต บ้านบ่อเดือนห้า
1)นางพิกุล ประภาศโนบล(กุล)
2)นางลิรอน อุดมชัย(รอน)
3)นางบุญรอด ชูวงศ์(เก๋)
4)ด.ญ.สุพรรณษา ชูวงศ์(น้ำ)
5) ด.ญ.เอมอร ภูประทาน(เอม)
6)ด.ญ.เกสร ประภาศโนบล(แอน)
7) ด.ญ.นุชนารถ เลาแก้วหนู(มายด์)
8)ด.ญ.อำพาพร ประภาศโนบล(หนิง)
9)ด.ช.ศุภชัย จำลองเพ็ง(โจ)
10) ด.ช.ธิติพงษ์ เหมหงส์(ปอ)
11)ด.ช.สุทธิศักดิ์ โภปาสอน(เบิร์ด)
ขอขอบคุณ
นายจตุเมศร์ สัจจะกานต์ นายอำเภอภูพาน จ.สกลนคร
นายกอบต.กกปลาซิว
นายรวมมาลัย ชีด้าม รองนายกอบต.กกปลาซิว
ร้านกรีนคอนเนอร์ สนับสนุนขนมปังเนยสด วุ้นมะพร้าว
ห้าง Big C สกลนคร สนับสนุนน้ำผลไม้ กระเป๋าใส่ของ
คุณเกศรา นพมาศ(เล็ก) สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สกลนคร สนับสนุนนมแลคตาซอย
กลุ่มสปิริต (คุณเวช ระถี หัวหน้าสถานีพืชไร่ สกลนคร ,คุณลิขิต ทางหลวงชนบท, คุณชิงชัย เผ่าทอง)
สนับสนุน เงินทุน 1,000 บาท ขนมนมเนย
เครือข่ายสร้างสรรค์เมืองสกล(กลุ่มดี๊ดี) สนับสนุนสีไม้ 100 แท่งจากบ. Master Art
อ.น้ำตาล (คนสวย) สนับสนุนผ้าอนามัยสำหรับน้องผู้หญิง
ร้านพรศิริการพิมพ์