ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก



 

ความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก

            ปราสาทภูเพ็ก เป็นโบราณสถานขอมตั้งอยู่บนยอดเขาที่ชื่อภูเพ็กสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร  ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บริเวณเส้นรุ้ง 17.19 องศาเหนือ และเส้นแวง 103.94 องศาตะวันออก ห่างจากตัวเมืองสกลนครทางรถยนต์ 37 กิโลเมตร  โดยมาทางถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายนครพนม อุดรธานี ถึงกิโลเมตรที่ 138 เลี้ยวซ้ายเข้าไปทางถนนลาดยางผ่านบ้านนาหัวบ่อ เข้าถึงเชิงภูเขาและเดินขึ้นบันไดอีก 491 ขั้น ถึงตัวปราสาท จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี พงศาวดาร และอุรังคนิทาน ทำให้เราทราบว่าเมืองหนองหานหลวงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม ที่มีเมืองหลวงชื่ออังกอร์(Angkor)หรือเมืองพระนคร ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชาใกล้กับเมืองเสียมเรียบ(เสียมราช)ปัจจุบัน ชนชาติขอมตั้งตัวเป็นอาณาจักรอย่างจริงจังโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ราว พ..1345 และมีกษัตริย์สืบทอดแผ่นดินต่อเนื่องกันมาจนถึง พ..1895 ก็ถูกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาเข้ายึดครอง อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าปราสาทภูเพ็กกับปราสาทนครวัดและนครทมซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักรขอม ตั้งอยู่บนเส้นตรงเดียวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ณ เส้นแวง 103.9 องศาตะวันออก

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่ความสูง +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล

 

ปราสาทหลังนี้สร้างได้เพียงฐานรากและบางส่วนของปรางค์

 

 

ปราสาทภูเพ็กมองจากทิศใต้

 

 

 


 เปรียบเทียบระหว่างปราสาทพนมกรม (Phnom Krom) ที่ริมทะเลเลสาบ เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย มีการคัดเลือกสถานที่สร้างบนภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนเขาพระสุเมรุ และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

 

      พงศาวดารและอุรังคนิทาน..... ที่มาของชื่อ "ภูเพ็ก"

 เมื่อครั้งศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสะปะ ขุนขอมราชบุตรเจ้าเมือง อินทปัฐนคร ในประเทศกัมพูชา   ได้พาไพร่พลเดินทางมาสร้างเมืองใหม่บริเวณท่านางอาบให้ชื่อว่าเมืองหนองหานหลวง ขุนขอมมีโอรสคนหนึ่งชื่อว่าเจ้าสุระอุทก ขึ้นครองเมืองต่อจากพระบิดาด้วยพระชนมายุเพียง 15 พรรษาหลังจากที่ขุนขอมทิวงคต วันหนึ่งพระยาสุระอุทกเสด็จออกไปยังเขตแคว้นหนองหานหลวงแถบลำน้ำมูลได้เผชิญหน้ากับ พยานาคชื่อธนมูล เกิดการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตายแต่ก็ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะเพราะต่างอ่อนแรงไปทั้งคู่ พระยาสุระอุทกจึงยกไพร่พลกลับ แต่นาคธนมูลผูกใจเจ็บจึงพาเหล่าทัพอสรพิษติดตามไปอย่างเงียบๆจนถึงเมืองหนองหานหลวง ทั้งหมดได้แปลงกายเป็นอีเก้งเผือก พระยาสุระอุทกได้ทราบว่ามีอีเก้งเผือกมาปรากฏกายจึงสั่งให้พรานออกไปล่าเอาเนื้อมาแจกจ่ายกินกันอย่างทั่วถึงทั้งเมือง ทำให้นาคธนมูลโกรธแค้นยิ่งนัก ตกดึกคืนนั้นบรรดานาคได้โผล่ขึ้นมาถล่มเมืองหนองหานหลวงจนจมใต้น้ำ และจับพระยาสุระอุทกมัดด้วยบาศบ่วงฉุดลากอย่างทรมานไปลงแม่น้ำโขงแล้วเอาศพไปคืนให้แก่เจ้าเมืองอินทปัฐนคร ฝ่ายเจ้าภิงคารและเจ้าคำแดงราชบุตรของพระยาสุระอุทกพร้อมด้วยผู้ที่รอดตายจำนวนหนึ่งได้มาตั้งเมืองใหม่อยู่บนที่ดอนบริเวณภูน้ำลอดเชิงชุม ณ ที่นั้นมีพระยานาคผู้ทรงศีลธรรมชื่อ สุวรรณนาค ได้ประกอบพิธีอภิเษกเจ้าภิงคาระขึ้นเป็นเจ้าเมืองหนองหานหลวงใหม่พระนามว่า พระยาสุวรรณภิงคาระ พร้อมกับมเหสีชื่อ   พระนางนารายณ์เจงเวง ส่วนเจ้าคำแดงได้ไปครองเมืองหนองหานน้อย(บริเวณอำเภอกุมภวาปี) ต่อมาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยสาวก 1,500 องค์เสด็จมาฉันข้าวที่ภูกำพร้า พระองค์ทรงรำลึกถึงประวัติพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ได้เคยมาประชุมรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำลอดเชิงชุมทุกพระองค์ จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้บนแผ่นศิลาเป็นรอยที่ 4 พระยาสุวรรณภิงคารจึงสร้างเจดีย์ครอบรอยพระบาทเหล่านั้นไว้ปัจจุบันเรียกว่าพระธาตุเชิงชุม ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพระยาสุวรรณภิงคารทราบข่าวว่าพระมหากัสสปะจะนำอุรังคธาตุมาบรรจุที่เมืองหนองหานหลวงจึงสั่งให้ชาวเมืองฝ่ายชายและหญิงแข่งกันสร้างอุโมงค์หากใครเสร็จก่อนจะได้อุรังคธาตุไปบรรจุไว้บูชา ฝ่ายหญิงซึ่งมีพระนางนารายณ์เจงเวงเป็นหัวหน้าได้เลือกสถานที่ในเมือง ส่วนฝ่ายชายจะก่อสร้างบนภูเขาที่ดอยแท่น มีข้อตกลงว่าหากเห็นดาวเพ็ก(ดาวพระศุกร์)ขึ้นก็ให้วางมือ ระหว่างก่อสร้างฝ่ายหญิงได้ใช้อุบายหลอกฝ่ายชายให้ทำงานไม่สะดวกเช่นแต่งตัวไปยั่วยวน ขณะเดียวกันฝ่ายชายก็ประมาทฝีมือฝ่ายหญิงด้วย ในที่สุดฝ่ายหญิงสร้างเสร็จก่อนพร้อมกับจุดโคมไฟหลอกว่า "ดาวเพ็ก" ขึ้นแล้วทำให้ฝ่ายชายละทิ้งงานและก็รู้ว่าถูกหลอก ปราสาทภูเพ็กจึงเสร็จเพียงครึ่งเดียวอย่างที่เห็น และกลายมาเป็นชื่อปราสาทหลังนี้ว่า "ภูเพ็ก" เพราะตั้งอยู่บนยอดภูเขาบวกกับเรื่องราวของ "ดาวเพ็ก" 

อย่างไรก็ตาม นิทานเรื่องทำนองนี้มีอยู่ทั่วไปในภูมิภาคขึ้นอยู่กับว่าใครจะแต่งเรื่องแบบไหน เท่าที่ค้นคว้าได้พบว่ามีอยู่อีก 2 แห่ง คือ ปราสาทหินพิมาย แข่งกับปราสาทหินพนมวัน ที่โคราช และปราสาทหินวัดภู ที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาว แข่งกับ พระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม

  

พระยาสุระอุทกต่อสู้กับนาคธนมูล แต่ไม่มีใครแพ้หรือชนะเพราะต่างก็มีฤทธิ์เดชพอๆกัน

 

พระยานาคปลอมตัวมาเป็นอีเก้งเผือก และพระยาสุระอุทกสั่งให้พรานไปยิงมาแล่เนื้อแจกจ่ายในหมู่ราษฏร

 

หลังจากยุคของพระยาสุวรรณภิงคาระแล้วมีเจ้านายขอมผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเมืองหนองหานหลวงอีกหลายคน แต่ที่สุดก็ทิ้งเมืองกลับไปยังกัมพูชาเพราะฝนแล้งติดต่อกัน 7 ปี ทำนาไม่ได้เลย เมืองหนองหานหลวงจึงร้างมาจนสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์มาเป็นพระธานีครองเมืองหนองหานหลวงโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสกลทวาปี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ พระธานีมีใจเอนเอียงเข้าข้างจึงถูกประหารชีวิต และให้คนใหม่คือพระยาประเทศธานีเป็นเจ้าเมืองพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นสกลนครตราบจนปัจจุบัน

       ประวัติศาสตร์และโบราณคดี

จากเอกสารของกรมศิลปากรในหนังสือชื่อ รอยอดีตสกลนคร อธิบายว่าไม่สามารถยืนยันปราสาทแห่งนี้สร้างในสมัยใด เพราะไม่ปรากฏจารึกและลวดลายแกะสลักแม้แต่แผ่นเดียว แต่จากการดูแบบแปลนและทำเลสถานที่ตั้งสัณณิฐานว่าอาจจะสร้างในราวพุทธศัตวรรษ ที่ 16 – 17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน-นครวัด และน่าจะมีความตั้งใจสร้างเพื่อเป็นศาสนสถานฮินดู

         ความเห็นส่วนตัวของผมเชื่อว่าปราสาทภูเพ็กน่าจะสร้างในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระหว่าง พ..1724 – 1762 ด้วยเหตุผล 4 ประการ กล่าวคือ

 

            1.กษัตริย์ขอมองค์นี้มีโครงการก่อสร้างมากมายทั้งศาสนสถาน โรงพยาบาล ที่พักคนเดินทาง ถนน และปราสาทน้อยใหญ่ กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร หลายแห่งสร้างไม่เสร็จเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน นักโบราณคดีชาวสวีเดน ชื่อ Jan Myrdal เขียนไว้ในหนังสือเกี่ยวกับเมืองพระนคร (Angkor) ไว้ว่า พอบรรดาคนงานได้ยินข่าวการสิ้นพระชนม์ ต่างก็ละทิ้งงานและกลับบ้าน ขณะเดียวกัน David Chandler ผู้เขียนหนังสือ A History of Cambodia กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า มีการบังคับเกณฑ์ผู้คนจำนวนมากไปก่อสร้างปราสาทต่างๆโดยบอกคนเหล่านั้นว่า พวกเจ้าเหนื่อยยากในชาตินี้จะได้บุญในชาติหน้า ดังนั้นปราสาทภูเพ็กก็มีสิทธิถูกทิ้งงานเช่นเดียวกับปราสาทหลายแห่งในกัมพูชาเมื่อคนงานได้ยินข่าวการสิ้นพระชนม์ การผละงานและกลับบ้านไปอยู่กับลูกเมียในครั้งนี้อาจเป็นที่มาของตำนานการแข่งขันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่ลงเอยด้วยความปราชัยอย่างย่อยยับของฝ่ายชาย อนึ่งจากการสนทนากับพระรูปหนึ่งซึ่งจำวัดอยู่ที่วัดภูเพ็ก ท่านเล่าให้ผมฟังว่าได้นั่งทางในเห็นภาพเหตุการณ์การก่อสร้างปราสาท ภูเพ็กโดยใช้แรงงานคนพื้นเมืองที่ถูกขุนขอมเกณฑ์มาเยี่ยงทาส มีการบังคับให้ทำงานหนักจนล้มตายมากมาย วิญญาณของเขาเหล่านั้นยังคงวนเวียนทนทุกข์ทรมานไม่ได้ไปผุดไปเกิด พระรูปนี้จึงต้องช่วยแผ่เมตตาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้ว่าจะฟังดูไม่เป็นวิทยาศาสตร์แต่ก็เป็นข้อมูลที่พระท่านเล่าให้ผมฟังเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2545 ขณะเดินกลับจากการสำรวจเนินดินลึกลับ 7 ลูก ที่เรียงตัวเป็นเส้นตรงห่างจากกันประมาณ 60 ก้าวเดิน ในบริเวณที่ราบด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภูเขาที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก ในฐานะนักพิภพวิทยาผมต้องรับฟังข้อมูลทุกเรื่องด้วยความเคารพ  

 

 

สภาพบันไดทางขึ้นปราสาทก็สร้างได้เพียงบางส่วน 

 

 

หลักฐานการทิ้งงานแบบกระทันหัน ดูจากร่องรอยของวัสดุก่อสร้างที่ถูกทิ้งระเกะระกะทั่วบริเวณ ที่แหล่งวัสดุหินจำนวนหนึ่งมีเพียงรอยขีดเพื่อเตรียมจะตัดก็ต้องยกเลิก

 

 หินขนาดใหญ่ถูกตัดเรียบร้อยแล้ว แต่ถูกทิ้งไว้ในป่า

 

  

ฐานรากของสิ่งก่อสร้างถูกค้นพบในป่าบริเวณเชิงภูเขาด้านล่างของปราสาทภูเพ็ก อาจจะเป็นปราสาทลูก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของปราสาทแม่ที่อยู่บนยอดเขาหรืออาจเป็นอโรคยาศาล แต่สร้างได้เพียงนิดเดียวก็ยกเลิก

 

  

มุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทลูก        

       

           2.พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับถือศาสนาพุทธมหายานอย่างเคร่งครัด  แต่กษัตริย์ขอมองค์ต่อๆมา กลับไปนับถือฮินดูและไม่พอใจในศาสนาพุทธอย่างแรง ดังนั้นในช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ระหว่าง พ..1786 – 1838 มีการทุบทำลายสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่ Vittorio Roveda กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Khmer Mythology Secret of Angkor โดยใช้ถ้อยคำว่า The new ruler reintroduced Shivaism in an episode of intolerance unique in the history of Southeast Asia, when all Buddhist images in the temples were destroyed.

        ไม่แน่ว่าอาจมีการสร้างพระพุทธรูปไว้ที่ใดที่หนึ่งแล้วถูกนำไปทุบทิ้ง ดังเช่นพระพุทธรูปนาคปรกในปราสาทพระขันฑ์ (Preakhan) ที่เมืองนครทม ถูกทุบทำลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและทิ้งลงในบ่อน้ำ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสต้องงมขึ้นมาซ่อมอย่างประณีตและนำกลับไปตั้งไว้ที่เดิมในปราสาทพระขันฑ์ตามเจตนารมย์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผมคิดว่าน่าจะมีการค้นหาในบริเวณใต้สระน้ำหรือถ้ำต่างๆที่ปราสาทภูเพ็กอาจจะพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปนาคปรกอย่างที่ปราสาทพระขันฑ์ก็ได้ อย่างไรก็ตามที่ปราสาท นาคพัน (Neak Pean) ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บริเวณกลุ่มโบราณสถานแห่งนครอังกอร์ ที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา มีรูปศิวะลึงค์อยู่หลายอันผู้เชี่ยวชาญบอกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 สั่งให้นำเข้าไปแทนที่รูปพระโพธิสัตว์ อย่างไรก็ตามในช่วงที่ก่อสร้างบันไดคอนกรีตขึ้นปราสาทภูเพ็กราวปี 2519-2520 มีผู้ค้นพบ "พระพุทธรูปหินทราย" ซ่อนไว้ในโพรงหิน แสดงว่าต้องมีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาไม่งั้นจะเอาพระพุทธรูปไปซ่อนทำไม?   

 

พระพุทธรูปสลักจากหินทรายถูกค้นพบในโพรงหินตรงบันใดขั้นสุดท้าย เข้าใจว่ามีการเอาไปซุกซ่อนเพราะกลัวจะถูกทุบทำลาย จากคำสั่งการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ตั้งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุภูเพ็ก 

 

หลักฐานการทุบทำลายพระพุทธรูปที่ปราสาทตาพรม เมืองเสียราช ประเทศกัมพูชา และเปลี่ยนให้เป็นศิวะลึงค์

 

รูปสลักพระโพธิสัตว์ถูกทำลายและเปลี่ยนเป็นศิวะลึงค์ ที่ปราสาทตาพรม

 

พระพุทธรูปที่ปราสาทนาคพันก็ถูกทำลาย

 

ปราสาทบันเตยกะได (Prasat Banteay Kdei) เป็นอีกแห่งที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีหลักฐานการทำลายพระพุทธรูปอย่างชัดเจน

 

พระพุทธรูปองค์ที่เห็นในปราสาทบันเตยกะได เป็นองค์ที่จำลองขึ้นมาใหม่เพราะองค์เก่าถูกทุบทำลายไปแล้ว

 

 เมื่อปี ค.ศ.2001 ได้ค้นพบพระพุทธรูปที่ถูกทำลายและฝังอยู่ใต้ดินจำนวนมากถึง 274 องค์

ภาพถ่ายพระพุทธรูปที่ถูกทำลายและฝังอยู่ใต้ดินบริเวณปราสาทบันเตยกะได

 

ปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบให้หันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้เพื่อให้สอดคล้องกับวันปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราช ที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง "วสันตวิษุวัต" ขณะเดียวกันฐานโยนีที่อยู่ในตัวปราสาทก็ต้องหันไปทางทิศเหนือเพื่อให้ตรงกับที่ตั้งของเขาพระสุเมร ในภาพซ้ายมือเป็นฐานโยนีที่วิหารพุทธคยา ประเทศอินเดีย ขวามือเป็นปราสาทขอมที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา

 

 

 

 

หากท่านไปที่ปราสาทภูเพ็กในปัจจุบันจะเห็นภาพพระพุทธรูปศิลปะขอมตั้งอยู่ที่กลางห้องของประธานของตัวปราสาท พระพุทธรูปองค์นี้พึ่งสร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2551 โดยพระภิกษุรูปหนึ่งที่จำวัดอยู่ที่วัดพระธาตุภูเพ็กไปจ้างช่างแกะสลักมาจากจังหวัดกาฬสินธ์ุ

 

 

จริงๆแล้วตรงนี้ต้องเป็นฐานโยนีและศิวะลึงค์ เพราะมีหลักฐานของ "ท่อโสมสูตร"

 

 

 

 

เหตุผลที่ทำให้ผมกล้ายืนยันว่าฐานโยนีและศิวะลึงค์จะต้องตั้งอยู่กลางห้องประธาน ก็เพราะพบวัตถุพยาน "แท่งศิวะลึงค์ และแท่งหินครรภบัตร" ตั้งทิ้งอยู่ท่ีหน้าห้อง ส่วนฐานโยนียังหาไม่พบเข้าใจว่ายังไม่ได้แกะสลัก

 

องค์ประกอบที่ครบถ้วนของฐานโยนี แท่งครรภบัตร และศิวะลึงค์

 

ตัวอย่างแท่งหินครรภบัตรที่ซ่อนอยู่ใต้ฐานโยนี ที่ปราสาทตาสม เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา (ศิวะลึงค์หายไปแล้ว) 

 

วิธีการประกอบศิวะลึงค์ และแท่งหินครรภบัตรเข้ากับฐานโยนี และย้ำว่าฐานโยนีต้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ

 

ใช้สัดส่วนขนาดของศิวะลึงค์และแท่งหินครรภบัตรเป็นตัวช่วยในการคำนวณว่าฐานโยนีต้องมีขนาดเท่าใด

 

เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างศิวะลึงค์กับแท่งหินครรภบัตรแล้วพบว่า "ฐานโยนี" ของปราสาทภูเพ็กต้องมีขนาดใหญ่มาก 

 

 เปรียบเทียบระหว่างศิวะลึงค์ที่ปราสาทภูเพ็ก กับปราสาทพระขันฑ์ ที่เมืองเสียมราช และปราสาทพนมรุ้ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าศิวะลึงค์ที่ปราสาทภูเพ็กมีขนาดใหญ่ที่สุด อนึ่งภาพของศิวะลึงค์ที่ปราสาทพนมรุ้งถูกติดตั้งไม่ถูกวิธี จริงๆแล้วศิวะลึงค์จะฝังตัวอยู่ในฐานโยนีและโผล่ยอดขึ้นมาเฉพาะในส่วนที่เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะเท่านั้น ไม่ใช่เอามาตั้งทั้งแท่งแบบที่เห็น 

 

ตัวอย่างศิวะลึงค์และฐานโยนีที่เมืองเสียมราช

 

     3. หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว กษัตริย์ขอมองค์ต่อๆมาที่ทรงพระราชอำนาจและมีกำลังเพียงพอต่อการปกครองราชอาณาจักร ตลอดจนมีกำลังเพียงพอต่อการก่อสร้างปราสาทและโครงการต่างๆ ก็เห็นจะมีเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 แต่กษัตริย์องค์นี้ไม่สบอารมณ์กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างแรง เนื่องจากนับถือศาสนาฮินดูแบบขวาสุด ถึงขนาดสั่งให้ทุบทำลายพระพุทธรูป และผลงานจำนวนมาก ดังตัวอย่างที่ปราสาทตาพรม และปราสาทนาคพัน ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่กษัตริย์พระองค์นี้จะหันมาสานต่อการก่อสร้างปราสาทภูเพ็กให้แล้วเสร็จ ผมว่าท่านไม่ส่งทหารมารื้อทิ้งส่วนที่ก่อสร้างไว้ก็บุญแล้ว หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อาณาจักรขอมก็มาถึงสัจธรรมที่ว่าด้วยการเสื่อมถอย และล่มสลาย ปราสาทภูเพ็กจึงถูกทิ้งร้างอย่างเดียวดายอยู่บนยอดภูเขาสูงท่ามกลางสายลม สายฝน และแสงแดด จนถึงยุคสมัยที่กรมศิลปากรส่งช่างมาสำรวจเมื่อปี 2476 และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี 2478     

 


             มีการพบพระพุทธรูปศิลปะขอม สกัดจากหินทรายขนาดเล็กที่ในถ้ำบริเวณปราสาทภูเพ็ก ปัจจุบันตั้งอยู่ในตู้กระจกภายในวัดพระธาตุภูเพ็ก แสดงว่าผู้สั่งให้สร้างปราสาทต้องเป็นชาวพุทธและพระราชาที่นับถือพุทธแถมมีอำนาจยิ่งใหญ่สามารถแผ่บารมีไปยังดินแดนไกลๆก็มีองค์เดียวคือ ชัยวรมันที่ 7 (ดูภาพประกอบข้างบน)

 

ร่องรอยการแกะสลักที่ก้อนหิน เชื่อว่าตั้งใจจะแกะพระพุทธรูปแต่ทิ้งงานไปอย่างกระทันหัน เปรียบเทียบกับพระพุทธรูปที่ปราสาทบันเตย กะเดย ที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา สร้างในสมันพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

 

หรือว่าจะแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาท ? 

 

             4. เมืองหนองหานหลวงเป็นดินแดนที่อิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แผ่มาถึงอย่างแน่นอน เพราะที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน มีโบราณสถานที่เป็น อโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลตามโครงการรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นต้องมีบัตรทองแบบ 30 บาท แถมยังมีบริการให้กินข้าวฟรีจากคลังของพระราชา ดังคำจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากหนังสือหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กล่าวว่า ข้าวสารสำหรับเป็นเครื่องบูชาเทวรูปวันละหนึ่งโทรณะทุกวันเครื่องพลีทานที่เหลือ พึงให้แก่ผู้มีโรคทุกวัน ทุกปี สิ่งนี้ควรถือเอาจากคลังของพระราชาสามเวลา แต่ละอย่างควรให้ในวันเพ็ญ เดือนใจตระ และในพิธีศารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ “  นอกจากนี้ยังมีสะพานหินศิลปะขอม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าสะพานขอม ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่ถนนทางเข้าตัวเมืองสกลนคร สะพานลักษณะนี้มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น กรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ รอยอดีตสกลนคร ว่ามีลักษณะเทียบได้กับสะพานข้ามแม่น้ำชีเกรง ที่เมืองกัมปงกเด็ย (Kampong Kdei) ประเทศกัมพูชา ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษ ที่ 18 และหนังสือ ชื่อ Khmer Lost Empire of Cambodia ของบริษัท New Horizons ระบุว่าสะพานข้ามแม่น้ำชีเกรง เป็นเขื่อนทดน้ำชลประทาน (Barrage-bridge) เรียกว่าสะเพียนปราโตด (Spean Praptos) จึงทำให้เชื่อได้ว่ามีการใช้น้ำชลประทานเพื่อทำนาในบริเวณนี้ เพราะขอมมีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีการชลประทานอยู่แล้วจนนักโบราณคดีชาวตะวันตกที่ศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรอังกอร์หรือเขมรโบราณ ต่างยกให้พวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ (Master of Water Management)  Dr.Dhida Saraya กล่าวในหนังสือชื่อ Preah Vihear Sri Sikharesvara ถึงอิทธิพลทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แผ่ขยายไปยังลุ่มน้ำชี-มูล แอ่งสกลนคร แอ่งแม่น้ำโขงถึงเมืองเวียงจันทน์และเวียงกาม

           อนึ่ง หนังสือของกรมศิลปากร "ร้อยรอยเก่าสกลนคร" จัดทำโดยสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด พ.ศ.2554 กล่าวว่าปราสาทภูเพ็กน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับการค้นคว้าส่วนตัวโดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และโหราศาสตร์ แปลความหมายของจารึกภาษาขอมโบราณที่ขอบประตูปราสาทเชิงชุม (พระธาตุเชิงชุม) ซึ่งถอดความเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร  "แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร" ตรงกับปฏิทินมหาศักราช "วันอังคารที่ 27 เดือนอัสวิน มหาศักราช 1126" และเทียบได้กับปฏิทินสากลปัจจุบัน วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.1747 (ค.ศ.1204) เป็นช่วงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ค.ศ.1180 - 1220) รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในบทความ ..... ไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุมในอีกมุมมอง คอลั่ม สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล เว้ปไซด์เดียวกันนี้ 

  

 

อยู

 

อโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลชุมชน สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน 

 

 

สะพานขอม ปัจจุบันอยู่ที่ริมถนนหน้าห้างโลตัส เขตเทศบาลนตรสกลนคร  มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มีรูปร่างเหมือนสะพานที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

สะเพียน ทะมา ในนครธม สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

 

       มีคำถามว่า.....ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จสมบูรณ์จะมีรูปร่างอย่างไร ?

          ผมเคยคุยกับผู้รู้ทางโบราณคดีหลายท่านแต่ไม่มีท่านใดให้ข้อมูลว่าปราสาทภูเพ็กจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสร้างในสมัยใดเพราะไม่มีลวดลายศิลปะให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่านะจะอยู่ระหว่างพุธศตวรรษที่ 16 - 17 (หมายถึงระหว่าง พ.ศ.1501 - พ.ศ.1699 กรอบเวลาร่วม 200 ปี) ดังนั้นเมื่อไม่มีใครฟันธงอะไรได้เลยผมจึงจำเป็นต้องใช้จิตนาการโดยเปรียบเทียบกับปราสาทในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น ปราสาทบันเตย กะเดย (Bantaey Kdei)  

 

 

 

ภาพบนเป็นปราสาทภูเพ็กที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนภาพล่างเป็นจินตการของผมโดยการตัดต่อภาพจากปราสาทบันเตย กะเดย ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

 

บันไดทางขึ้นก็อาจจะมีรูปร่างอย่างในภาพนี้

 

หรือภาพนี้

 

นี่ก็เป็นภาพจินตาการโดยมองปราสาทภูเพ็กจากโคปุระ (ซุ้มประตู) 

 

       อีกคำถาม......ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน.....ทำไมจึงมี "ศิวะลึงค์" 

         คำถามนี้ตอบไม่ยากครับเพราะศาสนาพุทธนิกายมหายานกับศาสนาฮินดูมีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น มีรูปพิธีกวนน้ำอมฤตเหมือนกัน ดูตัวอย่างที่ประตูทางเข้านครธม และในโคปุระของประตูนครธมก็มีฐานโยนี ที่ทางเดินเข้าปราสาทพระขันฑ์ก็มีพิธีกวนน้ำอมฤต ผมมีตัวอย่างที่ปราสาทโกรโค (Prasat Krol Ko) สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทหลังนี้มีภาพสลักรูปเคารพและรูปนางอัปสรที่ทั้งศาสนาฮินดูและพุทธมหายานให้ความเชื่อถือเหมือนๆกัน เมื่อมีคำสั่งจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ให้ไปทุบทำลายสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธมหายานตามปราสาทต่างๆที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คนที่รับคำสั่งไปทุบทำลายก็เลือกทุบเฉพาะ "พระโพธิสัตว์" ส่วนรูปภาพอื่นๆที่ทั้งสองศาสนาเชื่อถือร่วมกันก็ไม่ถูกทำลาย ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปราสาทภูเพ็กมี "ศิวะลึงค์"   

 

พิธีกวนน้ำอมฤตที่ประตูทางเข้านครธม

 

ฐานโยนีตั้งอยู่ในโคปุระของนครธม

 

พิธีกวนน้ำอมฤตที่ทางเข้าปราสาทพระขันฑ์

 

 ปราสาทโกรโค (Krol Ko) สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีหลักฐานร่องรอยการทำลายสัญลักษณ์ที่เป็นรูปพระโพธิสัตว์ เช่น ในภาพนี้ผู้ทำลายใช้สิ่วสกัดเฉพาะส่วนที่เป็นภาพพระโพธิสัตว์โดยแต่งให้เป็นภาพศิวะลึงค์ แต่เว้นท่านั่งไว้เพราะดูคล้ายกับเทพเจ้าฮินดู

 

ศาสนาพุทธนิกายมหายานมีความเชื่อหลายอย่างเหมือนฮินดู เช่น นางอัปสรที่เกิดจากพิธีกวนน้ำอมฤต ดังนั้นเมื่อมีการทำลายสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนิกายมหายานในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู จึงเลือกทำลายเฉพาะส่วนที่เป็นรูปพระโพธิสัตว์ (กรอบสี่เหลี่ยม) รูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์ของทั้งสองศาสนา เช่น นางอัปสร (กรอบวงกลม) ก็ไม่ถูกทำลาย 

 

ภาพนี้ก็เช่นกัน มีการเลือกทำลายเฉพาะส่วนที่เป็นสัญลักษณ์พระโพธิสัตว์ ส่วนรูปอย่างอื่นที่ทั้งสองศาสนาให้ความเชื่อถือก็ไม่ถูกทำลาย 

 

 สรุป 

1.      ปราสาทภูเพ็กน่าจะสร้างในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ระหว่าง พ..1724 – 1762 แต่สร้างไม่เสร็จเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน และกษัตริย์ขอมองค์ต่อๆมากลับไปนับถือศาสนาฮินดูและไม่พอใจต่อโครงการต่างๆของชัยวรมันที่ 7 จึงไม่มีการสานต่อ ยิ่งกว่านั้นยังมีการทุบทำลายพระพุทธรูปจำนวนมาก

2.      หลังจากสิ้นอำนาจของชัยวรมันที่ 7 แล้ว อาณาจักรขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ ตามหลักแห่งสัจธรรมที่ว่าเมื่อผ่านพ้นจุดสูงสุดย่อมเสื่อมถอย และอาณาจักรใหม่ๆ เช่น สุโขทัย ก็เริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาแทน ขุนขอมจึงไม่มีกำลังพอที่จะครอบครองเมืองหนองหานหลวงอีกต่อไป ดินแดนแถบนี้จึงถูกทิ้งร้างอีกคำรบหนึ่ง จวบจนสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าให้ตั้งเป็นเมืองใหม่ชื่อว่า สกลทวาปี แต่สำหรับปราสาทภูเพ็กยังคงปราศจากผู้เหลียวแลปล่อยให้ยืนตระหง่านอย่างโดดเดี่ยวเดียวดายอยู่บนยอดเขาสูง 500 เมตร  

3.      ปัจจุบันร่องรอยของแนวคูรอบเมืองหนองหานหลวงที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของนครแห่งอาณาจักรขอม แทบไม่เหลือซากให้เห็นเพราะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นถนนและอาคารบ้านเรือนต่างๆ ส่วนตัวหนองหารที่มีสภาพเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ณ วันนี้ เกิดจากผลของการก่อสร้างประตูบังคับน้ำที่ลำน้ำก่ำเมื่อสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมามีการก่อสร้างประตูน้ำที่ทันสมัยในบริเวณใกล้ๆกันโดยใช้เงินกู้จากประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ หนองหารจึงกลายเป็นอ่างเก็บน้ำไปโดยปริยาย และที่แน่ๆแนวคูเมืองโบราณส่วนหนึ่ง(ใกล้กับท่อสูบน้ำประปา)จมอยู่ใต้น้ำดังที่เห็นในภาพถ่ายทางอากาศ

4.      เมืองสกลนครในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย เช่น พระธาตุ(ปราสาท)เชิงชุม พระธาตุ(ปราสาท)นารายณ์เจงเวง ปราสาทบ้านพันนา (อโรคยาศาลา) เมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายไปอิทธิพลของล้านช้างเข้ามาแทนที่ และปัจจุบันตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ส่วนอนาคตค่อยว่ากันเมื่อถึงเวลานั้น    

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ