เห็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับสกลนคร เลยคัดลอกมาฝาก
ภารกิจ INDIGO แจ้งเกิดมหัศจรรย์ผ้าครามไทย |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
21 พฤศจิกายน 2550 09:48 น. |
 |
ผ้าคราม ได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งผ้าย้อมสีธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติสีน้ำเงินสดใส ซึ่งการย้อมมีความละเอียดอ่อน เป็นเทคนิคซับซ้อนสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามนุษย์มีการย้อมครามมากว่า 6,000 ปี แพร่หลายทั่วทุกมุมโลกตั้งแต่แถบทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป เรื่อยไปถึงอเมริกา
|
|
ละมุน เร่งสมบูรณ์ | |
 | ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศต่างๆ หันไปใช้สีสงเคราะห์ที่สะดวกกว่าทดแทน จนการใช้สีย้อมคราม ค่อยๆ ลดลงในปี 2457 เหลือการผลิตเพียงร้อยละ 4 ของทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในแถบอาเซียน โดยเฉพาะ จ.สกลนคร และใกล้เคียงในภาคอีสานของไทย หลงเหลือผู้ผลิตผ้าย้อมครามมากที่สุดในโลก อย่างไรเสีย บุคลากรที่ยังสะสมภูมิปัญญาเหล่านี้ ต่างสูงอายุ นับวันจำนวนจะลดน้อยถอยลด ตรงกันข้ามกับความนิยมผ้าย้อมครามในหมู่ชาวต่างชาติกลับเพิ่มสูงขึ้น ตามกระแสโหยหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และโลกร้อน
|
|
แฟชั่นโชว์ผ้าครามที่นำไปโชว์ในงาน World Smart SMEs 2007 เมื่อเร็วๆ นี้ | |
 | ปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสของไทยจะส่งออกผ้าครามไปสู่ตลาดโลก เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ละมุน เร่งสมบูรณ์ หนึ่งในผู้ผลิตงานผ้าคราม ใน จ.สกลนคร ได้รวบรวมชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ที่ผลิตงานชนิดเดียวกันมารวมกลุ่ม เพื่อฝึกฝน อบรมการผลิตผ้าครามให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อก้าวสู่ตลาดโลก
|
|
ต้นครามใน จ.สกลนคร มีปลูกอยู่กว่า 6 ไร่ | |
 | อย่างไรเสีย หลังจากเริ่มดำเนินโครงการสักระยะ รัฐบาลในเวลานั้นเปิดโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งชุมชน (โอทอป) ข้าราชการในท้องถิ่นหลังรับงบประมาณมาจึงเร่งสร้างผลงานอย่างไร้วิสัยทัศน์ โดยดึงชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันอยู่ไปอบรมอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ได้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น เช่น สอนแปรรูปกล้วยตาก ทำไวน์ เป็นต้น ชาวบ้านจึงเลือกจะทิ้งงานผ้าคราม เพราะเห็นแก่เบื้ยเลี้ยงจากการไปอบรมวันละ 100-200 บาท ละมุน เล่าว่า ปัญหาดังกล่าวทำให้สมาชิกเหลือจำนวนไม่มาก แต่ล้วนเป็นคนมีอุดมการณ์เดียวกัน และพยายามเกาะกลุ่มกันไว้ กระทั่ง เมื่อประมาณปี 2547 สมาชิกที่ยังเหลือประมาณ 200 คน รวมกันจัดตั้งสหกรณ์คลัสเตอร์ผ้าครามสกลนครขึ้น เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจชุมชน ผลักดันผ้าครามเป็นส่งออก ภายใต้แบรนด์ INDIGO และหวังให้ประเทศไทยก้าวเป็นศูนย์กลางการผลิตผ้าย้อมครามของโลก โดยมอบหมายให้เธอทำหน้าที่ประธาน
|
|
ชาวบ้านทอผ้าที่เส้นทอย้อมจากคราม | |
 | ละมุน เล่าต่อว่า การพัฒนาชาวบ้านเข้าสู่กระบวนการผลิตให้มีคุณภาพส่งออก จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อม 1-3 ปี ระยะเวลาที่ผ่านมาจึงได้สะสมความพร้อม โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน แบ่งหน้าที่กันชัดเจน ได้แก่ 1.ทางสหกรณ์ฯ จะคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความรู้ในการย้อมผ้าตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม และคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมกลุ่ม 2.นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น ม.ราชภัฏสกลนคร, ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เป็นต้น มาทำการวิจัยร่วมกับชุมชน ศึกษาการผลิตให้ได้คุณภาพระดับส่งออก และ3. บริษัท ลามูนอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าชุมชนประเภทสิ่งทอส่งออกทั่วโลก เป็นพี่เลี้ยงการตลาด การออกแบบ นอกจากนั้น ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมกว่า 10 ล้านบาท
|
|
นำมาแปรรูปเป็นของตกแต่งบ้าน | |
 | ละมุน เล่าต่อว่า เป้าหมายของการร่วมกลุ่มนี้ ต้องการให้ผู้ผลิตผ้าครามในแถบภาคอีสานที่มีประมาณ 18,000 คน ใน 8 จังหวัด มีงานทำเป็นอาชีพเสริมตลอดทั้งปี หลุดพ้นจากความยากจน ผ่านระบบบริหารจัดการให้เกิดอาชีพยั่งยืนมั่นคง รวมถึง ขยายความสำเร็จให้ จ.สกลนครที่มีกลุ่มผู้ผลิตมากที่สุด กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตผ้าย้อมครามที่ต่างชาติต้องเข้ามาดูงาน และก้าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังระดับโลก ทั้งนี้ การดำเนินงาน ปัจจุบันมีสมาชิกนำร่อง 264 คน และปีหน้า (2551) จะมีการอบรมชาวบ้านกว่า 5,000 คน หวังขยายสมาชิกกลุ่มอีกประมาณ 500 คน และตั้งเป้า 10 ปีข้างหน้า อยากรวบรวมผู้ผลิตผ้าครามในแถบภาคอีสานทั้งหมดเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มให้ได้
|
สำหรับด้านการตลาดนั้น ประธานสหกรณ์ฯ เผยว่า เตรียมออกสู่ตลาดจริงจังในต้นปีหน้า ภายใต้แบรนด์สินค้าชุมชน INDIGO เน้นส่งตลาดต่างประเทศ เช่น อเมริกา แอฟริกาใต้ ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนตลาดภายในประเทศ มีโชว์รูมที่ จ.สกลนครแล้ว และกำลังส่งเข้าห้างสรรพสินค้า และเข้าโรงแรมระดับ 5 ดาว วางเป้ายอดขายไม่ต่ำกว่าปีละ 3-5ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 20% ทุกปี ซึ่งเชื่อว่า สามารถทำได้แน่นอน เนื่องจากแค่นำสินค้าไปเปิดตัวในงานแฟร์นานาชาติ เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้รับความสนใจอย่างสูง และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ายาวถึงสิ้นปีหน้าแล้ว ทั้งนี้ หากธุรกิจสามารถเติบโตได้ตามแผนที่วางไว้ มั่นใจว่า การผลิตผ้าย้อมครามจะเป็นบันไดช่วยให้ชาวอีสานหลุดพ้นจากความยากจนอย่างถาวร ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สหกรณ์คลัสเตอร์ผ้าครามสกลนคร ตั้งปณิธานจะทำให้สำเร็จจงได้ ***************************** โทร.0-2511-5257-60 , 084-437-6885 หรือ www.sakoncc.or.th
|
|
เสื้อผ้าตัดเย็บจากผ้าคราม | |
 |
เปิดมหัศจรรย์ราชาแห่งผ้าย้อม |
ความมหัศจรรย์ของสีคราม จนได้ฉายาว่า ราชาแห่งผ้าย้อมสีธรรมชาติ คือ ความแปลกที่ใบไม้เขียวๆ ให้สีน้ำเงินได้อย่างไร จากการค้นคว้าพบว่า น้ำย้อมครามเกิดจากสีที่สกัดจากใบคราม อายุ 3-4 เดือน มีวิธีทำโดยนำกิ่ง ก้าน ใบ ในสภาพสดมามัดเป็นฟ่อน แช่ในน้ำ 18-24 ชั่วโมง จึงแยกกากครามออก เติมปูนขาวในน้ำครามและกวน 15 นาที พักไว้ 1 คืน แยกเนื้อครามที่ตกตะกอนและนำไปผสมน้ำขี้เถ้า เพื่อเตรียมน้ำย้อม เมื่อเกิดสีคราม จึงย้อมเส้นทอ และทำซ้ำๆ กัน โดยผ้าย้อมครามจะมีคุณสมบัติ สีไม่ตก ป้องกันแสง UV ช่วยอบผิวให้ขาวเนียน ป้องกันยุงกัด ยิ่งซักเนื้อผ้าจะยิ่งสวยงาม เป็นต้น |
| |
ดร.ปานชัย อดีตผู้ว่าสกลฯ กลับมาดูผลงาน"ป่าCEO.FoodBank"ที่บ.นาตากาง อ.พรรณานิคม

นายประมาณ สุนันธรรม นายก อบต.บะฮี นำดร.ปานชัย บวรรัตนปราณ ( อดีต ผวจ.สกลนคร) และนายอำเภอพรรณานิคม ดูป่า ตามโครงการชุมชนผูกพันร่วมกันรักษ์ป่า พัฒนาธรรมชาติ ธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) บ้านนาตากางเหนือ ต.บะฮี อ.พรรณานิคม โดยใช้งบผู้ว่า ceo ร่วมกับงบ อบต. ตามนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มอบไว้ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๘


ซ้ายมือ คือป่าที่ชาวบ้านขายต่อนายทุนไปแล้ว ขวามือคือป่าชุมชน พื้นที่ ๕๔ ไร่ ที่อนุรักษ์ไว้ ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้ และของป่าให้ชาวบ้านได้เก็บหาอยู่หากิน

ผลิตผลจากป่ามีทุกฤดูกาล เช่น เห็ดสารพัดชนิด ผักหวาน ไข่มดแดง ดอกกระเจียว สมุนไพร มะขามป้อม มะกอกป่า ยอดผักต่าง ๆ แมลงสารพัดชนิด ฯลฯ ไม่รู้ว่าป่าชุมชนแปลงนี้ จะเป็น เป็นซุปเปอร์มาเก็ตธรรมชาติผืนสุดท้ายของตำบลหรือเปล่า เพราะหลายแปลงถูกเปลี่ยนมือจากชาวบ้านแล้ว กำลังกลายเป็นสวนยาง ความหลากหลายของพืช ของสัตว์ ในป่ากำลังเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งวิถีชีวิตแบบอีสานก็คงจะเปลี่ยนไปด้วย
อีกภาพ ชาวบ้านนาตากางผู้ได้รับความช่วยเหลือตาม โครงการแก้ปัญหาความยากจน( สมัยผู้ว่าอยู่ที่สกล ) ได้รับแจกวัว แจกควาย แจกไก่ ให้วัสดุสร้างบ้าน มาเล่าความก้าวหน้าของตนให้ทราบ
พรศิริ รายงาน ๘ สค.๔๙
เทศบาลเมืองสกลฯ จะร่วมกับเมตตาธรรมมูลนิธิฯพัฒนาการศึกษา

หลังจากกลับจากไปดูงานการจัดการ การเรียนการสอนของประเทศจีน และของโรงเรียนประชาวิทย์ลำปาง คณะกรรมการเมตตาธรรมมูลนิธิฯก็ได้ร่วมปรึกษาหารือกับผู้บริหารเทศบาลเมืองสกลนคร เพื่อหาลู่ทางพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนปฐมวัยในการกำกับดูแลของเทศบาลเมืองสกลนคร

ดังนั้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมากรรมการเมตตาธรรมมูลนิธิฯ จึงรับเชิญจากผู้บริหารเทศบาลเมืองสกลนคร นายจักรวรรดิ ตงศิริ รองนายกฯ และนายเจริญ นนทโชติ ผอ.สำนักการศึกษา ไปเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนบ้านนาอ้อย-คำสะอาด ของเทศบาลเมืองสกลนคร เพื่อหาข้อมูลในการพิจารณาพัฒนาการศึกษาร่วมกันต่อไป
บ่าวคำหอม รายงาน
6 กค.49
เมตตาธรรมมูลนิธิสกลนคร ดูงานการเรียนการสอน ของจีน ที่นครคุนหมิง
คณะกรรมการเมตตาธรรมมูลนิธิสกลนคร โดยการนำของนายฮุย แต้ศิริเวชช์ ประธานกรรมการฯ เดินทางไปศึกษาดูงาน การเรียนการสอนของโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง มัธยมศึกษา ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธาณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2549 โดยได้รับการต้อนรับและอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง จากศุนย์วัฒนธรรมและการศึกษาชาวจีนโพ้นทะเล มณฑลยูนนาน

หรือ Yunnan Overseas Culture and Education Center (YOCEC) เพื่อศึกษาหาข้อมูล ความเป็นไปได้ในการเปิดโรงเรียนสอนภาษาจีนในจังหวัดสกลนคร และการเริ่มต้นของการแลกเปลียนทางการศึกษา ศิลปวัฒนธรรมระหว่าง สกลนคร และ คุนหมิงในอนาคต

การเรียนการสอนของจีนจะให้ความสำคัญทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนสามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นจะต้องมีสถานที่ และสื่อการสอนที่สามารถตอบสนองนักเรียนได้ครบทุกด้าน เช่น โรงยิมฯ ท้องฟ้าจำลอง

ห้องศิลปกรรม ห้องเต้นรำ สวนหย่อม ห้องแล็บต่างๆ ห้องประชุมใหญ่ สนามกีฬาที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล(ปูพื้นยางทั้งสนาม)

และหัวใจของการพัฒนาการเรียนการสอนคือการพัฒนา"ครู" ครูกว่า 80%ต้องผ่านการประเมิน ครูต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาตลอดเวลา ต้องทำงานเป็นทีมอย่างบูรณาการ และต้องมีเวลาในการเตรียมการสอน และทำวิจัยมากพอ ครูจึงมีการสอนไม่เกิน 14 คาบต่อสัปดาห์ และคาบละ40-45นาทีเท่านั้น อัตราครูต่อนักเรียนต้องไม่เกิน 1ต่อ20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นอนุบาลและมัธยมปลาย เพื่อครูจะได้มีเวลาวิจัยเด็กเป็นรายคนได้ ผู้บริหารโรงเรียนต้องผ่านการสอบหลายขั้นตอน และต้องผ่านการประชาวิจารณ์ของชุมชนด้วย อาชีพครูของจีนจึงเป็นข้าราชการที่ค่อนข้างมีฐานะดี และมีเกียรติศักดิ์ศรีอย่างมากอาชีพหนึ่งในประเทศจีน
โรงเรียนประชาวิทย์ ลำปาง

ในวันที่ 30 มิถุนายน 49 ขากลับจากจีน คณะได้แวะดูการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียนประชาวิทย์ จังหวัดลำปาง ที่เปิดสอนภาษาจีนมาแล้วกว่า 80 ปี และปัจจุบันได้เปิดหลักสูตรการสอนอนุบาลนานาชาติ คือสอน3ภาษา ไทย จีน และอังกฤษ เป็นโรงเรียนที่ค่อนข้างใหญ่มีนักเรียน ประมาณ 1,300 คน ทั้งแบบเรียนประจำอยู่หอพักของโรงเรียน และแบบไปกลับ มีนักเรียนมาจากทั่วประเทศ ทั้งจากใต้สุด จากอีสาน และจากกรุงเทพ ที่ผู้ปกครองไว้ใจส่งมาเรียนที่นี่

บ่าวคำหอม รายงาน
1กค49
**************************************************
กลุ่มYCLสกลนครร่วมเทศบาลเมืองสกลนครทำแผนการจัดการขยะ

กลุ่มYCLสกลนครลงพื้นที่บริเวณแยกขยะถนนเลี่ยงเมือง ก่อนจะนำไปฝังกลบและขาย เพื่อหาข้อมูลประเภทและปริมาณขยะไปศึกษา ก่อนนำเสนอ"โครงการการบริหารจัดการขยะแบบผสมผสาน"แก่เทศบาลเมืองจังหวัดสกลนคร เพื่อรองรับการตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์จากขยะ ของเทศบาลเมืองสกลนคร โดยการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้างในเร็วๆนี้

เทศบาลเมืองสกลนครมีพื้นที่ 54..54 ตารางกิโลเมตร มีชุมชน 37 ชุมชน ประชากรตามทะเบียน ราษฎรมีจำนวน 54,000คน แต่มีประชากรแฝงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนและนักศึกษา ขยะมีปริมาณวันละ 45 ตัน เทศบาลเมืองสกลนครกำจัดโดยการฝังกลบที่บริเวณบ่อฝังกลบบ้านคำผักแผว และในอนาคตเทศบาลเมืองสกลนครมีนโยบายให้เป็นศูนย์กำจัดขยะรวม ของหลาย อบต.ใกล้เคียง ซึ่งจากการประมาณการปริมาณขยะ จะเพิ่มขึ้นเป็น 193.3 ตันต่อวัน ซึ่งจะมีผลให้บ่อฝังกลบที่บ้านคำผักแพวรับขยะได้อีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าเท่านั้น
"ฉะนั้นการเตรียมการรับมือกับปัญหาขยะ จึงจำเป็นจะต้องรีบดำเนินการก่อนที่ปัญหาจะมาถึง และหาทางแก้ได้ยาก หรือแก้ไม่ได้เลย อย่างเช่นที่เทศบาลนครเชียงใหม่กำลังประสบอยู่" นายจักรวรรดิ ตงศิริ รองนายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร หนึ่งในแกนนำกลุ่มYCL.กล่าว
พรศิริ รายงาน