ฐานรากของเศรษฐกิจพอเพียง
จะรู้จะเข้าใจ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้องมีทั้งความรู้และปัญญา ความหมายเชิงนามธรรมของเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นมีความลึกซึ้งมากกว่าความเป็นรูปธรรมของมันที่นักเทคโนโลยีมองเห็นอย่างผิวเผินแล้วบอกว่าเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะดูว่าล้าหลังไม่ทันสมัยเสียด้วย
แต่ถ้าจะมามองปรากฏการณ์ทางสังคมที่ประกอบทั้งกายภาพและจิต น่าจะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่ใช้อ้างอิงทางสังคม คือ จิตของคน ซึ่งไม่มีอะไรเร็วเท่าจิตคนอีกแล้วทฤษฎีนี้พบก่อนการพบทฤษฎีสัมพันธภาพกว่า 2300 ปีโดยพระพุทธเจ้า จิตของคนจน ที่มีความต้องการในสิ่งต่าง ๆ ก็มีความเร็วเท่ากับ จิตปรารถนา คนรวยเช่นกัน
เราคงไม่สามารถสลัดหลุดวัฎจักรของความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างคนในสังคมได้แน่นอน และเราต้องเผชิญกับปัญหาที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเป็นเพราะความพยายามแก้ปัญหาทั้งปวงนั้นล้วนเป็นการผลักปัญหาเก่าออกไปสู่อนาคตและพร้อมกับการสร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไม่เอา จิตของตนเองเป็นตัวตั้งและเป็นสิ่งอ้างอิง ในการแก้ปัญหานั่นเอง
การบริหารจิตของเราไม่ให้ตกลงไปในความอยากและอุปาทานที่มากระตุ้นให้เราหลงทางไปหาบ่วงแร้วหรือกับดักของสังคม นี่เป็นหนทางของการบริหาร ความโลภ ที่เริ่มจากตัวเราเองและครอบครัวเป็นอันดับแรกและเป็น ฐานรากของเศรษฐกิจพอเพียง
ชาญชัย ลิมปิยากร
หนังสือ สัพเพเหระ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
แหล่งค้นคว้าข้อมูลต่างๆในโครงการ ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอ
www.sufficiencyeconomy.org