ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร article

ทางพ้นทุกข์

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา
ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านวางไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย
ความที่พ้นทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือใจเราไม่ทุกข์ แปลว่าพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้ว ให้พากันน้อมเข้าภายใน
ธรรมะคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว เอกํ จิตฺตํ ให้จิดเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั้น ถ้าเราไม่รวมแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จ ถ้าไม่รวมเมื่อไร ก็ไม่สำเร็จ
เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เราทั้งหลาย ขยายออกไปแล้ว ก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถารนัย ก็พรรณนาไปถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียว เอกฺ ธมฺมํ เป็นธรรมอันเดียว เอกฺ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิม ให้พากันให้พึงรู้ พึงเข้าใจต่อไป
นี่แหละต่อไป พากันให้รวมเข้ามาได้ ถ้าเราไม่รวมนี่ไม่ได้ เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ
นี่แหละ ให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนังออกแล้ว ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดูแล้ว ก็เอากระดูกออกดู เอาทั้งหมดออกดู ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับ ไต ออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคน หรือเป็นยังไง ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละ พิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ มันจะละสักกายทิฐิแน่ มันจะละวิจิกิจฉา ความสงสัย จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเลยไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำ อ้อจริงอย่างนี้ เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว จิตมันก็ว่าง
เมื่อรู้จักแล้วก็ตัด นี่มันจะได้เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น
อันนี้เรามีสมาธิแน่นหนาแล้ว ทุกขเวทนาเหล่านั้น มันก็เข้าไม่ถึงจิตของเรา เพราะเราปล่อยแล้ว เราวางแล้ว เราละแล้ว
ในภพทั้งสามนี้ เป็นทุกข์อยู่เรื่องสมมติทั้งหลาย จิตนั้นก็ละภพทั้งสาม มันก็เป็นวิมุตติ หลุดพ้นไปหมด นี่ละเป็น วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ จิตนั้นจะได้เข้าสู่ปรินิพพาน ดับทุกข์ในวัฏสงสาร ไม่ต้องสงสัยแน่ เวียนว่ายตายเกิดในโลกอันนี้ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ วัฏสงสาร ทำไมจึงว่า วัฏคือเครื่องหมุนเวียน สงสารคือ ความสงสัยในรูป เฮอ ในสิ่งที่ทั้งหลายทั้งหมด มันเลย ไม่ละวิจิกิจฉาได้ซี
เดี๋ยวนี้เรารู้แล้ว ไม่ต้องวนเวียนอีก เกิดแล้วก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ ชราก็รู้แล้วมันทุกข์ พยาธิก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ มรณะก็รู้แล้วมันทุกข์
เมื่อเราทุกข์เหล่านี้ ก็ทุกข์เพราะความเกิด เราก็หยุด ผู้นี้ไม่เกิด แล้วใครจะเกิดอีกเล่า ผู้นี้ไม่เกิดแล้ว ผู้นี้ก็ไม่แก่ไม่ตาย ผู้นี้ไม่ตายแล้ว อะไรจะมาเกิด มันไม่เกิด จะเอาอะไรมาตาย ดูซิ ใจความคิดของเรา เดี๋ยวนี้เราเกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตายอยู่อย่างนี้ มันก็เป็นทุกข์ไม่แล้วสักที 
 

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
จากหนังสือ ภาพ ชีวประวัติและปฏิปทาของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร


     พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม

     บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ผู้เป็นหลานปู่ของ พระเสนาณรงค์ (นวล) และหลานอาของ พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ ๒ และที่ ๔ ตามลำดับ

     มารดาของท่านชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์

พี่น้องร่วมบิดามารดา มีอยู่ทั้งหมด ๘ คน ถึงแก่กรรมแต่ยังเล็ก ๒ คน ส่วนอีก ๖ คน ได้แก่
          ๑. นางกองแก้ว อุปพงศ์
          ๒. ท้าวกุล
          ๓. นางเฟื้อง
          ๔. พระอาจารย์ฝั้น
          ๕. ท้าวคำพัน
          ๖. นางคำผัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทุกคนสู่สุคติภพไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ลูกหลานที่สืบสกุลอยู่ทุกวันนี้เท่านั้น

บ้านบะทอง อ.พรรณานิคม

เมื่อบุตรทุกคนเจริญวัยเป็นท้าวเป็นนางแล้ว เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ผู้บิดา ได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่น ๆ อีกหลายครอบครัว ออกจากบ้านม่วงไข่ ไปตั้งบ้านใหม่ขึ้นอีกหมู่หนึ่ง ให้ชื่อว่า บ้านบะทอง เพราะที่นั่นมีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้นทองหลางใหญ่ดังกล่าวได้ตายและผุพังไปสิ้นแล้ว สาเหตุที่อพยพออกจากบ้านม่วงไข่ก็เพราะเห็นว่า สถานที่ใหม่อุดมสมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่นวัว ควาย และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงไหม เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีลำห้วยขนาบอยู่ถึงสองด้าน ด้านหนึ่งคือ ลำห้วยอูนอยู่ทางทิศใต้ ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือลำห้วยปลา อยู่ทางทิศเหนือ

     ก่อนอพยพจากบ้านม่วงไข่ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) บิดาของพระอาจารย์ฝั้น ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านปกครองลูกบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขมาก่อนแล้ว ครั้นมาตั้งบ้านเรือนกันใหม่ที่บ้านบะทอง ท่านก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไปอีก เพราะลูกบ้านต่างให้ความเคารพนับถือในฐานะที่ท่านเป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวางและเยือกเย็นเป็นทีประจักษ์มาช้านาน

     สำหรับพระอาจารย์ฝั้น เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยรุ่น มีความประพฤติเรียบร้อย อ่อนโยน อุปนิสัยในคอเยือกเย็นและกว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดา ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดามารดาและญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใด ๆ ทั้งสิ้น

     ส่วนในด้านการศึกษานั้น พระอาจารย์ฝั้นได้เริ่มเรียนหนังสือมาตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่บ้านม่วงไข่ โดยเข้าศึกษาที่วัดโพธิชัย แบบเรียนที่เขียนอ่านได้แก่ มูลบทบรรพกิจเล่ม ๑ – ๒ ซึ่งเป็นแบบเรียนที่วิเศษสุดในยุคนั้น ผู้ใดเรียนจบจะแตกฉานในด้านการอ่านเขียนไปทุกคน ผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือแก่ท่านในครั้งนั้น ได้แก่พระอาจารย์ตัน (บิดาของ พันตรีนายแพทย์ตอง วุฒิสาร) กับนายหุ่น (บิดาของ นายบัวดี ไชยชมภู ปลัดอำเภอพรรณานิคม)

     ปรากฏว่า ท่านมีความหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมาก สามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่น ๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากอาจารย์ให้เป็นครูสอนเด็ก ๆ แทน ในขณะที่อาจารย์มีกิจจำเป็น

     ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น ได้ไปศึกษาต่อกับนายเขียน อุปพงศ์ พี่เขยที่เป็นปลัดขวา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย

     เมื่อจบการศึกษา อ่านออกเขียนได้อย่างแตกฉานแล้ว พระอาจารย์ฝั้นมีความตั้งใจที่จะเข้ารับราชการ เพราะเป็นงานที่มีหน้ามีตา ได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนในสมัยนั้น แต่ภายหลังได้เปลี่ยนความตั้งใจเดิมเสียโดยสิ้นเชิง

     สาเหตุที่ท่านเกิดไม่ชอบงานราชการนั้น ก็เพราะเมื่อครั้งไปเล่าเรียนกับพี่เขยที่ขอนแก่น พี่เขยไห้ใช้เอาปิ่นโตไปส่งให้นักโทษอยู่เสมอ นักโทษคนหนึ่งคือ พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่นนั้นเอง ท่านต้องโทษฐานฆ่าคนตาย จึงถูกคุมขังตามกระบิลเมือง นอกจากนี้ยังมีข้าราชการถูกจำคุกอีกบางคน เช่น นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย เป็นต้น ต่อมาพี่เขยได้ย้ายไปเป็นปลัดขวาที่อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ครั้นเมื่อท่านเดินทางไปเยี่ยม ก็พบพี่เขยต้องหาฆ่าคนตายเข้าอีก เมื่อได้เห็นข้าราชการใหญ่โตได้รับโทษ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยานาหมื่นดังกล่าว ท่านจึงเปลี่ยนใจ ไม่อยากเข้ารับราชการเหมือนกับคนอื่น ๆ รีบลาพี่เขยกลับสกลนครทันที ซึ่งสมัยนั้นการคมนาคมมีทางเดียวคือทางบก จากจังหวัดเลยผ่านอุดรธานีถึงสกลนคร ท่านต้องเดินเท้าเปล่าและต้องนอนค้างกลางทางถึง ๑๐ คืน

     ปรากฏว่า สภาพของบรรดานักโทษที่ท่านประสบมาทั้งโทษหนักโทษเบา ได้มาเป็นภาพติดตาท่านอยู่เสมอตั้งแต่นั้น นับได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต

     เช้าวันรุ่งขึ้น พระอาจารย์ฝั้นออกไปบิณฑบาต กลับมาก็ฉันได้เพียงนิดหน่อย แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังตัดสินใจออกเดินธุดงค์ต่อ จัดแจงเครื่องบริขาร บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตร บ่าอีกข้างหนึ่งแบกกลด ออกเดินไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่หายอาพาธ ระหว่างทางท่านได้พบสุนัขตัวหนึ่ง กำลังแทะกระดูกอยู่ พอมันเห็นท่านก็วิ่งหนี แต่แล้วก็เลียบเคียงกลับมาแทะกระดูกต่อ เป็นเช่นนี้ถึง ๓ ครั้ง ทันใดท่านได้เกิดธรรมสังเวช บังเกิดความสลดขึ้นในใจเป็นอย่างมาก จึงถามตนเองว่า ขณะนี้เธอเป็นฆราวาสหรือพระกัมมัฏฐาน ถ้าเป็นฆราวาสก็เหมือนกับสุนัขแทะกระดูกนี่แหละ กระดูกมีเนื้อหนังเมื่อไหร่ อย่างมากก็กลืนลงคอไปได้แต่น้ำลายเท่านั้นเอง แต่นี่เธอเป็นพระกัมมัฏฐาน เท่าที่เธอภาวนาไม่สำเร็จมาถึง ๓ คืน ก็เพราะเธออยากสร้างโลก สร้างภพ สร้างชาติ สร้างวัฏฏสงสาร ไม่มีสิ้นสุดแห่งความคิด อยากมีบ้าน มีเรือน มีไร่มีนา มีวัวมีควาย อยากมีเมียมีลูกมีหลาน จะไปสร้างคุณงามความดีในที่ใดก็ไม่ได้ เพราะเป็นห่วงสมบัติ และห่วงลูกห่วงเมีย พร้อมกันนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็กล่าวภาษิตขึ้นมาบทหนึ่ง มีข้อความดังนี้

“ตัณหารักเมีย เปรียบเหมือนเชือกผูกคอ ตัณหารักลูกหลาน เปรียบเหมือนปอผูกศอก ตัณหารักวัตถุข้าวของต่าง ๆ เปรียบเหมือนปอผูกตีน”

     สมบัติพัสถานต่าง ๆ ที่สร้างสมไว้ เมื่อตายลงไม่เห็นมีใครหาบหามเอาไปได้เลยสักคนเดียว มีแต่คุณงามความดีกับความชั่วเท่านั้นที่ติดตัวไป พระอาจารย์ฝั้นปลงด้วยว่า ถ้าเธอเป็นพระกัมมัฏฐานไม่ควรคิดสร้างโลกวัฏฏสงสารเช่นนั้น ควรตั้งใจภาวนาให้รู้ให้เห็นในอรรถธรรมสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งสิ้น

     เมื่อกำหนดใจได้เช่นนั้น ไข้หวัดก็ดี ข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างอาพาธก็ดี ก็ปลาศนาการไปสิ้น เกิดสติสัมปชัญญะ รู้อาการของจิตทุกลมหายใจเข้าออก

     ต่อมาพระอาจารย์ฝั้นจึงได้เดินธุดงค์กลับไปนมัสการพระอาจารย์มั่นที่วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี

     เมื่อไปถึง พอกราบพระอาจารย์มั่นเสร็จ ท่านก็บังเกิดความอัศจรรย์ใจอีกครั้งหนึ่ง เหมือนตอนกลับจากฝั่งลาวครั้งที่แล้ว เพราะพระอาจารย์มั่นได้หัวร่อก้ากขึ้นมาในทันใด แล้วกล่าวกับพระอาจารย์ฝั้นว่า

“ท่านฝั้น ครั้งก่อนได้ยินเสือร้อง จิตใจถึงสงบ มาครั้งนี้ได้หมาแทะกระดูกเป็นอาจารย์เข้าอีกแล้ว จึงมีสติรอบรู้ในอรรถในธรรม ท่านฝั้นถือเอาหมาแทะกระดูกเป็นอุบายอันแยบคายสำหรับเปลี่ยนจิตใจให้สงบจนสามารถทำให้เห็นแจ้งในธรรมนั้นได้ถูกต้อง ชื่อว่าเป็นศิษย์ของพระพุทธองค์โดยแท้ การเห็นอะไรแล้วน้อมนำเข้ามาพิจารณาภายในจิตเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ชอบแล้ว”

     น่าสังเกตว่า เมื่อพระอาจารย์ฝั้น สามารถฝึกจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยอุปสรรคใด ๆ ไม่อาจมารบกวนได้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจขอรับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๕ นาฬิกา ๒๒ นาที ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นที่พระครูสังฆวุฒิกร เป็นพระอุปัชฌายะ พระรถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

     ก่อนหน้านั้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้มีพระอาจารย์มารับการญัตติเป็นธรรมยุตอีก ๒ รูป คือ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และ พระอาจารย์อุ่น ฯ

     นอกนั้นยังมีพระอาจารย์กว่า สุมโน อีกรูปหนึ่ง ซึ่งพออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุติกนิกาย หลังจากพระอาจารย์ฝั้นญัตติเพียงไม่กี่วัน

     สำหรับพระอาจารย์ฝั้น ภายหลังญัตติแล้ว ท่านก็เดินทางไปหาพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายและจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเลย

พระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ร่วมจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น (พ.ศ. ๒๔๖๘) ได้แก่
     - พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
     - พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
     - พระอาจารย์กว่า สุมโน
     - พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
     - พระอาจารย์สาร
     - พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
     - พระอาจารย์กว่า สุมโน

และยังมีพระภิกษุสามเณรอีกรวมถึง ๑๖ รูป

     ระหว่างพรรษานั้น พระอาจารย์ฝั้นอาพาธเป็นไข้มาเลเรีย ออกพรรษาแล้วก็ยังไม่หายขาด ปรากฏว่า ระหว่างอาพาธอยู่นั้น แม้จะมีไข้จับ แต่เมื่อถึงวันประชุมฟังโอวาทจากพระอาจารย์มั่น ท่านก็ไม่เคยย่อท้อ อุตส่าห์ไปฟังโอวาทมิได้ขาดเลยสักครั้งเดียว ยิ่งไปกว่านั้น การทำข้อวัตรปฏิบัติ เช่น ตักน้ำ และปัดกวาดบริเวณวัด ทำความสะอาดเสนาสนะ ท่านก็ร่วมทำกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ อยู่เสมอมา แม้จะมีผู้นิมนต์ให้ท่านหยุด ท่านก็ไม่ยอม การกระทำตนเหมือนมิได้ป่วยไข้ โดยใช้พลังจิตเข้าต่อสู้ดังกล่าว เป็นอุบายให้ท่านสามารถพลิกความป่วยเจ็บมาเป็นธรรมอริยสัจจขึ้นได้ จนกระทั่งพระอาจารย์มั่นถึงกับออกปากชมว่า “ท่านฝั้นได้กำลังใจมากนะ พรรษานี้”

     เมื่อใกล้จะออกพรรษา พระอาจารย์มั่นได้แระชุมหมู่ศิษย์เพื่อเตรียมออกเที่ยวธุดงค์หาที่วิเวก และได้จัดหมู่ศิษย์ออกไปเป้นพวก ๆ โดยจัดพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้ั่นให้ไปเป็นชุดเดียวกัน เพราะเห็นว่ามีนิสัยต้องกันมาก นอกนั้นก็จัดเป็นชุด ๆ อีกหลายชุด

     ก่อนออกธุดงค์ พระอาจารย์มั่นได้สั่งไว้ด้วยว่า แต่ละชุดให้เดินธุดงค์เลียบภูเขา ภาวนาวิเวกไปตามแนวภูเขานั้น และแต่ละชุดก็ไม่จำเป็นต้องเดินธุดงค์ไปด้วยกันโดยตลอด ระหว่างทาง ท่านใดอยากไปพักวิเวก ณ ที่ใด เช่นตามถ้ำซึ่งมีอยู่ตามทางก็ทำได้ เพียงแต่บอกเล่ากันให้ทราบ ในระหว่างพระภิกษุชุดเดียวกัน จะได้นัดหมายไปพบกันข้างหน้าเพื่อเดินธุดงค์ต่อไปได้อีก

     ครั้นออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์อ่อน ได้แยกไปทางภูเขาพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ส่วนพระอาจารย์ฝั้น ออกไปทางบ้านนาบง ตำบลสามขา (ปัจจุบันเป็นตำบลกองนาง) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วไปภาวนาอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่ง

     พระอาจารย์ฝั้นพักอยู่ที่วัดร้างนั้นอีกหลายวัน จึงออกเที่ยวธุดงค์ต่อไปโดยเลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อเข้าเขตศรีเชียงใหม่ วันหนึ่งขณะที่ท่านออกเที่ยวไปจนค่ำ ไปพบศาลภูตาแห่งหนึ่งที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เป็นศาลากว้างครึ่งวา ยาว ๑ วา สูงจากพื้นดินประมาณ ๑ ศอก มุงหลังคาด้วยแผ่นไม้เล็ก ๆ คล้ายกระเบื้อง เปิดโล่งสามด้านข้าง ท่านจึงเข้าไปอาศัยพัก ตอนย่ำรุ่ง มีคนแจวเรือมาจอดที่ริมฝั่งน้ำตรงกับบริเวณที่ตั้งศาลภูตานั้น แล้วยกมือขึ้นอธิษฐานด้วยเสียงอันดังว่า “ขอให้เจ้าแม่นางอั้วบันดาลให้ค้าขายดี ๆ ร่ำรวย อยู่เย็นเป็นสุข” ท่านนึกขำ จึงออกเสียงแทนเจ้าแม่ไปว่า “เออ เอาซี” เล่นเอาผู้นั้นรีบแจวหนีไปอย่างตกอกตกใจ

     ออกจากศาลภูตาแล้วท่านก็เที่ยวต่อไป และไปแวะที่วัดผาชัน (วัดอรัญญาบรรพต) ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกัน พักอยู่หลายวันจึงเลยไปถึงที่หินหมากเป้ง พักอยู่อีกระยะหนึ่ง ต่อมาจึงเดินทางย้อนกลับไปพบพระอาจารย์กู่และพระอาจารย์อ่อน ที่พระพุทธบาทบัวบกตามที่ตกลงกันไว้ก่อนแยกทาง แต่พอถึงบ้านผักบุ้ง เชิงเขาพระบาทบัวบก ก็ทราบว่าพระอาจารย์ทั้งสองได้ออกเดินธุดงค์ไปที่บ้านค้อแล้ว ท่านจึงพักอยู่ที่บ้านผักบุ้ง ๕ วัน โดยหาสถานที่สงบ เจริญกรรมมัฏฐานอยู่ตามภูเขาลูกนั้น

     ระหว่างพำนักอยู่ที่นั่น มีเหตุการณ์อันไม่คาดฝันอุบัติขึ้น คือวันหนึ่งเมื่อท่านได้เดินขึ้นไปบนภูเขาเพื่อแสวงหาสถานที่สงบตามลำพัง ขณะผ่านราวป่าท่านถึงกับสะดุ้ง เพราะได้ยินเสียงผิดสังเกตห่างออกไปไม่มากนักทางด้านข้าง เป็นเสียงคล้ายสัตว์กำลังตะกุยดินอยู่ สามัญสำนึกบอกท่านว่าคงเป็นสัตว์ใหญ่ อาจเป็นสัตว์ร้าย และอาจเป็นเสือก็ได้

     พอนึกถึงเสือ ท่านก็ยืนนิ่งตัวแข็ง แล้วในอึดใจนั้นเอง ขณะที่ท่านกำลังสำรวมจิตมิให้ตื่นเต้นต่อเหตุการณ์ที่จะบังเกิดขึ้น สัตว์ตัวนั้นก็ผงกหัวพ้นกอหญ้าอันรกทึบขึ้นมา

     เสือจริง ๆ นั่นแหละ เห็นจากหัวที่โผล่ขึ้นมา ตัวมันไม่ใช่เล็ก

     พอแน่ใจว่าเป็นเสือ ท่านก็เย็นวาบไปตามไขสันหลัง เหงื่อเม็ดโป้ง ๆ ผุดขึ้นตามใบหน้า ความรู้สึกบอกตัวท่านโดยฉับพลันว่า ถ้าหันหลังวิ่ง เป็นเสร็จมันแน่ มันจะกระโจนเข้าใส่อย่างไม่มีปัญหา จึงพยายามสำรวมจิตใจให้แน่วแน่เพื่อรับกับสถานการณ์ที่อุบัติขึ้นอย่างกะทันหัน ทุกลมหายใจในขณะนั้นมันให้ติดให้ขัด ไม่สะดวกดายเหมือนในภาวะธรรมดา

     นับว่าท่านตัดสินใจรับสถานการณ์ได้ถูกต้อง เจ้าเสือร้ายจ้องดูท่านได้เพียง ๒ – ๓ อึดใจ ก็ร้องก้องป่าแล้วกระโจนหายกลับเข้าไปในป่า

     บรรดาพระเณรข้างล่างได้ยินเสียงร้องของเสือ ก็ตามขึ้นมาตะโกนถามว่าเกิดอะไรขึ้น ครั้นเมื่อทราบความจริงแล้ว ทุกรูปต่างก็โล่งอก

     หลังจากไปเที่ยวธุดงค์ไปหลายแห่งแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็กลับมายังวัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษา แต่ขณะที่กลับมาถึง ปรากฏว่าก่อนหน้านั้น พระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ท่านจึงได้ติดตามไป พอถึงอำเภอสว่างแดนดิน ท่านก็เกิดอาพาธขึ้น การเดินทางจึงช้าลง และมาทราบภายหลังว่า พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นไปอยู่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีสงคราม) จังหวัดนครพนม พระอาจารย์ฝั้นได้พยายามติดตามไปจนพบพระอาจารย์มั่น แต่อาการอาพาธของท่านก็ยังไม่หายดี พระอาจารย์มั่นจึงให้ท่านนั่งพิจารณาภายในร่างกายตลอดคืน ก็น่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย พอรุ่งเช้า อาการอาพาธของท่านก็หายไปราวปลิดทิ้ง ท่านจึงตั้งใจว่า ในปีต่อไปจะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นอีก

     พอเดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอาจารย์ฝั้นได้เข้าร่วมทำญัตติกรรมพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร พร้อมทั้งพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ อีกด้วย ในจำนวนพระภิกษุที่มาทำการญัตติ มีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง ที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านจัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ท่านอาญาครูดี ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์ฝั้นมาก่อน ก็เดินทางมาขอญัตติอีกรูปหนึ่ง ณ ที่เดียวกันนี้

     ก่อนเข้าพรรษาประมาณ ๗ วัน กำนันบ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในคณะพระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ได้เข้ามาพบ และขอร้องให้พระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง แต่พระอาจารย์มั่นมีเหตุอันจำเป็นต้องขัดข้อง จึงให้พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ฝั้น และพระอาจารย์กว่า ไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง ตามที่ชาวบ้านปรารถนา ซึ่งนับเป็นพรรษาที่ ๒ ของพระอาจารย์ฝั้น

     หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล พร้อมกันนั้นก็ได้หารือในการที่จะให้โยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ย้ายไปอยู่ที่เมืองอุบลด้วย เมื่อตกลงกันแล้วก็ปฏิบัติไปตามนั้น

     เมื่อส่งโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ไปอยู่เมืองอุบลแล้ว ก็แยกเดินทางออกเป็นหมู่ ๆ สำหรับพระอาจารย์ฝั้นได้เดินทางออกจากบ้านดอนแดงคอกช้างกับพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์กว่า และพระเณรอีก ๒ – ๓ รูป เดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ผ่านบ้านตาน บ้านนาหว้า บ้านนางัว – บ้านโพธิสว่าง จนถึงบ้านเชียงเครือ แล้วพักอยู่ที่สกลนคร ๗ วัน จึงออกเดินธุดงค์ไปทางอำเภอนาแก ลัดป่าข้ามภูเขาไปยังบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม แล้วเดินธุดงค์เข้าสู่เขตเมืองอุบล

     ระหว่างเดินธุดงค์ร่วมกันมา พระอาจารย์อ่อนเกิดความวิตกและกล่าวขึ้นว่า เมื่อไปพบกับพระอาจารย์มั่นที่เมืองอุบลแล้ว ที่นั่นมีญาติโยมที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนแตกฉานเป็นปราชญ์อยู่มาก ถ้าโยมเหล่านั้นตั้งปัญหาธรรมต่าง ๆ พระอาจารย์มั่นคงต้องตอบได้ไม่ติดไม่คา แต่ถ้าถามพระอาจารย์มั่นแล้ววกมาถามพวกศิษย์อย่างเรา ๆ บ้าง ว่าจะเก่งเหมือนพระอาจารย์มั่นหรือไม่ประการใด พวกศิษย์อย่างเราจะตอบปัญหาได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ พระอาจารย์ฝั้นได้กล่าวว่า จะกลัวไปทำไมในเรื่องนี้ ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รวมอยู่ที่ใจ พวกเรารู้จุดรวมของธรรมทั้งหลายอยู่แล้ว ตอบเขาไปวันยังค่ำก็ไม่มีอับจน เรื่องนี้ไม่ต้องวิตก พระอาจารย์อ่อนได้ฟังดังนั้นก็เกิดกำลังใจ หายวิตกไปได้

     ทั้งหมดเดินธุดงค์ไปถึงบ้านหัววัว ตำบลกำแมด เมืองอุบล (ปัจจุบันอยู่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร) ก็พบพระอาจารย์มั่นคอยอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว เมื่อศิษย์ทั้งหลายตามมาครบทุกชุด ก็เดินธุดงค์ต่อไป จนกระทั่งไปพักที่บ้านหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี แต่พระอาจารย์มั่นแยกไปพักที่บ้านหนองขอน ห่างจากบ้านหัวตะพานไปประมาณ ๕๐ เส้น โดยพระอาจารย์ฝั้นติดตามไปจัดเสนาสนะถวาย

     ระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุติในภาคอีสาน ทราบข่าวว่าคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่ พระอาจารย์สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรหว่า ๕๐ รูป ปละพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป

      ทางฝ่ายพระอาจารย์ก็ประชุมปรึกษากันว่า ทำอย่างไรดีเรื่องนี้จึงจะสงบลงได้ ไม่ลุกลามออกไปเป็นเรื่องใหญ่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นรับเรื่องไปพิจารณาแก้ไข

     เสร็จการปรึกษาหารือแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็รีบเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๕๐ เส้น พระอาจารย์มั่น ทราบเรื่องจึงให้พระอาจารย์ฝั้นนั่งพิจารณา พอกำหนดจิตเป็นสมาธิแล้วปรากฏเป็นนิมิตว่า

“แผ่นดินตรงนั้นขาด”

     คือแยกออกจากกันเป็นสองข้าง ข้างโน้นก็มาไม่ได้ ข้างนี้ก็ไปไม่ได้ พอดีสว่าง พระอาจารย์ฝั้นจึงเล่าเรื่องที่นิมิตให้พระอาจารย์มั่นฟัง

     เช้าวันนั้นเอง พระอาจารย์มหาปิ่นกับพระอาจารย์อ่อน ได้ออกเดินทางไปจังหวัดอุบล เพื่อพบกับเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดชี้แจงว่า ท่านไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย จากนั้นได้ให้นำจดหมายไปบอกนายอำเภอว่า ท่านไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องยุ่งยากทั้งหลายจึงได้ยุติลง

     เมื่อผ่านพ้นเรื่องนั้นไปด้วยดีแล้ว พระอาจารย์ฝั้นได้กราบลาพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์ ย้อนกลับไปเยี่ยม พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ที่บ้านกุดแห่ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธร)

     พระอาจารย์ดี ต้อนรับขับสู้พระอาจารย์ฝั้นอย่างแข็งขัน จากการถามทุกข์สุข พระอาจารย์ดีได้แสดงความวิตกกังวลต่อพระอาจารย์ฝั้นเรื่องหนึ่งว่า ท่านได้สอนธรรมข้อปฏิบัติให้ญาติโยมทั้งหลายไปแล้ว แต่ญาติโยมบางคนเมื่อปฏิบัติแล้วได้เกิดวิปัสสนูกิเลส มีอันเป็นไปต่าง ๆ บางพวกออกจากการภาวนาเดินไปถึงสี่แยก เกิดเข้าใจเอาว่าเป็นทางเดินของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้า พวกนี้จะพากันคุกเข่ากราบไหว้อยู่ที่นั่นเป็นเวลานานจึงได้ลุกเดินไปบ้าง พอไปถึงสี่แยกหน้าก็เข้าใจผิด และปฏิบัติเช่นนี้อีกเรื่อย ๆ บางคนลุกจากภาวนาได้ ก็ถอดผ้านุ่งผ้าห่มออกจนหมด เดินฝ่าญาติโยมที่นั่งภาวนาอยู่ด้วยกัน จนเกิดโกลาหลกันยกใหญ่ มีญาติโยมบางคนกราบไหว้พระอาจารย์ดี ให้ท่านช่วยไปแก้ไขให้ ท่านก็มิรู้จะแก้ได้อย่างไร เป็นเหตุให้กระวนกระวายใจมาเกือบปีแล้ว จึงขอความกรุณาให้พระอาจารย์ฝั้นช่วยแก้ไขให้ด้วย พระอาจารย์ฝั้นตรองหาทางแก้ไขอยู่ไม่นานนักก็รับปาก พระอาจารย์ดีจึงให้เณรเข้าไปป่าวร้องในหมู่บ้าน ให้บรรดาญาติโยมไปฟังธรรมโอวาทของพระอาจารย์ฝั้นที่วัดในตอนค่ำ

     ถึงเวลานัด ญาติโยมทั้งหลายก็หลั่งไหลเข้าไปในวัด เริ่มแรก พระอาจารย์ฝั้นให้ญาติโยมเหล่านั้นยึดพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง เมื่อบูชาคุณพระรัตนตรัยแล้ว ท่านได้เริ่มเทศนาให้รู้จักแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อญาติโยมเข้าใจวิธีแก้แล้ว ท่านจึงนำเข้าที่ภาวนา เมื่อเห็นผู้ใดกำหนดจิตไม่ถูกต้อง ท่านก็เตือน ขณะเดียวกันท่านก็กำหนดจิตติดตามกำกับจิตของญาติโยมเหล่านั้นไปเรื่อย ๆ ญาติโยมที่เคยกำหนดจิตหลงทาง ต่างก็กลับมาเดินถูกทางไปทั้งหมด พอเลิกจากการภาวนา ต่างก็สาธุการ และแซ่ซ้องยินดีโดยทั่วกัน พากันกราบไหว้เคารพว่า ท่านอาจารย์ช่างเข้าใจวิธีแก้ได้เก่งมาก หากไม่ได้ท่าน พวกเขาอาจถึงกับเสียจริตไปก็ได้

     พระอาจารย์ฝั้นได้นำพวกญาติโยมภาวนาติดต่อกันไปถึง ๔ – ๕ คืน เมื่อเห็นว่าต่างก็เดินถูกทางกันแล้ว ท่านก็กลับมากราบเรียนพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ให้ทราบเรื่องราวที่ได้ปฏิบัติไป

     พระอาจารย์ฝั้นตั้งใจไว้ว่า ในปีนี้จะจำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์มั่นต่อไปอีก ขณะเดียวกันท่านอาจารย์กู่ก็ไปจำพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอเดียวกัน ระยะนั้นปรากกว่าฝนตกชุกมาก พระภิกษุประสบอุปสรรคไม่อาจไปร่วมทำอุโบสถได้สะดวก โดยเฉพาะที่บ้านบ่อชะเนง ไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอาจารย์มั่นจึงได้สั่งให้พระอาจารย์ฝั้นซึ่งสวดปาฏิโมกข์ได้ ไปจำพรรษาเพื่อช่วยพระอาจารย์กู่ ที่บ้านบ่อชะเนง

     ในระหว่างพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง พระอุปัชฌาย์ลุย เจ้าคณะตำบลบ้านเค็งใหญ่ได้ทราบว่าพระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้นมาสร้างเสนาสนะป่าเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในเขตตำบลของท่าน จึงเดินทางไปขับไล่ เพราะไม่ชอบพระกัมมัฏฐาน พระอุปัชฌาย์ลุยปรารภขึ้นว่า ผมมาที่นี่เพื่อไล่พวกท่าน และจะไม่ให้มีพระกัมมัฏฐานอยู่ในเขตตำบลนี้ ท่านจะว่าอย่างไร พระอาจารย์ฝั้นตอบไปว่า ท่านมาขับไล่ก็ดีแล้ว กัมมัฏฐานนั้นได้แก่อะไร ได้แก่ เกศา คือ ผม โลมา คือขน นขา คือ เล็บ ทันตา คือ ฟัน และ ตโจ คือ หนัง ท่านเจ้าคณะก็เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย ได้สอนกัมมักฐานแก่พวกกุลบุตรที่เข้ามาบวชเรียนเป็นศิษย์ของท่าน ท่านก็คงสอนกัมมักฐานอย่างนี้ให้เขาไม่ใช่หรือขอรับ แล้วท่านจะมาขับไล่กัมมัฏฐานด้วยวิธีใดกันล่ะ เกศา – โลมา ท่านจะไล่ด้วยวิธีต้มน้ำร้อนลวก แบบฆ่าเป็ดฆ่าไก่ แล้วเอาคีมเอาแหนบมาถอนเช่นนี้หรือ ? ส่วน นขา – ทันตา – และตโจ ท่านจะไล่ด้วยการเอาค้อนตี ตาปูตีเอากระนั้นหรือไร? ถ้าจะไล่กัมมัฏฐานแบบนี้กระผมก็ยินดีให้ไล่นะขอรับ

     พระอุปัชฌาย์ลุยได้ฟังก็โกรธมาก พูดอะไรไม่ออก คว้าย่ามลงจากกุฏิไปเลย

     ระหว่างจะพรรษาปีนั้น พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์ฝั้น ได้เทศนาสั่งสอนพวกญาติโยมบ้านบ่อชะเนงและบ้านอื่น ๆ ใกล้เคียงมาตลอด ผู้คนต่างก็เลื่อมใสในปฏิปทาของท่านทั้งสองเป็นอย่างมาก ถึงกับให้ลูกชายลูกสาว บวชเป็นพระเป็นเณร และเป็นแม่ชีกันอย่างมากมาย

     เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่น ได้พาพระภิกษุสามเณร มาที่บ้านบ่อชะเนง แล้วปรึกษาหารือกันในอันที่จะเดินทางเข้าตัวจังหวัดอุบลฯ เพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชนตลอดจนญาติโยมที่ศรัทธาต่อไป

     ระหว่างพักที่วัดบูรพา พระอาจารย์มั่นได้พาดยมมารดาจากอุบลฯ ไปอยู่บ้านบ่อชะเนง ตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้น เมื่อจัดหาที่พักให้โยมมารดาเรียบร้อยแล้ว ก็มอบให้พระอาจารย์อุ่น รับภาระดุแลโยมมารดาต่อไป

     ออกพรรษาครั้งนี้ พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ๓ รูป และลูกศิษย์ผ้าขาว ๒ คน ได้ลาพระอาจารย์มั่นออกเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าเขา จนกระทั่งไปถึงบ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม

     ขณะเสาะหาสถานที่บำเพ็ญภาวนาอยู่นั้น โยมผู้หนึ่งได้แจ้งแก่ท่านว่า ละแวกนี้มีถ้ำอยู่แห่งหนึ่ง ชื่อถ้ำจำปา ท่านจึงให้พาไป ครั้นพอไปถึงหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่งก็พากันหยุดพักพอหายเหนื่อยก็พากันเดินทางต่อไป เมื่อเดินไปได้พักใหญ่ก็ยังไม่ถึงสักที โยมชักละล้าละลัง แล้วก็บอกว่า ถ้าจะเลยมาเสียแล้ว จึงได้พากันเดินย้อนกลับมาที่หนองน้ำใหม่ ได้เดินกลับไปกลับมาเช่นนี้อยู่สองเที่ยว โดยวกไปเวียนมา ในที่สุดก็กลับมาที่เก่าทุกคราว โยมที่นำมาบอกว่า ไม่ใช่ที่เก่า ท่านจึงได้ชี้น้ำหมากที่ท่านได้บ้วนไว้ตอนหยุดพักเหนื่อยเมื่อสักครู่นี้ให้ดู โยมคนนั้นจึงได้ยอมจำนน แล้วได้พากันเดินทางต่อไป ในที่สุดก็พบถ้ำจำปาเอาเมื่อเวลาประมาณ ๕ โมงเย็น ต่างก็เข้าไปดูสภาพภายในถ้ำและจัดเตรียมที่ที่จะพักกันต่อไป

     พระอาจารย์ฝั้นได้ถามโยมผู้นั้นอีกว่าหมู่บ้านอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะทราบที่บิณฑบาตและบริเวณนี้จะหาน้ำได้ที่ไหน โยมตอบว่า หมู่บ้านไม่รู้เหมือนกันว่าอยู่ตรงไหนแน่ ส่วนน้ำอยู่ใต้ถ้ำ

     คืนนั้น ในขณะที่ท่านได้นั่งสมาธิอยู่ ได้นิมิตเห็นทางคนเดิน และได้ยินเสียงวัวร้อง ท่านจึงได้มองตามทางสายนั้นไปเรื่อย ๆ จนได้ระยะจากถ้ำประมาณ ๒๐๐ เส้น จึงเห็นโรงนาหลังหนึ่งและทางเข้าหมู่บ้านอยู่ใกล้ ๆ ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นท่านพร้อมด้วย พระ เณร และลูกศิษย์ผ้าขาวคนหนึ่งได้ออกบิณฑบาต โดยตัวท่านเองเดินนำไปตามทาง ปรากฏว่า ระหว่างทางเป็นป่ารก ต้นไม้ก็ทึมทึบ สุดท้ายก็ได้พบโรงนาและทางเข้าหมู่บ้านซึ่งตรงกับที่ปรากฏในนิมิต ท่านจึงนำเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๗ – ๘ หลังคาเรือน ในตอนกลับ ทั้งหมดต่างก็กลับไม่ถูก ได้ถามชาวบ้านดู ก็ไม่มีใครรู้จักถ้ำจำปาเลยสักคนเดียว ทั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านเหล่านี้เพิ่งจะอพยพมาอยู่และตั้งหมู่บ้านนี้ขึ้นได้เมื่อไม่นานมานี้เอง ยังไม่คุ้นกับภูมิประเทศในละแวกนี้ ท่านได้ออกปากถามถึงหนองน้ำใหญ่ ชาวบ้านก็รู้จักกันดี ท่านจึงได้ให้ชาวบ้านพาไปส่ง แล้วจับเส้นทางจากหนองน้ำกลับไปถ้ำ กว่าจะถึงก็เป็นเวลาล่วงเข้า ๓ โมงเช้าแล้ว

     ที่ถ้ำจำปา พระอาจารย์ฝั้นได้พักทำความเพียรอยู่เป็นเวลาถึง ๒๐ วัน จึงได้เดินทางกลับไปที่บ้านบ่อชะเนง พอไปถึงได้ทราบว่า เจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสระปทุม ได้พาพระอาจารย์มั่นเข้ากรุงเทพฯ ไปแล้ว เมื่อไม่พบพระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับไปยังบ้านหนองสูงอีก

     ในพรรษาที่ี่ ๔ ของพระอาจารย์ฝั้น คือ พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านได้จำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นที่พระอาจารย์มั่นได้เคยจำพรรษาเมื่อปี ๒๔๖๔ ระหว่างที่จำพรรษาท่านได้อาพาธโรคกระเพาะ อาการหนักมาก แต่พอออกพรรษาก็ค่อยหายเป็นปกติ จึงได้เดินทางย้อนกลับมาที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลฯ อีกครั้ง และได้ร่วมปรึกษาหารือกับพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ที่บ้านหัววัวว่า ขณะนี้จังหวัดขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ควรลงไปช่วยเจ้าคุณพระพิศลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งเป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่นอยู่ เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ขอนแก่น สำหรับพระอาจารย์ฝั้น ต้องการจะไปเยี่ยมญาติโยมทางอำเภอพรรณานิคมก่อน จึงได้เดินทางผ่านธาตุพนม นาแก มาจนถึงสกลนคร พอถึงวัดพระธาตุเชิงชุม ก็เห็นรถยนต์โดยสารเข้า ตั้งแต่เกิดมาท่านไม่เคยเห็นรถยนต์เลย จึงคิดจะลองขึ้นดูบ้าง

     เมื่อนั่งไปได้สักครู่หนึ่ง ก็เกิดความสงสัยขึ้นมา ว่ารถยนต์นี้วิ่งไปได้อย่างไรหนอ จึงได้กำหนดจิตพิจารณาไปจนกระทั่งเข้าไปถึงเครื่องยนต์ เพียงแวบเดียวเครื่องยนต์ก็ดับ

     คนขับก็ลงไปตรวจดู แต่ก็ไม่พบข้อบกพร่อง จึงติดเครื่องใหม่ รถก็สตาร์ทติดเป็นปกติ แต่พอรถวิ่งผ่านกรมทหาร (ปัจจุบันคือที่ตั้ง กองทัพภาค ๒) ไปได้หน่อยเดียว ท่านก็กำหนดจิตกลับเข้าไปที่เครื่องยนต์อีก เพียงแวบเดียว เครื่องยนต์ก็ดับอีกเป็นครั้งที่ ๒ พอคนขับลงไปแก้ไข ก็ไม่พบข้อบกพร่องเหมือนครั้งแรก จึงขึ้นมาติดเครื่องขับต่อไปใหม่ เมื่อรถวิ่งไปอีกสักครู่ ท่านก็กำหนดจิตเข้าในในเครื่องอีก เครื่องยนต์ก็ดับอีกเป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนี้ท่านจึงได้ทราบสาเหตุและคิดเสียใจที่ความอยากรู้อยากเห็นของท่านทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนและเสียเวลา จึงได้เลิกพิจารณาอีก รถก็ได้วิ่งไปถึงพรรณานิคมโดยเรียบร้อย

     พระอาจารย์ฝั้น ลงรถที่บ้านม่วงไข่แล้วเดินไปพักที่บ้านบะทอง เมื่อเยี่ยมญาติโยมที่นั่นตามที่ตั้งใจไว้แล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปทางบ้านแร่ ไปออกอำเภอวาริชภูมิ ตัดป่าฝ่าภูเขาไปอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรฯ ไปพักที่บ้านเชียงแหว และมุ่งต่อไปอำเภอกุมภวาปี แล้วเดินไปจนถึงอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จากนั้นก็ขึ้นรถไฟจากน้ำพองไปลงในตัวจังหวัด เพื่อพบกับพระอาจารย์สิงห์และพระเณรตามที่ได้นัดกันไว้ที่วัดเหล่างาต่อไป

     ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๗๐ รูป ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์

     ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร จำพรรษาที่วัดเหล่างา ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ (ปัจจุบัน อำเภอเมือง) จังหวัดขอนแก่น พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร ซึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีนั้น ก็ได้มาจำพรรษารวมอยู่ด้วย
     
พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ จำพรรษาที่วัดป่าบ้านพระ คือ ตำบลโนนทัน
     
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน จำพรรษาที่วัดบ้านโคกดจด อำเภอพระลับ
     
พระอาจารย์อุ่น จำพรรษาที่วัดป่าบ้านทุ่ม
     
พระอาจารย์ชามา อจุตโต จำพรรษาที่วัดป่าบ้านยางคำ
     
พระอาจารย์นิน จำพรรษาที่วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่
    
สำหรับพระอาจารย์ฝั้นเอง จำพรรษาที่วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน

     เมื่อพระอาจารย์ฝั้นเดินทางไปถึงบ้านผือ ท่านได้ไปพักอยู่ที่ศาลภูตา ศาลภูตาคือสถานที่ซึ่งชาวบ้านสร้างเป็นหอขึ้น สำหรับเป็นที่สิงสถิตของภูตผีผีศาจ ชาวบ้านไปสักการะบวงสรวงกันบ่อย ๆ เพราะถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างที่ไปพักอยู่ศาลภูตา มีชาวบ้านสองคนมาตักน้ำ เมื่อพบท่านเข้า จึงเอาน้ำมาถวาย ท่านก็ขอให้ชาวบ้านทั้งสองไปบอกผู้ใหญ่บ้านให้รับทราบในการมาพักของท่านด้วย หลังจากนั้นไม่นานนัก ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านอีก ๔ คน ก็มาถึง ลูกบ้านได้แสดงความไม่พอใจในการที่ท่านมาพักที่ศาลภูตานี้ คนหนึ่งได้โวยวายขึ้นว่า พระอะไรไม่เคยเห็น มานอนกลางดินกินกลางทรายเช่นนี้ จะถือว่าเป็นพระอย่างไรได้ คนที่สองให้ความเห็นขึ้นมาดัง ๆ ว่า เอาปืนยิงหัวเสียก็สิ้นเรื่อง คนที่สามก็โพล่งขึ้นว่า เอาสากมองที่หัวไปก็พอ แต่คนสุดท้ายออกความเห็นไม่รุนแรงเหมือนสามคนแรก เพียงให้เอาก้อนหินขว้างขับไล่ให้ไป

     ผู้ใหญ่บ้านดูจะเป็นคนที่มีใจเป็นธรรมกว่าเพื่อน ได้ทัดทานลูกบ้านทั้ง ๔ คนนั้นไว้ว่า ควรสอบถามดูก่อนว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอม พระดีหรือพระร้าย ยังผลให้ลูกบ้านทั้ง ๔ ไม่พอใจแต่พากันถอยออกไปยืนดูอยู่ห่าง ๆ

     พระอาจารย์ฝั้นได้บอกกับผู้ใหญ่บ้านว่า ท่านเที่ยวธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐานไปตามสถานที่อันวิเวกต่าง ๆ เมื่อมาถึงที่นี่ จึงขอพักอาศัยในศาลภูตานี้ เพราะศาลภูตาเป็นที่พึ่งของคนในหมู่บ้าน ท่านจึงขอพึ่งพาอาศัยบ้าง ท่านได้บอกผู้ใหญ่บ้านไปด้วยว่า ท่านพึ่งศาลภูตาได้ดีกว่าชาวบ้านเสียอีก ชาวบ้านพึ่งศาลภูตากันอย่างไร ปล่อยให้สกปรกรกรุงรังอยู่ได้ ท่านเองพอเข้ามาพึ่งก็ปัดกวาดถากถางหนามและข่อยออกไปจนหมดสิ้นอย่างที่เห็น ผู้ใหญ่บ้านประจักษ์ข้อเท็จจริงเพียงประการแรกถึงกับนิ่งงัน ครั้นแล้วก็สอบถามท่านถึงปัญหาธรรมต่าง ๆ เหมือนเป็นการลองภูมิ ท่านก็อธิบายให้ฟังอย่างลึกซึ้งหมดจดไปทุกข้อ ทำเอาผู้ใหญ่บ้านถึงกับออกปากว่า “น่าเลื่อมใสจริง ๆ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทศนาสั่งสอนคนสมัยก่อน บัดนี้มาเจอเอาคนจริงเข้าแล้ว” เช่นเดียวกัน ลูกบ้านทั้ง ๔ ซึ่งยืนสดับตรับฟังอยู่ใกล้ ๆ เกิดความเลื่อมใสไปด้วย

     ทั้งหมดได้กลับไปหมู่บ้าน จัดหาเสื่อที่นอนและหมอนมุ้งไปทำที่พักให้พระอาจารย์ฝั้น ทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ปลาศนาการไปจนหมดสิ้น ถึงกับนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาเสียที่นั่นเลยด้วยซ้ำ แต่ท่านปฏิเสธว่า ที่นั่นน้ำท่วม เพราะใกล้กับลำชี ไม่อาจจำพรรษาได้อย่างที่ชาวบ้านปรารถนา ชาวบ้านซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่ก็แจ้งแก่ท่านว่า ไม่ห่างไปจากที่นี่นัก มีดอนป่าช้าอยู่แห่งหนึ่งน้ำไม่ท่วม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่จำพรรษาอย่างยิ่ง ท่านไม่อาจปฏิเสธต่อไปอีกได้ จึงไปจำพรรษาอยู่ที่ดอนป่าช้าตามที่ชาวบ้านนิมนต์

     ถึงกลางพรรษา ชาวบ้านส่วนหนึ่งซึ่งยังนับถือภูตผีปีศาจอยู่ ได้รับความเดือดร้อนตามความเชื่อเรื่องผีเข้าเป็นอันมาก กล่าวคือ เชื่อกันว่า มีผีเข้าไปอาละวาดอยู่ในหมู่บ้าน เข้าคนโน้นออกคนนี้ ที่ตายไปก็มี ที่ยังไม่ตายก็มี นอกจากนี้ยังมีโยมอุปัฏฐาก ๓ – ๔ คน ไปปรึกษากับพระอาจารย์ฝั้นด้วย เล่าว่า สามีล่องเรือบรรทุกข้าวไปขายที่จังหวัดอุบลราชธานี ภรรยากับลูก ๆ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากกลัวว่าถูกผีเข้าเหมือนคนอื่น ไม่ทราบจะพึ่งใครได้ จึงมากราบไหว้ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง พระอาจารย์ก็บอกว่าไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัว ภาวนา พุทโธ พุทโธ ไว้เสมอ ผีเข้าไม่ได้หรอก ต่อให้เรียกผี หรือท้าผีมากิน มันก็ไม่กล้ามากิน หรือมารบกวน โยมอุปัฏฐากกลุ่มนั้นก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม

     อย่างไรก็ดี ปรากฏว่ายังมีผีเข้าชาวบ้านอยู่เรื่อย ๆ มีชาวบ้านได้ไปแจ้งแก่พระอาจารย์ฝั้นให้ทราบว่า ได้ถามผีดูแล้วว่า ทำไมไม่ไปเข้าพวกที่ปฏิบัติอุปัฏฐากบ้างล่ะ ผีในร่างคนก็ตอบว่า ไม่กล้าเข้าไป จะเข้าไปได้อย่างไร พอเข้าบ้านก็เห็นแต่พระพุทธรูปนั่งอยู่เป็นแถว

     อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านกลุ่มอื่นยังคงมีความหวาดหวั่นเรื่องผีเข้ากันอยู่ ได้มีการประชุมหารือกันเพื่อหาหมอผีมาไล่ผีออกไป เมื่อเสาะหาหมอผีมาได้แล้ว ชาวบ้านกลับเดือดร้อนหนักยิ่งขึ้นไปอีก เพราะหมอผีตั้งเงื่อนไขว่า จะไล่ผีออกไปจากหมู่บ้านนั้นไม่ยาก แต่ทุกครัวเรือนต้องนำเงินไปมอบให้เสียก่อน จึงจะทำพิธีขับไล่ให้ โยมอุปัฏฐากจึงได้นำความไปปรึกษาหารือกับพระอาจารย์ฝั้น ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงแนะนำว่า หากหมอผีจะเก็บเงินเพื่อไปสร้างโน่นสร้างนี่ที่เป็นสาธารณสมบัติ หรือสร้างวัดวาอารามก็ควรให้ แต่ถ้าหมอผีเก็บเงินไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนก็ไม่ควรให้ ทั้งยังได้แนะนำไม่ให้เชื่อเรื่องผีสางอีกต่อไป เพราะเป็นเรื่องเหลวไหล คนเราป่วยเจ็บกันได้ทุกคน จะปักใจเชื่อเอาเสียเลยว่าผีเข้า ย่อมเป็นเรื่องงมงายไร้เหตุผล โยมเหล่านั้นก็พากันเชื่อฟังท่าน และไม่ยอมจ่ายเงินให้ตามที่หมอผีเรียกร้องไว้ ในที่สุด หมดผีก็หมดความสำคัญไป ความเชื่อเรื่องผีสางของชาวบ้านก็ค่อย ๆ ลดน้อยลง

     ออกพรรษาปีนั้น พระอาจารย์ฝั้นได้ลาญาติโยมออกจากป่าช้าจะไปอำเภอน้ำพอง เมื่อถึงวัดศรีจันทร์ ปรากฏว่าเดินทางต่อไปไม่ได้ เพราะชาวบ้านเหล่านั้นได้ติดตามมาขอร้องให้ท่านกลับไปช่วยเหลืออีกสักครั้ง โดยอ้างว่ามีผีร้ายขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้านทุกหลัง ท่านจึงต้องกลับไปที่หมู่บ้านนั้นอีกครั้งหนึ่ง

     การกลับไปครั้งนี้ ผู้ใหญ่บ้านได้ประชุมลูกบ้านแล้วมานมัสการท่าน ขอรับไตรสรณคมน์ ต่อจากนั้นความเชื่อเรื่องผีสางจึงหมดสิ้นลง

     ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่วัดบ้านผือ จังหวัดขอนแก่น พอออกพรรษาแล้ว ท่านกับพระอาจารย์อ่อน ได้เที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐานไปจนถึงหมู่บ้านจีด ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี บังเอิญได้ข่าวว่า โยมพี่สาวของพระอาจารย์อ่อนป่วยหนัก พระอาจารย์อ่อนจึงแยกไปรักษาโยมพี่สาว ส่วนท่านพำนักอยู่ที่บ้านจีดโดยลำพัง

     ที่นั่น พระอาจารย์ฝั้นได้เผชิญศึกหนักเข้าเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “ธรรมต่อไก่” ธรรมต่อไก่เป็นวิธีบรรลุธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งชีผ้าขาวคนหนึ่งชื่อ “ไท้สุข” บัญญัติขึ้นมาว่า หากใครนำไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมียคู่หนึ่งมามอบให้ชีผ้าขาวแล้ว เพียงแต่กลับไปนอนบ้านก็สามารถบรรลุธรรมได้ มีชาวบ้านหลงเชื่อกันอยู่เป็นจำนวนมาก

     พระอาจารย์ฝั้นได้ชี้แจงแสดงธรรมต่อไปทั้งวัน ชีผ้าขาวกับผู้ที่เชื่อถือเหล่านั้นก็ยังไม่ยอมแพ้

     ตอนหนึ่ง ชีผ้าขาว อ้างว่าตนมีคาถาดี คือ ทุ โส โม นะ สา ธุ พระอาจารย์ฝั้นได้ออกอุบายแก้ว่า ทุ สะ นะ โส เป็นคำของเปรต ๔ พี่น้อง ทั้งสี่ ก่อนตายเป็นเศรษฐีทิ้งทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ตลอดชีวิตไม่เคยทำคุณงามความดี ไม่เคยสร้างกุศลเลย เอาแต่ประพฤติชั่ว เสเพลไปตามที่ต่าง ๆ ครั้นตายแล้ว จึงกลายไปเป็นเปรตไปหมด ต่างตกนรกไปถึง ๖ หมื่นปี พอครบกำหนด คนพี่โผล่ขึ้นมาก็ออกปากพูดได้คำเดียวว่า “ทุ” พวกน้อง ๆ โผล่ขึ้นมาก็ออกปากได้คำเดียวเช่นกันว่า “สะ” “นะ” “โส” ตามลำดับ หมายถึงว่า เราทำแต่ความชั่ว เราไม่เคยทำความดีเลย เมื่อไหร่จะพ้นหนอ ฉะนั้น คำเหล่านี้จึงเป็นคำของเปรต ไม่ใช่คาถาหรือคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     สั่งสอนแก้ไขกันอยู่ถึงอาทิตย์หนึ่ง ก็ยังไม่อาจละทิฏฐิของพวกนั้นลงได้

     พอดีโยมพี่สาวของพระอาจารย์อ่อนหายป่วย พระอาจารย์อ่อนจึงย้อนกลับมา โดยมีพระอาจารย์กู่มาสมทบด้วยอีกรูปหนึ่ง กำลังใจของพระอาจารย์ฝั้นจึงดีขึ้น เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ทางฝ่ายท่านมีท่านเพียงรูปเดียวเท่านั้น อธิบายอะไรออกไปก็ถูกขัดถูกแซงเสียหมด

     ในที่สุดชีผ้าขาวกับพรรคพวกก็ยอมแพ้ ยอมเห็นตามและรับว่า เหตุที่เขาบัญญัติ “ธรรมต่อไก่” ขึ้นมาก็เพื่อเป็น “นากิน” (อาชีพหากินด้วยการหลอกลวง) และยอมรับนับถือไตรสรณาคมน์ตามที่ท่านสั่งสอนไว้แต่ต้น

     แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไปอยู่ดี เพราะว่าเมื่อพระอาจารย์ฝั้นบอกให้ชีผ้าขาวตัดผมเสีย ชีผ้าขาวผู้นั้นก็ไม่ยอมตัด อ้างว่าถ้าตัดผมเป็นต้องตายแน่ ๆ พระอาจารย์อ่อนจึงบอกว่า อย่ากลัว ดูทีหรือว่าจะตายจริงหรือไม่ คนอื่นเขาตัดผมกันทั่วไปไม่เห็นตายเลยสักคน ชีผ้าขาวจึงได้ยอมเมื่อตัดผมแล้วไม่ตาย ชีผ้าขาวจึงยอมรับนับถือบรรดาพระอาจารย์ทั้งสามยิ่งขึ้น

     ระหว่างที่พำนักอยู่ที่บ้านจีด มีโยมผู้หญิงคนหนึ่ง ไอทั้งวันทั้งคืน เสาะหายาจากที่ต่าง ๆ มากิน จนนับขนานไม่ถ้วนก็ยังไม่หาย ฟังเทศน์ก็ฟังไม่ได้ ขณะฟังก็ไออยู่ตลอดเวลา เป็นที่รบกวนสมาธิของผู้อื่น คืนที่สาม พอฟังเทศน์จบลง พระอาจารย์ฝั้นจึงถามว่า ทำไมไม่รักษา โยมผู้นั้นตอบว่า กินยามาหลายขนานแล้วก็ไม่เห็นหาย ท่านจึงบอกโยมผู้นั้นไปว่า คงเป็นกรรมเก่าที่ทำมาแต่ปางก่อน ขอให้หัดภาวนาดู แล้วบอกคาถาให้บริกรรมว่า ปฏิกะ มันตุ ภูตานิ วันแรกท่านให้ภาวนาตั้งจิตบริกรรม โดยกำหนดจิตที่ใดที่หนึ่ง วันแรกนั่งบริกรรมได้สักพักก็ยังไออยู่ตลอด วันที่สองปรากฏว่ามีอาการค่อยชุ่มคอขึ้นหน่อย อาการไอห่างไปบ้าง พอถึงวันที่สามอาการไอก็หายไปราวกับปลิดทิ้ง รู้สึกคอชุ่มขึ้น โยมผู้นั้นนั่งบริกรรมอยู่จนดึกดื่น ใคร ๆ หลับกันหมด แกก็ยังไม่ยอมหลับ ในที่สุดอาการไอก็หายโดยเด็ดขาดตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

     โยมผู้นั้นสำนึกในบุญคุณ ได้เอาเงินทองมาถวายพระอาจารย์ฝั้น แต่ท่านไม่ยอมรับ ผลที่สุดก็เอาจักรเย็บผ้ามาถวาย อ้างว่าเป็นค่ายกครู เพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ ท่านจึงได้เอาจักรนั้นไปเย็บจีวรของท่านเองจนเสร็จแล้วจึงคืนให้

     เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งเป็นพรรษาที่ ๗ ของพระอาจารย์ฝั้น ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ติดตามอยู่ร่วมจำพรรษาด้วย นับเป็นปีที่ ๓ ที่ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่ขอนแก่น

     ก่อนหน้าที่จะไปถึงภูระงำ ท่านได้ออกจากอำเภอหนองหาน มาที่วัดศรีจันทร์ และได้เข้าร่วมพิธีีกระทำญัตติกรรมพระภิกษุครั้งใหญ่ ในการนี้ท่านอดตาหลับขับตานอนจนตาลายไปหมด เพราะต้องเตรียมตัดเย็บสบง จีวร สังฆาฏิ ทั้งกลางวันกลางคืน เป็นเหตุให้ท่านอาพาธลง

     พอเข้าใกล้พรรษาจึงได้ตัดสินใจไปจำพรรษาที่ภูระงำ ซึ่งขณะนั้นอาการอาพาธของท่านก็ยังไม่ทุเลาดีนัก

     ระหว่างจำพรรษาอยู่บนภูระงำ ปรากฏว่าท่านได้รับความทุกขเวทนาเป็นอันมาก ตามเนื้อตัวปวดไปหมด จะนั่งจะนอนก็ปวดเมื่อยไปทุกอิริยาบถ ท่านจึงตัดสินใจออกไปนั่งภาวนาทำความเพียรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ตั้งใจว่าจะภาวนาสละชีวิต คือภาวนาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมรณภาพ โดยนั่งภาวนาถึงความทุกข์ ความเวทนาที่เกิดขึ้นในร่างกาย และด้วยความสำรวมใจที่แน่วแน่ จิตของท่านก็พลันสงบวุบลงไป ร่างกายเบาหวิว ความทุกข์ทรมานทั้งหลายแหล่ก็พลอยปลาศนาการไปหมดสิ้น

     ตั้งแต่ทุ่มเศษจนกระทั่ง ๙ โมงเช้า ท่านนั่งภาวนาในอิริยาบถเดียวอยู่ตลอดเวลา จนพระเณรทั้งหลายที่กลับจากบิณฑบาต ไม่กล้ารบกวน แต่พอพระเณรเข้าไปกราบท่านก็รู้สึกตัวและถอนจิตออกจากสมาธิลืมตาขึ้นมา

     พระเณรต่างนิมนต์ให้ท่านฉันจังหัน แต่ท่านแย้งว่า ยังไม่ได้ออกบิณฑบาตเลย พระเณรต้องกราบเรียนว่า ขณะนั้นใกล้จะ ๑๐ โมงอยู่แล้ว ต่างไปบิณฑบาตกลับมากันหมดแล้ว ท่านจึงรำพึงขึ้นมาว่า ท่านได้นั่งภาวนาประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเอง นึกไม่ถึงเลยว่าจะข้ามคืนมาจนถึงขณะนี้

     ปรากฏว่า จากการนั่งบำเพ็ญสมาธิภาวนาบนภูระงำครั้งนั้น ยังผลให้ท่านระลึก พุทโธ ได้เป็นครั้งแรก อาการอาพาธปวดเมื่อยหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน เบาตัว เบากาย สบายเป็นปกติ และทำให้ท่านคิดได้ด้วยว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยทำความเพียร นั่งสมาธิอยู่ได้นานถึง ๔๙ วัน เมื่อเป็นเช่นนี้ หากท่านจะนั่งนานยิ่งกว่าที่ท่านเคยนั่งในขณะนี้อีกสักเท่าไหร่ ก็ควรจะต้องนั่งได้

     ในการนั่งภาวนาทำความเพียรอีกครั้งหนึ่ง พอจิตสงบ ท่านได้นิมิตเห็นหญิงมีครรภ์แก่มาเจ็บท้องอยู่ตรงหน้า แล้วคลอดมาเป็นเด็กใหญ่ สามารถเดินได้ วิ่งได้เลยทันที ขณะเดียวกันก็นิมิตคาถาขององคุลีมาล ซึ่งเป็นคาถาสำหรับหญิงคลอดลูกขึ้นมาได้ด้วย เมื่อถอนจิตจากสมาธิแล้ว ท่านได้จดคาถาบทนั้นไว้ว่า “โสตถิคัพพะสะ”

   ต่อมาปรากฏว่า มีหญิงชราผู้หนึ่ง พาลูกสาวซึ่งเจ็บท้องใกล้จะคลอดเป็นท้องแรกมาหา แจ้งว่า เจ็บท้องมา ๓ วันแล้วไม่คลอดสักที ได้รับทุกข์เวทนาเป็นอันมาก ขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ เพราะไม่ทราบจะพึ่งใครได้ พระอาจารย์ฝั้นจึงได้เขียนคาถาบทนั้นลงไปบนซองยา แล้วให้ไปภาวนาที่บ้าน ต่อมาอีก ๓ วัน หญิงชราก็มาส่งข่าวว่า ลูกสาวคลอดบุตรแล้ว ไม่เจ็บไม่ปวดแต่ประการใด

     ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านจะคลอดลูก ก็มาขอคาถาท่านอยู่เป็นประจำ

     ออกพรรษาคราวนั้น ท่านลงจากภูระงำ เที่ยวธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน เทศนาธรรมสั่งสอนชาวบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงอำเภอน้ำพอง ซึ่งที่นั่น ท่านได้พบพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น และพระเณรอีกหลายรูป ซึ่งต่างก็เที่ยวธุดงค์กันมาจากสถานที่ที่จำพรรษาด้วยกันทั้งนั้น

     และที่อำเภอน้ำพองนี่เอง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอีสาน เมื่อครั้งยังเป็นพระพรหมมุนี ได้มีบัญชาให้พระอาจารย์สิงห์นำพระภิกษุสามเณรในคณะของท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัท ซึ่งพระอาจารย์ฝั้นก็ได้ร่วมเดินทางไปกับพระภิกษุสามเณรคณะนี้ด้วย

     เป็นที่น่าสังเกตว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) นั้น แต่ไหนแต่ไรมาท่านไม่ชอบพระธุดงค์เอาเลย ท่านว่าเป็นพระขี้เกียจ ไม่ศึกษาเล่าเรียน ถึงกับมีเรื่องต้องขับไล่ไสส่งมาแล้วหลายครั้งหลายหน แม้แต่พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่านเองก็ยังเคยถูกขับไล่มาแล้ว จนบางครั้ง พระอาจารย์สิงห์เกิดรำคาญถึงกับจะหลบออกนอกประเทศไปเลยก็มี แต่ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าว พระอาจารย์ฝั้นจะเป็นผู้แก้ไข และได้พยายามขอร้องให้พระอาจารย์สิงห์ต่อสู้ด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาตลอด ในที่สุดสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ก็กลับบังเกิดความเลื่อมใส และยอมรับปฏิปทาของพระอาจารย์ทั้งปวงในสายกัมมัฏฐานตลอดมา จนถึงกาลอวสานแห่งชีวิตของท่าน

     เมื่อถึงนครราชสีมา พระอาจารย์ฝั้นได้ไปพักอยู่ที่วัดสุทธจินดา ที่วัดนั้นมีพุทธบริษัทไปร่วมทำบุญกันมาก เมื่อครั้งที่หลวงชาญนิคม ผู้บังคับกองตำรวจ จังหวัดนครราชสีมา ได้ยกที่ดินผืนใหญ่ให้สร้างวัดป่าสาลวัน ท่านก็อยู่ร่วมในพิธีถวายที่ดินคราวนั้นด้วย

     รุ่งขึ้นจากวันที่มีการถวายที่ดิน พระอาจารย์ฝั้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก โดยเดินทางร่วมมากับพระอาจารย์สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เพื่อเข้ามาเยี่ยมอาการป่วยของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เมื่อถึงกรุงเทพฯ ก็ได้เข้าพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ตั้งแต่เดือนสาม จนถึงเดือนหก

     ระหว่างพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เรื่องที่ไม่น่าจะเกิด ได้อุบัติขึ้นแก่ท่านโดยบังเอิญ ที่ว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นนั้น ก็เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสตรีเพศ

     เรื่องมีว่า วันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์ ได้พาท่านไปนมัสการท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) ที่วัดสระปทุม ระหว่างทางได้เดินสวนกับผู้หญิงคนหนึ่งเข้า นับตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์ฝั้นก็ลืมผู้หญิงคนนั้นไม่ลง

     ท่านรู้สึกว่า ท่านได้เกิดความรักขึ้นในใจเสียแล้ว ขณะเดียวกัน ท่านก็บอกตัวเองด้วยว่า ท่านจะต้องขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปเสียให้พ้นจากความรู้สึกนึกคิดให้ได้

     กลับวัดบรมนิวาสในวันนั้น ท่านได้นั่งภาวนา พิจารณาแก้ไขตัวเองถึงสามวัน แต่ก็ไม่ได้ผล ใบหน้าของผู้หญิงนั้นยังคงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด จนไม่อาจสลัดให้ออกไปได้ ในที่สุด เมื่อเห็นว่า เป็นการยากที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเองแล้ว ท่านจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ท่านพระอาจารย์สิงห์ฟัง เพื่อให้ช่วยแก้ไข พระอาจารย์สิงห์ได้แนะให้ท่านไปพักในพระอุโบสถ พร้อมกับให้พิจารณาทำความเพียรให้หนักขึ้น

      พระอาจารย์ฝั้นได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในพระอุโบสถเป็นเวลาถึง ๗ วัน ก็สามารถรู้ชัดถึงบุพเพสันนิวาสแต่ในปางก่อน ว่าผู้หญิงคนนี้กับท่าน เคยเป็นสามีภรรยากันมา จึงทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวขึ้น เมื่อตระหนักในเหตุในผล ท่านก็สามารถตัดขาด ลืมผู้หญิงคนนั้นไปได้โดยสิ้นเชิง

     หลังจากพักอยู่ในวัดบรมนิวาสได้ ๓ เดือน พระอาจารย์ฝั้นก็เดินทางกลับไปที่จังหวัดนครราชสีมา และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล พรรษานี้เป็นพรรษาที่ ๘ ของท่าน (พ.ศ. ๒๔๗๕) และน่าสังเกตด้วยว่า นับแต่ปี ๒๔๗๕ เป็นต้นมาจนถึงปี ๒๔๘๖ (พรรษาที่ ๘ ถึง พรรษาที่ ๑๙) ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัด ในจังหวัดนครราชสีมาโดยตลอด

     วัดป่าศรัทธารวมที่ท่านจำพรรษาในพรรษาที่ ๘ นั้น แต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ ๒ สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น

    ในพรรษานี้ มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาด้วยกันรวม ๑๔ รูป คือนอกจากท่านแล้ว ยังมีพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล, พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี, พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ฯลฯ รวมพระภิกษุ ๑๐ รูป และสามเณรอีก ๔ รูป ตลอดระยะเวลาเข้าพรรษา พระอาจารย์เทสก์ กับพระอาจารย์ฝั้นได้ช่วยเหลือพระอาจารย์มหาปิ่นในภาระต่าง ๆ เป็นอันมาก เช่นแสดงพระธรรมเทศนาอบรมญาติโยม และรับแขกที่มาเยี่ยมเยือนเป็นต้น

     ออกพรรษาปีนั้น คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ชวนพระอาจารย์อ่อน ธุดงค์ไปวิเวกภาวนาที่บ้านคลองไผ่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตอนหนึ่งขณะไปวิเวกอยู่ที่บ้านหนองบัว พระอาจารย์ฝั้นได้เกิดอาพาธเป็นไข้มาเลเรียขึ้นมาอีก ฉันยาควินินก็แล้ว ยาอื่น ๆ ก็แล้ว ก็ไม่หายขาดลงไปได้ ท่านจึงได้ใช้วิธีนั่งภาวนากำหนดจิตดู

     พอจิตรวมได้ที่แล้ว ท่านก็พิจารณากายเพื่อดูอาการไข้

     ทันใด ท่านก็นิมิตเห็นอะไรอย่างหนึ่งจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบ ได้กระโดดออกจากร่างของท่านไปยืนอยู่ข้างหน้า ท่านพิจารณากำหนดจิตเพ่งดูมันต่อไป เจ้าอะไรตนนั้นก็กลับกลายเป็นกวาง แล้วกระโดดลงไปในห้วย จากนั้นกระโดดขึ้นจากห้วยวิ่งต่อไป ขณะวิ่งมันได้กลายเป็นช้างตัวใหญ่ บุกป่าเสียงไม้หักโครมครามลับไปจากสายตาของท่าน

     รุ่งเช้าอาการไข้ของท่านก็กลับหายเป็นปกติ

     พอเข้าเดือน ๖ นายอำเภอขุนเหมสมาหารได้อาราธนาพระอาจารย์อ่อนกับพระอาจารย์ฝั้นไปจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ใกล้สถานีรถไปบ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว เสร็จแล้วพระอาจารย์ฝั้นได้ธุดงค์กลับไปโคราชเพื่อต่อไปยังอำเภอโนนสูง

     พอถึงบ้านมะรุม ได้จัดสร้างเสนาสนะป่าเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นบนโคกป่าช้า ซึ่งอยู่ระหว่างหมู่บ้านแฝกและหมู่บ้านหนองงา ตำบลพลสงครามและได้จำพรรษาอยู่ใน พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๗๗ (พรรษาที่ ๙ – ๑๐) ส่วนพระอาจารย์อ่อนได้แยกไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านใหม่สำโรง

     ออกพรรษาปี ๒๔๗๖ พระอาจารย์ฝั้นได้กลับไปโคราช เพื่อนมัสการพระอาจารย์สิงห์ ที่วัดป่าสาลวัน พอดีเกิด “กบฏบวรเดช” จะเที่ยวธุดงค์ทางไกลก็ไม่ได้ จึงชวนพระอาจารย์อ่อนพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรอีกหลายรูป ไปเที่ยววิเวกภาวนาอยู่ในท้องที่อำเภอปักธงไชย ระหว่างไปพักอยู่ที่ถ้ำเขาตะกุรัง มีเสือมารบกวนทั้งคืน เลียบ ๆ เคียง ๆ จะเข้ามาทำร้ายให้ได้ ท่านนึกรำคาญขึ้นมา จึงคว้าก้อนหินโยนเข้าไปก้อนหนึ่ง มันก็เลยโจนเข้าป่าไป ไม่มารบกวนอีกต่อไป

     หลังจากตระเวนทำความเพียรในที่ต่าง ๆ ตนตลอดฤดูแล้ง ถึงเดือน ๖ พระอาจารย์ฝั้นก็กลับมาที่อำเภอปังธงไชย พอดีพวกญาติโยมมีความศรัทธาอาราธนาให้ท่านสร้างวัดป่าขึ้นใกล้ ๆ อำเภอ ท่านจึงพักอยู่ที่นั่นเพื่อจัดการให้ พอกำหนดเขตวัด วางแนวกุฏิศาลาไว้ให้พอสมควรแล้ว ท่านก็มอบหน้าที่ให้บรรดาญาติโยมสร้างกันเองต่อไป ส่วนท่านเดินทางกลับวัดป่าสาลวัน เพื่อกราบเรียนให้ท่านอาจารย์สิงห์ทราบว่าไปสร้างวัดป่าไว้ ขอให้ท่านรับรองการสร้างวัดนี้ไว้ด้วย


     ในพรรษาที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๔๗๗) พระอาจารย์ฝั้นได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านมะรุม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

     ต่อมาออกพรรษาปีนั้น พระอาจารย์ฝั้นได้ตกลงใจจะออกเดินธุดงค์ ไปทางดงพญาเย็นโดยมีพระภิกษุ ๓ รูป กับสามเณรอีก ๑ รูปร่วมคณะไปด้วย โยมผู้หนึ่งชื่อหลวงบำรุงฯ มีศรัทธาเอารถไปส่งให้จนถึงชายป่า เมื่อลงจากรถแล้วก็มุ่งเข้าดงพญาเย็นทั้งคณะ

     ระหว่างเดินธุดงค์ พระเณรที่ร่วมคณะเกิดกระหายน้ำ ท่านก็บอกให้หยุดฉันน้ำก่อน ส่วนท่านเองเดินล่วงหน้าไป สักพักหนึ่งก็รู้สึกสังหรณ์ใจว่ากำลังมีอะไรเกิดขึ้นแก่ท่านสักอย่าง เดินอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกใจเต้นแรง แต่มองไปรอบข้าง ไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ ท่านจึงเดินไปเรื่อย ๆ แม้กระนั้นก็ยังไม่หายใจเต้น ทันใดท่านก็เห็นเสือนอนหันหลังให้อยู่ตัวหนึ่งข้างหน้า จะหลบหลีกก็ไม่ได้เสียแล้ว เพราะเป็นเรื่องกะทันหันเกินไป ตอนนี้หัวใจที่เต้นแรงแทบว่าจะพาลหยุดเต้นเลยทีเดียว

     แต่ถึงอย่างไร ท่านก็ยังสำรวมสติได้อย่างรวดเร็ว ท่านตัดสินใจอย่างไม่เคยมีใครทำมาก่อน

     เดินเข้าไปใกล้ ๆ มัน แล้วร้องตามไปว่า

     “เสือหรือนี่ ! “

     เจ้าเสือร้ายผงกหัวหันมาตามเสียง พอเห็นท่านก็เผ่นแผล็ว หายเข้าป่ารกทึบไป

     เมื่อพระเณรตามมาทัน ทั้งหมดจึงออกเดินทางต่อเพื่อมุ่งหน้าไปยังบ้านสอยดาว อำเภอปากช่อง อยู่ห่างจากสถานีจันทึกไปประมาณ ๓๐๐ เส้น แต่ก่อนจะถึงได้แวะไปที่ไร่หลวงบำรุงฯ แล้วพักอยู่ที่นั่นหลายวัน คนของหลวงบำรุงฯ ได้จัดทำอาหารถวายพระ โดยมิได้ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด

     ที่ไร่ของหลวงบำรุงฯ ท่านอาจารย์ฝั้นได้เผชิญกับผีกองกอยเข้าครั้งหนึ่ง

     ปกติพวกชาวบ้านเข้าใจว่า ผีกองกอยคือนกไม้หอม ถ้านกประเภทนี้ไปร้องที่ไหน เชื่อกันว่ามีไม้หอมอยู่ที่นั่น ก่อนไปหาไม้หอม เช่น ไม้จันทร์หอม ชาวบ้านจะทำพิธีบวงสรวงกันเสียก่อน อธิษฐานให้นกไปร้องอยู่ที่บริเวณที่มีไม้หอม จะได้หาพบง่ายยิ่งขึ้น พอบวงสรวงเสร็จก็เข้าไปนั่งคอยนอนคอยอยู่ในป่า ตกกลางคืนได้ยินเสียงนกประเภทนี้ร้องทางไหน ก็ตามเสียงไปทางนั้น

     ท่านอาจารย์ฝั้นได้ยินมันร้องทุกคืน พอตะวันตกดิน ได้ยินเสียงร้องจากทางหนึ่งไปอีกทางหนึ่ง พอสว่างก็ได้ยินเสียงร้องย้อนกลับไปทางเก่า

     ระหว่างนั้น เด็กคนหนึ่งซึ่งติดตามมาด้วยได้ละเมิดคำสั่งของท่าน ขณะเข้าป่าไม่ได้สำรวมศีล มักลักลอบไปจับไก่ กิ้งก่า หรือบางทีก็จับแย้มาฆ่ากิน ด้วยเหตุนี้ พอตกกลางคืน แทนที่ผีกองกอยจะไปตามทางของมันอย่างเคย กลับวกมายังที่พักธุดงค์แล้วไปยังที่พักของเด็ก ท่านให้นึกเอะใจว่า เด็กคงศีลขาดเสียแล้ว จึงพร้อมทั้งพระภิกษุสามเณรจุดโคมเทียนโดยมีผ้าคลุมติดไว้ทุกทิศ แล้วนั่งล้อมเด็กไว้ คอยพิจารณาดูตัวมัน แต่ได้ยินเพียงเสียงของมันเท่านั้น พระอาจารย์ฝั้นจึงนั่งสมาธิพอจิตรวมได้ที่ก็เห็นผีกองกอยตัวนั้น หน้าเท่าเล็บมือ ผมยาวคล้ายชะนี หล่นตุ๊บลงมาจากต้นไม้แล้วหายสาบสูญไปเลย

     เมื่อทราบความจริงว่า เด็กละเมิดคำสั่งสอนของท่านจนศีลขาด ท่านจึงส่งเด็กกลับไปเสีย แล้วคณะของท่านก็เดินทางต่อไปจนถึงบ้านสอยดาว ทำความเพียรอยู่ที่นั่นอีกหลายเดือน จึงได้กลับไปยังนครราชสีมา

     ระหว่างอยู่นครราชสีมา ท่านได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่พักหนึ่ง กล่าวคือท่านตั้งใจจะอดอาหารสักระยะเวลาหนึ่ง โดยจะไม่ฉันอะไรเลยนอกจากน้ำ เช้าขึ้นมา ท่านออกไปบิณฑบาตก็จริง แต่ได้มาแล้ว ก็ถวายองค์อื่นจนหมดสิ้น จากนั้นก็นั่งเย็บปะจีวร สบง ไปตามเรื่อง พอล่วงเข้าวันที่ ๓ ขณะที่กำลังสนเข็มอยู่ ท่านก็รู้สึกว่ามือสั่น จึงพิจารณาทบทวนดู ก็ประจักษ์ความจริงว่า ไปถ้าขาดเชื้อเสียแล้วย่อมไม่อาจลุกโพลงขึ้นได้ฉันใด มนุษย์เราก็จะต้องมีอาหารสำหรับประทังชีวิตฉันนั้น ท่านจึงเลิกอดอาหาร แต่ฉันให้น้อยลงกว่าเดิม แม้ลูกศิษย์ของท่านบางคนมาขออนุญาตอดอาหารบ้าง ท่านก็ไม่อนุญาต เพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์อันใดดังกล่าวแล้ว


     ในพรรษาที่ ๑๑ – ๑๙ (พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๘๖) ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล จังหวัดเดียวกันอีก

     เมื่อเดือน ๓ ข้างขึ้น ๑๔ ค่ำ ปี ๒๔๗๙ ท่านได้ออกจากวัดป่าศรัทธารวม ไปตามพระอาจารย์มั่นที่เชียงใหม่ เพราะเวลาที่จากกัน ท่านคิดถึงพระอาจารย์มั่นอยู่ตลอดเวลา ในการไปตามหาพระอาจารย์มั่นครั้งนี้ พระอาจารย์อ่อนได้เดินทางร่วมไปด้วย

     เมื่อลงรถไฟที่สถานีเชียงใหม่แล้ว ทั้งสองท่านได้เดินทางต่อไปที่วัดเจดีย์หลวง นับว่าน่าอัศจรรย์เป็นอันมาก ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มั่นหยั่งรู้ได้อย่างไร จึงมาคอยท่านอยู่ก่อนแล้ว พระอาจารย์มั่น ได้บอกกับท่านทั้งสองว่า พระเณรมาหาเป็นร้อย ๆ ยังไม่ดีใจเท่าที่ท่านมาเพียงสององค์ มีพระเณรมาหากันมากแต่ไม่พบ เพราะท่านเที่ยวธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐานไปเรื่อย ๆ

     เมื่อเข้าสู่ที่พักซึ่งพระอาจารย์มั่นกำหนดให้แล้ว ทั้งสองท่านได้ถวายการปฏิบัติต่อพระอาจารย์มั่น สักพักใหญ่ พระอาจารย์มั่นก็ลุกขึ้นมาเทศนาให้ฟัง ตอนหนึ่งท่านบอกด้วยว่า พระอาจารย์อ่อนและพระอาจารย์ฝั้น เป็นพระเจ้าชู้ พระอาจารย์ทั้งสองได้ฟังก็งุนงงและบังเกิดความตกใจ แต่เมื่อพิจารณาตัวเองดูแล้ว ก็ประจักษ์ว่าจริงอย่างที่ท่านบอก เพราะผ้าจีวร สบง เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ไม่ใช่สีกลัก มิหนำซ้ำ ฝาบาตรที่ท่านพระอาจารย์ฝั้นใช้อยู่ยังประดับมุกอีกด้วย

     คืนนั้น พระอาจารย์ทั้งสองนั่งสมาธิทำความเพียรจนสว่าง

     เช้าวันรุ่งขึ้น พระอาจารย์อ่อนขอลาพระอาจารย์มั่นไปอำเภอพร้าว พระอาจารย์ฝั้นจะไปด้วย แต่พระอาจารย์มั่นไม่ยอมให้ไป ท่านให้พักอยู่ด้วยกันไปก่อน

     ต่อมาพระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นได้ขอลาไปวิเวกที่อื่นอีกหลายครั้ง แต่พระอาจารย์มั่นพูดตัดบทไว้ทุกที อ้างว่าอยู่ที่นี่ดีอยู่แล้ว

     อย่างไรก็ดี พระอาจารย์มั่นได้อนุญาตให้ท่านทั้งสองไปพักอยู่ที่ห้วยน้ำริน และต่อมาได้ไปยังบ้านปง ที่บ้านปงนี้เอง พระอาจารย์อ่อนเกิดอาพาธด้วยไข้มาเลเรีย พระอาจารย์ฝั้นได้ช่วยรักษาพยาบาลจนกระทั่งทุเลาลง แล้วพากันกลับไปหาพระอาจารย์มั่นยังวัดเจดีย์หลวงอีกครั้ง

     กลับไปคราวนี้ พระอาจารย์มั่นได้ให้พระอาจารย์ฝั้น มุ่งทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน ปรากฏว่าท่านทั้งสองต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่กุฏิห่างกันเป็นระยะทางถึงเกือบ ๕๐๐ เมตร

     พอใกล้เข้าพรรษา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ครั้งเป็นพระญาณดิลก ได้ขึ้นไปเป็นกรรมการสอบสวนชำระอธิกรณ์ที่วัดเจดีย์หลวง ได้ให้พระอาจารย์อ่อนเดินทางไปให้นิสสัยพระมอญ ซึ่งได้รับการญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตินิกาย ที่วัดหนองดู่ จังหวัดลำพูน แต่เนื่องจากวัดนี้อยู่ริมแม่น้ำปิง ขณะนั้นน้ำกำลังท่วม พระอาจารย์อ่อนจึงตัดสินใจไม่ไป พอดีกับพระอาจารย์ฝั้นได้รับจดหมายพร้อมกับธนาณัติจากหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตเป็นปัจจัยมูลค่า ๔๐ บาทถวายเป็นค่าพาหนะ ให้ท่านเดินทางกลับไปจำพรรษาที่นครราชสีมา

     ท่านทั้งสองจึงตัดสินใจกลับจากเชียงใหม่ในเดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐

     ระหว่างออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๖ พระอาจารย์ฝั้นได้ออกเดินธุดงค์จากวัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นวัดที่ท่านพำนักจำพรรษาติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขา ที่เห็นว่าสงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ โดยเปลี่ยนสถานที่ผ่านหมู่บ้านและอำเภอต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนถึงเขาพนมรุ้ง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่เขาพนมรุ้งเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ท่านได้เดินทางต่อไปถึงจังหวัดสุรินทร์ และได้ไปพักอยู่ในไม้กระเบา ริมห้วยเสนง ซึ่งร่มรื่นและเงียบสงัด เหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างยิ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ มีพระและเณรติดตามไปด้วยรวม ๓ รูป ทั้งยังมีเด็กลูกศิษย์ ๓ คน ขอติดตามท่านมาจากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย

     ระหว่างที่พระอาจารย์ฝั้น พำนักอยู่ในป่าริมห้วยเสนง บรรดาพุทธบริษัทชาวจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียงต่างเลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก สังเกตได้จากจำนวนผู้คนที่พากันไปฟังพระธรรมเทศนาและรับการอบรมจากท่านอย่างเนืองแน่นมิได้ขาด ผู้คนล้นหลามไปนมัสการทั้งกลางวันกลางคืน ราวกับว่ามีงานมหกรรมขึ้นมากทีเดียว

     พระอาจารย์ฝั้น ได้ให้ลูกศิษย์หาเครื่องยามาประกอบเป็นยาดอง โดยมีผลสมอเป็นตัวยาสำคัญ กับเครื่องเทศอีกบางอย่าง ปรากฏว่ายาดองที่ท่านประกอบขึ้นคราวนี้มีสรรพคุณอย่างมหาศาล แก้โรคได้สารพัด แม้คนที่เป็นโรคท้องมานมาหลายปี รักษาที่ไหนก็ไม่หาย พอไปฟังพระธรรมเทศนา รับไตรสรณาคมน์ และรับยาดองจากท่านไปกินเพียง ๓ วัน โรคท้องมานก็หายดังปลิดทิ้ง แม้กระทั่งคนที่เสียจริต เมื่อรับไตรสรณาคมน์ และได้รับการประพรมน้ำมนต์แล้วก็หายเป็นปกติ ทันตาเห็น ไปหลายราย พุทธบริษัททั้งหลายจึงพากันแตกตื่นในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดขนานนามให้ท่านเป็น “เจ้าผู้มีบุญ” เลยทีเดียว

     ตั้งแต่นั้นมา แม้พระอาจารย์ฝั้นจะจากไปประจำอยู่ที่จังหวัดสกลนครแล้ว พุทธบริษัทชาวจังหวัดสุรินทร์ ก็ยังพยายามติดตามไปนมัสการ ทำบุญ ภาวนา และรับการอบรมจากท่านอยู่เสมอมิได้ขาด

     ระหว่างพักอยู่ริมห้วยเสนงนั้น พระอาจารย์ฝั้นได้ย้ายสถานที่ไปพักโปรดญาติโยมตามที่ต่าง ๆ ตามคำนิมนต์ของชาวบ้านผู้มีจิตเลื่อมใสบ้างเป็นบางครั้ง แต่ละแห่งที่ท่านไปพัก บรรดาพุทธบริษัทต่างก็ติดตามไปรับการอบรมและปฏิบัติธรรมอย่างล้นหลามทุกครั้ง สถานที่แห่งที่สามที่ท่านไปพัก ต่อมาได้กลายเป็นวัดป่าโยธาประสิทธิ์ ซึ่งได้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

     พอใกล้จะเข้าพรรษา พระอาจารย์ฝั้น จึงได้ลาญาติโยมเดินทางออกจากสุรินทร์ไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานีตามบัญชาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายก

     สาเหตุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเพราะในปีนั้น สมเด็จฯ อาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นโลหิต ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรค ในทางธรรมปฏิบัติ สมเด็จฯ ได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ให้อธิบายธรรมเป็นองค์แรก เมื่อพระอาจารย์สิงห์อธิบายจบลงแล้ว สมเด็จฯ จึงให้พระอาจารย์ทอง อโกโส เจ้าอาวาสวัดบูรพาอธิบายอีก จากนั้นจึงหันมาทางพระอาจารย์ฝั้น ให้อธิบายธรรมให้ฟังอีกเป็นองค์สุดท้าย พระอาจารย์ฝั้นจึงได้อธิบายธรรมถวายโดยมีอรรถดังนี้

     "ให้ท่านทำจิตเป็นสมาธิ ยกไวยกรณ์ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยกอันนี้ไว้เสียก่อน ทำจิตให้เป็นสมาธิ เราต้องตั้งสมาธิให้ได้ ภาวนากำหนดจิตให้เป็นสมาธิ พอตั้งเป็นสมาธิดีแล้ว ให้เป็นหลัก เปรียบเหมือนเราจะนับตั้งร้อยตั้งพัน ก็ต้องตั้งหนึ่งเสียก่อน ถ้าเราไม่ตั้งหนึ่งเสียก่อน ก็ไปไม่ได้ ฉันใด จิตของเราจะรู้ได้ เราก็ตั้งจิตของเราเป็นสมาธิเสียก่อน เรียบเหมือน นัยหนึ่งคือเหมือนเราจะปลูกต้นไม้ พอปลูกลงแล้ว ก็มีคนเขาว่า ปลูกตรงนั้นมันจะงามดี ก็ถอนไปปลูกตรงนั้น และก็มีคนเขามาบอกอีกว่า ตรงโน้นดีกว่า ก็ถอนไปปลูกตรงโน้นอีก ทำอย่างนี้ ผลที่สุดต้นไม้ก็ตาย ทิ้งเสียเปล่า ๆ ไม่ได้อะไรเสียอย่าง ฉันใด เราจะทำจะปลูกอะไร ก็ฝังให้มันแน่น ไม่ต้องถอนไปไหน มันเกิดขึ้นเอง นี้แหละสมาธิ ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ หรืออีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนเราจะขุดน้ำบ่อ ต้องการน้ำในพื้นดิน เราก็ขุดลงไปแห่งเดียวเท่านั้น พอเราขุดไปได้หน่อยเดียว ได้น้ำสัก ๒ – ๓ บาตรแล้ว มีคนเขาบอกว่าที่นั่นมันตื้น เราก็ย้ายไปขุดที่อื่นอีก พอคนอื่นเขาบอกว่า ตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ไม่ดี ก็ย้ายไป ย้ายมา ผลที่สุดก็ไม่ได้กินน้ำ ใครจะว่าก็ช่างเขา ขุดมันแห่งเดียวคงถึงน้ำ ฉันใด เปรียบเหมือนสมาธิของเรา ต้องตั้งไว้แห่งเดียวเท่านั้น เมื่อเราตั้งไว้แห่งเดียว ไม่ต้องไปอื่นไกล ไม่ต้องส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ไม่ต้องคิดถึงอดีต อนาคต กำหนดจิตให้สงบอันเดียวเท่านั้น

     ได้ให้ท่านทำสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบ ให้พิจารณาแยกธาตุ แยกขันธ์และอายตนะออกเป็นส่วน ๆ ตามความเป็นจริง พิจารณาให้เห็นความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้นตามหน้าที่ของมัน ให้แยกกายออกจากจิต แยกจิตออกจากกาย ให้ยึดเอาตัวจิต คือผู้รู้เป็นหลัก พร้อมด้วยสติ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้พิจารณาให้อยู่ในสภาพของมันเองแต่ละอย่าง เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นได้ว่า ธาตุทั้ง ๔ ต่างเจ็บไม่เป็น ป่วยไม่เป็น แดดจะออก ฝนจะตก ก็อยู่ในสภาพของมันเอง ในตัวคนเราก็ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้รวมกัน การที่มีความเจ็บปวดป่วยไข้อยู่นั้น ก็เนื่องมาจากตัวผู้รู้ คือจิต เข้ายึดด้วยอุปาทานว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นของเขาของเรา เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว ตัวผู้รู้คือจิตเท่านั้นที่ไปยึดเอามาว่าเจ็บ ว่าปวด ว่าร้อน ว่าเย็น หรือหนาว ฯลฯ ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นไม่ได้เป็นอะไรเลย ดินก็คงเป็นดิน น้ำก็คงเป็นน้ำ ไม่มีส่วนรู้เห็นในความเจ็บปวดใด ๆ ด้วย เมื่อทำจิตให้สงบและพิจารณาเห็นสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายและวางจากอุปาทาน คือเว้นการยึดถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น เมื่อละได้เช่นนี้ ความเจ็บปวดต่าง ๆ ตลอดจนความตายย่อมไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้น หากทำจิตให้สงบ เป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว โรคต่าง ๆ ก็จะทุเลาหายไปเอง"

     เมื่อพระอาจารย์ฝั้นอธิบายธรรมถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จบแล้ว สมเด็จฯ ได้พูดขึ้นว่า เออ, เข้าทีดี แล้วถามพระอาจารย์ฝั้นว่า ในพรรษานี้ ฉันจะอยู่ได้รอดตลอดพรรษาหรือไม่ พระอาจารย์ฝั้นก็เรียนตอบไปว่า ถ้าพระเดชพระคุณทำจิตให้สงบได้ดังที่อธิบายถวายมาแล้ว ก็รับรองว่าอยู่ได้ตลอดพรรษาแน่นอน

     สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาอยู่กับท่านที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะได้ศึกษาธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นดังกล่าวแล้ว โดยพระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาวัดบูรพาเป็นที่จำพรรษา เพราะวัดนี้อยู่ฝั่งเดียวกันกับวัดสุปัฏน์ที่สมเด็จฯ พำนักอยู่ การไปมาสะดวกกว่าวัดป่าแสนสำราญ ซึ่งอยู่ทางฝั่งอำเภอวารินชำราบ

     วัดบูรพาที่ท่านเลือกพัก มีเขตเป็นสองตอน ตอนหนึ่งเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม อีกตอนหนึ่งเป็นป่า มีกุฏิหลังเล็ก ๆ อยู่ ๕ – ๖ หลัง สำหรับพระเณรอาศัยปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ พระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาด้านที่เป็นป่า เป็นที่พักตลอดพรรษานั้น และได้หมั่นไปอธิบายธรรมปฏิบัติถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ที่วัดสุปัฏน์เกือบทุกวัน และด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรมนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ก็หายวันหายคืน ทั้งอยู่ได้ตลอดพรรษาและล่วงเลยต่อมาอีกหลายปี

 





สกลนครเมืองธรรมะ

เมืองธรรมะ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ