"ศารทวิษุวัต" (Fall Equinox) มีผลอย่างไรกับพืช สัตว์ และมนุษย์
ศารทวิษุวัต คืออะไร?
เป็น "หนึ่งในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์" เกิดขึ้นจากโลกโครจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะแกนเอียงจากแนวดิ่งประมาณ 23.5 องศา ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ต่อผิวโลกเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ภูมิภาคต่างๆของโลกได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา นำมาซึ่งฤดูกาล 4 ครั้ง ต่อปี
1.วสันตวิษุวัต (spring or vernal equinox) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร เป็นฤดูใบไม้ผลิ กลางวันเท่ากับกลางคืน
2. ครีษมายัน (summer solstice) วันที่ 21 - 22 มิถุนายน แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ เป็นฤดูร้อน กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
3.ศารทวิษุวัต (fall or autumnal equinox) ตรงกับวันที่ 23 กันยายน แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง กลางวันเท่ากับกลางคืน และเป็นฤดูใบไม้ร่วง
4.เหมายัน อ่าน เห -มา - ยัน (winter solstice) วันที่ 21 - 22 ธันวาคม แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี เป็นฤดูหนาว
อนึ่ง โลกใบนี้แบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกโลกด้านเหนือ (northern hemisphere) และซีกโลกด้านใต้ (southern hemisphere) ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์และฤดูกาลจะตรงกันข้ามกัน ข้อความที่อธิบายข้างต้นเป็นปรากฏการณ์ของซีกโลกด้านเหนือ
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา และมีลักษณะแกนเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 4 ครั้ง และ 4 ฤดู
ภาพที่มองเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวในแต่ละปรากฏการณ์และฤดูกาล
โลกแบ่งออกเป็น 2 ซีก ด้านเหนือ (norther hemispher) กับด้านใต้ (souther hemisphere) โดยมีเส้นศูนย์สูตร (equator) อยู่ตรงกลางเป็นเส้นแบ่ง ฤดูกาลของทั้งสองซีก "ตรงกันข้ามกัน" เช่น วันที่ 23 กันยายน ซีกโลกด้านเหนือเป็น "ศารทวิษุวัต ฤดูใบไม้ร่วง" ในทางกลับกันซีกโลกโลกด้านใต้เป็น "วสันตวิษุวัต ฤดูใบไม้ผลิ"
สัมผัสด้วยตัวเอง ปรากฏการณ์และฤดูกาลซีกโลกด้านเหนือ รัฐ Iowa USA ฤดูหนาว หิมะตกหนัก และซีกโลกด้านใต้ Australia ฤดูร้อน
ผลพวงของ "ศารทวิษุวัต" ต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
ภาพถ่ายครั้งแรกของปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ที่ปราสาทภูเพ็ก 23 กันยายน 2544
ปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" 23 กันยายน 2555 ที่ปราสาทภูเพ็ก
ศารทวิษุวัต 23 กันยายน 2555 ปราสาทภูเพ็ก
ศารทวิษุวัต กับ วสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน แต่สังเกตความหนาแน่นของต้นไม้จะต่างกัน ศารทวิษุวัตอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนต้นไม้ยังหนาทึบ ส่วนวสันตวิษุวัตเป็นช่วงหมดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิต้นไม้ดูโปร่งๆ
กร๊าฟแสดงช่วงความยาว (ชั่วโมง) ของแสงอาทิตย์ในรอบปี ณ จังหวัดสกลนคร เส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ
1.ผลไม้ป่าที่ชื่อหมากเม่า ...... ไม้ผลชนิดนี้ออกดอกในช่วง "วสันตวิษุวัต" ราวเดือนมีนาคม และผลแก่พร้อมเก็บเกี่ยวในช่วง "ศารทวิษุวัต" เดือนกันยายน บางสายพันธุ์ก็สามารถเก็บเกี่ยวตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเมื่อแสงอาทิตย์กำลังเริ่มสั้นลง
หมากเม่าเริ่มติดดอกราว "วสันตวิษุวัต" และเริ่มเก็บเกี่ยวผลแก่ราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสิงหาคม (สำหรับสายพันธ์ุเบา) ส่วนสายพันธ์ุหนักจะเริ่มเก็บเกี่ยวราว "ศารทวิษุวัต"
ผลผลิตหมากเม่าที่ฟาร์มของอาจารย์คนพ วรรณวงศ์ อ.ภูพาน 16 กันยายน 2567
ผลผลิตหมากเม่าที่ฟาร์ม ชาโต้ เดอ ภูพาน 19 สิงหาคม 2567
2.ข้าวหอมมะลิ ...... เป็นข้าวสายพันธ์ุที่ผูกพันกับช่วงความยาวของแสงอาทิตย์ จะตั้งท้องเมื่อถึง "ศารทวิษุวัต" เพราะถูกกระตุ้นด้วยชั่วโมงที่เริ่มสั้นลงของแสงอาทิตย์
ระยะการเจริญเติบโตของข้าวพันธ์ุหอมมะลิที่สัมพันธ์กับช่วงความยาว (ชั่วโมง) ของแสงอาทิตย์ ...... ภษาวิชาการเรียกข้าวชนิดนี้ว่า "ข้าวพันธ์ุที่ไวต่อช่วงแสงอาทิตย์" แปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ Photosensitive Vareity ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "ข้าวพันธ์ุนาปี"
ลำดับระยะการเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ จริงๆชื่อเป็นทางการคือ ...... ข้าวขาวดอกมะลิ 105
สุริยะปฏิทิน ปราสาทภูเพ็กแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์กับระยะการเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ
ภาพถ่ายสุริยะปฏิทิน ปราสาทภูเพ็ก เปรียบเทียบกับระยะตั้งท้อง ออกดอก และเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ
3.ต้นไม้และสัตว์ในแถบเส้นรุ้งสูงกว่า 40 องศาเหนือ เช่น รัฐ Iowa USA มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกับเราๆท่านๆที่สกลนคร (เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ)
เมื่อเข้าสู่ปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" หรือฤดูใบไม้ร่วง ต้นไม้จะเริ่มเปลี่ยนสีและพร้อมจะทิ้งใบเพื่อรองรับหิมะตกในฤดูหนาว ต้นไม้ภูมิประเทศแถบนี้ได้สะสมน้ำและอาหารไว้เต็มพิกัดในลำต้นและทิ้งใบเพื่อไม่ให้มีการคายน้ำ อีกทั้งป้องกันกิ่งหักโค่นเมื่อหิมะเกาะ
สัตว์น้อยใหญ่แม้กระทั้งแมลงในรัฐ Iowa USA รู้ตัวดีว่าหลังจาก "ศารทวิษุวัต" จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่หฤโหด จึงต้องสะสมอาหารไว้อย่างเพียงพอ สัตว์ใหญ่ที่กินหญ้าอย่างกวางต้องปรับตัวกินหญ้าแห้งและใบไม้แห้งตามพื้นดิน
4.บรรพชนยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้ตัวดีว่าเมื่อย่างเข้า "ศารทวิษุวัต" เขาเหล่านั้นต้องเริ่มสะสมอาหารด้วยวิธีการต่างๆเพื่อต่อสู้กับฤดูหนาว ....... ผู้คนในยุคนั้นไม่ใช่ขี้ไก่อย่างที่เราๆท่านๆคิด พวกเขามีอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนฤดูกาล
สโตนเฮ้จน์ เป็นหนึ่งในสุริยะปฏิทินก่อนประวัติศาสตร์
ชนเผ่าอินเดียแดงที่ต้นแม่น้ำ Mississippi รัฐอิลลินอยส์ มีสุริยะปฏิทินทำด้วยแท่งไม้
ผมไปที่สุริยะปฏิทินของชาวอินเดียแดงโบราณเมื่อปี เพื่อพิสูจน์ด้วยตาตัวเอง
ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาตรงกับสัญลักษณ์นี้ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต"
สรุป
ปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" เป็นอะไรที่มีผลต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลของโลกใบนี้ ...... พูดง่ายๆว่า "ดาราศาสตร์ กับ ชีวิต" เป็นเรื่องเดียวกัน แยกกันไม่ออก หรืออีกนัยหนึ่ง ...... ดาราศาสตร์อยู่ในลมหายใจของสูและตูข้า ..... ตั้งแต่ยุคหินที่ผู้คนทำมาหากินลูกเดียวไม่มีดราม่า จนถึงยุคดิจิตอลที่เต็มไปด้วยมิจฉาชีพออนไลน์ ..... เป็นประการเช่นนี้แล