ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletทอผ้าเส้นใยเฮ้มพ์ ...... มรดก 3,000 ปี จากบรรพชนอีสาน
bulletน้ำท่วมเมืองสกล 2560 ต่างกับน้ำท่วมภาคเหนือ 2567 อย่างไร?
bulletจารึกปราสาทเชิงชุม แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ...... ตรงกับวันอะไรในปฏิทินปัจจุบัน
bullet"ศารทวิษุวัต" (Fall Equinox) มีผลอย่างไรกับพืช สัตว์ และมนุษย์
bulletเวลา ปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะสังคม ....... คำนิยมจากวารสารศิลปวัฒนธรรม
bulletชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เผชิญหน้ากับ อารยธรรมทวารวดี ...... เกิดอะไรขึ้น?
bulletปราสาทขอมเมืองสกลวางตัวในมุมกวาดที่ต่างกัน 80 องศา และ 90 องศา ..... คลาดเคลื่อนหรือเจตนา?
bulletปราสาทบริวารที่ภูเพ็ก ..... ถ้าสร้างเสร็จน่าจะใหญ่ขาดไหน?
bulletสะพานขอม ...... ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
bulletUnseen สะพานขอม ........ ไม่ใช่สะพานธรรมดา
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 สุริยันจันทรา กับ โบราณสถานชื่อดัง 4 แห่ง
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletย้อนอดีต 1,300 ปี ทวารวดีศรีเทพ มีอะไรที่นั่น?
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ....... มุมมองวิทยาศาสตร์
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletปรากฏการณ์แสงเหนือ ...... ความสวยงามที่แฝงภัยอันตราย
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




Unseen สะพานขอม ........ ไม่ใช่สะพานธรรมดา

        Unseen สะพานขอม ....... ไม่ใช่สะพานธรรมดา 

          กรมศิลปากรส่งทีมมาขุดสำรวจสะพานขอมที่สกลนครในเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2567 และให้ข้อมูลว่า "นี่คือสะพานหินที่สร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ" ........ แต่ในสายตาของนักพิภพวิทยาและประธานชมรมอารยธรรมสกลนคร "สิ่งก่อสร้างอันนี้ต้องเป็นอะไรที่มากกว่าสะพาน" ติดตามมาครับ

 

 

          โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องราวสะพานขอมมานานกว่า 20 ปี ด้วยการอ่านข้อมูลในเอกสารของกรมศิลปากรที่ระบุว่า ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในชื่อ "สะพานขอม" เมื่อ ปี พ.ศ.2478 มีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 16 เมตร

          เพื่อพิสูจน์ว่า สะพานแห่งนี้ทำหน้าที่ "ฝายทดน้ำเพื่อการชลประทาน" ด้วยเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และตรรกแห่งความน่าจะเป็น ดังนี้

         1. ถนนสายที่สะพานขอมตั้งอยู่เชื่อมระหว่างตัวเมืองสกลนครไปถึงสี่แยกบ้านธาตุ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จมาตรวจราชการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 พระองค์ท่านมีบันทึกว่า ..... "ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเป็นสะพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เป็นของสมัยเดียวกันกับเทวสถานอรดีมายานารายณ์เจงเวง" ตีความได้ว่ามีสะพานที่ทำด้วยศิลาแลงเพียง 1 แห่ง ขณะที่ถนนสายนี้มีลำห้วยผ่านอีกหลายสายก็ต้องมีสะพาน

          คำถาม .... "ทำไมสะพานหินศิลาแลงมีเพียงแห่งเดียว?" ทำไมไม่สร้างให้ครบทุกแห่งตลอดเส้นทางไปบ้านนาเวง  

       คำตอบ ..... สะพานตัวอื่นๆทำด้วยไม้และผุพังสูญสลายไปตามกาลเวลา แต่สะพานตัวที่เห็นในปัจจุบัน "มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นฝายทดน้ำเพื่อการชลประทาน สำหรับปลูกข้าว" จึงต้องทำให้มั่นคงแข็งแรง

 

 บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 ระบุว่า ..... ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ..... "ภาพถ่ายก็มีม้าจริงๆ" 

 

แผนที่แสดงให้เห็นว่าถนนจากตัวเมืองสกลไปบ้านนาเวง (ชื่อปัจจุบันบ้านธาตุนาเวง) มีลำน้ำไหลผ่านอีก 3 สาย แต่ตัวสะพานทำด้วยไม้และสูญสลายไปหมดแล้วตามกาลเวลา เหลือเพียงแห่งเดียวคือสะพานขอม

 

      คำถาม ..... ฝายทดน้ำเพื่อการชลประทานมีเพียงแห่งเดียว ทำไมไม่สร้างในลำน้ำสายอื่นๆด้วย

      คำตอบ ..... ตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับ "อ่างเก็บน้ำ" ที่อยู่ต้นน้ำ เพื่อให้มีปริมาณ "น้ำต้นทุน" อย่างเพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง เมื่อตรวจสอบความเหมาะสมของภูมิประเทศตามเงื่อนไขนี้จะพบว่า ...... มีเพียงแห่งเดียวที่เข้าสะเป็กคือตำแหน่งที่สร้างสะพานขอม จุดอื่นๆนอกนั้นเป็นเพียงลำน้ำธรรมดาที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำ  

 

พิจารณาภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2489 มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (ชื่อปัจจุบัน หนองสนม) ใกล้ๆสะพานขอม

 

   

ลากเส้นตามร่องรอยในภาพถ่ายจะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างอ่างเก็บน้ำกับสะพานขอมและลำน้ำด้านล่างไปลงที่หนองหาร ตรวจสอบข้อมูลจาก Google Earth พบว่าบริเวณด้านบนของหนองสนม (ศูนย์ราชการปัจจุบัน) เป็นที่ดอนทำหน้าที่ "หลังคารับน้ำฝน" (catchment area) ให้ไหลลงไปสะสมในหนองสนมเป็นน้ำต้นทุนและไหลออกไปตามลำน้ำตามความลาดเท โดยมีสะพานขอมทำหน้าที่ "ฝายทดน้ำ" (weir) โครงสร้างแบบนี้ถูกสะเป็กของเทคโนโลยีการชลประทาน ปัจจุบันกรมชลประทานก็ยังใช้หลักการเหมือนเดิม คือ พื้นที่รับน้ำ (Catment area) อ่างเก็บน้ำ (Reservoir) อาคารบังคับน้ำและระบบกระจายน้ำ (Water Gate and Distribution System)

 

 

       คำถาม ........ ทำไมถนนที่ออกจากตัวเมืองสกลโบราณด้านทิศตะวันตกจึงไม่ตัดให้ตรงกับแนวถนนในตัวเมือง แต่สร้างถนนเฉียงออกไปทางสะพานขอม

       คำตอบ ....... ดูตามภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2484 เห็นชัดเจนว่าบริเวณด้านนอกตัวเมืองทางทิศตะวันตกมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ไม่สามารถสร้างถนนผ่านบริเวณนี้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวถนนใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

 

ถ้าจะสร้างถนนออกนอกเมืองด้านทิศตะวันตกเป็นเส้นตรง (เส้นไข่ปลาสีเหลือง) จะชนกับหนองน้ำขนาดใหญ่ จำเป็นต้องเลี่ยงไปออกทางด้านทิศเหนือ (เส้นสีแดงทึบ) และอาจเป็นไปได้ที่จะมีประตูเมืองทางทิศตะวันตกแต่ถนนที่ผ่นประตูต้องเลี้ยว 90 องศา ไปทางทิศเหนือ (เส้นสีเหลืองทึบ) 

 

กรมศิลปากรทำแผนผังเมืองสกลโบราณ มีถนนเป็นรูปกากบาด

 

ภาพถ่าย Google Earth ในปัจจุบัน ก็ยังปรากฏพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) บริเวณนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตก  

 

       คำถาม ..... บรรพชนเมื่อพันปีที่แล้วที่เราๆท่านๆเรียกเขาเหล่านั้นว่า "ขอม" มีความรู้ความสามารถในวิชา "วิศวกรรมชลประทาน" จริงหรือ?

                 คำตอบ ...... การค้นคว้าวิชาโบราณคดียืนยันชัดเจนว่าชาวขอมมีความรู้ด้านวิศวกรรม ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ได้แก่สิ่งก่อสร้างทำด้วยหินทราย ศิลาแลง และอิฐเผาขนาดใหญ่โตจำนวนมากมาย เช่น ปราสาท บาราย (อ่างเก็บน้ำ) และตัวเมืองที่มีกำแพงเป็นรูปทรงเรขาคณิต ....... ที่สำคัญ ชมรมอารยธรรมสกลนครได้ค้นพบ "ฝายกักน้ำทำด้วยหินทรายบนภูเขาทางขึ้นปราสาทภูเพ็ก" กรมศิลปากรก็ได้ยืนยันว่านี่คือฝายจริงๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่นักโบราณคดีค้นพบในประเทศกัมพูชาจำนวนหลายแห่งและยืนยันว่าชาวขอมมีองค์ความรู้ด้าน "เทคโนโลยีการจัดการน้ำระดับเทพ"

 

ชมรมอารยธรรมสกลนครค้นพบฝายหิน เมื่อเดือนเมษายน 2555 ซ่อนตัวอยู่ในลำธารบนภูเขาที่ระดับ +257 m จากระดับน้ำทะเล ใกล้ๆกับปราสาทภูเพ็ก และแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรทราบ

 

 

หน่วยศิลปากรที่ 10 โดยการสนับสนุนของอุทยานแห่งชาติภูพาน ได้เข้าพื้นที่และทำโครงการขุดสำรวจฝายโบราณเมื่อ 30 พฤษภาคม 2557  

ขึ้นป้ายโครงการ กิจกรรมขุดลอกฝายโบราณ ปราสาทภูเพ็ก เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช 2557 วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2557  

 

ชาวขอมเลือกทำเล (ไซด์งาน) ก่อสร้างฝายเก็บน้ำได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมชลประทาน คือต้องเลือกภูมิประเทศที่เป็นทางราบเพื่อให้สามารถเก็บน้ำได้มาก หากเลือกทำเลที่เป็นทางชันจะเก็บน้ำได้น้อยและตัวฝายอาจจะพังได้ง่ายจากแรงกระแทกของน้ำที่พุ่งลงมาจากพื้นที่ slope สูง 

 

ตำแหน่งที่ตั้งของฝายหินบนภูเขาใกล้ปราสาทภูเพ็ก  (เส้นสีเหลืองแสดงเส้นทางของลำน้ำ)

 

ภาพถ่ายแสดงภูมิประเทศเป็นทางราบของบริเวณลำน้ำก่อนถึงตัวฝาย 

 

ถูกสะเป็กวิศวกรรมชลประทานที่ว่าด้วยการสร้างฝายเก็บน้ำ

 

 

กรมการท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติภูพานขึ้นป้ายฝายขอมโบราณ

 

ภาพตัวอย่างสะพานขอมทำหน้าที่ฝายทดน้ำที่เมือง "นครธม ประเทศกัมพูชา"

 

 

จากประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการเกษตรขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในประเทศกัมพูชา เมื่อปี 1998 และทำงานกับโครงการของ IUCN ในภารกิจอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริหารจัดการน้ำที่เชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชา ระหว่างปี ค.ศ.2006 - 2014 ทำให้มีข้อมูลเรื่องการเกษตรชลประทานยุคขอมเรืองอำนาจ

 

       พิจารณาเหตุผลแล้ว "สอบผ่าน" เชื่อแล้วคราบว่าสะพานขอมทำหน้าที่พิเศษเป็นฝายทดน้ำ ก็อยากจะดูว่าถ้าย้อนเวลากลับไปพันปี ทัศนียภาพของสะพานและฝายทดน้ำจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร 

 

จินตนาการภาพสะพานขอมและฝายทดน้ำเมื่อครั้งยังใช้งานในยุคแห่ง "ตำนานหนองหารหลวง"

 

ฝายทดน้ำทำหน้าที่ยกระดับน้ำให้สูงขึ้นเพื่อบังคับให้ไหลเข้าพื้นที่ปลูกข้าว

 

อ่างเก็บน้ำหนองสนม สะพานขอม และพื้นที่ปลูกข้าว 

 

ภาพจินตนาการของบริเวณสะพานขอมและถนนขอมตรงไปยังปราสาทนารายณ์เจงเวง

 

แผนผังตัวเมืองสกลโบราณ สะพานขอม (ฝายทดน้ำ) อ่างเก็บน้ำ (หนองสนม)

 

ภาพถ่ายเมื่อครั้งที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการ เมื่อ ปี 2449 ยังมองเห็นฐานรากของสะพานเป็นช่องให้น้ำลอด

 

 

ภาพจิตนาการสะพานขอมทำหน้าที่ฝายทดน้ำชลประทานโดยมีหนองสนมเป็นอ่างเก็บน้ำ 

 

ขาสะพานเป็นช่องแคบๆ ง่ายต่อการใช้แผ่นไม้ปิดที่ด้านหน้าเพื่อยกระดับน้ำ (upstream)  

 

อีกหนึ่งหลักฐานเชิงวิชาอุทกวิทยาและวิชาฟิสิกส์ที่เป็นคุณสมบัติของระบบชลประทานทั่วๆไปในพิภพนี้

 

พิจารณาภาพถ่าย 2 ภาพนี้ เห็นชัดเจนว่าภาพซ้ายมือมีดินทับถมมากกว่าภาพขวามือ ..... เพราะเหตุผลตามหลักวิชาอุทกวิทยา (Hydrology) และวิชาฟิสิกส์ (Phusic) ความเร็วของน้ำหน้าเขื่อน (V 1) จะถูกชลอตัวด้วยฝายทำให้ความเร็วลดลงยังผลให้ตะกอนที่มากับน้ำ "จมลง" และสะสมอยู่บริเวณนี้ (sedimentation) ส่วนน้ำหลังหรือท้ายฝาย (downstream) จะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเพราะหลุดจากสิ่งกีดขวางทำให้ไม่ค่อยมีการตกตะกอน ...... อนึ่ง ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ.2449 หลังจากอารยธรรมขอมล่มสลายประมาณ 800 ปี และอารยธรรมล้านช้างเข้ามาแทนที่ เชื่อว่าผู้คนที่เข้ามาอยู่อาศัยหลังจากขอมจากไปมีประชากรไม่มากนักจึงไม่มีศักยภาพเพียงพอต่อการบำรุงรักษาระบบชลประทาน และถูกทิ้งร้างเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อ่างเก็บน้ำ คลองลำเลียงน้ำ และตัวฝาย จึง "หมดสภาพ" อย่างที่เห็นในภาพถ่าย

 

ภาพถ่ายด้านหน้าฝาย (upstream) และด้านท้ายฝาย (downstream)

  

การขุดสำรวจของกรมศิลปากรเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ทำให้เห็นขาและฐานรากของสะพาน  

 

     คำถาม ....... นอกจากฝายทดน้ำแล้ว สะพานขอมยังมีอะไรในก่อไผ่ที่สมกับคำว่า Unseen อีกไม้ละ

     คำตอบ ....... มีครับ สะพานแห่งนี้วางตัวตรงกับปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ คือ ดวงอาทิตย์ขึ้นใน "เหมายัน" (winter solstice) กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี และ ดวงอาทิตย์ตกใน "ครีษมายัน" (summer solstice) กลางวันยาวที่สุดในรอบปี 

 

สะพานขอมว่างตัวในพิกัดดาราศาสตร์ ที่มุมกวาด Azimuth 115 องศา (winter solstice) และ มุมกวาด azimuth 295 องศา (summer solstice) 

 

ภาพดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าตรู่ปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) เป็นช่วงปลายเดือนธันวาคมฤดูหนาวท้องฟ้าแจ่มใส

 

การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตกในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) เป็นปลายเดือนมิถุนายน ฤดูฝนท้องฟ้าค่อนข้างเมฆมาก แต่ก็พอได้ภาพขณะดวงอาทิตย์ยังสูง ณ เวลา 05:34 pm ในทางดาราศาสตร์ดวงอาทิตย์จะหย่อนตัวลงด้วยมุมเอียงเท่ากับองสาของเส้นรุ้ง ในที่นี้เมืองสกลนคร 17 องศาเหนือ 

 

พอถึงเวลา  06:14 pm ดวงอาทิตย์หย่อนตัวตามสูตรที่ลากเส้นไว้ 

 

 

เปรียบเทียบภาพดวงอาทิตย์กำลังตกในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" ระหว่างเวลา 05:34 pm กับ 06:14 pm

 

สะพานขอมเป็นสุริยะปฏิทินชี้ปรากฏการณ์ "เหมายัน" กลางคืนยาวที่สุด (winter solstice 21 - 30 Dec) และ "ครีษมายัน" กลางวันยาวที่สุด (summer solstice 21 - 30 Jun) 

 

     คำถาม ...... ถ้าลากเส้นตรงตามแนวการวางตัวของสะพานขอมจะไปเจออะไร?

    คำตอบ ..... จะไปชนกับปราสาทขอมที่อยู่กลางเมือง ปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่า "พระธาตุเชิงชุม" 

 

 

ภาพถ่ายปี พ.ศ.2489 

 

ภาพ Google Earth ในปัจจุบัน 

 

     คำถาม ...... ลองตรวจสอบทางดาราศาสตร์ดูซิ สะพานขอมนอกจากจะวางตัวตรงกับปรากฏการณ์ "เหมายัน และ ครีษมายัน" แล้ว ยังมีอะไรเกี่ยวข้องกับดวงดาวในจักรราศี หรือไม่

     คำตอบ ........ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus ตรวจสอบย้อนหลังไปที่ช่วง ปี ค.ศ. 1000 - 1200 พบว่า สะพานขอมตรงกับ "ราศีพิจิก" (scorpio) และดาวฤกษ์ชื่อ "ปาริชาต" (Antares) เป็นหัวใจของราศีแมงป่อง 

 

เช้ามืดวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1000 - 1200 ประมาณตีสาม - ตีสี่ ดาว "ปาริชาต" (Antares) ในราศีพิจิก (scorpio) ขึ้นที่ขอบฟ้า ณ มุมกวาด 115 องศา ตรงหน้าสะพานขอม 

 

อนึ่ง ราศีพิจิก (scorpio) มีรูปเป็นแมงป่องสัญลักษณ์แห่งอำนาจ 

 

เราๆท่านๆที่เกิดในราศี "พิจิก" ก็น่าจะมานั่งรับพลังที่สะพานขอม ดังตัวอย่าง ท่านอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ รองประธานชมรมอารยธรรมสกลนคร มีสมญานาม ฤาษีเอก อมตะ เกิดในราศีนี้ 

 

ตามหลักโหราศาสตร์ "ราศีพิจิก" (Scorpio) เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่สุดในบรรดาจักรราศีทั้งหมด (considered the most powerful sign of zodiac) 

 

 

อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ รองประธานชมรมอารยธรรมสกลนคร ยืนยันความเห็นของ ท่าน ผอ.ดุสิต ทุมมากรณ์ ข้าราชการระดับสูงของกรมศิลปากร ที่กล่าวว่า "เมืองสกลโบราณเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอมทางทิศเหนือ มีกษัตริย์ปกครอง และสะพานขอมแห่งนี้อยู่ในเส้นทางที่กษัตริย์ใช้เดินทางผ่าน" ......นัยว่าเกี่ยวข้องกับ "สัญลักษณ์แห่งอำนาจ" ...... ด้วยเหตุนี้สะพานขอมจึงต้องวางตัวให้ตรงกั"ราศีพิจิก" 

 

     ไหนๆก็หยิบเรื่องราวสะพานขอมขึ้นมาวิเคราะห์แล้ว ก็จะขอเดินเรื่องให้สุดซอยเพื่อไขข้อข้องใจพระเดชพระคุณไทสกลละเบ้อ .... ที่มักถามว่า "สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบันเป็นของจริงหรือของสร้างขึ้นใหม่" 

     เพื่อความกระจ่างจะไล่เรียงด้วยภาพถ่ายแบบจะๆ ดังนี้ 

 

     ลำดับ ที่ 1 ..... มกราคม พ.ศ.2449 เป็นภาพถ่ายขณะกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการ สะพานขอมยังคงอยู่ในสภาพเดิม เพียงแต่โรยลาไปตามกาลเวลา มีดินมากลบฐานราก

 

 

     ลำดับ ที่ 2 ภาพถ่ายของนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนคร สะพานขอมก็ยังคงดูเหมือนเดิม เพียงแต่มีดินกลบมากขึ้น (ภาพนี้น่าจะถ่ายก่อนปี 2516)  

 

 

 

     ลำดับ ที่ 3 กรมทางหลวงขยายถนนโดยบดอัดดินฝังกลบสะพานขอม .... ในภาพวิศวกรโยธายืนคุมงานดินให้ตรงสะเป็ก แต่ไม่สนสะพานขอมแม้แต่นิดเดียว

 

 

 

     ลำดับที่ 4 กรมศิลปากรต้องออกแรงขุดสะพานขอมและบูรณะใหม่ (ไม่ยืนยันว่า เป็นปี 2517 หรือ 2522) 

 

 

      ลำดับ ที่ 5 ผลงานบูรณะเสร็จสมบูรณ์สะพานขอมดูสวยงามใหม่เอี่ยม ถ้าใช้วิชาดูพระเครื่องก็ไม่ยากที่จะฟันธงว่า "ใหม่ หรือ เก่า" เพราะใช้หลักฐานรูปทรง รอยตำหนิ เนื้อหิน และการเรียงหิน เปรียบเทียบกับภาพถ่ายต้นฉบับ ปี 2449 

 

 

 

 

 

 

     ถ้าจะถามว่าภาพถ่ายปัจจุบันที่เอามาเปรียบเทียบกับภาพต้นฉบับ ปี พ.ศ.2449 มุมกล้องตรงกันหรือไม่?

    คำตอบ ..... ใช้หลักฐานอ้างอิงข้อมูล ภาพถ่ายปี 2449 ถ่ายเมื่อวันที่ 15 มกราคม ใช้วิชาดาราศาสตร์พิจารณาเงาของแสงอาทิตย์ในวันนั้นเป็นเกณฑ์ และเอามาเข้าโปรแกรมคำนวณหาช่วงเวลาของการถ่ายภาพ อนึ่ง ช่วงเดือนมกราคมเป็นฤดูหนาว และ "วันสั้น" คล้อยหลังปรากฏการณ์ "เหมายัน" ดวงอาทิตย์จะคล้อยไปทางทิศใต้ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

 

สะพานขอมวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้ (southeast Az 115) กับ ตะวันตกเฉียงเหนือ (northwest Az 295) โดยหันหน้าตรงไปที่ปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) และหันหลังตรงกับปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice)

 

 

วันที่ 15 มกราคม เป็นฤดูหนาววิถีการโคจรของดวงอาทิตย์จะคล้อยไปทางทิศใต้ (ตะวันอ้อมข้าว)

 

ภาพที่ 1 (Photo 1) 

 

 

 

 

ภาพถ่ายสะพานขอม (Photo 1 และ Photo 2)  วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 มองเห็นเงาดวงอาทิตย์ชัดเจน เมื่อใช้วิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เข้ามาประมวลทำให้ทราบว่าภาพนี้ถ่ายด้วยมุมกล้องจากทิศไหน และเป็นเวลาอะไร

 

 

 

 

ภาพ ที่ 1 ดวงอาทิตย์ทำมุมตกกระทบ ที่ 27 องศา (altitude 27) โปรแกรมคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ประมวลผลได้ ณ 15:37 น. 

 

ภาพที่ 2 (Photo 2) 

 

 

ภาพที่ 2 ดวงอาทิตย์ทำมุมตกกระทบ 20 องศา (altitude 20) ประมวลผลได้เวลา ณ 16:12 น. 

 

Graphic แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 ขณะถ่าย Photo 1 และ  Photo 2 

 

การถ่ายภาพในยุค พ.ศ.2449 ยังไม่มีอุปกรณ์ตัดแสงอาทิตย์ จำเป็นต้องตั้งมุมกล้องไม่ให้ย้อนแสง ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 15 มกราคม เป็นฤดูหนาววิถีโคจรของดวงอาทิตย์เอียงไปทาทิศใต้ (ตะวันอ้อมข้าว) ดังนั้นช่างภาพต้องเลือกมุมกล้องไม่ให้ย้อนแสง ภาพที่ออกมาจึงเป็นมุมตะวันตกเฉียงเหนือ  

 

การขุดสำรวจของกรมศิลปากรเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2567 เห็นฐานรากเดิมชัดเจน และยังเห็นก้อนศิลาแลงของเดิมหล่นระเกะระกะอยู่แถวนั้น 

 

      สรุป

      สะพานขอมที่บูรณะยังวางตัวอยู่บนฐานรากเดิม แนวเดิม เพียงแต่วัสดุที่ใช้ซ่อมเป็นของใหม่เอามาทดแทนของเก่า ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานการทำงานของกรมศิลปากรในการบูรณะโบราณสถาน ซึ่งสามารถนำวัสดุมาทดแทนได้ในกรณีจำเป็นที่หาของเดิมไม่ได้ หรือของเดิมสิ้นสภาพ

     เรียกว่าซ่อมแซมบูรณะด้วยวัสดุทดแทน ยังดีกว่าทิ้งให้ไร้ค่า เข้าตำรา ...... กำขี้ ดีกว่า กำตด" ละคราบท่านที่เคารพ  

 

 

เสาต้นนี้ยืนยันว่าเป็นของเดิมเมื่อเปรียบเทียบภาพถ่าย พ.ศ.2449 กับปัจจุบัน เมื่อกรมศิลปากรขุดสำรวจฐานรากของสะพานขอมเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2567 แสดงว่าการบูรณะยังคงยึดฐานรากเดิมแนวเดิม 

 

     คำถาม ...... ถ้าการขุดสำรวจโดยกรมศิลปากรเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เราๆท่านๆไทสกลละเบ้อจะทำอะไรต่อไปในเชิงสร้างสรรและเกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว

     คำตอบ ..... สมมุติให้ผมมีอำนาจวาสนาเป็นเจ้านายของจังหวัดและมีงบประมาณในมือ ใช้งบประมาณได้ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ สำนักงบประมาณ และสตง.ก็เห็นด้วย จะเปิดมิติใหม่ ดังนี้

     1. ปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณสะพานขอมให้ดูสวยงามและมีโครงสร้างที่ถาวร ระบบระบายน้ำ แสงสียามค่ำคืนด้วย solar light  จัดระบบการเข้าชมมีที่จอดรถ ห้องน้ำ มีป้าย cutout ขนาดใหญ่ ฯลฯ

     2. วันดีคืนดีก็จัดแสดงแสงสีเสียงด้วยคนแสดงตัวจริง + Technology Digital ยิงภาพ Halogram ประกอบ Gala Dinner สร้างบรรยากาศย้อนยุคด้วยการแต่งกายและตบแต่งบริเวณ พร้อมถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างๆ โดยใช้ AI Technology

      3. จัดสร้างโมเดลเมืองสกลโบราณ ดังตัวอย่าง Mexico City ทำโมเดลเมืองอารยธรรมชาว Aztec ที่เคยอยู่ที่นี่เมื่อพันกว่าปีที่แล้ว

     4. มอบหมายให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลรักษาโดยจังหวัดสามารถตั้งงบยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวสนับสนุน

 

 

 

ทัศนียภาพสะพานขอมหลังการปรับปรุง

 

 

         ทัศนียภาพสะพานขอมและป้าย cutout ขนาดใหญ่ (ถ้าเป็นไปได้ลองเชิญชวนเอกชนรายใหญ่ให้เป็นเจ้าภาพโดยมีโลโก้ของเขาติดอยู่ในป้าย ..... นี่ถ้ากฏหมายไม่ห้าม เชื่อว่าเบียร์สิงห์ต้องสนใจแน่นอน) ..... อนึ่ง ป้าย cutout อันนี้ มีระบบ Digital Smart Information ด้วยคลื่นในระยะ 20 เมตร วิ่งเข้าไปใน smartphone ถ้าผู้รับเลือก click Yes ..... NO thank you ข้อมูลเรื่องราวสะพานขอมจะปรากฏทันที และสามารถ save ได้ ถ้าต้องการ และถ้าไม่ save เดินห่างออกไปเกิน 20 เมตร ข้อมูลจะ delete ตัวเอง ไม่ให้รุงรังใน memory

 

          สะพานขอมถูกน้ำท่วม ...... จะแก้ปัญหาอย่างไร?

            สะพานขอมปัจจุบันตั้งอยู่ในแอ่งกระทะไม่มีทางให้น้ำระบายลงไปยังลำห้วยและหนองหาร จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขมิฉะนั้นจะเสียภูมิทัศน์ ....... ได้ศึกษารายละเอียดระบบระบายน้ำในบริเวณใกล้เคียงพบว่ามีท่อฝังใต้ดินจากหนองสนมลอดใต้ถนนไปทิ้งน้ำที่ห้วยโมงและลงหนองหาร หากมีการต่อเชื่อมท่อจากสะพานขอมไปยังท่อดังกล่าวจะสามารถระบายน้ำได้ 

 

 

  

เมื่อครั้งอดีตสะพานขอมมีลำน้ำไปลงหนองหาร แต่เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นมีสิ่งก่อสร้างเช่นถนนที่ถมสูงขึ้นและมีอาคารพาณิชย์เข้ามาปลูกสร้างลำห้วยจึงหายไป

 

สภาพภูมิประเทศของสะพานขอมในอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบัน

 

ปัจจุบันมีท่อระบายน้ำฝังลอดใต้ดินจากหนองสนมไปยังลำห้วยโมงซึ้งอยู่ไม่ห่างจากสะพานขอม ถ้าเชื่อมท่อระบายน้ำจากสะพานขอมไปยังท่อที่มีอยู่แล้วก็น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด

 

ภาพถ่ายหนองสนมด้วย Google Earth มองเห็นสถานีสูบน้ำ 6 ตัว และท่อระบายน้ำล้น (spillway) 

 

ตัวอย่างป้าย cutout ขนาดใหญ่ ที่ประเทศ Mexico ให้คนเห็นและ selfie 

 

Model เมืองโบราณยุคอารยธรรม Aztec ที่กรุง Mexico City 

 

 ฉากตัวอย่างการแสดง Light and Sound ด้วยคนจริงๆ + Technology Hologram Projector ย้อนยุคไปในสมัยพันปีที่แล้ว สะพานขอมหันหน้าตรงกับ "ราศีพิจิก" (Zodiac Scorpio) โดยมี "ดาวปาริชาต" (Star Antares) เป็นสัญลักษณ์ 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ