วันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ....... มุมมองวิทยาศาสตร์
.jpeg)
.jpeg)
กระทั่งปัจจุบัน "วันสถาปนากรุงศรีอยุธยา" ก็ยังคงถกเถียงกันไม่จบสิ้นว่าเป็นวันไหนกันแน่? เอกสารทางวิชาการที่อยู่ในสื่อ internet เท่าที่พอค้นหาได้มี 3 กรณี จะนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ เพื่อชั่งน้ำหนักว่าอันไหนมีเหตุผลควรเชื่อถือมากที่สุด
โดยส่วนตัวมีโอกาสลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ณ เมืองโบราณอยุธยา 3 ครั้ง (ไม่นับคราวที่ไปเที่ยวชมแบบเราๆท่านๆทั่วไป) โดยเน้นที่วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ
ครั้งที่หนึ่ง 20 กันยายน 2557 เป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตวิชาดาราศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับโบราณสถาน แก่มัคคุเทศก์อาชีพ 80 คน จัดโดยกรมการท่องเที่ยว
ครั้งที่สอง 19 มีนาคม 2558 เป็นวิทยากรบรรยายวิชาดาราศาสตร์เหมือนครั้งแรก พร้อมกับลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติกับสถานที่จริง
ครั้งที่สาม 29 กรกฏาคม 2561 ไปที่นั่นโดยส่วนตัวกับครอบครัวเก็บข้อมูลค่อนข้างละเอียดที่วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ
ผลการลงพื้นที่ทั้งสามครั้งได้ข้อมูลการวางตัวของโบราณสถานชื่อดัง "วัดไชยวัฒนาราม" ทำมุมกวาด 70 องศา (azimuth 70) ขณะเดียวกันได้ตรวจสอบวัดโบราณอีก 2 แห่ง คือ วัดพุทไธศวรรย์ และวัดอรุณ ก็ทำมุมกวาด 70 องศา เช่นเดียวกัน และทั้งสามแห่งตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกัน ...... โดยหลักตรรกวิทยาความเหมือนของวัดทั้งสามแห่งไม่น่าจะเป็นเหตุบังเอิญ นำมาสู่คำถาม "มีนัยสำคัญอะไร?" ยอมรับว่าตอนนั้นยังไขปริศนาไม่ออก

ยืนบรรยายกลางแดดเปรี้ยงๆ ณ ลานด้านทิศตะวันออกของวัดไชยวัฒนาราม
.jpeg)
บรรยายวิชาดาราศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับโบราณสถาน แก่มัคคุเทศก์อาชีพที่วัดไชยวัฒนาราม 2 ครั้ง 20 กันยายน 2557 และ 19 มีนาคม 2558

ทั้งสองครั้งจัดโดยกรมการท่องเที่ยวร่วมกับสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย


ได้ฝึกให้มัคคุเทศก์ใช้เข็มทิศ และ application compass smartphone จับองศาการวางตัวของวัดไชยวัฒนาราม พบว่าโบราณสถานแห่งนี้ทำมุมกวาด 70 องศา (azimuth 70)

ลงพื้นที่ครั้งที่สามเมื่อ 29 กรกฏาคม 2561 ใช้เข็มทิศจับทิศการวางตัวของวัดไชยวัฒนาราม เพื่อยืนยันตัวเลข 70 องศา
.jpeg)
การวางตัวของวัดไชยวัฒนารามตามพิกัดทางดาราศาสตร์

วัดไชยวัฒนารามกับวัดพุทไธสวรรย์วางตัวที่มุมกวาด 70 องศา เหมือนกัน และตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน

น้องเต๋า ลงพื้นที่วัดพุทไธศวรรย์

น้องเต๋า Tow Napapahn ทำการวัดองศาการวางตัวของวัดพุทไธสวรรค์ พบว่าเท่ากับมุมกวาด 70 องศา

Google Earth ก็แสดงผลการวางตัวของวัดอรุณฯบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก ก็ทำมุมกวาด 70 องศา
มาถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนา "วิสาขบูชาโลก" 22 พฤษภาคม 2567 ได้ขอความช่วยเหลือจากหลานสาว "น้องเต๋า" ชื่อ Facebook: Tow Napapahn ซึ่งเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ให้ถ่ายภาพ sunrise ที่วัดไชยวัฒนาราม เพราะจากการคำนวณพบว่าวันนี้ดวงอาทิตย์จะขึ้นที่มุมกวาด 70 องศา ตรงกับ center ของโบราณสถาน จึงต้องการพิสูจน์ยืนยันเชิงประจักษ์ว่าวัดแห่งนี้หันหน้าไปที่มุมกวาด 70 องศา
ภาพ graphic การขึ้นของดวงอาทิตย์ที่วัดไชยวัฒนารามในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เป็นวัน "วิสาขบูชาโลก" อนึ่ง การเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์จะเอียงประมาณ 14 องศาจากแนวดิ่ง เพราะวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 14 องศา จากการคำนวณด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์ดวงอาทิตย์ ณ เวลา 06:47 น. จะโผล่ปรากฏกายครึ่งนึงที่ความสูง 30 เมตร ขององค์ปรางค์ประธาน

เปรียบเทียบภาพ Graphic กับภาพถ่ายจริง (ฝีมือของน้องเต๋า Tow Napapahn) เห็นชัดเจนว่าดวงอาทิตย์ปรากฏกายครึ่งดวง ณ ความสูง 30 เมตร ขององค์ปรางค์ประธาน แม้ว่าจะมีเมฆหนาและฝนปรอยๆ ...... ยืนยันว่าวัดไชยวัฒนารามหันหน้าตรงกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มุมกวาด 70 องศา

การเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์เช้าตรู่วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เป็นไปตามสูตร แม้ว่าวันนั้นท้องฟ้ามีเมฆมากและฝนตกปรอยๆ
ภาพถ่ายยืนยันเชิงประจักษ์ว่าดวงอาทิตย์วันที่ 22 พฤษภาคม ขึ้นตามสูตรที่มุมกวาด 70 องศา สอดคล้องกับข้อมูลเข็มทิศ จึงนำไปสู่การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ เปรียบเทียบกับข้อมูลในเอกสารที่อ่านจาก internet ซึ่งกล่าวถึง "วันสถาปนากรุงศรีอยุธยา" ........ ลองมาพิจารณาที่ละ case ดังนี้
Case 1 ระบุ วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893 ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า

.jpeg)
ข้อสังเกต กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง ยังไม่มี พ.ศ. และ จ.ศ. แต่ใช้ปฏิทิน "มหาศักราช" ที่เอามาจากชาวขอม ดังนั้น เดือน 5 ของมหาศักราชน่าจะอยู่ในเดือนกรกฏาคม จึงไม่ใช่ ปฏิทินจันทรคติในปัจจุบันที่เริ่มนับเดือนอ้าย (พฤศจิกายน - ธันวาคม) เดือนยี่ (ธันวาคม - มกราคม) เดือน 3 (มกราคม - กุมภาพันธ์) เดือน 4 (กุมภาพันธ์ - มีนาคม) เดือน 5 (มีนาคม - เมษายน) ..... อนึ่ง นักประวัติศาสตร์มีความเห็นเชิงทฤษฏีว่าพระเจ้าอู่ทองน่าจะมีเชื้อสายขอมหรือเกี่ยวพันกับขอมอย่างใดอย่างหนึ่ง นัยว่าพระองค์มาจากเมืองละโว้?
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นว่าพระเจ้าอู่ทองน่าจะเป็นเจ้าชายเมืองละโว้ มีเชื้อสายขอม
เอกสารระบุว่าวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตรงกับ วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า เวลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท

ปฏิทิน Gregorian ย้อนหลังไปที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 เป็นวันจันทร์ (Monday) ไม่ใช่ "วันศุกร์" และปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ก็ตรงกับ แรม 9 ค่ำ (Waning Moon of 24.22 days) ไม่ใช่ ขึ้น 6 ค่ำ
.jpeg)
โปรแกรมการคำนวณวันย้อนหลังแสดงผลว่า 4 มีนาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 ตรงกับ Monday ไม่ใช่ Friday
Case 2 ระบุ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า วันศุกร์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ.1894 (ค.ศ.1351)

โปรแกรมดาราศาสตร์แสดงผล วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1351 ตรงกับ ขึ้น 13 ค่ำ ไม่ใช่ ขึ้น 6 ค่ำ
.jpeg)
การนับเดือนในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทองใช้ปฏิทิน "มหาศักราช" ดังนั้น เดือนห้าจึงตรงกับ "กรกฏาคม" ..... แต่ถ้าเอาปฏิทินจันทรคติไทยในปัจจุบันไปใช้ เดือนห้าจึงตกที่ "มีนาคม"
ปฏิทิน Gregorian ย้อนหลัง 12 มีนาคม ค.ศ.1351 ตรงกับวันศุกร์ (Friday)
Case 3 เอกสารดวงเมืองกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า มีดาว "โรหินี" ซึ่งเป็นดาวประจำเมืองของกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ขอบฟ้า วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350


โฉมหน้าดวงเมืองกรุงศรีอยุธยา

โปรแกรมดาราศาสตร์แสดงภาพดาวประจำเมืองกรุงศรีอยุธยา "ดาวโรหิณี" (Aldebaran) โผล่ที่ขอบท้องฟ้าทิศตะวันออกในราศี "พฤษภ" (Taurus) วันที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 เวลา 02:16 น.
เมื่อเทียบปฏิทิน Gregorian ย้อนหลังไปที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 ตรงกับ "วันเสาร์"
(Saturday)

อย่างไรก็ตามคนไทยโบราณถือว่า "ยังไม่ถึงรุ่งแจ้ง หรือ ดวงอาทิตย์ขึ้น" ให้ถือเป็น "วันเดิม" คือ "วันศุกร์" ดังนั้น แม้ว่า 11 กรกฏาคม พ.ศ.1983 หรือ ค.ศ.1350 ของปฏิทิน Gregorian จะระบุว่าเป็น "วันเสาร์" ก็ตามที ......... ฤกษ์ดาวประจำเมืองศรีอยุธยา "โรหิณี" (Aldebaran) ขึ้นที่ขอบฟ้าเวลา 02:16 น. ตามปฏิทิน Gregorian ก็ยังถือเป็น "วันศุกร์" เพราะยังไม่ถึงเกณฑ์เปลี่ยนวันใหม่

โปรแกรมดาราศาสตร์ แสดงผล วันเสาร์ ที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 เวลา 19:13 น. ตรงกับ "ขึ้น 6 ค่ำ" (Age of moon 6.22 days old) แสดงว่าเมื่อได้ฤกษ์ "ดาวโรหิณี" ในตอนกลางคืนแล้ว ดวงจันทร์ในวันถัดไปตรงกับ ขึ้น 6 ค่ำ
เพื่อให้เห็นภาพของปฏิทินจันทรคติ ใช้โปรแกรมดาราศาสตร์ทำ simulation ระหว่างวันที่ 5 - 11 กรกฎาคม พ.ศ.1893 (ไล่ตั้งแต่ แรม 14 ค่ำ ข้ึน 1 ค่ำ ........ จนถึง ขึ้น 6 ค่ำ)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทองใช้ปฏิทินมหาศักราช เหมือนกับอาณาจักรสุโขทัย
.jpeg)
ปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ระบุว่า "เดือนห้า" คือเดือน "Shravana" เทียบกับปฏิทิน Gregorian คือ 23 มิถุนายน - 23 กรกฎาคม ดังนั้น วันที่ 10 และ 11 กรกฎาคม จึงอยู่ในกรอบของ "เดือนห้า"

ดวงอาทิตย์เช้าตรู่ 11 กรกฏาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 ขึ้น ณ มุมกวาด 70 องศา (azimuth 70)
.jpeg)
.jpeg)
ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่วัดไชยวัฒนาราม วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ตรงกับมุมกวาด 70 องศา และ เมื่อถึงวันที่ 23 กรกฏาคม 2567 ดวงอาทิตย์จะกลับมาที่เดิม ณ มุมกวาด 70 องศา
นี่คือเหตุผลที่วัดโบราณสมัยพระเจ้าอู่ทองคือ "วัดพุทไธศวรรย์" จึงวางตัวหันหน้าไปที่มุมกวาด 70 องศา และยังผลให้วัดไชยวัฒนาราม และวัดอรุณฯ ที่สร้างในยุคสมัยต่อมา "เลียนแบบ" ด้วยมุมกวาดและตำแหน่งที่ตั้งเหมือนกัน คือ มุมกวาด 70 องศา และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาพ simulation ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับหน้าปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนาราม ที่มุมกวาด 70 องศา วันที่ 20 - 24 พฤษภาคม 19 - 23 กรกฎาคม ทุกปี
สรุป
ความเห็นส่วนตัว ให้น้ำหนักไปที่ Case 3 วันสถาปนากรุงศรีอยุธยา อยู่ระหว่างวันที่ 10 - 11 กรกฎาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 เนื่องจากมีนัยสำคัญ 4 ประการ
1. สอดคล้องกับดวงเมือง ขณะที่พราหมณ์กำลังทำพิธี มีดาวประจำเมือง "หิโรณี" (Aldebaran) ใน "ราศีพฤษภ" (taurus) ปรากฏที่ขอบฟ้า เวลา 02:16 น. วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 ...... แต่ในทางความเชื่อของไทยโบราณยังถือว่าปรากฏการณ์ของดาวประจำเมืองเป็นคืน "วันศุกร์" เพราะยังไม่ถึงเวลารุ่งแจ้ง ดังนั้น จึงถือว่าฤกษ์ทำพิธี คือ วันศุกร์ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350
2. เดือนห้า เป็นเดือนในปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่ใช้ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง คือเดือน Sharavana 23 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม ดังนั้น วันศุกร์ ที่ 10 กรกฎาคม จึงอยู่ในเดือนห้า
3. ขึ้น 6 ค่ำ ตรงกับ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 เป็นวันรุ่งขึ้นของฤกษ์โรหิณี
4. ดวงอาทิตย์เช้าตรู่วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 ตรงกับมุมกวาด 70 องศา (azimuth 70) สอดคล้องกับการวางตัวของ "วัดพุทไธศวรรย์" เป็นวัดแห่งแรกของกรุงศรีอยุธยาสร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง และมีอิทธิพลต่อการสร้างวัดไชยวัฒนาราม และวัดอรุณฯ ซึ่งทั้งสามแห่งวางตัวในมุมกวาด 70 องศา และตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
