ปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล
เพื่อให้การประกาศตัวเป็น "นครแห่งสุริยะปฏิทิน" โดยมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ให้ท่านผู้สนใจได้ชมอย่างต่อเนื่องตลอดปีปฏิทินมหาศักราช Saka Year ตรงกับปฏิทินสากล Gregorian Year Mar 2024 - Feb 2025 จึงจัดตารางให้มองเห็นชัดๆว่าจะมีปรากฏการณ์อะไรในแต่ละเดือน ....... ปฏิทินฉบับนี้ยังเข้าทางปืน "สายมู" ที่นิยมตรรกะแห่งโหราศาสตร์
ปฏิทินเริ่มต้นจาก "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม 2567 และจบที่ 20 มีนาคม 2568 จัดตามระบบ 12 ราศีสากล นับจาก "ราศีเมษ" (Aries 21 Mar - 21 Apr) ............ ลงท้าย ณ ราศีมีน (Pisces 20 Feb - 20 Mar)
รูปร่างหน้าตาของปฏิทินมหาศักราชเปรียบเทียบกับปฏิทินสากล
อนึ่ง เมืองสกลนครได้รับการขนานนามว่า "นครแห่งสุริยะปฏิทิน" โดยการสื่อสารแห่งประเทศไทยออกแสตมป์ในชุด Unseen Thailand 2547
Stamp Unseen Thailand ปี 2547 มีคำว่า "สุริยปฏิทิน ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร"
มีนาคม 2567
20 - 21 มีนาคม ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal or spring equinox) สถานที่ควรชม
1. ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 m บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม
2. ประตูแห่งกาลเวลาภูผาขาม บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ
3. สุริยะปฏิทินดอนลังกา เข้าไปทางถนนเฉลิมพระเกียรติ และเลี้ยวขวาเข้าถนนดอนขาม - ดอนลังกา ริมหนองหาร อ.เมืองสกลนคร
เมษายน 2567
1. พิสูจน์จารึกขอมโบราณที่พระธาตุเชิงชุมกล่าวถึง ถวาย ........ แด่สงกรานต์ ดวงอาทิตย์ในเทศกาลมหาสงกรานต์จะตรงกับประตูกลางของวิหารวัดพระธาตุเชิงชุม วันที่ 14 - 16 เมษายน
2. ที่พระธาตุดุม อ.เมืองสกลนคร ก็มีปรากฏการณ์เดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับ center ของปราสาท จริงๆปราสาทหลังนี้มีปรางค์ 3 องค์ แต่ถูกทำลายเหลือเพียงปรางค์องค์กลาง ส่วนปรางค์อีกสององค์เหลือเพียงฐานราก แต่ปรางค์องค์กลางถูกอุโบสถบดบังมองไม่เห็นดวงอาทิตย์ จึงต้องไปสังเกตการณ์ ณ ฐานรากของปรางค์องค์ที่อยู่ทิศเหนือ วันที่ 14 - 16 เมษายน
3. ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับจุดกึ่งกลางของสระพังทอง (บารายขอมโบราณ) วันที่ 14 - 16 เมษายน
4. ปรากฏการณ์ ทะเลสาบสุริยันจันทรา ดวงจันทร์ full moon และดวงอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกันเหนือทะเลสาบหนองหาร จุดชมอยู่ที่ดอนลังกา เขตเทศบาลนครสกลนคร ช่วงเย็น 22 เมษายน
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในราศีพฤษก Taurus ณ สุริยะปฏิทินดอนลังกา
พฤษภาคม 2567
วันที่ 7 - 8 - 9 พฤษภาคม ปรากฏการณ์อาทิตย์ตรงศรีษะเมืองสกล ชมที่วัดพระธาตุเชิงชุม และวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
วันที่ 21 พฤษภาคม ชมสุริยะปฏิทิน "ราศีเมถุน" (Gemini) ริมสระพังทอง (ด้านทิศตะวันออก) และสุริยะปฏิทินดอนลังการิมหนองหาร และชมปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทราหนองหาร
วันที่ 22 พฤษภาคม วิสาขบูชา + ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทราหนองหาร
วิสาขบูชา + ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทราหนองหาร 22 พฤษภาคม
ดวงอาทิตย์ตก ณ ราศีเมถุน (Gemini) และพระจันทร์เต็มดวงขึ้น ณ ปลายทางของราศีคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius)
มิถุนายน 2567
20 มิถุนายน ชมปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทราหนองหาร
21- 30 มิถุนายน ชมปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) กลางวันยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ตก ณ กึ่งกลางของสะพานขอม หน้าประตูเมืองสกลนคร และดวงอาทิตย์เช้าตรู่ที่สุริยะปฏิทินปราสาทภูเพ็กบนยอดเขา 520 m บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม
21 มิถุนายน ราศีกรกฏ (cancer) ชมสุริยะปฏิทินด้านทิศตะวันออกของสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา
แท่งครรภบัตร ที่ปราสาทภูเพ็ก ทำหน้าที่ "สุริยะปฏิทิน" ชี้ตำแหน่งอาทิตย์อุทัยในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" 21 - 30 มิถุนายน
ปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice" กลางวันยาวที่สุดในรอบปี อาทิตย์อัสดงหย่อนตัวลงตรงกลางสะพานขอม ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน จนถึง 30 มิถุนายน ถ้าบรรพชนชาวขอมโบราณท่านฟื้นขึ้นมาใหม่ ........ คงจะบอกเราๆท่านๆว่า ...... "ตูข้าเห็นปรากฏการณ์แบบนี้มานานนับพันปีแล้วนะเฟ้ย"
วันที่ 22 มิถุนายน ตรงกับวันที่ 1 เดือน Ashadha ของปฏิทินมหาศักราชยุคขอมโบราณ (Saka Calendar)
กรกฏาคม 2567
19 กรกฏาคม ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทราหนองหาร full moon และอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน มองเห็นที่หนองหาร
23 กรกฏาคม สุริยะปฏิทิน ดวงอาทิตย์อยู่ใรราศีสิงห์ (Leo) ชมได้ที่สุริยะปฏิทินริมสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา
สิงหาคม 2567
5 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะเมืองสกล ชมได้ที่วัดพระธาตุเชิงชุม และวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
18 สิงหาคม ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา full moon และอาทิตย์อัสดงที่หนองหาร ตรงกับวันสาทจีน
22 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ราศีกัลย์ (virgo) ตามตำราโหราศาสตร์โบราณ แต่ถ้าเป็นโหราศาสตร์ปัจจุบันก็เป็นราศีสิงห์ (Leo) ชมได้ที่สุริยะปฏิทินริมสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา
23 - 25 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางอุโบสถวัดพระธาตุเชิงชุม และจุดกึ่งกลางสระพังทอง (บาราย)
ดวงอาทิตย์ขึ้นในราศีสิงห์ (Leo) ตรงกลางสระพังทอง (บาราย)
ย้อนกลับไปพันปีที่แล้วบรรพชนที่เมืองหนองหารหลวงต้องเห็นปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับประตูเมืองด้านทิศตะวันออก
กันยายน 2567
16 กันยายน ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา หนองหาร ดวงจันทร์ full moon กับอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน
22 - 23 - 24 กันยายน ปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ราศีตุล (libra) กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออกแท้และตกที่ทิศตะวันตกแท้ ชมที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 m บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม ปราสาทนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร และปราสาทบ้านพันนา (อโรคยาศาล) อ.สว่างแดนดิน ชมสุริยะปฏิทินริมสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา อ.เมืองสกลนคร
22 - 23 - 24 กันยายน ปรากฏการณ์ ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกกึ่งกลางประตูแห่งกาลเวลา ภูผาขาม บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ
การรับพลังสุริยะ ณ ปราสาทภูเพ็ก ในปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต (Fall Equinox)
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรงกับปราสาทนารายณเจงเวง
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นเส้นตรงระหว่างเกาะดอนสวรรค์ ปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาทภูเพ็ก
ดวงอาทิตย์ตกที่ปราสาทภูเพ็กบนยอดภูเขา ...... มองจากเกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาบหนองหาร
GPS แสดงการวางตัวของปราสาทบ้านพันนา หันหน้าไปที่มุมกวาด 90 องศา ตรงกับปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (Equinox)
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรงกับการวางตัวของปราสาทบ้านพันนา (อโรคยาศาล) ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน
รับพลังสุริยะที่ "สุริยะปฏิทินดอนลังกา"
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ณ กึ่งกลางของประตูแห่งกาลเวลา ภูผาขาม สูงจากระดับน้ำทะเล 360 เมตร บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ
ตุลาคม 2567
1 - 9 ตุลาคม เช้ามืดราว 04:00 - 05:00 น. ชมดาวหาง Tsuchinshan
13 - 25 ตุลาคม พลบค่ำราว 18:30 - 19:00 น ชมดาวหาง Tsuchinshan
14 - 16 ตุลาคม ดวงอาทิตย์ตก ณ กึ่งกลางของสระพังทอง
16 ตุลาคม ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา full moon และอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน ชมได้ที่หนองหาร
23 ตุลาคม ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในราศีพิจิก (scorpio) ชมได้ที่สุริยะปฏิทินดอนลังกา และสุริยะปฏิทินริมสระพังทอง อ.เมืองสกลนคร และสุริยะปฏิทินปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 m บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม
1 - 9 ตุลาคม ดาวหาง Tsucinshan ขึ้น ณ ทิศตะวันออก เช้ามืดราว 04:00 น.
13 - 25 ตุลาคม ชมดาวหาง Tsuchinshan พลบค่ำราว 18:30 - 19:00
14 - 16 ตุลาคม ดวงอาทิตย์ตก ณ จุดกึ่งกลางสระพังทอง (บารายขอมโบราณ)
16 ตุลาคม ชมทะเลสาบสุริยันจันทรา
พฤศจิกายน 2567
14 พฤศจิกายน ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา หนองหาร full moon และอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน
22 พฤศจิกายน ดวงอาทิตย์ในราศีธนู (Sagittarius) ณ สุริยะปฏิทินสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา อ.เมืองสกลนคร
ธันวาคม 2567
14 ธันวาคม ปรากฏการณ์สุริยันจันทรา full moon และอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน ชมได้ที่หนองหาร
21 - 22 ธันวาคม ปรากฏการณ์ "เหมายัน" กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ตรงกับราศีมังกร (Capricorn) ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับ center สะพานขอม หน้าประตูเมืองสกลนคร
มกราคม 2568
1 มกรคม ปีใหม่สากล ดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดกึ่งกลางสะพานขอม หน้าประตูเมืองสกลนคร
12 มกราคม ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา full moon กับอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน ชมได้ที่หนองหาร
21 มกราคม ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีคนแบกหม้อน้ำ (aquarius) ชมได้ที่สุริยะปฏิทินริมสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา
กุมภาพันธ์ 2568
11 กุมภาพันธ์ ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา full moon กับอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน ชมได้ที่หนองหาร
20 กุมภาพันธ์ ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีมีน (pisces) ชมได้ที่สุริยะปฏิทินริมสระพังทอง และสุริยะปฏิทินดอนลังกา
มีนาคม 2568
12 มีนาคม ปรากฏการณ์ทะเลสาบสุริยันจันทรา full moon และอาทิตย์อัสดง อยู่ในระนาบเดียวกัน ชมได้ที่หนองหาร ......... เป็นปรากฏการณ์สุดท้ายของปีโหราศาสตร์ 2024 / 2025
สรุป
จังหวัดสกลนครเหมาะแก่เราๆท่านๆที่ชอบท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อหรือที่เรียกกันว่า "สายมู" มีปฏิทินให้ท่านได้มาชมทุกๆเดือนและบางเดือนก็มีมากกว่าหนึ่งอีเว่น สิ่งก่อสร้างและองค์ความรู้ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นมรดกของบรรพชนที่มีมานานนับพันปี ...... บางแห่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นานกว่า 3,000 ปี และที่สำคัญท่านบรรพชนเหล่านั้นไม่เคยส่งบิลมาเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์แม้แต่บาทเดียว