Operation Rahu Episode XV
ปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 15
วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์ ในปรากฏการณ์ สุริยุปราคาวงแหวน และจันทรุปราคาบางส่วน
ปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 15 ใช้ภาพถ่ายจันทรุปราคาบางส่วน เช้าตรู่ 29 ตุลาคม 2566 ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และภาพถ่ายสุริยุปราคาวงแหวน เมื่อ 14 ตุลาคม 2566 ที่รัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา
วิธีการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
ใช้ภาพถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาและสุริยุปราคา ร่วมกับคณิตศาสตร์กรีกโบราณของท่าน Eratosthenes และ ท่าน Aristarchus
โลก - ดวงจันทร์
ใช้สมการคณิตศาสตร์ของท่าน Aristarchus หากท่านผู้อ่านสนใจว่า "สมการนี้มีที่มาอย่างไร" สามารถเข้าไปศึกษาใน Operation Rahu EP 1 and EP 2 ใน website เดียวกันนี้ครับ
สมการคณิตศาสตร์นี้ มีตัวแปร 3 ตัว ได้แก่ เส้นผ่าศูนย์กลางของโลก (Earth's Diameter) เส้นผ่าศูนย์กลางเงามืดของโลก (Earth's Umbra) และเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงจันทร์ (Diameter of Moon)
ภาพถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน จากเมือง Bandung Indonesia วันที่ 29 ตุลาคม 2566 เวลา 03:14 น.
สร้างวงกลมให้เท่ากับ "เงามืดของโลก" (Earth's Umbra) และขนาดของดวงจันทร์ (Moon)
ใช้ไม้บันทัดวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
เงามืดของโลก (Earth's Umbra) เท่ากับ 22.6 และดวงจันทร์ (Moon) ได้ 7.6
นำมาเข้าสมการของท่าน Aristarchus โดยมีข้อมูลเส้นผ่าศูนย์กลางของโลกจาก Operation Eratosthenes เมื่อ 21 มีนาคม 2555 เท่ากับ 12,234 กิโลเมตร ได้ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ เท่ากับ 332,512 กิโลเมตร มีค่าคลาดเคลื่อน (Error) ประมาณ 9% อนึ่ง ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบางส่วน (partial lunar eclipse) เอามาจากโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night = 366,061 Km
โลก - ดวงอาทิตย์
ใช้หลักการคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Angular Diameter หรือ "ทฤษฏีเส้นผมบังภูเขา" หมายถึงวัตถุขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตาสามารถบังภูเขาได้ทั้งลูก ....... ชาวกรีกโบราณคำนวณว่า มีสัดส่วน 1 : 400 นั่นคือ วัตถุขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตา 1 Unit สามารถบังวัตถุขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างออกไป 400 Unit ได้มิดพอดี ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้ทั้งดวงก็แสดงว่า ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์ มีสัดส่วน 1 : 400
ในที่นี้ใช้ภาพถ่าย Annular Solar Eclipse ของคณะคนไทยในรัฐ Utah State USA วันที่ 14 ตุลาคม 2566 เป็นเครื่องมือการคำนวณ
คณะคนไทยในรัฐ Utah ส่งภาพนี้มาให้ ขอขอบคุณ พญ Airy Navaravong และคุณหมอ Leen Ha Pong เจ้าของภาพ
ภาพ Annular Solar Eclipse ที่ได้รับจาก พญ Airy Navaravong
ภาพจากโปรแกรม The Starry Night
แผนที่แสดงตำแหน่งของรัฐต่างๆใน USA ที่เห็นปรากฏการณ์
ตามแผนที่นี้รัฐ Utah เห็นได้ชัดเจนที่สุด
ภาพจากรัฐ Oklahoma มีเมฆหนาทึบ
รัฐ Iowa ไม่เห็นอะไรเลยเพราะเมฆทึบไปหมด ผมถ่ายเองที่หน้าบ้าน
ทฤษฏี Angular Diameter หรือเส้นผมบังภูเขา
ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์ มีสัดส่วน 1 : 400
ปฏิบัติการครั้งนี้ได้ระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ 133,004,800 Km มีค่าความคลาเคลื่อน (Error) 10% เปรียบเทียบกับข้อมูลจากโปรแกรม Starry Night ที่ 149,000,000 Km
สรุป
ปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 15 (Operation Rahu EP XV) ใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ "จันทรุปปราคา และสุริยุปราคา" ในเชิงวิชาการที่นอกเหนือจาก "ชมความสวยงาม" และช่วยส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่สนใจการใช้วิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ....... สิ่งที่เราๆท่านๆเรียนตอนมัธยมล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น ...... อย่าเพิ่งเอาไปคืนให้คุณครู!