พิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน

มีคำกล่าว ....... ถ้าต้นไม้ป่าที่เราๆท่านๆทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยกันปลูกมานานหลายสิบปีอยู่รอดปลอดภัยทุกต้น ..... ประเทศไทยต้องเขียวทั้งแผ่นดินไปนานแล้ว เหตุผลสำคัญที่ทำให้ประเทศของเราไม่เขียวสักที
1.ป่าเหล่านั้นอยู่ในที่สาธารณะ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครรับผิดชอบดูแลรักษา ทุกอย่างเป็นภาระของราชการที่ไม่มีกำลังและงบประมาณเพียงพอต่อการบำรุงรักษา
2.ไม้ป่าต้องอาศัยน้ำฟ้าน้ำฝนตามฤดูกาล หน้าฝนเขียวขจีดูสดชื่นแต่พอเข้าหน้าแล้งก็แห้งเหียวไปตามสภาพ พูดง่ายๆ "ให้พระอินทร์ท่านช่วยรักษา" ถ้าพระอินทร์มีจริงท่านก็คงจะบอกว่า ...... ตูข้าดูแลตัวเองก็แทบแย่อยู่แล้วเพราะคนมาลักตัดไม้แทบทุกวันจนข้าไม่ได้หลับได้นอน แถมยังเกิดไฟป่าให้ตูข้าเดือนร้อนเป็นรายวัน
.jpeg)
เปรียบเทียบสภาพป่าไม้ทั่วไประหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน มีความต่างกันเห็นได้ชัดเจนแถมยังมีปัญหาไฟป่า
โครงงานวิจัยแบบ Action Research
โจทย์ ........ เรามีฤดูฝน 6 เดือน ฤดูแล้ง 6 เดือน ทำอย่างไรให้ต้นไม้มีน้ำกินในฤดูแล้ง เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุด วงการหมัดมวยเรียกว่า "มีก๊อกสอง" เดินหน้าได้ครบยก

จังหวัดสกลนครมีฤดูฝน 6 เดือน ฤดูแล้ง 6 เดือน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยปีละ 1,300 - 1,800 มม.
วิธีการ ....... ใช้ที่ดินส่วนตัว 4 ไร่ บ้านกุดพร้าว ต.วาริช อ.วาริชภูมิ สกลนคร เป็นพื้นที่วิจัย พิกัด N 17 15 20.90 E 103 39 27.81

ใช้ที่ดินส่วนตัวของครอบครัวเนื้อที่ 4 ไร่ บ้านกุดพร้าว ต.วาริช อ.วาริชภูมิ สกลนคร

ให้ลุงเอกแกนนำเครือข่ายอินแปงจาก บ้านบัว อ.กุดบาก เป็นผู้รับเหมาปลูกป่า เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2561 ในภาพลุงเอกกำลังพาทีมงานมาดูสถานที่ 19 มิถุนายน 2561 และเข้าเตรียมแปลง 23 มิถุนายน 2561

เริ่มปลูกไม้ป่านานาชนิดวันที่ 30 มิถุนายน 2561

ติดตั้ง "ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด" เดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคม 2561

มีธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด กระจายในพื้นที่ 4 ไร่ รวม 5 หลุม สนับสนุนโดยสโมสรโรตารีสกลนคร เป็นเงิน 10,000 บาท ภายใต้แผนงาน "สนับสนุนการเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม" (Supporting the Environment )

วิธีการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด
โครงสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เพื่อสะสมน้ำลงไปในชั้น "อุ้มน้ำ" (permeable zone)

ติดตั้ง "ท่อวัดน้ำใต้ดิน" (observation pipe)

เริ่มวัดระดับน้ำใต้ดินในฤดูแล้ง ปี 2563 พบว่าอยู่ที่ความลึกจากผิวดินลงไป 4.7 เมตร

การเจริญเติบโตของไม้ป่าระหว่างปี 2562 ถึง 2564
เปรียบเทียบระหว่างปี 2563 กับ 2564

จากฤดูแล้ง 2563 ถึงฤดูแล้ง 2566 ต้นไม้โตขึ้นอย่างมาก ภาพจากมุมกล้องเดียวกัน
ต้นไม้ในฤดูฝน กับฤดูแล้ง มีความเขียวไม่ต่างกันมากนัก
.jpeg)
เปรียบเทียบสภาพป่าไม้ทั่วไป กับป่าไม้ในโครงการวิจัยซึ่งมีความเขียวตลอดปี

เปรียบเทียบกับโครงการปลูกป่าของเอกชน 2 แห่ง ที่เริ่มปลูกไล่เลี่ยกัน

Timeline งานวิจัยตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2566 เป็นผลงานเชิงประจักษ์ "ไม้ป่าโตเร็วมาก"
เบื้องหลัง ...... ป่าแห่งนี้โตเร็วมาก เพราะมีน้ำสะสมใต้ดินตลอดฤดูแล้ง ต้นไม้ได้กินน้ำผ่านขบวนการ "ไส้ตะเกียง" (Capillary Action)

น้ำใต้ดินยกระดับจาก 4.7 เมตร ขึ้นไปที่ 2.9 เมตร

ต้นไม้ได้กินน้ำอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูแล้ง วงการหมัดมวยเรียกว่า "ออกหมัดทำคะแนนได้ทุกยก ..... ไม่ออกอาการแผ่ว เพราะมีก๊อกสองมาเติม"
ขบวนการ Capillary Action น้ำใต้ดินซึมขึ้นไปถึงระดับ Root Zone ของต้นไม้

หลักการทาง Physic ของกระบวนการ Capillary Action
สรุป
ความสำเร็จที่น่าพอใจเกิดจาก "ธนาคารน้ำใต้ดิน" และการดูแลรักษาอย่างดี มีการปลูกซ่อมในปีแรกๆ และทำค้ำยันต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการล้มในช่วงฤดูฝนที่มีพายุลมแรง