ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




Operation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"

                         Operation Spica ......... ไขปริศนาเมืองโบราณศรีเทพ

          มุมมองในมิติวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ ...... ผู้สร้างโบราณสถานขนาดใหญ่ "เขาคลังนอก และเขาคลังใน" (ชื่อปัจจุบัน) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความผูกพันกับดาวฤกษ์ Spica หรือ "ดาวรวงข้าว" เพราะต้องการให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง อารยธรรมอินเดียเรียกดาวดวงนี้ว่า Chitra (ออกเสียง จิตตระ) หมายถึงความสุกสว่าง และความรุ่งเรือง

         ราวพุทธศตวรรษ ที่ 11 อารยธรรมชาวภารตะเข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้ทำให้เกิดเมืองใหม่ในชื่อที่นักโบราณคดีเรียกว่า "ทวารวดี" ความเชื่อของอินเดียจึงติดมาด้วย ........ จึงต้องค้นหาว่าจุดเริ่มต้นของความเชื่อนี้มาจากไหน?

 

 

 

ผม สรรค์สนธิ บุณโยทยน นักพิภพวิทยา ร่วมกับไกด์นก ชื่อ facebook Prapaporn Matda มัคคุเทศก์อาชีพ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลในปฏิบัติการข้ามประเทศ โดยผมปฏิบัติการที่มหาวิหารนาลันทา รัฐพิหาร อินเดีย เมื่อปี 2552 ส่วนไกด์นกเก็บข้อมูลที่โบราณสถานศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2558

 

แผนที่แสดงพิกัดมหาวิหารนาลันทา อินเดีย กับเมืองโบราณศรีเทพ ประเทศไทย

 

 

เมืองโบราณศรีเทพเปิดฉากอารยธรรมด้วย "ทวารวดี" อิทธิพลจากอินเดีย

 

                          เริ่มต้นที่โบราณสถานนาลันทา (Nalanda Ruins) รัฐพิหาร อินเดีย

             โดยส่วนตัวเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในชื่อ "มหาวิหารนาลันทา" เป็นต้นแบบของ "เขาคลังนอก" ที่อุทยานปๆระวัติศาสตร์ศรีเทพ

                 ก่อนอื่นขอนำเรื่องราวโบราณสถานนาลันทาให้เราๆท่านๆรู้จัก สถานที่แห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของโลก สร้างในสมัยราชวงศ์คุปตะ (Gupta Empire) ราว 300 - 500 AD มีผู้คนมาเล่าเรียนวิชาต่างๆมากมายจากแดนไกลๆ มีความรุ่งเรืองอย่างสุดขีดหลายร้อยปี แต่เมื่อถึง 1200 AD ถูกกองทัพจากตรุกีเข้ามาทำลายจนกลายเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้บูรณะให้ได้เห็นหลักฐานสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2016 (World Heritage Site by UNESCO July 15, 2016)

        คำถาม ...... มหาวิหารนาลันทา (Nalanda Mahavihara) เกี่ยวข้องกับเมืองศรีเทพ อย่างไร?

          คำตอบ ......... มหาวิหารแห่งนี้เป็น "มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก" และเมืองศรีเทพก็รับอิทธิพลของพุทธศาสนาจากอินเดีย จึงน่าจะมีอะไรเชื่อมโยงกัน

           นักบวชพุทธชาวจีน หรือคนไทยเรียกท่านว่า "หลวงจีน" ก็เคยเดินทางมาที่นาลันทา เช่น หลวงจีนฟาเหียน (Faxian) AD 399 - 412 พระถังซำจัง (Xuanzang) AD 630 - 643 หลวงจีนยี่ผิง (Yijing) AD 673 - 700

 

          คำถาม ....... มหาวิทยาลัย "นาลันทา" สอนวิชาอะไร 

                          คำตอบ ........ สอนหลากหลายวิชาครอบคลุมวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ หนึ่งในนั้น มีวิชาดาราศาสตร์ (Astronomy) และศาสตร์แห่งความจิงของธรรมชาติ (Metaphysic) 

 

ป้ายอธิบายที่มาของมหาวิทยาลัย "นาลันทา" มีวิชา ดาราศาสตร์ และศาสตร์แห่งความจริงในธรรมชาติ 

 

นาลันทามีสิ่งก่อสร้างรูปร่างสถูปขนาดใหญ่มากมาย

 

บรรยากาศทั่วไปของโบราณสถาน Nalanda

 

ยืนยันชัดเจนว่า "นาลันทา" คือมหาวิทยาลัยของพุทธศาสนา

 

เกือบทุกมุมของโบราณสถานเต็มไปด้วยพระพุทธรูป 

 

 

สื่อท้องถิ่นสกลนคร "ลุยผ่านเลนส์" ออก Youtube เรื่องนี้

 

 

ปัจจุบันมหาวิหารนาลันทาเป็นที่ศัทธาของชาวพุทธทั่วโลก

 

พระสงฆ์จากประเทศไทยนิยมเดินทางมาจาริกบุญที่นี่ทุกปี

 

เปรียบเทียบศิลปะมหาวิหารนาลันทา กับ สถูปเขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ มีหลักการเดียวกันคือ "สร้างสถูปบนฐานยกพื้นสูง" 

 

 

พระพุทธรูปศิลปะนาลันทา กับพระพุทธรูปเมืองศรีเทพ

 

พระพุทธรูปนาลันทา กับ พระพุทธรูปในถ้ำเขาถมอรัตน์ ทางทิศตะวันตกของเมืองศรีเทพ

 

พระพุทรูปนาลันทา กับ พระพุทธรูปเมืองศรีเทพ

บินตรงกรุงเทพ - Gaya India

ผมใช้เวลาเก็บข้อมูลที่นาลันทาเกือบทั้งวัน เล่นเอาบรรดาเพื่อนๆที่มาด้วยกันออกอาการหงุดหงิดเพราะเขาเหล่านั้นถนัด ชิม ช้อป แซะ เหมือนนักท่องเที่ยวทั่วๆไป คราวหลังผมจะมาคนเดียวดีกว่า 

 

มหาวิหารนาลันทาขณะกำลังบูรณะ

 

สร้างในยุคอาณาจักรคุปตะ ราว ค.ศ.319 - 467 

 

             ลงพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ในเดือนมกราคม 2552 เพื่อเก็บข้อมูลด้านโบราณคดีและดาราศาสตร์โดยใช้

            1. เข็มทิศแม่เหล็ก พบว่ามหาวิหารหมายเลข 13 หันหน้าตรงกับพิกัดดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา (Azimuth 95)

            2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ The Starry Ninght Pro ทำภาพจำลองท้องฟ้าย้อนหลังไปที่ ค.ศ. 300 - 500 โดยใช้ตำแหน่งภูมิศาสตร์ N 25 08 16 E 85 26 32 พบว่าโบราณสถานแห่งนี้หันหน้าตรงกับ "ดาวฤกษ์ชื่อ Spica หรือดาวรวงข้าว" ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 95 องศา เช่นกัน

           3. ใช้ Google Earth ตรวจสอบก็ให้ผลว่ามหาวิหารหันหน้า 95 องศา

         แสดงว่าพิกัดตามเข็มทิศ ภาพจำลองที่ขอบฟ้า และ Google Earth แสดงข้อมูลตรงกัน

 

ส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างในอุทยานประวัติศาสตร์นาลันทา

 

 

ลงพื้นที่ด้วยตัวเองเมื่อเดือนมกราคม 2552

ใช้เวลาเก็บข้อมูลเกือบทั้งวันจนเพื่อนๆที่ไปด้วยออกปากว่า "หินก้อนเดียวเดินดูทั้งวันเชียวหรือ" อย่างว่าแหละครับคนเหล่านั้นเขาไม่ได้สนใจกับการวิจัย เขามาท่องเที่ยวชมความอลังการและ selfie จากนั้นก็ไปหา shopping 

 

ใช้เข็มทิศแม่เหล็กจับพิกัดการวางตัวของมหาวิหาร

 

เข็มทิศแม่เหล็กแสดงผลว่ามหาวิหารแห่งนี้วางตัวโดยหันหน้าในแนวดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) 

 

 

ข้อมูลจากแผนที่แม่เหล็กโลกแสดงผลว่าบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดียอยู่ในโซน "ความเบี่ยงเบนเท่ากับศูนย์" (zero deviation) หมายความว่าเข็มทิศแม่เหล็กชี้ตรงกับทิศเหนือแท้ของโลก และแสดงผลทิศทางอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องมีการปรับชดเชยแต่อย่างใด

 

 

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ The Starry Night Pro แสดงภาพจำลองท้องฟ้า ณ โบราณสถานแห่งนี้ ย้อนหลังไปที่ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ.300 - ค.ศ.500 พบว่าที่ตำแหน่งมุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) ตรงกับดาวฤกษ์ชื่อ Spica หรือดาวรวงข้าว อยู่ในราศีหญิงสาว (zodiac virgo)  

 

การวิจัยของนักวิชาการอินเดีย ชื่อ M.B. Rajani and Viraj Kumar ให้ความเห็นว่าโบราณสถานนาลันทา (Nalanda's temples) หันหน้าไปที่ตำแหน่งดาวฤกษ์ Spica ในราศีหญิงสาว (zodiac virgo) 

 

การตรวจสอบด้วย Google Earth ก็ยืนยันว่ามหาวิหารหมายเลข 13 ในโบราณสถานนาลันทา หันหน้าตรงกับพิกัดดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา

 

          ถาม ....... ทำไมอารยธรรมโบราณจึงให้ความสำคัญกับดาว Spica ในราศีหญิงสาว (Virgo)

          ตอบ ....... ดาว Spica ในราศี Virgo ขึ้นที่ขอบฟ้าตรงกับฤดูการเก็บเกี่ยวราวเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่บรรพชนกำลังมีความสุขกับผลผลิตการเกษตร สัญลักษณ์ของราศีจึงเป็นภาพหญิงสาวถือรวงข้าว (ข้าวสาลี) เพราะการเกษตรคือชีวิต บ้านเมืองไหนมีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ก็หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นบรรพชนจึงให้ความสำคัญกับดาว Spica (ภาษาไทยเรียกดาวดวงนี้ว่า .... ดาวรวงข้าว)

 

 

ดาว Spica อยู่ในกลุ่มดาวฤกษราศีหญิงสาว (Virgo) มีภาพหญิงสาวถือรวงข้าวสาลี

 

 

จริงๆดาว Spica มีดาวฤกษ์ 2 ดวง คู่กัน จึงทำให้มองดูสว่างสุกใสในฤดูเก็บเกี่ยว

 

 

อารยธรรมโบราณ เช่น อียิปส์ เชื่อว่าดาวรวงข้าว Spica นำมาสู่ความเจริญรุ่งเรือง จึงมีการสร้างวิหารให้ตรงกับดาวดวงนี้

 

           คำถาม ..... โบราณสถานอื่นๆในประเทศอินเดียที่วางตัวในแนวประมาณ 95 องศา มีอีกไม้? 

                            คำตอบ ...... มีครับ เช่น มหาวิหารพุทธคยา (Maha Bhodi Gaya Temple) และโบราณสถานที่เมืองสารนาท (Sarnath Ruin)

 

ลงพื้นที่สำรวจบริเวณวิหารพุทธคยา มกราคม พ.ศ.2552

 

 

ภาพถ่าย Google Earth แสดงการวางแนวของวิหารพุทธคยาที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95)

 

พื้นที่หน้าวิหารพุทธคยา ผู้คนนิยมมานั่งสมาธิโดยไม่สะทกสะท้านกับผู้คนที่พลุกพล่าน 

 

เข็มทิศที่พื้นบริเวณหน้าวิหารแสดงพิกัดมุมกวาด 95 องศา

 

ภาพขยายเข็มทิศชี้ที่มุมกวาด 95 องศา

 

 

Google Earth แสดง Sarnath Ruin หันหน้าที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95) 

 

 

ลงพื้นที่เมืองสารนาท มกราคม พ.ศ.2552 

 

เข็มทิศแสดงการวางแนวโบราณสถาน 95 องศา

 

ภาพขยายเข็มทิศชี้ที่มุมกวาด 95 องศา 

 

 

 

           "เขาคลังนอก และ เขาคลังใน" อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ถอดแบบความเชื่อมาจากมหาวิหารนาลันทา จริงหรือ?

               ก่อนอื่นขอนำเสนอเรื่องราวพอเป็นสังเขปเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ ตามเอกสารของกรมศิลปากรอธิบายว่า สร้างราวๆพุทธศตวรรษ ที่ 13 - 14 หรือ คริตศตวรรษ ที่ 8 - 9 (AD 700 - 800) โดยอารยธรรมทวารวดี หลังจากนั้นอาณาจักขอมก็เข้ามาแทนในพุทธศตวรรษ 16 - 17 หรือ คริตศตวรรษ ที่ 11 - 12 ( AD 900 - 1100) 

                         คราวนี้มาเข้าประเด็นของผมนะครับ ได้ประสานงานกับไกด์อาชีพชื่อ Facebook Prapaporn Matda ลงพื้นที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ส่งภาพมาให้จำนวนมากพอเพียงต่อการวิเคราะห์ยืนยันว่าที่นี่เริ่มต้นด้วยอารยธรรมทวารวดีจากอิทธิพลของอินเดีย เบื้องต้นจะเน้นที่โบราณสถาน 2 แห่ง ของเมืองโบราณศรีเทพ คือ เขาคลังนอก และเขาคลังใน 

 

โบราณสถานเขาคลังนอก และเขาคลังใน

 

ไกด์นก Propaporn Matda ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง 

 

ภาพถ่ายเขาคลังในจากยุคอารยธรรมทวารวดี 

 

ดูจากหลักฐานก็มั่นใจว่านี่คือยุค "ทวารวดี" พุทธศตวรรษที่ 13 - 14  

 

 

ต่อด้วยยุคแห่งอาณาจักรขอม ในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ 16 - 17

 

           พิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ...... สถูปเขาคลังนอก และเขาคลังใน รับอิทธิพลมาจากมหาวิหารนาลันทา จริงหรือ? ใช้หลักฐาน 2 อย่าง คือ ภาพถ่ายของไกด์นกยืนยันว่าที่นี่คือ "ทวารวดี" จากอารยธรรมอินเดีย สอดคล้องกับเอกสารของกรมศิลปากรที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการ และการทำ simmulation ด้วยโปรแกรมตอมพิเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro ชึ่งมีความแม่นยำสูงมาก สามารถทำย้อนหลังได้ถึง 5,000 ปี  

            1. ภาพถ่าย Google Earth แสดงชัดเจนว่าสถูปเขาคลังนอก หันหน้าไปที่พิกัดมุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) และเขาคลังในทำมุม 96 องศา (azimuth 96) 

 

 

ภาพถ่าย Google Earth ยืนยันการวางแนวของสถูปเขาคลังนอก ที่มุมกวาด 95 องศา

 

ภาพ Google Earth เขาคลังในทำมุมกวาด 96 องศา

 

 

คุณ Kitti Praphruerttakul Travel Agent at AMTAmfine ลงพื้นที่เขาคลังนอกและส่งพิกัดมาให้ พบว่าทำมุมกวาด 95 องศา แต่ Google Earth ระบุ 96 องศา จะต้องลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป

 

          2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus สร้างภาพจำลองของท้องฟ้า ณ เขาคลังนอกย้อนหลังไปที่ ค.ศ.700 - 800 โดยใช้พิกัด N 15 29 12 E 101 08 40 และท้องฟ้า ณ เขาคลังในย้อนหลังไปที่ ค.ศ.700 - 800 เช่นกัน ใช้พิกัด N 15 27 55.94 E 101 08 40.89

 

 

เช้าตรู่ของเดือนตุลาคม ค.ศ.700 - 800 มีดาวฤกษ์ Spica หรือ ดาวรวงข้าวขึ้นที่ขอบฟ้ายามเช้ามืด ณ มุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) ตรงหน้าของสถูปเขาคลังนอก

 

 

ภาพจำลองแสดงดาวฤกษ์ Spica ตรงกับตำแหน่งการวางตัว (alignment) ของสถูปเขาคลังนอก ณ มุมกวาด 95 องศ

 

ภาพจำลองดาวฤกษ์ Spica ขึ้นที่ขอบฟ้าที่พิกัด 96 องศา ตรงกับ alignment ของสถูปเขาคลังใน

 

เขาคลังนอกและเขาคลังในวางตัวโดยหันหน้าไปที่ดาง Spica หรือดาวรวงข้าว  

 

ภาพเปรียบเทียบ Google Earth สถูปเขาคลังนอก กับ มหาวิหารนาลันทา เห็นชัดเจนว่าทั้งคู่วางตัวในพิกัดมุมกวาดเดียวกัน ที่ 95 องศา 

 

เปรียบเทียบรูปลักษณ์ระหว่างมหาวิหารที่นาลันทา กับสถูปเขาคลังนอกที่ศรีเทพ 

 

             ข้อมูลทั้งหมดนี้ยืนยันว่าผู้สร้างเมืองศรีเทพเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว มีความเชื่อว่า "ดาวรวงข้าว" เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ตามที่อินเดียโบราณตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า Chitra หมายถึง ความมีเสน่ห์ เฉลียวฉลาด สุกสว่าง และรุ่งโรจน์

 

 

https://www.spicastrology.com/about/#:~:text=In%20Hindu%20tradition%2C%20the%20star,eloquent%2C%20and%20self%2Dcentred. 

คนอินเดียเรียกดาว Spica ว่า Chitra หมายถึง "สุกสว่าง" และเชื่อว่า ดาว Spica มีผลต่อความดีงาม ความฉลาดเฉลียว คารมคมคาย และมีเสน่ห์ของบุคคล

 

           คำถาม ทำไมเขาคลังนอกวางแนวที่ 95 องศา แต่เขาคลังในอยู่ที่ 96 องศา

           คำตอบ มี 2 สมมุติฐาน

           1.หลักการดาราศาสตร์ที่ว่าด้วยการแกว่งของแกนโลก (precession of equinox) ทำให้พิกัดของดาว Spica เปลี่ยนที่ไปจาก มุมกวาด 95 องศา เป็น 96 องศา ตีความว่าสถูปเขาคลังนอกสร้างราว ค.ศ.700  ส่วนเขาคลังในสร้างที่หลังราว ค.ศ.800

          2.การเล็งมุมของดาวด้วยสายตา (ยังไม่มีอุปกรณ์ทันสมัย) ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อย เรียกว่า mechanical error

อย่างไรก็ตามต้องมีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง

 

 

เขาคลังนอกวางตัวในแนว 95 องศา แต่เขาคลังในวางตัว 96 องศา 

 

           คำถาม ทำไมการวางตัวของสถูปเขาคลังนอกจึงเหมือนกับมหาวิหารนาลันทา ทั้งๆที่สร้างคนละสมัยกัน นาลันทาสร้างราว ค.ศ.400 แต่เขาคลังนอกสร้างราว ค.ศ.700 

                           คำตอบ นี่คือข้อที่ผมสงสัยมี 2 สมมุติฐาน ...... ข้อที่หนึ่งเป็นไปได้หรือไม่ "เขาคลังนอก" มีอายุเก่าแก่กว่า ค.ศ.700 ? หรือ ข้อที่สองวิธีการเล็งตำแหน่งดาว Spica ที่ขอบฟ้า มีตัวแปร 2 ประการ 

          1. การเล็งด้วยสายตา (สมัยนั้นไม่มีกล้องวัดพิกัดองศาของดาว) ทำให้ตัวเลขผิดไปบ้างเล็กน้อย ภาษาวิชาการเรียกว่า mechanical error  

          2. การเล็งพิกัดองศาของดาวขึ้นอยู่กับตำแหน่งความสูงจากขอบฟ้า (altitude) 

 

          อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันในหลักวิทยาศาสตร์ ...... บรรพชนยุคนั้นใช้วิธี "ตาดู หูฟัง" ไม่มีทางที่จะแม่นยำเท่ากับเราๆท่านๆในยุคดิจิตอลที่มีอุปกรณ์ทันสมัย เฉกเช่น เครื่องยิงกระสุนเพลิงของโรมันย่อมไม่มีทางสู้กับขีปนาวุธโตมาฮอก หรือธนูเพลิงของชนเผ่าอินเดียแดงจะกลายเป็นของเด็กเล่นเมื่อเปรียบเทียบกับปืน M-16 ติดลำกล้อง ......... แต่ก็ต้องยอมรับว่าท่านเหล่านั้นมีความพยายาม มีเจตนา และเป้าหมายที่ชัดเจนให้เราชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ 

 

พิกัดองศามุมกวาดจากทิศเหนือ (azimuth) ของดาว Spica ที่ขอบฟ้าแปรผันตามความสูงของมุมเงย (altitude) ในที่นี้ถ้ามุมเงย 1 องศา พิกัดมุมกวาด = 95 องศา มุมเงยที่ 2 องศา พิกัดมุมกวาด = 96 องศา และถ้ามุมเงย 5 องศา พิกัดมุมกวาด = 97 องศา  

 

 

           คำถาม 1.ถ้าเราๆท่านๆในยุคปัจจุบันต้องการสร้างบ้านหรือสถานที่อย่างใดอย่างหนึ่งให้ตรงกับดาวรวงข้าว (Spica) จะได้หรือไม่ ?

                                                           2.ถ้ามองไปตามมุมกวาดของเขาคลังนอกและเขาคลังในยุคปัจจุบันจะเห็นดาวรวงข้าว (Spica) หรือไม่ ?

                           คำตอบ 1.ได้ครับแต่ด้วยเหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า precession of equinox เกิดจากการ "แกว่งของแกนโลก" ทำให้ตำแหน่งของดาว Spica เปลี่ยนพิกัดไปที่มุมกวาด 102 องศาแล้วละท่าน

                                                         2.เหตุผลเดียวกันกับ ข้อ 1.ดาวรวงข้าวเปลี่ยนตำแหน่งไปที่มุมกวาด 102 องศา และเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากจะทำให้มองไม่ชัดเพราะแสงอาทิตย์รบกวน

 

 

ผลจากการแกว่งของแกนโลกที่เรียกว่า precession of equinox ทำให้มุมเอียงของโลก (Earth's Axis Tilt) เปลี่ยนไป มีผลต่อการมองพิกัดของทุกวัตถุในท้องฟ้าในมุมที่เปลี่ยนไป

  

ถ้าจะสร้างสถูปแห่งใหม่ในปี 2023 เลียนแบบเขาคลังนอกเพื่อให้ตรงกับดาว Spica ก็ต้องหันหน้าไปที่มุม 102 องศา

 

โปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night Pro แสดงค่าพิกัดของดาว Spica ในยุคปัจจุบัน ณ ตำแหน่ง 102 องศา

 

แต่ปัญหาของเราๆท่านๆในปัจจุบัน คือ ดาว Spica เคลื่อนที่มาใกล้ดวงอาทิตย์มาก แสงอาทิตย์ยาวเช้าตรู่จะรบกวนการมองเห็น

 

เปรียบเทียบพิกัดมุมองศา "การวางตัว" ของสถูปเขาคลังนอกโบราณ กับ ถ้าจะสร้างใหม่ในยุคปัจจุบัน 

 

 

          การวางตัวของพิกัดโบราณสถาน 3 แห่ง เขาคลังนอก เขาคลังใน และเขาถมอรัตน์ มีนัยสำคัญอะไรไม้ ?

            เขาถมอรัตน์ มีภาพแกะสลักพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีขนาดใหญ่ที่ผนังถ้ำหินปูน นักโบราณคดีให้ข้อมูลว่ามีอายุร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ และห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร มีลักษณะคล้าย "เขาพระสุเมรุ" เขาถมอรัตน์ 

          คำถาม ทำไมบรรพชนเลือกสถานที่ตั้งเมืองศรีเทพทางทิศตะวันออกของภูเขาถมอรัตน์ ........ ทำไมไม่เลือกทางทิศตะวันตก?

            คำตอบ พิจารณาตามสภาพทางภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์ไม่เหมาะแก่การสร้างเมืองเพราะ "มีสภาพเป็นลอนลูกคลื่น และความลาดเทสูง เสี่ยงต่ออันตรายจากน้ำป่า และการกัดเซาะที่รุนแรง" ...... แต่พื้นที่ปัจจุบันของเมืองศรีเทพ มีสภาพเหมาะสมทางภูมิศาสตร์มีความราบลุ่ม ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำเหมาะแก่การหาอาหารและมีน้ำใช้สอยตลอดปี จึงน่าจะเป็นเหตุผลในการตัดสินใจสร้างเมือง โดยมีสถูปเขาคลังนอก และสถูปเขาคลังในเป็นศาสนสถานสำคัญ

 

 

พิจารณาพื้นที่ตามหลักการอุทกวิทยา พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์ "ไม่เหมาะแก่การสร้างเมือง" เพราะเป็นลอนลูกคลื่นและความลาดเทสูง มีความเสี่ยงต่อน้ำป่าและการกัดเซาะที่รุนแรง แต่พื้นที่ปัจจุบันมีความราบลุ่ม อยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หาอยู่หากินง่ายและมีน้ำใช้สอยอุดมสมบูรณ์ บรรพชนผู้สร้างเมืองศรีเทพมีความรู้ด้านวิศวกรรมชั้นครูจึงมองออกว่าจะเลือกพื้นที่อย่างไร 

 

 ปัจจุบันเขาคลังนอกอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาถมอรัตน์จะมองเห็น sunset แต่ถ้าเลือกไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์จะเห็น sunrise 

                              

 

ทัศนียภาพ "ภูเขาถมอรัตน์" รูปร่างคล้าย "เขาพระสุเมรุ"

 

เขาถมอรัตน์จากภาพถ่าย Google Earth 

 

 

ช่างแห่งเมืองศรีเทพใช้แท่งหินปูนแกะสลักเป็นพระพุทธรูปยืนบนฐานดอกบัว

 

                               

นักโบราณคดีให้ข้อมูลว่าพระพุทธรูปนี้เป็นศิลปะทวราวดีร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ น่าเสียดายว่า "เศียรพระพุทธรูปถูกตัดออกไป" น่าจะเป็นฝีมือของขบวนการนักค้าวัตถุโบราณ

 

แผนที่ Google Earth แสดงการวางตัว เขาถมอรัตน์ เขาคลังนอก เขาคลังใน 

 

การวางตัวแบบนี้มีนัยสำคัญอะไรไม้?

 

 

ภาพจำลองพิกัดทางดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์ เขาคลังนอก และเขาคลังใน  

 

          มาดูความเชื่อมโยง "ดาวรวงข้าว" (Star Spica) ในราศีหญิงสาว (Zodiac Virgo) กับสถานที่ทั้งสามแห่ง

           

             เขาถมอรัตน์ กับ เขาคลังนอก

          มองจากเขาคลังนอกไปทางทิศตะวันตก 16.6 กิโลเมตร จะเห็น "ยอดภูเขาสมอรัตน์" ที่พิกัดมุมกวาด 272 องศา ช่วงวันที่ 14 - 16 กันยายน ค.ศ.700 เห็นภาพดวงอาทิตย์ยามอัสดงในราศึหญิงสาว (zodiac virgo) หย่อนตัวลงที่ยอดเขาและเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์จะเห็น "ดาวรวงข้าว" สุกสว่างในบริเวณนั้น (อนึ่งในหลักการทางดาราศาสตร์ ตำแหน่งดวงอาทิตย์ ดาวรวงข้าว และราศีหญิสาว ของปี ค.ศ.700 และ 800 ต่างกันน้อยมากจนไม่ถือเป็นนัยสำคัญทางคณิตศาสตร์ จึงอนุโลมให้ใช้ภาพเดียวกัน)

              คำถาม ...... ทำไมเขาคลังนอกจึงตั้งอยู่นอกเมืองศรีเทพ

              คำตอบ ....... ความเห็นส่วนตัว เขาคลังนอกน่าจะเก่าแก่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่อยู่ในบริเวณเมืองศรีเทพ โดยเลือกตำแหน่งที่ตั้งให้ตรงกับ "เขาถมอรัตน์" ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะปรากฏกลุ่มดาวหญิงสาวและดาวรวงข้าวใกล้กับเขาถมอรัตน์ ...... บรรพชนยุคนั้นผูกพันกับ "ดาวรวงข้าวในราศีหญิงสาว" เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ตามความเชื่อที่มาจากมหาวิหารนาลันทาประเทศอินเดีย

           ตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่าพิกัดดาราศาสตร์เขาคลังนอกกับเขาถมอรัตน์อยู่ในแนวเส้นตรง E - W ด้วยมุมกวาด 272 องศา (azymuth 272) คลาดเคลื่อนจากแนวเส้นตรงตะวันออกแท้ (due east) - ตะวันตกแท้ (due west) เพียง 2 องศา ....... เข้าใจว่าท่านบรรพชนตั้งใจจะวางตำแหน่งเขาคลังนอก กับ เขาถมอรัตน์ ในเส้นตรง "วิษุวัต" (Equinox Line) แต่การเล็งพิกัดที่อยู่ห่างกัน 16.6 กิโลเมตร ย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนเพราะสมัยนั้นใช้ทักษะที่เรียกว่า "ตาดู หูฟัง" ถ้าเป็นยุคปัจจุบันเราๆท่านๆเล่นอุปกรณ์เชื่อมโยงกับดาวเทียมระบบ GPS ทุกอย่างจึงออกมาเป๊ะ

        อนึ่ง ความหมายของ "วิษุวัต" คือปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ทิศตะวันออกแท้ (due east) พิกัดมุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) และตกทิศตะวันตกแท้ (due west) พิกัดมุมกวาด 270 องศา (azimuth 270) แต่ละปีมีปรากฏการณ์วิษุวัติ 2 ครั้ง

            "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) เกิดขึ้นต้นฤดูใบไม้ผลิ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 - 22 มีนาคม ปฏิทินอินเดียโบราณถือว่าเป็นวันปีใหม่

           "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) เกิดขึ้นต้นฤดูใบไม้ร่วง ปัจจุบันตรงกับวันที่ 22 - 23 กันยายน ปฏิทินอินเดียโบราณเรียกว่า "ครึ่งปี" 

        ความเชื่ออินเดียโบราณถือว่า "ทิศทางของพิกัดดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในปรากฏการณ์วิษุวัต มีความศักดิ์สิทธิ์" ...... มืน่าเล่าบรรพชนจึงพยายามสร้างสถูปยักษ์เขาคลังนอกให้ตรงกับพิกัดนี้โดยยึดเขาถมอรัตน์เป็นจุดเริ่มต้น ขณะเดียวกันก็จัดการให้เขาคลังนอกหันหน้าตรงกับ "ดาวรวงข้าว" ในราศีหญิงสาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ 

 

หน้าตาของปฏิทินอินเดียโบราณ ในชื่อ "มหาศักราช" (Saka Calendar) อาณาจักรขอมและอาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิก็ใช้ปฏิทินฉบับนี้ กรุงสุโขทัย และ กรุงศรีอยุธยาตอนต้นก็ใช้

 

 

การวางตัวตามพิกัดดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์กับเขาคลังนอก โดยเขาถมอรัตน์อยู่ทางทิศตะวันตกที่มุมกวาด 272 องศา (Azimuth 272) ในทางกลับกันมองจากเขาถมอรัตน์ไปยังเขาคลังนอกทางทิศตะวันออกจะเป็นมุมกวาด 92 องศา (Azimuth 92) ........ แสดงว่าการวางตัวของเขาคลังนอกกับเขาถมอรัตน์คลาดเคลื่อนจากแนว ตะวันออกแท้ (due east) - ตะวันตกแท้ (due west) เพียง 2 องศา 

 

เชื่อว่าเจตนาของบรรพชนต้องการให้เขาคลังนอก กับเขาถมอรัตน์ อยู่ในเส้นตรงแห่ง "วิษุวัต" (Equinox Sun"s Path)

 

            ภาพจำลองดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ระหว่างเขาคลังนอก และเขาถมอรัตน์ ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ทั้ง 2 ครั้ง

 

ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ เขาคลังนอก ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต มองจากเขาถมอรัตน์

 

ดวงอาทิตย์ตก ณ เขาถมอรัตน์ ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต มองจากเขาคลังนอก

 

 

ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ เขาคลังนอก ปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต มองจากเขาถมอรัตน์

 

ดวงอาทิตย์ตก ณ เขาถมอรัตน์ ปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต มองจากเขาคลังนอก

 

            เนื่องจากเมืองโบราณศรีเทพมีความผูกพันกับ "ดาวรวงข้าว" (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo) จึงปรากฏกลุ่มดาวนี้ราวเดือนกันยายน

 

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus แสดงภาพจำลองปรากฏการณ์บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก เดือนกันยายน ค.ศ.700 เห็นกลุ่มดาวราศี "หญิงสาว" (Virgo)  

 

 

ภาพจำลองดวงอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ ที่พิกัดมุมกวาด 272 องศา ระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน ค.ศ. 700 

 

ภาพจำลองของโปรแกรมดาราศาสตร์ แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์อัสดง (sunset) และปรากฏกลุ่มดาวราศีหญิงสาว (Virgo) และดาวรวงข้าว (Spica) เหนือยอดเขาถมอรัตน์

 

เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์จะเห็นดาวรวงข้าว (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo) ที่ขอบฟ้าเหนือภูเขาถมอรัตน์อย่างชัดเจน

 

ภาพจำลองจาก Google Earth แสดงความสัมพันธ์เชิงดาราศาสตร์ระหว่างเขาคลังนอก กับเขาถมอรัตน์

 

 

ดวงอาทิตย์ตกในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ที่เขาถมอรัตน์ มองจากเขาคลังนอก

 

หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" จะมองเห็นดาวรวงข้าว (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo) 

 

                เขาถมอรัตน์ กับ เขาคลังใน

                                          เขาคลังในตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาคลังนอก ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร และห่างจากเขาถมอรัตน์ 16.8 กิโลเมตร 

 

 

พิกัดดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์และเขาคลังใน หากมองจากเขาคลังในไปทางทิศตะวันตก เขาถมอรัตน์อยูที่มุมกวาด 280 (azymuth 280) 

  

 

ภาพจำลองอาทิตย์อัสดงเหนือเขาถมอรัตน์ ด้วยโปรแกรม The Starry Night Pro Plus

 

ดวงอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม ค.ศ.700

 

 ภาพจำลองอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ระหว่าง 23 - 25 สิงหาคม ค.ศ.700 เห็นกลุ่มดาวหญิงสาวข้างบน

 

 

เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์จะเห็นดาวรวงข้าวในราศีหญิงสาวอยู่เหนือขอบฟ้าเขาถมอรัตน์ 

 

         คำถาม  ......... ทำไมอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ มุมมองจากเขาคลังนอก เป็น 14 - 16 กันยายน แต่จากเขาคลังในเป็น 23 - 25 สิงหาคม

         คำตอบ .......... เพราะพิกัดที่ตั้งของเขาคลังนอกกับเขาคลังในอยู่ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร ทำให้มุมมองในแนวเส้นตรงไปยังเขาถมอรัตน์ต่างกัน โดยเขาคลังในจะเห็นอาทิตย์อัสดงก่อน ตามภาพข้างล่างนี้

 

 

เขาคลังในเห็นอาทิตย์อัสดง 23 - 25 สิงหาคม ส่วนเขาคลังนอกเห็น 14 - 16 กันยายน 

 

        คำถาม ........ ปัจจุบัน ยังสามารถมองเห็นอาทิตย์อัสดงบนยอดเขาถมอรัตน์จากมุมมองเขาคลังนอกและเขาคลังใน หรือไม่ 

                    คำตอบ ......... ยังมองเห็นครับ แต่ราศีจะเปลี่ยนจาก "หญิงสาว" (Virgo)  ไปเป็น "สิงห์" (Leo) 

 

อาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ยุคปัจจุบันจากมุมมองเขาคลังนอกยังคง 14 - 16 กันยายน แต่เปลี่ยนราศีเป็น "สิงห์" (Leo)

 

อาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ยุคปัจจุบันจากมุมมองเขาคลังในยังคง 23 - 26 สิงหาคม แต่ราศีเปลี่ยนไปเป็น "สิงห์" (Leo)  

 

              เขาคลังนอกและเขาคลังในเรียงตัวแนว เหนือ -ใต้ เป๊ะ

                   คำถาม

                    1.มีวัตถุประสงค์อะไร ?

                    2.ใช้วิธีอะไรในการวางตำแหน่งให้ตรงขนาดนั้นเนื่องจากทั้งสองอยู่ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร  

 

เขาคลังนอกและเขาคลังในห่างกัน 2.3 กิโลเมตร แต่อยู่ในแนว เหนือ - ใต้ ตรงเป๊ะ

 

ถ้าบรรพชนยุคทวารวดีมาเกิดใหม่ ท่านคงจะท้าทาย ........ สูเจ้ารู้วิธีทำของตูข้าไม้ละ? ....... ห้ามเอาเปรียบกันด้วยอุปกณ์ยุคดิจิตอลนะเว้ย ต้องใช้เครื่องมือโบราณ เช่น มีด ไม้ จอบ เสียม 

 

          คำตอบ

                          1.บรรพชนยุคทวารวดีรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ความเชื่อเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าเรียกว่า "เขาพระสุเมรุ" จึงเป็นเรื่องสำคัญ ...... ตามความเชื่อเขาพระสุเมรุอยู่ที่ "ขั้วโลกเหนือ" ดังนั้นในการทำพิธีจึงต้องให้ฐานโยนีและน้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน "ท่อโสมสูตร" ไปทางทิศเหนือ ผมไปดูตัวอย่างที่วิหารพุทธคยาประเทศอินเดีย จะเห็นชัดเจนว่า "ฐานโยนี และพระพุทธบาท" ชี้ไปที่ "ทิศเหนือ" ดังนั้นการเรียงตัวของเขาคลังนอกและเขาคลังใน จึงอยู่ในแนวชี้ไปยังทิศเหนือเพื่อให้ตรงกับ "เขาพระสุเมรุ" อันศักดิ์สิทธิ์ ....... อนึ่ง วัฒนธรรมจากอินเดียที่เข้ามามีอิทธิพลในเมืองศรีเทพ เป็นการผสมผสานระหว่าง "ฮินดู พราหมณ์ และพุทธ" จนแทบจะแยกไม่ออก ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น พิธีกรรมและความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยจึงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของฮินดูและพราหมณ์ ตัวอย่างที่ชัดมากที่สุดได้แก่ "ศาลพระพรหมณ์" 

 

 

ความเชื่อของฮินดูและพุทธโบราณเชื่อว่าเขาพระสุเมรุอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ 

 

ผมลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยตนเองที่มหาวิหารพุทธคยาเมื่อมกราคม 2552  

 

มหาวิหารแห่งนี้มีห้องบูชาศิวลึงค์และฐานโยนี 

 

ห้องบูชาศิวลึงค์ภายในมหาวิหารพุทธคยา

 

เข็มทิศแสดงฐานโยนีชี้ไปที่ทิศเหนือตรงกับตำแน่งเขาพระสุเมรุ

 

รอยพระพุทธบาทในมหาวิหารพุทธคยาก็ชี้ไปที่ทิศเหนือ

 

"ปราสาทภูมิโปน" ยุคเจนละ ที่จังหวัดสุรินทร์ เก่าที่สุดในบรรดาปราสาทโบราณของประเทศไทย มีท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "ท่อโสมสูตร" อยู่ด้านทิศเหนือ

 

ท่อโสมสูตรชี้ไปที่ทิศเหนือ เหมือนกับฐานโยนีที่มหาวิหารพุทธคยา ประเทศอินเดีย 

 

            2.การวางแนวให้ตรงกับ N - S ใช้วิธีคณิตศาสตร์โบราณ เรียกว่า Shadow Plot เคยทำมาแล้วหลายครั้งในการออกแบบนาฬิกาแดดและตรวจสอบการวางตัวของปราสาทขอมโบราณ วิธีนี้ใช้อุปกรณ์พื้นบ้านธรรมดา

 

การทำ shadow plot ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร เพื่อตรวจสอบการวางแนวของปราสาทว่าตรงกับ N - S และ E - W หรือไม่

 

 

การทำ shadow plot ใช้อุปกรณ์ง่ายๆดังที่เห็นในภาพ

 

 

 

ทำเครื่องหมายที่ปลายเงาดวงอาทิตย์ทุกๆ 10 นาที ตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ๆจะได้ curve อย่างที่เห็น และลากเส้นตรงระหว่างจุดตัดของเส้นรอบวงช่วงเช้าและบ่าย จะได้แนว E - W 

 

ทำเส้นตั้งฉากกับแนว E - W จะได้ N - S 

 

Shadow Plot ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร เพื่อตรวจสอบแนวของตัวปราสาทว่า E - W และ N - S จริงหรือไม่

 

ผลการทำ shadow plot ยืนยันว่าปราสาทภูเพ็ก สกลนคร วางตัวในแนว E - W และ N - S 

 

 

เคยทำการอบรมนักเรียนให้ทำ shadow Plot ตามโครงการค่ายดาราศาสตร์ 

 

 

 

 

เมื่อทำ shadow plot เสร็จ จะได้แนวเส้น E - W และ N - S 

 

 

ใช้ไม้เล็งแนวไปตาม N - S ทีละ 50 เมตร และทำสัญลักษณ์โดยปักไม้ไว้ยาวตามระยะทางที่ต้องการ  

 

       ทำไม ....... ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง วางตัวตามแนว E - W ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (Equinox) แต่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ? ผิดกับเขาคลังนอกและเขาคลังในที่หันไปทางตะวันออก ...... ต้องมีเหตุผลอันควร เพราะบรรพชนเหล่านั้นไม่ทำอะไรเล่นๆ การก่อสร้างปราสาทต้องใช้แรงงานและทรัพยากรมากมาย

 

 

ปราสาท หรือปรางค์ ทั่วไปจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตรงกับดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์วิษุวัต

 

แต่ทำไมปรางค์ 2 หลัง ของเมืองศรีเทพ หันหน้าไปทิศตะวันตกในปรากฏการณ์วิษุวัต? 

ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพ วางตัวตรงกับดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์วิษุวัต แต่ทั้งคู่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก? 

 

 

 

 

          พิจารณาเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้ ....... บรรพชนผู้ก่อสร้างปรางค์ทั้งสองหลังมีเงื่อนไข 2 ประการ พูดง่ายๆว่า ล้อกสองสะเป็ก คือ

          1.วาง center-line ของปรางค์ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ "ศารท    วิษุวัต" (autumnal equinox) 

          2.มีราศีหญิงสาว (Virgo) และดาว "รวงข้าว" (Spica) อยู่ในท้องฟ้า

             เงื่อนไขนี้จะเป็นไปได้ ...... ต้องหันหน้าปรางค์ไปทางทิศตะวันตกเท่านั้น หากหันไปทางทิศตะวันออกจะมองไม่เห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว เพราะถูกบดบังด้วยแสงอาทิตย์ เพื่อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ ต้องสั่งให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night ย้อนเวลากลับไปที่ AD 1000 และทำ simmulation ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) และนี่คือภาพที่เห็น ครับ

        อนึ่ง มีการพบรูปสลัก "สุริยะเทพ" จำนวนหลายรูป อ้างอิงความเชื่อของอินเดียโบราณ ภาษาของเขาใช้คำว่า Surya Devta ตรงกับภาษาอังกฤษ Sun God และวิหาร Sun God ในประเทศอินเดีย เช่น Sun Temple Modhera รัฐ Gujarat มีความสัมพันธ์กับ "ปรากฏการณ์วิษุวัต" (equinox) จึงหันหน้าตรงไปที่ "ทิศตะวันออกแท้" (due east) ทำมุมกวาด 90 องศา (azymuth 90)

       จากหลักฐานการพบ "สุริยะเทพ" ทำให้เชื่อว่าปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้องต้องมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์วิษุวัต ..... แต่ที่ต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ก็เพราะมีข้อผูกพันธ์กับ "ดาวรวงข้าว" (Spica) และราศี "หญิงสาว" (Virgo) ตามความเชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีเทพ ...... ถ้าปรางค์หันไปทางตะวันออก จะมองไม่เห็นภาพดังกล่าวเพราะถูกแสงอาทิตย์บดบัง

 

   

ปรางค์ศรีเทพ และ Sun Temple Modhera ทั้งคู่วางตัวในแนว "วิษุวัต" แต่ต่างกัน ที่ปรางค์ศรีเทพหันไปทางตะวันตก ด้วยมุมกวาด 270 องศา แต่ Sun Temple หันไปทิศตะวันออกด้วยมุม 90 องศา 

 

สุริยะเทพพบที่เมืองศรีเทพ (ซ้าย) สุริยะเทพ Sun Temple Modhera รัฐ Gujarat India

 

 

ปรางค์ศรีเทพ (ซ้าย) Sun Temple Modhera India (ขวา) 

 

Sun Temple Modhera ภาพโดยไกด์ Paradee Netrasarika 

 

ปรางค์ศรีเทพหันหน้าไปทิศตะวันตกในแนวมุมกวาด 270 องศา เพื่อตรงกับ "สุริยะเทพ" และ "ดาวรวงข้าว" ในราศี หญิงสาว (Virgo)

 

 

หากปรางค์ทั้งสองหันหน้าไปทิศตะวันออกแสงอาทิตย์จะบดบังและมองไม่เห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว

 

ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ขึ้นมาก่อนราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าวทางทิศตะวันออก (ที่มองเห็นดาวรวงข้าว Spica ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น เพราะทำ graphic แต่งภาพให้รู้ว่าดาวอยู่ตรงนี้) 

 

ทดลองหันหน้าปรางค์ไปทางทิศตะวันออก และสั่งให้โปรแกรม The Starry Night ลบแสงอาทิตย์ออก จะเห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox)  ...... แต่ยุคนั้นท่านบรรพชนไม่มีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ต้องใช้ "ตาดู หูฟัง เท่านั้น"   

 

 

เมื่อหันหน้าปรางค์ไปทิศตะวันตกดวงอาทิตย์เริ่มอัสดงทำให้มองเห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว

 

เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าวปรากฏชัดเจน

 

             ดาวรวงข้าว Spica มีความสัมพันธ์กับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวเพราะเมื่อเห็นดาวดวงนี้ขึ้นที่ขอบฟ้า เป็นสัญญาณให้รู้ว่าฤดูเก็บเกี่ยวข้าวกำลังจะมาถึงแล้ว การเก็บเกี่ยวจึงเป็นสัญลักษ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และรุ่งโรจน์

 

ดาวรวงข้าว spica ในราศีหญิงสาว (Virgo) มีความสัมพันธ์กับการปลูกข้าว เพราะเมื่อเห็นดาวดวงนี้ก็เป็นการเตือนว่าฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวจะมาถึงในไม่ช้า 

 

 

 

         สรุป

       การเชื่อมโยงความเชื่อ "ราศีหญิงสาว และดาวรวงข้าว ที่นำไปสู่ความรุ่งโรจน์" จากมหาวิหารนาลันทา วิหารพุทธคยา และสถูปที่เมืองสารนาท ประเทศอินเดีย กับเมืองโบราณศรีเทพ       ทำให้มองเห็นเหตุผลของบรรพชน ...... ท่านเหล่านั้นต้องการให้บ้านเมืองมีศิริมงคลและความรุ่งโรจน์ จึงต้องมีสิ่งก่อสร้างอันอลังการเพื่อตอบสนอง และเป็นมรดกให้เราๆท่านๆในปัจจุบันได้ชื่นชมไปอีกนานเท่านาน ..... สาธุ

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ