ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




สะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?

 สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบัน ............ โบราณสถานตัวจริง ...... หรือสร้างขึ้นใหม่?

 สะพานขอม โบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ ตั้งอยู่ที่หน้าประตูเมืองสกลนคร ระหว่างถนนเข้าเมืองและถนนออกจากเมือง

 

 

สะพานขอมอยู่ระหว่างถนนเข้าเมืองและถนนออกจากเมืองสกลนคร

 

           สะพานขอมคืออะไร

              สะพานขอม เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อคมนาคมและทำหน้าที่ทดน้ำชลประทานในยุคขอมเรืองอำนาจ ปัจจุบันพบหลายแห่งในประเทศกัมพูชา แต่ที่ประเทศไทยมีแห่งเดียวที่จังหวัดสกลนคร  

 

 

 

 

                    ปัญหาของทัศนียภาพปัจจุบัน

          สะพานขอมตั้งอยู่ในที่ต่ำและถูกถนนทางหลวงประกบทุกด้านจึงทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 3 ประการคือ

        1.เป็นจุดอับสายตาเพราะอยู่ต่ำกว่าถนนมาก หมดสภาพ landmark ที่สะท้อนอดีตอันเรืองรองของเมืองหนองหารหลวงไปอย่างน่าเสียดาย

        2.น้ำท่วมและน้ำขังเป็นประจำเพราะไม่มีท่อระบายน้ำ มีหญ้าขึ้นหนาทึบทำให้ยากต่อการบำรุงรักษาให้สวยงาม

         3 ขยะจากพิธีกรรมทำให้เกิดความอุจาด ....... หลายท่านได้บุญได้โชคไปแล้วแต่ก็ลืมที่จะเก็บขยะ

 

สะพานขอมอยู่ต่ำกว่าถนนมากจนเป็นจุดอับสายตา และมีปัญหาน้ำท่วมขังทุกปี

 

ขยะจากพิธีกรรม จริงๆบุญก็ได้ไปแล้วน่าจะช่วยรักษาความสะอาดด้วยนะ

 

        ทำไมน้ำจึงท่วมสะพานขอม

          ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2489 เทียบกับ Google Earth ปัจจุบัน คงเห็นได้ขัดเจนว่า "ลำห้วย" แถวนั้นหายไปหมดแล้ว และสะพานขอมก็อยู่ในวงล้อมของถนนแถมยังต่ำกว่าถนนสองเมตรกว่าๆ หนองสนมที่เคยทำหน้าที่อ่างเก็บน้ำก็เหลือเพียง 1/5 ของพื้นที่ ...... จากภาพถ่าย ปี 2489 สะพานขอมมีทางระบายน้ำลงหนองหารอย่างสะดวก ...... ว่ากันตามหลักวิศวกรรมการชลประทาน บรรพชนชาวขอมท่านออกแบบก่อสร้างเมืองได้ถูกต้องแล้วมีทั้งระบบระบายน้ำ สร้างคูเมืองทำหน้าที่เป็น dike ผลักดันน้ำให้ลงหนองหาร อีกทั้งเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามแล้งด้วยบารายและหนองน้ำขนาดใหญ่ ..... แต่ชาวขอมปัจจุบันที่เรียกตัวเองว่า "ไทสกล" รื้อโครงสร้างเหล่านั้นทิ้งหมดแล้วน้ำเลยไม่มีทางไป ...... เข้าตำรา "ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน"     

 

 

 

       ได้รับคำถามจากหลายท่าน ...... สะพานขอมปัจจุบันถูกบดบังในมุมที่ต่ำกว่าถนนมาก ถ้าไม่ตั้งใจจริงๆจะมองไม่เห็น ..... เป็นไปได้ไม้ควรยกให้สูงขึ้นเท่ากับถนนเป็น landmark ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะตั้งอยู่ทางเข้าเมืองเป็นหน้าเป็นตาและสัญลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์แห่งตำนาน "หนองหารหลวง" 

           คำตอบ ........ ทำได้ครับ ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ 

           1.ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร เพื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ.2478 

           2.ประชาคมไทสกลเห็นฟ้องต้องใจ เห็นดีเห็นงามไม่ขัดข้อง

 

        คำถาม ถ้าทั้ง 2 เงื่อนไข "สอบผ่าน" ทางวิศวกรรมโยธามีปัญหาอะไรไม้

           คำตอบ ท่านประสิทธิ์ สาขา ผอ.แขวงการทางสกลนคร 1 ยืนยันว่า "เล่นไม่ยาก" เพราะมีเทคโนโลยีพร้อม ขอเพียง 2 อย่าง คือ ไฟเขียว กับ หมากสะตางค์ อนึ่ง การย้ายโบราณสถานไม่ใช่ของใหม่ เมื่อปี ค.ศ.1964 - 1968 องค์การ UNESCO เคยทุ่มทุนเคลื่อนย้ายวิหารขนาดใหญ่ของท่านฟาโรส์แห่งอียิปส์ Abu Simbel ให้หนีพ้นจากน้ำท่วมเพราะรัฐบาลอียิปส์กำลังจะสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำไนล์โดยรับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

 

    

การเคลื่อนย้านวิหาร Abu Simbel ริมแม่น้ำไนล์ เพราะจะสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดยักษ์

 

        ทัศนียภาพสะพานขอมยกระดับ

          ถ้าทุกอย่างลงตัวทั้งแง่กฏหมาย มติของประชาคม และงบประมาณในกระเป๋าพร้อม เราๆท่านๆจะเห็น landmark แบบนี้ ป้าย cutout ขนาดใหญ่จะเป็นตัวดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และยังอัดแน่นด้วยเทคโนโลยี smart tourism ด้วยระบบ sensor ในรัศมีราวๆ 20 เมตร ทันทีที่พก smartphone ผ่านเข้าไปในบริเวณจะมีข้อมูลอัตโนมัติเด้งขึ้นมาถาม ..... ท่านต้องการทราบเรื่องราว story behind สะพานขอมแห่งนี้ไม้ ถ้าต้องการ click YES ถ้าไม่ต้องการ click NO ถ้าต้องการจะ save or share ก็ทำได้ (เพราะถ้าออกนอกเขตสัญญาณข้อมูลจะถูก delete โดยอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เปลืองหน่วยความจำของเครื่อง)    

 

 

 

 

 

 

 

        "ข้อกฏหมาย" ของกรมศิลปากร

          สะพานขอมได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ ปี พ.ศ.2478 แต่ก็มีประเด็นโผล่ขึ้นมา ...... สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบัน "เป็นของแท้ดั้งเดิม ....หรือของสร้างขึ้นใหม่?" ก่อนที่จะมีข้อยุติทางกฏหมาย เราๆท่านๆลองมาพิจารณาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพราะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าครั้งหนึ่งสะพานขอมถูกกลบลงใต้ดินเพื่อก่อสร้างขยายถนนราวปี 2516 แต่ถูกร้องเรียน จึงขุดขึ้นมาประกอบใหม่ ทำให้หลายท่านสงสัย ........ สะพานขอมอันนี้ "เป็นของแท้ หรือของสร้างใหม่"

 

          พิจารณา 2 กรณี

         1.สะพานขอมถูกถมดินไปแล้วต่อมาเกิดการคัดค้าน ก็ขุดขึ้นมาประกอบใหม่โดยใช้ก้อนหินอันเดิมที่ฝังอยู่ใต้ดิน .......เข้าข่ายการบูรณะเช่นเดียวกันกับโบราณสถานทั่วๆไปที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

        2.ถ้าสะพานขอมอันเดิมยังคงฝังอยู่ใต้ดิน แต่มีการนำศิลาแลงจากแหล่งใกล้เคียงมาสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนต้นฉบับ ........ ในแง่กฏหมายน่าคิดครับเพราะไม่ใช่โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน ต้องขอให้กรมศิลปากรพิจารณา

 

 

กำลังเริ่มถมดินกลบสะพานขอม

 

ถมดินเกือบมิดแล้ว  

 

 

ภาพถ่ายก่อนปี 2516 มีนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนครกำลังมาชมสะพานขอม 

 

                     การพิสูจน์เชิงประจักษ์

         หลายท่านตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องว่า .....สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบันเป็น "ของดั้งเดิม หรือสร้างขึ้นใหม่" ในมุมมองของนักพิภพวิทยาก็ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานที่เป็น "กายภาพ" จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันด้วยแง่มุม "ความเห็น และความเชื่อจากเขาเล่าว่า" โชคดีที่มีภาพถ่ายเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการที่สกลนคร เมื่อ มกราคม พ.ศ.2449 (ภาพถ่ายนี้ได้มาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณ์เมืองสกล ตึกหนึ่ง ม.ราชภัฎสกลนคร) จึงใช้ภาพ 2 แผ่น เป็นวัตถุพยานเพื่อเปรียบเทียบกับสะพานขอมปัจจุบัน

          บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ....... วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเป็นสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เป็นของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า อรดีมายานารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี.. (คัดลอกจากหนังสือ "รอยอดีตสกลนคร" สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, 2540) หนังสือเล่มนี้อยู่ที่ห้องสมุดที่บ้านของผม  

 

 

 

 

 

 

       

 

          1.เปรียบเทียบสภาพทั่วไป ระหว่างภาพถ่ายเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาสกลนคร เดือนมกราคม พ.ศ.2449 กับภาพถ่ายในปัจจุบัน ...... หลายท่านเกิดความรู้สึก "ทำไมดูใหม่จัง" อย่างไรก็ตามการบูรณะโบราณสถานใช้วิธีสากลที่เรียกว่า Anastylosis คือทำเครื่องหมายก่อนรื้อถอนว่าก้อนไหนคืออะไรอยู่ตรงไหน เพื่อเวลาประกอบใหม่จะได้ถูกที่ถูกทาง หมายความว่าหินทุกก้อนเป็นของแท้ดั้งเดิมเพียงแต่ยกขึ้นประกอบใหม่ ...... ส่วนที่ขาดหายไปหาไม่ได้จริงๆก็สามารถทำเลียนแบบขึ้นใหม่ แต่ต้องใช้สีหรือเนื้อวัสดุที่ไม่เหมือนเดิมเพื่อให้รู้ว่า "นี่คือส่วนที่ทำขึ้นใหม่" กฏเกณฑ์นี้เป็นข้อตกลงของวงการโบราณคดีสากล ผมได้ทราบข้อนี้จากการไปดูงานที่ปีรามิดเม็กซิโก  

 

 

           2.เปรียบเทียบลักษณะของวัสดุ

 

ภาพถ่ายต้นฉบับเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จ

 

 

ภาพทั้งคู่เป็น "ศิลาแลง" แต่ต่างกันชัดเจนที่รูปร่างของหิน สะพานขอม พ.ศ.2449 มีการกัดกร่อนและสึกหลอโดยเฉพาะอย่างที่ขอบก้อนหินจะออก"ลักษณะทู่ๆ"  ส่วนสะพานขอมปัจจุบันก้อนหินทุกก้อนเป็น "เหลี่ยมคมชัดเกินไป"    

 

          3.โครงสร้างไม่เหมือนกัน

         โครงสร้างสะพานมีองค์ประกอบหลักๆ 3 อย่าง คือ ฐานรากหรือเสา เรียงแผ่นหินทับกันเป็นตัวสะพาน และราวสะพานอยู่ข้างบนสองข้าง

 

ภาพต้นฉบับเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเมื่อ พ.ศ.2449

 

 

สะพานขอมต้นฉบับมีการเรียงก้อนหินเป็นตัวสะพานจากฐานราก 5 ชั้น แต่สะพานขอมปัจจุบันมีเพียง 4 ชั้น

 

บันไดสะพานขอมต้นฉบับมี 4 ขั้น แต่ปัจจุบันมี 3 ขั้น

 

ของ

การเรียงทับซ้อนของก้อนหินในแนวหน้าตัดเริ่มจาก Base ของตัวสะพานก็แตกต่างกันมาก

 

ก้อนหินราวสะพานต่างกันสิ้นเชิง ต้นฉบับเป้นหินสองก้อนทับกัน แต่ของปัจจุบันเรียงหินก้อนเดียวและรูปร่างก็ไม่เหมือน ของเดิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปัจจุบันเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู  

 

          4.พิรุธที่รอยแตกของหิน

          โบราณสถานก็เหมือนกับพระเครื่อง ต้องมี "ตำหนิที่เกิดขึ้นจากต้นฉบับ" เซี่ยนพระจะใช้ตำหนิที่คนทั่วไปมองข้ามเป็นตัวชี้ว่า "ของแท้ หรือเทียม" พนักงานสอบสวนก็ใช้ตำหนิบนหัวกระสุนเพื่อยืนยันว่ามาจากกระบอกปืนอันเดียวกัน นักพิภพวิทยาอย่างผมก็มาแบบเดียวกันครับ มองหา "ตำหนิ" ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่สังเกต ..... วิธีแบบนี้ภาษาอีสานเรียกว่า "บักสี หาเหตุ" 

 

 

สะพานขอมต้นฉบับ พ.ศ.2449 มีรอยแตกที่แผ่นหินบนฐานรากอันที่สอง แต่สะพานขอมปัจจุบันไม่มีรอยดังกล่าว

 

             5.ฐานรากของสะพานต่างกันชัดเจน

 

 

ฐานรากอันแรกของสะพานขอมต้นฉบับ (วงกลมสีแดง) กับสะพานขอมปัจจุบัน "ไม่เหมือนกัน" และเนื้อว้สดุก็ต่างกันสิ้นเชิง เห็นได้ว่าต้นฉบับมีสภาพผุกร่อนแต่ของปัจจุบันยังเหมือนใหม่ซิงๆ 

 

 เปรียบเทียบภาพถ่ายก่อนปี 2516 (เข้าใจว่าถ่ายโดยนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนคร) กับภาพถ่ายของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปี 2449 ยังมีสภาพใกล้เคียงกัน เช่น ตำหนิรอยแตกที่ก้อนหินเหมือนกัน 

 

นำภาพถ่ายก่อนปี 2516 มีรอยแตกที่ก้อนหินเหมือนกับภาพถ่ายของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปี 2449 แต่ภาพถ่ายปัจจุบันไม่เห็น "รอยแตก" ที่ก้อนหิน แสดงว่าสะพานขอมปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ภายหลังจากปี 2516          

        บทสรุป

        การนำเสนอด้วยภาพถ่ายเชิงประจักษ์น่าจะช่วยให้เราๆท่านๆตัดสินใจด้วยตนเองว่าอะไรคืออะไร

   

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ