ปราสาทบ้านปรางค์
มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
ปราสาทบ้านปรางค์
โบราณสถานสร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ กรมศิลปากรให้ข้อมูลว่าเป็นศาสนาสถานฮินดูสร้างในยุคขอมปาปวนตอนปลายต่อเชื่อมกับยุคขอมนครวัดตอนต้น รางพุทศตวรรษ ที่ 17 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านปรางค์นคร หมู่ 14 ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ณ พิกัดภูมิศาสตร์ N 15 29 36 E 102 05 43 ใช้วัสดุศิลาแลงผสมกับหินทราย ของเดิมเป็นปราสาท 3 หลัง ในแนวทิศเหนือ - ใต้ บนฐานเดียวกัน แต่เหลือให้เห็นเพียงปราสาทองค์กลาง อนึ่ง ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดเชิงโบราณคดีก็สามารถค้นหาบทความของกรมศิลปากรและเอกสารต่างๆใน Google ...... บทความนี้จะฉีกแนวไปที่ประเด็นดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์การท่องเที่ยว "เชิงวิทยาศาสตร์ และศาสตร์สายมู"
กรมศิลปากรอธิบายว่าเดิมปราสาทหลังนี้มีทั้งหมด 3 หลัง
เรียงตัวแนว เหนือ - ใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงองค์กลางหลังเดียว
ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทบ้านปรางค์ ตำบลบ้านปรางค์ อ.คง จังหวัดนครราชสีมา
มิติดาราศาสตร์ และศาสตร์แห่งความเชื่อ
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจหลักการของมุมกวาดทางดาราศาสตร์ (azimuth) โดยเริ่มต้น ณ ทิศเหนือ พิกัด 00 องศา เมื่อกวาดไปทางขวามือถึงทิศตะวันออก เป็น 90 องศา กวาดต่อไปทางทิศใต้เป็น 180 องศา และกวาดต่อไปถึงทิศตะวันตก เป็น 270 องศา กวาดมาถึงทิศเหนืออีกครั้ง เป็น 360 องศา แต่ทางดาราศาสตร์เรียกว่า 00 องศา อนึ่ง "อาซิมุส" (Azimuth) มาจากภาษาอารบิกแปลว่า "มุม" เพราะนักเดินเรือที่เก่งในสมัยโบราณเป็นชาวอาหรับ พวกเขาใช้ตำแหน่งดาวเป็นตัวช่วยบอกทิศทางและให้ค่าทางคณิตศาสตร์เป็น "องศา" คนอังกฤษจึงเอาภาษาอารบิกมาใช้กับวิชาดาราศาสตร์
ไดอะแกรมแสดงพิกัดมุมกวาด (Azimuth)
การลงพื้นที่สำรวจตัวปราสาทอย่างละเอียดเมื่อ 10 - 12 ตุลาคม 2561 เพื่อเตรียมข้อมูลบรรยายแก่คณะนักท่องเที่ยวนำโดยคุณเพชรดา ศรชัยไพศาล นายกสมาคมภาษาเพื่อการศึกษาอาชีพและธุรกิจนำเที่ยว นักเรียนและชาวชุมชนบ้านปรางค์นคร คืนวันที่ 11 ตุลาคม ..... ได้พบหลักฐานเชิงดาราศาสตร์และโบราณคดีที่น่าสนใจ กล่าวคือ
1.ปราสาทหลังนี้หันหน้าตรงเข้าหาทิศตะวันออกแท้ (due east) ที่มุมกวาด 90 องศา ดังนั้น ช่วงวันที่ 20 - 22 มีนาคม ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ตรงกับวันปีใหม่ในปฏิทิน "มหาศักราช" (saka calendar) ซึ่งอาณาจักรขอมใช้ปฏิทินฉบับนี้อย่างแพร่หลาย ยามเช้าตรู่แสงอาทิตย์จะส่องตรงเข้าไปที่กลางประตูขององค์ปราสาท ขณะเดียวกันดวงอาทิตย์อัสดงจะตรงกับประตูหลอกด้านทิศตะวันตก
หน้าตาของปฏิทินมหาศักราช (saka calendar) อาณาจักรขอมรับอิทธิพลมาจากอินเดีย
วันที่ 21 หรือ 22 ของปฏิทินสากลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 เดือนไจตระ (Chaitra month) เป็นปีใหม่
และปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ปฏิทินมหาศักราชมีหลักเกณฑ์ 365 วัน ในปีปกติ (22 มีนาคม)
และ 366 ปีอสุรกปฏิทิน (21 มีนาคม) อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วง "กลางวันยาว"
ในหนึ่งเดือนมี 31 วัน และช่วง "กลางวันสั้น" แต่ละเดือนมี 30 วัน ส่วนการปรับชดเชยทุกๆ 4 ปี
จะให้อยู่ในเดือนไจตระ มี 30 และ 31 วัน
ปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ ณ ปราสาทปรางค์ ปีละ 4 คร้ัง ได้แก่
1.วสันตวิษุวัต (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนฤดูใบไม้ผลิ 20 - 21 มีนาคม
2.กลางวันเท่ากับกลางคืนฤดูใบไม้ร่วง ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) 22 - 23 กันยายน
3.กลางวันยาวที่สุด ครีษมายัน (summer solstice) 21 - 22 มิถุนายน
4.กลางคืนยาวที่สุด เหมายัน (winter solstice) 21 - 22 ธันวาคม
"รอยขีด" บนพื้นหินทรายที่ส่วนหน้าของปราสาทแสดงพิกัดดาราศาสตร์
มุมกวาด (azimuth) 90 องศา หมายถึงทิศตะวันออกแท้ (due east)
ตรงกับดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ปีละ 2 ครั้ง
2.ตัวปราสาทยังทำมุมกับทิศ เหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก อย่างมีนัยสำคัญ
ทิศเหนือ
ในทางดาราศาสตร์ ทิศเหนือมีพิกัดที่มุมกวาด 00 องศา หรือ azimuth 00
ทิศตะวันตก
พิกัดดาราศาสตร์มีค่ามุมกวาด 270 องศา azimuth 270
ทิศใต้
พิกัดดาราศาสตร์มีค่ามุมกวาด 180 องศา หรือ azimuth 180
แสงอาทิตย์เช้าตรู่ในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต
ภาพเหล่านี้เป็นผลงานยอดเยี่ยมของมือกล้องอาชีพและนักเขียนสารคดีชื่อดัง คือ "คุณอุ้มสี ธีรมา วิเสโส" ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ ...... แสงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ของปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ส่องตรงเข้าประตูปราสาท ทำให้พระพุทธรูปสว่างขึ้นมาท่ามกลางความมืดเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งสำหรับ "ศาสตร์แห่งความเชื่อ" หรือเราๆท่านๆใช้วลีเด็ดว่า "สายมู"
นัยว่าพลังจากสุริยะเทพในวันสำคัญแห่งปฏิทินมหาศักราชจะเป็นศิริมงคลยิ่ง
การนั่งสมาธิรับพลังสุริยะเทพในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต
การแสดงย้อนยุคสะท้อนความเชื่อของบรรพชนในอดีต
ปรากฏการณ์ "สุริยันจันทรา" ณ บารายสวรรค์
อีกหนึ่งเสน่ห์ของดาราศาสตร์ ณ บารายสวรรค์ ...... ทุกๆขึ้น 14 ค่ำ ดวงอาทิตย์อัสดง (sunset) กับ ดวงจันทร์เต็มดวง (full moon) จะอยู่ในระนาบเดียวกันบนขอบท้องฟ้า หากท่านผู้ชมไปยืนอยู่ที่จุดชมวิวบนสะพานไม้ไผ่กลางบารายจะเห็น "ภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในน้ำอีก 2 ดวง" ภาษาการท่องเที่ยวเรียกว่า Sun - Moon - Lake ดังตัวอย่าง
ไดอะแกรมแสดงการเกิดปรากฏการณ์ "สุริยันจันทรา" ขึ้น 14 ค่ำ ทุกเดือน
เย็นวันที่ 31 กรกฏาคม 2566 จะเห็นปรากฏการณ์ "สุริยันจันทรา" ในบารายสวรรค์
ถ้ายืนอยู่ ณ จุดชมวิวกลางบาราย ดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศตะวันออก
ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 119 องศา ขณะเดียวกันดวงอาทิตย์อัสดง
ที่ฝั่งตรงข้ามที่มุมกวาด 286 องศา
กำหนดการชม "สุริยันจันทรา" ในรอบปี 2566
31 กรกฏาคม
30 สิงหาคม
28 กันยายน
28 ตุลาคม
26 พฤศจิกายน
26 ธันวาคม
มหัศจรรย์ ...ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "บารายสวรรค์" ปีละ 4 ครั้ง
โดยปกติทั่วไปปราสาทขอมกับ "บาราย" (Baray) ต้องมีความสัมพันธ์กันเชิงเรขาคณิต หรือ หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ..... แต่ที่ปราสาทบ้านปรางค์ ตัวปราสาท กับ บาราย หันหน้าคนละทิศ ..... ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ? .... เป็นไปได้ไม้ ปราสาท กับ บาราย สร้างคนละยุคสมัย? ..... หรือ มีอะไร Unseen?
การวางตัวของบารายสวรรค์ในแนวมุมกวาด 70 องศา (azimuth 70) ....... สอดคล้องกับแนว ตะวันออก - ตะวันตก ของปราสาทพิมาย ดังนั้น ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก ในวันสำคัญของปราสาทพิมาย ก็เหมือนกันเป๊ะ ...... บังเอิญ?
อนึ่ง ท่านที่เชื่อเรื่อง "ราศี" สามารถมารับแสงสุริยาเช้าตรู่ตรงกับวันเริ่มต้นราศี "คนคู่" (zodiac gemini) 22 พฤษภาคม และ "ราศีสิงห์" (zodiac leo) 23 กรกฎาคม ..... โดยมาพัก homestay ที่ชุมชนบ้านปรางค์ ท่านจะได้พลังจากศาสตร์แห่งความเชื่อ หรือที่นิยมเรียกกันว่า "สายมู" และสร้างรายได้แก่ชุมชนในโอกาสเดียวกัน
บารายสวรรค์ กับตัวปราสาทบ้านปรางค์ หันหน้าไปคนละทิศ
ตัวปราสาทหันหน้า 90 องศา แต่บารายสวรรค์หันหน้า 70 องศา
บารายสวรรค์ ของปราสาทบ้านปรางค์ วางตัวในแนว
ตะวันออก - ตะวันตก ด้วยมุมกวาด 70 (azimuth 70)
บารายสวรรค์ กับปราสาทพิมาย วางตัวแนวตะวันออก - ตะวันตก
เหมือนกันเป๊ะ ทำให้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในวันสำคัญ
ที่ปราสาทพิมายก็เหมือนกับที่บาราย
ปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ที่ปราสาทพิมาย ปีละ 4 ครั้ง
ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ กึ่งกลางของบารายสวรรค์ ปีละ 2 ครั้ง
ชมได้ ณ จุดชมวิวกลางสะพาน ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม
เป็น "ราศีคนคู่" (zodiac gemini) และ 23 กรกฎาคม "ราศีสิงห์"
(zodiac leo) เราๆท่านๆที่มีความเชื่อในเรื่อง "ราศี"
สามารถมารับพลังในราศีของท่านอย่างเต็มอิ่มโดยมานอนค้างคืน
homestay ที่บ้านปรางค์ เพื่อตื่นเช้าตรู่ในวันสำคัญของท่าน
ชมอาทิตย์อัสดง กึ่งกลางบารายสวรรค์ ปีละ 2 ครั้ง
วันที่ 29 มกราคม และ 14 พฤศจิกายน
เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นอกห้องเรียน .......... ปฏิบัติการกับของจริง
ปราสาทบ้านปรางค์เป็นตำราเรียนที่ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง ....... ด้วยคำถามที่ท้าทาย ........ ถ้านักเรียนมีเพียงอุปกรณ์พื้นๆ เช่น ปากกา ดินสอ วงเวียน ไม้บรรทัด กระดาษ และไม้แท่งเล็กๆ จะสามารถค้นหาทิศ "ตะวันออกแท้" เพื่อวางแนวปราสาทให้ตรงกับทิศนี้ได้หรือไม่ บรรพชนเมื่อพันปีที่แล้วท่านเหล่านั้นไม่มี GPS ไม่มีเข็มทิศ ไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ แต่สามารถวางแนวปราสาทได้ตรงเป๊ะ ...... ทำได้อย่างไร?
นี่คือ "บทพิสูจน์" ....... ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน
การหาแนวทิศตะวันออกแท้ด้วยวิธีคณิตศาสตร์โบราณที่เรียกว่า Shadow Plot
เริ่มต้นด้วยการใช้แท่งตะปูหรือแท่งไม้ ปักให้ได้ฉากกับพื้น
และทำเครื่องหมายที่ปลายเงาทุกๆ 10 นาที สังเกตว่าปลายเงา
จะตัดกับวงกลม ณ ที่ใดที่หนึ่ง
ทำเครื่องหมายที่ปลายเงาทุกๆ 10 นาที ตั้งแต่ 09:00 จนถึง 15:00 น.
จะได้เส้นโค้ง (curve) ทำเครื่องหมาย (สีแดง) ณ จุดที่เส้นของปลายเงาตัดกับวงกลม
ลากเส้นตรงผ่านจุดทั้งสองจะได้แนว ตะวันออก - ตะวันตก
เมื่อได้แนวเส้นตรง ตะวันออก - ตะวันตก ลากเส้นตั้งฉากก็จะได้ แนวเหนือ - ใต้
วางแปลน (layout of floorplan) ตัวปราสาทให้สอดคล้องกับทิศทั้งสี่
ก่อสร้างตัวปราสาทให้ตรงกับแปลน
พิสูจน์ กับของจริงที่ปราสาทบ้านปรางค์
ทดลองใช้เส้นตรงที่ขีดอยู่บนพื้นหินทรายเป็น "บททดสอบ" และปฏิบัติการ Shadow Plot
เส้นตรงบนพื้นหินทรายใกล้กับทางขึ้นปราสาทที่บรรพชนทำไว้เมื่อพันปีที่แล้ว
ตั้งสมมุติฐาน ...... เป็นแนว ตะวันออก - ตะวันตก จริงหรือ?
ปฏิบัติการ Shadow Plot ตั้งแต่ Step 1 จนถึง Step 5
ทำเครื่องหมายที่ปลายเงาทุกๆ 10 นาที เริ่มตั้งแต่ 09:00 - 15:00 จะได้เส้นโค้ง
สร้างวงกลมโดยศูนย์กลางอยู่ที่แท่งไม้ วงกลมจะตัดกับเส้นโค้ง ณ จุด 2 แห่ง
ทำเครื่องหมาย ณ จุดที่วงกลมตัดกับเส้นโค้ง
ลากเส้นตรงระหว่าง 2 จุด จะได้แนวตะวันออก - ตะวันตก
ลากเส้นตั้งฉากจะได้แนวทิศ เหนือ - ใต้
ตรวจสอบ .......เส้นตรง East - West ที่สร้างขึ้นจากการทำ Shadow Plot ขนานกับรอยขีด หรือไม่? และเส้นตรง North - South ตั้งฉากกับรอยขีดไม้?
บรรยายและสาธิตการออกแบบปราสาทปรางค์
23 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ณภัค คณารักษ์เดโช (อาจารย์ฝน) คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏนครราชสีมา ได้เป็นเจ้าภาพจัดโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนโคราช ในการนี้มีบรรยายพิเศษให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวบ้านปรางค์นคร อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
ได้บรรยายที่มาของปราสาทปรางค์และสาธิตวิธีการออกแบบให้ตัวปราสาทหันหน้าตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัติ" ที่มุมกวาด 90 องศา และวิธีการหาแนวระนาบเพื่อวางฐานรากให้ได้ระดับกับพื้นอย่างมั่นคง
วิธีหาทิศทั้งสี่ E - W - N - S ด้วยเงาดวงอาทิตย์ (shadow plot)
เริ่มต้นด้วยการตั้งหลักไม้ให้ตั้งฉาก และใช้ตะปูตอกลงในดินที่ปลายเงาทุก 20 นาที
ทำเครื่องหมายที่ปลายเงาด้วยตะปูทุก 20 นาทีตั้งแต่ 09:00 น. จนถึง 15:00 น. จะได้เส้นโค้ง แสดงถึงการเคลื่อนที่ของเงาดวงอาทิตย์ 23 กุมภาพันธ์ 2567 มีลักษณะโค้งจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก
วาดวงกลมโดยใช้หลักไม้เป็นจุดศูนย์กลาง เส้นรอบวงจะตัดกับความโค้งของเงาดวงอาทิตย์ 2 จุด ลากเส้นตรงระหว่างทั้งสองจุด
ได้แนว E - W และลากเส้นตั้งฉากจะได้ N - S
วางฐานของปราสาทให้สอดคล้องกับทิศ E - W และ N - S
การวางฐานปราสาทให้ได้ระดับกับพื้น
การหาแนวระนาบสามารถทำได้ง่ายๆด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน ประกอบโครงไม้สำหรับขึงเชือกแนวระนาบและเชือกห้อยลูกดิ่งในแนวตั้ง ในการนี้ต้องปรับเชือกแนวระนาบให้ "ได้มุมฉาก" กับเชือกห้อยลูกดิ่ง ถ้าเชือกแนวระนาบได้มุมฉากกับแนวดิ่งทุกจุด ...... แสดงว่า "นี่คือแนวระนาบ" ที่ถูกต้อง
ปราสาทบ้านปรางค์ ....... สร้างยังไม่เสร็จ?
ปราสาทขอมทั่วไปมีรูปแกะสลักตามที่ต่างๆไม่มากก็น้อย ผู้สร้างจะรอให้ตัวปราสาทเส็จก่อนและแกะสลักตามหลัง แต่ปราสาทหลังนี้ไม่พบร่องรอยภาพแกะสลัก เหมือนกับปราสาทตาควายที่จังหวัดสุรินทร์ติดชายแดนประเทศกัมพูชา ....... ผู้รับเหมา "ทิ้งงาน"?
ขั้นตอนการก่อสร้งปราสาทขอม ช่างแกะสลักจะเป็นงานงวดสุดท้าย
ปราสาทตาควาย จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทบ้านปรางค์ จังหวัดนครราชสีมา ทั้งคู่ยังไม่มีการ "ส่งผลงานงวดสุดท้าย" ....... หรือว่าพวกเขาจะย้อนเวลากลับมาอีกครั้งหนึ่ง