Sakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ถาม ...... Sakon Hempmade คืออะไร?
ตอบ ..... Hemp หรือ Industrial Hemp (Cannabis sativa) เป็นพืชที่ให้เส้นใยสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ภาษาไทยตั้งชื่อพืชชนิดนี้ว่า "กัญชง" ซึ่งไม่ค่อยจะเป็นมงคลนักเพราะฟังแล้วไปเหมือนกับ "กัญชา" ทำให้กฏหมายเหมาเข่งเป็นยาเสพติดนานหลายปี ปัจจุบันกฏหมายอเมริกันและกฏหมายไทยปลดพืชชนิดนี้ออกจากบัญชียาเสพติดแล้ว ทำให้อุตสาหกรรมเส้นใยเริ่มต้นมิติใหม่อีกครั้งหลักจากที่ต้องหลบๆซ่อนๆและเลี่ยงบาลีมาหลายปี คำว่า Sakon Hempmade หมายถึงอุตสาหกรรมระดับชุมชนของไทสกลที่ใช้เส้นใยจากเฮ้มพ์ ......... ต่อไปนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า "เฮ้มพ์" เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับ "กัญชา" อนึ่ง ภาษาอังกฤษ Hemp ต่างอย่างสิ้นเชิงกับ Marijuana ที่แปลว่ากัญชา
ถาม .......... ทำโครงการนี้เพื่ออะไร?
ตอบ ......... อยากเห็นมิติใหม่ของธุรกิจสิ่งทอที่เรียกว่า "ผ้าเส้นใยเฮ้มย้อมครามธรรมชาติ" ผลิตเป็นเสื้อผ้าและเครื่องใช้ต่างๆ สร้างรายได้แก่ชุมชนตั้งแต่ ปลูก แปรรูป ทอผ้า ย้อมคราม ตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตเครื่องใช้ และพัฒนาต่อยอดไปถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง เช่น อาหารเสริมจากเฮ้มพ์ที่มีสารอาหารคุณภาพดี ยาสมุนไพรจาก CBD แผ่นฉนวนกันความร้อนจากก้านลำต้น (hemp hurd) ฯลฯ ...... ที่สำคัญผลิตภัณฑ์จากเฮ้มพ์ เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งจนได้ชื่อว่า Carbon Negative
สร้างอาชีพแก่ชุมชนและผู้ประกอบการ
ครามและเฮ้มพ์เป็นพืชคู่สมพงศ์ ครามให้สีธรรมชาติ เฮ้มพ์ให้เส้นใยธรรมชาติ
ถาม ........ เฮ้มพ์ เป็นพืชชนิดใหม่สำหรับภาคอีสาน?
ตอบ ........ หลักฐานทางโบราณคดีจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 ปี ในชื่อ "ยุคบ้านเชียง" พบว่ามีเส้นใยเฮ้มพ์ติดอยู่กับเครื่องประดับห่วงคอสำริด และพบอุปกรณ์การผลิตเส้นใยลักษณะ "แวดินเผา" ...... ดังนั้น เส้นใยเฮ้มพ์ก็อยู่กับบรรพชนมานานนับพันปี
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงมีหลักฐานแสดงว่าบรรพชนยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการใช้เส้นใยเฮ้มพ์ในการทอผ้า
โบราณวัตถุ "แวดินเผา" เป็นเครื่องมือสำหรับปั่นเส้นใยจากพืช เช่น เฮ้มพ์ และฝ้าย
"เส้นใยเฮ้มพ์" ติดอยู่กับโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคบ้านเชียง
หลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ยืนยันว่า "เฮ้มพ์" (hemp) อยู่คู่กับมนุษย์มานานนับพันปี
ถาม ...... เฮ้มพ์เป็น Carbon Negative หมายถึงอะไร?
ตอบ ...... เฮ้มพ์ เป็นพืชที่มีคุณสมบัติการดูดซับก๊าซ Carbon Dioxide จากอากาศ ได้มากถึง 1.6 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซชนิดนี้ในขั้นตอนขบวนการแปรรูปเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เรียกง่ายๆว่า "ดูด มากกว่า ปล่อย" อนึ่งก๊าซ Carbon Dioxide เป็นหนึ่งในสาเหตุของ "เรือนกระจก" ทำให้โลกต้องเผชิญกับ "ภาวะอากาศแปรปรวน" (climate change) รัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามกับองค์การสหประชาชาติในข้อตกลง Climate Chage Agreement เมื่อปี 2021 โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซนี้ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050
เฮ้มพ์ ดูดซับ Carbon Dioxide ได้มากถึง 1.6 เท่า ของน้ำหนักตัว
จึงได้ชื่อว่า Carbon Negative
รัฐบาลไทยร่วมลงนามข้อตกลง Climate Change Agreement 2021
เฮ้มพ์สามารถดูดซับ Carbon Dioxide ได้มากถึง 1.63 ตัน ต่อน้ำหนักของต้นเฮ้ม 1 ตัน
ถาม .....ทำไม สโมสรโรตารีสกลนคร เข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้
ตอบ ..... สโมสรโรตารีสกลนคร เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ในเครื่อข่ายของโตารีสากล (Rotary International) มีเป้าหมายที่จะทำงานเพื่อมวลมนุษย์ใน 7 หัวข้อ และ 2 หัวข้อในนั้น คือ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Supporting the Environment) และ พัฒนาอาชีพแก่ชุมชน (Community and Economic Development) อนึ่ง สโมสรโรตารีสกลนคร ยังมีโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Area of Focus เช่น โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ โครงการแม่และเด็ก แต่ในบทความนี้ขอเน้นเรื่อง Sakon Hempmade เป็นหลัก ครับ
เป้าหมาย 7 ข้อ ของโรตารีสากล สโมสรโรตารีสกลนครเลือกหยิบ
2 ใน 7 คือ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาอาชีพชุมชน
เฮ้มพ์มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าฝ้ายหลายประการ ในประเด็นการใช้สารเคมี ความต้องการน้ำ และประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยพื้นที่
ความเป็นมาของโครงการ Sakon Hempmade
ประเทศไทยเลิกปลูกฝ้ายเชิงพาณิชย์มานานหลายปีแล้ว เพราะสู้กับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ไหว ต้องนำเข้าฝ้ายดิบจากต่างประเทศมาเข้าโรงงานทอผ้า ประเทศที่ปลูกฝ้ายเชิงพาณิชย์ เช่น สหรัฐอเมริกา ใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) จึงไม่ต้องใช้สารเคมี ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชแบบนี้แต่อนุญาตให้นำเข้าผลผลิตและผลิตภัณฑ์ อนึ่ง ฝ้ายที่ปลูกในประเทศเป็นพันธ์ุพื้นเมืองไม่ต้องใช้สารเคมีแต่ไม่สามารถให้ผลผลิตเชิงพาณิชย์แก่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ดังนั้น จึงต้องนำเข้าฝ้ายดิบเป็นมูลค่าปีละหมื่นกว่าล้านบาทเพื่อป้อนโรงงานทอผ้าในประเทศ
จังหวัดสกลนครมีชื่อเสียง "ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามธรรมชาติ" และได้รับการประกาศให้เป็น "เมืองแห่งหัตกรรมโลกแห่งสีครามธรรมชาติ" (World Craft City for Natural Indigo) แต่ยังพูดไม่ค่อยเต็มปากนักเพราะวัตถุดิบผ้าฝ้ายที่ใช้ย้อมสีครามมาจากการ "นำเข้าฝ้าย GMO" ทำให้ดูขัดๆกับคำว่า "ธรรมชาติ" ในฐานะสมาชิกสโมสรโรตารีสกลนครมีความเห็น ....... ต้องผลิตวัตถุดิบในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีธรรมชาติ เฮ้มพ์ จึงเป็นพืชเส้นใยทางเลือกที่มีความเป็นไปได้สูงมาก ด้วยเหตุผล
1. เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือใช้พืชชนิดนี้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องใช้มาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคน
2. ไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหมือนฝ้าย และใช้น้ำน้อยกว่าฝ้าย 4 - 5 เท่า ใช้เวลาการเพาะปลูกเพียง 4 เดือน ให้เส้นใยมากกว่าฝ้ายเมื่อคิดเทียบกับพื้นที่ 1 ไร่
3. เฮ้มพ์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังที่กล่าวข้างต้น
4. สามารถย้อมสีครามธรรมชาติได้ง่าย
5. ได้ทดลองใช้อุปกรณ์พื้นบ้านในการทอผ้าก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก
6. เฮ้มพ์ ไม่ใช่ของแปลกในระดับสากล หลายประเทศใช้ผลิตภัณฑ์นี้มาอย่างยาวนาน เพียงแต่ช่วงหนึ่งถูกเหมาเข่งให้ไปรวมกับกัญชา และถูกห้ามผลิต แต่ปัจจุบันหลายประเทศมีความเข้าใจแล้วว่า เฮ้มพ์ ไม่ใช่ กัญชา สหรัฐอเมรืกาได้ออกกฏหมายปลดเฮ้มพ์ออกจากยาเสพติดเมื่อปี 2018
เฮ้มพ์ เปรียบเทียบกับ ฝ้าย (Hemp VS Cotton)
ประเทศไทยเลิกปลูกฝ้ายเชิงพาณิชย์มานานหลายปีแล้ว เพราะสู้สารเคมีไม่ไหวเนื่องจากมีศัตรูตัวสำคัญคือ "หนอนเจาะสมอฝ้าย" แต่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย ออสเตเรีย ปลูกได้ดีเพราะใช้เทคโนโลยี "ดัดแปลงพันธุกรรม" (GMO) ซึ่งประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ทำแบบนั้น เรายอมอนุญาตให้นำเข้า "ผลผลิต" จากพืช GMO ได้ เช่น เส้นใยฝ้าย เมล็ดถั่วเหลือง (ผลิต soymilk) กากถั่วเหลือง (อาหารสัตว์) ข้าวโพดอาหารสัตว์
แผนงานโครงการ Sakon Hempmade
แบ่งออกเป็น 2 Phases
Phase 1 ผลิตเมล็ดพันธ์ุ ปลูก 2 รอบ ระหว่าง 30 กรกฏาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
Phase 2 ผลิตเส้นใย เริ่ม 1 เมษายน 2566
สโมสรโรตารีสกลนคร เปิดฉากโครงการด้วยการปลูกเฮ้ม ณ ฟาร์มดงไร่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2565 โดยตั้งเป้าผลิตเมล็ดพันธ์ุเป็นอันดับแรก เพราะปัญหาหลักของพืชชนิดนี้คือ "เมล็ดพันธ์ุหายาก และราคาแพง"
Phase 1 ผลิตเมล็ดพันธ์ุ
ปลูกรอบแรก 30 กรกฏาคม 2565 เก็บผลผลิต 30 พฤศจิกายน 2565
สมาชิกสโมสรโรตารีสกลนครปลูกเฮ้มเป็นปฐมฤกษ์ 30 กรกฏาคม 2565
เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของ อ.วาริชภูมิ สกลนคร
เริ่มติดดอกราวกลางเดือนตุลาคม 2565
เก็บเกี่ยวผลผลิตกลางเดือนพฤศจิกายน 2565
เมล็ดพันธ์ุจากการปลูกรอบแรก
ปลูกรอบสอง
เพาะกล้า 1 ธันวาคม 2565 ย้ายกล้าลงแปลง 25 ธันวาคม 2565 และเก็บเมล็ดพันธ์ุกลางเดือนมีนาคม 2566
เพาะกล้าตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2565
ย้ายกล้าลงแปลง 25 ธันวาคม 2565
สภาพแปลง 7 กุมภาพันธ์ 2566
7 กุมภาพันธ์ 2566 อยู่ในระยะติดดอก โดยให้แมลง "ชันโรง" ช่วยผสมเกสร
ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียและการติดเมล็ดพันธ์ุ
เก็บเมล็ดพันธ์ุกลางเดือนมีนาคม 2566
Phase 2
ปลูกเพื่อผลิตเส้นใย (fiber) และแปรรูปเป็นผ้าและผลิตภัณฑ์ เพาะกล้า 16 มีนาคม 2566 ย้ายปลูก 30 มีนาคม 2566 เก็บเกี่ยว 16 มิถุนายน 2566
เพาะกล้า 16 มีนาคม 2566
ย้ายกล้าลงแปลงปลูก 30 มีนาคม 2566
ช่วงการเจริญเติบโต
เก็บเกี่ยว 16 มิถุนายน 2566
ส่งมอบผลผลิตให้น้องแมนเจ้าของธุรกิจ "Mann Craft" เพื่อทำการแปรรูป
สีที่สกัดจากใบเฮ้มพ์ "มีสีเหลืองสดใส" นำไปย้อมผ้าได้สวยงาม
ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการผลิตเมล็ดพันธ์ุและการผลิตเส้นใย
สวนดงไร่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร ได้พบประสบการณ์และบทเรียน ดังนี้
1. เฮ้มไม่ชอบน้ำขังหรือแฉะ
2. การจัดการวัชพืชในช่วงฤดูฝนค่อนข้างยาก
3. การผลิตเมล็ดพันธ์ุคือกำหนดให้เริ่มติดดอก "ช่วงกลางวันสั้น" โดยปลูกระหว่าง กรกฏาคม - มีนาคม
4. ฤดูกาลที่น่าจะเหมาะสมต่อการผลิตเส้นใย คือ "ช่วงกลางวันยาว" มีนาคม - ต้นกันยายน
ปลูกในช่วงฤดูฝนต้องมีการจัดระบบระบายน้ำให้ดีเพราะเฮ้มพ์ไม่ชอบน้ำขัง
แปลงเฮ้มในฤดูฝน VS ฤดูแล้ง ผิดกันมาก
แผนการปลูกเฮ้มพ์เพื่อเมล็ดพันธ์ุและผลิตเส้นใย เฮ้มพ์เป็นพืช "ไวต่อช่วงแสงอาทิตย์"
(photosensitive plant) จะเริ่มออกดอกเมื่อถึงช่วงกลางวันสั้น แสงอาทิตย์น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
Hemp เป็นอาหารชั้นดี โปรตีนสูง และมี Omega 3
อาหารจากเฮ้มพ์กำลังเริ่มเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา ช่วงที่ผมมาอยู่ที่เมือง Ankeny Iowa State ซื้อมากินทุกวันเป็นอาหารเช้าในรูปแบบ cereal เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้อาหารจากสัตว์ เช่น แพ้นมวัว และผู้นิยมบริโภคมังสวิรัต เพราะเฮ้มพ์มีโปรตีนสูงประกอบด้วย amino acid 9 ชนิด นักโภชนาการแนะนำว่าถ้าไม่อยากกินเนื้อสัตว์ให้กิน เฮ้มพ์ + ถั่วเหลือง
ซื้อมาแช่ตู้เย็นไว้กินเป็นประจำ
อาหารเช้าชั้นดีมีสารอาหารมากมาย
บทความนี้อยู่ระหว่างการ Update เนื่องจากงานวิจัยยังดำเนินอย่างต่อเนื่อง